วันนี้ไม่ตอบคำถามนะครับ จะเล่าเรื่องที่ผมไปขับรถเที่ยวซะหลายวัน
ก่อนจะเริ่มเรื่องขอประกาศให้แฟนบล็อกหมอสันต์ที่โอนเงินค่าหนังสือมาให้ก่อนวันที่ 18 พย. 59 จนป่านนี้แล้วยังไม่ได้รับหนังสือแสดงว่าท่านแห้วแล้วแน่นอน กรุณาแจ้งที่อยู่มาอีกครั้ง ฝ่ายจัดส่งซึ่งเผอิญสูงอายุพอควรเพิ่งพบว่าส่งไปส่งมามีเงินเข้ามามากกว่าหนังสือที่ส่งออกไป เพราะบางท่านประสงค์จะออกเงินแต่ไม่ประสงค์บอก address จึงหมดปัญญาไม่รู้จะส่งหนังสือไปให้ใครที่ไหน
มาคุยกันต่อเรื่องขับรถเที่ยวดีกว่า
21 พย. 59
เรามากันสามคนพ่อแม่ลูก ออกจากบ้านที่มวกเหล็ก วางแผนว่าจะไปแวะทานอาหารกลางวันกับเพื่อนซึ่งเป็นหมอรุ่นเดอะงอกรากอยู่ที่เพชรบูรณ์มาหลายสิบปีแล้ว อยู่หล่มอะไรสักอย่าง ไม่หล่มเก่าก็หล่มสักเนี่ยแหละ จิ้มจีพีเอส.แล้วก็ขับตามมันไป พูดถึงเจ้าจีพีเอส.นี้ก็ใช่ว่าจะเชื่อถือได้ 100% นะครับ บางครั้งมันก็ดูเหมือนตั้งใจจะให้เราขับลงไปตามคันนาเสียให้ได้ แต่ว่าหากรู้จักใช้มันแบบฟังหูไว้หูแล้วละก็มันเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์สำหรับคนแก่มาก เมื่อจิ้มปลายทางว่าเพชรบูรณ์ จีพีเอส.ก็พาเราขับขึ้นตะวันออกไปทางน้ำตกเจ็ดสาวน้อย แล้วพาเราวิ่งไปตามถนนเล็กๆเลียบฝั่งใต้ของแม่น้ำป่าสักไปโดยไม่มีทีท่าว่าจะให้เราข้ามแม่น้ำไปหาลพบุรีสักที จนมาถึงตำบลเล็กๆชื่อ “โป่งมะนาว” ผมบอกลูกชายว่า
“เอ..แถวนี้มันดูเหมือนมันจะเคยมีการขุดค้นถ้วยชามรามไหอะไรสักอย่างนะ”
แล้วก็จริงดังว่า มีป้ายเล็กๆชี้ให้ไปดูแหล่งโบราณคดี ผมขับตามป้ายไป แล้วไปจบที่กุฏิพระ มีป้ายพิพิธภัณฑ์อยู่หน้ากุฏิอันเงียบเชียบ หมาใต้กุฏิเห็นเราก็พากันเห่าขรม เด็กวัดคนหนึ่งนอนหลับอุตุอยู่บนกุฏิ ผมร้องเรียกก็ไม่ตื่น แต่แล้วก็โชคดีมีเด็กผู้หญิงคนหนึ่งเข้ามาทัก เมื่อรับรู้ว่าเราจะมาดูของโบราณก็ใจดีพาเราเดินไปหาสิ่งที่มีผู้ตั้งใจจะว่าจะให้เป็นพิพิธภัณฑ์แต่ว่าขณะนี้อยู่ในพงหญ้าเพราะสร้างแล้วงบไม่พอที่จะดำเนินการต่อ เลยไม่ได้เปิด ถ้าไม่นับพงหญ้าแล้วอาคารนี้พอนับว่าเป็นพิพิธภัณฑ์จริงๆได้ทีเดียว เธอพาเราเข้าชมของที่ตั้งแสดงไว้ในอาคารซึ่งอยู่ในความดูแลของชุมชน และเล่าให้ฟังว่าแต่เดิมพวกของโบราณเหล่านี้เก็บไว้ในวัดแล้วถูกโขมยมางัดแงะไปบ้าง พวกเราตระเวนดูของที่เก็บไว้เป็นของที่ผลิตขึ้นในยุคก่อนประวัติศาสตร์ใกล้เคียงกับยุคบ้านเชียง แต่ลักษณะเครื่องปั้นดินเผามีเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากหม้อบ้านเชียง รูปลักษณ์ออกไปทางเครื่องปั้นดินเผาก่อนประวัติศาสตร์ที่ปิกาสโซใช้เป็นแม่แบบในการเขียนและปั้นงานศิลป์แบบโมเดิร์นอาร์ท เท่ไปอีกแบบ ผมบอกเด็กสาวคนนั้นว่าทำไมเธอไม่หัดปั้นดินเผารูปทรงแบบนี้บ้าง แล้วเอาออกขายภายใต้แบรนด์ “หม้อโป่งมะนาว” เหมือนที่ชาวบ้านเชียงเขาปั้นหม้อบ้านเชียงขายกันได้เงินเอิกเกริก เธอได้แต่ยิ้มและพูดอะไรอยู่ในใจ ซึ่งผมจับความได้ประมาณว่า
“เพ้อเจ้อแล้ว..ลุ้ง”
ออกจากโป่งมะนาวเราขับผ่านถนนผิวโลกพระจันทร์เสียงดังกึงๆๆๆ เพื่อนที่รอจะกินข้าวกลางวันโทรศัพท์มาถามว่าถึงไหนแล้ว ผมบอกว่า
“เพิ่งออกจากโป่งมะนาว กำลังเข้าโป่งมะกรูด”
ในที่สุดจีพีเอส.ก็พาเราข้ามแม่น้ำป่าสักมาเข้าเขตลพบุรีเอาที่เมืองลำนารายณ์ ความตั้งใจเดิมที่จะแวะดูสถานที่ที่ไม่เคยเห็นแห่งหนึ่งชื่อน้ำตกเสาหินอัคนี ที่ชนบทของเมืองวิเชียรบุรี เป็นอันต้องล้มเลิกไปเพราะเกรงใจเพื่อนผู้รอเป็นเจ้าภาพ จึงขับมุ่งตรงไปยังเมืองหล่มอะไรสักอย่าง สอบถามและทวนคำสั่งได้แน่ชัดว่าเป็นหล่มสัก ไม่ใช่หล่มเก่า ไปถึงเอาบ่ายโมง เจ้าภาพพาไปกินขนมจีนเจ๊ดังระดับโลก ขอโทษ เจ๊อะไรก็ลืมไปเสียแล้ว
คุยกันถึงความหลังจนอิ่มอร่อยแล้วก็เร่งรุดเดินทางต่อไปยังอุทยานแห่งชาติน้ำหนาวเพื่อให้ทันก่อนอุทยานปิดตอนสี่โมงเย็น แวะซื้อข้าวหลามที่ด่านอุทยานตามที่ภรรยาของเพื่อนได้แนะนำไว้ แวะดูตะวันตกดิน แล้วเข้าบ้านพักในอุทยาน ซึ่งเงียบเชียบแทบไร้ผู้คน อากาศเย็นสบาย ต้นซากุระเมืองไทยหรือนางพญาเสือโคร่งที่หน้าบ้านพักออกดอกกระหรอมกระแหร็ม ผมถ่ายรูปมาให้ดูด้วย
ถึงเวลาอาบน้ำเครื่องทำน้ำร้อนด้วยแก้สเกิดมีปัญหา ห้องหนึ่งเปิดแล้วไม่ร้อนดื้อๆ อีกห้องหนึ่งผมลองเปิดแล้วร้อน แต่ต่อมาก็มีเสียงดัง “บึม..ม” แล้วทุกอย่างก็หยุดลง เล่นเอาภรรยาของผมประกาศยอมอาบ “น้ำหนาว” โดยไม่ยอมยุ่งกับเครื่องทำน้ำร้อนเด็ดขาด แต่ผมกับลูกชายยังไม่ลดละ ผมอ่านดูป้าย instruction ที่ติดผนังไว้ว่าเมื่อเครื่องทำน้ำร้อนเสียต้องทำอย่างไร ป้ายนั้นบอกว่าให้โทรศัพท์ตามผู้รับผิดชอบต่อไปนี้ไปตามลำดับชั้น โดยมีรายชื่อเรียงกันไว้ถึงสี่ชั้น ผมบอกลูกชายว่า
“โอ้โฮ นี่แสดงว่าปัญหาเครื่องทำน้ำร้อนเนี่ยเป็นเรื่องใหญ่ต้องตามกันตั้งแต่แพทย์ฝึกหัด เรสิเด้นท์ (แพทย์ประจำบ้าน) แพทย์เฟลโลว์ จนถึงแพทย์สต๊าฟเลยนะเนี่ย”
เมื่อตามปุ๊บ อินเทอร์นก็มาปั๊บ เขามาลูบๆคลำเครื่อง แล้วออกไปเปิดวาลว์แก้สที่ข้างนอก เมื่อไม่ได้ผลก็ยกหูตามเรสิเด้นท์ พูดอะไรกันสองสามคำ แล้วเรสิเด้นท์ก็มา พร้อมกับล้วงถ่านไฟฉายออกมาจากกระเป๋ามาเปลี่ยนเอาถ่านเก่าที่ทำหน้าที่จุดประกายไฟออก แล้วเครื่องห้องแรกก็ทำงาน พอไปถึงเครื่องห้องที่สองที่ระเบิดดังบึม เขายกหูตามเฟลโลว์ แป๊บเดียวเฟลโลว์ก็โผล่มา มาแก้ปัญหาด้วยการเอากระดาษทิชชูจุดไฟแล้วแหย่เข้าไปในเครื่องต้มน้ำ เข้าใจว่าคงต้องการจะเผาแก้สที่ตกค้างให้หมดก่อน จากนั้นจึงเปิดใช้เครื่องใหม่ ก็ปรากฏว่าใช้ได้ สรุปว่างานสำเร็จลงได้โดยไม่ต้องถึงกับตามสต๊าฟใหญ่มา
