ปวดคอ
หนูมีอาการปวดต้นคอมานานแล้วไม่ทราบสาเหตุว่าเกิดจากอะไรบ้างค่ะตอนนี้หมอนที่ใช้รองคอตอนนี้ต้องใช้เป็นหมอนข้างแทนเนื่องจากให้หมอนกดตรงต้นคอไว้มิเช่นนั้นตื่นเช้ามาจะปวดคอมากๆค่ะ หรือบางทีนั่งทำงานมากๆก็จะปวดคอจนต้องกินยาแก้ปวดถ้าเกิดไม่กินยาแก้ปวดซักพักก็จะลามไปถึงหัวจนกลายเป็นคนปวดหัวไปเลยจนในที่สุดก็ต้องกินยาอยู่ดี จนพี่สาวหนูล้อเลียนว่าสงสัยผีมาขี่คอเหมือนในหนังหรือเปล่าว 555+ (ขำๆนะค่ะ ) หนูจึงอยากปรึกษาค่ะว่าควรจะแก้ไขอย่างไรได้บ้าง...
.........................
ตอบครับ
กระดูกสันหลัง ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของคอ หลัง และเอว เป็นอวัยวะที่ธรรมชาติออกแบบมาให้อยู่ในท่านอน หมายความว่าตั้งแต่สมัยก่อนที่บรรพบุรุษของเรายังร่วมกับลิง ยังคลานสี่ขาอยู่ พอเรามาใช้ชีวิตในท่าตั้งขึ้น คือใช้แค่สองขา ทำให้เป็นการยากที่จะปรับดุลให้กล้ามเนื้อที่ทำงานดึงรั้งกระดูกสันหลังในทิศทางต่างๆทำงานเฉลี่ยๆกันไปโดยไม่ไปหนักที่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง อาการปวด ไม่ว่าจะเป็นปวดคอ ปวดหลัง ปวดเอว จึงกลายเป็นธรรมชาติคู่กับมนุษย์ จนกว่าเราจะกลับไปคลานสี่ขาใหม่ (พูดเล่น)
อาการปวดคอหรือหลังหรือเอง ล้วนแบ่งออกตามระดับความรุนแรงได้ สามระดับคือ
(1) ปวดกล้ามเนื้อและเอ็น (myofascial pain) คือปวดเมื่อย เคล็ด ขัด ยอก ตึง
(2) ปวดแล้วเสียวแปล๊บร้าวไปที่อื่น (radiculopathy) ซึ่งมักเกิดจากโคนเส้นประสาทถูกกดหรืออักเสบ
(3) อาการกดทับแกนประสาทสันหลัง (myelopathy) เป็นมากกว่าอาการปวดธรรมดา เช่นกลั้นปัสสาวะ อุจจาระไม่อยู่ ชารอบรูทวารหนัก หรือชาหรือกล้ามเนื้ออ่อนแรงเป็นบริเวณ
ในกรณีของคุณนี้เป็นการปวดกล้ามเนื้อและเอ็น (myofascial pain) เรียกว่าเป็นขั้นเบาสุด สาเหตุมีได้หลายอย่าง ตั้งแต่
1. กล้ามเนื้อต้องหดหรือเกร็งมากหรือนานเกินไป เช่น ตกหมอน นั่งทำงานหรือนอนหลับในท่าที่คอเอียง หรือก้ม หรือเงย นานเกินไป หรือแค่เหลียวมองหลังตอนถอยรถแค่นี้ก็ปวดคอไปเป็นเดือนได้แล้ว
2. การบาดเจ็บ โดยที่เรารู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็แล้วแต่ เช่น กระแทก หรือแม้แต่หมอนวดดึงคอบิดเสียงดังกร๊อก กล้ามเนื้อก็มีสิทธิ์โดนยืดจนบาดเจ็บได้
3. ป.ส.ด. หมายถึงความเครียด ทำให้ปวดกล้ามเนื้อได้ บางทีเป็นการปวดศีรษะเพราะกล้ามเนื้อตึง (tension headache) ก็ปวดลามลงมาถึงคอได้
วิธีจัดการเรื่องปวดคอของคุณมีหลักดังนี้
