27 พฤศจิกายน 2561

ทันตแพทย์ที่ไม่ชอบชีวิตข้าราชการ

สวัสดีครับอาจารย์ วันที่ผมเขียนอีเมล์ฉบับนี้ถึงอาจารย์คือวันที่ผมกำลังจะยื่นใบลาออกจากราชการครับ ตัวผมเองอยู่ในราชการมาห้าปีแล้ว ใช้ทุนรัฐครบหมดทุกบาททุกสตางค์ ย้ายรพ.มาสองที่แล้ว พบว่าไม่ว่าจะที่ไหนๆก็มีปัญหาทั้งหมด ประกอบกับที่ใหม่ภาระงานหนักมาก ตอนนี้เลยเริ่มเบื่อหน่ายกับชีวิตราชการ พอดีมีโอกาสไปรับจ็อปตามคลินิกและรพ.เอกชนต่างๆ พบว่าชีวิตการทำงานมีความสุขกว่ากันเยอะ ประกอบกับจับพลัดจับผลูลองเปิดคลินิกตัวเองช่วงที่ยังรับราชการอยู่ด้วย คลินิกก็พอไปได้ครับ แต่รู้สึกว่าไม่มีเวลาเป็นของตัวเอง สุขภาพกายสุขภาพใจย่ำแย่ลงทุกวัน work life balance เสียหมด เลยตัดสินใจว่าจะต้องปรับเปลี่ยนตัวเองจึงคิดลาออกจากราชการแต่พอจะลาออกแล้วกลับมีความรู้สึกเคว้งคว้าง กลัวความไม่แน่นอนในอนาคต ประกอบกับเสียดายสิทธิเบิกจ่ายค่ารักษาที่ครอบครัวจะได้รับ ตอนนี้ก็เลยสับสนมากๆ จึงอยากขอคำแนะนำจากอาจารย์ครับ

...................................................

ตอบครับ

     สิ่งที่เกิดขึ้นในใจของคุณหมอคือความขัดแย้งระหว่างสองขั้ว (conflict of the opposite) ทำราชการช่างเหนื่อยยากรับผิดชอบมากเหลือเกิน อยากจะลาออกไปให้พ้น แต่ก็กลัวความไม่มั่นคงในชีวิตอิสระนอกวงราชการและกลัวเสียสิทธิสวัสดิการสำหรับครอบครัว ความขัดแย้งทำนองนี้ในบางคนมีสาระลึกซึ้งและสาหัสกว่านี้อีก เช่นมีสุภาพสตรีท่านหนึ่งเขียนมาแต่ผมยังไม่ได้ตอบ (ถือโอกาสตอบไปด้วยกันตรงนี้เสียเลย) เธอเล่าว่าเกลียดสามีที่ปฏิบัติต่อเธอไม่ดี แต่จะไปจากเขาก็ไม่ได้เพราะรู้สึกว่าตัวเองเป็นคนทนความเหงาไม่ได้ ต้องมีใครสักคนให้พึ่งพา พูดง่ายๆว่าติด ผ. นี่เป็นตัวอย่างคลาสสิกของ conflict of the opposite  

       1. ประเด็นความมั่นคงในชีวิต (security) คำว่าความมั่นคงนี้หมายถึงความสถาพร (permanence) คุณหมอเรียนหนังสือจบและโตมาจนป่านนี้แล้วผมถามคุณหมอหน่อยสิ ว่าแล้วในชีวิตของคนเรานี้มันมีอะไรที่สถาพรหรือครับ คำว่าความมั่นคงมันจีงเป็นการยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่ไม่ได้มีอยู่จริงนะ ภาษาบ้านๆเรียกว่าอุปาทาน หากฝากชีวิตไว้กับสิ่งนี้อนาคตของคุณหมอก็คงเดาได้ใช่ไหมครับว่าจะสุขหรือทุกข์

     2. คุณหมอกำลังรับมือกับความกลัว (fear) ความกลัวหากเราวิเคราะห์โคตรเหง้าศักราชของมันแล้วมันมีองค์ประกอบสามส่วนนะ คือ (1) ความจำจากอดีตของเราเอง หมายถึงประสบการณ์เลวๆในอดีต กับ (2) คอนเซ็พท์เรื่องเวลา (psychological time) และ (3) จังหวะที่ความสนใจ (attention) กำลังเผลอไม่ได้อยู่ที่นี่ กล่าวคือ เมื่อใดก็ตามที่เราเผลอคาดการณ์หรือ project ความจำเลวๆของเราในอดีตไปยังเวลาในอนาคตในใจเรา (ซึ่งไม่ได้มีอยู่จริงดอกนะ) เมื่อนั้นความกลัวก็เกิดขึ้น การจะดับความกลัว ต้องดับเหตุทั้งสามนี้ก่อน

     3. การตัดสินใจเปลี่ยนอาชีพของคุณหมอเป็นเพียงปฏิกริยาที่ถูกสร้างขึ้นจากความจำในอดีตและสิ่งล่อใจในอนาคต การตัดสินใจที่มี motive อย่างนี้เราไม่เรียกว่าเป็น action ที่แท้จริง เรียกว่าเป็น reaction ละก็พอได้ การตัดสินใจแบบ reaction จะไม่เปลี่ยนชีวิตของคุณหมอให้สูงขึ้นหรือต่ำลงอย่างมีนัยสำคัญ เพราะชีวิตก็ยังคงถูกบงการด้วยความจำจากอดีตและความหลงเชื่อในคอนเซ็พท์เรื่องเวลาอนาคตอยู่เหมือนเดิม เป็นชีวิตที่ยังคงเป็นไปตาม conditioned reflex หรือยะถากรรม ชีวิตอย่างนี้ไม่มีวันจะหลุดพ้นจากวงจรการเกิดดับของความกลัวไปไหนได้หรอกครับ

     การกระทำหรือ action ที่แท้จริงนั้นจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อคุณหมอเป็นอิสระจากความจำในอดีต และจากคอนเซ็พท์เรื่องเวลาในอนาคตแล้วอย่างสิ้นเชิง หมายความว่าเป็นการตัดสินใจทำอะไรก็ได้ที่คุณหมออยากทำที่เดี๋ยวนี้แบบโมเมนต์ต่อโมเม้นท์ จดจ่ออยู่ที่การกระทำที่เดี๋ยวนี้โดยไม่ต้องไปคาดเดาผลลัพท์ในอนาคต ดำเนินชีวิตโดยไม่ต้องไปพะวงถึงวันพรุ่งนี้ใดๆทั้งสิ้น การกระทำหรือ action อย่างนี้จะไม่มีความคิดอื่นนอกจากงานที่จดจ่อ แต่จะบ่มเพาะปัญญาญาณ (intuition) ให้เกิดขึ้น แล้วปัญญาญาณนั้นจะชี้ให้เห็นสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิตทั้งข้างในและข้างนอกตัวตามที่มันเป็น และจะนำทางชีวิตของคุณหมอไปเองว่าไปทางไหนจึงจะดี หากคุณหมอไม่บ่มเพาะปัญญาญาณมานำชีวิต ชีวิตก็จะถูกนำโดยความจำเก่าๆจากอดีตและความเข้าใจผิดเรื่องเวลาในอนาคตอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ต่อไปอีกไม่รู้จบรู้สิ้น

     4. ข้อสุดท้ายนี้ผมขออนุญาตตอบสุภาพสตรีท่านนั้นนะ ในการมาใช้ชีวิตร่วมกันฉันท์สามีภรรยานี้ เราต่างสร้างภาพของกันและกันขึ้นมาในใจของเราแล้วยึดติดภาพนั้น แต่ว่าภาพนั้นมันเป็นเพียงความคิด คู่สมรสอของเราเป็นไปตามภาพนั้นอย่างไม่บิดพริ้วได้อย่างไร เรื่องเพี้ยนๆมันก็เริ่มเกิดจากตรงนี้ไม่ว่าจะเป็นความกลัว อิจฉา โกรธ เกลียด ชิงดีชิงเด่น โกหกหลอกลวง ซึ่งล้วนเป็นภาวะแทรกซ้อนของการยึดติดภาพที่สร้างขึ้น  แล้วคุณก็ตกเข้าไปในความขัดแย้งระหว่างสองขั้ว conflict of opposite จะไปจากเขาคุณก็กลัวเหงากลัวไม่มีเพื่อนที่พึ่งทางใจ จะบังคับตัวเองให้หายเหงาก็ทำไม่ได้ จะไม่ไปจากเขาคุณก็บังคับตัวเองให้ยอมรับที่เขาปฏิบัติต่อคุณไม่ได้ จุดจบของเรื่องแบบนี้ก็คือความบ้า

     แต่อันที่จริงมันก็มีทางออกอยู่นะ ทางออกก็คือให้คุณหัดสังเกตสิ่งที่เป็นอยู่ (what is) อย่างยอมรับยอมแพ้อย่างลึกซึ้ง เช่นคุณสังเกตความเหงาอย่างจริงจัง ตัวคุณนั่นแหละเป็นความเหงา ยอมรับมัน ไม่ต้องหนีไปไหน อยู่กับมัน ดูมันจนรู้จักมันอย่างลึกซึ้ง แน่นอนมันจะเบ่งบานเมื่อคุณเริ่มสังเกตมัน แต่ในที่สุดมันก็จะเหี่ยวแห้งเฉาตายไป แล้วคุณจะพบจากการสังเกตนี้ว่าเมื่อดูอย่างลึกซึ้งแล้ว ไม่ว่าความเหงาก็ดี ความยึดถือว่าจะต้องพึ่งพาสามีก็ดี แท้จริงแล้วไม่มีสิ่งที่เรียกว่าความรักหรือเมตตาธรรมอยู่ในนั้นเลย ซักกะนิดเดียว มีแต่ผลประโยชน์ที่จะสนองต่ออีโก้ของเราเท่านั้น เห็นอย่างนี้แล้วความยึดถือนั้นก็จะเฉาไปเอง โดยคุณไม่ต้องไปพยายามแกะความยึดถือออก เท่ากับว่าแค่เข้าใจสิ่งที่เป็นอยู่อย่างลึกซึ้ง คุณก็หลุดจากความขัดแย้งระหว่างสองขั้วได้โดยอัตโนมัติ 

นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
[อ่านต่อ...]

25 พฤศจิกายน 2561

ปรับปรุงแค้มป์ปลีกวิเวกทางจิตวิญญาณ Spiritual Retreat ครั้งที่ 9 (SR9)

     แค้มป์ปลีกวิเวกทางจิตวิญญาณ Spiritual retreat ทำไปแล้วแปดครั้ง แต่ละครั้งก็มีเหตุให้ต้องปรับปรุงแก้ไขเนื้อหาสาระไปตามข้อมูลที่ได้จากการทำแค้มป์ก่อนๆ ครั้งนี้เป็นครั้งที่เก้า รับปีใหม่พอดี และมีเรื่องที่จะต้องให้ปรับปรุงครั้งใหญ่อีก

1. Spiritual Retreat คืออะไร

    Spiritual หมายถึงการเสาะหาหรือเดินทางฝ่าข้ามชีวิตส่วนที่เป็นร่างกายและความคิด หันเข้าไปสู่ส่วนลึกที่สุดที่ภายในคือความตื่นหรือความรู้ตัว (awareness) ซึ่งเป็นที่เป็นนิรันดร ไม่เปลี่ยนแปลง

     Retreat คือการปลีกวิเวกหลีกเร้น ไปอยู่ในสถานที่สงบเงียบเป็นธรรมชาติ เพื่อให้ได้มีเวลาที่สันโดษและเป็นส่วนตัว

     Spiritual retreat ก็คือการปลีกวิเวกหลีกเร้นเพื่อหันเหความสนใจจากโลกภายนอกกลับเข้าไปแสวงหาความสุขสงบเย็นภายในตัว โดยเรียนรู้ผ่านการอยู่ในสถานที่สงบเงียบเป็นเวลานานหลายวันบ้าง หลายสัปดาห์บ้าง หลายเดือนบ้าง อาจจะอยู่คนเดียว หรืออยู่กับกลุ่มที่ต่างมุ่งแสวงหา "ความหลุดพ้น" เหมือนกัน

    แค้มป์นี้ไม่เกี่ยวกับศาสนาใด ไม่มีพิธีกรรม ไม่ต้องปฏิบัติบูชา ไม่ต้องนุ่งห่มแบบใดแบบหนึ่งเป็นการเฉพาะ ไม่ต้องนอนตื่นเช้ามากๆ (เริ่มเรียน 6.30 น.)ไม่ต้องอดอาหาร ในแค้มป์จะพูดหรือทำสิ่งเดียวเท่านั้น คือเรื่องที่จะหลุดพ้นไปจากความยึดติดในความเป็นบุคคลไปสู่ความตื่น โดยโฟกัสที่..ที่นี่ เดี๋ยวนี้

2. สิ่งที่เรียนรู้จาก SR1 - SR8

     ปัญหาสำคัญที่สุดคือผู้มาเข้า Retreat ส่วนใหญ่เป็นผู้แสวงหาการบรรลุธรรม (enlightenment) หรือการตื่นรู้ทางจิตวิญญาณ (awakening) ที่มีประสบการณ์แสวงหาในเส้นทางของศาสนาของตนมาแล้วโชกโชนระดับสิบปี ยี่สิบปี สามสิบปีขึ้นไป มีความแม่นยำและเหนียวแน่นในคอนเซ็พท์ทางศาสนาหรือนิกายของตนมากระดับหนึ่ง ทำให้ "ภาษา" กลายเป็นอุปสรรคในการเรียนรู้ การติดตามผลหลังจากเข้ารีทรีตพบว่าบางคนยังเดินหน้ากับชีวิตด้วยการพยายามตีความภาษาทำให้ติดกับดักอยู่ในความคิดอย่างไม่มีวันจบสิ้น

3. สาระสำคัญที่จะเปลี่ยนแปลงใน SR 9

    เป้าหมายยังคงอยู่ที่การวางความคิดไปสู่ความรู้ตัวเหมือนเดิม แต่เรื่องใหญ่ที่สุดที่จะเปลี่ยนแปลงคือจะแยก Spiritual Retreat นี้ออกมาจากศาสนาใดๆเสียให้เด็ดขาด คือเป็น Atheist ร้อยเปอร์เซ็นต์ โดยจะเลือกวิธีวางความคิดที่ไม่ต้องพึ่ง "ภาษา" มาเป็นวิธีหลักในการฝึก โดยจะไฮไลท์การรับรู้ผ่านอายตนร่างกาย (sensation and perception) หรือการปักหลักอยู่กับการรับรู้พลังงานในร่างกาย (internal body) วิธีนี้ไม่ต้องใช้ภาษา ไม่ต้องอยู่ใต้อิทธิพลของความคิด ไม่ต้องผูกติดกับคำสอนของค่ายใดๆ ผลของการเปลี่ยนแปลงวิธีเรียนนี้จะดีขึ้นหรือแย่ลงก็คงต้องติดตามดูกันต่อไป

     เมื่อตั้งใจจะตัดการรบกวนของภาษาให้หมด วิธีทำ meditation ที่ใช้เป็นวิธีหลักในการวางความคิดก็ต้องเปลี่ยนไปเป็นวิธีใหม่ที่ควบรวมสามองค์ประกอบเข้าด้วยกัน คือ
(1) ความสนใจ (attention)
(2) ร่างกาย โดยเน้นที่พลังงานในร่างกาย (internal body)
(3) พลังเมตตา (grace)

    โดยฝึกใช้แค่สามอย่างนี้คลุกเคล้ากันผ่านการรู้สึก (feeling) เท่านั้น ไม่ใช้ความคิด เพิกเฉยต่อความคิดอย่างสิ้นเชิง ตัดวิธีอื่นที่เปิดช่องให้ความคิดเข้ามาชี้นำทิ้งหมด

4. Spiritual Retreat เหมาะสำหรับใครบ้าง

     1. ผู้ที่มีความเครียดซึ่งแก้เองไม่ตก

     2. ผู้ที่ต้องการหาความสงบทางใจ

     3. ผู้ที่ต้องการค้นหาความหมายของชีวิต

5. ตารางกิจกรรม Spiritual Retreat

(สี่วันสามคืน)

สถานที่: เวลเนสวีแคร์เซ็นเตอร์

วันแรก

11.00 - 12.00 น. Getting to know you ทำความรู้จัก
12.00 - 14.00 น. Lunch break พักกลางวัน
14.00 - 14.30 น. Lecture1. "I" Though ความคิด "ฉัน"
14.30 - 15.00 น. Workshop1. Consciousness - Awareness รู้จักความรู้ตัว
15.00 – 15.30 น. Workshop2. Internal body and Body scan พลังงานในร่างกายกับการลาดตระเวณร่างกาย
15.30 - 16.00 น. Coffee Break พักผ่อนในความเงียบสงบ
16.00 - 17.00 น. Workshop3. Muscle relaxation through Yoga เรียนผ่อนคลายกล้ามเนื้อผ่านโยคะ
17.00 - 18.00 น. Workshop4. Body scan and relaxation meditation ฝึกวางความคิดด้วยวิธีลาดตระเวณและผ่อนคลายร่างกาย
18.00 - 19.00 น. Dinner อาหารเย็น
19.00 -               Private time เวลาพักผ่อนส่วนตัว

