อาการของเบาหวาน
เนื่องจากหนูเป็นคนที่มีรูปร่างอ้วนท้วนพอสมควรคะและยายหนูก็เป็นโรคเบาหวานด้วย หนูควรจะต้องสังเกตุอาการตัวเองอย่างไรบ้างค่ะถึงจะเรียกว่าเข้าข่ายของอาการโรคเบาหวาน เนื่องจากที่บ้านไม่ได้มีฐานะดีเท่าไหร่จึงอยากจะขอสังเกตุอาการเพื่อให้แน่ใจก่อนว่าเกิดความผิดปกติจากร่างกายแล้วคะรบกวนคุณหมอช่วยแนะนำด้วยนะค่ะ
ตุ้ยนุ้ย
......................................
ตอบครับ
อาการที่พบบ่อยในผู้เป็นเบาหวาน มีทั้งส่วนที่เป็นผลจากภาวะน้ำตาลสูงโดยตรง และส่วนที่เป็นอาการเนื่องมาจากโรคแทรกซ้อน คือ
1.. ปัสสาวะบ่อยและมาก / ปัสสาวะกลางคืน คนปกติมักจะไม่ตื่นขึ้นมาปัสสาวะกลางดึก หรือหากจะตื่นขึ้นมาปัสสาวะกลางคืนก็มักไม่เกินคืนละ 1 ครั้ง แต่ในผู้เป็นเบาหวาน เมื่อระดับน้ำตาลสูงมาก จะมีน้ำตาลออกมากับปัสสาวะซึ่งจะดึงน้ำตามออกมาด้วย ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำ มีปริมาณปัสสาวะมาก ต้องตื่นขึ้นมาปัสสาวะกลางดึกบ่อย ๆ
2.. คอแห้ง กระหายน้ำ ดื่มน้ำมาก เป็นผลจากการที่ร่างกายสูญเสียน้ำมากทางปัสสาวะ ทำให้ร่างกายขาดน้ำ เกิดการกระหายน้ำตามมา
3.. หิวบ่อย รับประทานจุ แต่น้ำหนักลด อ่อนเพลีย ความหิวเกิดจากร่างกายเอาน้ำตาลกลูโคสไปใช้เป็นพลังงานได้ไม่พอเพียง ส่วนอาการน้ำหนักลด เกิดจากมีการสลายเอาโปรตีนในเซลล์กล้ามเนื้อและไขมันในเซลล์ไขมันมาเผาผลาญเป็นพลังงานแทนน้ำตาล
4.. ถ้าเป็นแผลจะหายยาก มีการติดเชื้อตามผิวหนัง หรือเกิดฝีบ่อย การที่น้ำตาลในเลือดสูงทำให้ติดเชื้อง่าย และทำให้เม็ดเลือดขาวมีความสามารถในการกำจัดเชื้อโรคลดลง
5.. คันตามผิวหนัง มีการติดเชื้อราง่าย โดยเฉพาะบริเวณช่องคลอด ซอกพับ สาเหตุของอาการคันเกิดขึ้นได้หลายอย่าง เช่น ผิวหนังแห้งเกินไป หรือการอักเสบของผิวหนังจากเชื้อรา ซึ่งพบได้บ่อยในผู้เป็นเบาหวาน
6.. ตาพร่ามัว ซึ่งเกิดจากสาเหตุหลายประการ เช่น จากระดับน้ำตาลในเลือดสูงและน้ำตาลไปคั่งอยู่ในเลนส์ตา ทำให้จอตาผิดปกติ , หรือมีระดับน้ำตาลสูงมานานจนเกิดความผิดปกติของจอประสาทตา หรือตามัวจากต้อกระจก
7.. ชาปลายมือปลายเท้า เนื่องจากเมื่อน้ำตาลในเลือดสูงอยู่นาน จะทำให้เส้นประสาทเสื่อม การรับความรู้สึกไม่ดีดังเดิม เกิดแผลที่เท้าได้ง่าย เมื่อเกิดแผลขึ้นก็หายยาก แต่ติดเชื้อได้ง่าย
8.. หย่อนสมรรถภาพทางเพศ เนื่องจากเกิดความผิดปกติขึ้นกับเส้นประสาทอัตโนมัติ หรือเกิดจากหลอดเลือดตีบ
ที่สำคัญมากกว่าการรู้จักอาการของโรคเบาหวาน คือการป้องกันไม่ให้เป็น เพราะเบาหวานเป็นโรคที่ป้องกันได้ วิธีป้องกันไม่ให้เป็นเบาหวานมีดังนี้
1. ลดความอ้วน
2. ปรับโภชนาการ ซึ่งมีประเด็นสำคัญสองประเด็นคือ กินผักผลไม้ให้มากขึ้น และลดอาหารให้พลังงานลง คนส่วนใหญ่พอเป็นเบาหวานก็กลัวน้ำตาลอึขึ้นสมองเพราะน้ำตาลมันหวานมันคงทำให้เป็นเบาหวาน ทั้งๆที่ตัวทำให้เป็นเบาหวานคือพลังหรือแคลอรี่ส่วนเกิน น้ำตาลหนึ่งกรัมก็ให้พลังงานแค่ 4 แคลอรี่ไม่ต่างจากข้าวและขนมปัง ที่น่ากลัวกว่าคือไขมันซึ่งให้พลังงานต่อกรัมถึง 9 แคลอรี่ มากกว่าน้ำตาลถึงเท่าตัว คนไม่ยักกลัวกัน ดังนั้นคนเป็นเบาหวานต้องลดอาหารให้พลังงานทุกชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง..ไขมัน ที่แย่ยิ่งกว่านั้นคือคนเป็นเบาหวานบางคนไปจำกัดการทานผลไม้เพราะกลัวว่ามันหวาน เลยขาดส่วนของผักและผลไม้ซึ่งให้วิตามินและเกลือแร่ที่จำเป็นไปเสีย ดังนั้น ลดอาหารให้พลังงานเช่นไขมัน ข้าว แป้ง น้ำตาล แต่ยอมเถิดถ้ามันมากับผลไม้
