วิธีคุมกำเนิดแบบไหนได้ผล แบบไหนไม่ได้ผล
องค์การอาหารและยาสหรัฐฯได้ทำวิจัยและสรุปผลเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิธีคุมกำเนิดแบบต่างๆ เป็น % ของผู้หญิงที่ใช้วิธีนั้นครบ 1 ปีโดยไม่ตั้งครรภ์ ดังนี้
วิธีคุมกำเนิด = ....% ไม่ท้อง
1. ไม่มีเซ็กซ์เลย = 100%
2. ทำหมันหญิง = >99%(ถาวร)
3. ทำหมันชาย = >99%(ถาวร)
4. ใส่ห่วงคุมกำเนิด (IUD)= >99% (ให้แพทย์ใส่ค่าไว้ในมดลูก เอาออกได้เมื่อต้องการ)
5. แท่งฮอร์โมนคุมกำเนิดฝังใต้ผิวหนัง (Implantable rod) = >99%(ให้แพทย์ฉีดเข้าไปใต้ผิวหนังทีเดียวอยู่ได้ 3 ปี)
6. ฝังขดลวดทำหมันถาวรไว้ที่ปีกมดลูก (Sterilization implant) = >99% (แพทย์ใช้เครื่องมือผ่านเข้าไปทำทางช่องคลอด)
7. ยาฉีดคุมกำเนิด = >99% (ฉีดสามเดือนครั้ง)
8. ยาเม็ดคุมกำเนิด = >95% กินทุกวัน
9. แผ่นแปะผิวหนังคุมกำเนิด (The Patch) = 95% (แปะไว้สามสัปดาห์แล้วเอาออกหนึ่งสัปดาห์)
10. วงแหวนชุบฮอร์โมนใส่ในช่องคลอด (Vaginal contraceptive ring) = 95% (ใส่คาไว้สามสัปดาห์แล้วเอาออกหนึ่งสัปดาห์)
11. ถุงยางอนามัยสำหรับชาย = 84-89 % (ใช้ป้องกันเอดส์ได้ด้วย)
12. แผ่นไดอาแฟรมครอบปากมดลูก ใช้ร่วมกับยาฆ่าอสุจิ = 85% (ถ้าทิ้งคาไว้เกิน 24 ชม. จะเกิดช็อกจากพิษได้ (toxic shock syndrome)
13. ยาคุมฉุกเฉิน = 75-85% (เม็ดแรกกินภายใน 72 ชม.หลังมีเซ็กซ์ เม็ดที่สองกินหล้งเม็ดแรก 12 ชม.)
14. ถุงยางอนามัยสำหรับหญิง = 80% (ป้องกันเอดส์ได้ไม่ดีเท่าถุงยางชาย)
15. ฟองน้ำแช่น้ำยาฆ่าอสุจิ = 68-84% (ถ้าทิ้งคาไว้เกิน 30 ชม. จะเกิดช็อกจากพิษได้ (toxic shock syndrome)
16. ครีมฆ่าอสุจิ = 70%
17. มีเซ็กซ์แต่ไม่คุมเลย = 15%
อนึ่ง ก่อนเลือกวิธีคุมกำเนิด ควรคำนึงถึงประเด็นต่อไปนี้
• สุขภาพทั่วไป บางวิธีทำให้แพ้ง่าย
• มีเซ็กซ์บ่อยแค่ไหน บางวิธีถาวร บางวิธีชั่วคราว
• มีคู่นอนกี่คน วิธีอื่นนอกจากถุงยางอนามัยชาย ป้องกันเอดส์ไม่ได้
• ยังคิดจะมีลูกในอนาคตหรือเปล่า บางวิธีเช่นยาฉีดคุมกำเนิดหากใช้นานไปอาจมีลูกยาก แม้อยากจะมี
• บางวิธีต้องพึ่งหมอทำให้ บางวิธีทำเองได้
• % ที่วิธีนั้นป้องกันการตั้งครรภ์ได้ บางวิธีเช่นยาคุมฉุกเฉินดูเหมือนง่าย แต่ % ป้องกันได้ต่ำ
ต้องบอกหมอเรื่องต่อไปนี้ด้วย
• ถ้าสูบบุหรี่ เพราะวิธีที่ใช้ฮอร์โมนไม่เหมาะกับคนสูบบุหรี่
• ถ้าเป็นโรคตับ เพราะฮอร์โมนเอสโตรเจนไม่เหมาะกับคนเป็นโรคตับ
• ถ้ามีปัญหาเลือดแข็งตัวง่าย เพราะฮอร์โมนเอสโตรเจนมีปัญหากับการแข็งตัวของเลือด
• ถ้าคนในครอบครัวมีปัญหาเลือดแข็งตัวง่าย
• กินยาอย่างอื่นอยู่ เพราะยาหลายชนิดตีกับยาคุมกำเนิดได้
• กินสมุนไพร เช่น ยาสตรี หรือ St. Johns Wort เพราะสมุนไพรหลายตัวให้สาร phytoestrogen และสารอื่นๆซึ่งเสริมฤทธิ์ฮอร์โมนที่ใช้คุมกำเนิดได้
