บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มกราคม, 2016

มีความเสี่ยงโรคหัวใจต้องกินยาแอสไพรินไหม (primary prevention)

เรียนคุณหมอสันต์ ดิฉันอายุ 51 ปี เป็นไขมันในเลือดสูง และเป็นความดันเลือดสูง กินยาลดไขมันและยาลดความดันอยู่ หมอแนะนำแบบหนักแน่นให้กินยาแอสไพรินแบบตลอดชีวิต ดิฉันพยายามหาอ่านดูแต่ก็ไม่มีอะไรมาประกอบการตัดสินใจได้เลยว่าควรจะกินหรือไม่ มีแต่ที่หมอเขาบอกว่ามันเป็น guideline มาตรฐานว่าควรจะกิน ขอคำแนะนำด้วยคะ ............................................... ตอบครับ กรณีของคุณนี้ ยังไม่เคยมีเหตุการณ์ที่ร้ายแรงด้านโรคหัวใจ (major cardiac event - MACE) การกินยาใดๆเพื่อผลดีด้านโรคหัวใจในคนแบบคุณนี้เรียกว่าเป็นการกินยาเพื่อการป้องกันปฐมภูมิ (primary prevention) การกินยาแอสไพรินเพื่อป้องกันโรคหัวใจแบบปฐมภูมินี้ยังไม่ใช่มาตรฐานที่ยอมรับกันทั่วไปนะครับ ยังเป็นเรื่องที่ทั้งแพทย์และผู้ป่วยจะต้องใช้ดุลพินิจชั่งน้ำหนักความเสี่ยงและประโยชน์เป็นรายคนไป ไม่ใช่ว่าต้องกินกันตะพึด      ไหนๆคุณก็เขียนมาแล้ว ผมขอถือโอกาสนี้เล่าให้ท่านผู้อ่านได้เข้าใจและสามารถใช้ดุลพินิจของตัวเองตัดสินใจเลือกกินหรือไม่กินยาได้เอง เรื่องที่จะเขียนนี้มันเข้าใจยากหน่อยนะ ขอให้พยายามอ่าน ประเด็นสำคัญคือการนำเส...

น้ำมันทำอาหาร ไขมันในเลือด กับคุณขายอะไร

     หน้าที่ประจำของผมอีกอันหนึ่งก็คือเป็นหมอประจำตัวของผู้ป่วยที่มาเข้าแค้มป์ป้องกันและพลิกผันโรคด้วยตัวคุณเอง (RD camp) บางครั้งสมาชิกบางคนก็ถามปัญหาโดยวิธีเขียนมาเข้าไลน์ของกลุ่ม  บางคำถามอย่างเช่นคำถามข้างล่างนี้ ผมเห็นว่าเป็นคำตอบที่ท่านผู้อ่านทั่วไปจะได้ประโยชน์ด้วย จึงก๊อปมาให้อ่านกัน คุณหมอครับ ผมส่งบทความนี้มาเข้ากลุ่ม อยากขอความเห็นของคุณหมอด้วยครับ ถ้าไม่มีเวลาอ่านผมสรุปประเด็นให้ว่า 1. ที่ว่าน้ำมันพืชที่เป็นไขมันไม่อิ่มตัวเมื่อทอดได้ความร้อนจะกลายเป็นไขมันทรานส์ ซึ่งเป็นไขมันก่อโรคหลอดเลือด คนกินมังสะวิรัติผัดทอดอาหารด้วยน้ำมันไม่อิ่มตัวจริงเป็นโรคหลอดเลือด จริงไหม 2. ที่ว่าสัดส่วนไขมันโอเมก้า 6 และ 3 มีผลต่อสุขภาพ น้ำมันพืชไม่อิ่มตัวมีโอเมก้า 6 สูงควรลดการกินจริงไหม 3. ประเด็นเน้นเครื่องเทศว่าเป็นสารต้านอนุมูลอิสระและลดการเกิดโรคหัวใจหลอดเลือด จริงไหม 4. ประเด็นควรรับประทานผักผลไม้ให้มากขึ้น เพราะมีฤทธิ์เป็นด่าง ดีต่อร่างกาย จริงไหม 5. ที่งานวิจัยเพ็นซิลวาเนียว่าสัดส่วนไขมันรวมหารด้วยไขมันดีทำนายโรคได้แม่นกว่าโคเลสเตอรอลในเลือดนั้นจริงไหม ...