วันที่สอง

06.30 - 07.00 น. Workshop5. Am I aware? ฝึกวางความคิดด้วยคำถามคำเดียว
07.00 - 07.80 น. Workshop6. "Tai Chi" ตามรู้พลังงานในร่างกายขณะเคลื่อนไหวด้วยเทคนิคไทชิ
08.00 - 09.00 น. Breakfast รับประทานอาหารเช้า อาบน้ำ
09.00 – 10.30 น. Workshop7. การวางความคิดด้วยการสอบสวนความคิดๆละครั้งเดียว (Self Inquiry)
10.30 - 11.00 น. Coffee Break พักในความเงียบสงบ
11.00 - 12.00 น. Workshop8. Three components of mediation ฝึกวางความคิดแบบสามประสาน
12.00 - 14.00 น. Lunch Break พักกลางวัน
14.00 – 15.00 น. Workshop9. Walking meditation ฝึกวางความคิดในอริยาบทของร่างกาย
15.00 – 15.30 น. Sat Sang ตรวจสอบประสบการณ์จากการเดิน
15.30 - 16.00 น. Coffee Break ในความเงียบสงบ ไตร่ตรองสิ่งที่ได้เรียนรู้
16.00 - 17.00 น. Workshop10. Pain Acceptance And Surrender ฝึกวิธียอมรับยอมแพ้
                           โดยใช้ความเจ็บปวดเป็นสื่อการเรียน
17.00 - 18.00 น. Workshop11. Sunset meditation นั่งสมาธิกับแสงอาทิตย์
18.00 - 19.00 น. Dinner รับประทานอาหารเย็น

วันที่สาม

06.30 - 08.00 น. Workshop12. Forest Walk  วางความคิดด้วยการเดินในป่า
08.00 - 09.00 น. Breakfast รับประทานอาหารเช้า
09.00 - 17.00 น. Rotation training แยกกลุ่มหมุนเวียนทำกิจกรรม
Workshop13. (1 ชม.) Process focus, and intuition through clay work เรียนการทำงานแบบไม่หวังผลและการฝึกใช้ปัญญาญาณจากงานปั้นดินเหนียว
Workshop14. (1 ชม.) Process focus, and intuition through drawing เรียนการทำงานแบบไม่หวังผลและฝึกใช้ปัญญาญาณจากงานเขียนภาพลายเส้น
Workshop15. (1 ชม.) Sensation, feeling & imagination through painting เรียนการรับรู้สิ่งเร้าในปัจจุบัน การเกิดความรู้สึกผสานกับการใช้จินตนาการในงานระบายสีน้ำ
Workshop16. (15 นาที)(Dr. Love) Bringing relaxation to your daily life by Ayurveda ประยุกต์ใช้อายุรเวดะในชีวิตประจำวัน
Workshop17. (30 นาที)(TTM therapist) Sensation through massage. วางความคิดมารับรู้การนวดสัมผัส
Workshop18. (15 นาที) Remedy พบนพ.สันต์ ตัวต่อตัวเพื่อแก้ไขความติดขัดในการวางความคิด
17.00 - 18.30 น. แชร์ประสบการณ์การปฏิบัติ focus on process และ intuition
18.30 - 19.30 น. Dinner รับประทานอาหารเย็น

วันที่สี่ (วันสุดท้าย) 

06.30 - 08.00 น. Workshop19. Silence meditation on the mountain ฝึกอยู่ในความเงียบ
08.30 - 09.30 น. รับประทานอาหารเช้าและทำกิจส่วนตัว
09.30 – 10.00 น. Lecture2: Choices in the now การเลือกประสบการณ์ที่ปัจจุบัน
10.00 - 10.30 น. Workshop20. Balanced walking วางความคิดด้วยการเคลื่อนไหวแบบทรงตัว
10.30 - 11.00 น. Coffee Break ในความเงียบสงบ
11.00 - 12.00 น. Satsang: Summary of techniques สรุปเทคนิคการวางความคิดที่เรียนแล้วทั้งหมด แชร์ประสบการณ์และแลกเปลี่ยน
12.00 - 13.00 น. ปิดแค้มป์ รับประทานอาหารกลางวันแล้วอำลา


...............................................

6. ค่าใช้จ่ายในการมาเข้าแค้มป์ Spiritual Retreat

     คนละ 9,000 บาท ราคานี้รวมอาหารวันละสามมื้อ อาหารว่างวันละสองเบรค ค่าที่พักห้องพักเดี่ยวห้องละ 1 คน สี่วัน สามคืน (กรณีมาคู่ที่แชร์ห้องเตียงคู่ห้องเดียวกันได้ ลดเหลือคนละ 8,000 บาท) ทั้งหมดนี้ไม่รวมค่าเดินทาง ทุกคนต้องเดินทางไปและกลับด้วยค่าใช้จ่ายของตนเอง

7. จำนวนที่รับเข้าแค้มป์

     รับไม่เกิน 15 คน (ยกเว้นมาคู่นับเป็นหนึ่งได้)

8. วิธีลงทะเบียนเข้าแค้มป์

ลงทะเบียนบนเว็บและจ่ายเงินทางออนไลน์ โดยท่านสามารถลงทะเบียนได้โดยโทรศัพท์ติดต่อคุณเอ๋ย (เชิญขวัญ) ที่หมายเลข 0636394003 หรือไลน์ @wellnesswecare หรืออีเมล chernkwan@wellnesswecare.com

[อ่านต่อ...]

23 พฤศจิกายน 2561

ฉีดฮอร์โมนเพศชายอายุจะสั้นลงไหม

คุณหมอสันต์ครับ
ผมกำลังจะเกษียณปีหน้านี้ ตอนนี้มีอาการไม่สบายตัว ไม่ค่อยคึกคัก เบื่อๆเซ็งๆ ขี้เกียจออกกำลังกาย เคยไปเดินบ้างแต่เลิกไปได้หลายปีแล้ว ผมเป็นคนรูปร่างผอม ไม่สง่า อยากมีกล้าม อยากเป็นคนแก่ที่เท่แบบสมบัติ เมทะนี หรือแบบคุณหมอก็ยังดี ผมไปหาหมอ..ที่คลินิกชลอวัยที่รพ.... หมอเจาะเลือดพบว่าฮอร์โมนเพศชายปกติแต่ค่อนข้างต่ำและบอกว่าผมเป็นผู้ชายหมดประจำเดือน แนะนำให้ผมฉีดฮอร์โมนเพศชาย ซึ่งผมก็เริ่มต้นฉีดมาได้หกเดือน มีวิตามินให้กินอีกแยะพอควร ก็ดูจะดีขึ้นหน่อย แต่ผมกังวลว่าการฉีดฮอร์โมนเพศชายนี้จะมีผลเสียอะไรในระยะยาวไหม มันจะทำให้ผมเป็นมะเร็งหรือเปล่า มันจะทำให้ผมอายุสั้นลงหรือเปล่า และถามคุณหมอหน่อยว่าผมควรจะฉีดหรือไม่ครับ
ขอบพระคุณคุณหมอสันต์

...................................................

ตอบครับ

     1. ถามว่าแก่แล้ว เป็นคนขี้เกียจออกกำลังกาย แต่อยากมีกล้ามใหญ่อย่างสมบัติ เมทะนี จะเป็นไปได้ไหม หิ หิ ตอบว่าต้องรอชาติหน้าตอนบ่ายๆกระมังครับ เพราะสิ่งทั้งหลายเกิดแต่เหตุ คุณอยากมีกล้ามคุณก็ต้องเล่นกล้าม คุณอยากเท่ คุณก็ต้องฝึกท่าร่างหรือฝึกออกกำลังกายแบบเสริมการทรงตัวเช่นเต้นรำเป็นต้น คุณไม่ทำสิ่งเหล่านี้จะเอาแต่ฉีดฮอร์โมนผมรับประกันว่าฉีดไปร้อยเข็มคุณก็ยังจะหย็องกอดอยู่เหมือนเดิม

     2. ถามว่าการใช้ฮอร์โมนเพศชายมีผลเสียอะไรไหม ตอบว่าผลข้างเคียงการฉีดฮอร์โมนเพศชายนั้นเป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วและหมอจะต้องบอกคนไข้ก่อนฉีด คือ (1) ผมร่วง (2) มีสิว (3) นมโต หมายถึงผู้ชายนมโตแบบผู้หญิงนะ ไม่ใช่กล้ามหน้าอกขึ้น (4) นกเขาไม่ขัน หมายถึงหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

     3. ถามว่าการฉีดฮอร์โมนเพศชายจะทำให้เป็นมะเร็งมากขึ้นไหม ตอบว่าการทบทวนงานวิจัยอย่างถี่ถ้วนแล้วยังไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างการฉีดฮอร์โมนเพศชายกับการเป็นมะเร็งแต่อย่างใด รวมทั้งมะเร็งต่อมลูกหมากด้วย ก็ไม่พบว่ามีความสัมพันธ์กันแต่อย่างใด

     4. ถามว่าการฉีดฮอร์โมนเพศชายจะทำให้อายุสั้นไหม เออ..ตอบว่าสมัยก่อนเราก็คิดว่าไม่เกี่ยวกันนะ แต่เร็วๆนี้มีงานวิจัยที่เดนมาร์กตีพิมพ์ไว้ในวารสารอายุรศาสตร์อเมริกัน (AJIM) ทำวิจัยแบบเอาคนฉีดฮอร์โมนมาเปรียบกับคนเพศและวัยเดียวกันสุขภาพคล้ายๆกันที่ไม่ได้ฉีดฮอร์โมน เรียกว่าเป็นการทำวิจัยแบบ match case control คือเอาคนที่ฉีดฮอร์โมนแอนโดรเจนมา 545 คน มาเทียบกับคนที่วัยเดียวกันและโครงสร้างสุขภาพคล้ายกันที่ไม่ได้ฉีดฮอร์โมนแอนโดรเจน 5,450 คน แล้วตามดูไปนานเฉลี่ย 7.4 ปี พบว่าพวกที่ใช้ฮอร์โมนตายไป 7 คน (1.3%) ส่วนพวกที่ไม่ใช่ฮอร์โมนตายไป 23 คน (0.4%) พูดง่ายๆว่าพวกที่ฉีดฮอร์โมนมีอัตราตายสูงกว่าพวกที่ไม่ฉีด 3 เท่า และผลข้างเคียงของฮอร์โมนเช่นผมร่วง มีสิว นมโต นกเขาไม่ขัน ก็พบว่ามีมากกว่าในกลุ่มผู้ใช้ฮอร์โมนตามฟอร์ม นี่เป็นข้อมูลที่ดีที่สุดในเรื่องนี้เท่าที่วงการแพทย์มีอยู่ในปัจจุบัน

     5. ถามว่าคุณควรจะฉีดฮอร์โมนไหม ตอบว่าอ้าว จะมาถามผมทำไมละ ผมให้ข้อมูลครบถ้วนหมดแล้ว หมดหน้าที่ของผมแล้ว คุณก็ตัดสินใจเอาเองสิเพราะนั่นเป็นหน้าที่ของคุณ

นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์

บรรณานุกรม

1. H. Horwitz, J. T. Andersen, K. P. Dalhoff. Health consequences of androgenic anabolic steroid use. Journal of Internal Medicine, 2018; DOI: 10.1111/joim.12850
[อ่านต่อ...]

21 พฤศจิกายน 2561

หมอสันต์คุยกับฝรั่ง

Sam

     คุณมีแบ้คกราวด์กับทั้งฮินดูและพุทธมานาน ในความเห็นของคุณ ฮินดูกับพุทธต่างกันอย่างไร

นพ.สันต์

     ฮินดูพูดถึงสุญญตามากเกินไป พุทธแทบไม่พูดถึงเลย พวกมิชชันนารีชาวคริสต์แปลคำว่าสุญญตาของพุทธว่า "void" ซึ่งผมเข้าใจความคิดของคนแปลนะ  เพราะแม้แต่ในภาษาไทยซึ่งใกล้เคียงกับภาษาบาลีสันสกฤตก็ยังแปลคำนี้ว่า "ความว่าง"

Sam

     แล้วคุณว่ามันควรจะแปลว่าอย่างไรละ

นพ.สันต์

     "สุญญตา" น่าจะแปลว่า "ความเงียบในหัว" (interior silence) มากกว่า ผมหมายความว่าเงียบจากความคิดหรือภาษาพูดที่มนุษย์เราสร้างขึ้น

Sam

     ทำไมคุณจึงให้ความสำคัญกับคำนี้

นพ.สันต์

     อ้าว ก็มันเป็นสิ่งที่ทั้งฮินดูและพุทธต่างก็มุ่งจะไปหา คุณจะเรียกมันว่าอะไรก็ตาม จะเรียกว่าเป็นปรมาตมัน, พระเจ้า, นิพพาน, เต๋า หรือแม้กระทั่งหัวใจ (heart) จะเรียกว่าอะไรมันก็เป็นสิ่งเดียวกันนั้นแหละ คือมันเป็นภาวะที่ความคิดไม่มีเหลือแล้ว เหลือแต่ความรู้ตัว (awareness) ซึ่งเป็นแค่ความตื่น ความสามารถรับรู้ และความรู้สึกสงบเย็นสบายๆ ณ ตรงนี้แหละคือความหลุดพ้น

Sam

แล้ววิธีไปของฮินดูกับพุทธต่างกันอย่างไร

นพ.สันต์

     ฮินดูเป็นผลงานสะสมของนักคิดหลายคนหลายยุคสมัยนะ จึงมีคอนเซ็พท์และวิธีปฎิบัติเยอะมาก แค่พระเจ้านี่คุณก็นับไม่หมดแล้ว แต่พุทธทิ้งคอนเซ็พท์ไปหมดเลยเอาแต่ประสบการณ์ตรงผ่านอายตนะอย่างเดียว สำหรับพุทธคอนเซ็พท์ทุกอย่างไร้สาระ รวมทั้งคอนเซ็พท์เรื่องพระเจ้าองค์โน้นองค์นี้ด้วย ภาษาก็ไม่มีความหมาย ทุกอย่างไม่ได้เป็นอย่างที่เราเรียกว่ามันเป็น แต่มันเป็นตามที่มันเป็น ไม่ต้องนิยามด้วยซ้ำ แค่ปล่อยทุกอย่างไว้ไม่อิงไม่เกาะเกี่ยวกับอะไรทั้งสิ้น พระเจ้าก็ไม่เอา วิญญาณที่อมตะก็ไม่เอา เอาแต่ความจริงที่ว่าชีวิตนี้ไม่มีคอนเซ็พท์อะไรที่ตั้งชื่อหรือพูดออกมาเป็นภาษาได้ให้ยึดกุมได้หรอก

     ส่วนความเหมือนนั้นนั้นมีแยะ เพราะว่าจริงๆแล้วพุทธก็งอกรากออกมาจากฮินดู ที่เหมือนกันคือ (1) ทุกชีวิตมุ่งหาการพ้นทุกข์ (2) ความสงบเย็นเป็นธรรมชาติดั้งเดิมของชีวิตโดยไม่เกี่ยวกับเหตุภายนอก ทั้งสองค่ายต่างย้ำว่าร่างกายและความคิดไม่ใช่ธรรมชาติดั้งเดิมของมนุษย์ ต้องถอยกลับไปสู่ธรรมชาติดั้งเดิมของตนซึ่งก็คือความรู้ตัว ไม่ต้องไปหาอะไรไหม่ แต่คนส่วนใหญ่ซึ่งไม่รู้ข้อนี้มัวไปทำตรงกันข้ามคือสร้างความคิดและภาษาขึ้นมาครอบธรรมชาติดั้งเดิมของตัวเอง แล้วก็ติดแหง็กอยู่ในครอบนั้น (3) การจะถอยออกจากความคิดกลับไปเป็นความรู้ตัวมันต้องอาศัยเครื่องมือ เครื่องมือหลักก็คือ meditation ทั้งพุทธทั้งฮินดูจึงต่างก็เน้น meditation นี่เป็นจุดที่เหมือนกันอันที่สาม (4) ในแง่ของการเอาไปใช้กับชีวิตจริงก็มีความเหมือนกันอยู่ ว่าความวิเวก (solitude) มันอยู่ที่ในใจ คนหนึ่งอาจจะอยู่ในความวุ่นวายของโลกแต่สงบนิ่งอยู่กับความรู้ตัวอยู่ได้ นั่นคือเขาวิเวกอยู่ ขณะที่อีกคนหนึ่งอยู่ในป่าลึกเงียบสนิทแต่ไม่อาจสงบจากความคิดได้ นั่นคือเขายังไม่วิเวก คนที่ปักหลักมั่นอยู่กับความรู้ตัวได้แล้ว กิจกรรมทางสังคมต่างๆของเขาอาจจะยังคงดำเนินไป แต่ผลของกิจกรรมเหล่านั้นไม่มีผลอะไรกับความรู้ตัวของเขา ตรงนี้ก็เป็นอีกอันหนึ่งที่เหมือนกัน

Sam

     คุณชอบทางไหนมากกว่า

นพ.สันต์

     ชอบทั้งสองอย่าง แต่ใช้วิธีของพุทธที่เน้นประสบการณ์ตรงเป็นหลักมากกว่า อาศัยแค่ประสบการณ์จริงก็ตีฝ่าสำนึกของความเป็นบุคคลให้แตกสลายไปได้แล้ว

Sam

     ช่วยขยายความหน่อยได้ไหม

นพ.สันต์

     คือตอนเราเกิดมาเป็นเด็ก อยู่ท่ามกลางธรรมชาติที่ปรากฎต่อเราในรูปของคลื่นความสั่นสะเทือนในระดับความถี่ต่างๆโดยไม่ต้องจำแนกความหมายออกมาเป็นภาษาหรือความคิด ชีวิตก็มีความสุขดี แต่ผู้ใหญ่ค่อยๆสอนให้เราตีความหมายการสั่นสะเทือนเหล่านั้นผ่านภาษา จนภาษาและคอนเซ็พท์ต่างๆได้กลายมาเป็นระบบหรือเครื่องมือที่บีบบังคับเราไปเสียฉิบ เท่ากับว่าเราเกิดมาใหม่ๆก็ดีๆอยู่ แต่ดันมาสร้างความคิดขึ้นครอบตัวเราเอง เราคิด คิด คิด จนในชีวิตเราไม่มีอะไรเหลือเลยนอกจากความคิด ก็เลยต้องมาเดือดร้อนหาวิธีวางความคิดที่เราเองกุขึ้นมาลงเสีย พุทธสอนอย่างเดียวเลย คือสอนวิธีวางความคิด โดยบอกวิธีปฏิบัติอย่างเป็นขั้นเป็นตอนชนิดที่ใครๆก็ทำตามได้

Sam

     ออกไปจากสำนึกของความเป็นบุคคลหมายความว่าอย่างไร

นพ.สันต์

     ก็หมายความว่าความคิดทั้งมวลสืบโคตรเหง้าศักราชไปเถอะมันล้วนมีรากมาจากที่เดียวกัน คือจากสำนึกที่ว่าเรานี้เป็นบุคคลคนหนึ่งซึ่งมีชื่อนี้สถานะนี้ อีโก้..คุณจะเรียกว่าอย่างนั้นก็ได้ คือเป็น "I thought" หมายถึงสำนึกว่าเราเป็นคนๆหนึ่งที่แยกส่วนออกมาจากสิ่งอื่นหรือจากจักรวาลนี้ ซึ่งมันเป็นความเท็จ ความเป็นบุคคลของเรามันเป็นเพียงความคิดซึ่งไม่สถาพรและทำให้ทุกข์ แค่วางความคิดที่คุณกุขึ้นมาลงเสีย คุณก็หลุดพ้นแล้ว พุทธสอนอย่างนี้ ซึ่งผมเก็ท

Sam

     คุณใช้แต่วิธีของพุทธเท่านั้น?