คราวนี้ก็ถึงเวลาอาบน้ำอุ่น ผมอาบเพราะขยาดกิตติศัพท์ของ “น้ำหนาว” มากกว่ากลัวเครื่องทำน้ำอุ่น แต่ก็เปิดประตูห้องน้ำทิ้งไว้ขณะอาบ เพราะเพื่อนของผมเป็นหมออยู่ที่อเมริกาเคยเล่าให้ฟังว่าเพื่อนของเขายังหนุ่มอายุสี่สิบกว่าแท้ๆไปเสียชีวิตในห้องน้ำที่โรงแรมจิ้งหรีดในชนบท ตอนแรกนึกว่าหัวใจวาย แต่ต่อมาไม่กี่วันก็มีอีกรายหนึ่งอาบน้ำห้องเดียวกันแล้วเป็นลมคอพับแต่โชคดีไม่ถึงกับตาย ความจึงแดงขึ้นมาว่าเป็นเพราะแก้สคาร์บอนมอนนอกไซด์ที่เกิดจากการเผาไหม้แก้สไม่หมดสะสมอยู่ในห้องน้ำที่ปิดทึบ พอหายใจเข้าไปมากๆก็ทำเอาตายได้แบบทันทีแน่นอนเสียด้วย
ผมอาบน้ำเสร็จโดยสวัสดิภาพ ถามลูกชายซึ่งอาบห้องที่แก้สระเบิดดังบึมก่อนหน้านี้ว่ายูอาบน้ำอย่างไร ลูกชายตอบว่าเขาเปิดแก้สแล้วรีบวิ่งออกมาดูเชิงนอกห้องน้ำก่อน เมื่อเห็นระบบทำงานดีโดยไม่มีเสียงระเบิดก็จึงเข้าไปอาบได้โดยสวัสดิภาพเช่นกัน
22 พย. 59
หลับสบายบนอุทยานน้ำหนาวหนึ่งคืน ก่อนจากเราแวะชมสวนสนภูกุ่มข้าว คราวนี้ผมเปลี่ยนให้ลูกชายขับ ต้องขับรถไปถามถนนลูกรังประมาณ 14 กม. สองข้างทางเป็นป่าสนสามใบ บางช่วงก็ต้องขับรถลุยข้ามคลองน้ำแบบไม่มีสะพาน มุ่งหน้าขึ้นภูกุ่มข้าวด้วยตั้งใจว่าจะได้มองจากยอดเนินเห็นทิวยอดสนสามใบลานตา พอไปใกล้ถึง แวะถามคนงานอุทยานที่ตัดหญ้าสองข้างทาง เขาให้ความกระจ่างด้วยภาษากลางสำเนียงชัดเจนว่า
“สวนสนภูกุ่มข้าวนะหรือ..มันเป็นเพียงอดีต เดี๋ยวนี้มันไม่มีแล้ว ฟ้าผ่าบ้าง ไฟป่าบ้าง เผาต้นสนหมดไป ต้นไม้อื่นขึ้นมาแทน”
แป่ว..ว
แต่ไหนๆก็ไหนๆแล้ว เราขับต่อไปเพื่อให้เห็นว่าอดีตสวนสนภูกุ่มข้าวนั้นเป็นอย่างไร ขับปุเรงๆไปอีกสี่กม.ก็ได้เห็นอดีตนั้นสมใจ หิ หิ ไม่มีอะไรเลยจริงๆ นอกจากเนินที่ต้องเดินขึ้นจนเมื่อยขา
เราบอกลาน้ำหนาว เป้าหมายวันนี้คือต้องไปนอนที่เชียงคาน เราขับย้อนกลับมาทางหล่มสัก เพราะผมอยากจะไปดูผีตาโขนที่ด่านซ้าย เนื่องจากยังไม่เคยเห็นด่านซ้ายมาก่อนเลยในชีวิต พอจะเข้าเขตเมืองด่านซ้ายก็เห็นผีตาโขนขนาดยักษ์อยู่ข้างทาง
เราแวะชมพระธาตุศรีสองรัก ฟังว่าเป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นในยุคที่เจ้าอยุธยาส่งลูกสาวไปแต่งงานกับเจ้าลาว
แล้วถูกมือดีแฮ็บตัวไปให้ทางหงสาวดีเสียฉิบ ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรไม่รู้ แต่สิ่งที่ผมไปเห็นเป็นเจดีย์ขนาดเล็กที่คลาสสิก ดั้งเดิม เอียงกะเท่เร่น่ารัก ไม่มีร่องรอยของการยัดเยียดอะไรสมัยใหม่เข้าไป แล้วก็ไปดูบรรดาหน้ากากผีตาโขนที่ตั้งแสดงอยู่ในมิวเซียมซึ่งอยู่ในวัด
จากนั้นก็เดินทางต่อไป แวะดูวัดป่าห้วยลาด ซึ่งชื่อว่าวัดป่าแต่ตัววิหารนั้นมหึมามาก วิหารแม้จะใหญ่แต่ไม่น่าสนใจเท่าพระพุทธรูปแกะสลักจากหินแคลไซท์ทั้งองค์ขนาดใหญ่กว่าไดบุตซุที่ญี่ปุ่นโดยที่ความคลาสสิกและฝีมือไม่หนีกัน เวลาถ่ายรูปหมอสมวงศ์ซึ่งแต่งชุดดำนั่งพับเพียบอยู่หน้าองค์พระ ดูเธอเหลือตัวเล็กเท่านิ้วก้อยได้
เดินหน้ากันต่อไป คราวนี้เราขับขึ้นไปทางอำเภอท่าลี่ เพื่อผ่านชนบทที่ไม่เคยเห็นแล้วไปชนชายแดนลาวแล้วขับเลียบลำน้ำโขงไปหาเชียงคาน ไปพักนอนอยู่ในโรงแรมจิ้งหรีดที่มีสภาพเป็นห้องแถวหันหลังชนแม่น้ำโขง ตกเย็นก็ออกเดินเลียบแม่น้ำโขงชมตะวันตกดินหลังที่พัก กลางคืนก็เดินถนนคนเดินหน้าห้องแถว บ้านเรือนที่นี่เป็นห้องแถวไม้ที่สงวนไว้ได้ดีเยี่ยม ดูเหมือนว่าทุกห้องแถวชั้นล่างจะเป็นอะไรก็ตาม ชั้นบนต้องเป็นโรงเตี๊ยมหรือเกสต์เฮ้าส์ ถนนคนเดินมีบรรยากาศดี แต่คนเดินไม่มากเหมือนที่ปาย ดูหน้าตาคนเดินแล้วเป็นคนไทยแทบทั้งหมด
23 พย. 59
ตกใกล้รุ่งได้ยินเสียงวัดที่ฝั่งลาวย่ำระฆังดังหง่างเหง่ง เราจึงตื่นเช้าและตักบาตรพระที่พากันเดินแถวมาหน้าห้องแถวนั่นแหละ แล้วก็ขับรถไปดูภูทอก ซึ่งเป็นที่คนพากันไปดูหมอกก่อตัวขึ้นเหนือโค้งแม่น้ำโขงในตอนเช้าซึ่งเป็นภาพที่สวยเชียว สวยไม่แพ้ทะเลหมอกที่ใหนๆ หรืออาจจะสวยกว่าเพราะมีโค้งแม่น้ำโขงประดับเป็นโลว์กราวด์ในยามที่หมอกจางลง
ออกจากเชียงคานเราขับลงใต้ กะว่าจะแวะดูสถานที่เรียกกันว่า “เสด็จพ่อร.5 วิมานหมอก” ซึ่งฟังว่าเป็นสถานที่ร.5 เคยเสด็จมาทอดพระเนตรหมอกที่นั่น เมื่อจีพีเอส.พาไปถึงแล้ววนเวียนหาทางเข้าไม่เจอ ถามชาวบ้านก็บอกว่าอยู่แถวนั้นแหละ ถามแม่ค้าคนหนึ่งว่าสวยไหม เธอตอบเป็นภาษากลางว่า
“เอ้อ..จะพูดไงดีละ มันเคยสวย”
ทำให้เราล้มเลิกความตั้งใจที่จะค้นหา จึงมุ่งหน้าต่อไป เพื่อไปยังอำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น อันเป็นเป้าหมายที่จะไปค้างคืน ที่นั่นเป็นไร่ส่วนตัวของคนระดับไฮโปรไฟล์คู่หนึ่ง ฝ่ายสุภาพสตรีนั้นเป็นแพทย์ผู้ใหญ่ เป็นมิตรต่างวัยของหมอสมวงศ์ เธอเกษียณจากตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันเด็กแห่งชาติ หรือที่รู้จักดีในภาษาบ้านๆว่า รพ.เด็ก ส่วนฝ่ายสุภาพบุรุษนั้นเป็นนายทหารใหญ่ยศพลเอก จบปริญญาเอกที่อเมริกา สอนอยู่โรงเรียนนายร้อยแล้วก็ออกจากราชการประจำมาเป็นกกต.ในยุคที่การเมืองยุ่งตุงนัง ชื่อ พลเอก จารุภัทร เรืองสุวรรณ เขียนมาถึงตรงนี้ผมอยากจะเล่าเรื่องราวของท่านให้ผู้อ่านได้เรียนรู้วิธี “พลิกผันโรคด้วยตนเอง” ท่านอนุญาตให้ผมเปิดเผยชื่อท่านได้ซึ่งผมต้องขอบพระคุณไว้ ณ ที่นี้ด้วย
เรื่องราวของท่านนายพลเริ่มต้นเมื่อหลังจากกินยารักษาไขมันในเลือดสูงและความดันเลือดสูงมาได้ระยะหนึ่งแล้ว แพทย์ตรวจพบว่าท่านเป็นโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 และผลการตรวจสมรรถนะหัวใจ (EST) ได้ผลบวก และแพทย์แนะนำให้ท่านเข้ารับการตรวจสวนหัวใจโดยมีเป้าหมายปลายทางอยู่ที่การทำบอลลูนใส่ขดลวดเพื่อแก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ ณ จุดนี้ท่านนายพลและอาจารย์หมอผู้เป็นภรรยาได้แวะมาหารือผมที่บ้านมวกเหล็ก ซึ่งเราได้คุยกันถึงข้อมูลและทางเลือกที่มีอยู่สองทาง คือรักษาแบบรุกล้ำ อันหมายถึงการเดินหน้าสวนหัวใจ ใช้บอลลูน หรือผ่าตัดสุดแล้วแต่ผลการตรวจจะพาไปโดยยอมรับความเสี่ยงที่ไตจะทรุดลงไปกว่าเดิม หรือไม่ก็รักษาแบบไม่รุกล้ำ อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตตนเองไปอย่างสิ้นเชิง ในประเด็นการเปลี่ยนอาหารมากินพืชเป็นหลักแบบไขมันต่ำ ไม่กินอาหารที่สกัดเอามาแต่แคลอรี่อย่างน้ำตาลหรือน้ำมันผัดทอดอาหาร ควบกับการออกกำลังกาย และการจัดการความเครียด