1. การจัดการท่าร่างตอนนอนหลับ หมอนที่ชาวบ้านหนุนกันทั่วไปนั้น ไม่ดี ไม่รู้ใครคิดขึ้นมา คือมันไปหนุนเอาที่โหนกหลังของกะโหลกศีรษะ (occiput) ซึ่งทำให้คออยู่ในท่าก้มตลอดเวลา ทำให้กล้ามเนื้อคอส่วนข้างและส่วนหน้าต้องเกร็งตัว ทำให้ปวดคอได้ เอาขอนไม้มาหนุนที่ด้านหลังของลำคอแทนยังจะดีเสียกว่า ในกรณีที่คุณนอนหมอนธรรมดา ควรนอนในท่าตะแตง อย่านอนหงาย คอจะอยู่ในท่าเป็นธรรมชาติมากกว่า ถ้าพิถีพิถันมากให้ไปหาซื้อหมอนกายภาพบำบัด (orthopedic pillow) ซึ่งมีรูปร่างเป็นหลุมให้โหนกหลังของกระโหลกศีรษะจมลงไป และมีบ่ารับน้ำหนักที่ไหล่และคอไว้ แบบนั้นนอนหงายได้ไม่ปวด หรือไม่ก็ไปหาหมอนกลมๆเล็กๆมาหนุนตรงใต้คอแทนแล้วให้หัววางบนพื้นฟูก หรือไม่ก็ไม่ต้องใช้หมอนใดๆเลย นอนไปบนพื้นฟูกเรียบๆนะแหละ ก็ยังดีกว่าเอาหมอนมาหนุนตรงโหนกหลังของกะโหลกศีรษะ
2. การจัดท่าตอนทำงาน โดยเฉพาะการทำงานกับคอมพิวเตอร์ ต้องไม่ก้ม แนวโนมคือคนมักใช้ laptop ซึ่งถ้าจะให้พิมพ์สบายต้องวางคอมพิวเตอร์ไว้ต่ำ ก็ต้องก้มจึงจะมองเห็น ครั้นจะเอาขึ้นมาวางสูงให้มองตรงได้ไม่ต้องก้ม ก็ต้องยกแขนพิมพ์ เมื่อยไหล่และข้อมืออีก วิธีดีที่สุดคือจอกับแป้นพิมพ์ต้องแยกกันอยู่ จออยู่ต่ำให้พิมพ์ได้โดยไม่ต้องงอแขนมากกว่ามุมฉาก ให้จออยู่สูงโดยมองตรงได้ไม่ต้องก้ม รอบๆโต๊ะทำงานต้องวางของที่จะต้องหยิบจับไม่ให้ต้องก้ม หรือเอี้ยวคอมาก
3. การจัดท่าตอนขับรถ เบาะหลังที่มีที่หนุนโหนกศีรษะคนขับนั้น ออกแบบมาเพื่อป้องกันการบาดเจ็บจากศีรษะสะบัดกลับหลังเวลามีอุบัติเหตุ (whiplash injury) แต่เป็นต้นเหตุให้ปวดคอเวลาขับรถนานๆ เพราะคอต้องอยู่ในท่าก้มตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีขับรถในกรุงเทพที่ต้องคอยจี้ก้นคันข้างหน้าไว้ป้องกันไม่ให้เลนข้างๆแทรก วิธีแก้ไขคือต้องไปหาหมอนมามัดไว้ ให้หมอนนั้นรองรับส่วนหลังของคอได้พอดี ปรับเบาะให้เอนเล็กน้อย ตั้งเบาะให้ห่างพวงมาลัยพอเหยียดแขนได้สบายๆ เวลาขับรถก็เอนหลังพิงหมอน เหยียดแขน มองตรงไปไกลๆ อย่าตั้งอกตั้งใจก้มเอาหน้ามาจ่อพวงมาลัยเพ่งมองก้นรถคันหน้า แบบนั้นจะปวดคอแน่นอน
4. การออกกำลังกาย ไม่ว่าจะทำงาน หรือขับรถไปนานๆ ต้องมีการพักทำกายบริหารร่างกายส่วนต่างๆรวมทั้งคอและหลังด้วย การนั่งเพ่งจอคอมพิวเตอร์ครึ่งค่อนวันทำให้กล้ามเนื้อคอบางมัดต้องเกร็งอยู่นานเกินไป ทำให้ปวดหลังเรื้อรังได้
5. เจตคติ หมายถึงความเชื่อและพฤติกรรมก็สำคัญ งานวิจัยพบว่าพวกชอบคิดลบ พวกที่เชื่อว่าเมื่อมีอาการปวด แสดงว่ามีความเสียหายเกิดขึ้นแน่ๆ ปวดแล้วต้องรอให้หายปวดสิ้นเชิงก่อนถึงจะทำอะไรได้ ปวดแล้วก็ไม่พยายามทำอะไรเพราะกลัวปวดมากขึ้น ไม่ยอมออกกำลังกาย ปวดแล้วขอพักลูกเดียว แถมยังชอบหาหมอ ชอบกินยา ชอบทำกายภาพบำบัด ชอบหยุดงาน ชอบโวยวาย ปวดสลึงบอกว่าปวดบาท พวกนี้มักจบลงด้วยการเป็นโรคปวดคอปวดหลังเรื้อรังไม่รู้จบรู้สิ้น
