บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2010

เด็กติดเกมคอมพิวเตอร์, มุมมองของแพทย์ประจำครอบครัว

ตัวผมนี้เป็นหมอรักษาผู้ใหญ่ อยู่ห่างไกลเหลือเกินกับปัญหาสุขภาพเด็ก แต่เรื่องเด็กติดเกมนี้มันพันมากับพ่อแม่เด็ก ซึ่งเป็นคนไข้ของผม คือการจะรักษาโรคทางกายของพ่อแม่ ก็ต้องไล่เลียงไปถึงปัญหาทางใจด้วย หลายคนมีปัญหาทางใจที่แกะไม่หลุดคือลูกติดเกม ผมก็เลยถูกลากเข้ามาสู่เรื่องเด็กติดเกมด้วยประการฉะนี้ ความที่ไม่มีความรู้ ผมจึงตั้งต้นด้วยการสืบค้นหลักฐานทางการแพทย์ว่าโรค “เด็กติดเกม” นี้เขารักษาอย่างไรกัน แต่น่าเสียใจครับ วงการแพทย์สากลไม่นับปัญหาเด็กติดเกมเป็นปัญหาทางการแพทย์ แม้ในมาตรฐานการวินิจฉัยโรคทางจิตประสาท (DSM) ฉบับใหม่ที่จะนำออกใช้ในปี 2012 ข้อเสนอให้บรรจุให้มีโรค “VDO game addiction” ก็ถูกโหวตตกกระป๋องไปแล้วเรียบร้อย ในสาระบบโรคนานาชาติ (ICD) ก็ไม่ถือว่าเรื่องนี้เป็นโรค และเมื่อผมสืบค้นงานวิจัยทางการแพทย์ในหอสมุดแพทย์กลาง (MEDLINE) ก็จึงถึงบางอ้อว่าตราบถึงปัจจุบันในโลกนี้ยังไม่มีหลักฐานวิทยาศาสตร์เจ๋งๆแม้เพียงชิ้นเดียวที่พิสูจน์ได้ว่าโรคติดเกมนี้มีอยู่จริง เมื่อถือว่าโรคนี้ไม่มี ก็ป่วยการที่จะไปพูดถึงว่าจะวินิจฉัยอย่างไร จะรักษาอย่างไร อย่างมากก็วินิจฉัยได้แค่ว่าเป็นโรคคุมกิเลสไม่อย...

กลัวลูกวัยรุ่นติดยาเสพติด จะทำอย่างไรดี

คุณหมอคะ เพื่อนของลูกบอกว่าลูกดิฉันเสพยา ดิฉันตกใจมาก แต่ไหนแต่ไรไม่เคยคิดว่าจะมาเจอกับตัวเอง ไม่มีไอเดียเลยว่ายาเสพติดมันเป็นยังไง มีกี่แบบ มีผลอย่างไรบ้าง จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกเสพยาจริง และถ้าจริงดิฉันจะทำอย่างไรดี (สงวนนาม) ตอบ คุณยิงคำถามแบบไม่ยั้งเลยนะครับ ผมจะพยายามตอบให้ครอบคลุมที่ถาม ประเด็นแรก ชนิดของยาเสพติด หากแบ่งตามการออกฤทธิ์ก็มีสามพวกคือ (1) พวกออกฤทธิ์กดประสาท เช่นฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ยากล่อมประสาท ยานอนหลับ สารระเหย พวกนี้จะทำให้มีอาการสลึมสลือ เคลิ้ม หลับ ถ้าเสพมากก็อาจถึงโคม่าหรือตาย ถ้าไม่ได้เสพก็จะกระวนกระวายลงแดงรุนแรง (2) พวกออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทเช่น ยาบ้า ยาอี (MDMA) เอ็คตาซี โคเคน กระท่อม พวกนี้จะกระตุ้นให้ไม่หลับไม่นอน ให้ตื่นตัว ทำอะไรได้มากกว่าธรรมดา เมื่อเสพมากทำให้สมองเสื่อม เป็นโรคจิต เมื่อหมดฤทธิ์ยาก็เกิดภาวะซึมเศร้า ระแวง ฆ่าตัวตาย (3) พวกออกฤทธิ์หลอนประสาท เช่น LSD (Lysergic acid diethylamide) , DMT dimethyltryptamine), ยาเค (ketamine) เห็ดขี้ควาย พวกนี้เมื่อเสพเข้าไปแล้วจะมีอาการประสาทหลอนเป็นภาพเป็นเสียง เมื่อเสพมากก็ทำให้สมองเสื่อมและเป็นโรคจิตได้...