ท่านนายพลบอกว่าเมื่อมีทางเลือกอย่างนี้ ผมตัดสินใจเลย คือเลือกที่จะดูแลตัวเอง หลังจากนั้นท่านก็ส่งข่าวเป็นระยะๆ เริ่มจากการลดน้ำหนักลงได้ถึง 13 กก. ค่อยๆลดยาความดันลงจนเลิกได้หมดโดยที่ความดันเลือดยังปกติ ผลการตรวจการทำงานของไตกลับมาเป็นปกติแล้ว แต่เมื่อหยุดยาลดไขมันก็พบว่าระดับไขมันในเลือดซึ่งคุมได้อยู่ดีๆกลับกระโดดขึ้นไป ผมอธิบายให้ฟังว่ายาลดไขมันลดไขมันของเราลงได้ถึงประมาณ 50% เมื่อเราหยุดยา เป็นธรรมดาที่ไขมันในเลือดจะเด้งขึ้นไป หากมันขึ้นไปไม่ถึง 50% หรือไม่ถึงระดับเดิมก่อนที่เราจะกินยา ก็ถือว่าระดับไขมันในเลือดของเราดีขึ้นจากอาหาร และแนะนำให้ท่านเดินหน้าปรับลดไขมันในอาหารต่อไปไม่ท้อถอยโดยลดปริมาณอาหารเนื้อสัตว์ลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อแดงอย่างเนื้อหมูเนื้อวัว ซึ่งเมื่อท่านลดอาหารเนื้อสัตว์ลงจนแทบจะเหลือแต่ปลาก็ได้ผลดียิ่ง จนทุกวันนี้ไขมันในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ และหยุดยาทุกตัวไปแล้วอย่างสิ้นเชิงไม่ว่าจะเป็นยาความดันหรือยาลดไขมัน ผลพลอยได้อีกอย่างหนึ่งก็คืออาจารย์หมอภรรยาของท่านที่ทานอาหารเหมือนกันก็พลอยเลิกยาเบาหวานและยาลดความดันที่ต้องกินอยู่ประจำมาหลายปีได้ด้วย
ความสำเร็จของการพลิกผันโรคด้วยตัวเองของท่านนายพลท่านบอกว่ามาจากปัจจัยสำคัญยิ่งตัวเดียว คือ “วินัยตนเอง” ความที่มาจากครอบครัวที่มีระเบียบวินัย พอเป็นหนุ่มก็มาเป็นทหาร และตอนไปเรียนปริญญาโทปริญญาเอกก็ต้องใช้ชีวิตด้วยตัวเองอยู่เมืองนอกรู้เห็นวิธีคิดวิธีทำงานของฝรั่งอยู่ถึง 5 ปี จึงซึมซับความมีวินัยและการรู้จักบริหารจัดการตนเองไว้ในสายเลือด เมื่อศึกษาจนรู้ว่าอะไรควรทำแล้วก็จะลงมือทำด้วยตนเองทันทีโดยไม่อิดออดอ้างโน่นอ้างนี่ และท่านก็ใช้วิธีการเดียวกันนี้ช่วยแนะนำเพื่อนฝูงและญาติใกล้ชิด มีอยู่ครั้งหนึ่งญาติส่งหลานชายที่อ้วนและป่วยโดยไม่ยอมดูแลตัวเองมาให้ท่านคุยด้วย ท่านพูดกับหลานสั้นๆว่า
“เอ็งอยากตายหรือเปล่า
เอ็งจะให้แม่ซึ่งแก่แล้วมาเผาศพเอ็ง
หรือเอ็งอยากจะอยู่เป็นคนทำศพให้แม่
ถ้าเอ็งอยากตายก็ทำตัวแบบเดิมไป
แต่ถ้าเอ็งยังไม่อยากตาย
อยากจะอยู่เผาศพแม่ด้วยตัวเองก็เปลี่ยนตัวเองซะ”
ท่านเรียกวิธีการของท่านว่าเป็น “ยาแรง” ซึ่งบางครั้งก็ได้ผล บางครั้งก็ไม่ได้ผล ยกตัวอย่างเช่นหลานชายคนนี้เป็นกรณีที่ได้ผล ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมานี้เขาลดน้ำหนักตัวเองไปได้ 12 กก.และทำตัวให้แม่ที่แก่แล้วได้ชื่นใจเป็นอย่างมาก
การมาค้างคืนที่ไร่ของนายพลครั้งนี้ก็เพราะผมสัญญากับท่านไว้ เนื่องจากตอนนั้นผมเห็นว่าการควบคุมความดันเลือดของท่านมันขึ้นๆลงๆเพราะมีปัจจัยความเครียดเข้ามาเกี่ยวข้อง ประกอบกับท่านเล่าให้ผมฟังว่าท่านมีไร่อยู่ที่ขอนแก่น ผมจึงบอกท่านว่าเมื่อใดที่ท่านทิ้งกรุงเทพไปใช้ชีวิตอยู่ในไร่ที่ขอนแก่น ผมจะแวะไปเยี่ยมท่าน ตอนนี้ทั้งสองท่านได้ทิ้งกรุงเทพฯมาอยู่ถาวรที่ไร่อย่างแท้จริงแล้ว ผมจึงแวะมาเยี่ยมตามสัญญา
24 พย. 59
รุ่งเช้าท่านนายพลและอาจารย์หมอผู้หญิงพาพวกเราไปตระเวนชมที่ต่างๆในอำเภอเวียงเก่า ที่ประทับใจผมมากที่สุดคือการที่เราได้มีโอกาสเดินเท้าขึ้นเขาไปยังหลุมขุดค้นซากไดโนเสาร์หลุมที่ 9 ซึ่งยังคงรักษาสภาพกระดูกสันหลังและหางของไดโนเสาร์รุ่นปู่ของ T. Rex ที่ฝังอยู่ในหินกลางทางน้ำไหลไว้ได้อย่างสมบูรณ์ ผมถ่ายรูปมาให้ดูด้วย
จบทัวร์เวียงเก่าแล้ว เรากินอาหารสุขภาพมื้อเที่ยงส่งท้ายที่บ้านในไร่ มื้อนี้มีส้มตำข้าวเหนียว ท่านนายพลและอาจารย์หมอผู้หญิงเอาข้าวเหนียวที่สีแบบข้าวกล้องมาให้กินกับส้มตำ ทำให้ผมได้ความรู้ใหม่ว่าที่ใครต่อใครว่าข้าวเหนียวสีเป็นข้าวกล้องไม่ได้ ถึงสีได้ก็กินไม่ได้เพราะมันแข็งนั้นไม่เป็นความจริงเลย เพราะมันสีได้ และกินได้อร่อย ไม่แข็งด้วย มันขึ้นอยู่กับวิธีนึ่ง คือแช่น้ำนานหน่อย ใส่น้ำมากหน่อย มันก็จะนุ่มและอร่อยเอง
เราบอกลาเจ้าภาพใจดีเอาเมื่อใกล้ค่ำเพื่อเดินทางต่อไปยังร้อยเอ็ด ไปพักอยู่ที่กระท่อมปลายนาของเพื่อนอีกท่านหนึ่ง ซึ่งเกษียณอายุจากการเป็นนายแพทย์สสจ.และการเป็นสมาชิกวุฒิสภา มาใช้ชีวิตทำงานอดิเรกเช่น ทำนา ทำสวน เลี้ยงหมู เลี้ยงวัว เลี้ยงปลา ปลูกผัก ขณะเดียวกันก็ดูแลร้านอาหารของภรรยาไปด้วย
25 พย. 59
ตื่นเช้าจากกระท่อมปลายนา เราเก็บเสื้อผ้าใส่กระเป๋าเพื่อเดินทางต่อไปยังหมู่บ้านตากลาง ซึ่งเป็นหมู่บ้านเลี้ยงช้างที่ จ.สุรินทร์
ระหว่างทางได้มีโอกาสแวะกินไอติมเมลอนที่สวนเมล่อนใหม่ของเกษตรกรรุ่นใหม่หน้าตาสวยชื่อคุณกรรณิการ์ เธอเป็นเด็กรุ่นใหม่เรียนหนังสือสูงและใจถึง เอาที่ดินไปตึ๊งธกส.เพื่อทำสวนเมล่อนนี้ เธอคิดอ่านทำไอติมเมลอน เค้ก คุ้กกี้ ขนมปังเมลอน ซึ่งทุกรายการถือได้ว่าอร่อยหมด
แล้วขับต่อไป ยังวัดที่เล็กมากระดับมีพระเณรแค่สามองค์ ชื่อวัดราศีไสล (ประมาณนี้) แวะนมัสการ “หลวงพ่อปลูกผัก” หิ หิ ไม่ใช่ชื่ออย่างเป็นทางการของท่านนะครับ ผมตั้งให้เอง ท่านเป็นพระ
ภิกษุตัวเป็นๆเนี่ยแหละ แต่ว่าสอนชาวบ้านให้ปลูกผักโดยเทคโนแบบสูงแต่ง่าย ทั้งปลูกในน้ำและปลูกแบบอินทรีย์
เพาะเชื้อราไทโคโมนาส ในวัดมีงานวิจัยของท่านที่บ้างสำเร็จแล้ว บ้างเจ๊งไปเพราะพายุ เช่นโซลาเซลสูบน้ำเลี้ยงผักซึ่งกำลังเวอร์คดี กังหันลมซึ่งโดนพายุพัดใบหัก และที่เหน็ดขนาดคือระบบสูบน้ำที่ดึงน้ำขึ้นมาเองโดยอาศัยแรงตึงผิว (fluid pumping with surface tension) ผมเพิ่งเคยได้อ่านเกี่ยวกับเทคโนโลยีแบบนี้ในหนังสือ TIME ไปเมื่อไม่นานมานี้ ตอนนี้หลวงพ่อเอามาทดลองแล้วเรียบร้อย แต่ท่านบอกว่ากำลังลุ้นผลอยู่พายุก็มาลุยเสียก่อน นี่พายุไปแล้ว ท่านกำลังตั้งท่าจะลุ้นใหม่
