ผ้าอนามัยแบบสอด (tampon) เสี่ยงต่อการติดเชื้อจริงไหม
ผ้าอนามัยแบบสอดใส่หรือแทมปอน (tampon) ที่มีขายในตลาดสมัยปัจจุบันนี้ สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย และมีอุบัติการติดเชื้อต่ำมากจนอยู่ในระดับยอมรับกันได้ ทั้งนี้มีข้อแม้ว่าต้องปฏิบัติตามคำแนะนำข้างกล่องเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็น
1. เวลาจะสอดแทมปอน ล้างมือให้สะอาดเสียก่อน จับส่วนเนื้อของแทมปอนให้น้อยที่สุด เพราะความสกปรกอาจจะอยู่ที่มือแล้วติดแทมปอนเข้าไป
2. ถ้าเป็นสาวแรกรุ่นที่ยังไม่เคยใช้แทมปอน อย่าใช้ชนิดมีกลิ่นหอม เพราะอาจแพ้สารเคมีที่ใช้ทำกลิ่น
3. อย่าใส่แทมปอนตัวเดียวนานเกิน 6 - 8 ชม. เพราะความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาที่สอดคาไว้
4. เลือกแทมปอนที่มีพลังดูดซับต่ำสุดเท่าที่จำเป็น เพราะยิ่งแทมปอนมีพลังดูดซับสูง ยิ่งมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อมาก ไม่ว่ากรณีใดๆ อย่าใช้แทมปอนที่มีพลังดูดซับเกิน 15 เท่า
5. หลีกเลี่ยงการใช้แทมปอนหลายตัวติดต่อกันแบบวิ่งผลัดมาราธอน ควรเปลี่ยนใช้ผ้าอนามัยแบบธรรมดาสลับบ้าง โดยเฉพาะกลางคืนตอนนอนหลับ เพราะไม่ต้องไปกระโดดโลดเต้นหรือโชว์อะไร
6. ควรหลีกเลี่ยงการใช้แทมปอนในระยะหลัง 12 สัปดาห์แรกหลังตั้งครรภ์ซึ่งเป็นระยะติดเชื้อง่าย
7. ถ้าประจำเดือนมีสีหรือกลิ่นผิดปกติ อย่าใช้แทมปอน เพราะอาจมีการติดเชื้อเกิดขึ้นแล้ว
8. ในระหว่างใช้แทมปอน หากมีไข้สูงทันทีทันใดต้องรีบไปหาหมอทันที แล้วบอกหมอด้วยว่าใช้แทมปอนอยู่
ความกลัวแทมปอนมาจากอดีตอันไกลโพ้น คือเมื่อปี ค.ศ. 1980 หรือยี่สิบกว่าปีมาแล้ว ตอนนั้นมีการผลิตแทมปอนแบบพลังดูดซับสูงออกมาใหม่ๆแล้วมีหญิงสาวๆใช้แล้วมีไข้สูงทันทีทันใดเป็นจำนวนหลายร้อยคน และมีหลายสิบคนเสียชีวิต การสอบสวนโรคพบว่าการป่วยนั้นเกิดจากพิษของเชื้อบักเตรีชื่อสะแตฟฟิโลคอคคัส และเรียกชื่อโรคนั้นว่า toxic shock syndrome และพบว่าการติดเชื้อเกิดขึ้นในช่องคลอดขณะใส่แทมปอนที่มีพลังดูดซับสูงและใส่ไว้นานเกิน 12 ชั่วโมงขึ้นไป บริษัทผู้ผลิตแทมปอนได้ถอนสินค้าออกไปจากตลาด เปลี่ยนวัสดุ ลดพลังดูดซับ และสอนผู้ใช้ให้รู้จักใช้อย่างถูกวิธี อุบัติการณ์ของ toxic shock syndrome ในหญิงมีประจำเดือนก็ลดลงจนเหลือต่ำกว่าหนึ่งต่อแสนในอเมริกาในปัจจุบัน
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. CDC. Toxic-shock syndrome--United States. MMWR 1980;29:229-30.
2. Schlech WF, Shands KN, Reingold AL, et al. Risk factors for development of toxic shock syndrome: association with a tampon brand. JAMA 1982;248:835-9.
3. Berkley SF, Hightower AW, Broome CV, Reingold AL. The relationship of tampon characteristics to menstrual toxic shock syndrome. JAMA 1987;258:917-20.