นพ.สันต์

     โอ.. ไม่ ไม่ บางอย่างผมก็ใช้วิธีที่ชาวฮินดูเขานิยมใช้กัน มันเป็นทางลัด

Sam

     ลองยกตัวอย่างหน่อย

นพ.สันต์

     อย่างเช่นการยอมรับและยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไข หรือ..ศรัทธา ถ้าคุณอยากจะเรียกมันว่าอย่างนั้น หรือ surrender นี่มันเป็นเทคนิคที่ลัดสั้นตรงมากที่สุดเลย แต่คุณจะทำไม่ได้หรอกนะถ้าคุณไม่มีความไว้วางใจชีวิตเป็นพื้นฐานเสียก่อน คุยกันถึงตรงนี้ผมขอนอกเรื่องหน่อยนะ สมัยหนุ่มๆผมเป็นแพทย์ประจำบ้านอยู่ที่เมืองโอ๊คแลนด์ มีหมอหลายชาติหลายภาษามาทำงานด้วยกัน คนหนึ่งเป็นอินเดีย แล้วเย็นวันอาทิตย์ก็มักเป็นวันที่เราหมุนเวียนไปตั้งวงดื่มไวน์และเบียร์ตามบ้านพวกเรากันเอง มีอยู่ครั้งหนึ่งเมียเพื่อนหมอฝรั่งคนหนึ่งถามหมออินเดียถึงหลักปรัชญาของศาสนาฮินดู เขาตอบว่า

     " If you are raped and can not get away, enjoy it!"

     "ถ้าคุณถูกปล้ำข่มขื่นและหนีไม่รอด ก็สนุกกับมันซะ"

      พวกเราหัวเราะ นั่นเป็นแค่เรื่องคุยกันเล่นในวงดื่มไวน์ สมัยโน้นผมไม่เคยเห็นด้วยกับแนวคิดแบบนั้นเลย ตอนนั้นผมมองว่าช่างเป็นวิธีคิดที่ปัญญาอ่อนสิ้นดี แต่เมื่อผมแก่ตัวลงผมจึงได้เข้าใจ ไม่เข้าใจเปล่าๆนะ ผมยอมรับเอามาเป็นหลักปฏิบัติในชีวิตผมด้วย โดยผมยกให้เป็นหนทางที่ลัดสั้นตรงที่สุด คือ surrender ยอมรับ ยอมแพ้ แค่ปล่อยทุกอย่างให้เป็นไปตามวิถีของมัน ขอบคุณ ขอโทษ ให้อภัย เมตตา  ไม่ต้องไปพยายามขัดขืนหรือควบคุมอะไร ไม่ต้องปกป้องความเป็นบุคคลของเรา ยอมแพ้ทุกอย่าง..คุณบรรลุธรรมทันที

Sam

     จากประสบการณ์ของคุณ อะไรเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะทำให้หลุดพ้น

นพ.สันต์

     ความเอาจริงเอาจังอย่างไม่หยุดหย่อนเป็นปัจจัยเดียว ไม่มีปัจจัยอื่น โง่หรือฉลาดไม่เกี่ยว วาสนาบารมีบุญบาปกรรมดีกรรมชั่วก็ไม่เกี่ยวแม้ว่าการเรียนรู้ในอดีตของคุณอาจจะทำให้คุณไปได้ช้าหรือเร็วไปบ้างแต่เมื่อคุณพ้นไปจากความคิดแล้วสิ่งเหล่านี้จะไม่มีความหมายอะไรเลยสักนิดเดียว อย่าลืมว่าความรู้ตัวเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ง่ายๆเพราะมันอยู่ที่นี่ในตัวคุณนี้เดี๋ยวนี้อยู่แล้วและมันมีอยู่อันเดียว ถ้าคุณจะกลับเข้าไปหามันจริงๆมันไม่มีโอกาสพลาดได้เลย ความหลุดพ้นก็คือการวางความคิดได้หมดด้วยเทคนิคการสังเกตดูความคิดเท่านั้นเอง มันง่ายขนาดนั้น ดังนั้นมีแต่ความเอาจริงเอาจังอย่างเดียวก็พอแล้ว คุณหลุดพ้นแน่นอน

Sam

     แล้วเทคนิคอะไรที่ช่วยคุณมากที่สุด

นพ.สันต์

     การลาดตระเวณความรู้สึกไปบนร่างกาย ผมหมายถึง body scan เป็นเทคนิคที่ช่วยผมวางความคิดได้มากที่สุด คือร่างกายเรานี้มีพลังงานชีวิตซ้อนทับอยู่ข้างใน เรารับรู้พลังงานนี้ได้โดยรับรู้ความรู้สึกบนอายตนของร่างกาย โดยเฉพาะความรู้สึกบนผิวหนัง เป็นความรู้สึกขนลุกวูบๆวาบๆจิ๊ดๆจ๊าดๆเหน็บๆชาๆซู่ๆซ่าๆ พลังงานในร่างกายนี้มันเชื่อมโยงแนบแน่นกับความรู้ตัวซึ่งก็เป็นพลังงานเหมือนกันแต่ละเอียดกว่า เส้นทางนี้ไม่ต้องใช้ภาษามาเกี่ยวข้องเลย ใช้แต่ความรู้สึกหรือ feeling เป็นเทคนิคที่ปลอดภัยจากการถูกหลอกโดยความคิดซึ่งอยู่ในโลกของภาษา

Sam

     ชีวิตต่อจากนี้คุณจะใช้ม้นอย่างไร มีเป้าหมายอยู่ที่ไหน

นพ.สันต์

     ผมก็แค่สนุกกับมันเหมือนอย่างที่เพื่อนหมออินเดียแนะนำ ฮะ ฮะ ฮ่า

     ผมไม่มีเป้าหมายอะไร เป้าหมายมันหมายถึงสิ่งที่อยู่ในอนาคต ผมไม่มีอนาคต แต่ละโมเมนต์ที่นี่เดี๋ยวนี้นี่แหละคือชีวิตสำหรับผม ไม่มีอะไรมากกว่านี้ ผมสนุกกับการจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ผมทำ ไม่สนใจว่าผลลัพท์มันจะเป็นอย่างไร ผมตั้งธงไว้ก่อนว่าผลลัพท์มันจะเป็นศูนย์ ทุกอย่างที่ผมทำวันนี้ผมไม่ได้ทำเพื่อปกป้องหรือส่งเสริมความเป็นบุคคลของผมแล้ว เพราะความเป็นบุคคลของผมมันมีอยู่แต่ในการรับรู้ของคนอื่น แต่จากมุมมองของผมเองความเป็นบุคคลของผมนี้หมดสิ้นไม่มีเหลือแล้ว ผมไม่ต้องปกป้องมันแล้ว ผมไม่สนใจว่าคนอื่นจะมอง "หมอสันต์" ว่าเป็นอย่างไร เพราะสำหรับผม "หมอสันต์" เป็นเพียงความคิดที่ไม่ได้ถาวรอะไร ผมใช้ชีวิตไปตามแรงผลักดันจากเมตตาธรรมในใจเท่านั้น งานของผมจึงไม่มีคำว่าสำเร็จหรือล้มเหลว เพราะสำเร็จหรือล้มเหลวเป็นคอนเซ็พท์ที่ต้องพิพากษาตัดสินโดยบุคคล เมื่อไม่มีบุคคลเหลืออยู่เพื่อเป็นผู้ตัดสินก็ไม่มีสำเร็จไม่มีล้มเหลว ผมจึงแค่ลงมือทำและเอ็นจอยการทำเท่านั้น

Sam

     คุณไม่สนใจจะช่วยคนอื่นให้หลุดพ้นหรือ

นพ.สันต์

     ผมยินดีที่จะเล่าประสบการณ์ของผมให้คนอื่นฟัง ส่วนคนอื่นเขาจะเอาเรื่องที่ผมเล่าไปใช้ประโยชน์กับตัวเขาเองได้หรือไม่แค่ไหนนั้นเป็นเรื่องของเขา ผมไม่สนใจว่าเขาจะสำเร็จหรือล้มเหลวดอก ผมไม่ใช่ครูทางจิตวิญญาณของใครๆ ผมรู้ว่าผมเป็นครูให้ใครๆไม่ได้หรอก ผมเป็นได้แค่เพื่อนเท่านั้น

นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์

22 พย. 61
จดหมายจากท่านผู้อ่าน
ผมมีความคิดว่า หลักการ surrender ไม่น่าจะใช่แนวทางที่ถูกต้อง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่หมอพูดว่า เราทำเพียงเท่านี้ อาจไปถึงขั้นบรรลุธรรมได้เลย ยิ่งเป็นความคิดที่ต้องตีความดีดี และรอบคอบสุดสุด หาไม่แล้วคนที่ยังเข้าไม่ถึงหลักธรรมอย่างลึกซึ้งอาจนำแนวคิดนี้ไปใช้แบบผิดๆก็เป็นได้ ตามความเข้าใจของผม พุทธศาสนาไม่เคยสอนให้ ก้มหน้ารับกับอะไรในลักษณะที่เหมือนกับการยอมแพ้ (surrender) ทว่าหากเปลียนคำว่า "ยอมแพ้" เป็น "ยอมรับ" น่าจะถูกต้องตรงกว่า แม้กระทั่งกับ "กรรมเก่า" เอง ก็ไม่เคยถูกสอนให้ก้มหน้ารับโดยไม่ทำอะไรเลย การสร้าง "เหตุ" และยอม "รับ" ผลของมัน เป็นคนละเรื่องกับการยอมแพ้โดยสิ้นเชิง หากเรา "ยอมรับ" แปลว่าเราเข้าใจ และเต็มใจกับสิ่งนั้นๆไม่ว่าจะดี หรือไม่ดี แต่หากเรา "ยอมแพ้" หมายถึงเราจำใจ และไม่เต็มใจ เช่นนี้แล้ว การ surrender จะทำให้เราบรรลุธรรมได้อย่างไร ? กับอีกประเด็นหนึ่งที่คุณหมอบอกว่า ความรู้สึกถึงความเป็นบุคคลมันไม่มีแล้ว ไม่มีเป้าหมาย ไม่มีอนาคต แค่ทำปัจจุบัน คล้ายกับคุณหมอจะบอกว่าเราทุกคนล้วนเป็นสิ่งสมมติ ไม่ว่าจะชื่อแซ่ ยศ ตำแหน่ง เราจึงไม่ควรไปยึดติด ซึ่งหากมองในแง่พุทธศาสนาแล้ว มันเป็นเช่นนั้นแล เพียงแต่ผมอยากจะแสดงความเห็นเล็กน้อยว่า ความเข้าใจเช่นนี้ควรแยกเป็นสองระดับ คือระดับผู้ที่เข้าใจธรรมอย่างลึกซึ้ง และระดับธรรมดาสามัญที่ยังเข้าวัดขอหวยไปวันๆ หากเป็นระดับคุณหมอที่พร้อมไปด้วยฐานะและความรู้ การทำอะไรโดยไม่คำนึงถึงอนาคต และผลลัพธ์แล้วก็คงไม่เดือดร้อนอะไร แต่สำหรับอีกระดับ การนำความคิดแบบนี้ไปใช้ ทั้งที่ไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ ถึงหลักธรรมข้อนี้แล้ว อาจส่งผลตรงกันข้ามก็เป็นได้ ยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพ เช่น คนหนุ่มสาววัยทำงาน การวางแผนในอนาคต การทำงานที่คำนึงถึงผลลัพธ์ น่าจะยังเป็นสิ่งสำคัญของวัยนี้ เขาคงทำแบบคุณหมอไม่ได้ ที่ทำงานด้วยแรงขับอะไรสักอย่าง โดยไม่สนใจถึงผลลัพธ์ ถึงเสียงผู้คนรอบข้าง ถึงอนาคตตัวเอง ถึงความก้าวหน้าในอาชีพการงาน และสุดท้ายถึงเรื่องเงินทองเลี้ยงชีพ. ผมเข้าใจว่าคำตอบที่คุณหมอให้สัมภาษณ์มันเป็นเฉพาะตัวคุณหมอเอง แค่ผมอยากติงว่าอาจมีบางคนที่ไม่เข้าใจแล้วนำมันไปใช้ ถ้าใช้ด้วยความเข้าใจก็ดีไป หาไม่แล้วคงดูไม่จืด ผมไม่ได้ลึกซื้งอะไรในเรื่องธรรม แสดงความเห็นไปตามที่คิด ขออภัยคุณหมอด้วยหากล่วงเกินอะไรไป...ด้วยความเคารพครับ

ตอบครับ

ขอบพระคุณมากที่สละเวลาเขียนมาหาผมครับ

     1. คำว่า surrender ผมแปลว่ายอมรับ + ยอมแพ้ เพื่อสื่อถึงการยอมรับสิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่อย่างไม่มีเงื่อนไขโดยไม่ต้องสืบหาเหตุผลหรือต่อรองใดๆทั้งสิ้น คือตื๊บอีโก้ไปเสียแบนแต๊ดแต๋ไม่เหลือเลย ขออำไพถ้าอ่านแล้วมันชวนให้ตีความไปว่าเป็นการยอมแพ้ชนิดฮึดฮัดเหลืออีโก้ยู่แบบว่า..ฝากไว้ก่อนนะโว้ย..วันหลังข้าจะมาเอาคืน

     อีกคำหนึ่งที่แทนกันได้คือ acceptance การอ่านภาษาแล้วเข้าใจไม่ตรงกันนี่มันเป็นเรื่องธรรมดา ข้องใจแล้วเขียนมาแย้งผมก็ยิ่งยินดีมากนะครับ ผมยอมรับความเข้าใจไม่ตรงกันเรื่องภาษาเสมอ เพราะแม้ผมพยายามสื่อไปถึงสิ่งที่อยู่พ้นภาษาออกไปแต่เราก็ยังต้องใช้ภาษาเป็นตัวสื่อถึงกันอยู่ ถ้าคุณไม่เขียนมา ผมก็ไม่รู้ว่าเราเข้าใจภาษาไม่ตรงกัน

     2.  เรื่องการอยู่กับปัจจุบันโดยไม่สนใจอนาคต ผมขออธิบายยาวหน่อยเพราะเห็นว่าท่านผู้อ่านท่านอื่นจะได้ประโยชน์ในแง่ที่เป็นภาคขยายของบทความด้วย คำว่าการอยู่กับปัจจุบันในที่นี้หมายถึงการใช้ชีวิตอยู่นอกมิติของเวลา ผมหมายถึงนอก psychological time เพราะมิติของเวลาเป็นคอนเซ็พท์ที่เราใช้ project ความคิดลบของเราขึ้นมาในใจ เช่นเราเอาความจำเรื่องเลวร้ายในอดีตมาคาดการณ์ความกลัว ความกังวล ว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต หรือเราหวนคิดถึงอดีตแล้วเศร้าใจ เสียใจ ทั้งหมดนั้นคือการอยู่กับความคิดซึ่งไม่ใช่การอยู่กับปัจจุบัน การอยู่กับปัจจุบันหมายถึงการจดจ่อตั้งใจทำขั้นตอนที่อยู่ตรงหน้าที่นี่เดี๋ยวนี้โดยไม่ไปคิดกังวลว่าอนาคตมันจะเละหรือจะดี แต่ไม่ใช่การเลิกนัดหมายเวลาตามนาฬิกา (clock time) แบบว่าเหวี่ยงนาฬิกาทิ้ง มันคนละเรื่องกัน ยกตัวอย่างเช่นผัวหนุ่มเมียสาวแต่งงานสร้างครอบครัววางแผนปลูกบ้านมีลูกส่งลูกเรียนเป็นขั้นๆ การอยู่กับปัจจุบันหมายความว่าเมื่อเขาวางแผนเขาวางแผนที่เดี๋ยวนี้อย่างตั้งใจโดยเมื่อวางแผนเสร็จแล้วก็ลงมือทำขั้นที่ 1 เลยโดยไม่ไปกังวลถึงขั้นที่ 2 หรือขั้นที่ 3 การตั้งใจทำตามแผนขั้นที่ 1 โดยไม่ไปกังวลถึงผลลัพท์หลังจากจบขั้นที่ 3 คือการอยู่กับปัจจุบัน แต่การไปกังวลถึงขั้นที่ 2 และขั้นที่ 3 ทั้งๆที่เวลายังมาไม่ถึงนั่นเป็นการไม่อยู่กับปัจจุบัน

