31 ตุลาคม 2563

หมอสันต์ชวนมาฟังคอนเสิร์ตแอม เสาวลักษณ์, โต๋ ศักดิ์สิทธิ์ และเดอะตู่

 

     วันนี้ของดตอบคำถามมาลงแจ้งความโฆษณาแบบตามใจฉันสักวันนะครับ
     ว่าวันเสาร์ที่ 14 พย. 63 นี้ เวลา 16.00 – 21.00 น. ขอเชิญมาพบกับครั้งแรกของคอนเสิร์ตเพื่อสุขภาพท่ามกลางขุนเขาและธรรมชาติ ????????
     มาพบความสุขกับเสียงเพลงโดย 2 นักร้องคุณภาพจาก 2 ยุค โต๋ ศักดิ์สิทธิ์ เวชสุภาพร ???????? และ แอม เสาวลักษณ์ ลีละบุตร ???????? พร้อมอิ่มเอมไปกับทุกตัวโน้ตผ่านสำเนียงกีตาร์จาก ‘เดอะตู่ ฟิงเกอร์สไตล์’ และเรียนรู้การมีสุขภาพดีเพื่อพลิกผันโรคในแบบ ‘Lifestyle Modification’ นอกจากนี้ยังได้อิ่มอร่อยกับอาหาร Plant Based Whole Food ตลอดงาน
     สนใจไปสนุกและสุขภาพดีด้วยกันในแบบ VIP ติดขอบเวทีรับจำนวนจำกัดเพียง 75 คู่ พร้อมที่พัก+อาหาร 2 มื้อ (เย็น+เช้า) ติดต่อที่ Inbox​ MEGA​ We​ care​ หรือโทร 095-3670548 
ท่านที่มาไม่ได้ก็ไม่เป็นไร เพราะมี LIVE สดให้ดูทางเฟซบุ้ค นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ ด้วย
………………………………
[อ่านต่อ...]

หมอสันต์ชวนมาฟังคอนเสิร์ตแอม เสาวลักษณ์, โต๋ ศักดิ์สิทธิ์ และเดอะตู่

 


     วันนี้ของดตอบคำถามมาลงแจ้งความโฆษณาแบบตามใจฉันสักวันนะครับ
     ว่าวันเสาร์ที่ 14 พย. 63 นี้ เวลา 16.00 - 21.00 น. ขอเชิญมาพบกับครั้งแรกของคอนเสิร์ตเพื่อสุขภาพท่ามกลางขุนเขาและธรรมชาติ 🎶🎶

     มาพบความสุขกับเสียงเพลงโดย 2 นักร้องคุณภาพจาก 2 ยุค โต๋ ศักดิ์สิทธิ์ เวชสุภาพร 🎹🎹 และ แอม เสาวลักษณ์ ลีละบุตร 🎤🎤 พร้อมอิ่มเอมไปกับทุกตัวโน้ตผ่านสำเนียงกีตาร์จาก 'เดอะตู่ ฟิงเกอร์สไตล์' และเรียนรู้การมีสุขภาพดีเพื่อพลิกผันโรคในแบบ ‘Lifestyle Modification’ นอกจากนี้ยังได้อิ่มอร่อยกับอาหาร Plant Based Whole Food ตลอดงาน

     สนใจไปสนุกและสุขภาพดีด้วยกันในแบบ VIP ติดขอบเวทีรับจำนวนจำกัดเพียง 75 คู่ พร้อมที่พัก+อาหาร 2 มื้อ (เย็น+เช้า) ติดต่อที่ Inbox​ MEGA​ We​ care​ หรือโทร 095-3670548 

ท่านที่มาไม่ได้ก็ไม่เป็นไร เพราะมี LIVE สดให้ดูทางเฟซบุ้ค นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ ด้วย

....................................


[อ่านต่อ...]

30 ตุลาคม 2563

การสร้างอาหารไทยเพื่อสุขภาพ (Healthy Thai Food)

 

(ภาพวันนี้: ระเบียงหลังบ้านมวกเหล็ก วันฝนพรำปลายฝนต้นหนาว)

เรียนคุณหมอสันต์

     ที่คุณหมอว่าควรสร้างอาหารไทยในเวทีโลกให้กลายเป็นอาหารไทยเพื่อสุขภาพ (Healthy Thai Food) ถ้าผมคิดจะทำ มันจะต้องทำอย่างไร มีประเด็นสำคัญอะไรบ้างครับ

………………………………………………..

ตอบครับ

     ประเด็นที่ 1. เนื้อหาสาระของการเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ

     มันมีอยู่ห้าเรื่อง คือ

     1. ต้องเป็นพืช (plant based) คือเป็นอาหารพืชเป็นหลัก เนื้อสัตว์ถ้าจะมีก็เป็นแค่กระสายหรือเป็นแค่ส่วนประกอบ

     2. ต้องเป็นอาหารในรูปแบบใกล้ธรรมชาติ (whole food) ซึ่งมีประเด็นย่อยสำคัญสองประเด็นคือ

     2.1 ไม่มีการสกัด หมายถึงการแยกเอามาแต่ส่วนที่ให้แคลอรี่ เช่นเอามาในรูปของน้ำมัน หรือน้ำตาล หมายความว่าน้ำมันกับน้ำตาลเป็นอาหารสกัดเอากากทิ้ง ซึ่งไม่ใช่อาหารสุขภาพ 

     2.2 ไม่มีการขัดสี หมายถึงการขัดผิวของธัญพืชหลายๆครั้งเพื่อเอารำออกจากเมล็ด เช่นการขัดข้าวกล้องให้เป็นข้าวขาว อาหารไทยที่ดีจึงต้องเป็นข้าวกล้องไม่ใช่ข้าวขาว

     3. มีคุณค่าต่อหน่วยแคลอรีสูง (nutrient density) หมายความว่าในจำนวนแคลอรีที่เท่ากันอาหารสุขภาพควรมีคุณค่าอื่นคือกาก เกลือแร่ วิตามิน สูงด้วย เช่นเปรียบเทียบน้ำอัดลมหนึ่งกระป๋องกับสลัดผักหนึ่งจานต่างก็มีแคลอรีเท่ากันคือ 110 แคลอรี แต่ว่าสลัดมีคุณค่ามากกว่า ขณะที่น้ำอัดลมมีแต่แคลอรี

     4. มีความหลากหลาย อาหารที่ดีต้องมีความหลากหลายเพราะร่างกายต้องการแร่ธาตุเล็กๆน้อยๆแม้จะต้องการไม่มากแต่ก็ขาดไม่ได้ ความหลากหลายของอาหารนี้บอกได้จากสี รสชาติ ฤดูกาล

     5. ต้องไม่ก่อโรค ในที่นี้ก็คือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่นอ้วน ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน ความดัน โรคหลอดเลือด โรคสมองเสื่อม ซึ่งผมขนานนามว่าหกสหายวัฒนะ อาหารที่ก่อโรคหกสหายวัฒนะนี้มีสามส่วนเท่านั้นแหละ คือ

     5.1 แคลอรี หรือพลังงาน ถ้ามีมากเกินไปก็ทำให้เป็นโรคอ้วน ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน แคลอรีนี้มาจากอาหารให้แคลอรี่อันได้แก่ไขมันทุกชนิด น้ำตาล และแป้งขัดสี

     5.2 ไขมันอิ่มตัว ซึ่งเป็นตัวก่อโรคหลอดเลือด มักมาสองทาง คืออาหารเนื้อสัตว์ และน้ำมันผัดทอดอาหาร

     5.3 เกลือ หมายถึงโซเดียม เป็นของจำเป็นแต่ถ้ามีมากเกินไปก็ก่อโรคความดันเลือดสูง

    การจะสร้างอาหารไทยเพื่อสุขภาพต้องให้มีสาระสำคัญครบถ้วนทั้งห้าประเด็นนี้

     ประเด็นที่ 2.  รูปแบบของการนำเสนอ

     เนื่องจากคนกินอาหารมีหลายกลุ่ม มีระดับการยอมรับอาหารเพื่อสุขภาพต่างกัน จึงต้องมีรูปแบบของการนำเสนอให้เหมาะกับกลุ่ม ซึ่งผมคิดว่าน่าจะมีสามกลุ่ม คือ

     รูปแบบที่ 1. ง่ายๆแบบธรรมชาติ หมายถึงกินง่ายๆไม่ปรุงแต่งมาก ตัวอย่างเช่น มีอยู่วันหนึ่งหมอสมวงศ์ไม่ได้มวกเหล็กด้วย ผมเอาฟักที่ปลูกไว้มาต้มกิน ทั้งมื้อมีแต่ฟักท่อนบะเริ่มต้มในน้ำไม่ใส่อะไรเลย อิ่มมาก และอร่อยดี หรืออีกตัวอย่างหนึ่งครูของผมซึ่งเป็นโยคีอินเดียเล่าให้ฟังว่าตื่นเช้าขึ้นมาบางวันท่านเอาถั่วลิสงซึ่งแช่ข้ามคืนไว้แล้วมาใส่โถปั่น แล้วซอยกล้วยลูกหนึ่งเป็นแว่นใส่ลงไปด้วย แล้วปั่น แล้วเอาช้อนตักกิน นั่นเป็นอาหารหนึ่งวันสำหรับท่าน นี่เรียกว่ากินในรูปแบบง่ายๆแบบธรรมชาติ เหมาะสำหรับพวกฮาร์ดคอร์สายสุขภาพซึ่งมีอยู่ไม่มากนัก

     รูปแบบที่ 2. ตรงๆแต่กลมกล่อม หมายถึงกินมังสวิรัติก็เป็นมังสวิรัติแบบตรงไปตรงมาแต่ว่าปรุงรสให้มันกลมกล่อม ซึ่งคำว่ากลมกล่อมนี้มันหมายถึงรสของกลูตาเมตซึ่งเป็นโมเลกุลโปรตีนชนิดหนี่งในอาหาร และมีคนสกัดออกมาเป็นผลึกเรียกว่าผงชูรสนั่นแหละ อาหารในรูปแบบนี้เหมาะสำหรับคนที่เห็นความสำคัญของอาหารสุขภาพแต่ยังติดในรสชาติเดิมที่คุ้นเคย

     รูปแบบที่ 3 อาหารลอกเลียนเนื้อสัตว์ หมายถึงอาหารพืชแต่ทำหน้าตาและรสชาติเลียนแบบเนื้อสัตว์หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เช่นเด็กถ้าอาหารไม่ใช่หน้าตาแบบไส้กรอกหรือแฮมเบอร์เกอร์จะไม่แตะเลย แต่ถ้าทำหน้าตาเหมือนไส้กรอกหรือแฮมเบอร์เกอร์แม้รสชาติจะไม่เหมือนมากก็ยังจะยอมลองบ้าง คือติดในรูปแบบและรสชาติโดยที่ไม่เห็นความสำคัญของการเป็นอาหารสุขภาพเลย

     ในการสร้างอาหารไทยเพื่อสุขภาพ ต้องทำทั้งสามรูปแบบ เพราะแต่ละรูปแบบก็เหมาะสำหรับแต่ละกลุ่มคน ไม่อาจจะใช้แทนกันได้

     ประเด็นที่ 3. การแบ่งหมวดตามวิธีกิน 

     ในแง่นี้คือการแบ่งอาหารตามขั้นตอนการบริโภค ซึ่งผมมองว่ามีอยู่สีหมวดคือ

     หมวดที่ 1. อาหารสด หมายถึงพืช ผัก ผลไม้ ถั่ว นัท ที่มาแบบสดๆสไตล์ผลผลิตจากไร่ ผมอนุโลมให้น้ำปั่นผักผลไม้แบบไม่ทิ้งกากอยู่ในหมวดนี้ด้วย

     หมวดที่ 2. อาหารพร้อมปรุง หมายถึงอาหารสดแต่เตรียมเป็นห่อหรือชุดให้พร้อมที่จะเอาไปทำอาหารกินในครัว ฝรั่งเรียกว่า pre-cook ซึ่งรูปแบบนี้จะเป็นรูปแบบที่สำคัญสำหรับคนที่กำลังหันมาปรับเปลี่ยนวิธีกินอาหารของตัวเองด้วยการทำอาหารด้วยตนเองมากขึ้น

     หมวดที่ 3. อาหารปรุงสุก อันนี้ก็คืออาหารที่เราสั่งกินตามร้านอาหารหรืออาหารถุงทั้งหลาย มีเอกลักษณ์ว่าซื้อแล้วนั่งกินได้เลย อยู่นอกตู้เย็นได้ไม่กี่ชั่วโมง ถ้าอยู่ในตู้เย็นก็ได้ไม่กี่วัน แล้วก็ต้องทิ้ง

     หมวดที่ 4. อาหารบรรจุเสร็จ หมายถึงอาหารที่อยู่ในกล่อง กระป๋อง หรือซองปิดสนิท ซึ่งอยู่บนหิ้งตามซูเปอร์มาเก็ตได้หลายเดือนหรือนานเป็นปี เป็นอาหารที่ดูเหมือนจะไม่ค่อยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเท่าไหร่ แต่ก็มีลูกค้าจำนวนมาก บางกรณีก็เป็นรูปแบบที่จำเป็น เช่นคุณผู้หญิงฝรั่งชอบพกโปรตีนบาร์หรือนัทบาร์เป็นแท่งบรรจุไว้ในซองอลูมิเนียมปิดผนึกไว้ในกระเป๋าถือ ขับรถไปทำงานก็เอาแท่งนี้ออกมาทาน แล้วก็ดื่มน้ำในกระเป๋าตาม ก็อิ่มไปหนึ่งมื้อ

      ในแง่ของการทำอาหารบรรจุเสร็จนี้ ผมยังอยากให้คำนึงถึงการใส่อะไรที่จำเป็นเพิ่มเข้าไป (fortification) ยกตัวอย่างเช่นในอเมริกาเนื่องจากข้อมูลบอกว่าคนสูงอายุหนึ่งในสามมีระดับวิตามินบี.12 ต่ำ และมีวิตามินดี.ต่ำ จึงมีการใส่ (fortify) วิตามินบี.12 และวิตามินดี. ในอาหารบรรจุเสร็จเช่น นม น้ำส้ม เป็นต้น

     การทำอาหารไทยเพื่อสุขภาพจำเป็นต้องทำทั้งสี่หมวด เพื่อสนองความต้องการลูกค้ากลุ่มต่างๆได้ครบทุกกลุ่ม

     ขอบคุณที่คุณเขียนมาถามถึงการสร้างอาหารไทยเพื่อสุขภาพหรือ Healthy Thai Food และดีใจที่คุณคิดจะทำ นอกจากจะทำให้คนไทยกินแล้ว ผมยังอยากชวนให้คนไทยทำอาหารไทยเพื่อสุขภาพสู่เวทีอาหารโลกด้วย ผมว่ามันเป็นทิศทางดีที่สุดที่เราควรจะเดินไป นอกจากจะทำให้ผู้คนมีสุขภาพดีแล้ว ยังจะช่วยเพิ่มรายได้ให้เกษตกรที่ผลิตอาหารปลอดสารเคมี และทำให้สิ่งแวดล้อมของเราดีขึ้นด้วย 

นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ 

[อ่านต่อ...]

การสร้างอาหารไทยเพื่อสุขภาพ (Healthy Thai Food)

 

(ภาพวันนี้: ระเบียงหลังบ้านมวกเหล็ก วันฝนพรำปลายฝนต้นหนาว)







เรียนคุณหมอสันต์

     ที่คุณหมอว่าควรสร้างอาหารไทยในเวทีโลกให้กลายเป็นอาหารไทยเพื่อสุขภาพ (Healthy Thai Food) ถ้าผมคิดจะทำ มันจะต้องทำอย่างไร มีประเด็นสำคัญอะไรบ้างครับ

........................................................

ตอบครับ

     ประเด็นที่ 1. เนื้อหาสาระของการเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ

     มันมีอยู่ห้าเรื่อง คือ

     1. ต้องเป็นพืช (plant based) คือเป็นอาหารพืชเป็นหลัก เนื้อสัตว์ถ้าจะมีก็เป็นแค่กระสายหรือเป็นแค่ส่วนประกอบ

     2. ต้องเป็นอาหารในรูปแบบใกล้ธรรมชาติ (whole food) ซึ่งมีประเด็นย่อยสำคัญสองประเด็นคือ

     2.1 ไม่มีการสกัด หมายถึงการแยกเอามาแต่ส่วนที่ให้แคลอรี่ เช่นเอามาในรูปของน้ำมัน หรือน้ำตาล หมายความว่าน้ำมันกับน้ำตาลเป็นอาหารสกัดเอากากทิ้ง ซึ่งไม่ใช่อาหารสุขภาพ 

     2.2 ไม่มีการขัดสี หมายถึงการขัดผิวของธัญพืชหลายๆครั้งเพื่อเอารำออกจากเมล็ด เช่นการขัดข้าวกล้องให้เป็นข้าวขาว อาหารไทยที่ดีจึงต้องเป็นข้าวกล้องไม่ใช่ข้าวขาว

     3. มีคุณค่าต่อหน่วยแคลอรีสูง (nutrient density) หมายความว่าในจำนวนแคลอรีที่เท่ากันอาหารสุขภาพควรมีคุณค่าอื่นคือกาก เกลือแร่ วิตามิน สูงด้วย เช่นเปรียบเทียบน้ำอัดลมหนึ่งกระป๋องกับสลัดผักหนึ่งจานต่างก็มีแคลอรีเท่ากันคือ 110 แคลอรี แต่ว่าสลัดมีคุณค่ามากกว่า ขณะที่น้ำอัดลมมีแต่แคลอรี

     4. มีความหลากหลาย อาหารที่ดีต้องมีความหลากหลายเพราะร่างกายต้องการแร่ธาตุเล็กๆน้อยๆแม้จะต้องการไม่มากแต่ก็ขาดไม่ได้ ความหลากหลายของอาหารนี้บอกได้จากสี รสชาติ ฤดูกาล

     5. ต้องไม่ก่อโรค ในที่นี้ก็คือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่นอ้วน ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน ความดัน โรคหลอดเลือด โรคสมองเสื่อม ซึ่งผมขนานนามว่าหกสหายวัฒนะ อาหารที่ก่อโรคหกสหายวัฒนะนี้มีสามส่วนเท่านั้นแหละ คือ

     5.1 แคลอรี หรือพลังงาน ถ้ามีมากเกินไปก็ทำให้เป็นโรคอ้วน ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน แคลอรีนี้มาจากอาหารให้แคลอรี่อันได้แก่ไขมันทุกชนิด น้ำตาล และแป้งขัดสี

     5.2 ไขมันอิ่มตัว ซึ่งเป็นตัวก่อโรคหลอดเลือด มักมาสองทาง คืออาหารเนื้อสัตว์ และน้ำมันผัดทอดอาหาร

     5.3 เกลือ หมายถึงโซเดียม เป็นของจำเป็นแต่ถ้ามีมากเกินไปก็ก่อโรคความดันเลือดสูง

    การจะสร้างอาหารไทยเพื่อสุขภาพต้องให้มีสาระสำคัญครบถ้วนทั้งห้าประเด็นนี้

     ประเด็นที่ 2.  รูปแบบของการนำเสนอ

     เนื่องจากคนกินอาหารมีหลายกลุ่ม มีระดับการยอมรับอาหารเพื่อสุขภาพต่างกัน จึงต้องมีรูปแบบของการนำเสนอให้เหมาะกับกลุ่ม ซึ่งผมคิดว่าน่าจะมีสามกลุ่ม คือ

     รูปแบบที่ 1. ง่ายๆแบบธรรมชาติ หมายถึงกินง่ายๆไม่ปรุงแต่งมาก ตัวอย่างเช่น มีอยู่วันหนึ่งหมอสมวงศ์ไม่ได้มวกเหล็กด้วย ผมเอาฟักที่ปลูกไว้มาต้มกิน ทั้งมื้อมีแต่ฟักท่อนบะเริ่มต้มในน้ำไม่ใส่อะไรเลย อิ่มมาก และอร่อยดี หรืออีกตัวอย่างหนึ่งครูของผมซึ่งเป็นโยคีอินเดียเล่าให้ฟังว่าตื่นเช้าขึ้นมาบางวันท่านเอาถั่วลิสงซึ่งแช่ข้ามคืนไว้แล้วมาใส่โถปั่น แล้วซอยกล้วยลูกหนึ่งเป็นแว่นใส่ลงไปด้วย แล้วปั่น แล้วเอาช้อนตักกิน นั่นเป็นอาหารหนึ่งวันสำหรับท่าน นี่เรียกว่ากินในรูปแบบง่ายๆแบบธรรมชาติ เหมาะสำหรับพวกฮาร์ดคอร์สายสุขภาพซึ่งมีอยู่ไม่มากนัก

     รูปแบบที่ 2. ตรงๆแต่กลมกล่อม หมายถึงกินมังสวิรัติก็เป็นมังสวิรัติแบบตรงไปตรงมาแต่ว่าปรุงรสให้มันกลมกล่อม ซึ่งคำว่ากลมกล่อมนี้มันหมายถึงรสของกลูตาเมตซึ่งเป็นโมเลกุลโปรตีนชนิดหนี่งในอาหาร และมีคนสกัดออกมาเป็นผลึกเรียกว่าผงชูรสนั่นแหละ อาหารในรูปแบบนี้เหมาะสำหรับคนที่เห็นความสำคัญของอาหารสุขภาพแต่ยังติดในรสชาติเดิมที่คุ้นเคย

