ถามเรื่อง EKG แต่ตอบเรื่องผอมเกินไป
หนูอายุ19 ปีและจะตรวจสุขภาพตอนอายุ 20 ปี และเคยไปถามโรงพยาบาลเอกชนต่างจังหวัดหลายที่ เขาบอกว่าอายุ20 ต้องตรวจ EKG ด้วยเพื่อประเมินความเสี่ยงของโรคหัวใจ ทั้งๆที่หนูก็ยังงงว่าทำไมถึงต้องตรวจ EKG ด้วย น้ำหนักตัวหนูแค่ 42.8 และสูง 157 เอง
(สงวนนาม)
ตอบ
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) ในการตรวจสุขภาพประจำปี เป็นเรื่องของประเพณีนิยมมากกว่าที่จะเป็นความจำเป็นทางการแพทย์ครับ สำหรับคุณซึ่งเป็นผู้หญิงอายุ 20 ปีที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจอื่นใดเป็นพิเศษ หากการตรวจร่างกายพบว่าอัตราการเต้นของหัวใจและเสียงเปิดปิดลิ้นหัวใจเป็นปกติดี ผมเห็นด้วยว่าการตรวจ EKG ก็ไม่จำเป็นครับ คุณก็บอกหมอเขาไปว่าไม่ประสงค์จะตรวจ EKG ก็จบ
ที่น่าสนใจกว่านั้นคือ คุณมีน้ำหนัก 42.8 กก. สูง 157 ซม. คำนวณดัชนีมวลกายโดยเอาน้ำหนักตั้ง เอาส่วนสูงเป็นเมตร (1.57) ไปหารซ้ำกันสองที ได้ดัชนีมวลกาย (BMI) ออกมาเท่ากับ 17.36 บ่งบอกว่าผอมผิดปกติครับ เพราะเกณฑ์ปกติของดัชนีมวลกายของคนเอเซียคือ 18.5 – 23 นั่นหมายความว่าการจะมีสุขภาพดีคุณควรมีน้ำหนักตัว 46.5 กก. เป็นอย่างต่ำ ดังนั้นสิ่งที่พึงทำในการตรวจสุขภาพประจำปีของคุณ ผมแบ่งให้เป็นสองภาคคือ
ภาค 1. หาว่าอะไรเป็นเหตุให้คุณผอมผิดปกติ และ
ภาค 2. เมื่อได้ข้อมูลแล้วก็มาวางแผนว่าในปีนี้คุณควรจะดูแลตัวเองอย่างไรดัชนีมวลกายของคุณจึงจะเพิ่มขึ้นมาถึงระดับปกติ
ไหนๆก็คุยกันถึงเรื่องนี้แล้ว มาสมมุติว่าผมเป็นหมอที่ทำหน้าที่ตรวจสุขภาพประจำปีให้คุณนะ ผมจะทำตามลำดับต่อไปนี้ เริ่มด้วยการหาข้อมูลทั่วไปที่เรียกว่าการซักประวัติก่อน ผมจะถามคุณว่า
1. คุณทำมาหากินอะไรอยู่หรือ อยากอ้วนหรืออยากผอม ถ้าอยากผอมคุณกำลังจำกัดอาหารตัวเองอยู่หรือเปล่า หรือแถมกินยาถ่ายเพื่อลดน้ำหนักเป็นประจำด้วย ทั้งนี้เพราะสาเหตุของการผอมเหตุหนึ่งคือโรคไม่ยอมกิน (anorexia nervosa) หรือโรคกินแล้วล้วงคออาเจียน (bulimia nervosa) ถ้าอาชีพเป็นนางแบบแต่งตัวสวยๆแล้วทำหน้าให้เห็นกระดูกโหนกแก้มชัดๆละก็..ใช่เลย
2. น้ำหนักของคุณในหนึ่งปีที่ผ่านมานี้เป็นอย่างไรบ้าง มันอยู่ประมาณนี้เรื่อยมาหรือว่าเพิ่งมาลดลงฮวบฮาบระยะหลัง เพราะโรคบางโรคเช่นโรคมะเร็งจะทำให้น้ำหนักตัวลดฮวบฮาบได้