     ผมเข้าใจว่าคุณคงอยู่ในวัยหนุ่มสาวหรือวัยทำงานอยู่นะครับ การทำงานโดยโฟกัสที่กระบวนการทำโดยไม่ต้องพะวงถึงผลลัพท์ (focus on process, zero result) นี้เป็นสิ่งที่ผมแนะนำอย่างแรงให้คนหนุ่มคนสาวเอาไปทดลองปฏิบัติ เพราะมันจะทำให้ชีวิตการทำงานมีความสุข และทำให้ผลงานออกมาดีกว่าการทำงานแบบคอยแต่กังวลถึงผลลัพท์ในอนาคตเสียอีก

     3. ข้อนี้คุณไม่ได้ท้วงติงมา แต่ผมเห็นคุณพูดถึง "แรงขับ" ในการทำงานของคนวัยหนุ่มสาว ผมก็ขอถือโอกาสนี้พูดกับคนหนุ่มสาวเสียด้วย ว่าการทำงานสร้างตัวนั้นมันมีสองแบบ แบบแรกคือแบบที่ผมเรียกว่า survival mode คือวิ่งตามเขาไป เอาเงินเป็นตัวชี้วัด ทุ่มเทหาเงินให้ได้มากๆ เท่าไหร่ก็ยังไม่พอ ด้วยหวังว่าจะรวยก่อนอายุห้าสิบแล้วเกษียณก่อนกำหนดมาเสวยสุข คือทนเหนื่อยยากในวันนี้เพื่อสบายในวันหน้า กับแบบที่สองผมเรียกว่า living mode คือเอาการใช้ชีวิตที่เดี๋ยวนี้ให้สงบเย็นเป็นตัวตั้ง งานการก็ทำไปให้ได้ดุลระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิต ไม่ต้องไปแข่งขันเอาเงินเอารวยเอาหรูเอายศชั้น แต่ขอให้เดี๋ยวนี้มันสงบเย็นเบิกบาน ในฐานะที่ผมเคยใช้ชีวิตอยู่ใน survival mode มาก่อนผมแนะนำคนหนุ่มคนสาวอย่างคุณได้อย่างเต็มปากเต็มคำว่าหากให้ผมย้อนกลับไปตั้งต้นชีวิตใหม่ในวัยยี่สิบต้นๆ ผมจะไม่ใช้ชีวิตใน survival mode อีกอย่างแน่นอนเด็ดขาด ผมจะใช้ชีวิตใน living mode แทนเพราะการใช้ชีวิตใน survival mode มันจบลงด้วยการที่เราผ่านชีวิตไปโดยแทบไม่ได้ใช้ชีวิตเลย เพราะชีวิตจริงมันใช้กันที่เดี๋ยวนี้ แต่นี่เราเอาเดี๋ยวนี้ไปสร้างอนาคตจนลืมใช้ชีวิต แล้วอนาคตนั้น หิ หิ ห้าสิบปีผ่านไปไวเหมือนโกหก พอผมแก่แล้วผมสามารถบอกคุณได้อย่างจริงใจเลยนะว่าอนาคตนั้นมัน..ไม่ได้มีอยู่จริงหรอก และเวลาอนาคตมันมาหาคุณมันมาในรูปของเดี๋ยวนี้ แล้วเดี๋ยวนี้คุณมัวไปสร้างอนาคต เออ..แล้วคุณจะไปใช้ชีวิตตอนไหนละ 

นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
[อ่านต่อ...]

20 พฤศจิกายน 2561

RDBY+Dashboard ป้องกันและพลิกผันโรคด้วยตนเองแบบตลอดไป

1. ความเป็นมาของ RDBY

        มันเริ่มจากตัวผมเองเคยป่วยเป็นโรคหัวใจขาดเลือด ความดันสูง ไขมันสูง ความที่อยากหนีจากแนวทางการรักษาแบบโรงพยาบาล (กินยา สวนหัวใจ บอลลูน ผ่าตัดบายพาส) จึงทบทวนวรรณกรรมและได้พบว่าการจัดการปัจจัยเสี่ยงของโรคโดยตัวผู้ป่วยเอง ทั้งในเรื่องอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการความเครียด การเสริมสร้างแรงบันดาลใจให้ตัวเอง ทำให้โรคดีขึ้นกว่าการรักษาในโรงพยาบาลเสียอีก จึงลงมือทำกับตัวเอง เมื่อเห็นว่าได้ผลดีจนสามารถพลิกผันโรคให้หายจากเจ็บหน้าอกและเลิกกินยาความดันไขมันได้หมด จึงตัดสินใจเลิกอาชีพหมอผ่าตัดหัวใจเปลี่ยนอาชีพมาเป็นหมอส่งเสริมสุขภาพ แต่เมื่อได้นั่งตรวจและสอนคนไข้ทีละคนอยู่ที่โรงพยาบาลก็พบว่ามันใช้เวลามากและช่วยคนไข้เป็นจำนวนน้อย และวิธีนั่งตรวจมันยังแก้ปัญหาสำคัญที่คนไข้ต้องการไม่ได้ นั่นคือทักษะปฏิบัติการและความบันดาลใจ ผมจึงเปลี่ยนแนวทางมาให้ความรู้กับคนป่วยคราวละหลายๆคน ทั้งในรูปแบบเขียนบล็อกตอบคำถาม และในรูปแบบแค้มป์กินนอนเพื่อเรียนรู้ทักษะและสร้างแรงบันดาลใจในการป้องกันและพลิกผันโรคด้วยตัวเอง (RDBY) ซึ่งก็ทำมาได้เกือบสามปีแล้ว

2. สิ่งที่เรียนรู้จาก RDBY 1-9 

     ทำแค้มป์ RDBY มา ก็ได้เรียนรู้ปัญหาและปรับปรุงเรื่อยมา แผนการเรียนแน่นเกินไปก็ทำให้มันบางลง เวลาที่ให้กับการตรวจร่างกายและประเมินสุขภาพเป็นการส่วนตัวกับหมอสันต์มีน้อยไปก็ลดจำนวนผู้เข้าแค้มป์ลงเหลือไม่เกินแค้มป์ละ 15 คน ต่อมาเมื่อแค้มป์ต้นๆจบคอร์สไปแล้วหลายปีก็พบปัญหาใหม่โผล่ขึ้นมาอีกหนึ่งอย่าง คือความจำเป็นที่จะต้องติดตามดูและสื่อสัมพันธ์กันระหว่างแพทย์กับทีมงานฝ่ายหนึ่ง กับผู้ป่วยอีกฝ่ายหนึ่งอย่างต่อเนื่องตลอดไปแม้จะจบแค้มป์ไปแล้ว เพราะโครงสร้างหลักสูตรเดิมที่ครบหนึ่งปีก็จบกันไปกลับบ้านใครบ้านมันนั้น เมื่อเกิดปัญหาสุขภาพขึ้นทำให้ผู้ป่วยขาดที่ปรึกษาชี้นำในการแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง ทำให้เคว้งคว้างกลางคัน

3. Health Dashboard สิ่งที่เพิ่มเข้ามาตั้งแต่ RDBY-10 

     การเปิด Health Dashboard บนอินเตอร์เน็ทเพื่อให้เป็นเครื่องมือให้ผู้ป่วยใช้ดูแลตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดไป โดยมีแพทย์ประจำตัวผู้ป่วยและทีมงานผู้ช่วยแพทย์เป็นพี่เลี้ยงคอยตอบคำถามและให้คำปรึกษาแนะนำไม่ให้ไปผิดทาง เป็นสาระสำคัญหนึ่งเดียวที่เพิ่มขึ้นมาตั้งแต่ RDBY-10 ตัว Health Dashboard นี้มีกลไกดังนี้

     (1) ในวันที่ผู้ป่วยที่มาเข้าแค้มป์ RDBY ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจร่างกายและประเมินสุขภาพโดยแพทย์ประจำตัวของตนเอง

     (2) แล้วทีมงานเวลเนสวีแคร์จะนำข้อมูลสุขภาพทั้งหมดของสมาชิกที่ได้จากการตรวจประเมินโดยแพทย์ขึ้นเก็บใน Health Dashboard

     (3) สมาชิกสามารถใช้ Health Dashboard นี้เป็นที่เก็บข้อมูลผลแล็บใหม่ๆ รวมทั้งภาพและวิดิโอ.ทางการแพทย์ ของตนได้ต่อเนื่องตลอดไป ตราบเท่าที่เวลเนสวีแคร์เซ็นเตอร์ยังไม่ล้มหายตายจากไปไหน

     (4) สมาชิกสามารถเข้าไปเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง แก้ไข ข้อมูลสุขภาพของตนได้ทุกรายการ ยกเว้น Patient Summary ซึ่งต้องสรุปให้โดยแพทย์เท่านั้น

     (5) อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง สมาชิกมีหน้าที่ปรับปรุงข้อมูลดัชนีสุขภาพสำคัญเจ็ดตัวของตนคือ (1) น้ำหนัก (2) ความดัน (3) น้ำตาล (4) ไขมัน (5) จำนวนผักผลไม้ที่กินต่อวัน (6) เวลาที่ใช้ในการออกกำลังกายต่อสัปดาห์ และ (7) การสูบบุหรี่

     (6) แพทย์ประจำตัวหรือทีมงานผู้ช่วยแพทย์จะทำการวิเคราะห์ความเสี่ยงสุขภาพและวางแผนสุขภาพให้และบันทึกไว้บน Dashboard

     (7) สมาชิกสามารถขอรับคำปรึกษาปัญหาจากแพทย์ประจำตัวของหรือทีมงานผู้ช่วยแพทย์โดยเขียนคำถามผ่านมาทาง Dashboard คำถามของสมาชิกจะได้รับการสนองตอบโดยผู้ช่วยแพทย์ที่เฝ้า Dashboard อยู่ ซึ่งจะปรึกษาแพทย์ประจำตัวของสมาชิกในกรณีที่เป็นปัญหาที่ต้องแนะนำโดยแพทย์ การตอบคำถามนี้จะมีประสิทธิภาพสูงสุดเพราะขณะตอบแพทย์หรือทีมงานมีข้อมูลสุขภาพของสมาชิกอยู่ตรงหน้าอยู่แล้ว

     (8) สมาชิกสามารถสั่งพิมพ์ใบสรุปข้อมูลสุขภาพ (Patient Summary) แบบหน้าเดียวซึ่งเขียนโดยแพทย์ประจำตัวของตน ไปใช้เพื่อเวลาไปรับการตรวจรักษาในสถานพยาบาลต่างๆได้ทุกเมื่อ

     หมายเหตุสำหรับผู้ป่วยเก่า (RDBY 1-9) 

     ทีมงานจะทะยอยนำข้อมูลสุขขภาพของผู้ป่วย RDBY ทุกแค้มป์ทุกคนขึ้นเก็บไว้ใน Health Dashboard ซึ่งอยู่ในก้อนเมฆ ผู้ป่วยเก่า (RDBY1-9) ทุกท่านสามารถเข้าไปใช้ Health Dashboard ได้โดยไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายอะไรเพิ่มเติม โดยโทรศัพท์ขอระหัสผ่านชั่วคราวจากทีมงานทาง (1) ผ่านทางไลน์ @wellnesswecare (2) อีเมล chernkwan@wellnesswecare.com (3) โทรศัพท์ หมายเลย 0636394003 โดยทั้งนี้ต้องให้เวลากับทีมงานในการขนย้ายข้อมูลขึ้นสักหนึ่งเดือนนับจากนี้ไป

     หมายสำหรับบุคคลทั่วไป 

     บุคคลทั่วไปที่สนใจจะนำข้อมูลสุขภาพของตนมาเก็บไว้บน Health Dashboard ก็สามารถทำได้ในฐานะ free users โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ แต่ต้องเข้าใจก่อนนะว่า Health Dashboard นี้ออกแบบมาเป็นเครื่องมือการสื่อสารกันระหว่างแพทย์ประจำตัวกับคนไข้ การจะมีแพทย์ประจำตัวในระบบของเวลเนสวีแคร์นี้มีช่องทางเดียว คือต้องมาเข้าแค้มป์ฝึกอบรม RDBY ดังนั้นผู้ที่ไม่ได้มาเข้า RDBY ก็จะไม่มีแพทย์ประจำตัว เ้มื่อไม่มีแพทย์ประจำตัว การใช้ Health Dashboard ก็จะได้ประโยชน์ไม่เต็มที่ กล่าวคือ

     (1) จะไม่ได้ใช้ช่องทางปรึกษาถามคำถามกับแพทย์หรือทีมงานผู้ช่วยแพทย์ เพราะ Health Dashboard มีสถานะตามกฎหมายเป็นสถานพยาบาล (คลินิก) การตอบคำถามโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้หยูกใช้ยาก็ถือว่าเป็นการรักษา ซึ่งตามมาตรฐานวิชาชีพถือว่าควรมีการพบหน้ากันได้ซักประวัติได้ตรวจร่างกายกันก่อน

     (2) จะไม่ได้รับบริการให้แพทย์วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงสุขภาพและวางแผนสุขภาพประจำปีให้ เพราะ free user ไม่มีแพทย์ประจำตัว
   
     (3) จะไม่สามารถสั่งพิมพ์ใบสรุปสุขภาพผู้ป่วย (Patient Summary) ซึ่งต้องเขียนให้โดยแพทย์ประจำตัว

     บุคคลทั่วไปที่ทราบและยอมรับข้อจำกัดเหล่านี้แล้ว หากยังสนใจจะใช้ Health Dashboard เป็นที่เก็บข้อมูลสุขภาพของตนก็สามารถคลิกเข้าไปใช้ที่ข้างล่างนี้ได้เลย

https://healthdashboard.wellnesswecarehub.com/

4. ภาพรวมของคอร์ส RDBY

     หลักสูตรนี้เป็นการใช้การแพทย์แบบอิงหลักฐาน (Evidence Based Medicine) มีแพทย์ประจำตัวสอนให้ผู้ป่วยดูแลตัวเองเป็น ผู้ป่วยจะต้องมาเข้าแค้มป์ดังนี้

     4.1 แค้มป์เริ่มต้น 3 วัน สองคืน แล้วกลับไปปฏิบัติด้วยตนเองที่บ้านโดยมีแพทย์และพยาบาลของเวลเนสวีแคร์เป็นพี่เลี้ยงโดยติดต่อกันทาง Health Dashboard ไปอย่างต่อเนื่อง

     4.2 แค้มป์ติดตาม (RD follow-up) 2 วัน 1 คืน ห่างจากแค้มป์แรกหกเดือน เพื่อให้มาติดตามผลการดูแลตัวเองกับแพทย์แบบตัวต่อตัวอีกคร้้ง และสรุปปิดแค้มป์
 
     4.3 การติดตามหลังจากนั้นจะทำผ่าน Health Dashboard โดยบริการอย่างต่อเนื่อง และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม แต่ถ้าสมาชิกอยากจะมาเข้าแค้มป์ติดตามซ้ำอีกก็สามารถลงทะเบียนเข้าแค้มป์ RD follow-up ได้อีกตามความถี่ที่ตนถนัด โดยเสียเงินเองค่าเข้าแค้มป์เอง (สองวันหนึ่งคืน ครั้งละ 6,000 บาท)

     โปรแกรมนี้รับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังทุกโรค เน้นผู้ป่วยโรคหัวใจ ความดัน เบาหวาน ไขมัน อ้วน อัมพาต โดยรับทุกระยะความหนักเบาของโรค และรวมถึงคนที่มีภาวะแทรกซ้อนของโรคเช่นเป็นไตวายเรื้อรังร่วมด้วย

     ในกรณีโรคมะเร็ง อาจเลือกเข้า RDBY หรือมาเข้าแค้มป์โรคมะเร็ง (Cancer Camp) โดยตรงซึ่งก็จะได้สิทธิเป็นสมาชิก Health Dashboard เช่นเดียวกับ RDBY

     ในกรณีที่อายุมากหรือมีอาการมากที่ตามปกติต้องมีผู้ดูแลประจำตัวอยู่แล้ว ต้องให้ผู้ดูแลมาลงทะเบียนเข้าคอร์สเป็นผู้ติดตามด้วย

     แม้ว่าผู้สมัครเข้าร่วมโปรแกรมนี้จะมีแพทย์ประจำตัว แต่ผู้ป่วยไม่ต้องเลิกจากแพทย์เฉพาะทางที่ดูแลกันมาแต่เดิม เพราะแพทย์ประจำตัวจะทำหน้าที่เป็นแพทย์ประจำครอบครัว (family physician) และจะประสานเชื่อมโยงกับแพทย์เฉพาะทางที่ดูแลผู้สมัครมาแต่เดิมให้ดูแลต่อไปในลักษณะการดูแลร่วมกัน