     รูปแบบที่ 3 อาหารลอกเลียนเนื้อสัตว์ หมายถึงอาหารพืชแต่ทำหน้าตาและรสชาติเลียนแบบเนื้อสัตว์หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เช่นเด็กถ้าอาหารไม่ใช่หน้าตาแบบไส้กรอกหรือแฮมเบอร์เกอร์จะไม่แตะเลย แต่ถ้าทำหน้าตาเหมือนไส้กรอกหรือแฮมเบอร์เกอร์แม้รสชาติจะไม่เหมือนมากก็ยังจะยอมลองบ้าง คือติดในรูปแบบและรสชาติโดยที่ไม่เห็นความสำคัญของการเป็นอาหารสุขภาพเลย

     ในการสร้างอาหารไทยเพื่อสุขภาพ ต้องทำทั้งสามรูปแบบ เพราะแต่ละรูปแบบก็เหมาะสำหรับแต่ละกลุ่มคน ไม่อาจจะใช้แทนกันได้

     ประเด็นที่ 3. การแบ่งหมวดตามวิธีกิน 

     ในแง่นี้คือการแบ่งอาหารตามขั้นตอนการบริโภค ซึ่งผมมองว่ามีอยู่สีหมวดคือ

     หมวดที่ 1. อาหารสด หมายถึงพืช ผัก ผลไม้ ถั่ว นัท ที่มาแบบสดๆสไตล์ผลผลิตจากไร่ ผมอนุโลมให้น้ำปั่นผักผลไม้แบบไม่ทิ้งกากอยู่ในหมวดนี้ด้วย

     หมวดที่ 2. อาหารพร้อมปรุง หมายถึงอาหารสดแต่เตรียมเป็นห่อหรือชุดให้พร้อมที่จะเอาไปทำอาหารกินในครัว ฝรั่งเรียกว่า pre-cook ซึ่งรูปแบบนี้จะเป็นรูปแบบที่สำคัญสำหรับคนที่กำลังหันมาปรับเปลี่ยนวิธีกินอาหารของตัวเองด้วยการทำอาหารด้วยตนเองมากขึ้น

     หมวดที่ 3. อาหารปรุงสุก อันนี้ก็คืออาหารที่เราสั่งกินตามร้านอาหารหรืออาหารถุงทั้งหลาย มีเอกลักษณ์ว่าซื้อแล้วนั่งกินได้เลย อยู่นอกตู้เย็นได้ไม่กี่ชั่วโมง ถ้าอยู่ในตู้เย็นก็ได้ไม่กี่วัน แล้วก็ต้องทิ้ง

     หมวดที่ 4. อาหารบรรจุเสร็จ หมายถึงอาหารที่อยู่ในกล่อง กระป๋อง หรือซองปิดสนิท ซึ่งอยู่บนหิ้งตามซูเปอร์มาเก็ตได้หลายเดือนหรือนานเป็นปี เป็นอาหารที่ดูเหมือนจะไม่ค่อยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเท่าไหร่ แต่ก็มีลูกค้าจำนวนมาก บางกรณีก็เป็นรูปแบบที่จำเป็น เช่นคุณผู้หญิงฝรั่งชอบพกโปรตีนบาร์หรือนัทบาร์เป็นแท่งบรรจุไว้ในซองอลูมิเนียมปิดผนึกไว้ในกระเป๋าถือ ขับรถไปทำงานก็เอาแท่งนี้ออกมาทาน แล้วก็ดื่มน้ำในกระเป๋าตาม ก็อิ่มไปหนึ่งมื้อ

      ในแง่ของการทำอาหารบรรจุเสร็จนี้ ผมยังอยากให้คำนึงถึงการใส่อะไรที่จำเป็นเพิ่มเข้าไป (fortification) ยกตัวอย่างเช่นในอเมริกาเนื่องจากข้อมูลบอกว่าคนสูงอายุหนึ่งในสามมีระดับวิตามินบี.12 ต่ำ และมีวิตามินดี.ต่ำ จึงมีการใส่ (fortify) วิตามินบี.12 และวิตามินดี. ในอาหารบรรจุเสร็จเช่น นม น้ำส้ม เป็นต้น

     การทำอาหารไทยเพื่อสุขภาพจำเป็นต้องทำทั้งสี่หมวด เพื่อสนองความต้องการลูกค้ากลุ่มต่างๆได้ครบทุกกลุ่ม

     ขอบคุณที่คุณเขียนมาถามถึงการสร้างอาหารไทยเพื่อสุขภาพหรือ Healthy Thai Food และดีใจที่คุณคิดจะทำ นอกจากจะทำให้คนไทยกินแล้ว ผมยังอยากชวนให้คนไทยทำอาหารไทยเพื่อสุขภาพสู่เวทีอาหารโลกด้วย ผมว่ามันเป็นทิศทางดีที่สุดที่เราควรจะเดินไป นอกจากจะทำให้ผู้คนมีสุขภาพดีแล้ว ยังจะช่วยเพิ่มรายได้ให้เกษตกรที่ผลิตอาหารปลอดสารเคมี และทำให้สิ่งแวดล้อมของเราดีขึ้นด้วย 

นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ 

[อ่านต่อ...]

29 ตุลาคม 2563

ทุกประเด็นเกี่ยวกับ MSG และผงชูรส

(ภาพประจำวัน: วันนี้ผมผ่านไปทางเจริญกรุง จึงแวะไปสุสานโปรเตสแตนท์ที่ริมน้ำเจ้าพระยา ถือโอกาสสำรวจหลุมศพต่างๆ รวมทั้งหลุมศพหมอบรัดเลย์ (Daniel Beach Bradley) ซึ่งผมถือว่าเป็นบิดาวิชาแพทย์แผนใหม่ของเมืองไทยตัวจริง คือทั้งเป็นผู้เริ่มต้นปลูกฝึฉีดวัคซีน เริ่มการฝากครรภ์ทำคลอดแบบไม่ต้องอยู่ไฟนานเป็นเดือนๆอีกต่อไปทั้งยังเขียนและพิมพ์ตำราเรื่องนี้ด้วย และทั้งเริ่มทำผ่าตัดแบบแผนใหม่เป็นครั้งแรกในเมืองไทยโดยตัดเนื้องอกให้ทาสในวังคนหนึ่ง และยังเปิดคลินิกรักษาโรคแก่คนทั่วไปทุกวันอีกต่างหาก ทั้งหมดนี้ทำตั้งแต่สมัยร.3โน่นนะ ผมเองก็เพิ่งรู้จากการไปเยี่ยมหลุมศพครั้งนี้เองว่าเขาทำงานอยู่ในเมืองไทยช่วงปีค.ศ.1835-1873 ซึ่งเผอิญเป็นช่วงเวลาเดียวกันที่ผลงานการปลูกฝีของเอ็ดเวิร์ดเจนเนอร์เป็นที่ยอมรับในอังกฤษพอดี (1840) เรียกว่าหมอบรัดเลย์นี้ปลูกฝีฉีดวัคซีนในเมืองไทยเกือบจะพร้อมกับที่โลกนี้เริ่มคิดวัคซีนขึ้นมาใช้เลยทีเดียว)


…………………………………………………………

เรียนคุณหมอสันต์
อยากให้พูดถึง MSG อย่างละเอียดว่าดีไม่ดีอย่างไร จะได้เข้าใจจริงๆเสียที
ขอบคุณค่ะ
……………………………………………………………
ตอบครับ

   โอเค. วันนี้คุยกันเรื่องนี้เสียทีก็ดีเหมือนกัน ก่อนอื่นหมอสันต์ต้องขอประกาศเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนก่อนนะว่า ผ่าง ผ่าง ผ่าง หมอสันต์ไม่มีเอี่ยวหรือไม่มีดองอะไรกับอุตสาหกรรมการผลิตหรือจำหน่ายผงชูรสทั้งสิ้น หมอสันต์อาจจะมีเพื่อนซี้บางคนทำวิตามินขาย ทำโรงแรม ทำโรงพยาบาล แต่ไม่มีใครทำผงชูรสขาย หิ หิ

     ในแง่ของโครงสร้างทางเคมี ผลชูรสมีชื่อเคมีว่า monosodium glutamate – MSG มันเป็นโมเลกุลโปรตีนชนิดหนึ่งซึ่งมีอยู่ในอาหารธรรมชาติ มีเอกลักษณ์ว่ามันทำให้เกิดรส “กลมกล่อม” ในอาหาร โคตรเหง้าศักราชของเรื่องผงชูรสนี้มันเกิดจากมีคนญี่ปุ่นคนหนึ่งเอาซุปสาหร่ายยอดนิยมที่คนญี่ปุ่นกินกันมาแต่โบราณมาแยกเอา MSG ออกมาเป็นผลึกขาวๆได้ จึงกลายมาเป็นผงชูรสในปัจจุบัน แต่เนื่องจากสาหร่ายทะเลมันเก็บยาก ต่อมาก็มีคนหัวใสเอาความจริงที่ว่าแป้งในพืชหลายชนิดเช่นบีทรูท อ้อย มันสำปะหลัง เมื่อเอามาหมักแล้วก็จะได้ MSG เหมือนกัน วิธีหมักก็หมักเหมือนหมักเบียร์หมักน้ำส้มสายชูหมักนมเปรี้ยวหรือหมักน้ำหมักป้าเช็งนั่นแหละ ดังนั้นผงชูรสทุกวันนี้จึงทำจากพืชที่ถูกที่สุด ถ้าทำขายก็ทำจากมันสำปะหลัง ถ้าทำกินเองก็หมักถั่วเหลืองบ้าง บีทรูทบ้าง อ้อยบ้าง กากน้ำตาลบ้าง 

     ผงชูรสเลวต่อสุขภาพจริงไหม

    ตอบว่าไม่จริงหรอกครับ ไม่มีหลักฐานอะไรว่าผงชูรสมีผลเสียอะไรเป็นเนื้อเป็นหนัง อย.สหรัฐฯจัดมันเป็นอาหารในกลุ่มอาหารปลอดภัยสำหรับกรณีทั่วไป (generally recognized as safe – GRAS) 

     ผงชูรสทำให้เป็นมะเร็งจริงไหม

     ตอบว่าไม่จริงหรอกครับ มีงานวิจัยเรื่องนี้มากจนสรุปผลได้ชัดแล้วว่า MSG ไม่ใช่สารก่อมะเร็งทั้งในสัตว์และในคน

    ผงชูรสทำให้แพ้ง่ายจริงไหม

     ตอบว่าไม่จริงหรอกครับ งานวิจัยเอาคนที่บอกว่าตัวเองแพ้ MSG มาจับฉลากแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งให้กิน MSG จริง อีกกลุ่มหนึ่งให้กินยาหลอกก็พบว่าไม่มีอาการแพ้แตกต่างกันแต่อย่างใด

     คนแพ้กลูเต็นจะแพ้ผงชูรสจริงไหม

     ตอบว่าไม่จริงครับ กลูเต็นซึ่งเป็นโปรตีนจากข้าวสาลี (wheat) ไม่ได้เป็นญาติอะไรกับกลูตาเมท แม้จะชื่อคล้ายกันก็ตาม แต่คนเป็นโรคแพ้กลูเต็นซึ่งมีชื่อเรียกว่าโรค Celiac disease เวลามากินซอสถั่วเหลืองหรือซีอิ้วอาจจะแพ้เพราะในการทำซีอิ้วมักใช้แป้งข้าวสาลีทำด้วย

     แล้วพวกที่กินภัตราคารจีนแล้วมีอาการแพ้ผงชูรสละ

    นับจนถึงวันนี้ ยังไม่มีใครพิสูจน์ได้ว่ากลุ่มอาการเวียนหัวคลื่นไส้อาเจียนปากหนาปากชาจากการกินอาหารในภัตราคารจีน (Chinese restaurant syndrome) เกิดจากการแพ้ MSG อย.สหรัฐฯซึ่งเปิดรับรายงานการแพ้ MSG ตลอดมาก็ไม่มีหลักฐานว่ามีการแพ้ MSG ที่พิสูจน์ได้จริงๆสักราย

     มันมีอยู่ช่วงหนึ่งประมาณปี 1990 ที่อย.สหรัฐฯได้ขอให้กลุ่มนักวิทยาศาสตร์อิสระ (Federation of American Societies for Experimental Biology (FASEB) ทำการตรวจสอบความปลอดภัยของ MSG ซึ่ง FASEB ก็รายงานว่า MSG ปลอดภัยดีอยู่ มีผู้ป่วยบางรายที่ทดลองให้กินผงชูรสเพียวๆ 3 กรัมโดยไม่มีอาหารแล้วเกิดอาหารแบบเมาอาหารจีนขึ้น แต่เป็นอาการชั่วคราวแล้วหายไป แต่ไม่พบคนมีอาการดังกล่าวที่กิน MSG ในอาหารปกติซึ่งมีปริมาณเฉลี่ยอยู่ที่ 0.5 grams ต่อครั้งเป็นอย่างมาก 

     แล้วโซเดียมใน MSG ละ ไม่ทำให้ความดันสูงหรือ

     โซเดียมมีในอาหารเกือบทุกชนิด ถ้าความดันเลือดสูงและจะลดโซเดียม ให้เล็งไปที่เกลือเลยครับ เพราะเรากินโซเดียมจากเกลือวันละหลายกรัม ขณะที่โซเดียมจากผงชูรสอย่างเก่งก็ได้วันละไม่ถึงครึ่งกรัม แต่ถ้าจะลดโซเดียมให้สุดๆ จะหยุดกินผงชูรสด้วยก็ยิ่งดี

     แล้วผงชูรสแตกต่างจากกรดกลูตาเมทในอาหารธรรมชาติอย่างไร

     ในแง่โครงสร้างทางเคมี กลูตาเมทในผงชูรสเหมือนกับกลูตาเมทในอาหารธรรมชาติทุกประการ มีฤทธิในร่างกายเหมือนกันทุกประการ ไม่ต่างกันเลย คนปกติกินกลูตาเมทจากอาหารธรรมชาติวันละเฉลี่ย 13 กรัม ส่วนคนนิยมผงชูรสกินกลูตาเมทจากผงชูรสเฉลี่ยวันวะ 0.55 กรัม

     จะรู้ได้อย่างไรว่าในอาหารมีผงชูรสหรือไม่

     ก็อาศัยอ่านฉลากอย่างเดียวแหละครับ เพราะกฎหมายบังคับว่าหากใส่ผงชูรสลงไปให้บอกในฉลาก แต่หากเป็นกลูตาเมตที่ติดมาในอาหารธรรมชาติเช่นโปรตีนพืช ยีสต์หมัก ผงยีสต์ ถั่วเหลืองหมัก โปรตีนไอโซเลท (เวย์) มะเขือเทศ ชีส ไม่ต้องบอกว่ามีกลูตาเมตก็ได้ 

     ประเด็นสำคัญคือการติดฉลากว่าไม่ได้ใส่ผงชูรสนั้นโอเค. แต่การติดฉลากว่าไม่มี MSG นั้นมีโอกาสจะไม่จริง เพราะอาหารธรรมชาติที่คนเรากินเกือบทุกชนิดมี MSG

     ทำไมหมอสันต์เขียนเรื่องผงชูรส

     เพราะว่าผมสนับสนุนอาหารมังสวิรัติซึ่งไม่มีเนื้อสัตว์ แต่ผู้คนโหยหารสชาติ “กลมกล่อม” ซึ่งเป็นรสของกลูตาเมต แต่คนทำอาหารมังสะวิรัติถูกห้ามใชผงชูรสเพราะลูกค้ามองผงชูรสว่าเป็นของไม่ดีต่อสุขภาพ พวกติดรสกลมกล่อมก็หนีไปหาอาหารเนื้อสัตว์ซึ่งเป็นแหล่งหลักของกลูตาเมต โดยเฉพาะคนส่วนใหญ่ซึ่งไม่สามารถฝ่าข้ามการ “ลงแดง” จากการติดรสชาติอาหารได้ ส่วนคนที่เอาใจใส่สุขภาพดีมากและกินอาหารธรรมชาติได้โดยไม่ติดในรสชาติคนกลุ่มนั้นเราไม่ต้องห่วงเขาแล้ว ห่วงแต่คนส่วนใหญ่ที่ยังติดรสชาติ การทำให้คนเข้าใจเรื่องนี้ดีขึ้น จะทำให้ผู้ทำอาหารมังสวิรัติกล้าทำอาหารรสชาติกลมกล่อมเอาใจคนติดรสชาติมากขึ้น อาหารมังสวิรัติก็จะเป็นที่ยอมรับและแพร่ขยายไปได้เร็วขึ้น สุขภาพของผู้คนก็จะดีขึ้น…ซ.ต.พ.

นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์

[อ่านต่อ...]

ทุกประเด็นเกี่ยวกับ MSG และผงชูรส

(ภาพประจำวัน: วันนี้ผมผ่านไปทางเจริญกรุง จึงแวะไปสุสานโปรเตสแตนท์ที่ริมน้ำเจ้าพระยา ถือโอกาสสำรวจหลุมศพต่างๆ รวมทั้งหลุมศพหมอบรัดเลย์ (Daniel Beach Bradley) ซึ่งผมถือว่าเป็นบิดาวิชาแพทย์แผนใหม่ของเมืองไทยตัวจริง คือทั้งเป็นผู้เริ่มต้นปลูกฝึฉีดวัคซีน เริ่มการฝากครรภ์ทำคลอดแบบไม่ต้องอยู่ไฟนานเป็นเดือนๆอีกต่อไปทั้งยังเขียนและพิมพ์ตำราเรื่องนี้ด้วย และทั้งเริ่มทำผ่าตัดแบบแผนใหม่เป็นครั้งแรกในเมืองไทยโดยตัดเนื้องอกให้ทาสในวังคนหนึ่ง และยังเปิดคลินิกรักษาโรคแก่คนทั่วไปทุกวันอีกต่างหาก ทั้งหมดนี้ทำตั้งแต่สมัยร.3โน่นนะ ผมเองก็เพิ่งรู้จากการไปเยี่ยมหลุมศพครั้งนี้เองว่าเขาทำงานอยู่ในเมืองไทยช่วงปีค.ศ.1835-1873 ซึ่งเผอิญเป็นช่วงเวลาเดียวกันที่ผลงานการปลูกฝีของเอ็ดเวิร์ดเจนเนอร์เป็นที่ยอมรับในอังกฤษพอดี (1840) เรียกว่าหมอบรัดเลย์นี้ปลูกฝีฉีดวัคซีนในเมืองไทยเกือบจะพร้อมกับที่โลกนี้เริ่มคิดวัคซีนขึ้นมาใช้เลยทีเดียว)

..................................................................

เรียนคุณหมอสันต์
อยากให้พูดถึง MSG อย่างละเอียดว่าดีไม่ดีอย่างไร จะได้เข้าใจจริงๆเสียที
ขอบคุณค่ะ

.....................................................................