3. คุณมีอาการไอเรื้อรัง ไอมีเลือดปน เป็นไข้เหงื่อออกกลางคืน หรือเปล่า อาการเหล่านี้เป็นอาการของวัณโรคซึ่งทำให้ผอมได้
4. ความอยากอาหารของคุณเป็นอย่างไรบ้าง และลักษณะนิสัยและการเคลื่อนไหวของคุณเป็นอย่างไร ถ้าหิวทั้งวัน ใจสั่น นอนไม่หลับ มือไม้สั่น เหงื่อมือออก ก็เป็นอาการของไฮเปอร์ไทรอยด์ ซึ่งทำให้การเผาผลาญอาหารของร่างกายสูงขึ้นและทำให้ผอมได้
5. สุขศาสตร์ในการกินของคุณเป็นอย่างไรบ้าง คุณอนามัยจัดหรือว่าไม่เลย ถ้ากินไม่เลือกของดิบก็กิน ของสุกก็กิน สะอาดบ้างเปื้อนบ้างกินหมด ก็เป็นไปได้ว่าอาจมีพยาธิเข้าไปสิงสู่อยู่ในลำไส้และแย่งอาหารจนคุณขาดอาหารได้
6. การขบเคี้ยวละดีไหม หมายถึงว่าปวดฟันเสียวฟันบ่อยๆหรือเปล่า เพราะนี่ก็เป็นอีกเหตุหนึ่งของน้ำหนักลด
7. โภชนาการของคุณละ หมายความว่าวันๆหนึ่งกินอะไรบ้าง ที่ว่ากินแยะนั้นมันมีแต่ขยะหรือเปล่า โดยเฉพาะพวกน้ำหวานน้ำอัดลมซึ่งเข้าไปเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดลดความอยากอาหารแล้วทำให้คุณขาดอาหารพวกโปรตีนที่ควรจะได้
8. การขับถ่ายของคุณโอเคไหม รวมไปถึงการขับถ่ายปัสสาวะด้วย ถ้ากินมากและปัสสาวะบ่อยมากผิดสังเกตุคุณอาจจะเป็นเบาหวานชนิดที่ 1 ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการผอมก็ได้ แล้วการขับถ่ายอุจจาระละ ถ้าถ่ายเช้าถ่ายเย็นถ่ายได้ถ่ายดี คุณอาจจะเป็นโรคที่หมอเรียกว่า irritable bowel disease (IBD) ซึ่งเป็นเหตุของน้ำหนักลดได้
9. ผมจะแอบดูสีหน้าคุณแล้วคุยถึงความวิตกกังวลในใจคุณ แล้วประเมินว่าคุณมีภาวะวิตกกังวลหรือซึมเศร้า (depression) มากถึงระดับเป็นสาเหตุของน้ำหนักลดได้หรือเปล่า
10. นิสัยการออกกำลังกายของคุณเป็นแบบไหน เอาแต่นั่งจุมปุ๊กไม่ขยับไปไหนเลย ซึ่งกล้ามเนื้อจะหดลีบและผอมได้ หรือว่าเป็นยอดหญิงบ้ากีฬาสุดๆแบบวิ่งมาราธอนวันละสองชั่วโมงทุกวัน ซึ่งการเผาผลาญอาหารจะมากเกินจนผอมได้เช่นกัน
11. พ่อแม่ปู่ย่าตายายและพี่ๆน้องๆเป็นพันธ์ผอมพิมพ์นิยมแบบเดียวกันหมดหรือเปล่า เพราะความผอมเป็นอิทธิพลของกรรมพันธุ์ได้ระดับหนึ่งเหมือนกัน
12. ประจำเดือนของคุณมาสม่ำเสมอดีไหม อันนี้เป็นการประเมินความรุนแรงของโรค ถ้าประจำเดือนแห้งปึ๊ดไม่มาเลยนานแล้ว ก็แสดงว่าคุณขาดอาหารได้ที่จนไม่มีอะไรจะไปสร้างเป็นเม็ดเลือดแล้ว ข้อมูลนี้ยังช่วยบอกใบ้ไปถึงโรคบางโรคด้วย เช่นโรค Sheehan’s Syndrome ซึ่งเกิดจากต่อมใต้สมองทำงานผิดปกติและทำให้ผอมได้