การวินิจฉัยมะเร็งตับในยามที่จะทำอะไรก็เสี่ยงตาย

สวัสดีค่ะ  คุณหมอ ขอรบกวนถามคุณหมอได้ไหมค่ะ คือ คุณพ่อ อายุ 84 ปีเป็นอัมพาตครึ่งซีก(ซ้าย)มา 12 ปี เมื่อเดือนก่อนก็เริ่มไม่มีแรง ลุกจากเตียงเองไม่ได้  นอนไม่หลับ แล้วกินข้าวไม่ได้ ปั่นให้กินก็พอได้ แต่พอเป็นมากขึ้น ก็เลยพาเข้า ร.พ. ก็มีการให้น้ำเกลือ ให้เลือด ให้สารอาหาร ให้อาหารทางสายยาง หมอเห็นท้องใหญ่ ก็เลยอัลตร้าซาวน์ช่องท้อง แล้วพบที่ตับมีเนื้องอก หลายก้อนเต็มท้อง ใหญ่สุด 12 ซ.ม. ค่า AFP 61 แล้วมีการขอส่องกล้องกระเพาะด้วย  แล้วสรุปว่าเป็นมะเร็งตับขั้นสุดท้าย ซึ่งญาติก็อยากรักษาแบบประคับประคองไป หมอเลยบอกว่าถ้าพร้อมก็กลับบ้านดูแลกันเอง ก็เลยย้ายมาอีกร.พ.นึง ที่รับดูแลตามอาการ หมอก็บอกว่าผลการตรวจที่เก่า ไม่ได้บอกว่าเป็นมะเร็ง อาจเป็นแค่ฝี(หมอท่านสมมติ)ก็ได้  AFP ตรวจใหม่ได้ 70.06 ควรตรวจสเต็ปต่อไป ไม่งั้นอาจเสียโอกาสรักษา ถ้ามันไม่ร้ายแรงขนาดเป็นมะเร็ง  แนะนำให้ทำ CT Scan ก่อนแล้วค่อยดูว่าควรเจาะชิ้นเนื้อต่อไหม (ซึ่งญาติคงไม่อยากให้เจาะ) แต่ญาติก็กลัวเรื่องการฉีดสารประกอบไอโอดีน เข้าร่างกายตอนตรวจ CT Scan อาจทำให้คุณพ่ออาการหนักกว่าเดิม เพราะตอนนี้ไข้ขึ้นส...

ผมอยากจะญาติดีกับ “ชีวจิต”

เขียนให้คอลัมน์ Wellness Class ในนิตยสารชีวจิต ฉบับ 414  ผมอยากจะญาติดีกับ “ชีวจิต”      ดั้งเดิมตั้งแต่หนุ่มจนแก่ ผมเป็นสัตว์กินเนื้อ ฝรั่งเขาเรียกว่าคนแบบผมนี้ว่าเป็น Omni ย่อมาจากคำว่า omnivore ซึ่งเป็นชื่อเรียกกลุ่มของสัตว์จำพวกที่กินได้ทั้งพืชและสัตว์ขึ้นอยู่กับว่าตอนไหนจะมีอะไรให้กิน แต่ถ้าเป็นมนุษย์พันธุ์ omni นี้ส่วนใหญ่มักจะชอบกินเนื้อสัตว์มากกว่าพืช ผมก็เป็นคนแบบนั้น หมู เห็ด เป็ด ไก่ ไข่ นม ชอบหมด      เมื่อหกเจ็ดปีก่อนผมป่วยเป็นโรคหัวใจขาดเลือด และปักธงจะดูแลตัวเองด้วยการเปลี่ยนวิธีใช้ชีวิตเสียใหม่ เมื่องานวิจัยบอกว่าต้องกินพืชผักให้มากขึ้น ผมก็ทำตาม แต่ขณะเดียวกันผมก็ไม่ยอมทิ้งเนื้อสัตว์เพราะเป็นของโปรด      เวลาผ่านไป พวกนักวิจัยก็ทยอย “ปล่อยของ” ว่าเนื้อสัตว์ไม่ดีอย่างโน้นอย่างนี้ออกมาเป็นระยะๆ ไม่กี่สัปดาห์มานี้องค์การอนามัยโลก (WHO) เล่นซะเอง โดยการประกาศผลการทบทวนงานวิจัยครั้งใหญ่ของ WHO ประกาศให้เนื้อสัตว์ที่ผ่านกระบวนการปรับหรือถนอมอาหาร (processed meat) เน้นที่สามสหายวัฒนะ คือ ไส้กรอก เบคอน และแฮม ว่าเป็นสารก...