ในวัดนี้ผมพบโดยบังเอิญว่าโบสถ์เล็กของวัดนี้ที่หลวงพ่อเรียกว่า “สิม” เป็นอาคารที่มีอายุเกิน 200 ปี และมีสถาปัตยกรรมที่คลาสสิกมาก สวยน่าประทับใจกว่าโบสถวิหารใดๆตั้งแต่เดินทางมาครั้งนี้ ผมถ่ายรูปมาให้ดูด้วย
แล้วก็ขับต่อไปยังเมืองสุวรรณภูมิเพื่อไปเยี่ยมเพื่อนนักเรียนแพทย์รุ่นเดียวกันอีกคนหนึ่งซึ่งเราเรียกกันสมัยเรียนหนังสือว่าคุณหมอเปี๊ยะ ท่านต้อนรับเราที่บ้านหลังใหม่ของท่านเอง เป็นเพื่อนคลาสเมทที่ไม่ได้พบกันมาเลยตั้งแต่ปี 2525 เขาเรียนหนังสือเก่ง และยืนหยัดเป็นแพทย์ชนบทมาได้หลายสิบปี เป็นผู้อำนวยการรพ.สุวรรณภูมิอยู่นาน เมื่อเขาเกษียณต้องย้ายออกจากบ้านหลวง เขาปลูกบ้านที่เขาออกแบบให้เหมือนกับบ้านพักแพทย์ในโรงพยาบาลราวกับแกะ ทั้งประตูเข้าออกทางไหน ห้องน้ำวางตรงไหน ห้องครัววางตรงไหน ทำเหมือนกันหมด เขาให้เหตุผลง่ายๆว่า
“ขี้เกียจปรับตัวกับบ้านใหม่”
เขายังเล่าด้วยความภูมิใจว่าแม้แต่หมาของเขาก็ไม่มีปัญหาเลยกับบ้านใหม่ พอวางมันลงมันก็วิ่งปร๋อได้อย่างคุ้นเคย เออหนอ บ้านใหม่ในอุดมคติของคนเรานี้ มันช่างต่างจิตต่างใจ และคนที่อยากได้บ้านใหม่ที่เหมือนบ้านเก่าเด๊ะก็มีแฮะ
ลาจากเพื่อนออกจากสุวรรณภูมิแล้ว เราขับไปยังหมู่บ้านท่ากลาง อำเภอดอนตูม จ.สุรินทร์ พอขับผ่านท้องนาที่ชายหมู่บ้านก็เห็นช้างเล็มหญ้าอยู่ตามท้องนาราวกับวัวควายแต่ว่าขนาดใหญ่กว่า เราขับตระเวนดูบ้านที่เลี้ยงช้างไว้ใต้ถุนบ้าง หลังบ้านบ้าง แวะเล่นกับลูกช้างซึ่งนอกจากจะนั่งสวัสดีได้ หอมแก้มลูกค้าได้แล้ว ยังใช้งวงรับแบงค์ที่คนบริจาคให้ได้ด้วย
จากหมู่บ้านช้างเรามุ่งหน้าเข้าเมืองบุรีรัมย์ มาถึงเมืองเอาตอนมืดแล้ว เมืองเงียบเชียบ ผมถามเด็กปั๊มน้ำมันว่าจะกินจะนอนที่ไหน เด็กแนะนำว่าให้ไปกินที่ไอโมบาย ส่วนที่นอนเธอบอกชื่อรีสอร์ทพร้อมกับบอกราคาให้เสร็จว่าคืนละ 450 บาท ผมถามว่าที่แพงกว่านี้หน่อยไม่มีหรือ เธอบอกอีกชื่อหนึ่งและบอกทางไป เราขับไปจนถึงก็พบว่ารีสอร์ทเต็ม ถามสนนราคาตกห้องละ 500 บาท ซึ่งก็ยังน่ากังวลอยู่ดีว่าเก็บราคานี้จะเอางบที่ไหนจ่ายค่าซักผ้าปูที่นอนปลอกหมอน หรือว่าใช้ระบบซักแห้ง เราตกลงกันว่าจะไปหาอะไรกินที่ไอโมบายก่อนแล้วค่อยหาที่พักกันต่อ เมื่อไปถึงก็พบว่าที่ทั้งเมืองบุรีรัมย์เงียบกริบนั้นเพราะคนทั้งเมืองมาอยู่ที่นี่กันหมดนั่นเอง สถานที่นี้เป็นทั้งปาร์ค เป็นทั้งสนามกีฬา และเป็นทั้งตลาดชนบทแบบฝรั่งที่เรียกว่าวิลเล็จมาร์เก็ต มีรถจอดอยู่ในที่จอดรถเกินร้อยคันขึ้นไป ผู้คนนั่งปิคนิกกินหมูย่างจิ้มแจ่วกันเต็มสนามหญ้าไปหมด ในส่วนที่เป็นวิลเล็จมาร์เก็ตนั้นก็มีคนหนุ่มสาวแต่งตัวทันสมัยไปเต๊ะท่าถ่ายรูปกันไม่ขาดแม้จะเป็นกลางคืน เรากินข้าวเย็นพลางค้นหาโรงแรมจากอินเตอร์เน็ทพลาง ก็ได้รีสอร์ทที่สนนราคาพอจะเชื่อถือได้แห่งหนึ่งชื่อธารารีสอร์ท ห้องละ 1,500 บาท จึงขับไปพักที่นั่น ซึ่งก็เป็นที่พักที่สะอาดและเงียบสงบน่าพักสมใจ
26 พย. 59
วันนี้เราออกจากโรงแรมแต่เช้าเพื่อไปดูปราสาทเมืองต่ำซึ่งพวกเรายังไม่เคยเห็น เป็นปราสาทที่มีสีส้มแกมเหลืองโรแมนติกสวยงามมีบึงดอกบัวขนาบข้าง หน้าตาปราสาทละม้ายคล้ายคลึงกับปราสาทบันทายศรีที่ประเทศเขมร แล้วขับต่อไปยังปราสาทพนมรุ้ง เราเคยมาที่นี่ครั้งหนึ่งเมื่อยี่สิบกว่าปีมาแล้วเพื่อพาเพื่อนหมอชาวญี่ปุ่นและชาวนิวซีแลนด์มาเที่ยว ตอนนั้นหมอพอเพิ่งอายุสี่ขวบ ยังจำความไม่ได้ ไปถึงก็พบว่าพนมรุ้งยังเหมือนเดิมทุกประการ ใหญ่กว่า สูงกว่า แต่ความโรแมนติกสู้ปราสาทเมืองต่ำไม่ได้
จากพนมรุ้งเราขับต่อไปอีกเขาหนึ่งชื่อเขาพระอังคารตามคำแนะนำของคุณหมอเปี๊ยะว่าบนเขานี้มีวัดทรงแขกอยู่วัดหนึ่ง เราขับผ่านชนบท ต้องคอยหลบแผงตากข้าวเปลือกที่ชาวนาเอาขึ้นมาตากบนถนน บางเจ้าตากเลนซ้าย บางเจ้าตากเลนขวา ต้องคอยขับรถซิกไปแซกมา ในที่สุดก็มาถึงบนยอดเขา มีพระนอนไซส์ยักษ์สีเหลืองจ๋อยนอนตะแคงรอเราอยู่ที่ลานจอดรถหนึ่งองค์ เมื่อเดินขึ้นไปยังตัววัดก็ต้องเซอร์ไพรส์ ผมคาดหมายว่าจะมาพบเทวาลัยหินเก่าๆหักๆสไตล์อินเดียอยู่บนยอดเขาแบบอันซีนไทยแลนด์ แต่ของจริงกลับกลายเป็นวัดใหม่สีเลือดหมูแจ๋ รั้วรอบวัดทำด้วยพระปูนหล่อนั่งห่มผ้าสีเหลืองเรียงแถวแทนกำแพง ไหนๆก็มาถึงแล้วก็ต้องถ่ายรูปมาให้ดู ความจริงของเก่าที่นี่ก็มีเหมือนกัน เป็นใบเสมาหินสมัยทวาราวดีซึ่งตั้งไว้ให้คนปิดทอง แต่พินิจให้ดีแล้วเศียรของเทวดาในใบเสมานั้นเป็นปูนหล่อใหม่แปะเข้าไป จึงทำให้ของเก่าเสียความขลังไปโข
บ่ายแล้ว เราขับตียาวลงจากเขาพระอังคารเข้านางรองมุ่งหน้าสีคิ้ว แต่พอถึงทางแยกที่จะเลี้ยวไปด่านเกวียนก็อดแวะไม่ได้จึงขับแวะเข้าไปเพื่อหาซื้อที่ให้นกกินน้ำปั้นด้วยดินเผาสักอันจะเอามาไว้ที่โกรฟเฮ้าส์ แต่ขับตระเวนร้านไหนๆก็ขายแต่ตุ๊กตาประดับสวนทาสีแจ๊ด..ด ไม่ถูกทศนิยมของคนแก่ จึงอำลาด่านเกวียนมาโดยไม่ได้อะไรติดมือมาเลย ผ่านมาจะออกถนนมิตรภาพก็เผอิญผ่านพิพิธภัณฑ์ต้นไม้กลายเป็นหิน จึงชวนกันแวะชม เห็นป้ายขนาดใหญ่เขียนไว้ว่าสร้างโดยกรมทรัพยากรณ์ธรณีมอบให้จังหวัด แล้วจังหวัดมอบต่อให้สถาบันราชภัฎเป็นผู้ดูแล หึ หึ ตีความเอาจากป้ายนี้คงหมายความว่าผู้สร้างหาง่าย แต่ผู้ดูแลหายาก เรามาถึงเมื่อหมดเวลาและปิดไฟไปแล้ว ผู้ดูแลใจดีให้เราเดินชมฟรีหากทนความมืดได้ อย่างน้อยเราก็ได้เห็นฟอสซิลของต้นไม้กลายเป็นหินที่หลากหลายน่าสนใจพอควร
ขึ้นถนนมิตรภาพได้ก็เป็นเวลาค่ำมืดแล้ว เราขับยาวกลับมานอนที่บ้านมวกเหล็ก เมื่อจอดรถที่บ้าน เปิดประตูรถออกมาก็พบว่า ฮ้า.. เดินทางไปหลายจังหวัดเที่ยวนี้ แต่ที่อากาศเย็นที่สุดกลับกลายเป็นที่อำเภอมวกเหล็กจังหวัดสระบุรีนี่เอง
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
[อ่านต่อ...]