13. แล้วก็ทำการตรวจร่างกาย วัดไข้ดูด้วย เพราะถ้ามีไข้อยู่ก็อาจจะเป็นโรคสาระพัดที่ก่อการอักเสบในร่างกายเรื้อรังซึ่งล้วนแต่ทำให้ผอมได้ ดูผิวหนังของคุณว่ามีลักษณะของการขาดวิตามินต่างๆไหม ดูตาว่าคุณซีดเกินไปซึ่งบ่งบอกถึงภาวะโลหิตจางจากการขาดอาหารอย่างรุนแรงหรือเปล่า ตรวจขนาดของต่อมไทรอยด์ ฟังเสียงหายใจและเสียงหัวใจเพื่อให้แน่ใจว่าหัวใจไม่ได้เต้นเร็วเกินไปแบบคนเป็นไฮเปอร์ไทรอยด์ และเสียงเปิดปิดลิ้นหัวใจไม่ได้รั่วหรือตีบแบบคนเป็นโรคลิ้นหัวใจรูมาติกซึ่งทำให้ผอมได้เช่นกัน แล้วก็คลำดูว่ามีก้อนผิดปกติในท้องหรือไม่ แล้วคลำดูหน้าแข้งว่าบวมกดบุ๋มไหม ถ้ามีก็บ่งบอกว่าคุณกำลังขาดอาหารมากได้ที่จนน้ำหนีออกมาอยู่นอกหลอดเลือด (protein calorie malnutrition)
14. แล้วก็เจาะเลือดคุณเพื่อตรวจดูลักษณะเม็ดเลือด ซึ่งบอกได้ว่าเป็นโลหิตจางหรือเปล่า เพราะขาดธาตุเหล็กใช่ไหม หรือเพราะขาดวิตามินบี 12 ดูระดับของโปรตีนในเลือดด้วยว่าต่ำหรือเปล่า ถ้าต่ำก็แสดงว่าขาดอาหารรุนแรง ดูระดับฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์ด้วยว่าไฮเปอร์หรือเปล่า ดูระดับน้ำตาลสะสมในเลือดด้วยว่าเป็นเบาหวานประเภท 1 หรือเปล่า
15. แล้วก็ส่งคุณไปเอ็กซเรย์ปอด เพื่อคัดกรองวัณโรค คนธรรมดาตรวจสุขภาพประจำปีไม่จำเป็นต้องเอ็กซเรย์ปอดทุกปี แต่คนผอมอย่างคุณนี้ ถือเป็นอาการชี้บ่งให้ตรวจคัดกรองวัณโรคอย่างหนึ่ง
16. แล้วแนะนำให้คุณเก็บตัวอย่างอุจจาระมาตรวจหาไข่พยาธิในวันรุ่งขึ้น ถ้าคุณเอาด้วยก็ดี ไม่เอาด้วยก็แล้วไป
17. แล้วส่งคุณไปหาหมอฟัน เพื่อดูว่ามีฟันผุหรือโรคของเหงือกและฟันที่เป็นอุปสรรคต่อการกินการเคี้ยวไหม
ภาค 2. เอาข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาวางแผนร่วมกับคุณว่าหนึ่งปีข้างหน้านี้คุณต้องดูแลตัวเองอย่างไร ขึ้นชื่อว่าแผนก็ต้องมีเป้าหมายก่อน เป้าหมายก็คือต้องให้หายผอม ตัวชี้วัดก็คือน้ำหนัก ต้องให้ได้ 46.5 กก. ส่วนจะทำอะไรบ้างก็ขึ้นอยู่กับว่าข้อมูลจากการตรวจวิเคราะห์เจอเหตุอะไรไหม ถ้าเจอก็ลงมือทำเพื่อแก้เหตุนั้น ถ้าไม่เจอเหตุอะไรเป็นการจำเพาะเจาะจง ผมก็จะแนะนำกว้างๆ ว่า