ตอบครับ

   โอเค. วันนี้คุยกันเรื่องนี้เสียทีก็ดีเหมือนกัน ก่อนอื่นหมอสันต์ต้องขอประกาศเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนก่อนนะว่า ผ่าง ผ่าง ผ่าง หมอสันต์ไม่มีเอี่ยวหรือไม่มีดองอะไรกับอุตสาหกรรมการผลิตหรือจำหน่ายผงชูรสทั้งสิ้น หมอสันต์อาจจะมีเพื่อนซี้บางคนทำวิตามินขาย ทำโรงแรม ทำโรงพยาบาล แต่ไม่มีใครทำผงชูรสขาย หิ หิ

     ในแง่ของโครงสร้างทางเคมี ผลชูรสมีชื่อเคมีว่า monosodium glutamate – MSG มันเป็นโมเลกุลโปรตีนชนิดหนึ่งซึ่งมีอยู่ในอาหารธรรมชาติ มีเอกลักษณ์ว่ามันทำให้เกิดรส “กลมกล่อม” ในอาหาร โคตรเหง้าศักราชของเรื่องผงชูรสนี้มันเกิดจากมีคนญี่ปุ่นคนหนึ่งเอาซุปสาหร่ายยอดนิยมที่คนญี่ปุ่นกินกันมาแต่โบราณมาแยกเอา MSG ออกมาเป็นผลึกขาวๆได้ จึงกลายมาเป็นผงชูรสในปัจจุบัน แต่เนื่องจากสาหร่ายทะเลมันเก็บยาก ต่อมาก็มีคนหัวใสเอาความจริงที่ว่าแป้งในพืชหลายชนิดเช่นบีทรูท อ้อย มันสำปะหลัง เมื่อเอามาหมักแล้วก็จะได้ MSG เหมือนกัน วิธีหมักก็หมักเหมือนหมักเบียร์หมักน้ำส้มสายชูหมักนมเปรี้ยวหรือหมักน้ำหมักป้าเช็งนั่นแหละ ดังนั้นผงชูรสทุกวันนี้จึงทำจากพืชที่ถูกที่สุด ถ้าทำขายก็ทำจากมันสำปะหลัง ถ้าทำกินเองก็หมักถั่วเหลืองบ้าง บีทรูทบ้าง อ้อยบ้าง กากน้ำตาลบ้าง 

     ผงชูรสเลวต่อสุขภาพจริงไหม

    ตอบว่าไม่จริงหรอกครับ ไม่มีหลักฐานอะไรว่าผงชูรสมีผลเสียอะไรเป็นเนื้อเป็นหนัง อย.สหรัฐฯจัดมันเป็นอาหารในกลุ่มอาหารปลอดภัยสำหรับกรณีทั่วไป (generally recognized as safe - GRAS) 

     ผงชูรสทำให้เป็นมะเร็งจริงไหม

     ตอบว่าไม่จริงหรอกครับ มีงานวิจัยเรื่องนี้มากจนสรุปผลได้ชัดแล้วว่า MSG ไม่ใช่สารก่อมะเร็งทั้งในสัตว์และในคน

    ผงชูรสทำให้แพ้ง่ายจริงไหม

     ตอบว่าไม่จริงหรอกครับ งานวิจัยเอาคนที่บอกว่าตัวเองแพ้ MSG มาจับฉลากแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งให้กิน MSG จริง อีกกลุ่มหนึ่งให้กินยาหลอกก็พบว่าไม่มีอาการแพ้แตกต่างกันแต่อย่างใด

     คนแพ้กลูเต็นจะแพ้ผงชูรสจริงไหม

     ตอบว่าไม่จริงครับ กลูเต็นซึ่งเป็นโปรตีนจากข้าวสาลี (wheat) ไม่ได้เป็นญาติอะไรกับกลูตาเมท แม้จะชื่อคล้ายกันก็ตาม แต่คนเป็นโรคแพ้กลูเต็นซึ่งมีชื่อเรียกว่าโรค Celiac disease เวลามากินซอสถั่วเหลืองหรือซีอิ้วอาจจะแพ้เพราะในการทำซีอิ้วมักใช้แป้งข้าวสาลีทำด้วย

     แล้วพวกที่กินภัตราคารจีนแล้วมีอาการแพ้ผงชูรสละ

    นับจนถึงวันนี้ ยังไม่มีใครพิสูจน์ได้ว่ากลุ่มอาการเวียนหัวคลื่นไส้อาเจียนปากหนาปากชาจากการกินอาหารในภัตราคารจีน (Chinese restaurant syndrome) เกิดจากการแพ้ MSG อย.สหรัฐฯซึ่งเปิดรับรายงานการแพ้ MSG ตลอดมาก็ไม่มีหลักฐานว่ามีการแพ้ MSG ที่พิสูจน์ได้จริงๆสักราย

     มันมีอยู่ช่วงหนึ่งประมาณปี 1990 ที่อย.สหรัฐฯได้ขอให้กลุ่มนักวิทยาศาสตร์อิสระ (Federation of American Societies for Experimental Biology (FASEB) ทำการตรวจสอบความปลอดภัยของ MSG ซึ่ง FASEB ก็รายงานว่า MSG ปลอดภัยดีอยู่ มีผู้ป่วยบางรายที่ทดลองให้กินผงชูรสเพียวๆ 3 กรัมโดยไม่มีอาหารแล้วเกิดอาหารแบบเมาอาหารจีนขึ้น แต่เป็นอาการชั่วคราวแล้วหายไป แต่ไม่พบคนมีอาการดังกล่าวที่กิน MSG ในอาหารปกติซึ่งมีปริมาณเฉลี่ยอยู่ที่ 0.5 grams ต่อครั้งเป็นอย่างมาก 

     แล้วโซเดียมใน MSG ละ ไม่ทำให้ความดันสูงหรือ

     โซเดียมมีในอาหารเกือบทุกชนิด ถ้าความดันเลือดสูงและจะลดโซเดียม ให้เล็งไปที่เกลือเลยครับ เพราะเรากินโซเดียมจากเกลือวันละหลายกรัม ขณะที่โซเดียมจากผงชูรสอย่างเก่งก็ได้วันละไม่ถึงครึ่งกรัม แต่ถ้าจะลดโซเดียมให้สุดๆ จะหยุดกินผงชูรสด้วยก็ยิ่งดี

     แล้วผงชูรสแตกต่างจากกรดกลูตาเมทในอาหารธรรมชาติอย่างไร

     ในแง่โครงสร้างทางเคมี กลูตาเมทในผงชูรสเหมือนกับกลูตาเมทในอาหารธรรมชาติทุกประการ มีฤทธิในร่างกายเหมือนกันทุกประการ ไม่ต่างกันเลย คนปกติกินกลูตาเมทจากอาหารธรรมชาติวันละเฉลี่ย 13 กรัม ส่วนคนนิยมผงชูรสกินกลูตาเมทจากผงชูรสเฉลี่ยวันวะ 0.55 กรัม

     จะรู้ได้อย่างไรว่าในอาหารมีผงชูรสหรือไม่

     ก็อาศัยอ่านฉลากอย่างเดียวแหละครับ เพราะกฎหมายบังคับว่าหากใส่ผงชูรสลงไปให้บอกในฉลาก แต่หากเป็นกลูตาเมตที่ติดมาในอาหารธรรมชาติเช่นโปรตีนพืช ยีสต์หมัก ผงยีสต์ ถั่วเหลืองหมัก โปรตีนไอโซเลท (เวย์) มะเขือเทศ ชีส ไม่ต้องบอกว่ามีกลูตาเมตก็ได้ 

     ประเด็นสำคัญคือการติดฉลากว่าไม่ได้ใส่ผงชูรสนั้นโอเค. แต่การติดฉลากว่าไม่มี MSG นั้นมีโอกาสจะไม่จริง เพราะอาหารธรรมชาติที่คนเรากินเกือบทุกชนิดมี MSG

     ทำไมหมอสันต์เขียนเรื่องผงชูรส

     เพราะว่าผมสนับสนุนอาหารมังสวิรัติซึ่งไม่มีเนื้อสัตว์ แต่ผู้คนโหยหารสชาติ “กลมกล่อม” ซึ่งเป็นรสของกลูตาเมต แต่คนทำอาหารมังสะวิรัติถูกห้ามใชผงชูรสเพราะลูกค้ามองผงชูรสว่าเป็นของไม่ดีต่อสุขภาพ พวกติดรสกลมกล่อมก็หนีไปหาอาหารเนื้อสัตว์ซึ่งเป็นแหล่งหลักของกลูตาเมต โดยเฉพาะคนส่วนใหญ่ซึ่งไม่สามารถฝ่าข้ามการ "ลงแดง" จากการติดรสชาติอาหารได้ ส่วนคนที่เอาใจใส่สุขภาพดีมากและกินอาหารธรรมชาติได้โดยไม่ติดในรสชาติคนกลุ่มนั้นเราไม่ต้องห่วงเขาแล้ว ห่วงแต่คนส่วนใหญ่ที่ยังติดรสชาติ การทำให้คนเข้าใจเรื่องนี้ดีขึ้น จะทำให้ผู้ทำอาหารมังสวิรัติกล้าทำอาหารรสชาติกลมกล่อมเอาใจคนติดรสชาติมากขึ้น อาหารมังสวิรัติก็จะเป็นที่ยอมรับและแพร่ขยายไปได้เร็วขึ้น สุขภาพของผู้คนก็จะดีขึ้น...ซ.ต.พ.

นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์


[อ่านต่อ...]

28 ตุลาคม 2563

ขอความหวังให้กับคนเป็นโรค ALS หน่อยได้ไหมคะ


(ภาพประจำวัน: สองวันก่อนผมขับรถผ่านไปทางตำบลโป่งตาลอง อ.ปากช่อง จึงแวะไปดูหลักฐานที่ว่าสิ่งที่หมอสันต์ทำไว้ในชีวิตนี้ที่ไร้สาระและไม่ได้เรื่องได้ราวก็มีแยะเหมือนกัน ที่ตรงนี้อยู่ติดรั้วอุทยานเขาใหญ่ ชายหมู่บ้านตะเคียนงาม เมื่อประมาณสิบปีมาแล้วผมตั้งแค้มป์สำหรับนักเดินป่าขึ้นที่นี่ ให้ชื่อว่า Base Camp 3 ไอเดียก็เพื่อจะให้เป็นเบสแค้มป์สำหรับนักนิยมไพรที่จะเข้าไปเดินป่าเขาใหญ่ แต่ไปไม่รอดเพราะมีศึกหลายด้านเหลือเกิน ปลูกข้าวโพดไว้หมีก็พาลูกเข้ามาแย่งเก็บกิน ทำรั้วไว้กันกวางกันกระทิงเพื่อจะปลูกผักก็ถูกช้างก็เข้ามาเหยียบ เมื่อสองเดือนก่อนน้องคนปากช่องที่เคยช่วยทำแค้มป์ตรงนี้มาขอซื้อเพื่อเอาไปทำบ้านทาร์ซานให้ฝรั่งซำเหมาเช่านอน ผมจึงรีบ "ขายถูกขายฮาด" ให้เขาไปเลย ขอบคุณนะน้องที่ช่วยพี่ให้จบโปรเจ็คนี้ได้)

 ...........................................................

เรียนคุณหมอสันต์

แฟนหนูเป็นโรค ALS แพทย์ที่โรงพยาบาล ... บอกว่าเป็นโรคที่ไม่มีวิธีรักษาให้หาย จะอยู่ได้ประมาณ 3 ปี และให้กลับบ้านไม่นัดต่อแล้ว ให้กลับมาเองหากเริ่มมีอาการหายใจไม่ได้และตัดสินใจจะเจาะคอ หนูฟังแล้วแน่นในอกเลย มันไม่มีความหวังอะไรเหลือให้เลยหรือคะ หนูหวังพึ่งคุณหมอสันต์ช่วยให้ความหวังหรือมีอะไรที่เราพอจะทำให้ตัวเองได้บ้าง

ขอบพระคุณค่ะ

...................................................

ตอบครับ

    ก่อนตอบคำถามของคุณขอเล่าให้ท่านผู้อ่านทั่วไปฟังก่อนนะว่าโรคเอแอลเอส. (Amyotrophic lateral sclerosis -ALS) คือโรคที่เกิดความเสียหายขึ้นกับเซลประสาทสั่งการเคลื่อนไหว (motor neurons) แบบค่อยๆเป็นหนักขึ้นๆจนกล้ามเนื้อควบคุมการเคลื่อนไหว การเดิน การพูด การเคี้ยว และการหายใจ ทำงานไม่ได้ มีอาการเริ่มต้นแบบเกร็งบ้าง แข็งบ้าง กล้ามเนื้ออ่อนแรงบ้าง ทั้งกล้ามเนื้อแขน ขา หน้า ตา ลิ้น อาการมีแต่ทรงกับทรุด ในที่สุดก็เดินไม่ได้ นั่งไม่ได้ ต้องนอนแบ็บอัมพาตกินทั้งแขนและขา มีเวลารอดชีวิตนับถึงก่อนการเจาะคอ (pre-tracheostomy survival) เฉลี่ยประมาณ 3 ปี ส่วนใหญ่จบชีวิตเพราะหายใจไม่ออกถ้าไม่เจาะคอ ถ้าเจาะคอก็ด้วยการติดเชื้อในปอด

     สาเหตุของโรคนี้เกิดจากอะไรไม่รู้ ประมาณ 5-10% เกี่ยวกับกรรมพันธุ์ ที่เหลือเกิดจากปัจจัยสิ่งแวดล้อม ทหารที่ผ่านสงครามมาจะมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าชาวบ้าน เดาเอาว่าคงเป็นเพราะได้รับสารพิษอะไรสักอย่างระหว่างสงคราม

    การวินิจฉัยโรคนี้เป็นเรื่องของแพทย์ทางด้านประสาทวิทยา ซึ่งจะจับประเด็นสำคัญตรงที่โรคนี้มีความเสียหายต่อระบบกล้ามเนื้อสั่งการเคลื่อนไหวทั้งสองระดับ กล่าวคือระบบเส้นประสาทสั่งการเคลื่อนไหวของคนเรานี้มีสองระดับ คือระดับส่วนกลาง (upper motor neurons) และส่วนภูมิภาค (lower motor neurons) การวินิจฉัยโรคนี้จึงต้องอาศัยการตรวจทางประสาทวิทยาเป็นสำคัญ แล้วยืนยันด้วยการตรวจไฟฟ้าในเส้นประสาท (NCS) และในกล้ามเนื้อ (EMG) ส่วนการตรวจด้วยเครื่องมือหนักเช่น MRI นั้นทำเพื่อวินิจฉัยแยกโรคอื่นเท่านั้น ไม่ได้ช่วยในการวินิจฉัยโรคนี้

     เอาละ คราวนี้มาตอบคำถามของคุณ ซึ่งมีคำถามเดียวว่าไม่มีอะไรจะให้ความหวังหรืออะไรที่จะพอทำเองได้บ้างเลยหรือ ตอบว่าก็พอมีอยู่บ้างนะครับ กล่าวคือ

     1. ที่ว่าโรคนี้ไม่หายปึ๊ดเลยนั้นเป็นความจริงกับคนป่วยส่วนใหญ่ แต่มีส่วนน้อยที่หายได้เหมือนกัน มีหมอประสาทวิทยาคนหนึ่งถ้าผมจำชื่อไม่ผิดเขาชื่อ Dr.Richard Bedlack หรืออะไรคล้ายๆนี้แหละ อยู่ที่ Duke Univ. เขาทำวิจัยโดยเปิดเว็บไซท์รับแจ้งข่าวคนป่วยโรคเอแอลเอสทั่วโลกที่หายได้ แล้วส่งทีมไปตรวจสอบหลักฐานว่าเป็นโรคนี้จริงหรือเปล่าหายจริงหรือเปล่า หายนี่หมายความแบบบ้านๆเลยว่าจากเป็นอัมพาตสองมือสองเท้านอนที่แล้วกลับลุกมาเดินได้ เขาพบว่านับถึงวันนี้มีผู้ป่วยที่มีหลักฐานว่าเป็นโรคนี้จริงและหายจริงอยู่ 48 ราย แต่ยังสรุปปัจจัยที่ทำให้หายไม่ได้ 

     2. ที่ว่าโรคนี้เป็นแล้วอยู่ได้แค่ 3 ปีนั้นเป็นจริงสำหรับคนส่วนใหญ่ แต่มี 10% ที่อยู่ได้ถึง 10 ปีขึ้นไป บางคนอย่าง Dr.Stephen Hawkins ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์คนดังยังอยู่ได้นานถึง 50 ปีเลยนะคุณ

     3. ที่ว่ามีอะไรจะทำให้หายได้บ้าง วิทยาศาสตร์ระดับที่ชัวร์ๆยังไม่มี แต่มีงานวิจัยระดับสุ่มตัวอย่างแบ่งกลุ่มเปรียบเทียบขนาดเล็กซึ่งทำกันนานสามเดือนงานหนึ่งพบว่าการให้กินเคอร์คูมิน (ในขมิ้นชัน) ทำให้โรคชลอตัวลงขณะที่กลุ่มกินยาหลอกโรคเดินหน้ามากขึ้น ข้อมูลนี้สอดคล้องกับงานวิจัยนับหัวผู้หายจากโรคนี้ของ Dr. Bedlack ที่ว่าที่เป็นเอแอลเอสแล้วหายรวม 48 คนนั้น ในจำนวนนี้ 6 คนมีการใช้เคอร์คูมินหรือขมิ้นชันร่วมรักษาด้วย ดังนั้นขมิ้นชันนี้เป็นอะไรที่น่าลองนะครับ ไม่มีอะไรเสีย พิษก็ไม่มี เนื่องจากคนอินเดียกินขมิ้นชันเป็นอาหารกันทุกคนๆละวันละ 5 กรัมตลอดชีพก็ไม่เห็นมีใครเป็นอะไร

     กลไกที่ขมิ้นชันจะไปรักษาโรคนี้ได้อย่างไรนั้นยังไม่ทราบ เราทราบกันแต่ว่ามันต้านการอักเสบได้ มันเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีฤทธิแรง และอย่างน้อยเราทราบจากในสัตว์ทดลองว่าเคอร์คูมินจากขมิ้นชันเปลี่ยนชนิดของแบคทีเรียในลำไส้ (microbiome) ได้ ตรงนี้อาจสำคัญนะ เพราะมีงานวิจัยที่บ่งชี้ว่าคนเป็นโรคเอแอลเอสมีชนิดของแบคทีเรียในลำไส้ผิดแผกไปจากคนที่ไม่ได้เป็นโรคนี้

     4. ในแง่ของยา มียาที่อย.สหรัฐฯอนุมัติให้ใช้บรรเทาอาการในโรคนี้แล้วนะ อย่างน้อยก็มีสองตัวคือยา riluzole (Rilutek) ซึ่งเพิ่มความยืนยาวของชีวิตได้อีกหลายเดือนอยู่ แม้ว่าจะไม่ทำให้โรคหาย และยา edaravone (Radicava) ซึ่งชลอการเสื่อมของการทำงานกล้ามเนื้อได้ ผมไม่รู้รายละเอียดของยาสองตัวนี้ ถ้าคุณสนใจจะใช้ยาบรรเทาอาการก็ลองหารือแพทย์เฉพาะทางประสาทวิทยาดูสิครับ

     5. ในความเห็นของหมอสันต์ซึ่งเป็นหมอทั่วไปไม่ใช่หมอประสาทวิทยา มีความเห็นจากมุมมองของหมอทั่วไปว่าน่าจะลองลงทุนลงแรงฟื้นฟูสมรรถนะหรือกายภาพบำบัดตัวเองอย่างจริงจังดูนะครับ ผมแนะนำเรื่องการฟื้นฟูสมรรถนะเอาจากการที่เคยเห็นคนไข้โรคโปลิโอสามารถฟื้นฟูตัวเองได้ดีขึ้นๆ ทั้งๆที่วงการแพทย์ยอมรับตรงกันว่า motor neuron ที่ตายแล้วนั้นยังไงก็สร้างใหม่ไม่ได้ แต่งานวิจัยในคนไข้โปลิโอพบว่า motor neuron ตัวข้างๆมันงอกแขนง (side sprouting) ออกมาทำงานแทนตัวที่ตายได้ ผมก็เลยเดาเอาว่าเอแอลเอสมันก็เป็นโรคของ motor neuron เหมือนกัน การขยันกายภาพบำบัดก็น่าจะช่วยได้เช่นกัน

นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์

บรรณานุกรม

1. Chico L, Ienco EC, Bisordi C, Gerfo AL et. al.  Randomized Controlled Trial: Amyotrophic Lateral Sclerosis and Oxidative Stress: A Double-Blind Therapeutic Trial After Curcumin Supplementation. CNS Neurol Disord Drug Targets 2018;17(10):767-779. doi: 10.2174/1871527317666180720162029.

[อ่านต่อ...]

27 ตุลาคม 2563

The Great Barrington Declaration เมื่อจนมุม ก็ต้องเปลี่ยนยุทธศาสตร์


(ภาพประจำวัน: เมื่อวานนี้ ผมขับรถจากมวกเหล็กกลับกรุงเทพโดยขับอ้อมไปทางตอนเหนือของเขาใหญ่ แวะดูโบสถ์ที่สวยงาม สะอาด และเงียบสงบแห่งนี้ ชื่อ โบสถ์ บุญราศรี นิโคลัส บุญเกิด กฤษบำรุง ขอบคุณท่านผู้ที่สร้างสิ่งสวยงามเช่นนี้ไว้  ทำให้ผมได้มีโอกาสมาเยี่ยมชม)     

..........................................




     เมื่อประมาณสองสัปดาห์ก่อน ได้มีการปล่อยของออกมาโดยกลุ่มนักวิชาการอังกฤษและอเมริกัน ในรูปของ "คำประกาศเกรทแบริงตัน" (The Great Barrington Declaration) ซึ่งมีสาระสำคัญว่าการล็อคดาวน์โควิด (ในอเมริกา) มีผลเสียมากกว่าผลดี ควรจะเลิกเสีย แค่ปกป้องคนที่เสี่ยงติดเชื้อเช่นคนแก่ไว้ก็พอแล้ว ส่วนคนอื่นควรปล่อยให้ใช้ชีวิตกันอิสระเสรีตามปกติไม่ต้องควบคุม พูดง่ายๆว่าปล่อยให้เกิดภูมิคุ้มกันระดับฝูงชน (herd immunity) แล้วให้โรคมันหายไปเอง แน่นอนแนวคิดนี้ไม่ใช่แนวคิดใหม่ มันเป็นยุทธศาสตร์บรรเทาโรค (mitigation) ที่ถูกนำเสนอต่อรัฐบาลอังกฤษเมื่อเดือนกุมภาพันธ์นั่นแหละ 

     แต่คราวนี้ประเด็นมันอยู่ที่สื่อหลายฉบับได้ให้ข่าวตรงกันว่าเจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวที่ไม่ยอมเปิดเผยชื่อสองคนให้ข่าวว่าได้มีการนำคำประกาศเกรทแบริงตันเข้าประชุมและทำเนียบขาวได้หนุนทิศทางนี้ นี่เป็นข่าวจากผู้ไม่ประสงค์จะออกนามแต่ประสงค์จะออกข่าวนะ  

     อย่างไรก็ตาม มีอีกข่าวหนึ่งที่เป็นข่าวบนดินเลย จริงๆเลย รู้ตัวคนพูดเลย คือการให้สัมภาษณ์ของนาย Mark Meadows ซึ่งมีตำแหน่งเป็น Chief of Staff ของทำเนียบขาว ในรายการ State of the Union ของ CNN เมื่อวันที่ 24 ตค. 63 (ถ้าผมจำวันไม่ผิด ขอโทษที่ทวนสอบไม่ได้เพราะเทปจริงได้ถูกลบออกจากยูทูปไปหมดเกลี้ยงแล้ว) เมโดวส์พูดชัดๆจะๆว่ารัฐบาลของทรัมพ์ได้เลิกความพยายามที่จะกดโรคโควิดไปเรียบร้อยแล้ว เขาว่า

     “We’re not going to control the pandemic,” และว่า 

     “We are going to control the fact that we get vaccines, therapeutics and other mitigation areas.”