ให้คุณหมอช่วยแปลความผลตรวจเม็ดเลือดแดงผิดปกติ

เรียน คุณหมอสันต์ ด้วยดิฉัน อาศัยอยู่ต่างประเทศ switzerland มีข้อสงสัยเกี่ยวกับผลของการตรวจเลือดที่อยากจะเรียนถามคุณหมอ สืบเนื่องมาจากดิฉันไม่สบายมีอการไอเจ็บคอ มีน้ำมูกเละมีไข้จึงไปพบแพทย์เพื่อตรวจอาการและหมอที่ทำการตรวจเป็นคนที่นี่ซึ่งใช้ภาษาเยอรมันเป็นหลัก ดิฉันจึงไม่อาจเข้าใจได้ถ่องแท้แม้ว่าจะอธิบายเป็นภาษาอังกฤษในบางคำที่ดิฉันไม่เข้าใจก็ตาม โดยผลของการตรวจเลือดเป็นดังนี้ ข้อมูลทั่วไป อายุ 41 ปี ส่วนสูง 160 น้ำหนัก 49 ก.ก ไม่เคยมีอาการซีด ไม่เบื่ออาหาร Erythrozyten 5.67 สูงกว่าปกติ MCV 74.0 ต่ำกว่าปกติ MCH 22.9 ต่ำกว่าปกติ MCHC 312 ปกติ RDW 15.7 สูงกว่าปกติ C-reaktives Protein 2.5 ค่าอื่นๆ ตามการตรวจทั่วไป อยู่ในระดับปกติ จากข้อมูลข้างต้นนี้ ดิฉันขอความกรุณาคุณหมอช่วยตอบข้อส่งสัยหรือคำอธิบายอื่นเพิ่มเติมเพื่อความเข้าใจในข้อบ่งชี...

ดิฉันเป็นโรคกระดูกสันหลังระดับคอเสื่อม ผ่าตัดดีหรือไม่ดี

ดิฉันเป็นโรคกระดูกสันหลังระดับคอเสื่อม มีอาการเจ็บรอบๆหัวไหล่ซ้ายและคอ มีเจ็บแปล๊บๆลงไปทางปลายแขนซ้าย ได้ตรวจ MRI แล้วหมอกระดูกแนะนำให้ผ่าตัด หมอประสาทวิทยาแนะนำว่าไม่ควรผ่า อยากได้ข้อมูลที่มีสาระน้ำหนักพอให้ตัดสินใจได้ ตอบ ผมให้ข้อมูลคุณเป็นประเด็นๆไปนะครับ ประเด็นที่หนึ่ง ระดับความรุนแรงของโรค ที่พอบอกได้จากอาการ คือเรื่องการปวดไหล่ปวดคอนี้มีระดับความรุนแรง 3 ระดับคือ 1. เป็นการปวดกล้ามเนื้อและเอ็น (myofascial pain) ซึ่งอาจมีการเสื่อมของกระดูกสันหลังระดับคอ (cervical spondylosis) ร่วมด้วยแต่ไม่เกี่ยวอะไรกับเส้นประสาทและแกนประสาท มักบอกตรงที่ปวดได้แม่นยำ กดลงไปก็มักถูกตรงที่ปวดได้ อันนี้ไม่รุนแรง การรักษาใช้วิธีบีบๆนวดๆไม่ต้องผ่าตัด 2. การเสื่อมของกระดูกสันหลังที่มีการกดทับโคนเส้นประสาท (cervical spondylotic radiculopathy) ร่วมด้วย อาการที่เป็นคือมีอาการปวดหรือเสียวแปล๊บร้าวไปตามบริเวณที่เส้นประสาทนั้นเลี้ยงอยู่ เช่นร้าวจากไหล่ลงไปแขน ทำ MRI จะเห็นว่ามีหมอนกระดูกหรือกระดูกงอกกดโคนเส้นประสาทชัดเจน กรณีเช่นนี้ทางแพทย์ศัลยกรรมกระดูกมักแนะนำให้ผ่าตัดเร็วหน่อย แต่ถ้าเป็นแพทย์อายุรกรรมประสา...