2.1 คุณต้องปรับโภชนาการใหม่ กินอาหารเพิ่มขึ้น ให้ได้ทั้งปริมาณแคลอรี่และโปรตีนพอเพียง กินมื้อละน้อยๆแต่กินหลายๆมื้อ วันหนึ่งกินมากถึงหกเจ็ดมื้อได้ยิ่งดี กินอาหารธรรมชาติที่มีคุณค่าทางโภชนาการ อย่ากินขยะเช่นน้ำอัดลม หรือกาแฟใส่ผงขาวซึ่งเป็นไขมันทรานส์
2.2 คุณต้องออกกำลังกายให้ได้ระดับมาตรฐาน คือออกกำลังกายแบบต่อเนื่องให้เหนื่อยพอควรวันละ 30 นาทีทุกวัน และหาโอกาสเล่นกล้ามสัปดาห์ละอย่างน้อยสองครั้ง การเล่นกล้ามเป็นสิ่งที่ “ต้องทำ” สำหรับคนผอมอยากอ้วน เพื่อให้น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นมานั้นเป็น “เนื้อ” ไม่ใช่เป็น “มัน” จำง่ายๆว่าการมีเนื้อเป็นสุขภาพ แต่การมีมันเป็นโรค
2.3 คุณต้องมีแผนปรับปรุงสุขภาพจิตคุณด้วย ต้องหัดเอาชนะความซึมเศร้าและความคิดกังวลด้วยวิธีตามสังเกตใจตัวเองให้ทัน อย่าเผลอปล่อยให้ความคิดงี่เง่าเข้ามาครอบจนไม่เป็นอันกินอันนอน
ที่เขียนมาทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้คุณใช้เป็นแนวทางในการไปตรวจสุขภาพประจำปี อาจจะไม่ได้เหมือนนี้ทั้งหมด แต่ทิศทางควรเป็นประมาณนี้ และเมื่อตกลงกับหมอว่าจะทำอะไร กลับมาบ้านแล้วก็ต้องลงมือทำจริงๆด้วย การตรวจสุขภาพประจำปีจึงจะมีประโยชน์และทำให้สุขภาพดีขึ้นอย่างแท้จริง
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
(สงวนนาม)
ตอบ
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) ในการตรวจสุขภาพประจำปี เป็นเรื่องของประเพณีนิยมมากกว่าที่จะเป็นความจำเป็นทางการแพทย์ครับ สำหรับคุณซึ่งเป็นผู้หญิงอายุ 20 ปีที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจอื่นใดเป็นพิเศษ หากการตรวจร่างกายพบว่าอัตราการเต้นของหัวใจและเสียงเปิดปิดลิ้นหัวใจเป็นปกติดี ผมเห็นด้วยว่าการตรวจ EKG ก็ไม่จำเป็นครับ คุณก็บอกหมอเขาไปว่าไม่ประสงค์จะตรวจ EKG ก็จบ
ที่น่าสนใจกว่านั้นคือ คุณมีน้ำหนัก 42.8 กก. สูง 157 ซม. คำนวณดัชนีมวลกายโดยเอาน้ำหนักตั้ง เอาส่วนสูงเป็นเมตร (1.57) ไปหารซ้ำกันสองที ได้ดัชนีมวลกาย (BMI) ออกมาเท่ากับ 17.36 บ่งบอกว่าผอมผิดปกติครับ เพราะเกณฑ์ปกติของดัชนีมวลกายของคนเอเซียคือ 18.5 – 23 นั่นหมายความว่าการจะมีสุขภาพดีคุณควรมีน้ำหนักตัว 46.5 กก. เป็นอย่างต่ำ ดังนั้นสิ่งที่พึงทำในการตรวจสุขภาพประจำปีของคุณ ผมแบ่งให้เป็นสองภาคคือ