6. การใช้ยา ควรใช้เมื่อจำเป็นจริงๆ ใช้แต่น้อย ใช้สั้นๆแล้วหยุดอย่าใช้ติดต่อกันนานๆ โดยยายอดนิยมที่ควรเริ่มใช้ก่อนเสมอคือยาพาราเซ็ตตามอล หรือยาแอสไพรินก็ได้ อย่าริใช้ยาแก้ปวดแก้อักเสบในกลุ่ม NSAID เพราะจะทำให้ตับและไตพังไม่ทันรู้ตัว
7. การทำกายภาพบำบัด อันนี้ต้องระวังให้ดี บางอย่างทำให้หายช้าลง หมายความว่าอยู่เฉยๆไม่ทำดีกว่า เช่น การใส่ Plaster jacket หรือ lumbar support หรือปลอกคอ (collar) นี่ไม่นับการเข้าเฝือกพวกกระดูกหักนะ บางอย่างไม่ทำให้แย่ลงแต่ก็ไม่ได้ทำให้ดีขึ้น นอกจากเสียเงินเสียเวลา เช่น การกระตุ้นไฟฟ้า (transcutaneous electrical nerve stimulation หรือ TENS) การดึงคอ การใช้อุลตร้าซาวด์ ใช้ชอร์ตเวฟ ใช้เลเซอร์ ส่วนวิธีทำกายภาพบำบัดที่มีหลักฐานว่าช่วยบรรเทาอาการได้จริงๆมีแต่การออกกำลังกายให้มีการขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวให้มากขึ้น การขยับข้อ จัดกระดูก บีบนวด หรือการทำกายภาพบำบัดแบบองค์รวมที่ใช้หลายองค์ประกอบร่วมกันเท่านั้น
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. The Clinical Efficacy Assessment Subcommittee of the American College of Physicians and the American College of Physicians/American Pain Society Low Back Pain Guidelines Panel. Diagnosis and Treatment of Low Back Pain: A Joint Clinical Practice Guideline from the American College of Physicians and the American Pain Society. Annals of Internal Medicine 2007: 147(7): 478-491
.........................
ตอบครับ
กระดูกสันหลัง ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของคอ หลัง และเอว เป็นอวัยวะที่ธรรมชาติออกแบบมาให้อยู่ในท่านอน หมายความว่าตั้งแต่สมัยก่อนที่บรรพบุรุษของเรายังร่วมกับลิง ยังคลานสี่ขาอยู่ พอเรามาใช้ชีวิตในท่าตั้งขึ้น คือใช้แค่สองขา ทำให้เป็นการยากที่จะปรับดุลให้กล้ามเนื้อที่ทำงานดึงรั้งกระดูกสันหลังในทิศทางต่างๆทำงานเฉลี่ยๆกันไปโดยไม่ไปหนักที่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง อาการปวด ไม่ว่าจะเป็นปวดคอ ปวดหลัง ปวดเอว จึงกลายเป็นธรรมชาติคู่กับมนุษย์ จนกว่าเราจะกลับไปคลานสี่ขาใหม่ (พูดเล่น)
อาการปวดคอหรือหลังหรือเอง ล้วนแบ่งออกตามระดับความรุนแรงได้ สามระดับคือ
(1) ปวดกล้ามเนื้อและเอ็น (myofascial pain) คือปวดเมื่อย เคล็ด ขัด ยอก ตึง
(2) ปวดแล้วเสียวแปล๊บร้าวไปที่อื่น (radiculopathy) ซึ่งมักเกิดจากโคนเส้นประสาทถูกกดหรืออักเสบ