ก่อนจะเริ่มเรื่องขอประกาศให้แฟนบล็อกหมอสันต์ที่โอนเงินค่าหนังสือมาให้ก่อนวันที่ 18 พย. 59 จนป่านนี้แล้วยังไม่ได้รับหนังสือแสดงว่าท่านแห้วแล้วแน่นอน กรุณาแจ้งที่อยู่มาอีกครั้ง ฝ่ายจัดส่งซึ่งเผอิญสูงอายุพอควรเพิ่งพบว่าส่งไปส่งมามีเงินเข้ามามากกว่าหนังสือที่ส่งออกไป เพราะบางท่านประสงค์จะออกเงินแต่ไม่ประสงค์บอก address จึงหมดปัญญาไม่รู้จะส่งหนังสือไปให้ใครที่ไหน
มาคุยกันต่อเรื่องขับรถเที่ยวดีกว่า
21 พย. 59
เรามากันสามคนพ่อแม่ลูก ออกจากบ้านที่มวกเหล็ก วางแผนว่าจะไปแวะทานอาหารกลางวันกับเพื่อนซึ่งเป็นหมอรุ่นเดอะงอกรากอยู่ที่เพชรบูรณ์มาหลายสิบปีแล้ว อยู่หล่มอะไรสักอย่าง ไม่หล่มเก่าก็หล่มสักเนี่ยแหละ จิ้มจีพีเอส.แล้วก็ขับตามมันไป พูดถึงเจ้าจีพีเอส.นี้ก็ใช่ว่าจะเชื่อถือได้ 100% นะครับ บางครั้งมันก็ดูเหมือนตั้งใจจะให้เราขับลงไปตามคันนาเสียให้ได้ แต่ว่าหากรู้จักใช้มันแบบฟังหูไว้หูแล้วละก็มันเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์สำหรับคนแก่มาก เมื่อจิ้มปลายทางว่าเพชรบูรณ์ จีพีเอส.ก็พาเราขับขึ้นตะวันออกไปทางน้ำตกเจ็ดสาวน้อย แล้วพาเราวิ่งไปตามถนนเล็กๆเลียบฝั่งใต้ของแม่น้ำป่าสักไปโดยไม่มีทีท่าว่าจะให้เราข้ามแม่น้ำไปหาลพบุรีสักที จนมาถึงตำบลเล็กๆชื่อ “โป่งมะนาว” ผมบอกลูกชายว่า
“เอ..แถวนี้มันดูเหมือนมันจะเคยมีการขุดค้นถ้วยชามรามไหอะไรสักอย่างนะ”
แล้วก็จริงดังว่า มีป้ายเล็กๆชี้ให้ไปดูแหล่งโบราณคดี ผมขับตามป้ายไป แล้วไปจบที่กุฏิพระ มีป้ายพิพิธภัณฑ์อยู่หน้ากุฏิอันเงียบเชียบ หมาใต้กุฏิเห็นเราก็พากันเห่าขรม เด็กวัดคนหนึ่งนอนหลับอุตุอยู่บนกุฏิ ผมร้องเรียกก็ไม่ตื่น แต่แล้วก็โชคดีมีเด็กผู้หญิงคนหนึ่งเข้ามาทัก เมื่อรับรู้ว่าเราจะมาดูของโบราณก็ใจดีพาเราเดินไปหาสิ่งที่มีผู้ตั้งใจจะว่าจะให้เป็นพิพิธภัณฑ์แต่ว่าขณะนี้อยู่ในพงหญ้าเพราะสร้างแล้วงบไม่พอที่จะดำเนินการต่อ เลยไม่ได้เปิด ถ้าไม่นับพงหญ้าแล้วอาคารนี้พอนับว่าเป็นพิพิธภัณฑ์จริงๆได้ทีเดียว เธอพาเราเข้าชมของที่ตั้งแสดงไว้ในอาคารซึ่งอยู่ในความดูแลของชุมชน และเล่าให้ฟังว่าแต่เดิมพวกของโบราณเหล่านี้เก็บไว้ในวัดแล้วถูกโขมยมางัดแงะไปบ้าง พวกเราตระเวนดูของที่เก็บไว้เป็นของที่ผลิตขึ้นในยุคก่อนประวัติศาสตร์ใกล้เคียงกับยุคบ้านเชียง แต่ลักษณะเครื่องปั้นดินเผามีเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากหม้อบ้านเชียง รูปลักษณ์ออกไปทางเครื่องปั้นดินเผาก่อนประวัติศาสตร์ที่ปิกาสโซใช้เป็นแม่แบบในการเขียนและปั้นงานศิลป์แบบโมเดิร์นอาร์ท เท่ไปอีกแบบ ผมบอกเด็กสาวคนนั้นว่าทำไมเธอไม่หัดปั้นดินเผารูปทรงแบบนี้บ้าง แล้วเอาออกขายภายใต้แบรนด์ “หม้อโป่งมะนาว” เหมือนที่ชาวบ้านเชียงเขาปั้นหม้อบ้านเชียงขายกันได้เงินเอิกเกริก เธอได้แต่ยิ้มและพูดอะไรอยู่ในใจ ซึ่งผมจับความได้ประมาณว่า
“เพ้อเจ้อแล้ว..ลุ้ง”
ออกจากโป่งมะนาวเราขับผ่านถนนผิวโลกพระจันทร์เสียงดังกึงๆๆๆ เพื่อนที่รอจะกินข้าวกลางวันโทรศัพท์มาถามว่าถึงไหนแล้ว ผมบอกว่า
“เพิ่งออกจากโป่งมะนาว กำลังเข้าโป่งมะกรูด”
ดอกซากุระเมืองไทย กำลังบานที่น้ำหนาว |
คุยกันถึงความหลังจนอิ่มอร่อยแล้วก็เร่งรุดเดินทางต่อไปยังอุทยานแห่งชาติน้ำหนาวเพื่อให้ทันก่อนอุทยานปิดตอนสี่โมงเย็น แวะซื้อข้าวหลามที่ด่านอุทยานตามที่ภรรยาของเพื่อนได้แนะนำไว้ แวะดูตะวันตกดิน แล้วเข้าบ้านพักในอุทยาน ซึ่งเงียบเชียบแทบไร้ผู้คน อากาศเย็นสบาย ต้นซากุระเมืองไทยหรือนางพญาเสือโคร่งที่หน้าบ้านพักออกดอกกระหรอมกระแหร็ม ผมถ่ายรูปมาให้ดูด้วย
ถึงเวลาอาบน้ำเครื่องทำน้ำร้อนด้วยแก้สเกิดมีปัญหา ห้องหนึ่งเปิดแล้วไม่ร้อนดื้อๆ อีกห้องหนึ่งผมลองเปิดแล้วร้อน แต่ต่อมาก็มีเสียงดัง “บึม..ม” แล้วทุกอย่างก็หยุดลง เล่นเอาภรรยาของผมประกาศยอมอาบ “น้ำหนาว” โดยไม่ยอมยุ่งกับเครื่องทำน้ำร้อนเด็ดขาด แต่ผมกับลูกชายยังไม่ลดละ ผมอ่านดูป้าย instruction ที่ติดผนังไว้ว่าเมื่อเครื่องทำน้ำร้อนเสียต้องทำอย่างไร ป้ายนั้นบอกว่าให้โทรศัพท์ตามผู้รับผิดชอบต่อไปนี้ไปตามลำดับชั้น โดยมีรายชื่อเรียงกันไว้ถึงสี่ชั้น ผมบอกลูกชายว่า
“โอ้โฮ นี่แสดงว่าปัญหาเครื่องทำน้ำร้อนเนี่ยเป็นเรื่องใหญ่ต้องตามกันตั้งแต่แพทย์ฝึกหัด เรสิเด้นท์ (แพทย์ประจำบ้าน) แพทย์เฟลโลว์ จนถึงแพทย์สต๊าฟเลยนะเนี่ย”
เมื่อตามปุ๊บ อินเทอร์นก็มาปั๊บ เขามาลูบๆคลำเครื่อง แล้วออกไปเปิดวาลว์แก้สที่ข้างนอก เมื่อไม่ได้ผลก็ยกหูตามเรสิเด้นท์ พูดอะไรกันสองสามคำ แล้วเรสิเด้นท์ก็มา พร้อมกับล้วงถ่านไฟฉายออกมาจากกระเป๋ามาเปลี่ยนเอาถ่านเก่าที่ทำหน้าที่จุดประกายไฟออก แล้วเครื่องห้องแรกก็ทำงาน พอไปถึงเครื่องห้องที่สองที่ระเบิดดังบึม เขายกหูตามเฟลโลว์ แป๊บเดียวเฟลโลว์ก็โผล่มา มาแก้ปัญหาด้วยการเอากระดาษทิชชูจุดไฟแล้วแหย่เข้าไปในเครื่องต้มน้ำ เข้าใจว่าคงต้องการจะเผาแก้สที่ตกค้างให้หมดก่อน จากนั้นจึงเปิดใช้เครื่องใหม่ ก็ปรากฏว่าใช้ได้ สรุปว่างานสำเร็จลงได้โดยไม่ต้องถึงกับตามสต๊าฟใหญ่มา
คราวนี้ก็ถึงเวลาอาบน้ำอุ่น ผมอาบเพราะขยาดกิตติศัพท์ของ “น้ำหนาว” มากกว่ากลัวเครื่องทำน้ำอุ่น แต่ก็เปิดประตูห้องน้ำทิ้งไว้ขณะอาบ เพราะเพื่อนของผมเป็นหมออยู่ที่อเมริกาเคยเล่าให้ฟังว่าเพื่อนของเขายังหนุ่มอายุสี่สิบกว่าแท้ๆไปเสียชีวิตในห้องน้ำที่โรงแรมจิ้งหรีดในชนบท ตอนแรกนึกว่าหัวใจวาย แต่ต่อมาไม่กี่วันก็มีอีกรายหนึ่งอาบน้ำห้องเดียวกันแล้วเป็นลมคอพับแต่โชคดีไม่ถึงกับตาย ความจึงแดงขึ้นมาว่าเป็นเพราะแก้สคาร์บอนมอนนอกไซด์ที่เกิดจากการเผาไหม้แก้สไม่หมดสะสมอยู่ในห้องน้ำที่ปิดทึบ พอหายใจเข้าไปมากๆก็ทำเอาตายได้แบบทันทีแน่นอนเสียด้วย
เส้นทางขับรถขึ้นสวนสนภูกุ่มข้าวเพื่อดูสนสามใบ |