หมอป่วยเป็นโรคไมแอสทีเนีย กราวิส (MG)

     สวัสดีค่ะอาจารหนูเป็นหมออายุเพิ่ง28ปีหมาดๆ รับราชการ เพิ่งเข้าเทรนmedเมื่อกลางปี58 การเข้ามาเรียนครั้งนี้คือมาตามความชอบล้วนๆค่ะ คือชอบซักชอบตรวจชอบคุย เป็นคนบ้าพลังมากให้ราวด์วอร์ดทำวอร์ดเวิร์คหรือดูคนไข้ทั้งวันก็มีความสุข โดนตามดึกๆแค่ไหนถ้าเรารักษาคนไข้ที่ช้อคหรือวิกฤติให้รอดมันภูมิใจค่ะ คนไข้walk inมาOPDเราซักเราถามตรวจหาโรคเค้าเจอ รักษาเค้าหายมีความสุขมากค่ะ กลับมาบ้านนอนอ่านpaperที่updateตามโรคที่เราเจอมันสนุกมากนะคะ ได้discussความรู้กับอาจารย์กับเพื่อนหนูชอบค่ะ ที่เล่ามานี่คือความจริงไม่ได้โลกสวยแต่อย่างใด สรุปคือหนูรักสิ่งนี้มาก และอาจารย์คนรับเข้าเทรนก็คงเห็นท่านจึงได้รับเราเข้าเรียน      เข้าเรื่องนะคะเกริ่นมาตั้งนาน เมื่อหนูเข้าเทรนเข้าเดือนที่สองวันที่หนูราวด์และทำวอร์ดเวิร์คเสร็จ หนูมาอ่างล้างมือแล้วมองกระจก หนูพบว่าตัวเองหนังตาตก เท่านั้นแหละค่ะ หนูรู้ชะตากรรมตัวเองเลย MG ฉันเป็น MG เพราะก่อนหน้านี้หนูเริ่มเหนื่อยง่ายมาสักสามสี่เดือนแล้วแต่ไม่ได้สนใจอะไรค่ะคิดว่าเหนื่อยจากทำงานเดินไปเดินมาไม่ได้พักผ่อน ก็เลยได้ admit ต่อมาก็ myasthenic c...

วิทยาศาสตร์ บนพื้นฐานการประนีประนอมผลประโยชน์

     ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่แปลก คือเชื่อในวิทยาศาสตร์ว่าเป็นสัจจธรรม แต่ในชีวิตจริงไม่ได้อยู่ด้วยสัจจะธรรมดอกนะ กลับอยู่ด้วยการประนีประนอมผลประโยชน์ เขามีวิธีสร้างความลงตัวระหว่างสัจจะธรรมกับผลประโยชน์ด้วยกิจกรรมที่เรียกว่าล็อบบี้ (lobby) แปลว่าการเจรจาต้าอวยแบบหมูไปไก่มา ซึ่งส่วนใหญ่ไปมากันใต้โต๊ะ มีคนหรือบริษัทที่ทำหน้าที่นี้โดยเฉพาะเรียกว่าล็อบบี้ยิสต์ (lobbyist) ยกตัวอย่างเช่นบริษัทยาจะเข็นเอายาตัวหนึ่งออกมาขายแต่ติดที่หลักฐานวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนการขายไม่พอ ก็ต้องจ้างล็อบบี้ยิสต์ไปต้าอวย เป็นต้น ไม่ใช่แต่บริษัทยานะที่ทำแบบนี้ หมอก็ทำ เช่นสมาคมแพทย์ลำไส้ใหญ่และทวารหนักอยากจะให้กิจกรรมส่องตรวจลำไส้ใหญ่เพื่อคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ให้เป็นการตรวจที่เบิกได้ ก็ต้องเรียกเอาเงินลงขันจากสมาชิกไปจ้างล็อบบี้ยิสต์เพื่อเปลี่ยนกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง พูดง่ายๆว่าใครจะทำมาหากินอะไรก็ต้องจ้างล็อบบี้ยิสต์ แม้แต่ชาวไร่ชาวนาเช่นสมาคมผู้เลี้ยงไก่เลี้ยงวัวก็ไม่เว้น ประเทศของเขาอยู่กันมาอย่างนั้น      การจะมีชีวิตอยู่ในโลกแบบนี้เราจึงจำเป็นต้องรู้เท่าทัน เพรา...