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. US Food and Drug Administration Birth Control Guide 2010. Accessed on September 7, 2010 at http://www.fda.gov/ForConsumers/ByAudience/ForWomen/ucm118465.htm
วิธีคุมกำเนิด = ....% ไม่ท้อง
1. ไม่มีเซ็กซ์เลย = 100%
2. ทำหมันหญิง = >99%(ถาวร)
3. ทำหมันชาย = >99%(ถาวร)
4. ใส่ห่วงคุมกำเนิด (IUD)= >99% (ให้แพทย์ใส่ค่าไว้ในมดลูก เอาออกได้เมื่อต้องการ)
5. แท่งฮอร์โมนคุมกำเนิดฝังใต้ผิวหนัง (Implantable rod) = >99%(ให้แพทย์ฉีดเข้าไปใต้ผิวหนังทีเดียวอยู่ได้ 3 ปี)
6. ฝังขดลวดทำหมันถาวรไว้ที่ปีกมดลูก (Sterilization implant) = >99% (แพทย์ใช้เครื่องมือผ่านเข้าไปทำทางช่องคลอด)
7. ยาฉีดคุมกำเนิด = >99% (ฉีดสามเดือนครั้ง)
8. ยาเม็ดคุมกำเนิด = >95% กินทุกวัน
9. แผ่นแปะผิวหนังคุมกำเนิด (The Patch) = 95% (แปะไว้สามสัปดาห์แล้วเอาออกหนึ่งสัปดาห์)
10. วงแหวนชุบฮอร์โมนใส่ในช่องคลอด (Vaginal contraceptive ring) = 95% (ใส่คาไว้สามสัปดาห์แล้วเอาออกหนึ่งสัปดาห์)
11. ถุงยางอนามัยสำหรับชาย = 84-89 % (ใช้ป้องกันเอดส์ได้ด้วย)
12. แผ่นไดอาแฟรมครอบปากมดลูก ใช้ร่วมกับยาฆ่าอสุจิ = 85% (ถ้าทิ้งคาไว้เกิน 24 ชม. จะเกิดช็อกจากพิษได้ (toxic shock syndrome)
13. ยาคุมฉุกเฉิน = 75-85% (เม็ดแรกกินภายใน 72 ชม.หลังมีเซ็กซ์ เม็ดที่สองกินหล้งเม็ดแรก 12 ชม.)
14. ถุงยางอนามัยสำหรับหญิง = 80% (ป้องกันเอดส์ได้ไม่ดีเท่าถุงยางชาย)
15. ฟองน้ำแช่น้ำยาฆ่าอสุจิ = 68-84% (ถ้าทิ้งคาไว้เกิน 30 ชม. จะเกิดช็อกจากพิษได้ (toxic shock syndrome)
16. ครีมฆ่าอสุจิ = 70%
17. มีเซ็กซ์แต่ไม่คุมเลย = 15%
อนึ่ง ก่อนเลือกวิธีคุมกำเนิด ควรคำนึงถึงประเด็นต่อไปนี้
• สุขภาพทั่วไป บางวิธีทำให้แพ้ง่าย
• มีเซ็กซ์บ่อยแค่ไหน บางวิธีถาวร บางวิธีชั่วคราว
• มีคู่นอนกี่คน วิธีอื่นนอกจากถุงยางอนามัยชาย ป้องกันเอดส์ไม่ได้
• ยังคิดจะมีลูกในอนาคตหรือเปล่า บางวิธีเช่นยาฉีดคุมกำเนิดหากใช้นานไปอาจมีลูกยาก แม้อยากจะมี
• บางวิธีต้องพึ่งหมอทำให้ บางวิธีทำเองได้
• % ที่วิธีนั้นป้องกันการตั้งครรภ์ได้ บางวิธีเช่นยาคุมฉุกเฉินดูเหมือนง่าย แต่ % ป้องกันได้ต่ำ
ต้องบอกหมอเรื่องต่อไปนี้ด้วย
• ถ้าสูบบุหรี่ เพราะวิธีที่ใช้ฮอร์โมนไม่เหมาะกับคนสูบบุหรี่
• ถ้าเป็นโรคตับ เพราะฮอร์โมนเอสโตรเจนไม่เหมาะกับคนเป็นโรคตับ
• ถ้ามีปัญหาเลือดแข็งตัวง่าย เพราะฮอร์โมนเอสโตรเจนมีปัญหากับการแข็งตัวของเลือด
• ถ้าคนในครอบครัวมีปัญหาเลือดแข็งตัวง่าย
• กินยาอย่างอื่นอยู่ เพราะยาหลายชนิดตีกับยาคุมกำเนิดได้
• กินสมุนไพร เช่น ยาสตรี หรือ St. Johns Wort เพราะสมุนไพรหลายตัวให้สาร phytoestrogen และสารอื่นๆซึ่งเสริมฤทธิ์ฮอร์โมนที่ใช้คุมกำเนิดได้
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. US Food and Drug Administration Birth Control Guide 2010. Accessed on September 7, 2010 at http://www.fda.gov/ForConsumers/ByAudience/ForWomen/ucm118465.htm