3. ออกกำลังกาย หมายถึงการออกกำลังกายให้ถึงระดับมาตรฐาน คือออกกำลังกายแบบต่อเนื่องจนเหนื่อย (หอบร้องเพลงไม่ได้) ติดต่อกัน 30 นาที สัปดาห์ละ 5 ครั้ง ควบกับการ “เล่นกล้าม” หรือ strength training สัปดาห์ละ 2 ครั้ง นี่เป็นมาตรฐานขั้นต่ำ การเล่นกล้ามจำเป็นสำหรับการป้องกันและรักษาเบาหวานที่สุด จำเป็นมากกว่ายา เพราะการเล่นกล้ามทำให้มีกล้ามมาเผาผลาญพลังงานส่วนเกินในร่างกาย มีงานวิจัยมากมายที่พิสูจน์ว่าการเล่นกล้ามป้องกันและรักษาเบาหวานได้ดีกว่ายา
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
..............................
บรรณานุกรม
1. Wang J, Luben R, Khaw KT, et al. Dietary energy density predicts the risk of incident type 2 diabetes: the European Prospective Investigation of Cancer (EPIC)-Norfolk Study. Diabetes Care. Nov 2008;31(11):2120-5.
2. Dluhy RG, McMahon GT. Intensive glycemic control in the ACCORD and ADVANCE trials. N Engl J Med. Jun 12 2008;358(24):2630-3.
3. CDC. National Diabetes Fact Sheet, 2007. Centers for Disease Control and Prevention. Available at http://www.cdc.gov/diabetes/pubs/pdf/ndfs_2007.pdf. Accessed January 20, 2010.
ตุ้ยนุ้ย
......................................
ตอบครับ
อาการที่พบบ่อยในผู้เป็นเบาหวาน มีทั้งส่วนที่เป็นผลจากภาวะน้ำตาลสูงโดยตรง และส่วนที่เป็นอาการเนื่องมาจากโรคแทรกซ้อน คือ
1.. ปัสสาวะบ่อยและมาก / ปัสสาวะกลางคืน คนปกติมักจะไม่ตื่นขึ้นมาปัสสาวะกลางดึก หรือหากจะตื่นขึ้นมาปัสสาวะกลางคืนก็มักไม่เกินคืนละ 1 ครั้ง แต่ในผู้เป็นเบาหวาน เมื่อระดับน้ำตาลสูงมาก จะมีน้ำตาลออกมากับปัสสาวะซึ่งจะดึงน้ำตามออกมาด้วย ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำ มีปริมาณปัสสาวะมาก ต้องตื่นขึ้นมาปัสสาวะกลางดึกบ่อย ๆ
2.. คอแห้ง กระหายน้ำ ดื่มน้ำมาก เป็นผลจากการที่ร่างกายสูญเสียน้ำมากทางปัสสาวะ ทำให้ร่างกายขาดน้ำ เกิดการกระหายน้ำตามมา
3.. หิวบ่อย รับประทานจุ แต่น้ำหนักลด อ่อนเพลีย ความหิวเกิดจากร่างกายเอาน้ำตาลกลูโคสไปใช้เป็นพลังงานได้ไม่พอเพียง ส่วนอาการน้ำหนักลด เกิดจากมีการสลายเอาโปรตีนในเซลล์กล้ามเนื้อและไขมันในเซลล์ไขมันมาเผาผลาญเป็นพลังงานแทนน้ำตาล
4.. ถ้าเป็นแผลจะหายยาก มีการติดเชื้อตามผิวหนัง หรือเกิดฝีบ่อย การที่น้ำตาลในเลือดสูงทำให้ติดเชื้อง่าย และทำให้เม็ดเลือดขาวมีความสามารถในการกำจัดเชื้อโรคลดลง