ภาค 1. หาว่าอะไรเป็นเหตุให้คุณผอมผิดปกติ และ
ภาค 2. เมื่อได้ข้อมูลแล้วก็มาวางแผนว่าในปีนี้คุณควรจะดูแลตัวเองอย่างไรดัชนีมวลกายของคุณจึงจะเพิ่มขึ้นมาถึงระดับปกติ
ไหนๆก็คุยกันถึงเรื่องนี้แล้ว มาสมมุติว่าผมเป็นหมอที่ทำหน้าที่ตรวจสุขภาพประจำปีให้คุณนะ ผมจะทำตามลำดับต่อไปนี้ เริ่มด้วยการหาข้อมูลทั่วไปที่เรียกว่าการซักประวัติก่อน ผมจะถามคุณว่า
1. คุณทำมาหากินอะไรอยู่หรือ อยากอ้วนหรืออยากผอม ถ้าอยากผอมคุณกำลังจำกัดอาหารตัวเองอยู่หรือเปล่า หรือแถมกินยาถ่ายเพื่อลดน้ำหนักเป็นประจำด้วย ทั้งนี้เพราะสาเหตุของการผอมเหตุหนึ่งคือโรคไม่ยอมกิน (anorexia nervosa) หรือโรคกินแล้วล้วงคออาเจียน (bulimia nervosa) ถ้าอาชีพเป็นนางแบบแต่งตัวสวยๆแล้วทำหน้าให้เห็นกระดูกโหนกแก้มชัดๆละก็..ใช่เลย
2. น้ำหนักของคุณในหนึ่งปีที่ผ่านมานี้เป็นอย่างไรบ้าง มันอยู่ประมาณนี้เรื่อยมาหรือว่าเพิ่งมาลดลงฮวบฮาบระยะหลัง เพราะโรคบางโรคเช่นโรคมะเร็งจะทำให้น้ำหนักตัวลดฮวบฮาบได้
3. คุณมีอาการไอเรื้อรัง ไอมีเลือดปน เป็นไข้เหงื่อออกกลางคืน หรือเปล่า อาการเหล่านี้เป็นอาการของวัณโรคซึ่งทำให้ผอมได้
4. ความอยากอาหารของคุณเป็นอย่างไรบ้าง และลักษณะนิสัยและการเคลื่อนไหวของคุณเป็นอย่างไร ถ้าหิวทั้งวัน ใจสั่น นอนไม่หลับ มือไม้สั่น เหงื่อมือออก ก็เป็นอาการของไฮเปอร์ไทรอยด์ ซึ่งทำให้การเผาผลาญอาหารของร่างกายสูงขึ้นและทำให้ผอมได้
5. สุขศาสตร์ในการกินของคุณเป็นอย่างไรบ้าง คุณอนามัยจัดหรือว่าไม่เลย ถ้ากินไม่เลือกของดิบก็กิน ของสุกก็กิน สะอาดบ้างเปื้อนบ้างกินหมด ก็เป็นไปได้ว่าอาจมีพยาธิเข้าไปสิงสู่อยู่ในลำไส้และแย่งอาหารจนคุณขาดอาหารได้
6. การขบเคี้ยวละดีไหม หมายถึงว่าปวดฟันเสียวฟันบ่อยๆหรือเปล่า เพราะนี่ก็เป็นอีกเหตุหนึ่งของน้ำหนักลด
7. โภชนาการของคุณละ หมายความว่าวันๆหนึ่งกินอะไรบ้าง ที่ว่ากินแยะนั้นมันมีแต่ขยะหรือเปล่า โดยเฉพาะพวกน้ำหวานน้ำอัดลมซึ่งเข้าไปเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดลดความอยากอาหารแล้วทำให้คุณขาดอาหารพวกโปรตีนที่ควรจะได้
8. การขับถ่ายของคุณโอเคไหม รวมไปถึงการขับถ่ายปัสสาวะด้วย ถ้ากินมากและปัสสาวะบ่อยมากผิดสังเกตุคุณอาจจะเป็นเบาหวานชนิดที่ 1 ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการผอมก็ได้ แล้วการขับถ่ายอุจจาระละ ถ้าถ่ายเช้าถ่ายเย็นถ่ายได้ถ่ายดี คุณอาจจะเป็นโรคที่หมอเรียกว่า irritable bowel disease (IBD) ซึ่งเป็นเหตุของน้ำหนักลดได้