     ผู้สมัครเข้าร่วมโปรแกรมนี้ไม่จำเป็นต้องยกเลิกยาหรือการรักษาที่ตนเองได้มาแต่เดิมในขณะที่เริ่มหันมารักษาด้วยวิธีดูแลตนเอง เพราะการรักษาโรคตามโปรแกรมนี้ใช้หลักวิชาการแพทย์แผนปัจจุบันเช่นเดียวกันกับการรักษาในโรงพยาบาล เพียงแต่มุ่งเน้นการเพิ่มขีดความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยจนถึงระดับดูแลตัวเองได้ด้วยตนเอง จึงสามารถทำคู่ขนานไปกับการรักษาในโรงพยาบาลได้ เมื่อผู้ป่วยดูแลตนเองได้ดีขึ้น ตัวชี้วัดสุขภาพจะค่อยๆบ่งชี้ว่าความจำเป็นที่จะต้องพึ่งการรักษาด้วยยาในโรงพยาบาลจะลดลงไปเองโดยอัตโนมัติจนสามารถเลิกยาได้ในที่สุด

5. หลักสูตร (Course Syllabus) 

5.1 วัตถุประสงค์

5.1.1 ในด้านความรู้
คาดหวังให้ผู้ป่วยรู้สิ่งต่อไปนี้
a. รู้เรื่องโรคของตัวเอง ทั้งพยาธิกำเนิด พยาธิวิทยา
b. รู้จักตัวชี้วัดที่ใช้เฝ้าระวังการดำเนินของโรค
c. รู้ทางเลือกวิธีรักษาทุกวิธี และรู้ประโยชน์และความเสี่ยงของแต่ละทางเลือกอย่างละเอียด
d. รู้จักยาทุกตัวที่ตนเองได้รับ ทั้งชื่อ ขนาด วิธีกิน กลุ่มยา ฤทธิ์ยา และผลข้างเคียง
e . รู้ว่าตนเองสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อให้ตนเองหายจากโรค
     - ในแง่ของโภชนาการ รู้ประโยชน์ของอาหารพืชที่ไม่ผ่านการสกัดขัดสี (plant based, whole food) ที่ปรุงโดยใช้น้ำมันน้อย รู้โทษของเนื้อแดงและเนื้อสัตว์ที่ผ่านกระบวนการถนอม
     - ในแง่ของการออกกำลังกาย รู้ประโยชน์และวิธีออกกำลังกายทั้งสามแบบ คือแบบแอโรบิก (aerobic exercise) แบบฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (strength training) และแบบเสริมการทรงตัว (balance exercise)
     - ในแง่ของการจัดการความเครียด รู้ประโยชน์และวิธีจัดการความเครียดด้วยเทคนิคฝึกวางความคิด
     - ในแง่ของการร่วมกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน รู้ประโยชน์และพลังของกลุ่มและรู้วิธีทำกิจกรรมในกลุ่ม
f. รู้วิธีใช้ Health Dashboard ในการป้องกันและพลิกผันโรคด้วยตนเอง

5.1.2. ในด้านทักษะ
คาดหวังให้ผู้ป่วยสามารถทำสิ่งต่อไปนี้ด้วยตนเอง
a.       บริหารจัดการโรคของตนเองได้โดยใช้ตัวชี้วัดพื้นฐาน 7 ตัว (1) น้ำหนัก (2) ความดันเลือด (3) ไขมันในเลือด (4) น้ำตาลในเลือด (5) ปริมาณผักผลไม้ที่กินต่อวัน (6) เวลาออกกำลังกายต่อสัปดาห์ (7) การสูบบุหรี่
b.       เลือกอาหารสำเร็จรูปหรือกึ่งสำเร็จรูปในตลาดที่เป็นอาหารพืชแบบไม่สกัดไม่ขัดสีได้
c.       ผัดทอดอาหารโดยใช้น้ำหรือใช้ลมร้อนแทนน้ำมันได้
d.       อบถั่วและนัทไว้เป็นอาหารว่างเองได้
e.       ทำเครื่องดื่มจากผักผลไม้โดยไม่ทิ้งกากด้วยตนเองได้
f.        ประเมินสมรรถนะร่างกายของตนเองด้วยการสังเกตอัตราการหายใจ การนับชีพจรจากเครื่องช่วยนับ และการทำ One milk walk test ให้ตัวเองได้
g.       ออกกำลังกายแบบแอโรบิกได้ด้วยตนเอง อย่างน้อย 1 วิธี
h.       ออกกำลังกายแบบฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อโดยใช้ท่ากายบริหาร ดัมเบล สายยืด และกระบอง ได้ด้วยตนเอง
i.         ออกกำลังกายแบบเสริมการทรงตัวได้ด้วยตนเอง
j.         สามารถกำกับดูแลท่าร่าง (posture) ในชีวิตประจำวันของตนเองได้
k.       ผ่อนคลายความเครียดเฉียบพลันด้วยเทคนิค relax breathing ได้
l.         จัดการความเครียดในชีวิตประจำวันด้วยการฝึกวางความคิดได้
m.     สามารถร่วมกิจกรรมกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน ทั้งในเชิงเป็นผู้เปิดแชร์ความรู้สึกและเป็นผู้ให้การพยุงได้
n. สามารถใช้ Health Dashboard ในการดูแลตนเองต่อเนื่องได้ด้วยตนเอง

5.1.3    ในด้านเจตคติ
คาดหวังให้ผู้ป่วยเกิดเจตคติต่อไปนี้
a.       มีความมั่นใจว่าตนเองมีอำนาจ (empowered) ที่จะดลบันดาลให้โรคของตัวเองหายได้
b.       มีความมุ่งมั่นในพันธะสัญญา (commitment) ที่จะเป็นผู้ดูแลตนเองไม่ให้เป็นภาระแก่คนอื่น
c.       มีความอยาก (motivated) ที่จะมีชีวิตอย่างมีคุณภาพ มีความสุข

6. ตารางกิจกรรม

วันที่ 1. (แค้มป์ต้นคอร์ส)

8.00-14.00 Registration
ลงทะเบียนเข้าแค้มป์ เช็คอินเข้าห้องพัก วัดดัชนีมวลกาย วัดความดันเลือด จัดทำเวชระเบียนส่วนบุคคล ตรวจร่างกายและวางแผนจัดการโรคร่วมกับแพทย์ (คนละ 20 นาที) พักรับประทานอาหารว่างและอาหารกลางวันในขณะผลัดกันเข้าพบแพทย์
14.00 - 15.30
Getting to know each other ทำความรู้จักกันและเรียนรู้เรื่องโรคของกันและกัน
15.30 – 16.30
Briefing. Plant-based, whole food บรรยายเรื่องโภชนาการที่มีพืชเป็นหลัก ไม่สกัด ไม่ขัดสี
16.30-17.30
Tea break & Workshop: Shopping wisely พักรับประทานน้ำชา และทำเวอร์คชอพจ่ายตลาดฉลาดซื้อ
17.30-18.00
Garden tour เดินเล่น ทัวร์สวนผักและพืชสมุนไพร
18.00 - 20.00
Dinner and peer support group activity อาหารเย็นและกิจกรรมกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน

วันที่ 2. (แค้มป์ต้นคอร์ส)

6.30 - 7.30
Workshop: – Aerobic exercise and One milk walk test ฝึกออกกำลังกายแบบแอโรบิก และประเมินสมรรถนะร่างกายตนเองด้วยวิธีเดินหนึ่งไมล์
7.30 – 9.00
Breakfast and personal time - รับประทานอาหารเช้า อาบน้ำ และพักผ่อนส่วนตัว
9.00 - 10.00
Self management for heart disease จัดการโรคหัวใจขาดเลือดด้วยตนเอง
10.00 - 10.30
Workshop: Blood pressure measurement ฝึกปฏิบัติ วิธีวัด บันทึก และวิเคราะห์ความดันเลือด
10.30 - 10.45
Tea break พักดื่มน้ำชา
10.45 - 11.30
Self management for hypertension จัดการโรคความดันเลือดสูงด้วยตนเอง
11.30 – 13.00
Workshop: Plant-based, no oil cooking class ชั้นเรียนทำอาหารแบบพืชเป็นหลัก โดยไม่ใช้น้ำมัน และรับประทานอาหารกลางวันที่ตนเองทำ
13.00 - 14.00
Weight loss การลดน้ำหนัก
14.00 - 15.00
Self management for diabetese จัดการโรคเบาหวานด้วยตนเอง
15.00-15.15
Tea break พักดื่มน้ำชา
15.15 - 16.30
Workshop: Muscle relaxation การฝึกปฏิบัติผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
16.30 - 17.30
Workshop: Strength training การฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อด้วยดัมเบลและสายยืด

18.30 - 20.00 Dinner and peer support group activity อาหารเย็นและกิจกรรมกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน


วันที่ 3. (แค้มป์ต้นคอร์ส)

6.30 - 7.30
Workshop: Mindfulness movement exercise (Tai Chi) ฝึกสติด้วยวิธีตามรู้การเคลื่อนไหวแบบ Tai Chi
7.30 - 9.00
Breakfast and personal time รับประทานอาหารเช้าและทำกิจส่วนตัว
9.00-10.30
Workshop: Self Management (SM) การฝึกใช้ดัชนี 7 ตัวจัดการปัจจัยเสี่ยงสุขภาพด้วยตนเอง
10.30 -12.00
Workshop: Health Dashboard ฝึกใช้เครื่องมือติดตามการป้องกันและพลิกผันโรคด้วยตนเองแบบต่อเนื่องผ่านอินเตอร์เน็ท
Tea break พักดื่มน้ำชา ในชั้นเรียน HRM
12.00-13.00
Lunch รับประทานอาหารกลางวัน
13.00-13.45
Workshop: AED and CPR ฝึกปฏิบัติการใช้เครื่องช็อกหัวใจด้วยไฟฟ้าและการปั๊มหัวใจ
13.45-14.15
Workshop:Peer support group meeting ประชุมกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน
14.15-16.00
Workshop: Self management seminar ถามตอบการจัดการโรคทุกประเด็น
16.00
ปิดแค้มป์

7. ความปลอดภัยขณะเข้าแค้มป์

     ผู้ป่วยที่มาเข้าโปรแกรมนี้ส่วนหนึ่งเป็นผู้ป่วยหนัก บ้างทำผ่าตัดบายพาสมาแล้ว บ้างทำบอลลูนมาแล้วคนละครั้งสองครั้ง บ้างแค่เดินสองสามก้าวก็หอบหรือเจ็บหน้าอกแล้ว ความกังวลเรื่องความปลอดภัยเป็นเรื่องธรรมดา ตัวหมอสันต์เองเป็นหมอผ่าตัดหัวใจมาก่อน จึงละเอียดรอบคอบและไม่ประมาทในเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วย การเตรียมการด้านความปลอดภัยขณะเข้าแค้มป์ทุกครั้งรวมไปถึงการมีอุปกรณ์เครื่องมือเพื่อรับมือกับภาวะฉุกเฉินได้เทียบเท่ากับห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลทั่วไป รวมทั้งขีดความสามารถที่จะเปิดหลอดเลือดให้น้ำเกลือหรือยาทางหลอดเลือดดำได้ทันที ขีดความสามารถที่จะใส่ท่อช่วยหายใจและช่วยการหายใจในภาวะฉุกเฉิน นอกจากนั้นยังมีขีดความสามารถที่จะช็อกไฟฟ้าหัวใจในกรณีฉุกเฉิน โดยมีแพทย์หรือพยาบาลผู้ป่วยวิกฤติอยู่ประจำในแค้มป์ 24 ชั่วโมง ตลอดการฝึกอบรม

     ที่เล่าทั้งหมดนี้ให้ฟังอาจจะมีผลเสียทำให้เข้าใจผิดว่าการจะปรับวิถีชีวิตเพื่อพลิกผันโรคให้ตัวเองนั้นเป็นเรื่องอันตราย ความเป็นจริงไม่ใช่เลย การปรับการใช้ชีวิตทั้งอาหารและการออกกำลังกายเพื่อดูแลตัวเองให้ได้นั้นเป็นกลไกรักษาโรคตามธรรมชาติ มีอันตรายน้อยกว่าการรักษาด้วยยา บอลลูน หรือผ่าตัดในโรงพยาบาลอย่างเทียบกันไม่ได้ แต่หมอสันต์จำเป็นต้องเตรียมความพร้อมด้านความปลอดภัยในแค้มป์ให้มากเกินความจำเป็นไว้สักหน่อย เพียงเพื่อให้ผู้ป่วยหนัก ซึ่งเป็นกลุ่มที่จะได้ประโยชน์มากที่สุดจากการเข้าแค้มป์ กล้ามาเข้าแค้มป์เท่านั้นเอง

8. การลงทะเบียนเข้าแค้มป์ RDBY

ลงทะเบียนได้ 3 วิธี

(1) ผ่านทางไลน์ @wellnesswecare
(2) อีเมล chernkwan@wellnesswecare.com
(3) โทรศัพท์ หมายเลย 0636394003

ในทุกกรณีเมื่อได้ที่นั่งแล้ว จะต้องโอนเงินค่าลงทะเบียนเข้าบัญชี ธนาคารกสิกรไทย สาขาสมุทรปราการ ชื่อบัญชี  บริษัท เมก้า วี แคร์ จำกัด เลขที่บัญชี 007-368-5478 ภายใน 24 ชั่วโมงหลังได้สำรองที่เรียนแล้ว หากพ้น 24 ชั่วโมงไปแล้วถือว่าสละสิทธิ์ ที่นั่งที่สำรองได้จะถูกจัดสรรไปให้ผู้อื่นก่อน

9. การตรวจสอบตารางแค้มป์

สามารถตรวจสอบตารางแค้มป์ล่วงหน้าได้ทางคอลัมน์ทางขวามือของบล็อกหมอสันต์นี้ (visitdrsant.blogspot.com) หรือที่เว็บไซท์ https://www.wellnesswecare.com/th/static/program-calendar

10. ราคาค่าลงทะเบียน

     ค่าลงทะเบียนสำหรับตลอดคอร์ส (เข้าแค้มป์สองครั้ง ติดตามทาง HealthDashboard ต่อเนื่องไม่กำหนดวันจบ) คนละ 25,000 บาท ค่าลงทะเบียนนี้รวมถึงใช้จ่ายในการเข้าแค้มป์กินนอนรวม 2 ครั้ง (ครั้งแรกสามวันสองคืน ครั้งที่สองสองวันหนึ่งคืน) และการติดตามทาง Health Dashboard ต่อเนื่องไปตลอดตราบใดที่เวลเนสวีแคร์เซ็นเตอร์ยังอยู่ ในการเข้าแค้มป์แต่ละครั้งก็ครอบคลุมถึงค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าวิทยากร ค่าอุปกรณ์การฝึกทักษะ ค่าตรวจร่างกาย ค่าใช้จ่ายในการติดตามโดยแพทย์และพยาบาลทาง Health Dashboard) หลังจากออกจากแค้มป์กลับไปอยู่บ้าน แต่ไม่ครอบคลุมถึงค่าเดินทางไปและกลับระหว่างบ้านกับแค้มป์ (ผู้ป่วยไปเองกลับเอง) ไม่ครอบคลุมค่ายาและค่ารักษาพยาบาลส่วนบุคคลใดๆทั้งสิ้น

     กรณีเป็นผู้ติดตาม ผู้ดูแลหรือ caregiver ก็ต้องลงทะเบียนเรียนเหมือนผู้ป่วยทุกอย่าง ค่าลงทะเบียนผู้ติดตามคนละ 15,000 บาท ซึ่งรวมค่ากิน ค่าอยู่ ค่าเข้าร่วมเรียนและทำกิจกรรมทุกอย่างในแค้มป์ แต่ไม่ได้รับการตรวจร่างกายโดยแพทย์ และไม่ได้สิทธิเป็นสมาชิกของ Health Dashboard และไม่รวมค่าเดินทางไปกลับ

11. ระยะก่อนเข้าแค้มป์ (Pre-camping preparation) 

     ผู้ป่วยทุกท่านที่ได้รับเข้าโปรแกรมแล้ว จะต้องจัดส่งข้อมูลโรคของตนมาให้แพทย์วิเคราะห์ล่วงหน้าก่อนวันมาแค้มป์ โดยทำได้สองทางคือ

11.1 เข้าไปสมัครเป็นผู้ใช้ประเภทบุคคลทั่วไปของ Health Dashboard แล้วกรอกข้อมูลสุขภาพทั้งหมดไว้ในนั้น เมื่อมาถึงแค้มป์และได้รับการตรวจร่างกายโดยแพทย์แล้วแจ้งให้ทีมงานทราบ ทีมงานจะใช้ข้อมูลนั้นเพื่อการประเมินสุขภาพของท่าน

11.2. ส่งข้อมูลมาทางอีเมล somwong10@gmail.com (ที่เดียวเท่านั้น) โดยอย่างน้อยต้องส่งข้อมูลพื้นฐานซึ่งจำเป็นต้องใช้ต่อไปนี้มา คือ

(1) ชื่อ นามสกุล
(2) วันเดือนปีเกิด
(3) เพศ
(4) เบอร์โทรศัพท์มือถือ
(5) อีเมลแอดเดรส
(6) เลขบัตรประจำตัวประชาชน
(7) ส่วนสูง
(8) น้ำหนัก
(9) ความดันเลือด
(10) น้ำตาลในเลือด (FBS) หรือน้ำตาลสะสม (HbA1C)
(11) ไขมันเลว (LDL)
(12) ตัวชี้วัดการทำงานของไต (eGFR หรือ Cr)
(13) เอ็นไซม์แสดงการทำงานของตับ (SGPT)
(14) การวินิจฉัย (ชื่อ) โรคทุกโรคที่รักษาอยู่ในปัจจบัน
(15) อาการป่วยทุกอาการที่มีในปัจจุบัน
(16) ยาทุกตัวที่กินอยู่ในปัจจุบัน พร้อมทั้งขนาด และวิธีกิน
(17) ผลการตรวจจำเพาะต่างๆ ถ้ามี เช่น ผลการตรวจเลือดอื่นๆ ภาพเอ็กซเรย์ปอด ผลตรวจสมรรถนะหัวใจ (EST) คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) ผลการตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยคอมพิวเตอร์ (CTA) ผลการตรวจสวนหัวใจ (CAG) ผลการตรวจผลการตรวจ CT สมอง โดยกรณีเป็นภาพหากส่งเป็นไฟล์ดิจิตอลได้ก็จะเป็นพระคุณ แต่หากส่งไม่ได้จะเอาโทรศัพท์ถ่ายแล้วส่งไฟล์รูปมาก็ได้ กรณีเป็นใบรายงานผลให้เอาโทรศัพท์ถ่ายใบรายงานแล้วส่งไฟล์มาก็ได้
(18) คำบอกเล่าลักษณะการใช้ชีวิตประจำวัน เน้นที่
- การบรรยายลักษณะอาหารที่กินแต่ละมื้อทุกมื้อ
- การออกกำลังกายที่ทำในแต่ละวัน
- วิธีจัดการความเครียดที่ใช้อยู่ประจำ
- ความกังวล (concern) ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นพิเศษ หากมีอยู่ในใจก็ให้แจ้งมาให้หมอสันต์ทราบด้วย

9.  สถานที่เรียน คือ เวลเนสวีแคร์เซ็นตเตอร์ (มวกเหล็ก-เขาใหญ่) ตามแผนที่ข้างล่างนี้

(รายละเอียดอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความจำเป็นและความต้องการของผู้เรียนแต่ละแค้มป์)

นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
[อ่านต่อ...]