(3) อาการกดทับแกนประสาทสันหลัง (myelopathy) เป็นมากกว่าอาการปวดธรรมดา เช่นกลั้นปัสสาวะ อุจจาระไม่อยู่ ชารอบรูทวารหนัก หรือชาหรือกล้ามเนื้ออ่อนแรงเป็นบริเวณ
ในกรณีของคุณนี้เป็นการปวดกล้ามเนื้อและเอ็น (myofascial pain) เรียกว่าเป็นขั้นเบาสุด สาเหตุมีได้หลายอย่าง ตั้งแต่
1. กล้ามเนื้อต้องหดหรือเกร็งมากหรือนานเกินไป เช่น ตกหมอน นั่งทำงานหรือนอนหลับในท่าที่คอเอียง หรือก้ม หรือเงย นานเกินไป หรือแค่เหลียวมองหลังตอนถอยรถแค่นี้ก็ปวดคอไปเป็นเดือนได้แล้ว
2. การบาดเจ็บ โดยที่เรารู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็แล้วแต่ เช่น กระแทก หรือแม้แต่หมอนวดดึงคอบิดเสียงดังกร๊อก กล้ามเนื้อก็มีสิทธิ์โดนยืดจนบาดเจ็บได้
3. ป.ส.ด. หมายถึงความเครียด ทำให้ปวดกล้ามเนื้อได้ บางทีเป็นการปวดศีรษะเพราะกล้ามเนื้อตึง (tension headache) ก็ปวดลามลงมาถึงคอได้
วิธีจัดการเรื่องปวดคอของคุณมีหลักดังนี้
1. การจัดการท่าร่างตอนนอนหลับ หมอนที่ชาวบ้านหนุนกันทั่วไปนั้น ไม่ดี ไม่รู้ใครคิดขึ้นมา คือมันไปหนุนเอาที่โหนกหลังของกะโหลกศีรษะ (occiput) ซึ่งทำให้คออยู่ในท่าก้มตลอดเวลา ทำให้กล้ามเนื้อคอส่วนข้างและส่วนหน้าต้องเกร็งตัว ทำให้ปวดคอได้ เอาขอนไม้มาหนุนที่ด้านหลังของลำคอแทนยังจะดีเสียกว่า ในกรณีที่คุณนอนหมอนธรรมดา ควรนอนในท่าตะแตง อย่านอนหงาย คอจะอยู่ในท่าเป็นธรรมชาติมากกว่า ถ้าพิถีพิถันมากให้ไปหาซื้อหมอนกายภาพบำบัด (orthopedic pillow) ซึ่งมีรูปร่างเป็นหลุมให้โหนกหลังของกระโหลกศีรษะจมลงไป และมีบ่ารับน้ำหนักที่ไหล่และคอไว้ แบบนั้นนอนหงายได้ไม่ปวด หรือไม่ก็ไปหาหมอนกลมๆเล็กๆมาหนุนตรงใต้คอแทนแล้วให้หัววางบนพื้นฟูก หรือไม่ก็ไม่ต้องใช้หมอนใดๆเลย นอนไปบนพื้นฟูกเรียบๆนะแหละ ก็ยังดีกว่าเอาหมอนมาหนุนตรงโหนกหลังของกะโหลกศีรษะ
2. การจัดท่าตอนทำงาน โดยเฉพาะการทำงานกับคอมพิวเตอร์ ต้องไม่ก้ม แนวโนมคือคนมักใช้ laptop ซึ่งถ้าจะให้พิมพ์สบายต้องวางคอมพิวเตอร์ไว้ต่ำ ก็ต้องก้มจึงจะมองเห็น ครั้นจะเอาขึ้นมาวางสูงให้มองตรงได้ไม่ต้องก้ม ก็ต้องยกแขนพิมพ์ เมื่อยไหล่และข้อมืออีก วิธีดีที่สุดคือจอกับแป้นพิมพ์ต้องแยกกันอยู่ จออยู่ต่ำให้พิมพ์ได้โดยไม่ต้องงอแขนมากกว่ามุมฉาก ให้จออยู่สูงโดยมองตรงได้ไม่ต้องก้ม รอบๆโต๊ะทำงานต้องวางของที่จะต้องหยิบจับไม่ให้ต้องก้ม หรือเอี้ยวคอมาก
3. การจัดท่าตอนขับรถ เบาะหลังที่มีที่หนุนโหนกศีรษะคนขับนั้น ออกแบบมาเพื่อป้องกันการบาดเจ็บจากศีรษะสะบัดกลับหลังเวลามีอุบัติเหตุ (whiplash injury) แต่เป็นต้นเหตุให้ปวดคอเวลาขับรถนานๆ เพราะคอต้องอยู่ในท่าก้มตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีขับรถในกรุงเทพที่ต้องคอยจี้ก้นคันข้างหน้าไว้ป้องกันไม่ให้เลนข้างๆแทรก วิธีแก้ไขคือต้องไปหาหมอนมามัดไว้ ให้หมอนนั้นรองรับส่วนหลังของคอได้พอดี ปรับเบาะให้เอนเล็กน้อย ตั้งเบาะให้ห่างพวงมาลัยพอเหยียดแขนได้สบายๆ เวลาขับรถก็เอนหลังพิงหมอน เหยียดแขน มองตรงไปไกลๆ อย่าตั้งอกตั้งใจก้มเอาหน้ามาจ่อพวงมาลัยเพ่งมองก้นรถคันหน้า แบบนั้นจะปวดคอแน่นอน