     "เราไม่คุมโรคแล้ว" เมโดวส์พูด

     "เรามาคุมปัจจัยเช่นการผลิตวัคซีน การสร้างมาตรการรักษา และยุทธศาสตร์บรรเทาโรคอื่นๆ"

     คำพูดของเมโดวส์ช่างชัดแจ้งแจ่มแจ๋วแน่เสียยิ่งกว่าแช่แป้งอีกว่าทำเนียบขาวได้เริ่มใช้นโยบายถอยไปบรรเทาโรคแบบหวังพึ่งภูมิคุ้มกันฝูงชนหรือ herd immunity เรียบร้อยแล้ว มิใยว่าจะมีเสียงคัดค้านก่นด่าว่าถึงขั้นใช้คำแรงว่ามันเป็นนโยบายฆาตรกรรมหมู่ก็ตาม วันรุ่งขึ้นหมอทีโดรสซึ่งเป็นผอ.ขององค์การอนามัยโลกก็ออกข่าวสนองตอบต่อคำพูดของเมโดวส์ว่า

     "การเลิกกดโรคนั้นมีอันตราย การกดโรคมันยากลำบากและน่าเบื่อแน่นอน แต่เราก็จำเป็นต้องทำ"

      ผมติดตามข่าวเหล่านี้แล้วมองเห็นว่าการที่รัฐบาลสหรัฐแอบถอยไปใช้นโยบายบรรเทาโรค (mitigation) นั้น มันเป็นเส้นทางที่รัฐบาลถูกบังคับให้เลือกเดิน ไม่ใช่อยากจะเดิน เพราะในอเมริกาโรคได้แพร่กระจายไปเกินจุดที่จะใช้ยุทธศาสตร์กดโรค (suppression) เสียแล้ว ทั่วโลกขณะนี้มีหลายประเทศมากที่ถูกโรคโควิด19 กึ่งต้อนกึ่งบังคับให้ถอยไปใช้นโยบายบรรเทาโรค ไม่เฉพาะแต่สหรัฐฯ ประเทศอื่นเช่นสเปญ อินเดีย ฝรั่งเศส ผมมองว่าล้วนกำลังเข้าตาจนแบบเดียวกัน

     เมื่อการกดโรคในยุโรปและอเมริกาล้มเหลวอย่างนี้ ก็จำต้องถอยไปพึ่งการบรรเทาโรค คือปล่อยให้โรคแพร่กระจายแบบยั้งเท่าที่จะยั้งได้ การป่วย การตาย ที่จะตามมาย่อมจะมาก เอาแค่ในสหรัฐฯก่อน งานวิจัยของมหาล้ยสแตนฟอร์ดบ่งชี้ว่านับถึงวันนี้คนที่ติดเชื้อแล้วมีแค่ 9 ล้านคนแค่นั้นเอง การจะเกิดภูมิคุ้มกันฝูงชน ต้องมีคนติดเชื้อถึง 50% เป็นอย่างต่ำคือต้องติดเชื้อเพิ่มอีกราว 156 ล้านคน สำหรับโรคที่มีอัตราตาย (ในสหรัฐ) 2.7% ถ้าไม่มีวัคซีนก็จะตายกันระดับหลายล้าน ถึงวัคซีนออกมาช่วยทันตามกำหนดคือต้องมาก่อนขึ้นปี 2022 แต่ว่าในภาวะที่โรคไปไกลแล้วอย่างนี้ก็ยังจะต้องตายกันหลายแสน ที่จะเป็นคนป่วยเข้านอนโรงพยาบาลอีกไม่รู้เท่าไหร่ จะต้องใช้ทรัพยากรในการดำรงชีพเช่นอาหารและใช้วัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์เช่นหน้ากากและเสื้อกาวน์อีกจำนวนมาก นี่คือภาพใหญ่ของโลกนอกประเทศไทยจากนี้ไปในอีกสามปีข้างหน้า ทั้งนี้ถ้าวัคซีนออกมาได้ทันก่อนขึ้นปี 2022 นะ

     ผมเล่าการคาดเดาบรรยากาศนอกบ้านจากนี้ไปอีก 2-3 ปีข้างหน้าให้ฟัง เพื่อให้คนไทยเราฉุกคิดว่าตอนนี้มันเป็นโอกาสนะ ขณะที่ไทยเรากดโรคได้สำเร็จจนอยู่หมัด และกำลังกบดานนิ่งๆรอวัคซีน เราจะทำมาหากินกับในบรรยากาศของโลกตอนนี้ได้อย่างไร ให้ได้ประโยชน์ทั้งต่อเราและต่อเขา นอกเหนือจากการส่งเสริมการเดินทางท่องเที่ยวค้าขายภายในประเทศไทยเองอย่างที่กำลังทำกันอยู่แล้ว คำถามของผมหมายถึงกิจกรรม เช่น

     - เราจะยกเลิกการควบคุมสินค้าวัสดุอุปกรณ์จำเป็นทางการแพทย์เช่นหน้ากากเพื่อกระตุ้นให้มีการผลิตเพื่อการส่งออกในราคาตามธรรมชาติ..ได้ไหม 

     - เราจะใช้โอกาสที่เราเป็นประเทศปลอดโควิด19 คิดออกแบบสินค้าตัวใหม่ออกมาขายโดยที่ประเทศที่เขากำลังติดโควิดเขาทำแข่งไม่ได้..ได้ไหม 

     - เราจะเปิดบ้านที่ปลอดโควิด19 ของเรารับเอาคนที่หนีโควิดมากินมานอนและท่องเที่ยวในบ้านเรา..ได้ไหม 

     ทำได้หรือไม่ได้ไม่รู้นะ แต่ผมแค่ดูสถานะการณ์นอกบ้านตอนนี้แล้วพอจะใช้มุมมองทางการแพทย์คาดเดาบรรยากาศข้างนอกบ้านใน 2-3 ปีข้างหน้าได้ จึงเล่าการคาดเดานี้ให้ฟังเผื่อจะมีประโยชน์

นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์

[อ่านต่อ...]

26 ตุลาคม 2563

หมอสันต์ให้สัมภาษณ์สื่อเรื่องหลักประกันการเจ็บป่วยวัยเกษียณ


(
ดอกหงอนนาค ที่ อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี ซึ่งผมเพิ่งแวะไปเที่ยวโดยเปลี่ยนเส้นทางขับรถจากมวกเหล็กกลับบ้านกรุงเทพฯ คือแทนที่จะกลับทางสระบุรีก็ขับอ้อมเขาใหญ่ไปทางกบินทร์บุรี 

     จากนี้ไปผมจำเป็นต้องแปะภาพนำทุกบทความ เนื่องจากแฟนที่อ่านทางเฟซบุ้คบ่นว่าป้ายหัวเรื่องที่ไม่มีรูปภาพจะมีปื้นดำอันน่าเกลียดของเฟซบุ้คปิดทับไว้ ผมจึงแก้โดยแปะภาพไว้กับทุกบทความ เกี่ยวไม่เกี่ยวกับเนื้อหาในบทความก็ขอแปะไว้ก่อน) 

.............................................

     เมื่อวันสองวันมานี้มีสื่อมาขอสัมภาษณ์บันทึกเทปที่มวกเหล็ก เนื้อหาอาจจะมีประโยชน์สำหรับแฟนบล็อกที่เป็นผู้เกษียณ ผมตัดเอามาลงให้อ่าน

ผู้สัมภาษณ์

     การเตรียมความพร้อมในการสร้างหลักประกันเรื่องการรักษาเมื่อสูงอายุ สำคัญแค่ไหน

นพ.สันต์ 

    ความรู้สึกว่าไม่มั่นคง หรือ insecurity มันมีอยู่ที่เดียว คือในใจของเรา เพราะเราไม่ยอมรับว่าสิ่งภายนอกตัวของเราไม่มีอะไรที่เราคุมได้ เราจึงรู้สึกว่าเราไม่มั่นคงหรือมีความเสี่ยงตลอดเวลา แต่ถ้าเรายอมรับว่าเรื่องนอกตัวเราไม่มีอะไรที่เราคุมได้ เราก็จะยอมรับอะไรก็ตามที่จะมาเซอร์ไพรส์เราทุกรูปแบบได้หมด เมื่อยอมรับได้ ชีวิตก็จะไม่ใช่ความเสี่ยง แต่เป็นความท้าทายและการผจญภัยที่น่าตื่นเต้น นี่เป็นเรื่องใหญ่สุดที่ต้องทำให้ได้ก่อน คือการยอมรับว่าเราคุมอะไรไม่ได้

     เมื่อตีวงแคบลงมาเรื่องการลดความเสี่ยงด้านสุขภาพและการเจ็บป่วย ผมแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนที่หนึ่งคือการดูแลตัวเอง คือเมื่อยังไม่ป่วยก็ปรับวิธีใช้ชีวิตการกินการอยู่ไม่ให้ตัวเองป่วย เมื่อป่วยแล้วก็ปรับวิธีใช้ชีวิตให้ตัวเองหายป่วย ส่วนนี้สำคัญที่สุด ส่วนที่สองคือการสร้างหลักประกันหรือซื้อประกัน ส่วนนี้ไม่สำคัญเลยถ้าเป็นคนไทย เพราะคนไทยมีระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าอยู่แล้วทุกคน

ผู้สัมภาษณ์

     ปัจจุบันคนไทยมีหลักประกันสุขภาพและเข้าถึงสิทธิการรักษาพยาบาลที่ครอบคลุมได้อย่างพอเพียงแล้วหรือยัง

นพ.สันต์

     ความพอเพียงที่ว่านี้ในทางการแพทย์วัดจากตัวชี้วัดสองตัวนะ คือ (1) ความยืนยาวของชีวิต หรืออัตราตาย และ (2) คุณภาพชีวิต ซึ่งวัดกันแบบโรคต่อโรคด้วย คนต่อคนด้วย ระบบสามสิบบาททำได้ดีพอเพียงแล้วแน่นอนเต็มที่เท่าที่ความรู้และเทคโนโลยีทางการแพทย์ปัจจุบันจะเอื้อให้ทำได้ มากเกินพอดีไปในบางจุดด้วยซ้ำไป ถ้าเป็นคนไทยนะ ประเทศไทยเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศในโลกที่ประชาชนทุกคนมีหลักประกันสุขภาพฟรี คือระบบสามสิบบาท ขอบคุณนักการเมืองในอดีตที่หาญกล้าตัดสินใจให้ระบบนี้เกิดขึ้นมา แม้แต่ประเทศอย่างสหรัฐอเมริกาก็ยังตามหลังห่างไทยหลายชั้นหลายสิบปีกว่าจะทำได้แบบนี้

ผู้สัมภาษณ์

     ถ้าจะต้องฝากชีวิตเมื่อสูงอายุไว้กับบัตรทอง 30 บาทรักษาทุกโรค ระบบนี้มันมีข้อดีข้อเสียอย่างไร

นพ.สันต์

     ข้อดีของระบบสามสิบบาทก็คือ 

     (1) ฟรีหมด 

     (2) มีเครือข่ายที่ใหญ่ทั้งทางกว้างและทางลึก มีการส่งต่อกันไปจนถึงระดับการรักษาที่ซับซ้อนที่สุด แพงที่สุดก็ให้ได้ และเป็นระบบที่มีส่วนส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคและการฟื้นฟูสมรรถนะในรูปแบบของรพ.สต.ซึ่งอยู่ใกล้บ้านด้วย ผู้ป่วยโรคเรื้อรังหรือทุพลภาพสามารถรับบริการฟรีทั้งๆที่อยู่ที่บ้านตัวเองได้

      ข้อเสียของระบบ 30 บาท นี่ว่ากันตามสายตาของผมนะ 

     (1) ข้อเสียที่ใหญ่มากคือทั้งระบบกำลังมุ่งหน้าไปผิดทาง คือมุ่งไปรักษาโรคเรื้อรังด้วยเทคโนโลยีและยา ทั้งๆที่รู้อยู่แล้วว่าวิธีนั้นไม่ได้ทำให้โรคหาย แต่การส่งเสริมสุขภาพสอนให้คนเปลี่ยนวิธีกินอาหารวิธีใช้ชีวิตกลับไม่ได้ทุ่มเทลงทุนทำอย่างจริงจังเลย ทำให้คนป่วยโรคเรื้อรังไปออกันอยู่ที่โรงพยาบาลเพราะระบบทำให้เข้าใจผิดว่าจะรักษาให้หายได้ 

     (2) เมื่อวางระบบไปให้ความสำคัญกับการรักษา ลูกค้าคือประชาชนก็เฮโลตามไป ทำให้โรงพยาบาลแน่นขนัดไปด้วยคนที่ไม่จำเป็นต้องมาโรงพยาบาล คือประมาณ 80% ไม่จำเป็นต้องมาโรงพยาบาลเลย พอแน่นบรรยากาศก็ไม่น่ารื่นรมย์ ทำให้เกิดทุกข์ทั้งฝ่ายผู้ป่วย และฝ่ายแพทย์และพยาบาล

ผู้สัมภาษณ์

     ในแง่ของความมั่นคงในอนาคต ระบบสามสิบบาทจะมั่นคงแค่ไหน

นพ.สันต์

     มั่นคงมากตราบใดที่รัฐบาลยังเป็นคนไทย ไม่ว่าจะมาจากการเลือกตั้งหรือรัฐประหาร ระบบสามสิบบาทก็ยังมั่นคงอยู่ได้ เพราะมันกลายเป็นระบบที่จำเป็นของผู้คนไปเสียแล้ว ไม่มีรัฐบาลไหนกล้าเลิก แต่เมื่อใดก็ตามที่รัฐบาลเป็นคนต่างชาติ ผมหมายความว่าประเทศแพ้สงครามถูกต่างชาติมาควบคุม เมื่อนั้นระบบสามสิบบาทก็จะถูกรื้อทิ้ง

ผู้สัมภาษณ์

     แล้วระบบประกันสังคมละ มันมีข้อดีข้อเสียอย่างไร

นพ.สันต์

     ข้อดีของระบบประกันสังคมก็คือมันเลือกโรงพยาบาลเอกชนได้ ซึ่งมีความแน่นขนัดลดลง ความน่ารื่นรมย์ขณะรับบริการก็จะมากกว่าหน่อย

     ข้อเสียก็คือมันเป็นระบบเล็ก ผมหมายถึงว่ากองทุนประกันสังคมเป็นกองทุนใหญ่แต่แบ่งเป็นระบบย่อยๆเล็กๆที่ประกอบขึ้นจากสามส่วนคือ กองทุน ผู้ประกันตน และโรงพยาบาล contractor ตรงที่ว่าเล็กก็คือโรงพยาบาล contractor นี่แหละ บางแห่งมีเตียงร้อยกว่าเตียงก็ประกอบขึ้นเป็นหนึ่งระบบได้แล้ว เมื่อระบบเล็กก็จะมีความยืดหยุ่นน้อย จริงอยู่มีการส่งต่อผู้ป่วยยากๆออกไปรับการรักษานอกระบบแล้วโรงพยาบาล contractor ตามไปจ่ายเงินให้สามารถทำได้ แต่มันเป็นการส่งออกไปยังคนละระบบกัน มันมีความไม่ลื่นไหลอยู่ 

     และเมื่อระบบมันเล็กและไม่เสถียร ก็ไม่มีใครกล้าลงทุนด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค คือระบบประกันสังคมตามทฤษฎีโรงพยาบาลที่ลงทุนด้านส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคมากที่สุดจะได้กำไรมากที่สุดในระยะยาวเพราะผู้ประกันตนในสังกัดของตัวเองจะป่วยน้อยทำให้เงินกำไรเหลือมาก แต่พอระบบมันเล็กและไม่เสถียร ปีนี้มีจำนวนหัวผู้ประกันตนมากก็ได้กำไรดี แต่ปีหน้าไม่รู้จะลุ้นมาได้กี่หัว จึงไม่มีใครกล้าลงทุน ก็เท่ากับว่าระบบทำแต่การรักษาโรคซึ่งไม่ใช่วิธีที่มีประสิทธิภาพในการดูแลสุขภาพผู้คน   

ผู้สัมภาษณ์

     แล้วความมั่นคงของระบบประกันสังคมในอนาคต จะมั่นคงแค่ไหน

นพ.สันต์

     ระบบประกันสังคมนี่รัฐบาลเป็นเจ้าภาพนะ ถ้าระบบเจ๊งรัฐบาลก็ต้องรับดูแลสุขภาพให้ภายใต้กฎหมายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าอยู่ดี ก็คือเจ๊งก็เทมาเข้าระบบสามสิบบาท เพราะคนไทยทุกคนมีสิทธิสามสิบบาทอยู่แล้ว ดังนั้นในส่วนของการประกันสุขภาพไม่มีอะไรต้องห่วงเลย แต่จุดเด่นของระบบประกันสังคมไม่ได้อยู่ที่การประกันสุขภาพ แต่อยู่ที่บำนาญ เพราะค่าใช้จ่ายหลักของกองทุนประกันสังคมไม่ใช่เป็นค่ารักษาพยาบาล แต่เป็นเบี้ยบำนาญ ในส่วนของบำนาญนี้จะไปได้นานแค่ไหนต้องมีลุ้น เท่าที่ดูตัวเลขน่าจะไปได้ราวสามสิบปี คือเราเริ่มจ่ายบำนาญในปี พ.ศ. 2557 ปีแรกก็มีคนรับบำนาญราว 1.3 แสนคน จ่ายเงินไป 4,700 ล้านบาท คำนวณแบบง่ายๆพอไปถึงปี 2587 เงินออก (20% ของค่าจ้าง 60 เดือนสุดท้าย) ก็จะเริ่มมากกว่าเงินเข้า (ฝ่ายละ 3%ของค่าจ้าง) แต่ตามกฎหมายรัฐบาลจะเบี้ยวบำนาญไม่ได้ ทางแก้ก็เหลืออยู่สองทางคือชวนให้ผู้ประกันตนทำงานต่อไปอีกอย่าเพิ่งเกษียณ หรือชวนให้ส่งประกันตัวเองต่อไปเพื่อจะได้เสียเบี้ยประกันต่อไปอีกโดยยังไม่ได้สิทธิรับบำนาญ เอาเป็นว่าส่วนประกันสุขภาพนั้นมั่นคงแน่ แต่ส่วนบำนาญนั้นมีลุ้น   

ผู้สัมภาษณ์

     แล้วสิทธิสวัสดิการข้าราชการละ มีข้อดีข้อเสียอย่างไร เพราะทุกวันนี้แม้คนรุ่นใหม่ก็ยังอยากรับราชการเพราะเข้าใจว่าจะได้สิทธิสวัสดิการการรักษาพยาบาลที่ดีกว่า ยังเป็นความจริงอยู่หรือเปล่า

นพ.สันต์

     เมื่อเราพูดถึงสิทธิสวัสดิการราชการ เราหมายถึงข้าราชการที่เข้าระบบมาแล้วเท่านั้นนะ พวกที่เข้ามาใหม่ส่วนใหญ่จะไม่ได้เป็นข้าราชการแล้ว เขาเรียกว่าเป็นพนักงานของรัฐหรือไงเนี่ยแหละ ในแง่ของสวัสดิการการรักษาพยาบาล มีข้อดีข้อเสียเหมือนระบบสามสิบบาททุกอย่างเพราะเป็นของรัฐบาลเหมือนกัน มีความมั่นคงเท่ากัน คุณภาพเท่ากัน คือใช้ผู้ให้บริการ (provider) เดียวกัน อันได้แก่โรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข สวัสดิการราชการมีข้อดีเพิ่มมากกว่าอย่างหนึ่งคือมีสิทธิเบิกค่าห้องพิเศษได้ แม้จะไม่ได้เต็มก็ได้เป็นส่วนใหญ่ 

     ส่วนข้อเสียของสวัสดิการรักษาพยาบาลของราชการก็เหมือนกับสามสิบบาทคือมันใช้โรงพยาบาลเอกชนไม่ได้ ใช้ได้ก็เบิกได้น้อยมาก ทำให้ต้องใช้แต่รพ.ของรัฐ ซึ่งมีความแน่นขนัดมากกว่า

     ข้อดีที่โดดเด่นของสวัสดิการข้าราชการไม่ใช่อยู่ที่สิทธิรักษาพยาบาลเพราะนั่นสามสิบบาทก็ได้รับเหมือนกัน แต่ข้อโดดเด่นของเขาอยู่ที่บำนาญ ซึ่งจ่ายมากอย่างเป็นเนื้อเป็นหนัง เทียบกับระบบประกันสังคม บำนาญของราชการจ่ายเป็นเนื้อเป็นหนังมากกว่าหลายเท่า

ผู้สัมภาษณ์

     ถ้าแก่ตัวไป แค่หวังพึ่งแค่สิทธิ์ข้าราชการในการดูแลสุขภาพจะเพียงพอไหม

นพ.สันต์

     เพียงพอแน่นอน ทั้งสวัสดิการราชการ สามสิบบาท ประกันสังคม อย่างใดอย่างหนึ่งก็เพียงพอแน่นอน

ผู้สัมภาษณ์

     แล้วการประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ ประกันชีวิตละ จำเป็นไหม 

นพ.สันต์

     ผมแยกเป็นสองส่วนนะ ส่วนที่หนึ่ง คือการประกันชีวิตอาจจะมีประโยชน์หรืออาจจะถือว่าจำเป็นสำหรับผู้ทำหน้าที่เป็นกำลังหลักหาเงินเลี้ยงคนอื่น หากปุบปับตายไปคนอื่นเช่นลูกๆก็จะเดือดร้อน 