ปวดหัว หัวปวด ปวด ป๊วด ปวด

คุณหมอสันต์คะ ดิฉันอายุ 24 ปี เมื่อคืนก่อนดิฉันมีอาการปวดศีรษะ ปวดมากจนนอนไม่หลับ ไม่เคยเป็นอย่างนี้มาก่อนเลย ตอนนี้ก็ยังมึนๆอยู่ ตื่นเช้าไปหาหมอ หมอบอกว่าเป็น tension headache ให้ยาแก้ปวดหัวและยากล่อมประสาทมาทาน ให้นอนพักผ่อนชดเชยแล้วจะหายเอง ดิฉันยังไม่สบายใจ อยากถามคุณหมอสันต์ว่าอาการปวดศีรษะเกิดจากอะไรได้บ้าง และดิฉันควรจะทำอย่างไรต่อไปดี ตอบ คำถามแรก ถามว่าปวดหัวเกิดจากอะไรได้บ้าง ตอบว่าเกิดจากสาเหตุได้เยอะแยะแป๊ะตาไก่ แต่เพื่อความง่ายอาจแบ่งเป็นสามกลุ่มสาเหตุ คือ 1. พวกไม่รู้สาเหตุ หมายถึงวิชาแพทย์ยังไม่รู้สาเหตุ โดยที่สาเหตุจริงเขาก็คงมีอยู่หรอก แต่หมอไม่รู้ ทางหมอเรียกว่า functional headache หมายความว่าปวดหัวแต่ตรวจไม่พบพยาธิสภาพที่ส่วนใดๆของร่างกายเลย ซึ่งยังแบ่งย่อยได้เป็นสามพวกใหญ่ๆ (จะเห็นว่าหมอเนี่ยชอบแบ่งนะครับ ทั้งที่ไม่รู้ว่าเกิดจากอะไร ยังอุตสาห์แบ่งได้ตั้งสามพวก) คือ 1.1 โรคปวดหัวจากความตึงของกล้ามเนื้อ (tension headache) มักปวดระดับน้อยถึงปานกลาง มักสัมพันธ์กับเครียด อดนอน หิว ใช้ตามาก หรือเมื่อตำแหน่งศีรษะอยู่ผิดที่ พวกนี้รักษาง่าย เป่ากระหม่อมก็หายแล้ว พูดเล่นนะครั...

เทคนิคการใช้ทฤษฎีการปรับเปลี่ยนนิสัยคน

ก่อนหน้านี้มีท่านผู้อ่านบทความของผมเรื่องหลักทฤษฏีการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต (Stage of Change Model) ได้ถามแง่มุมการใช้งานจริงว่ากรณีไหนใช้ได้ใช้ไม่ได้ และผมได้รับปากว่าจะเขียนเล่าประสบการณ์เมื่อนำลงใช้กับคนจริงๆหลายๆคนให้ฟัง ประเด็นสำคัญในการนำหลักทฤษฏีนี้ลงใช้คือต้องแยกสาระของเรื่องออกเป็นสองส่วนก่อน คือ (1) ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงนิสัย (stage of change) (2) กลวิธีที่เลือกใช้เปลียนนินสัย (process of change) โดยผมจะขอว่าไปทีละขั้นตอนดังนี้ (1) ขั้นยังไม่สนใจ (Precontemplate) มองยังไงก็ยังไม่เห็นวี่แววว่าจะเอาจริง อย่างน้อยก็ยังไม่เอาจริงใน 6 เดือนข้างหน้านี้ คนมักจะติดอยู่ที่ขั้นนี้นาน ส่วนใหญ่เป็นเพราะได้รับข้อมูลไม่ครบถ้วนถ่องแท้อีกส่วนหนึ่งเป็นเพราะเคยลองมาแล้วไม่สำเร็จ จึงใช้วิธีหันหลังให้ ไม่สนใจ ไม่ทำ กลวิธีที่พึงเลือกใช้ในขั้นตอนนี้คืออะไรก็ได้ทำให้เขาเชื่อก่อน เพราะการไม่สนใจเกิดจากความไม่เชื่อ เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่มาก จนมีทฤษฎีด้านสุขภาพว่าคนเรานี้ถ้าไม่เชื่อก็จะไม่ทำ (health believe theory) ดังนั้นในขั้นนี้จึงต้องทำให้เชื่อลูกเดียว ซึ่งมีสองประเด็นย่อย คือ (1) ให้ข้อมูลความจริง...