4. Gaventa S, Reingold AL, Hightower AW, et al. Active surveillance for toxic shock syndrome in the United States, 1986. Rev Infect Dis 1989;2(suppl S1):S35-42.
1. เวลาจะสอดแทมปอน ล้างมือให้สะอาดเสียก่อน จับส่วนเนื้อของแทมปอนให้น้อยที่สุด เพราะความสกปรกอาจจะอยู่ที่มือแล้วติดแทมปอนเข้าไป
2. ถ้าเป็นสาวแรกรุ่นที่ยังไม่เคยใช้แทมปอน อย่าใช้ชนิดมีกลิ่นหอม เพราะอาจแพ้สารเคมีที่ใช้ทำกลิ่น
3. อย่าใส่แทมปอนตัวเดียวนานเกิน 6 - 8 ชม. เพราะความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาที่สอดคาไว้
4. เลือกแทมปอนที่มีพลังดูดซับต่ำสุดเท่าที่จำเป็น เพราะยิ่งแทมปอนมีพลังดูดซับสูง ยิ่งมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อมาก ไม่ว่ากรณีใดๆ อย่าใช้แทมปอนที่มีพลังดูดซับเกิน 15 เท่า
5. หลีกเลี่ยงการใช้แทมปอนหลายตัวติดต่อกันแบบวิ่งผลัดมาราธอน ควรเปลี่ยนใช้ผ้าอนามัยแบบธรรมดาสลับบ้าง โดยเฉพาะกลางคืนตอนนอนหลับ เพราะไม่ต้องไปกระโดดโลดเต้นหรือโชว์อะไร
6. ควรหลีกเลี่ยงการใช้แทมปอนในระยะหลัง 12 สัปดาห์แรกหลังตั้งครรภ์ซึ่งเป็นระยะติดเชื้อง่าย
7. ถ้าประจำเดือนมีสีหรือกลิ่นผิดปกติ อย่าใช้แทมปอน เพราะอาจมีการติดเชื้อเกิดขึ้นแล้ว
8. ในระหว่างใช้แทมปอน หากมีไข้สูงทันทีทันใดต้องรีบไปหาหมอทันที แล้วบอกหมอด้วยว่าใช้แทมปอนอยู่
ความกลัวแทมปอนมาจากอดีตอันไกลโพ้น คือเมื่อปี ค.ศ. 1980 หรือยี่สิบกว่าปีมาแล้ว ตอนนั้นมีการผลิตแทมปอนแบบพลังดูดซับสูงออกมาใหม่ๆแล้วมีหญิงสาวๆใช้แล้วมีไข้สูงทันทีทันใดเป็นจำนวนหลายร้อยคน และมีหลายสิบคนเสียชีวิต การสอบสวนโรคพบว่าการป่วยนั้นเกิดจากพิษของเชื้อบักเตรีชื่อสะแตฟฟิโลคอคคัส และเรียกชื่อโรคนั้นว่า toxic shock syndrome และพบว่าการติดเชื้อเกิดขึ้นในช่องคลอดขณะใส่แทมปอนที่มีพลังดูดซับสูงและใส่ไว้นานเกิน 12 ชั่วโมงขึ้นไป บริษัทผู้ผลิตแทมปอนได้ถอนสินค้าออกไปจากตลาด เปลี่ยนวัสดุ ลดพลังดูดซับ และสอนผู้ใช้ให้รู้จักใช้อย่างถูกวิธี อุบัติการณ์ของ toxic shock syndrome ในหญิงมีประจำเดือนก็ลดลงจนเหลือต่ำกว่าหนึ่งต่อแสนในอเมริกาในปัจจุบัน
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. CDC. Toxic-shock syndrome--United States. MMWR 1980;29:229-30.
2. Schlech WF, Shands KN, Reingold AL, et al. Risk factors for development of toxic shock syndrome: association with a tampon brand. JAMA 1982;248:835-9.
3. Berkley SF, Hightower AW, Broome CV, Reingold AL. The relationship of tampon characteristics to menstrual toxic shock syndrome. JAMA 1987;258:917-20.
4. Gaventa S, Reingold AL, Hightower AW, et al. Active surveillance for toxic shock syndrome in the United States, 1986. Rev Infect Dis 1989;2(suppl S1):S35-42.