     ส่วนที่สองคือการประกันสุขภาพ ตอบว่าไม่จำเป็นเลยครับ เพราะคนไทยทุกคนมีหลักประกันสุขภาพที่ไม่จำกัดเพดานค่าใช้จ่ายอยู่แล้วซึ่งไม่มีระบบประกันสุขภาพเอกชนระบบไหนทำได้ถึงขนาดนี้ แต่ถ้าคุณมีเงินจ่ายเบี้ย การมีประกันสุขภาพส่วนตัวก็อาจจะเท่กว่าไม่มี เพราะจะได้ใช้โรงพยาบาลเอกชนซึ่งมีความแน่นน้อยกว่า จ่ายค่าห้องพิเศษได้ในวงเงินมากกว่า เป็นต้น

     ข้อเสียของการประกันสุขภาพเอกชน ที่แน่ๆก็คือเสียเงิน แถมยังมีข้อพึงระวังในเรื่องกฎเกณฑ์ที่บริษัทประกันจะได้รับการงดเว้นไม่ต้องจ่ายสินไหมให้ผู้ซื้อกรมธรรมซึ่งมีแยะมากหากไม่ดูให้ดีก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีหลักฐานว่าคุณเจ็บป่วยก่อนที่จะมาซื้อประกัน ซึ่งหลักฐานนั้นบางครั้งเกิดขึ้นเพราะคุณขยันไปตรวจเช็คร่างกายมากเกินความจำเป็น เช่นไม่ได้เป็นโรคหัวใจแต่ไปตรวจแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจ ก็กลายเป็นหลักฐานให้ตีความได้ว่าคุณเป็นโรคหัวใจมาก่อนแล้ว ตีความถูกตีความผิดอีกเรื่องหนึ่ง แต่มันถูกใช้เป็นข้ออ้างปฏิเสธการจ่ายสินไหมไว้ก่อนได้ จนกว่าศาลจะบังคับให้จ่าย นี่เป็นข้อพึงระวัง คือหากคิดจะซื้อประกันสุขภาพเอกชน อย่าเที่ยวตรวจอะไรเปะปะโดยไม่จำเป็น เพราะผลการตรวจนั้นอาจถูกใช้เป็นหลักฐานระงับการจ่ายสินไหมในอนาคต

ผู้สัมภาษณ์

     การเตรียมค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลไว้ก่อนการเจ็บป่วยสำคัญแค่ไหน

นพ.สันต์

     ที่สำคัญที่สุดไม่ใช่การเตรียมเงินไว้รักษาตัวเองยามเจ็บป่วย เพราะเมืองไทยรักษาฟรี ไม่จำเป็นต้องเตรียมเงิน แต่ที่สำคัญที่สุดคือการเปลี่ยนวิธีใช้ชีวิตเพื่อไม่ให้ตัวเองป่วยเสียตั้งแต่เดี๋ยวนี้ ซึ่งมีประเด็นสำคัญอยู่ที่ 

     (1) เปลี่ยนอาหารจากกินเนื้อสัตว์และไขมันจากสัตว์มากมากินพืชผักผลไม้ให้มากแทน 

     (2) ออกกำลังกาย ซึ่งการเป็นผู้สูงอายุต้องออกกำลังกายมากกว่าคนอายุน้อย ต้องออกทั้งแบบแอโรบิกให้หนักพอควรคือจนหอบแฮ่กๆร้องเพลงไม่ได้ แล้วยังต้องเล่นกล้าม และต้องฝึกการทรงตัวด้วย 

     (3) จัดการความเครียดให้ดี ฝึกวางความคิด ดูแลการนอนหลับให้ดีด้วย ปฏิบัติตนตามสุขศาสตร์การนอนหลับ เพราะแก่ตัวแล้วถ้านอนไม่หลับก็จะนำไปสู่โรคอื่นเช่นโรคสมองเสื่อมซึ่งเป็นเรื่องใหญ่

     เมื่อป่วยเป็นโรคเรื้อรังแล้ว ก็ยังต้องทุ่มเทพลังปรับเปลี่ยนวิธีใช้ชีวิตตัวเองในแต่ละวันเพื่อให้ตัวเองหายจากโรค ไม่ใช่เอาแต่ไปนั่งออ รอตรวจ รอรับยากันอยู่ที่โรงพยาบาล เพราะวิธีนั้นไม่ได้ทำให้โรคเรื้อรังหายดอก  โรคเรื้อรังจะหายได้ก็ด้วยการเปลี่ยนวิธีกินวิธีใช้ชีวิตของตัวเองเท่านั้น 

นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์

[อ่านต่อ...]

25 ตุลาคม 2563

การจะหลุดพ้นจากความย้ำคิด คุณต้องเริ่มเปิด feel สิ่งใหม่ๆสดๆทุกวัน

 


   (คืนนี้ผมเพิ่งเสร็จจาก SR16 โล่งใจสบายดี อากาศหนาวเย็นอย่างนี้จึงกางเต้นท์ใต้แสงจันทร์ที่ลานหน้าบ้าน เพื่อนๆมากินข้าวและชมดวงจันทร์ด้วยกันและถ่ายรูปนี้ให้ เป็นภาพมองผ่านเต้นท์กระโจมผ่านป่าหลังบ้านไปหาพระจันทร์ทรงกลด โปรดสังเกตว่าโทรศัพท์สมัยนี้ถ่ายกลางคืนยังเห็นสีเขียวของต้นไม้ได้เลย  เล่าให้ฟังเพื่อจะบอกว่า
จดหมายฉบับนี้ตอบจากในเต้นท์)  


สวัสดีครับคุณหมอสันต์ที่เคารพ 

          ผมมีเรื่องรบกวนปรึกษาคุณหมอหน่อยครับ  ผมอายุ 42 ปี   ปัจจุบันผมรับราชการครูสอนวิชาดนตรี ที่โรงเรียนมัธยมประจำอำเภอแห่งหนึ่ง  งานหลักๆ ของคนครูดนตรีระดับมัธยมนอกเหนือจากการสอนในชั่วโมงเรียนคือการทำวงโยธวาทิต ซึ่งสำหรับคนเป็นครูดนตรีแล้วมันสำคัญกว่าการสอนในชั่วโมงเรียนซะอีกครับ  ซึ่งผมก็ทำหน้าที่นี้มาร่วมๆเป็น 10 ปีแล้ว โดยโรงเรียนของผมก็จะใช้วิธีรับสมัครจากนักเรียนที่มีใจรักเอามาเริ่มฝึกตั้งแต่เข้า ม.1 โดยใช้ช่วงเวลาว่าง เช่น หลังเลิกเรียน หรือ คาบกิจกรรม  ในการฝึกซ้อม  โดยไม่ได้มีการให้เกรดหรือว่าผ่านไม่ผ่าน ส่วนใหญ่ผลประโยชน์ที่นักเรียนจะได้รับก็จะเป็น ทุนการศึกษาเล็กๆน้อย (แล้วแต่งบประมาณบางปีก็ไม่ได้) และก็การช่วยเหลือเรื่องเกรดการเรียน(ถ้าเด็กเค้าเรียนกับผม)  ซึ่งหน้าที่หลักๆของวงโยธวาทิตของโรงเรียนผมคือ  การบรรเลงตอนเข้าแถวตอนเช้า  เดินพาเหรดในงานสำคัญต่างๆของอำเภอ และของโรงเรียน

ปัญหาของผมก็คือตลอด 10 กว่าปีที่ผมรับราชการเป็นครูดนตรี  ผมต้องเจอกับปัญหาเด็กที่เล่นวงโยธวาทิตลาออกเป็นประจำ  ซึ่งปัญหานี้มันให้ผมรู้สึกมีความทุกข์มาตลอดทุกปี  ซึ่งคุณหมอครับเด็กคนนึงกว่าเราจะฝึกให้เล่นเครื่องดนตรีอะไรเป็นได้ซักอย่าง กว่าจะเอามาช่วยงานได้ต้องใช้เวลานานนะครับ  ต้องฝึกกันมาตั้งแต่ม.1 พอเริ่มช่วยงานได้ก็ม.2 พอขึ้นม.3  ม.4  กำลังจะเริ่มเก่งก็มาลาออก  ผมก็ต้องไปเริ่มนับ 1  ฝึกเด็กม.1 ใหม่ปีหน้ามาแทนอีก  ซึ่งเหตุผลส่วนใหญ่ของเด็กที่ลาออกก็คือ  เหนื่อย   ไม่มีเวลา   ซึ่งผมก็ไม่เคยไปบังคับอะไรเค้าถ้าใจเค้าเอาแล้วอยากออกก็ออก  แต่ภายในใจมันเริ่มรู้สึกท้อ  เสียใจ กับปัญหาเดิมๆที่ต้องเจอแบบนี้ทุกๆปี ว่าเราต้องทุกข์กับปัญหานี้ไปจนเกษียณเลยเหรอ ซึ่งมันทำให้ผมไม่มีความสุขเลย ผมเคยคิดที่จะย้ายโรงเรียนแต่ก็กลัวว่าจะต้องไปเจอปัญหาแบบเดิมๆอีก

สิ่งที่ผมอยากจะปรึกษาคุณหมอคือผมต้องทำยังไงถึงจะอยู่ในสภาพการทำงานแบบนี้อย่างมีความสุขได้ครับ   ผมจะหลุดพ้นจากปัญหานี้โดยยังทำงานอยู่ที่เดิมได้มั้ยครับ   ตอนนี้ผมลองฝึกวางความคิดโดยเริ่มฝึกนั่งสมาธิวันละ 30  นาที  เดินจงกรมวันละ 30 นาที มาได้ร่วมเดือนนึงแล้ว  โดยหวังว่าน่าจะช่วยให้ปล่อยวางและอยู่กับปัญหานี้อย่างมีความสุขได้  แต่พอต้องเจอกับปัญหานี้ก็ต้องกลับมาทุกข์แบบเดิมๆทุกที (วันนี้ล่าสุดเด็กก็พึ่งลาออกไปอีก 4 คน)   รบกวนคุณหมอช่วยแนะนำหน่อยครับ ว่าการฝึกสมาธิ ฝึกสติ จะสามารถช่วยให้เราหลุดพ้นจากปัญหานี้ได้มั้ย  ต้องใช้เวลานานแค่ไหนครับและต้องฝึกอย่างไรครับ

ขอบพระคุณคุณหมออย่างสูงครับ

...................................................


ตอบครับ

     จดหมายของคุณทำให้นึกถึงบทความหนึ่งของกามูส์ เรื่อง “ตำนานแห่งซิสซิฟัสว่าด้วยการฆ่าตัวตายและความไร้สาระของชีวิต” ต้นฉบับเป็นภาษาฝรั่งเศสแต่มีแปลเป็นภาษาอังกฤษอยู่ในอินเตอร์เน็ททั่วไป ฉบับที่ผมเคยอ่านเป็นงานแปลของจัสติน โอ เบรียน งานเขียนนี้จับเอาเรื่องปรัมปราในตำนานกรีกที่ว่าซิสซิฟัสไปทำผิดอะไรมาสักอย่าง ผมจำรายละเอียดไม่ได้แล้วแต่ไม่อยากตายจึงหนีความตายจนสำเร็จ พระเจ้ารู้เข้ายั้วะมาก สั่งลงโทษด้วยการสาปให้ซิสซิฟัสต้องกลิ้งหินขึ้นภูเขา เมื่อใดก็ตามที่หินนั้นขึ้นไปถึงยอดเขา มันจะกลิ้งกลับมาอยู่ที่ตีนเขาใหม่โดยฤทธิของคำสาป เพื่อให้ซิสซิฟัสต้องกลิ้งมันขึ้นไปใหม่ เป็นเช่นนี้ชั่วนิรันดร ถือว่าเป็นการลงโทษที่แสบสะใจยิ่งกว่าการถูกฆ่าตายเสียอีก กามูส์ยกประเด็นตอนที่ซิสซิฟัสมองหินที่กลิ้งไปถึงยอดเขาแล้วกลิ้งหลุนๆกลับลงจากเขา ว่าเขาจะรู้สึกอย่างไร ความพยายาม ความยากลำบากทั้งหลายสูญสิ้น คงจะรู้สึกเป็นอื่นไปไม่ได้นอกจากรู้สึกว่าชีวิตมันช่างไร้สาระสิ้นดี กามูส์บอกว่าคนเราที่เซ็งมะก้องด้องจนบ้างถึงคิดฆ่าตัวตายไม่ใช่เพราะความยากลำบากในชีวิต แต่เพราะทนความไร้แก่นสารของชีวิตไม่ได้ต่างหาก ตะเกียกตะกายแค่ไหน สุดท้ายก็คือความว่างเปล่า พูดแบบเราๆก็คือ..กฎเกณฑ์ทุกอย่างที่เราหลงเชื่อกันน้้นคือของหลอก พระจ้งพระเจ้าเป็นของเก๊ กฎแห่งกรรมทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่วที่พระพร่ำสอนกันตามโบสถ์มันก็ไม่มีจริง นี่เป็นรากกำเนิดของแนวคิดแบบที่เรียกว่าเอ็กซิสตองเชียลลิสม์ (existentialism) ซึ่งชักชวนให้สาปส่งกฎเกณฑ์ศีลธรรมจรรยาบ้าบองี่เง่าจนน่าขันของคนค่อนโลกที่ล้วนยินยอมพร้อมใจกันเป็นคนแบบมือถือสากปากถือศีลทิ้งไปเสีย แล้วมานิยามชีวิตของตัวเองด้วยตัวเองและเดินหน้าชีวิตไปตามแบบฉบับของตัวเองดีกว่า เพราะชีวิตนี้ตัวเราเนี่ยแหละเป็นผู้เลือกสิ่งใดๆในชีวิตเรา เมื่อเราเลือกเอง เราก็ต้องรับผลเอง ไม่ต้องอ้างใคร ไม่ต้องโทษใคร ชีวิตแบบไหนมีความหมายไม่มีความหมายก็ไม่ต้องไปสนว่าพวกพระหรือพวกนายพลจะสอนว่าอย่างไร ให้เรากำหนดเอาเองแล้วใช้ชีวิตเอาเองตามนั้น นั่นคือคอนเซ็พท์ของพวกเอ็กซิสตองเชียลลิสต์ 

     ผมไม่ได้เกี่ยวอะไรกับเอ็กซิสตองเชียลลิสม์ดอกนะ แค่มีเหตุให้คิดถึงกามูส์ก็จึงแวะเล่าให้ฟัง กลับมาเรื่องของคุณดีกว่า คนที่มีปัญหาอย่างคุณนี้มีไม่ใช่น้อย ส่วนใหญ่หากเป็นคนทำงานก็มักอายุสี่สิบขึ้น หรือหากเป็นเด็กวัยรุ่นที่เฉลียวฉลาดก็เริ่มเกิดคำถามนี้เอาตั้งแต่อายุสิบกว่าปลายๆ ว่านี่มันอะไรกันวะเนี่ย เช้าคนเราต้องขับรถไปทำงาน นั่งทำงานเดิมๆซ้ำๆซากๆ เช้ายันเย็น รู้ทั้งรู้อยู่ว่าสิ่งที่เราทำไป จะกลับมาเป็นปัญหาให้เราทำใหม่อีก แล้วก็งกๆๆกลับบ้าน เพื่อจะไปทำอย่างเดิมอีกวันรุ่งขึ้น ทำไปจนถึงวันหนึ่งซึ่งเราแก่ได้ที่แล้วเราก็จะได้ตายๆไปตามอายุขัย นี่มันอะไรกันโว้ย..พี่น้อง ฮี่ ฮี่

     ความสำเร็จของการใช้ชีวิตอยู่ที่ไหน

     เมื่อคุณทำวงโยธวาทิต ผมเดาเอาว่าคุณวางความสำเร็จไว้ที่การมีวงโยธวาทิตที่ดีเล่นดนตรีได้พร้อมเพรียงไพเราะเสมอต้นเสมอปลายเป็นที่ชื่นชมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง หากประสบความสำเร็จอย่างนี้คุณจึงจะมีความสุข ฟังดูก็ไม่แปลก แต่นั่นคุณกำลังเอาความสุขไปแขวนไว้กับ "ความสำเร็จ" ซึ่งเป็นสิ่งภายนอกที่คุณควบคุมเงื่อนไขอะไม่ได้เลยนะ การที่เด็กลาออกจากวงซ้ำซากนั่นเรื่องหนึ่ง แต่ยังมีเรื่องอื่นๆอีกมากที่คุณควบคุมไม่ได้ เช่นเด็กโง่ เด็กไม่ตั้งใจ เด็กมีปัญหาครอบครัว งบประมาณไม่พอซ่อมเครื่องดนตรี ครูใหญ่ไม่เข้าใจความยากลำบากของการฝึกสอนศิลปดนตรี แต่ขยันจี้จิกจะเอาผลงาน ฯลฯ

     ในชีวิตนี้นอกจากความคิดของคุณแล้ว อย่างอื่นไม่มีอะไรที่คุณจะไปควบคุมบังคับได้เลย นี่มันเป็นสัจจธรรม ยิ่งคุณไปพยายามจะให้ปัจจัยนอกตัวต่างๆเป็นไปอย่างที่คุณอยากจะให้มันเป็น คุณก็ยิ่งจะมีความทุกข์ คุณจะย้ายโรงเรียน ลาออกจากราชการไปทำงานอื่น ตราบใดที่คุณยังเอาความสุขของคุณไปแหมะไว้กับความสำเร็จของงานซึ่งถูกล็อคโดยปัจจัยนอกตัว ตราบนั้นผมการันตีได้เลยว่าคุณก็ยังไม่พ้นจากความทุกข์ไปไหน ไม่ต้องย้ายโรงเรียนหรือเปลี่ยนงานให้เหนื่อยเปล่าเลย

     ผมจะบอกคุณว่าความสุขไม่ได้เกิดจากการจะทำนั่นทำนี่ได้สำเร็จอย่างใจหมายดอก แต่ความสุขเกิดจากการได้ใช้ชีวิตที่ที่นี่เดี๋ยวนี้อย่างยอมรับทุกอย่างที่มีอยู่และที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ดังนั้นหากคุณอยากมีความสุขคุณไม่ต้องดิ้นรนไปเสาะหาชีวิตใหม่ที่พิศดารที่ไหนเลย ที่นี่เดี๋ยวนี้นี่แหละที่คุณจะพบกับความสุข ความสุขแบ่งง่ายๆเป็นสุขกายกับสุขใจ สุขกายก็คือคุณมีสุขภาพกายดี ซึ่งจะได้มาจากการที่คุณรู้จักจัดเวลาดูแลตัวเอง ออกกำลังกาย กินอาหารที่ดีๆปรุงอย่างง่ายๆ ส่วนจะสุขใจนั้นก็ต้องเข้าใจก่อนว่าความทุกข์ใจมันมาจากไหน ความทุกข์ใจมันมาจากความคิด การจะหายทุกข์ใจคุณต้องสามารถวางความคิดหรือออกมาจากความคิดให้เป็นก่อน ถอยออกจากความคิดมาเป็นผู้สังเกต สังเกตดูร่างกายคุณ สังเกตดูความคิดคุณ เข้าใจว่าร่างกายนี้ไม่ใช่คุณ เข้าใจว่าความคิดนี้ไม่ใช่คุณ แม้ตัวตนความเป็นบุคคลของคุณซึ่งคุณพร่ำบอกตัวเองว่าคุณเป็นอาจารย์ดนตรีผู้สามารถชื่อ... ก็เป็นแค่คอนเซ็พท์ที่คุณยึดถือว่าเป็นคุณทั้งๆที่จริงๆแล้วมันเป็นแค่ความคิด ไม่ใช่คุณที่แท้จริงดอก การถอยออกมาจากความคิดหรือย้ายตัวตนหรือ identity ออกมาจากสำนึกว่าเป็นบุคคลมาเป็นแค่ความรู้ตัวซึ่งเป็นผู้สังเกตดูบทบาทของตัวเองในฐานะผู้เล่นลครชีวิตให้ได้มากที่สุดเท่านั้นที่จะทำให้คุณพ้นทุกข์จากความคิดของคุณได้ 

     ชีวิตไม่ใช่ความเป็นอาจารย์ดนตรีผู้สามารถนะ นั่นมันเป็นแค่ผลพวงจากความคิดไร้สาระของคุณเอง การที่คุณมีชีวิตอยู่ ตื่นอยู่ รู้ตัวอยู่เหน่งๆที่นี่ ตรงนี้ เดี๋ยวนี้ นี่ต่างหากคือชีวิต ชีวิตเป็นความสุขสงบเย็นเป็นธรรมชาติโดยตัวของมันเองหากไม่หลงไปยึดติดในความคิด ดังนั้นความสุขในชีวิตคุณไม่ต้องไปหาที่ไหน หาที่ข้างในตัวคุณนี่แหละ เดี๋ยวนี้แหละ เพราะชีวิตปรากฎที่เดี๋ยวนี้เท่านั้น คุณดิ้นรนหาความหมายของชีวิต ก็เพราะคุณไม่มีความสุขกับเดี๋ยวนี้ แต่ผมจะบอกคุณว่าในการใช้ชีวิตคุณอย่าตามหา (pursuit) ความสุข แต่ให้คุณแสดงออก (express) ถึงความสุขความเบิกบานจากข้างใน ดูความแตกต่างของคีย์เวอร์ดสองคำนี้ให้ดีนะ อย่า "ตามหา" แต่ให้ "แสดงออก" อย่าไปรอให้งานสำเร็จค่อยมีความสุข แต่ให้คุณมีความสุขกับชีวิตก่อนแล้วจึงค่อยลงมือทำงาน แล้วลูกศิษย์ของคุณจะได้รับสิ่งดีๆจากงานของคุณแน่นอน

