ความดันตกจากการเปลี่ยนท่าร่าง (orthostatic hypotension)
คือนู๋มีอาการขยับตัวเร็วแล้วใจสั่นกับ เวลาก้มหยิบของ บางที่ถ้าก้มเร็วจะใจสั่นบางที่ก็ไม่สั่น บางครั้งแถมเหมือนหน้ามืดไปวูบหนึ่งด้วยค่ะ อยากทราบว่าจะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจเปล่าคะ
เคยมีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะอยู่ครั้งนึงด้วยค่ะ แต่หมอก็ให้ยาคลายเคลียดค่ะ)
ตอบ
ไม่ได้เป็นโรคหัวใจครับ
โรคหัวใจชนิดมีความผิดปกติของการเต้นของหัวใจ ไม่มีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนท่าร่าง
แต่การเปลี่ยนท่าร่างที่ฝืนแรงโน้มถ่วง เช่นจากนั่งเป็นยืน จากก้มเป็นเงย ทำให้มีอาการใจสั่นเนื่องจากหัวใจเต้นเร็วขึ้นได้ เพราะเมื่อขยับในลักษณะดังกล่าวเร็วๆ แรงดันจากหัวใจจะไม่พอส่งเลือดไปเลี้ยงสมอง จนบางครั้งอาจมีอาการหน้ามืด ทำให้หัวใจปรับตัวโดยเต้นเร็วขึ้นและแรงขึ้น ทั้งหมดนี้เป็นการปรับตัวของระบบหัวใจหลอดเลือดตามปกติ เรียกภาวะเช่นนี้ว่าความดันตกจากการเปลี่ยนท่าร่าง (orthostatic hypotension)
การป้องกันไม่ให้ภาวะเช่นนี้เกิดขึ้นทำได้สี่อย่าง คือ
(1) เรียนรู้วิธีเคลื่อนไหวในแนวดิ่งแบบช้าๆไม่วูบวาบ
(2) ออกกำลังกายแบบต่อเนื่อง (aerobic) วันละไม่น้อยกว่า 30 นาทีทุกวัน เพราะคนที่เป็น orthostatic hypotension ส่วนใหญ่มีระบบไหลเวียนเลือดที่อ่อนแอและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้น้อย การออกกำลังกายแบบแอโรบิกจะทำให้ระบบแข็งแรงขึ้น
(3) ฝึกนิสัยดื่มน้ำมากเป็นอาจินต์ วันหนึ่งดื่มให้ได้ 2-3 ลิตร โดยตั้งน้ำไว้ทุกหนทุกแห่งที่หยิบดื่มได้ง่ายๆไม่ต้องรอไปเอาจากตู้เย็น คนที่หน้ามืดหรือใจสั่นเวลาเคลื่อนไหวร่างกายมักอยู่ในภาวะขาดน้ำ (dehydration) การดื่มน้ำมากนี้ยังมีผลดีต่อการทำงานของอวัยวะอื่นนอกจากหัวใจด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไต
(4) ในกรณีเป็นผู้หญิงวัยสาว อาการใจสั่นหน้ามืดมักมีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กร่วมอยู่ด้วย เพราะเหล็กจำนวนหนึ่งเสียไปพร้อมกับประจำเดือน ปัญหามักรุนแรงยิ่งขึ้นกรณีเป็นผู้รักษารูปทรงให้ผอมไว้ตลอด วิธีแก้คือต้องหมั่นรับประทานอาหารโปรตีน (เนื้อ นม ไข่) ให้พอเพียงที่ร่างกายจะนำไปสร้างเม็ดเลือดทดแทน
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
เคยมีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะอยู่ครั้งนึงด้วยค่ะ แต่หมอก็ให้ยาคลายเคลียดค่ะ)
ตอบ
ไม่ได้เป็นโรคหัวใจครับ
โรคหัวใจชนิดมีความผิดปกติของการเต้นของหัวใจ ไม่มีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนท่าร่าง
แต่การเปลี่ยนท่าร่างที่ฝืนแรงโน้มถ่วง เช่นจากนั่งเป็นยืน จากก้มเป็นเงย ทำให้มีอาการใจสั่นเนื่องจากหัวใจเต้นเร็วขึ้นได้ เพราะเมื่อขยับในลักษณะดังกล่าวเร็วๆ แรงดันจากหัวใจจะไม่พอส่งเลือดไปเลี้ยงสมอง จนบางครั้งอาจมีอาการหน้ามืด ทำให้หัวใจปรับตัวโดยเต้นเร็วขึ้นและแรงขึ้น ทั้งหมดนี้เป็นการปรับตัวของระบบหัวใจหลอดเลือดตามปกติ เรียกภาวะเช่นนี้ว่าความดันตกจากการเปลี่ยนท่าร่าง (orthostatic hypotension)
การป้องกันไม่ให้ภาวะเช่นนี้เกิดขึ้นทำได้สี่อย่าง คือ
(1) เรียนรู้วิธีเคลื่อนไหวในแนวดิ่งแบบช้าๆไม่วูบวาบ
(2) ออกกำลังกายแบบต่อเนื่อง (aerobic) วันละไม่น้อยกว่า 30 นาทีทุกวัน เพราะคนที่เป็น orthostatic hypotension ส่วนใหญ่มีระบบไหลเวียนเลือดที่อ่อนแอและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้น้อย การออกกำลังกายแบบแอโรบิกจะทำให้ระบบแข็งแรงขึ้น
(3) ฝึกนิสัยดื่มน้ำมากเป็นอาจินต์ วันหนึ่งดื่มให้ได้ 2-3 ลิตร โดยตั้งน้ำไว้ทุกหนทุกแห่งที่หยิบดื่มได้ง่ายๆไม่ต้องรอไปเอาจากตู้เย็น คนที่หน้ามืดหรือใจสั่นเวลาเคลื่อนไหวร่างกายมักอยู่ในภาวะขาดน้ำ (dehydration) การดื่มน้ำมากนี้ยังมีผลดีต่อการทำงานของอวัยวะอื่นนอกจากหัวใจด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไต
(4) ในกรณีเป็นผู้หญิงวัยสาว อาการใจสั่นหน้ามืดมักมีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กร่วมอยู่ด้วย เพราะเหล็กจำนวนหนึ่งเสียไปพร้อมกับประจำเดือน ปัญหามักรุนแรงยิ่งขึ้นกรณีเป็นผู้รักษารูปทรงให้ผอมไว้ตลอด วิธีแก้คือต้องหมั่นรับประทานอาหารโปรตีน (เนื้อ นม ไข่) ให้พอเพียงที่ร่างกายจะนำไปสร้างเม็ดเลือดทดแทน
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์