ผมอาบน้ำเสร็จโดยสวัสดิภาพ ถามลูกชายซึ่งอาบห้องที่แก้สระเบิดดังบึมก่อนหน้านี้ว่ายูอาบน้ำอย่างไร ลูกชายตอบว่าเขาเปิดแก้สแล้วรีบวิ่งออกมาดูเชิงนอกห้องน้ำก่อน เมื่อเห็นระบบทำงานดีโดยไม่มีเสียงระเบิดก็จึงเข้าไปอาบได้โดยสวัสดิภาพเช่นกัน
22 พย. 59
หลับสบายบนอุทยานน้ำหนาวหนึ่งคืน ก่อนจากเราแวะชมสวนสนภูกุ่มข้าว คราวนี้ผมเปลี่ยนให้ลูกชายขับ ต้องขับรถไปถามถนนลูกรังประมาณ 14 กม. สองข้างทางเป็นป่าสนสามใบ บางช่วงก็ต้องขับรถลุยข้ามคลองน้ำแบบไม่มีสะพาน มุ่งหน้าขึ้นภูกุ่มข้าวด้วยตั้งใจว่าจะได้มองจากยอดเนินเห็นทิวยอดสนสามใบลานตา พอไปใกล้ถึง แวะถามคนงานอุทยานที่ตัดหญ้าสองข้างทาง เขาให้ความกระจ่างด้วยภาษากลางสำเนียงชัดเจนว่า
“สวนสนภูกุ่มข้าวนะหรือ..มันเป็นเพียงอดีต เดี๋ยวนี้มันไม่มีแล้ว ฟ้าผ่าบ้าง ไฟป่าบ้าง เผาต้นสนหมดไป ต้นไม้อื่นขึ้นมาแทน”
สองเกลอผีตาโขนยุโรป ที่เมืองด่านซ้าย |
แป่ว..ว
แต่ไหนๆก็ไหนๆแล้ว เราขับต่อไปเพื่อให้เห็นว่าอดีตสวนสนภูกุ่มข้าวนั้นเป็นอย่างไร ขับปุเรงๆไปอีกสี่กม.ก็ได้เห็นอดีตนั้นสมใจ หิ หิ ไม่มีอะไรเลยจริงๆ นอกจากเนินที่ต้องเดินขึ้นจนเมื่อยขา
เราบอกลาน้ำหนาว เป้าหมายวันนี้คือต้องไปนอนที่เชียงคาน เราขับย้อนกลับมาทางหล่มสัก เพราะผมอยากจะไปดูผีตาโขนที่ด่านซ้าย เนื่องจากยังไม่เคยเห็นด่านซ้ายมาก่อนเลยในชีวิต พอจะเข้าเขตเมืองด่านซ้ายก็เห็นผีตาโขนขนาดยักษ์อยู่ข้างทาง
เราแวะชมพระธาตุศรีสองรัก ฟังว่าเป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นในยุคที่เจ้าอยุธยาส่งลูกสาวไปแต่งงานกับเจ้าลาว
พระธาตุศรีสองรัก เล็ก น่ารัก และเอียงกะเท่เร่ |
จากนั้นก็เดินทางต่อไป แวะดูวัดป่าห้วยลาด ซึ่งชื่อว่าวัดป่าแต่ตัววิหารนั้นมหึมามาก วิหารแม้จะใหญ่แต่ไม่น่าสนใจเท่าพระพุทธรูปแกะสลักจากหินแคลไซท์ทั้งองค์ขนาดใหญ่กว่าไดบุตซุที่ญี่ปุ่นโดยที่ความคลาสสิกและฝีมือไม่หนีกัน เวลาถ่ายรูปหมอสมวงศ์ซึ่งแต่งชุดดำนั่งพับเพียบอยู่หน้าองค์พระ ดูเธอเหลือตัวเล็กเท่านิ้วก้อยได้
เดินหน้ากันต่อไป คราวนี้เราขับขึ้นไปทางอำเภอท่าลี่ เพื่อผ่านชนบทที่ไม่เคยเห็นแล้วไปชนชายแดนลาวแล้วขับเลียบลำน้ำโขงไปหาเชียงคาน ไปพักนอนอยู่ในโรงแรมจิ้งหรีดที่มีสภาพเป็นห้องแถวหันหลังชนแม่น้ำโขง ตกเย็นก็ออกเดินเลียบแม่น้ำโขงชมตะวันตกดินหลังที่พัก กลางคืนก็เดินถนนคนเดินหน้าห้องแถว บ้านเรือนที่นี่เป็นห้องแถวไม้ที่สงวนไว้ได้ดีเยี่ยม ดูเหมือนว่าทุกห้องแถวชั้นล่างจะเป็นอะไรก็ตาม ชั้นบนต้องเป็นโรงเตี๊ยมหรือเกสต์เฮ้าส์ ถนนคนเดินมีบรรยากาศดี แต่คนเดินไม่มากเหมือนที่ปาย ดูหน้าตาคนเดินแล้วเป็นคนไทยแทบทั้งหมด
พระหินแคลไซท์วัดป่าห้วยลาด |
23 พย. 59
มองออกนอกหน้าต่างห้องพักที่เชียงคาน |
ตกใกล้รุ่งได้ยินเสียงวัดที่ฝั่งลาวย่ำระฆังดังหง่างเหง่ง เราจึงตื่นเช้าและตักบาตรพระที่พากันเดินแถวมาหน้าห้องแถวนั่นแหละ แล้วก็ขับรถไปดูภูทอก ซึ่งเป็นที่คนพากันไปดูหมอกก่อตัวขึ้นเหนือโค้งแม่น้ำโขงในตอนเช้าซึ่งเป็นภาพที่สวยเชียว สวยไม่แพ้ทะเลหมอกที่ใหนๆ หรืออาจจะสวยกว่าเพราะมีโค้งแม่น้ำโขงประดับเป็นโลว์กราวด์ในยามที่หมอกจางลง
ออกจากเชียงคานเราขับลงใต้ กะว่าจะแวะดูสถานที่เรียกกันว่า “เสด็จพ่อร.5 วิมานหมอก” ซึ่งฟังว่าเป็นสถานที่ร.5 เคยเสด็จมาทอดพระเนตรหมอกที่นั่น เมื่อจีพีเอส.พาไปถึงแล้ววนเวียนหาทางเข้าไม่เจอ ถามชาวบ้านก็บอกว่าอยู่แถวนั้นแหละ ถามแม่ค้าคนหนึ่งว่าสวยไหม เธอตอบเป็นภาษากลางว่า
“เอ้อ..จะพูดไงดีละ มันเคยสวย”
พลเอก จารุภัทร เรืองสุวรรณ ที่ในไร่ |
ทำให้เราล้มเลิกความตั้งใจที่จะค้นหา จึงมุ่งหน้าต่อไป เพื่อไปยังอำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น อันเป็นเป้าหมายที่จะไปค้างคืน ที่นั่นเป็นไร่ส่วนตัวของคนระดับไฮโปรไฟล์คู่หนึ่ง ฝ่ายสุภาพสตรีนั้นเป็นแพทย์ผู้ใหญ่ เป็นมิตรต่างวัยของหมอสมวงศ์ เธอเกษียณจากตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันเด็กแห่งชาติ หรือที่รู้จักดีในภาษาบ้านๆว่า รพ.เด็ก ส่วนฝ่ายสุภาพบุรุษนั้นเป็นนายทหารใหญ่ยศพลเอก จบปริญญาเอกที่อเมริกา สอนอยู่โรงเรียนนายร้อยแล้วก็ออกจากราชการประจำมาเป็นกกต.ในยุคที่การเมืองยุ่งตุงนัง ชื่อ พลเอก จารุภัทร เรืองสุวรรณ เขียนมาถึงตรงนี้ผมอยากจะเล่าเรื่องราวของท่านให้ผู้อ่านได้เรียนรู้วิธี “พลิกผันโรคด้วยตนเอง” ท่านอนุญาตให้ผมเปิดเผยชื่อท่านได้ซึ่งผมต้องขอบพระคุณไว้ ณ ที่นี้ด้วย
เรื่องราวของท่านนายพลเริ่มต้นเมื่อหลังจากกินยารักษาไขมันในเลือดสูงและความดันเลือดสูงมาได้ระยะหนึ่งแล้ว แพทย์ตรวจพบว่าท่านเป็นโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 และผลการตรวจสมรรถนะหัวใจ (EST) ได้ผลบวก และแพทย์แนะนำให้ท่านเข้ารับการตรวจสวนหัวใจโดยมีเป้าหมายปลายทางอยู่ที่การทำบอลลูนใส่ขดลวดเพื่อแก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ ณ จุดนี้ท่านนายพลและอาจารย์หมอผู้เป็นภรรยาได้แวะมาหารือผมที่บ้านมวกเหล็ก ซึ่งเราได้คุยกันถึงข้อมูลและทางเลือกที่มีอยู่สองทาง คือรักษาแบบรุกล้ำ อันหมายถึงการเดินหน้าสวนหัวใจ ใช้บอลลูน หรือผ่าตัดสุดแล้วแต่ผลการตรวจจะพาไปโดยยอมรับความเสี่ยงที่ไตจะทรุดลงไปกว่าเดิม หรือไม่ก็รักษาแบบไม่รุกล้ำ อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตตนเองไปอย่างสิ้นเชิง ในประเด็นการเปลี่ยนอาหารมากินพืชเป็นหลักแบบไขมันต่ำ ไม่กินอาหารที่สกัดเอามาแต่แคลอรี่อย่างน้ำตาลหรือน้ำมันผัดทอดอาหาร ควบกับการออกกำลังกาย และการจัดการความเครียด