19 พฤศจิกายน 2561

อะไรเป็นแรงบันดาลใจ

สวัสดีค่ะอาจารย์หมอสันต์
พยายามเขียนมาถามอ.สามครั้งแล้วแต่ไม่รู้ไปกดปุ่มอะไรข้อความหายต้องพิมพ์ซ้ำแล้วซ้ำเล่
หลังจากอ่านบทความข้างต้นเกิดคำถามว่า...
     หนี่ง อะไรเป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้อาจารย์ศึกษาด้านจิตวิญญาณและปฏิบัติจนหลุดพ้น
     สอง..ถ้าการปฏิบัติของอาจารย์ไม่เกี่ยวข้องกับศาสนาใดๆ แต่ผลลัพธ์ออกมาดี เป็นการทำความดี
ทั้งร่างกายและจิตใจโดยไม่ทุกข์ แล้วอย่างนี้จะมีศาสนาเพื่อสร้างความขัดแย้งหรือแตกแยกเพื่ออะไร
     สาม..ทำอย่างไรที่จะชักชวนครอบครัวหรือคนรอบข้างให้มีวิถีชีวิตที่เราเห็นว่า ประหยัด สมถะ เรียบง่าย และไม่มีโรคทั้งร่างกายและจิตใจ เช่่น การกินมังสวิรัติ ออกกำลังโยคะ ปลูกผักสวนครัว และผลไม้ทานเอง ฯลฯ ซึ่งทำตัวอย่างที่ตัวเราเองก็แล้ว(ไม่ไปรพ. หรือทานยาใดๆไม่ต่ำกว่าสิบปีแล้ว) ส่งบทความของ อาจารย์ หรือของคนอื่นที่เราก็เอามาทำแล้วเห็นผลดีก็แล้ว ยังไม่สามารถเป็นแรงบันดาลใจให้พวกเขา หันมาเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ห่างไกลโรคได้ (ส่วนใหญ่เป็นโรคเบาหวาน ความดัน ไขมันสูง) พวกนี้มีการศึกษาไม่ต่ำกว่าป.ตรี แต่ดูแล้วห่างไกลปริญญาชีวิตจริงๆ คงต้องปล่อยวาง จนกว่าเขาจะเห็นความทุกข์จึงเห็นธรรม ซึ่งก็อาจสายไป แต่ด้วยความรักและห่วงใยพวกเขา ดิฉันไม่อยากให้เกิดปัญหา ที่สายเกินแก้จริงๆค่ะ อาจารย์พอจะมีวิธีที่ดีกว่านี้ที่จะช่วยคนรอบข้างได้บ้างคะ
ขอบพระคุณมากค่ะ
คนมีห่วง
..................................................

ตอบครับ

     1. ถามว่าอะไรเป็นเหตุให้หมอสันต์มาสนใจเรื่องจิตวิญญาณ ตอบว่าคุณทำไมชอบแคะคุ้ยอดีตนัก มันไม่ช่วยให้คุณบรรลุอะไรนะ เพราะอดีตไม่ใช่ของที่มีอยู่จริง มันเป็นแค่ความคิดที่คุณคิดออกไปจากปัจจุบันเท่านั้น แต่คุณถามมาแล้วแม้จะไร้สาระผมก็ตอบให้ได้เพราะผมชอบตอบทุกคำถามไม่ว่าจะมีสาระหรือไม่ มีอยู่ครั้งหนึ่งหลายปีมาแล้วมีเด็กผู้หญิงถามเกี่ยวกับเรื่องเซ็กซ์มาแบบอ้าซ่ามาก พอผมตอบไปปุ๊บก็มีแฟนบล็อกผู้แก่ธรรมะเขียนเข้ามาทักท้วงปั๊บว่าหมอสันต์ตอบคำถามอย่างนี้ทำไมทำให้เด็กใจแตกเปล่าๆ หิ หิ กลับมาเรื่องของเราดีกว่า เหตุที่ผมสนใจเรื่องทางจิตวิญญาณมันเป็นการประชุมแห่งเหตุ หมายความว่ามีหลายสาเหตุมาพอกๆกันเข้าจึงเกิดผลอย่างนี้ขึ้นมา สาเหตุใหญ่ๆได้แก่

     1.1 ตอนเป็นเด็กพ่อแม่ยากจน ต้องไปอาศัยวัดเพื่อเรียนหนังสือ การอยู่วัดทำให้ได้เห็นความโดดเด่นของพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นเสมือนเทพสูงสุดแทรกซึมไปทุกอณูของชีวิตผู้คนในสมัยนั้น ผมรู้ว่าพระพุทธเจ้าเป็นคนธรรมดาคนหนึ่ง แต่ไม่รู้ลึกซึ้งหรอกว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไรเพราะบทสวดที่ถูกบังคับให้ท่องนั้นเป็นภาษาบาลี แต่แม้จะไม่รู้ว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไรผมก็ประทับใจว่าทุกคนทุกระดับชั้นภูมิปัญญาต่างก็เคารพบูชาพระพุทธเจ้าอย่างจริงใจ ไปหมู่บ้านไหนก็มีแต่วัด ทำให้ผมมีความคิดแว้บหนึ่งว่าสักวันหนึ่งจะตั้งใจศึกษาดูให้ถ่องแท้ซิว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร แต่ก็เป็นแว้บเดียวแล้วหายไป
 
     1.2 ช่วงหนึ่งในชีวิตได้ไปเรียนโรงเรียนบนดอยของมิชชันนารี (คริสต์) ได้สัมผัสชีวิตของคุณพ่อบาทหลวงซึ่งเป็นวิศวกรชาวอิตาลี ก็ได้ความประทับใจมาอย่างหนึ่งว่าคนเรานี่สามารถมีชีวิตอยู่แบบทำทุกอย่างให้คนอื่นโดยตัวเองไม่เอาอะไรเลยก็มีอยู่นะ คำถามที่ผมตั้งขึ้นในใจคือทำไมใช้ชีวิตแบบนี้แล้วยังสุขกายสบายใจดีอยู่ได้ คนทั่วไปเสียอีกที่ใช้ชีวิตแบบตั้งหน้าตั้งตาทำมาหากินเก็บสะสมไว้เลี้ยงตัวเองกลับมีชีวิตแบบกระเสือกกระสนปากกัดตีนถีบเคร่งเครียดลำบากลำบน นี่เป็นคำถามที่ตั้งทิ้งไว้เฉยๆในวัยเด็กนะ

     1.3 เมื่ออายุ 17 ปี พ่อป่วยแล้วตาย สมัยโน้นการเผาศพต้องเอาศพขึ้นวางบนกองฟืน ผมบวชห่มผ้าเหลือง (ทางเหนือเขาเรียกว่าบวชจูงศพ) ยืนดูภาพที่พ่อถูกเผาอยู่ในกองไฟ ผมก็เกิดปิ๊งแว้บขึ้นมาว่าชีวิตอย่างนี้ต้องมีอะไรผิดพลาดแน่ๆ เกิดมาพบกันผูกพันห่วงใยกันลึกซึ้งแล้วก็ต้องถูกจับพรากจากกันไปไม่ช้าก็เร็ว ถ้าจะเกิดมาเพื่อมามีชีวิตอย่างนี้ จะเกิดมาทำพรือ แต่มันก็เป็นแค่ความคิดแว้บเดียว แล้วทุกอย่างก็กลับเข้าสู่โหมดปกติ

     1.4 พอมาเป็นหมอ ได้อยู่กับคนตายมากขึ้นๆ เห็นการตายส่วนใหญ่เป็นการตายแบบทุรนทุราย กลัว หนี ยื้อ ไม่อยากไปแต่ก็ถูกถีบให้ไปจนได้โดยไม่รู้ว่าจะไปไหน ช่างเป็นการตายที่ไม่รื่นรมย์เลย ผมก็เกิดข้อคิดเตือนใจตัวเองว่าก่อนจะตายน่าจะศึกษาหาวิธีตายแบบดีๆหน่อยนะ ไม่อยากตายอย่างนี้ แต่ก็เป็นแค่ข้อเตือนใจ ยังไม่ต้องทำอะไร เพราะผมยังหนุ่ม ยังไม่ตายง่ายๆหรอก

     1.5 พออายุ 55 ปีตัวผมเองป่วยเป็นโรคหัวใจขาดเลือด เฮ้ย..ย นี่อาจจะตายกะทันหันเมื่อไหร่ก็ได้แล้วนะ ความเป็นห่วงลูกเมียทำให้หันมาดูแลร่างกายตัวเองอย่างจริงจัง ส่วนทางด้านจิตใจนั้น การบ้านที่จดไว้ในส่วนลึกๆตั้งแต่วัยเด็กๆก็ถูกนำเสนอขึ้นมาในใจเป็นฉากๆ โอ้ละหนอ..วีซ่าชีวิตกำลังจะหมดลงแล้ว แต่คำถามที่ว่าเกิดมาทำไม ชีวิตมีแค่นี้หรือ ยังไม่ได้คำตอบเลย จึงเป็นที่มาของการรีบค้นหา..เอาตอนเมื่อแก่แล้ว

     2. ถามว่าถ้าคนดูแลตัวเองแล้วร่างกายจิตใจดีได้ไม่มีทุกข์ จะมีศาสนาไว้ให้คนทะเลาะกันทำไม ตอบว่า

     "อ้าว ถามอย่างนี้จะหาเรื่องให้หมอสันต์ถูกตื้บแล้วนะเนี่ย"

     ทุกศาสนาสอนให้ถอยความปักใจเชื่อในความเป็นบุคคลของตัวเราเองเพื่อเข้าไปสู่ส่วนลึกของชีวิตที่สงบเย็นและสถาพรกว่า สิ่งนั้นบางศาสนาสร้างเป็นจินตนภาพว่าเป็นเทพหรือพระเจ้าเพื่อให้ผู้คนเข้าถึงได้ง่ายขึ้น บางศาสนาก็สอนแค่ให้วางความคิดยึดถือในความเป็นบุคคลของตัวเองแบบลุ่นๆแล้วปล่อยให้เข้าไปถึงชีวิตที่สงบเย็นนั้นเอาเองโดยไม่ต้องรู้ล่วงหน้าว่ามันคืออะไรเป็นอย่างไร แต่สาระสำคัญนั้นเหมือนกัน คือปล่อยวางความคิด เข้าสู่ความสงบเย็น

     แต่การนำคำสอนมาใช้ เป็นเรื่องของระดับภูมิปัญญาและเจตนาของแต่ละบุคคล ไม่เกี่ยวกับสาระคำสอน เหมือนสากกระเบือจะใช้ตำน้ำพริกก็ได้ ใช้แพ่นกะบาลสามีก็ได้ แล้วแต่คนจะเลือกใช้ เมื่อคนยังยึดติดในความเชื่อว่าความเป็นบุคคลของตนหรือตัวฉันนี้เป็นของจริง ความยึดติดนี้ผูกพันยึดโยงกันขึ้นเป็นคอนเซ็พท์ต่างๆต่อออกไปจากตัวฉัน เช่น ภรรยาของฉัน ครอบครัวของฉัน หมู่บ้านของฉัน เผ่าของฉัน ชาติบ้านเมืองของฉัน แล้วก็ผูกโยงเข้ากับศาสนาของฉัน ถ้าผูกแล้วเข้ากันไม่ถนัดก็แตกออกเป็นนิกายแบบคิดเอาเองเพื่อจะให้มันผูกกันให้ได้ แล้วก็ยกพวกตีกัน ดังนั้นเมื่อมองย้อนไปดูการฆ่ากันครั้งใหญ่ๆในประวัติศาสตร์ของมนุษย์รวมทั้งสงครามโลกทุกครั้งด้วย จะผูกโยงอยู่กับคอนเซ็พท์หรือความเชื่อในเรื่องชาติและศาสนา ชาติและศาสนาในมุมนี้ไม่เกี่ยวกับสาระแก่นคำสอน แต่เป็นเพียงคอนเซ็พท์หรือความคิดที่ผูกโยงกันไว้เพื่อให้ยกพวกตีกันถนัดเท่านั้น บางทีแค่คอนเซ็พท์มันยังตีกันไม่ถนัด ต้องเอาตัวช่วยอื่นๆเช่นสีเสื้อเหลืองแดง หรือผ้าโพกหัวมาช่วยด้วยจะได้ตีกันถนัดขึ้น (แหะ แหะ ขออนุญาตแขวะ) ทั้งหมดนี้ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับเนื้อหาคำสอนในสาระหลักของแต่ละศาสนาเลย ดังนั้น ถึงแม้คุณจะปวารณาตัวเป็นคนไม่มีศาสนา หากคุณเป็นคนชอบศึกษา ผมแนะนำให้คุณอย่ารังเกียจที่จะศึกษาเนื้อหาสาระหลักในคำสอนของทุกศาสนาอย่างลึกซึ้งจนถากเอากระพี้ออกและจับแก่นได้ว่าสาระหลักคืออะไร คุณก็จะเอามาใช้ประโยชน์กับตัวคุณได้ โดยไม่ต้องไปยกพวกตีกับใคร

        3. ถามว่าทำอย่างไรจะชักชวนให้คนที่คุณรักมาใช้ชีวิตในวิถีที่ดีเพื่อให้เขาพบกับสิ่งดีๆ ตอบว่าวิธีที่ดีที่สุดที่คุณจะให้สิ่งดีๆกับคนที่คุณรักคืออย่าไปยุ่งกับเรื่องของเขา เขาจะเชื่ออะไรจะใช้ชีวิตอย่างไรมันเรื่องของเขา เพียงแค่คุณตั้งใจใช้ชีวิตของคุณในวิถีที่คุณเห็นว่าดี เมื่อคุณหลุดพ้นจากความทุกข์ที่ใจคุณก่อขึ้นเองได้เมื่อไหร่ คุณจะสงบเย็น คนใกล้ชิดเขาจะได้รับความสงบเย็นนั้นแผ่ออกไปจากตัวคุณเอง แล้วเขาจะมีความสุขที่ได้เกิดมาอยู่ใกล้คุณ และเขาจะมาเลียบๆเคียงๆแอบๆมองๆแล้วทดลองเดินตามคุณเองในที่สุด โดยที่คุณไม่ต้องไปยัดเยียดหรือจำจี้จ้ำไชอะไรเขาเลย ถ้าเขาไม่มาเดินตามคุณ ก็เรื่องของเขา คุณไม่ต้องไปส... เอ๊ยๆไม่ใช่ ไม่ต้องไปยุ่ง

นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
[อ่านต่อ...]