โด๊ส (dose) ของการออกกำลังกาย

วงการแพทย์ถือว่าการออกกำลังกายเป็นยา ใช้รักษาโรคได้ เมื่อเป็นยาก็ต้องมีการกำหนดขนาดหรือโด๊ส (dose) แต่การออกกำลังกายเป็นยาที่ยิ่งได้มากยิ่งดี (dose dependent) การกำหนดโด๊สจึงไม่ใช่เพื่อป้องกันการบริโภคเกินขนาด แต่เป็นการสนับสนุนให้ได้ออกกำลังกายมากพอ การออกกำลังกายมีสามองค์ประกอบ คือระดับความหนัก (intensity) ความยาวนานที่ออกแต่ละครั้ง (duration) และความถี่หรือจำนวนครั้งที่ออกในแต่ละสัปดาห์ (frequency) ความหนักของการออกกำลังกาย (intensity) วัดได้จากปริมาณพลังงานที่ร่างกายใช้ไปขณะออกกำลังกาย ว่าใช้พลังงานไปเป็นกี่เท่าของพลังงานที่ร่างกายใช้ขณะพัก (Metabolic equivalent หรือ MET อ่านออกเสียงว่า “เม็ท”) ดังนั้น MET จึงเป็นหน่วยนับความหนักของการออกกำลังกาย ตัวอย่างของความหนักของการออกกำลังกายชนิดต่างๆ ได้แก่ กลุ่มที่ 1. การออกกำลังกายระดับเบา (ไม่เกิน 3.0 METs) เดินไปเดินมาที่บ้าน หรือที่ทำงาน (2 METs) ทำงานนั่งโต๊ะ ทำคอม (1.5 METs) ยืนทำงาน เช่นปูเตียง ล้างจาน รีดผ้า ปรุงอาหาร (2.0-2.5 METs) เล่นเครื่องดนตรี เล่นบิลเลียด ปาเป้า ขับเรือหางยาว นั่งตกปลา (2.0-2.5) กลุ่มที่ 2. การออกกำลังกา...

มาตรฐานการออกกำลังกายที่แนะนำโดย ACSM/AHA

มาตรฐาน งานวิจัยบอกว่าการออกกำลังกายดีแน่ แต่ต้องเป็นการออกกำลังกายที่ได้ระดับมาตรฐาน ก่อนอื่นมารู้จักมาตรฐานการออกกำลังกายซึ่งแนะนำโดยวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์การกีฬาอเมริกัน (American College of Sport Medicine หรือ ACSM) และสมาคมแพทย์โรคหัวใจอเมริกัน (American Heart Association หรือ AHA) ก่อน คำแนะนำมีว่า 1. ควรออกกำลังกายแบบต่อเนื่องหรือแบบแอโรบิก (aerobic หรือ endurance exercise) ให้ได้ถึงระดับหนักพอควร (moderate) ซึ่งทราบจากการที่เหนื่อยจนร้องเพลงไม่ได้ แต่ยังพอพูดได้ อย่างน้อยวันละ 30 นาที สัปดาห์ละอย่างน้อย 5 วัน หรือ ออกกำลังกายระดับหนักมาก (vigorous) เช่นวิ่งจ๊อกกิ้ง จนเหนื่อยมาก พูดไม่ได้ วันละอย่างน้อย 20 นาที สัปดาห์ละ อย่างน้อย 3 วัน 2. ควรออกกำลังกายแบบต่อเนื่องในข้อ 1 ควบกับการออกกำลังกายแบบสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (muscle strengthening) อีกสัปดาห์ละ 2 วันที่ไม่ต่อเนื่องกัน โดยแต่ละวันให้ออก 10 ท่า แต่ละท่าให้ทำซ้ำ 10-15 ครั้ง แต่ละท่าต้องมีการใช้กล้ามเนื้อกลุ่มเป้าหมายด้วยน้ำหนักต้านสูงสุดเท่าที่จะทำซ้ำได้อย่างมากประมาณ 10 ครั้งก็ล้า ตัวอย่างของการออกกำลังกายแบบสร้...