9. ผมจะแอบดูสีหน้าคุณแล้วคุยถึงความวิตกกังวลในใจคุณ แล้วประเมินว่าคุณมีภาวะวิตกกังวลหรือซึมเศร้า (depression) มากถึงระดับเป็นสาเหตุของน้ำหนักลดได้หรือเปล่า
10. นิสัยการออกกำลังกายของคุณเป็นแบบไหน เอาแต่นั่งจุมปุ๊กไม่ขยับไปไหนเลย ซึ่งกล้ามเนื้อจะหดลีบและผอมได้ หรือว่าเป็นยอดหญิงบ้ากีฬาสุดๆแบบวิ่งมาราธอนวันละสองชั่วโมงทุกวัน ซึ่งการเผาผลาญอาหารจะมากเกินจนผอมได้เช่นกัน
11. พ่อแม่ปู่ย่าตายายและพี่ๆน้องๆเป็นพันธ์ผอมพิมพ์นิยมแบบเดียวกันหมดหรือเปล่า เพราะความผอมเป็นอิทธิพลของกรรมพันธุ์ได้ระดับหนึ่งเหมือนกัน
12. ประจำเดือนของคุณมาสม่ำเสมอดีไหม อันนี้เป็นการประเมินความรุนแรงของโรค ถ้าประจำเดือนแห้งปึ๊ดไม่มาเลยนานแล้ว ก็แสดงว่าคุณขาดอาหารได้ที่จนไม่มีอะไรจะไปสร้างเป็นเม็ดเลือดแล้ว ข้อมูลนี้ยังช่วยบอกใบ้ไปถึงโรคบางโรคด้วย เช่นโรค Sheehan’s Syndrome ซึ่งเกิดจากต่อมใต้สมองทำงานผิดปกติและทำให้ผอมได้
13. แล้วก็ทำการตรวจร่างกาย วัดไข้ดูด้วย เพราะถ้ามีไข้อยู่ก็อาจจะเป็นโรคสาระพัดที่ก่อการอักเสบในร่างกายเรื้อรังซึ่งล้วนแต่ทำให้ผอมได้ ดูผิวหนังของคุณว่ามีลักษณะของการขาดวิตามินต่างๆไหม ดูตาว่าคุณซีดเกินไปซึ่งบ่งบอกถึงภาวะโลหิตจางจากการขาดอาหารอย่างรุนแรงหรือเปล่า ตรวจขนาดของต่อมไทรอยด์ ฟังเสียงหายใจและเสียงหัวใจเพื่อให้แน่ใจว่าหัวใจไม่ได้เต้นเร็วเกินไปแบบคนเป็นไฮเปอร์ไทรอยด์ และเสียงเปิดปิดลิ้นหัวใจไม่ได้รั่วหรือตีบแบบคนเป็นโรคลิ้นหัวใจรูมาติกซึ่งทำให้ผอมได้เช่นกัน แล้วก็คลำดูว่ามีก้อนผิดปกติในท้องหรือไม่ แล้วคลำดูหน้าแข้งว่าบวมกดบุ๋มไหม ถ้ามีก็บ่งบอกว่าคุณกำลังขาดอาหารมากได้ที่จนน้ำหนีออกมาอยู่นอกหลอดเลือด (protein calorie malnutrition)
14. แล้วก็เจาะเลือดคุณเพื่อตรวจดูลักษณะเม็ดเลือด ซึ่งบอกได้ว่าเป็นโลหิตจางหรือเปล่า เพราะขาดธาตุเหล็กใช่ไหม หรือเพราะขาดวิตามินบี 12 ดูระดับของโปรตีนในเลือดด้วยว่าต่ำหรือเปล่า ถ้าต่ำก็แสดงว่าขาดอาหารรุนแรง ดูระดับฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์ด้วยว่าไฮเปอร์หรือเปล่า ดูระดับน้ำตาลสะสมในเลือดด้วยว่าเป็นเบาหวานประเภท 1 หรือเปล่า