      คนเราทุกคนมีชีวิตอยู่ในโลกสองใบ คือโลกใบที่ต้องมีชีวิตแบบธรรมดา ต้องมาโรงเรียนแปดโมงเช้า ต้องสอนเด็ก ต้องพูดจาชักจูงเด็กรุ่นใหม่มาเข้าวงเมื่อเด็กเก่าลาออก ต้องยกมือไหว้ทักทางครูใหญ่ ต้องเข้าคิวจ่ายเงินเวลาเข้าร้านเซเว่น ต้องจอดรถที่ไฟแดง นั่นคือความเป็นบุคคลคนหนึ่ง หรือการมีสำนึกว่าเป็นบุคคลคนหนึ่ง คุณต้องทำสิ่งธรรมดาเหล่านั้น เหมือนคนเล่นละครอยู่บนเวที คุณต้องเล่นไปตามบท 

     แต่ในขณะเดียวกันเราทุกคนก็มีความไม่ธรรมดา คือส่วนที่ผมเรียกว่า "ความรู้ตัว" นี่แหละ ที่เป็นส่วนไม่ธรรมดา ส่วนนี้มันไม่สนกฎเกณฑ์ คอนเซ็พท์ ศักดิ์ฐานะ คุณธรรม ศีลธรรม หรือได้เสียอะไรกับใครทั้งนั้นเหมือนคุณเป็นผู้ชมละครอยู่ข้างล่างเวที การจะวางความคิดลงและออกไปเป็นความรู้ตัว หรือย้ายตัวตนจากการเป็นผู้เล่นละครชีวิตไปเป็นผู้นั่งดูนี้ เป็นเสรีภาพของคนทุกคนที่ใครก็มาปิดกั้นไม่ได้ คุณต้องใช้เสรีภาพอันนี้ คุณจึงจะพ้นทุกข์

     แล้วในทางปฏิบัติจะให้ทำอย่างไร

     ที่คุณเริ่มต้นด้วยการฝึกนั่งสมาธิ (meditation) ทุกวันนั้นเป็นวิธีเริ่มที่ดีแล้ว เป้าหมายคือวางความคิดหรือหลุดพ้นไปจากความคิด ซึ่งแม้จะเป็นเส้นทางเดินที่ยาวแต่คุณก็ต้องเริ่มออกเดิน 

     ขณะเดียวกันให้คุณลองรับรู้ความรู้สึก (feel) หรือทำอะไรใหม่ๆทุกเช้า "feel" หรือ "ทำ" นะ ไม่ใช่ "คิด" อะไรก็ได้เล็กๆน้อยที่วันก่อนๆไม่เคย feel หรือไม่เคยทำ เช่นเมื่อเดินผ่านสนามฟุตบอลโรงเรียนในตอนเช้า ลองสูดลมหายใจลึกๆเพื่อ feel ความสดของอากาศยามเช้าเหนือสนามหญ้า มันเป็นการเปิดศักราชการสร้างสรรค์ (creativity) มันเป็นยาแก้โรคซ้ำซากของความคิด เพราะที่คุณติดหล่มจมปลักทุกวันนี้คือคุณคิดอะไรซ้ำๆซากๆ เมื่อคิดอะไรบ่อยๆซ้ำๆซากๆทุกวันก็กลายเป็นวงจรย้ำคิด (compulsiveness) สิ่งที่คุณคิดและทำในวันนี้ล้วนถูกผลักดันมาจากอดีตคือเมื่อวานนี้ และวันนี้จะกลายเป็นอดีตของวันพรุ่งนี้ให้สิ่งที่คุณคิดในวันนี้ผลักดันให้คุณคิดและทำซ้ำในวันพรุ่งนี้อีกเป็นวงจรชั่วร้ายไม่รู้จบโดยที่คุณไม่รู้ตัวเลย คุณจะต้องเปลี่ยนวันนี้ให้แตกต่างไปจากเมื่อวานนี้ โดยการทำอะไรใหม่ๆทุกวัน สิ่งละอันพันละน้อยก็ได้ จะเป็นการเพิ่มความลึกซึ้งในวิธีการทำงานของคุณ หรือการปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติรอบตัวก็ได้ ให้มี creativity ทุกวันคุณจึงจะออกจากกับดักความซ้ำซากของความคิดได้ เมื่อคุณทอนอิทธิพลของความคิดซ้ำซากได้ คุณจะเริ่มเปิดรับสิ่งใหม่ๆทุกอย่างที่จะโผล่เข้ามาในวันนี้ได้ทีละช็อต ทีละช็อต แล้วคุณก็จะมีความสุขอยู่กับวันนี้ได้โดยไม่ต้องมีวาระหรือความคาดหวังล่วงหน้าใดๆ แล้วคุณก็จะค่อยๆเข้าถึงความรู้ตัวได้ และหลุดพ้นจากความย้ำคิดของคุณเองได้ในที่สุด

นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์

[อ่านต่อ...]

24 ตุลาคม 2563

ยาลดการหลั่งกรด (PPI) สัมพันธ์กับการเป็นเบาหวานมากขึ้น


วันนี้ชั้นเรียน SR เป็นชั่วโมงวาดภาพสีน้ำและปั้นดินเหนียวเสียค่อนวัน ผมจึงมีเวลามาขลุกอยู่ในเล้าไก่หรือโรงเก็บเครื่องมือ (shed) ถือโอกาสถ่ายรูปดอกไม้ที่ข้างโรงเก็บเครื่องมือมาให้ดูเล่น และตอบจดหมายนี้จากเล้าไก่  อนึ่ง..โปรดสังเกตตู้ไปรษณีย์เหล็กดึกดำบรรพ์จากอังกฤษ (ของปลอม)

เรียนคุณหมอสันต์

ดิฉันอายุ 62 ปี เป็นคนผอม หนัก 42 กก. สูง 156 ซม. ไขมันในเลือดอยู่ในเกณฑ์ต่ำมาตลอด คือ cholesterol ไม่เคยเกิน 150 เป็นคนออกกำลังกาย มีโรคประจำตัวโรคเดียวคือโรคกรดไหลย้อน กินยารักษากรดไหลย้อนมาสามปีกว่า มียา Gaviscon และยา Omeprazol อย่างอื่นไม่ได้เป็นโรคอะไรเลย เป็นคนค่อนข้างระวังเรื่องการกิน แต่ไปตรวจสุขภาพปีนี้หมอเจาะเลือดแล้วบอกว่าเป็นเบาหวาน (FBS 128) ดิฉันงงมากว่าเป็นเบาหวานได้อย่างไร ครอบครัวพ่อแม่ปู่ยาตายายไม่มีใครเป็นเบาหวานเลย อยากถามคุณหมอว่าเหตุที่จะทำให้เป็นเบาหวานได้มีอะไรบ้าง และดิฉันควรจะทำตัวอย่างไรต่อไป

ขอบคุณค่ะ

......................................................

ตอบครับ

     1. ถามว่าเหตุที่จะทำให้เป็นเบาหวานได้มีอะไรบ้าง ตอบว่าจริงๆแล้ววงการแพทย์ก็ยังไม่รู้ชัดแจ้งร้อยเปอร์เซ็นต์ดอกว่าเบาหวานเกิดจากอะไรบ้าง รู้แต่ปัจจัยเสี่ยงที่มักพบร่วมหรือนำมาสู่การเป็นเบาหวานมีเก้าอย่าง อันได้แก่

 1. พันธุกรรม ซึ่งนับกันเฉพาะญาติสายตรง (พ่อ,แม่,พี่,น้อง,ปู่ ย่า ตา ยาย)

2. ความอ้วน

3. การไม่ได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

4. การมีอายุมากขึ้น ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากกว่า 40 ปี ขึ้นไป

5. การอยู่ในภาวะใกล้เป็นเบาหวานมาก่อน

6. การเป็นโรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง หรือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

7. เคยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือมีลูกที่น้ำหนักแรกคลอดมากกว่า 4 กิโลกรัม

8. เป็นโรคของตับอ่อน เช่น ตับอ่อนอักเสบ หรือได้รับการผ่าตัดตับอ่อน

9. ได้รับยาบางชนิดเช่น สเตียรอยด์ ยาขับปัสสาวะ ยาคุมกำเนิดบางชนิด ยารักษาไขมันในเลือดสูง ในกรณีของคุณนี้ยาลดการหลั่งกรด หรือ proton pump inhibitor (PPI) ที่คุณกินอยู่ (Omeprazol) เป็นตัวหนึ่งที่สัมพันธ์กับการเป็นเบาหวานมากขึ้น

     เนื่องจากข้อมูลที่ว่ายาลดการหลั่งกรดในกลุ่ม PPI สัมพันธ์กับการเป็นเบาหวานมากขึ้นนี้เป็นข้อมูลใหม่ คนส่วนใหญ่ยังไม่ทราบ ผมขอแวะพูดถึงเรื่องนี้สักหน่อยเพื่อให้ท่านผู้อ่านทั่วไปได้ทราบด้วย งานวิจัยนี้ตีพิมพ์ในวารสาร BMJ ในปี 2563 นี้เอง เป็นงานวิจัยที่ฮาร์วาร์ด โดยการเอาข้อมูลวิจัยติดตามดูผู้ป่วย 204,689 คนมาที่ถูกติดตามดูมาตั้งแต่ปีค.ศ. 2000 ซึ่งก็คือตามกันมา 20 ปีแล้ว โดยนับคนที่กินยาลดการหลั่งกรดเกินสัปดาห์ละสองครั้งว่าเป็นกลุ่มกินยานี้ พบว่ามีคนเป็นเบาหวานประเภทที่ 2 ในระหว่างการติตดาม 10,105 คน เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบระหว่างคนที่กินยาลดการหลั่งกรดกับคนที่ไม่กิน พบว่าคนที่กินยาลดการหลั่งกรดเป็นเบาหวานมากกว่าคนที่ไม่กิน 24%

     เมื่อวิเคราะห์ระยะเวลาที่ผู้เข้าร่วมวิจัยกินยาก็พบว่ายิ่งกินยานาน ยิ่งสัมพันธ์กับการเป็นเบาหวานมาก กล่าวคือถ้ากินยาลดการหลั่งกรดอยู่นานไม่เกิน 2 ปี โอกาสเป็นเบาหวานจะเพิ่มขึ้น 5% แต่ถ้ากินยานานเกินสองปีขึ้นไปโอกาสเป็นเบาหวานเพิ่มขึ้น 26% โดยที่แม้จะแยกความแตกต่างทางเพศ ประวัติเบาหวานในครอบครัว การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล ชนิดของอาหารที่กิน การออกกำลังกาย ออกไปแล้ว ความเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวานเพิ่มขึ้นเพราะยาต้านการหลั่งกรดนี้ก็ยังอยู่

     หลักฐานวิจัยใหม่ที่เกิดขึ้นบ่งชี้ไปในทางว่ากลไกที่ยาลดการหลั่งกรดทำให้เป็นเบาหวานนี้คงเป็นเพราะยาไปเปลี่ยนชนิดของแบคทีเรียในลำไส้ (microbiome) 

     2. ถามว่าควรจะทำอย่างไรต่อ ตอบว่าก็หยุดยา omeprazol เสียสิครับ แล้วหันไปรักษาโรคกรดไหลย้อนด้วยวิธีที่ได้ผลดีกว่าการใช้ยา ได้แก่

      2.1 ยกหัวเตียงให้สูงขึ้น 8 นิ้ว ด้วยการเอาหนังสือหรือก้อนอิฐเสริมขาเตียงด้านศีรษะทั้งสองขาให้สูงขึ้น หรือไปซื้อฟูกรักษากรดไหลย้อน ซึ่งมีลักษณะสูงข้างบนต่ำข้างล่างมาปูทับที่นอนเดิม เมืองไทยนี้ก็มีขาย ทั้งนี้อย่าหวังพึ่งการหนุนหมอนหลายใบแทนเพราะมันไม่ช่วยแก้ปัญหากรดไหลย้อนนะครับ

     2.2 ต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่แสลงต่อโรคกรดไหลย้อน เช่น 

     (1) อาหารไขมันสูงทุกชนิด ของผัดทอด เพราะมันกระตุ้นฮอร์โมนบีบท่อน้ำดี (cholecystokinin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้กล้ามเนื้อหูรูดปลายหลอดอาหารคลายตัวและทำให้อาหารอ้อยอิ่งอยู่ในกระเพาะอาหารนานขึ้นและย้อนขึ้นมาได้ง่ายขึ้น 

     (2) หอมใหญ่ 

     (3) มะเขือเทศ    

     (4) งานวิจัยพวกที่ชอบดื่มชาเป็ปเปอร์มินท์ก็พบว่าเป็นกรดไหลย้อนมากกว่าคนไม่ดื่ม 

     (5) น้ำส้มคั้น เพราะงานวิจัยพบว่าน้ำส้มคั้นทำให้เกิดอาการกรดไหลย้อนซึ่งอาจจะเป็นเพราะกรดในตัวน้ำส้มนั่นเอง 

     (6) ชอกโกแล็ต เพราะมันมีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อหูรูดปลายล่างหลอดอาหารได้ นอกจากนั้นมันทำมาจากโกโก้ซึ่งมีสารทีโอโบรมีนและคาเฟอีนและฮอร์โมนซีโรโทนินซึ่งล้วนคลายกล้ามเนื้อหูรูดได้ 

     (7) พริก เพราะงานวิจัยพบว่าสาร capsaicin ในพริกออกฤทธิ์ชลอการย่อยอาหารและทำให้อาหารผ่านออกจากกระเพาะช้าลง ไม่นับว่าตัวพริกเองมีความร้อนแรงสามารถระคายเคืองเยื่อบุหลอดอาหารได้อีกต่างหาก 

     (8) เกลือ เพราะงานวิจัยพบว่าคนยิ่งชอบกินเค็มมาก ยิ่งเป็นกรดไหลย้อนมาก 

     (9) แอลกอฮอล์ เพราะมันทั้งออกฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อหูรูด ทั้งกระตุ้นการหลั่งกรด และตัวมันเองก็เป็นสารระคายเคืองเยื่อบุ 

     (10) น้ำอัดลม งานวิจัยทำที่เกาหลีพบว่าคนดื่มน้ำอัดลมมีความเสี่ยงเกิดอาการกรดไหลย้อนมากกว่าคนไม่ดื่ม 69% 

     (11) นม เพราะงานวิจัยพบว่านมเป็นอาหารที่เพิ่มอาการกรดไหลย้อน

     2.3 เลิกนิสัยกินจนอิ่มเต็มที่ ควรหยุดกินตั้งแต่อีกห้าหกคำจะอิ่มก็หยุดได้แล้ว และ 3 ชั่วโมงก่อนเวลานอน รูดซิบปาก ห้ามกิน เพราะกินใกล้เวลานอนซึ่งเป็นเวลาที่กระเพาะหยุดเคลื่อนไหวอาหารจะแช่อยู่ในกระเพาะไม่ไปไหนแล้วย้อนขึ้นมาง่าย

     2.4 จัดการความเครียด เพราะมันมีผลทั้งทำให้การหลั่งกรดในกระเพาะมากขึ้นซึ่งทำให้กรดไหลย้อนรุนแรงขึ้น และมีผลทั้งทำให้โรคหัวใจขาดเลือด (ถ้าคุณเป็นจริง) มีอาการมากขึ้น ดังนั้นคุณต้องถือเอาการจัดการความเครียดเป็นวาระแห่งชาติ ความเครียดเกิดจากความคิด ให้คุณฝึกวางความคิด อ่านที่ผมเขียนตอบไปเรื่องการทำสมาธิวางความคิด ผมตอบไปบ่อยมาก ให้หาอ่านย้อนหลังแล้วทดลองปฏิบัติด

นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์

บรรณานุกรม

1. Jinqiu Yuan, Qiangsheng He, Long H Nguyen, Martin C S Wong, Junjie Huang, Yuanyuan Yu, Bin Xia, Yan Tang, Yulong He, Changhua Zhang. Regular use of proton pump inhibitors and risk of type 2 diabetes: results from three prospective cohort studies. Gut, 2020; gutjnl-2020-322557 DOI: 10.1136/gutjnl-2020-322557

[อ่านต่อ...]

23 ตุลาคม 2563

มันตรา..เทคนิคหนามยอกเอาหนามบ่งวงจรย้ำคิดย้ำทำ (compulsiveness)


     เมื่อวานนี้เราได้ทดลองมีประสบการณ์กับการฝึกนั่งสมาธิแบบคนเดินป่า คือเปลี่ยนตัวเองจาก "ผู้คิด" ไปเป็น "ผู้สังเกต" แล้วเราก็ได้พบจากการคุยกันหลังทดลองนั่งสมาธิว่าไม่ทุกครั้งที่เราจะประสบความสำเร็จในการวางความคิดด้วยการทำสมาธิแบบเดินเที่ยวไปในใจของตัวเองโดยไม่ให้มีภาษาหรือคำพูดเข้ามาครอบ เพราะชื่อว่าความคิดนี้แท้จริงแล้วมีอยู่สองส่วน คือส่วนที่เราคุมได้อันได้แก่การคิดวิเคราะห์บวกลบคูณหาร กับส่วนที่เราคุมไม่ได้อันได้แก่ความคิดที่มันเป็นร่องเก่าของความย้ำคิด (compulsiveness) ซึ่งถูกบากไว้แล้วแต่อดีต มันจะบากซ้ำร้อยเดิมเหมือนล้อรถยนต์ที่หมุนเอาดอกยางวนเวียนกันลงมาสัมผัสหน้าถนนซ้ำซาก และบางความคิดมาแต่ละทีมันมาแรงมาก แต่ว่ามันมีเทคนิคแก้ลำกันแบบเกลือจิ้มเกลือนะ

     สมัยผมหนุ่มๆผมชอบร้องเพลงลูกทุ่งเพลงหนึ่ง ว่า 

     "..พี่อุตส่าห์ทำงานก็เพื่อน้อง

     หวังเก็บเงิน เก็บทองเอามาหมั้นแม่ขวัญใจ

     ถึงงานจะหนัก แม้จะเหนื่อยสักเท่าไหร่

     จะตากแดดผิวเกรียมไหม้ก็หวังให้ได้เงินมา.."

     พอผมโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว ทำงานเป็นหมอผ่าตัดหัวใจ บางวันกำลังผ่าตัดเครียดๆเพลงนี้ก็ดังขึ้นมาในหัวแบบไม่เข้ากับบรรยากาศเลย แต่มันแทรกเข้ามาได้ไงหงะ มันแทรกเข้ามาได้เพราะการที่ผมฟังและร้องเพลงนี้บ่อยๆเมื่อตอนเป็นหนุ่มเป็นการบากร่องวงจรย้ำคิดย้ำทำเข้าไปในความจำของผมแข่งกับความย้ำคิดย้ำทำอย่างอื่นๆจนมันกลายเป็นวงจรหลักที่โผล่ขึ้นมาในใจได้ด้วยตัวมันเองโดยไม่ต้องรอผมเชิญเลย

     พวกโยคีอินเดียได้เอาเทคนิค "บากร่อง" ความคิดใหม่เข้าไปแข่งกับร่องความคิดเก่าๆเดิมที่ทำให้เป็นทุกข์นี้มาใช้ แบบเอาภาษาเข้ามาแข่งกับภาษา โดยที่ความคิดใหม่ที่จงใจบากเข้าไปนี้เป็นความคิดหรือภาษาขนาดสั้นๆ คำเดียวบ้าง หรือประโยคเดียวสองประโยคบ้างเรียกว่ามันตรา ส่วนใหญ่ครูจะมอบมันตราให้ศิษย์เป็นคนๆไป ของใครของมัน แต่ที่ใช้กันแพร่หลายก็มีเช่นคำว่า "โอม" เมื่อพูดหรือคิดคำนี้ในใจซ้ำๆ มันจะกลายเป็นการบากร่องวงจรย้ำคิดวงจรใหม่ขึ้น เพราะโอมนี้มันเป็นคำพูดมันก็เป็นภาษาเหมือนกัน มันจึงสามารถไปแย่งที่ความคิดเก่าในใจได้ บ่อยเข้าก็แย่งที่ได้มากขึ้นๆ จนมันโผล่ขึ้นมาแย่งที่ความย้ำคิดย้ำทำอย่างอื่่นได้หมด ความคิดสั้นๆซ้ำๆและไม่มีความหมายผูกพันธ์กับสำนึกว่าเป็นบุคคลของเรานี้ มันต่างจากความคิดเปะปะที่มีเรื่องราวผูกพันกับสำนึกว่าเป็นบุคคลของเราตรงที่ความคิดสั้นๆซ้ำๆนี้จะพาความสนใจให้ไปจดจ่ออยู่กับเป้าของสมาธิเช่นลมหายใจได้เองอย่างอัตโนมัติเพราะมันสามารถ "กันท่า" ความคิดชนิดที่จะลากเอาความสนใจของเราออกไปจากเป้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ คำบริกรรมอื่นไม่ว่าจะในศาสนาไหน ก็คิดขึ้นมาด้วยวัตถุประสงค์เดียวกัน 

     เช้าวันนี้เราจะมาฝึกมีประสบการณ์กับการวางความคิดด้วยวิธีมันตราของโยคีกัน โดยจะเริ่มฝึกกับภาษาสั้นคำเดียว คือ "โอม" การพูดหรือคิดคำนี้มีวัตถุประสงค์สองอย่างนะ คือ

     1. ในระยะยาว เราต้องการบากร่องการย้ำคิดให้คำนี้ตราตรึงฝังลึกอยู่ในความจำชนิดที่ลอยขึ้นมาตัดหน้าความคิดลบที่ชอบทำให้เป็นทุกข์ได้แบบมาบ่อยกว่า และชะงัดกว่า

     2. ในระยะสั้น ต้องการให้คำนี้ไล่ที่ความคิดใดๆที่กำลังครอบใจเราออกไปให้หมด ซึ่งการจะทำอย่างนี้ได้เต็มที่ก็ต้องพ่วงการจดจ่อความสนใจไปที่การสั่นสะเทือนของร่างกายและการผ่อนคลายกล้ามเนื้อร่างกายขณะเปล่งเสียง และหากการต่อสู้กันทำท่าจะพ่ายแพ้ก็ต้องเปล่งเสียงให้ถี่ขึ้นๆ หรือดังขึ้นๆ จนชนะความคิดลบอันเป็นคู่แข่งได้

      ก่อนจะทดลองใช้มันตรา ต้องรู้ที่มาของคำนี้ก่อนว่ามันมาจากรากของ "แม่เสียง" สามเสียง คือ

     อา... A (อ้าปาก) ซึ่งขณะเปล่งเสียง จะก่อการสั่นสะเทือนท่อนล่างของร่างกาย และสื่อความหมายถึงการฉายแสงความรู้ตัวในภาวะที่เรากำลังตื่นอยู่ เอ้าทุกคนเปล่งเสียงตามผม อา..า...า

     อู...  U (ห่อปาก) ซึ่งขณะเปล่งเสียง จะก่อการสั่นสะเทือนท่อนกล่างของร่างกาย และสื่อความหมายถึงการฉายแสงความรู้ตัวในภาวะที่เรากำลังหลับและฝันอยู่ เอ้าทุกคนเปล่งเสียงตามผม อู.. ู ... ู

    อึม... M (ปิดปาก) ซึ่งขณะเปล่งเสียง จะก่อการสั่นสะเทือนท่อนล่างของร่างกาย และสื่อความหมายถึงการฉายแสงความรู้ตัวในภาวะที่เรากำลังหลับลึกโดยไม่ได้ฝัน เอ้าทุกคนเปล่งเสียงตามผม อึม..ม...ม

    เมื่อเอาสามเสียงมาเปล่งต่อๆกันแบบติดๆกันก็จะกลายเป็นเสียงโอม อย่างนี้ โอม...ม เอ้าทุกคนเปล่งเสียงพร้อมกับผม โอม..ม...ม

     คราวนี้เป็นการเอาจริงแล้วนะ ให้ทุกคนเปล่งเสียงโอมของใครของมัน ใครมีความคิดมากไหลบ่าท่วมท้นตลอดเวลาก็เปล่งเสียงให้ดังขึ้นๆๆ ถี่ขึ้นๆๆๆ เปล่งเสียงพลาง รับรู้การสั่นสะเทือนในร่างกายตัวเองไปพลางและผ่อนคลายร่างกายตัวเองไปพลาง ใครที่ความคิดห่างไปก็เปล่งเสียงห่างไปๆ จนกลายเป็นเปล่งเสียงในใจ ช่วงที่คุณหยุดเปล่งเสียงหากไม่มีความคิดคุณจะอยู่ในความเงียบ นั่นแหละคือความรู้ตัว คือคำว่าโอมนี้พาคุณไปหาความรู้ตัวได้ตรงๆโดยการที่คุณตามเสียงมันไปจนมันแผ่วลงๆแล้วเงียบไป แต่หากความคิดมาแรงอีกก็กลับมาเปล่งเสียงดังและถี่ใหม่ ไม่ต้องเกรงใจใคร ตัวใครตัวมัน เสียงของใครเสียงของมัน เสียงของเรา เรารับรู้การสั่นสะเทือนจากเสียงของเรา เราผ่อนคลายตามเสียงของเรา สิบนาทีนี้ทั้งห้องจะระงมด้วยเสียงโอมเหมือนกบเหมือนอึ่งอ่างในสระน้ำก็ไม่เป็นไรไม่ต้องสน ให้ใช้มันตราโอมนี้ไล่ความคิดไปจนครบสิบนาที โดยผมจะตีระฆังเมื่อครบสิบนาที

      โอม..โอม โอม..โอม..โอม โอม..โอม..โอม โอม โอม  

    เอาละ ครบสิบนาที

     มันตรานี้เป็นเพียงเครื่องมือกีดกันความคิดนะ เหมือนเรือที่เราอาศัยพายข้ามแม่น้ำ พอเราถึงอีกฝั่งก็ต้องทิ้งเรือ ไม่ใช่แบกเรือเดินบนบก เมื่อความคิดหมด เราก็ทิ้งมันตรา เพื่อไปอยู่กับความรู้ตัวที่เป็นความสงบเย็นและตื่นตัวซึ่งเป็นสภาวะที่เงียบ นิ่ง และว่าง 

     มันตรานี้เราจะคิดขึ้นมาใช้เองก็ได้นะ ตัวผมเองในช่วงที่ยังต้องอาศัยตัวช่วยกันความคิดออกไป ก็ได้คิดมันตราของตัวเองขึ้นมาใช้ โดยการเอาเครื่องมือสำคัญที่ผมใช้ในการวางความคิดมาผูกเป็นมันตราบอกบทตัวเอง พูดง่ายๆว่าผมสร้างผู้กำกับหรือนักพากย์ขึ้นมาช่วยตัวผมเองในขณะที่ยังเอาตัวเองไม่รอด พอเอาตัวเองรอดเมื่อไหร่ก็เลิกใช้เมื่อนั้น มันตราที่ผมสร้างขึ้นมาใช้เป็นภาษาพูดในใจ ไม่ออกเสียง ดังนี้

     "เข้า..จดจ่อ ตื่น 

     ออก..ยิ้ม ผ่อนคลาย ซู่ซ่า"

     เข้า..จดจ่อ ตื่น หมายความว่าขณะหายใจเข้า ผมจดจ่อที่ลมหายใจเข้าแบบทำสมาธิ จดจ่อ จดจ่อ จดจ่อ พอสุดลมหายใจเข้าก็ยืดตัวขึ้นและสะดุ้งตัวเองนิดหนึ่งเพื่อปลุกตัวเองให้ตื่นขึ้นมาอยู่กับเดี๋ยวนี้ เหมือนทหารระวังตรงเมื่อเจ้านายมาตรวจแถว แบบนี้

     ออก..ยิ้ม ผ่อนคลาย ซู่ซ่า หมายความว่าขณะหายใจออก ผมผ่อนคลายร่างกายและยิ้มเพื่อเป็นสัญญลักษณ์ว่าได้ผ่อนคลายแล้ว และรับรู้ความรู้สึกบนผิวกายทั้งความรู้สึกซู่ๆซ่าๆเหน็บๆชาๆเจ็บๆคันๆรับรู้หมด

    ทำไปทำมาผมชอบมันตราที่ผมคิดขึ้นมาใช้เองมากกว่าคำว่าโอม การจะคิดมันตราขึ้นมาใช้เองนี้ต้องเผื่อให้ใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วยนะ เพราะอย่าลืมว่าการนั่งฝึกสมาธิเป็นเพียงการจำลองชีวิตประจำวันมาให้มันง่ายต่อการเริ่มต้น ท้ายที่สุดเราต้องเอาไปใช้ในชีวิตประจำวัน การฝึกใช้มันตราเป็นทักษะต้องฝึกท่องบ่นซ้ำซาก บากร่องมันตราให้ลึกลงไป ลึกลงไป ซ้ำซากๆ จนมันโผล่ขึ้นมาเองในใจได้เหมือนเมโลดี้เพลงโปรดในหัวที่ชอบโผล่ขึ้นมาแบบไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ย หากทำได้ถึงจุดนั้นแล้วก็แสดงว่ามันตรานี้เริ่มจะแย่งที่ร่องความคิดเก่าๆเดิมๆได้แล้ว ถ้าจะเปรียบกับการเดินป่า มันตราก็คือการทำสวนดอกไม้ของเราเองไว้เดินเล่นเอง เราไม่ต้องไปคอยสังเกตสารพัดความคิดที่แย่งกันโผล่ขึ้นมาสลอนเหมือนต้นวัชพืชนานาชนิดในป่า เพราะความคิดหลักที่โผล่ขึ้นมาคือมันตราที่เราปลูกขึ้นเองเหมือนต้นดอกไม้ที่เราชื่นชอบและได้ปลูกไว้  

    ย้ำอีกทีว่ามันตราหากจะใช้ ให้ใช้มันเป็นแค่เรือข้ามฟาก คือใช้เฉพาะเมื่อเราหมดปัญญาถอยออกมาสังเกตความคิดเพราะความคิดมันมาแรงเหลือเกิน เมื่อเราออกมาสังเกตความคิดได้อย่างต่อเนื่องแล้ว มันตราก็ไม่จำเป็น หรืออาจจะหยิบมาใช้แค่นานๆครั้ง

นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์

[อ่านต่อ...]

22 ตุลาคม 2563

นั่งสมาธิแบบคนเดินเที่ยวป่าอย่างสนุก

     ชั่วโมงนี้เราจะทดลองนั่งสมาธิแบบหนึ่ง เป็นแค่การทดลองมีประสบการณ์นะ 

     ลองมองการนั่งสมาธิหรือ meditation เหมือนการไปเดินเที่ยวป่าปีนเขาหรือ trekking การเที่ยวก็ต้องสนุกเพลิดเพลินถูกไหม ไม่ใช่น่าเบื่อหน่าย การไม่ได้ไปเที่ยวสิน่าเบื่อหน่าย การนั่งสมาธิก็เป็นการเที่ยวไปในใจของเรา ซึ่งเป็นป่าหรือเขาที่เราไม่เคยไปเที่ยวกันมาก่อน หรือเคยตั้งใจจะไปเที่ยวแล้วก็ไปพลาดท่าเสียทีตั้งแต่สองสามก้าวแรก เช่นคนไปหัดเดินป่าเห็นธารน้ำไหลเชี่ยวแล้วไปเดินข้ามลำธารที่เชี่ยวแล้วก็พลัดลงไปในธารน้ำ ถูกน้ำพัดพาไปไหนต่อไหนไกลเป็นกิโลกว่าจะคว้าหญ้าแขมริมธารกลับขึ้นฝั่งได้ กล้องถ่ายรูปหลุดหาย แขนถลอกปอกเปิก แล้วจะให้บอกว่าการไปเที่ยวเดินป่าสนุกได้อย่างไร ฉันใดก็ฉันนั้น คนหัดนั่งสมาธิใหม่ๆเห็นความคิดเกิดขึ้นแล้วก็เข้าไปตอแยกับความคิดแล้วก็ถูกดูดเข้าไปอยู่ในวังวนของความคิด คิดถึงปัญหาที่ยังแก้ไม่ตก คิดถึงโรคที่ตัวเองเป็น คิดถึงอนาคตของลูกๆว่าถ้าตัวเองเป็นอะไรไปเขาจะอยู่กันรอดได้อย่างไร คิดถึงงานที่ไม่มั่นคงและบริษัทฐานะง่อนแง่นกังวลว่าเขาจะจ้างตัวเองไปได้อีกกี่เดือน แล้วถ้าเขาเลิกจ้าง ในภาวะที่มีแต่คนตกงานอย่างนี้ตัวเองจะไปทำอะไรให้มีเงินพอเลี้ยงลูกเมีย กว่าจะออกจากความคิดมาได้ก็ปวดหัวและหมดเวลานั่งเสียแล้ว แล้วจะให้เห็นการนั่งสมาธิเป็นของดีของสนุกได้อย่างไร

     คนเดินป่าที่ช่ำชอง หากมีแผนจะมุ่งหน้าไปทางโน้นแล้วมีลำธารมีหินลื่นและลำน้ำเชี่ยวกรากขวางอยู่เขาไม่รีบข้ามตรงนั้นดอก เขาจะเดินเลียบฝั่งลำธารขึ้นไปแบบใจเย็นๆ เพราะรู้ว่าธรรมชาติของธารน้ำบนเขาพอสูงขึ้นไป ลำธารก็จะค่อยๆเล็กลงๆแคบลงๆจนเหลือแค่น้ำไสไหลรินตื้นๆให้เดินข้ามได้โดยสะดวก การเดินสำรวจใจของเราด้วยการนั่งสมาธิก็เช่นกัน ความคิดเป็นลำธารที่เราเดินเลียบขึ้นไปหาต้นตอของมันได้โดยไม่ต้องไปพยายามข้ามหรือเอาชนะมันตั้งแต่แรกเห็น 

     คุณสังเกตไหมว่าความคิดของเรามันเป็นภาษาพูด เป็นประโยค มีประธาน กริยา กรรมนะ อย่างเช่นเราคิดถึงลูกแมวมีอย่างน้อยสองคำโผล่ขึ้นมาคือ "ลูกแมว" และ "น่ารัก" ถ้าคิดถึงเจ้านายก็มีอีกสองคำ ฮี่..ฮี่ อย่าให้บอกเลยว่าเป็นคำไหนบ้างนะ ถ้าคิดถึงการวางแผนงานก็เป็นภาษาเขียนมีบุลเล็ตเป็นหัวข้อแบบพาวเวอร์พ้อยนท์ จริงอยู่บางคนไม่ได้คิดออกมาเป็นภาษา แต่คิดเป็นอย่างอื่น เพื่อนของผมคนหนึ่งเป็นนักแต่งเพลง เขาบอกผมว่าในหัวของเขามีเมโลดี้หรือเสียงเพลงดังขึ้นมา แสดงว่าเขาคิดออกมาเป็นเสียง หมอสมวงศ์ซึ่งกำลังหัดเขียนภาพสีน้ำเธอบอกผมว่ามีบางครั้งเธอเห็นภาพสีน้ำที่จะวาดว่ามันจะมีหน้าตาอย่างไรขึ้นมาก่อนแล้วทำให้เธอเกิดความรู้สึกอยากวาดภาพนั้น แสดงว่าเธอคิดออกมาเป็นภาพ แต่วันนี้เราจะพูดถึงความคิดที่คนส่วนใหญ่เขาคิดกันก่อนนะ คือการคิดออกมาเป็นภาษา มีประธาน กริยา กรรม ผูกประโยคเป็นเรื่องเป็นราว เพราะว่ามนุษย์เราเป็นสัตว์ที่จุ่มแช่อยู่ในภาษาตลอดเวลา ทุกวันเราพูด ฟัง เขียน อ่าน อีเมล ไลน์ เฟซ และคิด ด้วยภาษาทั้งนั้น

     สมัยหนุ่มๆผมไปเดินป่ากับครูซึ่งเป็นนายพราน ครั้งแรกเมื่อผมเริ่มต้นไปเดินป่า วันแรก ผมเดินไป แต่ในหัวของผมมีแต่ความคิด ผมสังเกตเห็นอะไรตามทางที่เราเดินผ่านไปน้อยมาก เพราะผมเดินไปคิดไป เพราะภาษามันครอบใจของคนเราแทบจะสิ้นเชิง เหมือนถ้ามีฝนสาดลงมารอบตัว แล้วผมจะไปเห็นอะไรได้นอกจากเม็ดฝน แต่พอผ่านไปวันที่สอง ขณะเดินป่ากันตอนสาย มีบ่างตัวหนึ่งร่อนจากต้นไม้สูงต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่งตัดหน้าผมไป แถมหันหน้ามามองผมตาแป๋ว ผมไม่เคยเห็นบ่างมาก่อนในชีวิต จึงตื่นเต้น ร้องว่า

     "เฮ้ย..แมวบิน" 

     ครูบอกผมด้วยเสียงต่ำๆเบาๆว่า

     "บ่าง ไม่ใช่แมว"

     ตั้งแต่นาทีนั้นผมจึงเกิดความตื่นตัวที่จะสังเกตรับรู้สิ่งรอบตัวว่าจะมีอะไรที่ผมไม่เคยรู้จักผ่านมาอีก ผมจึงเริ่มเห็นสิ่งต่างๆในป่ามากขึ้น โดยที่ความคิดมันน้อยลงจนหายไปไหนไม่รู้เกือบหมด ทุกอย่างเริ่มคมชัดมากขึ้นเมื่อความคิดลดลง ทุกอย่างเป็นความตื่นตาตื่นใจแปลกใหม่ ผมเริ่มจำแนกเสียงนกร้องว่ามันมีระดับเสียงและท่วงทำนองแตกต่างกัน ผมเริ่มคลำได้ความหยาบของร่องลึกของเปลือกไม้เวลาที่เอามือเท้าต้นไม้ ผมเริ่มมองเห็นบางอย่างที่ไม่เคยมองเห็น เช่นแมงมุมตัวเท่าหัวแม่เท้าที่กำลังกินแมลงอยู่บนใยของมันในพงข้างทางเดิน เนื่องจากป่าที่เราเดินคือดอยผ้าห่มปกซึ่งเป็นป่าสูงดงดิบแทบไม่มีแสงตะวันเล็ดรอดลงมาถึงดิน เวลาที่เราเดินพ้นพงไม้ออกมาแต่ละครั้ง ผมรู้สึกได้แม้กระทั่งว่าแดดที่ส่องมาโดนผิวที่แขนนั้นมันมีความอุ่น ทั้งหมดนี้เป็นการรับรู้ผ่านภาพ เสียง สัมผัส มาเป็นความรู้สึกตรงๆโดยไม่ผ่านการตีความเป็นภาษา มาคิดย้อนดูแล้ว ภาษาที่อยู่ในหัวในรูปของความคิดนี้เป็นเหมือนขี้โคลนที่พอกกันไว้ไม่ให้ผมรับรู้ธรรมชาติรอบตัวของผมในวันแรกๆของการเดินป่า พอขี้โคลนคือความคิดนี้ละลายไป ผมจึงเริ่มสัมผัสกับธรรมชาติได้อย่างตรงๆไม่ต้องรอเอาภาษามาอธิบายตีความเลย มันเป็นการเปลี่ยนการรับรู้ผ่านภาษาอันสลับซับซ้อนมารับรู้ผ่านความตื่นตัวหรือความรู้ตัวแบบง่ายๆตรงๆดื้อๆ คือการปรากฎตัวของบ่างกระตุ้นให้ผมเปลี่ยนจากการเป็น "ผู้คิด" มาเป็น "ผู้สังเกต" ผู้คิดจะจมอยู่ในความคิด (thought) จนไม่เห็นไม่ได้ยินอะไร แต่ผู้สังเกตจะเปิดหูตาและสัมผัสรับรู้ความรู้สึก (feeling) อ้าซ่าโล่งโจ้งโดยไม่มีความคิด ถ้าจะมีความคิดโผลขึ้นมา ความคิดนั้นก็จะมีสถานะเป็นเพียงสิ่งที่ถูกสังเกตอย่างหนึ่ง เหมือนสิ่งที่ถูกสังเกตอื่นๆเช่นภาพ เสียง สัมผัส

     ประสบการณ์เดินป่าในวัยหนุ่มครั้งกระโน้น ได้กลายมาเป็นเทคนิคที่ผมเอามาใช้ในการนั่งสมาธิทุกวันนี้ คือการหันเหความสนใจจากความคิดมาสนใจภาพเสียงสัมผัสหรือแม้กระทั่งลมหายใจที่เกิดขึ้นที่เดี๋ยวนี้แบบตรงๆโดยไม่ต้องผ่านภาษาเลย  ภาพเสียงสัมผัสเหล่านี้มันก่อให้เกิดความรู้สึก (sensation) แล้วผมก็เรียนรู้ที่จะสังเกต หรือรับรู้ (perception) ภาพเสียงสัมผัสเหล่านี้แบบตรงๆโดยไม่ใช้ภาษามาเกี่ยวข้อง ไม่มีการพากย์ ไม่มีการตีความ การจะเปลี่ยนภาษามาเป็นความรู้สึกก็แค่เปลี่ยนจาก "การคิด" มาเป็นการ "สังเกต" คือแค่ทำตัวเป็นผู้สังเกต แค่นั้นเอง สังเกตมันทุกอย่างเหมือนเวลาที่ผมสังเกตธรรมชาติขณะเดินป่า ไม่ว่าจะเป็นนก ภูเขา ต้นไม้ ฉันใดก็ฉันนั้น ในการนั่งสมาธิ เมื่อเจ็บก้น ผมสังเกตน้ำหนักของก้นที่กดลงบนพื้นอาสนะ เจ็บหัวเข่าผมสังเกตอาการที่เอ็นหัวเข่ามันตึงและมันเจ็บ ยุงมากัด ผมสังเกตตั้งแต่เมื่อยุงมันเริ่มเกาะ มันเริ่มแทง และสังเกตความคิดของผมที่พากย์ว่า

     "ตบยุงสิ ตบเลย" 