5.. คันตามผิวหนัง มีการติดเชื้อราง่าย โดยเฉพาะบริเวณช่องคลอด ซอกพับ สาเหตุของอาการคันเกิดขึ้นได้หลายอย่าง เช่น ผิวหนังแห้งเกินไป หรือการอักเสบของผิวหนังจากเชื้อรา ซึ่งพบได้บ่อยในผู้เป็นเบาหวาน
6.. ตาพร่ามัว ซึ่งเกิดจากสาเหตุหลายประการ เช่น จากระดับน้ำตาลในเลือดสูงและน้ำตาลไปคั่งอยู่ในเลนส์ตา ทำให้จอตาผิดปกติ , หรือมีระดับน้ำตาลสูงมานานจนเกิดความผิดปกติของจอประสาทตา หรือตามัวจากต้อกระจก
7.. ชาปลายมือปลายเท้า เนื่องจากเมื่อน้ำตาลในเลือดสูงอยู่นาน จะทำให้เส้นประสาทเสื่อม การรับความรู้สึกไม่ดีดังเดิม เกิดแผลที่เท้าได้ง่าย เมื่อเกิดแผลขึ้นก็หายยาก แต่ติดเชื้อได้ง่าย
8.. หย่อนสมรรถภาพทางเพศ เนื่องจากเกิดความผิดปกติขึ้นกับเส้นประสาทอัตโนมัติ หรือเกิดจากหลอดเลือดตีบ
ที่สำคัญมากกว่าการรู้จักอาการของโรคเบาหวาน คือการป้องกันไม่ให้เป็น เพราะเบาหวานเป็นโรคที่ป้องกันได้ วิธีป้องกันไม่ให้เป็นเบาหวานมีดังนี้
1. ลดความอ้วน
2. ปรับโภชนาการ ซึ่งมีประเด็นสำคัญสองประเด็นคือ กินผักผลไม้ให้มากขึ้น และลดอาหารให้พลังงานลง คนส่วนใหญ่พอเป็นเบาหวานก็กลัวน้ำตาลอึขึ้นสมองเพราะน้ำตาลมันหวานมันคงทำให้เป็นเบาหวาน ทั้งๆที่ตัวทำให้เป็นเบาหวานคือพลังหรือแคลอรี่ส่วนเกิน น้ำตาลหนึ่งกรัมก็ให้พลังงานแค่ 4 แคลอรี่ไม่ต่างจากข้าวและขนมปัง ที่น่ากลัวกว่าคือไขมันซึ่งให้พลังงานต่อกรัมถึง 9 แคลอรี่ มากกว่าน้ำตาลถึงเท่าตัว คนไม่ยักกลัวกัน ดังนั้นคนเป็นเบาหวานต้องลดอาหารให้พลังงานทุกชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง..ไขมัน ที่แย่ยิ่งกว่านั้นคือคนเป็นเบาหวานบางคนไปจำกัดการทานผลไม้เพราะกลัวว่ามันหวาน เลยขาดส่วนของผักและผลไม้ซึ่งให้วิตามินและเกลือแร่ที่จำเป็นไปเสีย ดังนั้น ลดอาหารให้พลังงานเช่นไขมัน ข้าว แป้ง น้ำตาล แต่ยอมเถิดถ้ามันมากับผลไม้
3. ออกกำลังกาย หมายถึงการออกกำลังกายให้ถึงระดับมาตรฐาน คือออกกำลังกายแบบต่อเนื่องจนเหนื่อย (หอบร้องเพลงไม่ได้) ติดต่อกัน 30 นาที สัปดาห์ละ 5 ครั้ง ควบกับการ “เล่นกล้าม” หรือ strength training สัปดาห์ละ 2 ครั้ง นี่เป็นมาตรฐานขั้นต่ำ การเล่นกล้ามจำเป็นสำหรับการป้องกันและรักษาเบาหวานที่สุด จำเป็นมากกว่ายา เพราะการเล่นกล้ามทำให้มีกล้ามมาเผาผลาญพลังงานส่วนเกินในร่างกาย มีงานวิจัยมากมายที่พิสูจน์ว่าการเล่นกล้ามป้องกันและรักษาเบาหวานได้ดีกว่ายา
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
..............................
บรรณานุกรม
1. Wang J, Luben R, Khaw KT, et al. Dietary energy density predicts the risk of incident type 2 diabetes: the European Prospective Investigation of Cancer (EPIC)-Norfolk Study. Diabetes Care. Nov 2008;31(11):2120-5.
2. Dluhy RG, McMahon GT. Intensive glycemic control in the ACCORD and ADVANCE trials. N Engl J Med. Jun 12 2008;358(24):2630-3.
3. CDC. National Diabetes Fact Sheet, 2007. Centers for Disease Control and Prevention. Available at http://www.cdc.gov/diabetes/pubs/pdf/ndfs_2007.pdf. Accessed January 20, 2010.