ท่านนายพลบอกว่าเมื่อมีทางเลือกอย่างนี้ ผมตัดสินใจเลย คือเลือกที่จะดูแลตัวเอง หลังจากนั้นท่านก็ส่งข่าวเป็นระยะๆ เริ่มจากการลดน้ำหนักลงได้ถึง 13 กก. ค่อยๆลดยาความดันลงจนเลิกได้หมดโดยที่ความดันเลือดยังปกติ ผลการตรวจการทำงานของไตกลับมาเป็นปกติแล้ว แต่เมื่อหยุดยาลดไขมันก็พบว่าระดับไขมันในเลือดซึ่งคุมได้อยู่ดีๆกลับกระโดดขึ้นไป ผมอธิบายให้ฟังว่ายาลดไขมันลดไขมันของเราลงได้ถึงประมาณ 50% เมื่อเราหยุดยา เป็นธรรมดาที่ไขมันในเลือดจะเด้งขึ้นไป หากมันขึ้นไปไม่ถึง 50% หรือไม่ถึงระดับเดิมก่อนที่เราจะกินยา ก็ถือว่าระดับไขมันในเลือดของเราดีขึ้นจากอาหาร และแนะนำให้ท่านเดินหน้าปรับลดไขมันในอาหารต่อไปไม่ท้อถอยโดยลดปริมาณอาหารเนื้อสัตว์ลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อแดงอย่างเนื้อหมูเนื้อวัว ซึ่งเมื่อท่านลดอาหารเนื้อสัตว์ลงจนแทบจะเหลือแต่ปลาก็ได้ผลดียิ่ง จนทุกวันนี้ไขมันในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ และหยุดยาทุกตัวไปแล้วอย่างสิ้นเชิงไม่ว่าจะเป็นยาความดันหรือยาลดไขมัน ผลพลอยได้อีกอย่างหนึ่งก็คืออาจารย์หมอภรรยาของท่านที่ทานอาหารเหมือนกันก็พลอยเลิกยาเบาหวานและยาลดความดันที่ต้องกินอยู่ประจำมาหลายปีได้ด้วย
ความสำเร็จของการพลิกผันโรคด้วยตัวเองของท่านนายพลท่านบอกว่ามาจากปัจจัยสำคัญยิ่งตัวเดียว คือ “วินัยตนเอง” ความที่มาจากครอบครัวที่มีระเบียบวินัย พอเป็นหนุ่มก็มาเป็นทหาร และตอนไปเรียนปริญญาโทปริญญาเอกก็ต้องใช้ชีวิตด้วยตัวเองอยู่เมืองนอกรู้เห็นวิธีคิดวิธีทำงานของฝรั่งอยู่ถึง 5 ปี จึงซึมซับความมีวินัยและการรู้จักบริหารจัดการตนเองไว้ในสายเลือด เมื่อศึกษาจนรู้ว่าอะไรควรทำแล้วก็จะลงมือทำด้วยตนเองทันทีโดยไม่อิดออดอ้างโน่นอ้างนี่ และท่านก็ใช้วิธีการเดียวกันนี้ช่วยแนะนำเพื่อนฝูงและญาติใกล้ชิด มีอยู่ครั้งหนึ่งญาติส่งหลานชายที่อ้วนและป่วยโดยไม่ยอมดูแลตัวเองมาให้ท่านคุยด้วย ท่านพูดกับหลานสั้นๆว่า
“เอ็งอยากตายหรือเปล่า
เอ็งจะให้แม่ซึ่งแก่แล้วมาเผาศพเอ็ง
หรือเอ็งอยากจะอยู่เป็นคนทำศพให้แม่
ถ้าเอ็งอยากตายก็ทำตัวแบบเดิมไป
แต่ถ้าเอ็งยังไม่อยากตาย
อยากจะอยู่เผาศพแม่ด้วยตัวเองก็เปลี่ยนตัวเองซะ”
ท่านเรียกวิธีการของท่านว่าเป็น “ยาแรง” ซึ่งบางครั้งก็ได้ผล บางครั้งก็ไม่ได้ผล ยกตัวอย่างเช่นหลานชายคนนี้เป็นกรณีที่ได้ผล ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมานี้เขาลดน้ำหนักตัวเองไปได้ 12 กก.และทำตัวให้แม่ที่แก่แล้วได้ชื่นใจเป็นอย่างมาก
การมาค้างคืนที่ไร่ของนายพลครั้งนี้ก็เพราะผมสัญญากับท่านไว้ เนื่องจากตอนนั้นผมเห็นว่าการควบคุมความดันเลือดของท่านมันขึ้นๆลงๆเพราะมีปัจจัยความเครียดเข้ามาเกี่ยวข้อง ประกอบกับท่านเล่าให้ผมฟังว่าท่านมีไร่อยู่ที่ขอนแก่น ผมจึงบอกท่านว่าเมื่อใดที่ท่านทิ้งกรุงเทพไปใช้ชีวิตอยู่ในไร่ที่ขอนแก่น ผมจะแวะไปเยี่ยมท่าน ตอนนี้ทั้งสองท่านได้ทิ้งกรุงเทพฯมาอยู่ถาวรที่ไร่อย่างแท้จริงแล้ว ผมจึงแวะมาเยี่ยมตามสัญญา
กระดูกไดโนเสาร์ของจริงที่ยังฝังอยู่ในหินท้องธารที่หลุม 9 |
24 พย. 59
รุ่งเช้าท่านนายพลและอาจารย์หมอผู้หญิงพาพวกเราไปตระเวนชมที่ต่างๆในอำเภอเวียงเก่า ที่ประทับใจผมมากที่สุดคือการที่เราได้มีโอกาสเดินเท้าขึ้นเขาไปยังหลุมขุดค้นซากไดโนเสาร์หลุมที่ 9 ซึ่งยังคงรักษาสภาพกระดูกสันหลังและหางของไดโนเสาร์รุ่นปู่ของ T. Rex ที่ฝังอยู่ในหินกลางทางน้ำไหลไว้ได้อย่างสมบูรณ์ ผมถ่ายรูปมาให้ดูด้วย
จบทัวร์เวียงเก่าแล้ว เรากินอาหารสุขภาพมื้อเที่ยงส่งท้ายที่บ้านในไร่ มื้อนี้มีส้มตำข้าวเหนียว ท่านนายพลและอาจารย์หมอผู้หญิงเอาข้าวเหนียวที่สีแบบข้าวกล้องมาให้กินกับส้มตำ ทำให้ผมได้ความรู้ใหม่ว่าที่ใครต่อใครว่าข้าวเหนียวสีเป็นข้าวกล้องไม่ได้ ถึงสีได้ก็กินไม่ได้เพราะมันแข็งนั้นไม่เป็นความจริงเลย เพราะมันสีได้ และกินได้อร่อย ไม่แข็งด้วย มันขึ้นอยู่กับวิธีนึ่ง คือแช่น้ำนานหน่อย ใส่น้ำมากหน่อย มันก็จะนุ่มและอร่อยเอง
เราบอกลาเจ้าภาพใจดีเอาเมื่อใกล้ค่ำเพื่อเดินทางต่อไปยังร้อยเอ็ด ไปพักอยู่ที่กระท่อมปลายนาของเพื่อนอีกท่านหนึ่ง ซึ่งเกษียณอายุจากการเป็นนายแพทย์สสจ.และการเป็นสมาชิกวุฒิสภา มาใช้ชีวิตทำงานอดิเรกเช่น ทำนา ทำสวน เลี้ยงหมู เลี้ยงวัว เลี้ยงปลา ปลูกผัก ขณะเดียวกันก็ดูแลร้านอาหารของภรรยาไปด้วย
คุณปุ้ย (กรรณิการ์) ชาวไร่แตงเมล่อนข้างถนน ที่ร้อยเอ็ด |
25 พย. 59
ตื่นเช้าจากกระท่อมปลายนา เราเก็บเสื้อผ้าใส่กระเป๋าเพื่อเดินทางต่อไปยังหมู่บ้านตากลาง ซึ่งเป็นหมู่บ้านเลี้ยงช้างที่ จ.สุรินทร์
ระหว่างทางได้มีโอกาสแวะกินไอติมเมลอนที่สวนเมล่อนใหม่ของเกษตรกรรุ่นใหม่หน้าตาสวยชื่อคุณกรรณิการ์ เธอเป็นเด็กรุ่นใหม่เรียนหนังสือสูงและใจถึง เอาที่ดินไปตึ๊งธกส.เพื่อทำสวนเมล่อนนี้ เธอคิดอ่านทำไอติมเมลอน เค้ก คุ้กกี้ ขนมปังเมลอน ซึ่งทุกรายการถือได้ว่าอร่อยหมด
แล้วขับต่อไป ยังวัดที่เล็กมากระดับมีพระเณรแค่สามองค์ ชื่อวัดราศีไสล (ประมาณนี้) แวะนมัสการ “หลวงพ่อปลูกผัก” หิ หิ ไม่ใช่ชื่ออย่างเป็นทางการของท่านนะครับ ผมตั้งให้เอง ท่านเป็นพระ
โบสถ์ที่คลาสสิกที่สุดของการมาเที่ยวอิสานครั้งนี้ อยู่ที่วัดราษีไสล จ.ร้อยเอ็ด |
ภิกษุตัวเป็นๆเนี่ยแหละ แต่ว่าสอนชาวบ้านให้ปลูกผักโดยเทคโนแบบสูงแต่ง่าย ทั้งปลูกในน้ำและปลูกแบบอินทรีย์
เพาะเชื้อราไทโคโมนาส ในวัดมีงานวิจัยของท่านที่บ้างสำเร็จแล้ว บ้างเจ๊งไปเพราะพายุ เช่นโซลาเซลสูบน้ำเลี้ยงผักซึ่งกำลังเวอร์คดี กังหันลมซึ่งโดนพายุพัดใบหัก และที่เหน็ดขนาดคือระบบสูบน้ำที่ดึงน้ำขึ้นมาเองโดยอาศัยแรงตึงผิว (fluid pumping with surface tension) ผมเพิ่งเคยได้อ่านเกี่ยวกับเทคโนโลยีแบบนี้ในหนังสือ TIME ไปเมื่อไม่นานมานี้ ตอนนี้หลวงพ่อเอามาทดลองแล้วเรียบร้อย แต่ท่านบอกว่ากำลังลุ้นผลอยู่พายุก็มาลุยเสียก่อน นี่พายุไปแล้ว ท่านกำลังตั้งท่าจะลุ้นใหม่