15. แล้วก็ส่งคุณไปเอ็กซเรย์ปอด เพื่อคัดกรองวัณโรค คนธรรมดาตรวจสุขภาพประจำปีไม่จำเป็นต้องเอ็กซเรย์ปอดทุกปี แต่คนผอมอย่างคุณนี้ ถือเป็นอาการชี้บ่งให้ตรวจคัดกรองวัณโรคอย่างหนึ่ง
16. แล้วแนะนำให้คุณเก็บตัวอย่างอุจจาระมาตรวจหาไข่พยาธิในวันรุ่งขึ้น ถ้าคุณเอาด้วยก็ดี ไม่เอาด้วยก็แล้วไป
17. แล้วส่งคุณไปหาหมอฟัน เพื่อดูว่ามีฟันผุหรือโรคของเหงือกและฟันที่เป็นอุปสรรคต่อการกินการเคี้ยวไหม
ภาค 2. เอาข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาวางแผนร่วมกับคุณว่าหนึ่งปีข้างหน้านี้คุณต้องดูแลตัวเองอย่างไร ขึ้นชื่อว่าแผนก็ต้องมีเป้าหมายก่อน เป้าหมายก็คือต้องให้หายผอม ตัวชี้วัดก็คือน้ำหนัก ต้องให้ได้ 46.5 กก. ส่วนจะทำอะไรบ้างก็ขึ้นอยู่กับว่าข้อมูลจากการตรวจวิเคราะห์เจอเหตุอะไรไหม ถ้าเจอก็ลงมือทำเพื่อแก้เหตุนั้น ถ้าไม่เจอเหตุอะไรเป็นการจำเพาะเจาะจง ผมก็จะแนะนำกว้างๆ ว่า
2.1 คุณต้องปรับโภชนาการใหม่ กินอาหารเพิ่มขึ้น ให้ได้ทั้งปริมาณแคลอรี่และโปรตีนพอเพียง กินมื้อละน้อยๆแต่กินหลายๆมื้อ วันหนึ่งกินมากถึงหกเจ็ดมื้อได้ยิ่งดี กินอาหารธรรมชาติที่มีคุณค่าทางโภชนาการ อย่ากินขยะเช่นน้ำอัดลม หรือกาแฟใส่ผงขาวซึ่งเป็นไขมันทรานส์
2.2 คุณต้องออกกำลังกายให้ได้ระดับมาตรฐาน คือออกกำลังกายแบบต่อเนื่องให้เหนื่อยพอควรวันละ 30 นาทีทุกวัน และหาโอกาสเล่นกล้ามสัปดาห์ละอย่างน้อยสองครั้ง การเล่นกล้ามเป็นสิ่งที่ “ต้องทำ” สำหรับคนผอมอยากอ้วน เพื่อให้น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นมานั้นเป็น “เนื้อ” ไม่ใช่เป็น “มัน” จำง่ายๆว่าการมีเนื้อเป็นสุขภาพ แต่การมีมันเป็นโรค
2.3 คุณต้องมีแผนปรับปรุงสุขภาพจิตคุณด้วย ต้องหัดเอาชนะความซึมเศร้าและความคิดกังวลด้วยวิธีตามสังเกตใจตัวเองให้ทัน อย่าเผลอปล่อยให้ความคิดงี่เง่าเข้ามาครอบจนไม่เป็นอันกินอันนอน
ที่เขียนมาทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้คุณใช้เป็นแนวทางในการไปตรวจสุขภาพประจำปี อาจจะไม่ได้เหมือนนี้ทั้งหมด แต่ทิศทางควรเป็นประมาณนี้ และเมื่อตกลงกับหมอว่าจะทำอะไร กลับมาบ้านแล้วก็ต้องลงมือทำจริงๆด้วย การตรวจสุขภาพประจำปีจึงจะมีประโยชน์และทำให้สุขภาพดีขึ้นอย่างแท้จริง
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์