4. การออกกำลังกาย ไม่ว่าจะทำงาน หรือขับรถไปนานๆ ต้องมีการพักทำกายบริหารร่างกายส่วนต่างๆรวมทั้งคอและหลังด้วย การนั่งเพ่งจอคอมพิวเตอร์ครึ่งค่อนวันทำให้กล้ามเนื้อคอบางมัดต้องเกร็งอยู่นานเกินไป ทำให้ปวดหลังเรื้อรังได้
5. เจตคติ หมายถึงความเชื่อและพฤติกรรมก็สำคัญ งานวิจัยพบว่าพวกชอบคิดลบ พวกที่เชื่อว่าเมื่อมีอาการปวด แสดงว่ามีความเสียหายเกิดขึ้นแน่ๆ ปวดแล้วต้องรอให้หายปวดสิ้นเชิงก่อนถึงจะทำอะไรได้ ปวดแล้วก็ไม่พยายามทำอะไรเพราะกลัวปวดมากขึ้น ไม่ยอมออกกำลังกาย ปวดแล้วขอพักลูกเดียว แถมยังชอบหาหมอ ชอบกินยา ชอบทำกายภาพบำบัด ชอบหยุดงาน ชอบโวยวาย ปวดสลึงบอกว่าปวดบาท พวกนี้มักจบลงด้วยการเป็นโรคปวดคอปวดหลังเรื้อรังไม่รู้จบรู้สิ้น
6. การใช้ยา ควรใช้เมื่อจำเป็นจริงๆ ใช้แต่น้อย ใช้สั้นๆแล้วหยุดอย่าใช้ติดต่อกันนานๆ โดยยายอดนิยมที่ควรเริ่มใช้ก่อนเสมอคือยาพาราเซ็ตตามอล หรือยาแอสไพรินก็ได้ อย่าริใช้ยาแก้ปวดแก้อักเสบในกลุ่ม NSAID เพราะจะทำให้ตับและไตพังไม่ทันรู้ตัว
7. การทำกายภาพบำบัด อันนี้ต้องระวังให้ดี บางอย่างทำให้หายช้าลง หมายความว่าอยู่เฉยๆไม่ทำดีกว่า เช่น การใส่ Plaster jacket หรือ lumbar support หรือปลอกคอ (collar) นี่ไม่นับการเข้าเฝือกพวกกระดูกหักนะ บางอย่างไม่ทำให้แย่ลงแต่ก็ไม่ได้ทำให้ดีขึ้น นอกจากเสียเงินเสียเวลา เช่น การกระตุ้นไฟฟ้า (transcutaneous electrical nerve stimulation หรือ TENS) การดึงคอ การใช้อุลตร้าซาวด์ ใช้ชอร์ตเวฟ ใช้เลเซอร์ ส่วนวิธีทำกายภาพบำบัดที่มีหลักฐานว่าช่วยบรรเทาอาการได้จริงๆมีแต่การออกกำลังกายให้มีการขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวให้มากขึ้น การขยับข้อ จัดกระดูก บีบนวด หรือการทำกายภาพบำบัดแบบองค์รวมที่ใช้หลายองค์ประกอบร่วมกันเท่านั้น
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. The Clinical Efficacy Assessment Subcommittee of the American College of Physicians and the American College of Physicians/American Pain Society Low Back Pain Guidelines Panel. Diagnosis and Treatment of Low Back Pain: A Joint Clinical Practice Guideline from the American College of Physicians and the American Pain Society. Annals of Internal Medicine 2007: 147(7): 478-491