15 พฤศจิกายน 2561

ผาแต้มและผาชะนะได

12 พย. 61

     เพิ่งเสร็จจากแค้มป์ Cooking Class มีเวลาว่างอยู่สามสี่วันก่อนที่จะทำแค้มป์พลิกผันสุขภาพดัวยตนเอง(RDBY) ตอนปลายสัปดาห์ มีคนชวนให้ใช้วันว่างนี้ไปเที่ยวผาแต้ม จ.อุบลฯ รวบรวมสมัครพรรคพวกชาวมวกเหล็กวาลเลย์ได้ 7 คน มีคนจัดแจงเช่ารถตู้ไว้แล้ว มีคนจองที่พักให้แล้ว มีเจ้าถิ่นอาสาเป็นบักกุเต๋ (มัคคุเทศน์) ด้วย โอเค. ไปก็ไป

     จำไม่ได้ว่าสมัยหนุ่มๆเคยไปอุบลหรือเปล่า แต่เพิ่งมารู้เอาคราวนี้เองว่าเมืองอุบลนี้ช่างอยู่ไกลแสนไกล ไกลเสียยิ่งกว่าเชียงใหม่อีกแฮะ รถตู้ของเราออกเดินทางจากมวกเหล็กตั้งแต่เช้า 7.00 น. มาหิวข้าวกลางวันเอาที่อำเภอขุขันท์ จึงแวะทานอาหารจานเดียวที่ปั๊มน้ำมันข้างทาง แล้วออกเดินทางต่อไปโดยไม่แน่ใจจะไปทางไหนดี เพื่อนผู้จัดทริปนี้จึงโทรหาบักกุเต๋ ปรากฎว่าบักกุเต๋ยังอยู่บนเครื่องบิน ระหว่างนั้นเราจึงต้องไปแบบสะเปะสะปะ มีสมาชิกบางคนคอยช่วยอ่านป้ายชี้บอกทาง ถึงตอนหนึ่งเธออ่านว่า

     "ภูเสียดสี" ซึ่งก็โดนเบรคทันควันว่า

     "ไม่ใช่..ภูสีเสียด กรุณาอ่านเท่าที่ตาเห็น ไม่ต้องใข้ประสบการณ์ส่วนตัวตีความ"

     กว่าจะติดต่อกับบักกุเต๋ได้ก็เกือบสี่โมงเย็น สอบถามกันพักใหญ่ว่าเรากำลังอยู่ที่ไหน เราก็รายงานไปว่ากำลังจะเข้าใกล้อำเภอโขงเจียมซึ่งเข้าใจว่าเป็นทางผ่านขึ้นไปอุทยานผาแต้ม เธอบอกว่าจะลงมารับที่โขงเจียม แต่กว่าจะมาถึงคงมืดแล้ว ให้เราไปฆ่าเวลาโดยให้ขับไปดูศาลากลางน้ำที่วัดป่านานาชาติ แล้วพอตะวันจะตกก็ให้ไปดูตะวันตกที่วัดภูพร้าว แล้วไปพบกับเธอที่ร้านอาหารที่โขงเจียมซึ่งเธอจะไปเตรียมสั่งข้าวเย็นไว้รอพวกเราที่นั่น กินอิ่มแล้วค่อยขึ้นอุทยาน ฟังดูเป็นแผนที่รัดกุมดี นี่เป็นครั้งแรกที่เราใช้บริการนำเที่ยวทางโทรศัพท์ มันเวอร์คดีเหมือนกันนะ

     เริ่มการทัวร์อย่างเป็นทางการโดยขับลงถนนลูกรังขนาดแคบๆไปยังวัดป่านานาชาติ ขับรถผ่านประตูวัดซึ่งเปิดอ้าซ่าอยู่เข้าไป เป็นป่าธรรมชาติอย่างดีกว้างใหญ่หลายร้อยไร่ มีต้นไม้ขนาดใหญ่ร่มรื่น ขับเข้าไปได้หลายกม.ก็มาถึงศาลาไม้ขนาดใหญ่ๆโล่งๆอยู่กลางป่า มีลานโล่งอยู่รอบๆ โดยมีกุฏิไม้อยู่ทางด้านขวามือสองหลัง ตัวศาลาลักษณะคุ้นตามาก แต่ที่ไม่คุ้นตาคือบรรดาคุณจ๋อทั้งขนาดเอส. เอ็ม. และ แอล. นับได้ประมาณหนึ่งร้อยตัว พอเห็นรถเราเข้ามาพวกลิงก็กระโดดออกมาจากสุมทุมพุ่มไม้มารอต้อนรับอยู่กลางลานอย่างอุ่นหนาฝาคั่ง ผมนึกถึงบรรยากาศเมื่อไปทัวร์วัดแห่งหนึ่งในบาหลีที่มีลิงห้อยโหนโจนทะยานอยู่ตามต้นไม้เหนือศีรษะของนักท่องเที่ยว คอยแฮ้บเอาหมวกบ้าง แว่นตาบ้าง โทรศัพท์มือถือบ้าง พวกเราคนหนึ่งเปรยว่า

     "อย่าเพิ่งเปิดประตูนะ เดี๋ยวหากมีตัวใดตัวหนึ่งหลุดลอดเข้ามาในรถได้ มันจะส่งเสียงบอกเพื่อนมันว่าในรถมีอาหารเพียบ..บ"  อีกคนพูดต่อให้ว่า

     "ซึ่งก็เป็นความจริง"

     ขณะกำลังดูเชิงกันอยู่นั้น ก็มีมอเตอร์ไซค์วิ่งเข้ามาคันหนึ่ง เข้าใจว่าเป็นคุณแม่ที่บ้านอยู่ข้างในนี้ไปรับลูกกลับจากโรงเรียน เด็กนักเรียนที่ซ้อนท้ายมอไซค์โยนข้าวควบให้พวกลิงสองแผ่น เท่านั้นแหละลิงครึ่งฝูงก็ยกทัพวิ่งตามมอเตอร์ไซค์ไปแต่วิ่งไม่ทัน บรรดาผู้โดยสารเห็นความไวของเหล่าคุณจ๋อแล้วก็จึงตกลงกันว่าถอยดีกว่า

    กว่าจะพ้นเขตวัดอันกว้างใหญ่ออกมาได้ก็หมดเวลาโหลงโจ้งไปแล้วเกือบครึ่งชั่วโมง จึงรีบตรงไปยังวัดภูพร้าว พูดถึงวัดภูพร้าวนี้ ลูกทัวร์ตั้งข้อสังเกตว่า

     "เอ..วัดนี้คือวัดหนอนเรืองแสงหรือเปล่า" 

     "หนอนเรืองแสงคืออะไร"

     "ความจริงไม่มีหนอนหรอก มีแต่ปูนเรืองแสง ผมเรียกง่ายๆเพราะมันเรืองแสงได้แบบหนอนเรืองแสงในถ้ำไวโตโม ที่นิวซีแลนด์" อีกคนว่า

     "ใช่ๆๆ วัดนี้แหละ วัดนี้เขาดังนะ เพิ่งรู้นะว่าอยู่ที่นี่เอง"
วัดหนอนเรืองแสง ไม่มีหนอน มีแต่ปูนเรืองแสง

     พอรถขึ้นไปถึงวัดแล้วก็ต้องตลึง ตลึ่ง ตะลึ่ง ด้วยความสวยงามของที่ตั้งวัดซึ่งอยู่บนยอดภูผาสูงมีโค้งน้ำล้อมรอบ ที่เจ๋งมากคือห้องน้ำซึ่งใหญ่มีจำนวนมากและสะอาดจนคุณสามารถดมความสะอาดได้ ผมหมายถึงสะอาดจริงๆ จนผมตั้งใจว่าเดี๋ยวจะต้องทำบุญที่วัดนี้ให้หนำใจเพราะมีความสุขกับห้องน้ำที่นี่เหลือเกิน แต่พอพ้นจากห้องสุขาออกมาแล้วก็..เป็นลืม

     ดูวิวและชมตะวันลับเหลี่ยมเขากันจุใจแล้วก็รอความมืดมาเพื่อจะดูปูนเรืองแสง ขณะรอผมตระเวณอ่านทุกอย่างที่วัดเขาตั้งไว้ให้อ่าน ส่วนใหญ่เป็นประวัติชีวิตและหลักคิดของพระอาจารย์สายวัดป่าที่มีชื่อเสียงหลายรูป อ่านจบแล้วก็ยังไม่มืดอีก จึงไปนั่งสมาธิตรงศาลาเล็กๆที่มีรูปปั้นของเกจิอาจารย์แยะๆ นั่งอยู่ครึ่งชั่วโมง คราวนี้ความมืดเริ่มโรยตัวเข้ามาแล้ว แต่ยังไม่มีอะไรเรืองแสงให้เห็น คนที่ใจร้อนก็เอาไฟฉายหรือโทรศัพท์มือถือไปจ่อส่องพื้นปูนที่เขาทาพรายน้ำไว้ พอได้แสงจากโทรศัพท์หรือไฟฉายปูนมันก็เรืองแสงขึ้นมา ฉายเป็นตัวหนังสือหรือเป็นรูปอะไรมันก็เรืองแสงขึ้นมาให้เห็นตามนั้น เล่นกันเป็นที่สนุกสนานจนมืดสนิท คราวนี้ก็เห็นว่าทั้งวัดได้เรืองแสงขึ้นมาจากพื้นบ้าง จากผนังด้านหลังของโบสถ์ที่เป็นรูปต้นไม้บ้าง ผมไม่มีกล้องดีๆและขาตั้งกล้องที่จะถ่ายรูปมาให้ดู จึงขอรูปของคนอื่นมาให้ท่านดูเพื่อจะได้เข้าใจว่าที่ว่าเรืองแสงนั้นมันเรืองอย่างไร
แสงแดดยามเช้าทาบลงบนผาแต้ม

      จบจากวัดภูพร้าวแล้วพวกเราก็ไปพบกับบักกุเต๋เจ้าภาพผู้อารีซึ่งก็เป็นหลานสาวและหลานเขยของลูกทัวร์ท่านหนึ่งในคณะเรานี่เอง ทานอาหารเย็นแล้วขึ้นไปถึงอุทยานผาแต้มเอาประมาณเกือบสี่ทุ่ม ตอนออกจากมวกเหล็กมาอุณหภูมิ 22 องศา ที่อุทยานผาแต้มนี้อากาศร้อนกว่าที่มวกเหล็ก แต่พวกเราก็นอนหลับสบาย เพราะเปิดแอร์ หิ หิ

13 พย. 61

     เราออกจากที่พักบนอุทยานแต่เช้าตรู่เพื่อไปดูพระอาทิตย์ขึ้นที่ผาแต้ม ความจริงผาแต้มนี้ไม่ได้ดังเพราะผาแต้ม แต่ดังเพราะภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์บนหน้าผาและสวนดอกไม้ป่าซึ่งสมัยหนึ่งสมเด็จพระนางเจ้าฯเสด็จมาทุกปี ทั้งสองอย่างหลังนี้เป็นเหตุให้เรามาที่นี่ พอเสร็จจากดูวิวพระอาทิตย์ขึ้นที่ผาแต้มแล้วก็เดินลัดเลาะไปตามทางเดินแคบๆริมหน้าผาซึ่งจัดทำไว้อย่างถาวรสะดวกปลอดภัย ไปดูภาพเขียนบนหน้าผาที่เขียนโดยคนที่อยู่แถบนี้ในยุค 3,000 - 4,000 ปีก่อนประวัติศาสตร์ จุดที่เราหยุดดูนานมากที่สุดคือจุดที่สองซึ่งมีภาพเขียนหลายภาพอยู่ใกล้ๆกัน เขียนด้วยสีหินแร่สีแดงส้มบดเป็นผง เป็นรูปสัตว์สมัยนั้นและเล่าเรื่องชีวิตของการอยู่อาศัยในแถบนี้ เช่นรูปช้าง ปลาบึก ปลากระเบน เต่า รูปไซดักปลา เป็นต้น

 เหนื่อย เพราะเดินน้อย แต่ร้อนเอาเรื่อง เรากลับขึ้นมาริมหน้าผาซึ่งมีร้านกาแฟ สั่งกาแฟมาดื่ม คนอื่นดื่มกาแฟร้อนเพราะมันยังเช้าอยู่ แต่ผมดื่มกาแฟเย็นเพราะมันร้อน ที่นี่เราได้พบกับนักปั่นจักรยานที่น่ารักท่านหนึ่ง คุยกันจึงได้ทราบว่าท่านอายุได้ 77 ปีแล้ว ปั่นจักรยานมาตั้งแต่เกษียณใหม่ๆ
หมอสันต์ 66, คนเกษียณชวนปั่น 77,
กับหัวหน้าอุทยานแห่งชาติผาแต้ม 47

     ท่านบอกว่าท่านเป็นสมาชิกสมาคมคนเกษียณชวนปั่น มาเที่ยวนี้ท่านปั่นมาจากกรุงเทพฯ เพิ่งมาได้เดือนกว่า ทริปนี้จะวนตามแม่น้ำโขงขึ้นไปกะว่าจะใช้เวลาสามเดือนกว่าจึงจะจบ ท่านพูดติดตลกว่าเมียผมบอกว่าหาทางกลับบ้านเองให้ถูกก็แล้วกัน ลูกทัวร์พวกเราบางคนซึ่งเพิ่งหกสิบต้นๆก็ออดๆแอดๆเรื่องหัวเข่าถามท่านว่า

     "คุณพี่ไม่เจ็บเข่าบ้างหรือ" ท่านตอบว่า

     "แต่ก่อนตอนเกษียณใหม่ๆผมเจ็บเข่าไปหาหมอกินยาประจำ หัวเข่ามีเสียงดังกุบๆกับๆ พอมาปั่นจักรยานแล้วหายหมด ผมถามหมอว่าทำไมมันถึงหาย หมอบอกว่าเมื่อกล้ามเนื้อขาของผมแข็งแร็งขึ้นมันก็หายเจ็บเข่า"

     พวกเราอีกคนกังขาว่าทำไมท่านจึงใส่กางเกงยีน ท่านตอบว่า

     "หมามันชอบกัด ผมต้องใส่ยีนแต่ว่าต้องเป็นยีนยืดนะ ไม่งั้นมันปั่นยาก อย่างนี้หมามันกัดไม่ทะลุ พวกหมานี่มันก็แสบ บางครั้งมันใช้วิธีซุ่มโจมตี กว่าจะรู้ตัวมันก็งับน่องเข้าให้แล้ว" 
เมื่อถูกถามเรื่องที่พัก ท่านตอบว่า

     "วัดเป็นที่นอนหลัก ปั่นไป ดูสถานที่สวยๆงามๆไป เปลี่ยนที่นอนไปทุกวัน"

    พอถูกถามว่าแล้วไม่กลัวจักรยานหายหรือ ท่านยิ้มปากกว้างตอบอย่างคนเข้าใจโลกที่มองชีวิตในแง่ดีว่า

    "ยังไม่หาย"

    จบจากการเดินชมภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์และดื่มกาแฟแล้ว เรานั่งรถกลับไปทานอาหารเช้า แล้วนั่งรถไปตามถนนในอุทยาน
ทุ่งดอกไม้บนลานหิน
เพื่อไปชมทุ่งดอกไม้ที่อยู่ริมน้ำตกสร้อยสวรรค์ ตัวน้ำตกนั้นไม่มีอะไรน่าสนใจ แต่ทุ่งดอกไม้ป่าเป็นธรรมชาติที่สวยงามและน่าสนใจ ในเดือนนี้แม้จะหมดฝนไปพักใหญ่แล้วก็ยังมีดอกไม้ป่าและดอกหญ้าชนิดต่างๆให้เห็น มีร่องลำธารหินตื้นๆน้ำใสไหลเย็นไหลผ่านด้วย ดอกไม้พวกนี้เป็นพันธ์ไม้ที่ขึ้นอยู่บนดินบางๆที่เคลือบอยู่ผิวของลานหินอันกว้างใหญ่ จึงเป็นดอกไม้ที่แตกต่างจากดอกไม้ที่ขึ้นตามพื้นดินทั่วไป


     เราเดินทางต่อไป คราวนี้เราไปดูน้ำตกรู ชื่ออย่างเป็นทางการของเขาคือ "น้ำตกแสงจันทร์" น้ำตกนี้มีลักษณะตามชื่ออย่างไม่เป็นทางการทุกอย่าง คือมีรู แล้วก็มีน้ำตกพรูลงมาจากรูนั้น น้ำใสและเย็นดีจนพวกเราบางคนยอมถอดรองเท้าลงไปเดินในน้ำและกางมือกางไม้รับฝอยละอองน้ำตก
ดอกไม้ป่าผาชะนะได โปรดสังเกตแมงมุมลายเสือที่มุมซ้ายบน

     แล้วก็ถึงเวลาต้องเดินทางออกจากผาแต้มขึ้นไปผาชะนะได ฟังว่าที่แห่งนี้เป็นที่แรกของประเทศที่จะเห็นแสงอาทิตย์ก่อนใครเพื่อน ทุกวันการพยากรณ์อากาศจึงพูดถึงดวงอาทิตย์ขึ้นที่ผาชะนะไดเวลาเท่านั้นเท่านี้  การจะขึ้นไปผาชะนะไดตอนแรกเราก็คิดว่าหมูๆ แต่ที่ไหนได้ต้องนั่งรถปิกอัพขับเคลื่อนสี่ล้อไปตามทางซึ่งไม่เป็นทาง คือเป็นก้อนหินตะปุ่มตะป่ำ ผมยกให้เส้นทางสายนี้เป็นเส้นทางวิบากแห่งชาติ จะเป็นรองก็แต่ทางเข้าเหมืองป้าเกลนที่อ.ทองผาภูมิเท่านั้น ผู้โดยสารต้องนั่งหัวโยกหัวคลอนไป ระยะทางแค่สิบกว่าโล แต่วิ่งกันสองชั่วโมงครึ่ง แต่ถึงจะนั่งทางวิบากอย่างนี้ สมาชิกเซียนหลับท่านหนึ่งก็ยังหลับจนได้อยู่ดี ผลก็คือเมื่อจังหวะหนึ่งรถตกหลุมอากาศ

     "โป๊ก..ก"

    เป็นโป๊กยักษ์จุหนึ่งลิตรที่มีผู้บาดเจ็บคราวเดียวถึงสองคน คือคนที่หลับและร่อนศีรษะตัวเองไปทั่ว กับคนที่ตื่นที่นั่งติดกันซึ่งเอาศีรษะไปรองรับ
อาทิตย์ตกที่เสาเฉลียงคู่ใกล้ผาชะนะได