     ผมสังเกตหมด แค่สังเกตแต่ไม่ลงมือทำอะไร ทิ้งคำพูดไปหมด ไม่ให้มีคำพูดแม้แต่คำเดียวขึ้นมาเม้นท์หรือชี้นำ ถ้ามีขึ้นมาก็ทิ้งไปทันที แม้แต่คำว่าพุทโธก็ทิ้งไปก่อน อะไรเป็นภาษาหรือคำพูดทิ้งหมด เอาจนเหลือแต่ความรู้สึกสดๆ ไม่เอาคำพูด ไม่ตัดสินด้วยว่านี่น่ารื่นรมย์ นี่ไม่น่ารื่นรมย์ แค่สังเกตรับรู้ มาถึงตอนนี้เท่ากับว่าผมกำลังเดิน trekking ในป่าคือใจของผมนี่เองโดยเปิดการรับรู้อ้าซ่าอะไรจะผ่านเข้ามารับรู้หมด มันเป็นการเดินทางสำรวจที่ตื่นเต้นตื่นตาตื่นใจกว่าการเดินป่าเดินเขาตอนไปเที่ยวเสียอีกนะ ไม่มีความน่าเบื่อเลย เพราะเมื่อเราไปตั้งหลักที่ความรู้ตัว คอยสังเกตว่าอะไรจะโผล่เข้ามาในใจของเรา เราไม่รู้หรอกว่าวินาทีข้างหน้าอะไรจะผ่านเข้ามา มันเป็นความน่าตื่นเต้นมหัศจรรย์ทีเดียว

    ความคิดนี้มันดูเหมือนมีอำนาจมีพลังทำให้เราทุกข์ร้อนได้มากมายก็จริง แต่แท้จริงแล้วมันต้องอาศัยการส่องสว่างให้เรารับรู้ได้ด้วยความรู้ต้วของเราเองในรูปของความสนใจที่ให้กับมัน อำนาจที่จะส่องดูสาระเรื่องราวของความคิดเป็นอำนาจของความรู้ตัวของเราเองไม่ใช่อำนาจของความคิด แม้สาระของความคิดจะมีเรื่องราวมีพลังดึงดูดอย่างไรก็ตาม แต่หากความรู้ตัวหยุดส่องสว่างให้มัน ความคิดนั้นก็จะดับทันที ทำไมเวลาคุณดูหนังที่โศกแบบถึงรากถึงโคนจนคุณน้ำตาเล็ดน้ำตาร่วง พอหนังจบคุณเอ่ยปากชมว่านั้นเป็นหนังที่ดีที่สุดที่เคยดูมา ตอนดูหนังคุณมีความเศร้า ความเศร้านั้นก็คือความคิด มันเป็นของจริง ตอนจบการดูหนังน้ำตาคุณยังไม่แห้งเลย แต่ทำไมคุณไม่เดือดเนื้อร้อนใจอะไรกับความเศร้านั้น เพราะคุณรู้ว่าหนังจบกลับบ้านแล้วคุณถอยความสนใจออกจากเรื่องในหนังแล้วความเศร้านั้นจะดับสนิทไม่ตามไปในชีวิตจริงของคุณ คุณรู้ว่าคุณในชีวิตจริงเป็นอิสระจากความเศร้านั้น ฉันใดก็ฉันเพล เมื่อคุณรู้ว่าความรู้ตัวซึ่งเป็นคุณที่แท้จริงเป็นผู้สังเกตนี้เป็นอิสระจากความคิดที่ก่อทุกข์ใดๆขึ้นในใจของคุณทั้งสิ้น ทุกความทุกข์ในใจก็จะเหมือนความเศร้าในหนังที่คุณดูมาแล้ว มันเป็นอดีตที่ไม่อาจกระทบกระเทือนคุณในโมเมนต์เดี๋ยวนี้ได้เลย

     เอาละ เวลาที่เหลือยี่สิบนาทีนี้เรามาฝึกนั่งสมาธิด้วยเทคนิคเลียนแบบการเดินป่า หมายความว่าเปลี่ยนจากการเป็น "ผู้คิด" มาเป็น "ผู้สังเกต" กัน ย้ำอีกทีนะ ทิ้งภาษาไปให้หมดไม่ให้เหลือแม้แต่คำพูดคำเดียว คำพูดของนักพากย์หรือผู้กำกับเช่น "กำลังหายใจเข้านะ" หรือ "กำลังหายใจออกนะ" ก็ไม่เอา ให้สัมผัสรับรู้แต่ภาพเสียงสัมผัส ดิบๆ ล้วนๆ ที่เข้ามาหา ณ เดี๋ยวนี้ ทำเทคนิคนี้เทคนิคเดียวก่อน ส่วนเทคนิคอื่นเอาไว้ฝึกกันในวันหลัง อย่าเพิ่งเอามาปะปนกัน เอ้า มาเริ่มกันเลย นั่งในท่าที่ตัวเองสบาย แต่ว่าตั้งกายให้ตรง ดำรงสติมั่น..

นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์

[อ่านต่อ...]

19 ตุลาคม 2563

แลมเบิร์ต กับการเปลี่ยน identity (สำนึกว่าเป็นบุคคล)


      ฝนยังอ้อยอิ่งเหมือนไม่อยากจากไปไหน แต่ลมหนาวอันเยือกเย็นก็มาเยือนมวกเหล็กเรียบร้อยแล้ว อากาศหนาวอย่างนี้ ขณะที่สองตายายนั่งดื่มกาแฟกินอาหารมื้อเช้ากันที่ริมสวนดอกไม้หน้าบ้านมวกเหล็ก มองดูวิวกว้างๆเย็นๆเทาๆ แล้วเพลงซิมโฟนี่เก่าๆเพลงหนึ่งก็ดังแว่วขึ้นมาในหู

 "..Lambert

You can't even baa

You can't even bleat

Your ears are too big

And so are your feet.."

"..แลมเบิร์ต

แกร้องแอ้ก็ไม่ได้

ร้องแอ๊ะก็ไม่ได้

หูแกก็ใหญ่เกินไป

แถมตีนก็ใหญ่เบ๊อะบ๊ะด้วย.."

     มันเป็นเพลงซิมโฟนี่รุ่นเก่าชื่อ Lambert the Sheepish Lion ที่ผมฟังเป็นเพื่อนหมอพอซ้ำซากตั้งแต่ตอนเขาอายุสามขวบโน่นแล้ว เพลงนี้เนื้อหามีอยู่ว่าวันหนึ่งนกกระสาซึ่งมีหน้าเป็นบุรุษไปรษณีย์เอาลูกสัตว์ไปส่งให้บรรดาแม่ๆทั้งหลาย แต่ดันนำส่งพัศดุผิดที่ คือเอาลูกสิงโตไปส่งให้แม่แกะเพราะป้ายหน้าห่อพัศดุเขียนว่า Lambert ซึ่งเป็นชื่อลูกสิงห์โตแต่นกกระสาไปอ่านว่าเป็น Lamb จึงนึกว่าเป็นลูกแกะ พอรู้ว่าผิดจะไปเอาคืนแต่ถูกแม่แกะซึ่งหลงรักแลมเบิร์ตเสียแล้วไม่ยอมให้คืนแถมไล่เอาหัวชนก้นนกกระสาจนบาดเจ็บต้องเอามือคลำก้นตัวเองป้อยๆบินหนีไปและปล่อยเลยตามเลย  แลมเบิร์ตจึงเติบโตแบบลูกแกะในฝูงแกะและเป็นที่ล้อเลียนของเพื่อนๆดังเนื้อเพลงซิมโฟนี่ข้างต้น แต่วันหนึ่งหมาป่ามาไล่แกะในฝูงแตกกระเจิงและไล่จะกินแม่ของแลมเบิร์ต แลมเบิร์ตทั้งที่กลัวแต่ด้วยความรักแม่จึงกลั้นใจวิ่งเอาหัวชนหมาป่าตกเหวไป กลายเป็นฮีโร่ของฝูงแกะนับตั้งแต่นั้น นั่นคือเนื้อหาทั้งหมดของเพลงนี้

     ผมเล่าเรื่องนี้เพื่อจะอธิบายคำหนึ่ง ซึ่งเป็นคำสำคัญ แต่หาคำในภาษาไทยอธิบายไม่ได้ เพราะภาษาไทยของเรานี้ใช้อธิบายอารมณ์ความรู้สึกต่างๆในชีวิตประจำวันของผู้คนได้ดีมาก แต่ไม่ค่อยศัพท์แสงใดๆที่จะใช้อธิบายนามธรรมบางอย่างที่แม้จะมีอยู่ในชีวิตจริงแต่วิธีชีวิตคนทั่วไปไม่ค่อยมีโอกาสได้สัมผัสรับรู้ บ่อยครั้งผมจึงต้องไปใช้ภาษาอังกฤษแทนเพราะผมเองก็รู้อยู่แค่สองภาษา ผมเล่าเรื่องแลมเบิร์ตเพื่อจะอธิบายคำว่า identity ซึ่งภาษาไทยคำที่เข้าใจง่ายหน่อยน่าจะเป็นคำว่า "องค์" หรือ "ตัวตน" แต่คำที่ความหมายใกล้เคียงที่สุดเป็นคำพูดของครูฮินดู(คนไทย) ที่ผมเชิญมาสอนที่เวลเนสวีแคร์ซึ่งเธอใช้คำว่า "สำนึกว่าเป็นบุคคล" ผมชอบคำนี้มาก แต่ว่ามันยาวไปพูดแล้วคนไม่รอฟังจนจบเลยไม่เก็ท ก็เลยต้องพึ่งภาษาอังกฤษว่า identity ไปก่อน

     แลมเบิร์ตเติบโตในฝูงแกะอย่างลูกแกะตัวหนึ่ง ร้องแอ้ แอ้ อย่างแกะ เอาหัวชนกันเล่นอย่างแกะ และเล็มหญ้ากินเป็นอาหารอย่างแกะ ทำให้เขาสำคัญมั่นหมายว่าเขามี identity เป็นแกะ เพราะ identity เกิดขึ้นมาจากวงจรการสนองตอบอัตโนมัติที่ผูกขึ้นจากประสบการณ์ซ้ำซากกลายเป็นวงจรสนองตอบ (คิดพูดทำ) แบบย้ำคิดย้ำทำหรือ compulsiveness กลายเป็นชุดความคิด (concept) ที่ลงตัวว่านี่คือตัวตนของฉัน

     ครูของผมซึ่งเป็นโยคีอินเดึยเคยเล่าให้ผมฟังนิทานอินเดียซึ่งผมขอตั้งชื่อเรื่องให้ว่า "แลมเบิร์ตภาคสอง" ก็แล้วกัน เรื่องมีอยู่ว่าลูกสิงห์โตพลัดแม่ไปอยู่ในความอุปถัมภ์เลี้ยงดูของแม่แกะและโตขึ้นมาในฝูงแกะจนเป็นหนุ่มซึ่งผมขอเรียกว่าแลมเบิร์ตเพื่อความง่าย วันหนึ่งสิงห์โตตัวเมียผ่านมาเห็นสิงห์โตมังสวิรัติหนุ่มรูปหล่อก็อยากมาแต๊ะอั๋งจึงออกจากป่ามาหา พวกฝูงแกะเห็นสิงห์โตก็กลัวพากันวิ่งหนีแตกกระเจิง แลมเบิร์ตซึ่งเป็นแกะก็กลัวและวิ่งหนีหัวซุกหัวซุนด้วย สิงห์โตสาวก็วิ่งตามแลมเบิร์ตไปจนแลมเบิร์ตไปจนตรอกที่ริมสระมรกตซึ่งเป็นสระหินตลิ่งสูงมีน้ำใส แลมเบิร์ตว่ายน้ำไม่เป็นและกลัวความสูงอีกต่างหากจึงไปต่อไม่ได้ ได้แต่หันหน้ามาอ้อนวอนสิงห์โตสาวด้วยความสั่นกลัว เพราะแกะสนองตอบต่อสิ่งที่ตัวเองหนีไม่พ้นด้วยวิธีเดียว คือ..กลัว

     "อย่ากินผมเลย ผมกลัวแล้ว" สิงห์โตสาวอมยิ้มแล้วว่า

     "ฉันจะไปกินคุณได้อย่างไร" แลมเบิร์ตอ้าปากงง

     "อ้าว ก็สิงห์โตต้องกินแกะไม่ใช่หรือ" สิงห์โตสาวตอบว่า

     "ใช่ แต่คุณไม่ได้เป็นแกะ คุณเป็นสิงห์โต" คราวนี้แลมเบิร์ตแผดเสียงลั่น

     "บ้า...อย่ามาหลอกผมเลย จะกินก็กินๆซะ ทำไม่ต้องหลอกกันให้ตายใจก่อนด้วย"

     เล่ามาถึงตรงนี้ผมขอสรุปประเด็นก่อนนะว่า identity เป็นความสำคัญมั่นหมายที่แน่นหนา การจะมาบอกให้ใครก็ตามเลิกสำคัญมั่นหมายใน identity ของตัวเองด้วยคำพูดนั้น มันเป็นไปไม่ได้ นี่เป็นประเด็นที่ 1. 

     สิงห์โตสาวจึงพิสูจน์ให้แลมเบิร์ตเห็น ด้วยการพาเขาไปชะโงกที่ชะง่อนหินที่ยื่นเข้าไปในสระมรกต ว่า

     "ดูซะ เงาของเจ้าที่ข้างล่างนั่น เป็นเงาของสิงห์โต หรือเงาของแกะ"

     แลมเบิร์ต เพ่งพินิจดูก็เห็นจริงตามหลักฐานเชิงประจักษ์ว่าตัวเองเป็นสิงห์โต พอหันกลับมาจะขอบคุณผู้ชี้แนะก็พบว่าเธอไปเสียแล้ว เข้าใจว่าคงจะไม่ปิ๊งเมื่อเห็นว่าแลมเบิร์ตซื่อบื้อมากกว่าที่เธอคิด แลมเบิร์ตจึงเกิด identity ใหม่เป็นสิงห์โต ตัดสินใจไม่ไปตามหาฝูงแกะแล้ว เลิกกลัวนั่นกลัวนี่เพราะตัวเองเป็นสิงห์โตแล้วไม่ต้องกลัวอะไร ไปนอนตัวเดียวอยู่ที่ปากถ้ำสบายใจเฉิบ

     พอรุ่งเช้า ตื่นขึ้น แลมเบิร์ตได้ยินเสียงแอ้ แอ้ ลืมตาก็เห็นฝูงแกะของตัวเองเล็มหญ้ากันอยู่ข้างล่าง แลมเบิร์ตก็ผลุนผลันวิ่งลงไปทักทายเพื่อนๆ แอ้ แอ้ และเล่นหัวชนกันและเล็มหญ้ากับพวกเขาอย่างเคยต่อไปวันแล้ววันเล่า

     เล่ามาถึงตอนนี้ผมขอแวะสรุปประเด็นหน่อย ว่าการจะให้ใครเปลี่ยน identity ด้วยการแสดงให้เห็นหลักฐานเชิงประจักษ์หรือตรรกะของเหตุและผลที่ถูกต้องไม่มีที่ตินั้น มันเวิร์คเพียงแป๊บเดียว เพราะกลไกการย้ำคิดย้ำทำหรือ compulsiveness ที่บอกเขาว่าเขาเป็น identity เก่านั้นมันฝังลึกและวนกลับมาตอกย้ำเขาอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันจนเขาไม่มีโอกาสแม้แต่จะคิดทบทวนว่าเขาไม่ใช่ identity นี้ นี่เป็นประเด็นที่ 2. 

     แลมเบิร์ตเล็มหญ้าอย่างมีความสุข วันหนึ่งก็คิดขึ้นได้ว่าเอ๊ะ เราเป็นสิงห์โตนะ ไม่ใช่แกะ คิดได้ก็ปลีกตัวหนีไปนอนปากถ้ำ ตื่นเช้ามาได้ยินเสียงเพื่อนๆก็เผลอลงมาเป็นแกะเล่นกับเพื่อนๆอีก แล้วก็เอ๊ะอีก ต้องวิ่งขึ้นวิ่งลงเดี๋ยวเป็นสิงห์โตเดี๋ยวเป็นแกะ ขณะที่สงสัยอยู่นั้นก็ตัดสินใจไปชะโงกดูเงาตัวเองที่สระมรกต ก็เห็นเงาของสิงห์โต แต่ความคิดก็โต้แย้งว่าเฮ้ย นั่นไม่ใช่เอ็ง เอ็งโดนเงามันหลอก เอ็งเป็นแกะจำไม่ได้หรือ เมื่อกี้ยังเล่นกับเพื่อนๆอยู่เลย สรุปว่าแลมเบิร์ตไม่รู้ตัวเองเป็นอะไรกันแน่ และเป็นทุกข์เพราะตกอยู่ในความลังเลสงสัย (doubt)

     เล่ามาถึงตรงนี้ผมขอสรุปประเด็นอีกหน่อยว่าความพยายามที่จะเปลี่ยน identity ของตัวเองด้วยความคิดหรือในบรรยากาศที่มีความคิดนั้น ผลที่ได้ไม่ใช่ว่าจะได้ identity ใหม่นะ แต่จะได้ความลังเลสงสัยซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งทุกข์บ่อที่สองขึ้นมาบวกกับความทุกข์จากบ่อที่หนึ่งคือความยึดติดในองค์เดิม นั่นเป็นประเด็นที่ 3. 

     แลมเบิร์ตหมดอาลัยในชีวิตเพราะไม่รู้ว่าตัวเองเป็นใคร กลุ้มใจไม่กินอะไรจนผ่ายผอม หมดแรงคิดอะไร ได้แต่นั่งนิ่งๆอยู่ในถ้ำ แหะ แหะ แลมเบิร์ตกำลังนั่งสมาธิ ยามที่ความคิดหมดเกลี้ยงเหลืออยู่แต่ความรู้ตัว แลมเบิร์ตกระย่อยกระแย่งไปสระมรกต ชะโงกดูเงาของตัวเอง ยามนี้ไม่มีความคิดมาต่อแยหรือปลุกปั่น แลมเบิร์ตเพ่งพินิจพิจารณาให้เห็นตามที่มันเป็นอยู่ตรงหน้า จึงได้รู้ว่าแท้จริงแล้วตัวเองเป็นสิงห์โต

     เล่ามาถึงตรงนี้ผมขอสรุปประเด็นอีกนะ ว่าการจะเพ่งพินิจพิจารณาหรือที่ภาษาอังกฤษว่า contemplation (คำนี้คนชอบภาษาบาลีบ้างก็ใช้คำว่าวิปัสนา) ว่าอะไรเป็น identity ที่แท้จริงของเรานั้น มันไม่เวอร์คดอกถ้ามีความคิด ดังนั้นหากในหัวยังมีความคิดอย่าไปนั่งวิปัสนาให้ยาก แต่มันจะเวิร์คหรือจะเห็นตามที่มันเป็นเมื่อไม่มีความคิด หรือเมื่อใจอยู่ในภาวะสมาธิ (meditative) เสียก่อน นี่เป็นประเด็นที่ 4. 

     แลมเบิร์ตสบายใจกลับมานอนในถ้ำ พอรุ่งเช้าได้ยินเสียงแอ้ แอ้ ของเพื่อนๆอีก แลมเบิร์ตก็ขยับจะลงไปเล็มหญ้ากับเพื่อนๆอีกแต่ก็มีลูกขัดขึ้นมาในใจว่าเอ๊ะ ไม่ใช่นะ ฉันเป็นสิงห์โต ไม่ใช่แกะ แล้วก็รีบจ้ำอ้าวไปที่สระมรกตเพื่อชะโงกดูเงาของตัวเองซ้ำอีก ทุกเช้าแลมเบิร์ตจะต่อสู้กับความรู้สึกเร่งเร้าภายใน (compulsiveness) ที่จะไปเป็นแกะเล็มหญ้ากับเพื่อนๆ ด้วยการไปชะโงกดูเงาตัวเองในสระมรกตแทน ทำเช่นนี้อยู่หลายเดือน จนแรงเร่งเร้าที่จะกลับไปเป็นแกะนั้นอ่อนกำลังลง และสำนึกว่าตัวเองเป็นสิงห์โตนั้นเพิ่มกำลังขึ้น จนในที่สุดแลมเบิร์ตก็กลายเป็นสิงห์โตที่สมบูรณ์แบบ

     เล่ามาถึงตรงนี้ผมขอสรุปเป็นประเด็นสุดท้ายว่าในการจะหลุดพ้นจากกรงของสำนึกว่าเป็นบุคคลนั้นไม่ใช่ว่ารู้ มั่นใจ เข้าใจอย่างถึงกึ๋นแล้วมันจะ พลั้วะ หลุดพ้นทันทีในเกียร์เดียว ไม่ใช่อย่างนั้น มันยังต้องมีการ contemplate หรือพิจารณาให้ "เห็นตามที่มันเป็น" อยู่เนืองๆซ้ำๆซากๆจนความคิดความจำที่ผูกเป็นกลไกย้ำคิดย้ำทำเดิมๆนั้นหมดกำลังลง มันจึงจะหลุดพ้นได้จริง นี่เป็นประเด็นที่ 5.

     เอวัง นิทานเรื่องแลมเบิร์ต The Sheepish Lion ฉบับวอลท์ดิสนีย์บวกโยคีอินเดียก็จบลงด้วยประการฉะนี้ นิทานเรื่องนี่สอนให้รู้ว่า ที่สาธุชนทั้งหลายคิดจะทิ้ง identity ว่าร่างกายนี้และความคิดนี้ไม่ใช่เรา ไปหา identity ใหม่ว่าเราคือความรู้ตัวอันเป็นสภาวะที่สงบเย็นและเบิกบานนั้น ขอให้ศึกษาเส้นทางเดินเอาจากแลมเบิร์ตผู้เป็นเสมือนศิษย์ผู้พี่ให้ดีก่อนเทอญ

นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์

[อ่านต่อ...]