ในวัดนี้ผมพบโดยบังเอิญว่าโบสถ์เล็กของวัดนี้ที่หลวงพ่อเรียกว่า “สิม” เป็นอาคารที่มีอายุเกิน 200 ปี และมีสถาปัตยกรรมที่คลาสสิกมาก สวยน่าประทับใจกว่าโบสถวิหารใดๆตั้งแต่เดินทางมาครั้งนี้ ผมถ่ายรูปมาให้ดูด้วย
แล้วก็ขับต่อไปยังเมืองสุวรรณภูมิเพื่อไปเยี่ยมเพื่อนนักเรียนแพทย์รุ่นเดียวกันอีกคนหนึ่งซึ่งเราเรียกกันสมัยเรียนหนังสือว่าคุณหมอเปี๊ยะ ท่านต้อนรับเราที่บ้านหลังใหม่ของท่านเอง เป็นเพื่อนคลาสเมทที่ไม่ได้พบกันมาเลยตั้งแต่ปี 2525 เขาเรียนหนังสือเก่ง และยืนหยัดเป็นแพทย์ชนบทมาได้หลายสิบปี เป็นผู้อำนวยการรพ.สุวรรณภูมิอยู่นาน เมื่อเขาเกษียณต้องย้ายออกจากบ้านหลวง เขาปลูกบ้านที่เขาออกแบบให้เหมือนกับบ้านพักแพทย์ในโรงพยาบาลราวกับแกะ ทั้งประตูเข้าออกทางไหน ห้องน้ำวางตรงไหน ห้องครัววางตรงไหน ทำเหมือนกันหมด เขาให้เหตุผลง่ายๆว่า
“ขี้เกียจปรับตัวกับบ้านใหม่”
ที่เห็นเล็มหญ้าอยู่กลางทุ่งนั้นนะ..ช้างนะพี่ ไม่ใช่ควาย |
เขายังเล่าด้วยความภูมิใจว่าแม้แต่หมาของเขาก็ไม่มีปัญหาเลยกับบ้านใหม่ พอวางมันลงมันก็วิ่งปร๋อได้อย่างคุ้นเคย เออหนอ บ้านใหม่ในอุดมคติของคนเรานี้ มันช่างต่างจิตต่างใจ และคนที่อยากได้บ้านใหม่ที่เหมือนบ้านเก่าเด๊ะก็มีแฮะ
ลาจากเพื่อนออกจากสุวรรณภูมิแล้ว เราขับไปยังหมู่บ้านท่ากลาง อำเภอดอนตูม จ.สุรินทร์ พอขับผ่านท้องนาที่ชายหมู่บ้านก็เห็นช้างเล็มหญ้าอยู่ตามท้องนาราวกับวัวควายแต่ว่าขนาดใหญ่กว่า เราขับตระเวนดูบ้านที่เลี้ยงช้างไว้ใต้ถุนบ้าง หลังบ้านบ้าง แวะเล่นกับลูกช้างซึ่งนอกจากจะนั่งสวัสดีได้ หอมแก้มลูกค้าได้แล้ว ยังใช้งวงรับแบงค์ที่คนบริจาคให้ได้ด้วย
จากหมู่บ้านช้างเรามุ่งหน้าเข้าเมืองบุรีรัมย์ มาถึงเมืองเอาตอนมืดแล้ว เมืองเงียบเชียบ ผมถามเด็กปั๊มน้ำมันว่าจะกินจะนอนที่ไหน เด็กแนะนำว่าให้ไปกินที่ไอโมบาย ส่วนที่นอนเธอบอกชื่อรีสอร์ทพร้อมกับบอกราคาให้เสร็จว่าคืนละ 450 บาท ผมถามว่าที่แพงกว่านี้หน่อยไม่มีหรือ เธอบอกอีกชื่อหนึ่งและบอกทางไป เราขับไปจนถึงก็พบว่ารีสอร์ทเต็ม ถามสนนราคาตกห้องละ 500 บาท ซึ่งก็ยังน่ากังวลอยู่ดีว่าเก็บราคานี้จะเอางบที่ไหนจ่ายค่าซักผ้าปูที่นอนปลอกหมอน หรือว่าใช้ระบบซักแห้ง เราตกลงกันว่าจะไปหาอะไรกินที่ไอโมบายก่อนแล้วค่อยหาที่พักกันต่อ เมื่อไปถึงก็พบว่าที่ทั้งเมืองบุรีรัมย์เงียบกริบนั้นเพราะคนทั้งเมืองมาอยู่ที่นี่กันหมดนั่นเอง สถานที่นี้เป็นทั้งปาร์ค เป็นทั้งสนามกีฬา และเป็นทั้งตลาดชนบทแบบฝรั่งที่เรียกว่าวิลเล็จมาร์เก็ต มีรถจอดอยู่ในที่จอดรถเกินร้อยคันขึ้นไป ผู้คนนั่งปิคนิกกินหมูย่างจิ้มแจ่วกันเต็มสนามหญ้าไปหมด ในส่วนที่เป็นวิลเล็จมาร์เก็ตนั้นก็มีคนหนุ่มสาวแต่งตัวทันสมัยไปเต๊ะท่าถ่ายรูปกันไม่ขาดแม้จะเป็นกลางคืน เรากินข้าวเย็นพลางค้นหาโรงแรมจากอินเตอร์เน็ทพลาง ก็ได้รีสอร์ทที่สนนราคาพอจะเชื่อถือได้แห่งหนึ่งชื่อธารารีสอร์ท ห้องละ 1,500 บาท จึงขับไปพักที่นั่น ซึ่งก็เป็นที่พักที่สะอาดและเงียบสงบน่าพักสมใจ
ปราสาทเมืองต่ำ เล็กแต่โรแมนติกกว่าพนมรุ้ง |
26 พย. 59
วันนี้เราออกจากโรงแรมแต่เช้าเพื่อไปดูปราสาทเมืองต่ำซึ่งพวกเรายังไม่เคยเห็น เป็นปราสาทที่มีสีส้มแกมเหลืองโรแมนติกสวยงามมีบึงดอกบัวขนาบข้าง หน้าตาปราสาทละม้ายคล้ายคลึงกับปราสาทบันทายศรีที่ประเทศเขมร แล้วขับต่อไปยังปราสาทพนมรุ้ง เราเคยมาที่นี่ครั้งหนึ่งเมื่อยี่สิบกว่าปีมาแล้วเพื่อพาเพื่อนหมอชาวญี่ปุ่นและชาวนิวซีแลนด์มาเที่ยว ตอนนั้นหมอพอเพิ่งอายุสี่ขวบ ยังจำความไม่ได้ ไปถึงก็พบว่าพนมรุ้งยังเหมือนเดิมทุกประการ ใหญ่กว่า สูงกว่า แต่ความโรแมนติกสู้ปราสาทเมืองต่ำไม่ได้
จากพนมรุ้งเราขับต่อไปอีกเขาหนึ่งชื่อเขาพระอังคารตามคำแนะนำของคุณหมอเปี๊ยะว่าบนเขานี้มีวัดทรงแขกอยู่วัดหนึ่ง เราขับผ่านชนบท ต้องคอยหลบแผงตากข้าวเปลือกที่ชาวนาเอาขึ้นมาตากบนถนน บางเจ้าตากเลนซ้าย บางเจ้าตากเลนขวา ต้องคอยขับรถซิกไปแซกมา ในที่สุดก็มาถึงบนยอดเขา มีพระนอนไซส์ยักษ์สีเหลืองจ๋อยนอนตะแคงรอเราอยู่ที่ลานจอดรถหนึ่งองค์ เมื่อเดินขึ้นไปยังตัววัดก็ต้องเซอร์ไพรส์ ผมคาดหมายว่าจะมาพบเทวาลัยหินเก่าๆหักๆสไตล์อินเดียอยู่บนยอดเขาแบบอันซีนไทยแลนด์ แต่ของจริงกลับกลายเป็นวัดใหม่สีเลือดหมูแจ๋ รั้วรอบวัดทำด้วยพระปูนหล่อนั่งห่มผ้าสีเหลืองเรียงแถวแทนกำแพง ไหนๆก็มาถึงแล้วก็ต้องถ่ายรูปมาให้ดู ความจริงของเก่าที่นี่ก็มีเหมือนกัน เป็นใบเสมาหินสมัยทวาราวดีซึ่งตั้งไว้ให้คนปิดทอง แต่พินิจให้ดีแล้วเศียรของเทวดาในใบเสมานั้นเป็นปูนหล่อใหม่แปะเข้าไป จึงทำให้ของเก่าเสียความขลังไปโข
นึกว่าจะมาเจอเทวาลัยแขกสร้างด้วยหิน กลายเป็นงี้ไป |
บ่ายแล้ว เราขับตียาวลงจากเขาพระอังคารเข้านางรองมุ่งหน้าสีคิ้ว แต่พอถึงทางแยกที่จะเลี้ยวไปด่านเกวียนก็อดแวะไม่ได้จึงขับแวะเข้าไปเพื่อหาซื้อที่ให้นกกินน้ำปั้นด้วยดินเผาสักอันจะเอามาไว้ที่โกรฟเฮ้าส์ แต่ขับตระเวนร้านไหนๆก็ขายแต่ตุ๊กตาประดับสวนทาสีแจ๊ด..ด ไม่ถูกทศนิยมของคนแก่ จึงอำลาด่านเกวียนมาโดยไม่ได้อะไรติดมือมาเลย ผ่านมาจะออกถนนมิตรภาพก็เผอิญผ่านพิพิธภัณฑ์ต้นไม้กลายเป็นหิน จึงชวนกันแวะชม เห็นป้ายขนาดใหญ่เขียนไว้ว่าสร้างโดยกรมทรัพยากรณ์ธรณีมอบให้จังหวัด แล้วจังหวัดมอบต่อให้สถาบันราชภัฎเป็นผู้ดูแล หึ หึ ตีความเอาจากป้ายนี้คงหมายความว่าผู้สร้างหาง่าย แต่ผู้ดูแลหายาก เรามาถึงเมื่อหมดเวลาและปิดไฟไปแล้ว ผู้ดูแลใจดีให้เราเดินชมฟรีหากทนความมืดได้ อย่างน้อยเราก็ได้เห็นฟอสซิลของต้นไม้กลายเป็นหินที่หลากหลายน่าสนใจพอควร
ขึ้นถนนมิตรภาพได้ก็เป็นเวลาค่ำมืดแล้ว เราขับยาวกลับมานอนที่บ้านมวกเหล็ก เมื่อจอดรถที่บ้าน เปิดประตูรถออกมาก็พบว่า ฮ้า.. เดินทางไปหลายจังหวัดเที่ยวนี้ แต่ที่อากาศเย็นที่สุดกลับกลายเป็นที่อำเภอมวกเหล็กจังหวัดสระบุรีนี่เอง
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์