เปลี่ยนลิ้นหัวใจแล้วจะบริหารยากันเลือดแข็งเองได้ไหม

เรียนคุณหมอสันต์ ผมผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ mitral valve ไปเมื่อปีพ.ศ. 2550 ตรวจที่รพ.เอกชน แต่คุณหมอได้กรุณาพาไปผ่าตัดที่รพ. ... ตลอดเวลาที่ผ่านมามีปัญหามากกับการต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจระดับ INR และรับยา Warfarin ผมไปพบแพทย์ทุกสองเดือน การต้องไปรอคิวพบแพทย์นานค่อนวันนั้นเป็นความลำบากใจอย่างหนึ่ง จะขอให้ไปพบหมอที่รพ... (เอกชน) คุณหมอก็ไม่ยอม ท่านกลัวถูกรพ.เอกชนว่าเอาทำนองว่าทำไมไม่ให้ผมผ่าตัดที่รพ.... ไปพบคุณหมอแต่ละครั้ง พบกันประมาณ 1 นาที คุณหมอไม่ได้ตรวจหรือซักถามอะไรเลยได้แต่ดูค่า INR แล้วก็ปรับยาตามค่า INR ซึ่งบางครั้งผมก็รู้สึกว่าคุณหมอปรับมากไป แล้วมันก็มากไปจริงๆคือผมมีอาการมีปื้นสีม่วงตามผิวหนัง ก็ต้องรออีกสองเดือนจึงจะได้พบหมออีก จึงได้พบว่ายามากเกินไป ท่านก็ปรับซึ่งผมก็รู้สึกว่าท่านปรับน้อยเกินไป แล้วมันก็น้อยเกินไปจริงๆ ผมอยากปรึกษาหมอสันต์ว่าเป็นไปได้ไหมที่ผมจะปรับขนาดยา Warfarin เอง ผมสามารถซื้อเครื่องตรวจเองได้ ถ้าผมทำอย่างนั้นจะมีผลเสียอะไรมากไหม ............................................... ตอบครับ      ก่อนตอบคำถามของคุณ ขอนิยามศัพท์ให้ท่านผู้อ่านท่...

สวัสดีปีใหม่ 2016 ครับ

     ก่อนอื่นก็ขออโหสิกรรมกับเรื่องราวในปีเก่ากับท่านผู้อ่านก่อนนะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำถามที่กองค้างพะเนินเทินทึกไว้โดยที่ผมไม่สามารถตอบให้ได้ทัน และผมได้ “โละ” ทิ้งไปเสียทั้งหมดแล้วพร้อมกับปีเก่า ผมทำอย่างนี้ทุกปี เพราะถ้าไม่ทำอย่างนี้ ผมก็คงจะถูกยมพบาลโละด้วยข้อหาไม่เจียมบอดี้ ส่วนใหญ่จดหมายที่โละเป็นประเด็นที่ผมเคยตอบไว้แล้ว ขอให้ท่านที่เขียนมาในปีเก่าแล้วผมยังไม่ตอบไปหาอ่านคำตอบเก่าๆที่คนอื่นเขาเคยถามกันมาแล้วเอาก็แล้วกันนะครับ ถึงจะหายากนิดหน่อยแต่ถ้าอาศัยอากู๋ (google) ช่วยก็พอค้นหาได้ เพราะผมเองบางครั้งจะหาอะไรที่ตัวเองเขียนไว้ก็หาไม่เจอ ต้องอาศัยอากู๋พิมพ์คำว่า drsant แล้วก็ใส่คำที่จะค้นหาตามเข้าไป ก็มักจะเจอทุกที      แล้วอีกอย่างหนึ่ง ผมขอถือโอกาสนี้ทบทวนพันธกิจซะเลยว่าบล็อกหมอสันต์นี้ไม่ได้เปิดมาเพื่อรักษาคนไข้ทางไปรษณีย์นะครับ แต่เปิดมาเพื่อให้ความรู้ให้ท่านผู้อ่านสามารถดูแลตัวเองได้ด้วยตัวเอง จดหมายเป็นเพียงสื่อการสอน ท่านที่เขียนจดหมายมามีศักดิ์เป็นครูคือผู้ให้เชียวนะ ดังนั้นถ้าไม่ได้รับคำตอบก็ไม่เป็นไรนะครับ เพราะได้ให้ไปแล้ว ได้บุญไปเรียบร้...