     ในที่สุดก็ขึ้นมาถึงผาชะนะไดโดยเครื่องในหลวมไปคนละเล็กคนละน้อย เจ้าภาพพาเราไปดูลานดอกไม้ซึ่งว่ากันว่าจะออกดอกช้ากว่าที่ข้างล่างจึงน่าจะมีดอกที่สดกว่า เมื่อมาถึงเราก็พบว่าดอกไม้ได้เริ่มโรยไปบ้างแล้วแต่ก็ยังพอเห็นความสวยงามอยู่ ผมเดินผ่านดอกไม้สีแดงริมหน้าผาเตี้ยๆซึ่งเงียบสงบจนแมงมุมลายเสือตัวหนึ่งมาชักใยแล้วยืนกางแขนกางขาอ้าปากรอเหยื่ออยู่อย่างใจเย็น จึงถ่ายรูปมาให้ดูด้วย

     จากนั้นเราไปดูดวงอาทิตย์ตกตรงสถานที่เรียกว่า "เสาเฉลียงคู่" หมายถึงเสาหินที่ถูกลมกร่อนให้มีรูปทรงแปลกเหมือนเสาใส่หมวก ยามที่แสงอาทิตย์ยามเย็นสาดเฉียงลงมาหาตัวเสาก็จะเกิดความสวยงามไปอีกแบบ
6.02 น. ที่ผาชะนะได มองข้ามแม่น้ำโขงไป

     คำแล้ว เข้าที่พัก ที่นี่ไม่มีไฟฟ้า มีแต่แสงสว่างจากโซล่าเซลที่ต้องลุ้นเอาเองว่าพลังมันจะหมดเมื่อใด อาหารเย็นคือผัดสิ้นคิดและไข่ดาวปรุงโดยเจ้าหน้าที่อุทยาน อร่อยมาก ที่นอนก็คือเต้นท์ของอุทยานนั่นแหละ เนื่องจากพวกเราล้วนแก่แล้ว เจ้าหน้าที่อุทยานได้กรุณามาสงเคราะห์กางเต้นท์ให้ แถมยังแนะนำเรื่องการป้องกันงู โดยให้ข้อมูลว่าเมื่อคืนนี้มีพระธุดงค์มาปักกลดและมีผ้าขาว (โยมอุปฐาก) ปูเสื่อนอนด้วยที่ข้างนอกกลด กลางดึกผ้าขาวได้ยินเสียงสาก..กที่ข้างหู จึงลุกขึ้นมาเอาไฟฉายส่องดู พบว่าเป็นงูสามเหลี่ยมมากระซิบ กระซิบ ผ้าขาวกลัวจึงหนีขึ้นไปนอนบนรถปิคอัพของเจ้าหน้าที่อุทยาน และตอนค่ำวันเดียวกันตัวผู้เล่าเองซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่อุทยานก็เจองูสามเหลี่ยมขนาดเท่าแป๊บน้ำหกหุนอยู่ที่ธารน้ำข้างๆนี้ตัวหนึ่ง และเมื่อเช้าวันนี้หมาดๆเจ้าหน้าที่อีกคนหนึ่งก็โดนงูกะปะเลื้อยผ่านหลังเท้าซึ่งสวมแค่รองเท้าแตะจนเขาสะดุ้งกระโดดหนีและโชคดีไม่โดนกัด เพื่อนเจ้าหน้าที่อีกคนหนึ่งตบเข่าฉาดว่าทำไมไม่ให้มันกัดเสียหน่อยนะ จะได้บรรจุเสียที คือที่อุทยานแห่งชาตินี้เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่เป็นลูกจ้างชั่วคราว การจะได้บรรจุเป็นลูกจ้างประจำนั้นเป็นเรื่องยาก ต้องทำงานมานานเป็นพิเศษ หรือบาดเจ็บในการปฏิบัติหน้าที่เช่นงูกัดจึงจะได้บรรจุ สมาชิกชาวทัวร์ของเราท่านหนึ่งเปรยเบาๆว่า

     "ถ้าให้มันกัดก็คงได้บรรจุจริงๆแหละ คือบรรจุลงหีบ" 

     หุ..หุ..หุ ตะแล้น ตะแล้น ตะแล้น

14 พย. 61

     เราหลับสบายในเต้นท์เพราะอากาศถึงจะไม่หนาวแต่ก็ไม่ได้ร้อน ตีห้าครึ่งเราระดมพลเพื่อไปดูพระอาทิตย์ขึ้นที่ผาชะนะไดอันเป็นเป้าหมายของการถ่อสังขารขึ้นมาถึงที่นี่ ต้องนั่งรถปิคอัพโยกเยกไปประมาณ 5 นาที แล้วก็กระจายกันหามุมปักหลักดูพระอาทิตย์ขึ้นจากยอดเขาที่อยู่ไกลโพ้นในฝั่งประเทศลาว เบื้องล่างหน้าผาแห่งนี้คือแม่น้ำโขงสีเงินไหลเอื่อยๆ บรรยากาศดี สูดลมหายใจสดชื่นให้เต็มปอด และมองเพื่อเก็บภาพแสงแดดสีทองอ่อนไว้ในความทรงจำ เพราะอีกแป๊บเดียวเราก็ต้องนั่งรถโยกเยกสองชั่วโมงกว่ากลับลงไปยังผาแต้ม แล้วนั่งรถตู้ของเราอีกไม่น้อยกว่าแปดชั่วโมงจึงจะถึงมวกเหล็ก

     ขณะนั่งรถโยกเยกกลับ ผู้โดยสารท่านหนึ่งพูดคุยทำความรู้จักกับเจ้าหน้าที่ที่มาขับรถให้ ขอบคุณที่เขาเอาใจใส่ช่วยเหลือ และกล่าวชมความแข็งแรงว่องไวของเขา เขาตอบว่า

     "แต่ก่อนผมไม่ได้ฟิตอย่างนี้ ผมเคยน้ำหนัก 65 ตอนนี้ลดลงมาเหลือ 55 ผมทำตามยูทูปของหมอสันต์ กินอย่างที่หมอสันต์บอก ปั่นผักผลไม้ด้วย เนื่องจากผมมีหน้าที่ขับรถ ไม่มีโอกาสได้เดินป่า จึงต้องออกเดินและวิ่งออกกำลังกายเช้าเย็นทุกวัน"

     ผู้โดยสารอมยิ้ม จุดไต้ตำตอเข้าซะแล้ว อย่างน้อยเขาก็เป็นตัวอย่างของคนตัวเป็นๆที่เมื่อคิดจะฟื้นฟูสุขภาพตัวเองเมื่อไหร่ หากจะเอาจริงแล้วก็ย่อมทำได้เสมอ แค่ฟังยูทูปหรืออ่านบล็อก ไม่ต้องรอให้ได้มาเข้าแค้มป์ที่มวกเหล็กก็สามารถทำสำเร็จด้วยตัวเองได้

นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
[อ่านต่อ...]

08 พฤศจิกายน 2561

แพทย์อินเทอร์น3 รู้สึกผิดจนกลัวที่จะเป็นหมอต่อไป

สวัสดีค่ะ อ.สันต์

หนูเป็นอินเทิน3นะคะ หนูได้ติดตามอ่านบทความของอาจารย์ใน facebook แล้วพอดีมีเรื่องอยากปรึกษาค่ะ คือหลายๆครั้ง หนูจะมีความรู้สึกผิด คิดไปถึงเคสคนไข้ที่เสียชีวิตไปหลายเคส โดยจากความไม่รู้ของเราเอง เช่นเราวินิจฉัยไม่ได้ หรือเนื่องจากจำนวนคนไข้ที่เยอะ ทำให้เราไม่สามารถดูคนไข้ได้ละเอียดพอ รู้สึกว่าตอนนั้นเราน่าจะทำได้ดีกว่านี้ โดยความรู้สึกผิดเนี่ย ไม่ได้มีอยู่ตลอดหรอกค่ะ แต่จะแว๊บมาเป็นบางครั้ง ประมาณปีละ 2-3 ครั้ง หนูรู้สึกผิด เสียใจ แล้วก็เป็นบาป เคยมีไปทำบุญก็รู้สึกดีขึ้น แต่บางครั้งก็ทำให้กลัวที่จะเป็นหมอต่อไปเลย
อยากรบกวนขอแนวคิดจัดการกับปัญหานี้ด้วยค่ะ
ขอบพระคุณค่ะ


.....................................
ตอบครับ


      ประเด็นที่ 1. ความกลัวบาป คุณหมอผู้หญิงสาว กลัวบาป เข้าวัดทำบุญ

     "...อ้า องค์พระพุท-ธา
ตัวข้า บุษบาขอกราบวิงวอน
ข้าสวดมนต์ขอพระพร
วิงวอนให้..."

     หิ หิ ช่างเป็นคุณหมอรุ่นใหม่ที่น่ารักจัง แต่ถ้าจะมาเป็นลูกศิษย์ของหมอแก่อย่างหมอสันต์ คุณหมอจะต้องเรียนรู้ที่จะเลิกสิ่งที่เรียนรู้มาแล้วเสียทั้งหมดรวมทั้งอะไรเป็นบาปอะไรเป็นบุญก็ทิ้งไปให้หมดก่อนด้วย

     "..You have to learn to unlearn"

     หิ หิ นี่ไม่ใช่คำพูดของหมอสันต์หรอก แต่เป็นคำพูดของอาจารย์เจไดพูดกับพระเอกในเรื่องสตาร์วอร์ การตอบวันนี้ผมเขียนสำหรับคนที่มีเชาว์ปัญญาและผ่านชีวิตมาระดับคุณหมอนะ ไม่ใช่สำหรับคนทั่วไป เพราะฉะนั้นท่านผู้อ่านทั่วไปโปรดใช้วิจารณาญาณในการรับชม สำหรับคุณหมอ บาปก็ดี บุญก็ดี วัดก็ดี โบสถ์ก็ดี ช้อปปิ้งมอลก็ดี ล้วนเป็นคอนเซ็พท์ หรือพูดง่ายๆว่าเป็นแค่ความคิดที่ใจคุณหมอกุขึ้น คุณหมอได้เติบโตมาถึงจุดที่จะต้องเรียนรู้แล้วว่าความคิดเป็นแค่ลมที่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ความคิดไม่ใช่เรา เราก็คือเรา (awareness) ความคิดก็คือความคิด (thought) เราเป็นผู้สังเกตเห็นความคิดของเรา เราเป็นผู้สังเกต (the observer) ความคิดเป็นสิ่งที่ถูกสังเกต (the observed) ดังนั้นก่อนที่จะเดินหน้ากับชีวิตต่อไป ให้มองให้เห็นว่าคอนเซ็พท์หรือความคิดทั้งหลายเป็นเพียงเครื่องมือหรือข้อสมมุติที่จะทำให้เราเล่นละครชีวิตได้สนุกสนานขึ้นเท่านั้น ไม่ใช่สารัตถะที่แท้จริงของชีวิต

      ประเด็นที่ 2. ความคิดที่มองออกมาจากความคิด เนื้อหาส่วนใหญ่มีแต่ขี้ ผมหมายความว่าแม่ของความคิดทั้งหลายคือสำนึกว่าเราเป็นบุคคล ความคิดอื่นใดก็ล้วนงอกรากแตกแขนงไปจากสำนึกว่าเราเป็นบุคคลทั้งสิ้น และเนื่องจากเราได้ลืมความรู้ตัวอันเป็นคุณสมบัติดั้งเดิมไปเสียตั้งแต่เราเริ่มรู้จักเปลี่ยนสัญญาณภาพและเสียงมาเป็นภาษาบันทึกไว้ในใจ ปาป้า มาม่า พ่อจ๋า แม่จ๋า แล้ว เราจึงเหลือกึ๋นที่จะคิดเพียงแค่เอาความจำที่จำกัดจำเขี่ยนั้นมาผูกโยงกับคอนเซ็พท์เรื่องเวลา ซึ่งเวลานี้ก็เป็นของจริงซะที่ไหน  เป็นเพียงคอนเซ็พท์หรือความคิดเช่นกัน ที่ผมว่าเนื้อหาของความคิดส่วนใหญ่มีแต่ขี้ก็คือหากเป็นการย้อนอดีตไปหาความจำสั่วๆมันก็เป็นความรู้สึกผิด เศร้า เสียใจ รันทด หากเป็นการเอาความจำสั่วๆคาดการณ์ไปในอนาคตมันก็เป็นความกังวล หวาดกลัว ทั้งหมดนี้ไม่มีอะไรเป็นความจริงทั้งสิ้น อย่างนี้เรียกว่าขี้ได้ไหมละ ดังนั้นแนวทางการใช้ชีวิตที่ผมแนะนำก็คือวางความคิดทั้งหลายเหล่านั้นลงเสีย วางหมายความว่าหันหลังให้ ไม่ให้ความสนใจ ไม่ไปคิดต่อยอด มาอยู่กับความเป็นจริง ณ ที่นี่ เดี๋ยวนี้ ก็พอแล้ว

     ประเด็นที่ 3. จริงจังพอให้ชีวิตสนุก แต่อย่าจริงจังเกินไป ที่คุณพูดว่าคนไข้เยอะ ทำให้ไม่สามารถดูคนไข้ได้ละเอียดพอ ตรงนี้ผมเข้าใจ นานมาแล้วผมไปเยี่ยมลูกชายซึ่งตอนนั้นเป็นเอ็กซเทอร์น (นศพ.ปี6) ซึ่งไปฝึกงานอยู่ที่รพ.ตจว. แห่งหนึ่ง ก็ไปเห็นว่าวอร์ดอันกว้างใหญ่นั้นมีหมอรับผิดชอบตัวเป็นๆอยู่สามคน คือเอ็กซเทอร์น อินเทอร์น กับเด้นท์สาม (แพทย์ประจำบ้าน) ท่านผู้อ่านก็คงจะคิดว่าระบบการทำงานคงจะเป็นให้เอ็กซ์เทอร์นดูก่อน แล้วปรึกษาอินเทอร์น มีอะไรยากแล้วค่อยปรึกษาเด้นท์ ในชีวิตจริงเปล่าหรอก คนไข้แยะหกสิบเจ็ดสิบเตียง ถ้าทำงานแบบนั้นจะไม่มีใครได้นอนเลยตลอดวันตลอดคืน พวกเขาจึงแบ่งกันผลัดกันเป็นเวรคนละ 8 ชั่วโมง นั่นหมายความว่าเอ็กซเทอร์นหรือนศพ.ปี 6 ก็ต้องเข้าคิวดูแลผู้ป่วยคนเดียวแบบหมอใหญ่ แล้วถ้ามีอะไรยากๆคุณคิดว่าเขาหรือเธอจะรอดไหม เมื่อคนไข้แยะเวลาจำกัด ก็ต้องปั่นตัวเอง ที่เอามือทำได้ก็เอามือทำ ที่เอามือทำไม่ทันก็ขอโทษ..เอาตีนทำ นี่มันเป็นธรรมดาของชีวิตหมอน้อย ในบรรยากาศอย่างนี้มันต้องมีความผิดพลาด ใครจะรอดสันดอนสอบผ่านออกไปเป็นหมอได้อยู่ที่ความแตกต่างกันตรงนี้ คนที่สอบผ่านคือคนที่เอาตีนทำแล้วเข้าใจตัวเองให้อภัยตัวเองแล้วเดินหน้ากับชีวิตต่อไป แต่คนที่สอบไม่ผ่านหรือต้องเลิกอาชีพไปคือคนที่เอาตีนทำแล้วมานั่งรู้สึกผิดจนตัวเองรับตัวเองไม่ได้จึงตัดสินใจลาออกไป..ขายเต้าฮวยดีกว่า    

     เมื่อหลายสัปดาห์ก่อนผมไปขับรถเที่ยวแถวเวอร์มอนต์ เข้าพักในโรงแรมจิ้งหรีดผีดุแห่งหนึ่ง มีห้องนอนแขกสามห้อง ห้องที่ผมพักเป็นห้องสวีทชื่อ The Doctor ในห้องมีรีพริ้นท์ภาพเขียนชื่อเดียวกันกับชื่อห้องโดยศิลปินอังกฤษชื่อ Luke Fildes ซึ่งผมถ่ายรูปมาด้วย คุณลองดูสีหน้าอันกังวลและสิ้นหวังของหมอในภาพคนนี้ซิ การทำงานอาชีพแพทย์ก็คือการเล่นละครชีวิต คุณต้องอินพอสมควรพอให้ละครมีความสนุก แต่อย่าอินมากเกินไป เพราะมันเป็นแค่ละคร เจ้าหมอในภาพนี้เขาอินมากเกินไป คุณดูสีหน้าเขาก็คงเดาได้ใช่ไหมละว่าชีวิตของเขาจะมีความสุขไหม

     คุณเป็นคนบ้าดี คนบ้าดีคือคนที่ยึดถือคอนเซ็พท์บาปบุญคุณโทษจนตัวเองเป็นทุกข์ ในการใช้ชีวิตคุณอย่าเป็นคนบ้าดี คุณยึดถือคอนเซ็พท์บาปบุญคุณโทษได้ แต่คุณต้องรู้จักเยื้องย่างหรือมีลูกเล่นให้ชีวิตดำเนินไปอย่างลื่นไหลด้วย ไม่ใช่มาตายเพราะคอนเซ็พท์ที่คุณตั้งขึ้น อย่าลืมว่าคอนเซ็พท์มันไม่ใช่ของจริงนะ มันเป็นเพียงความคิด

     ครูสอนทางจิตวิญญาณของผมท่านหนึ่งซึ่งเป็นโยคีชาวอินเดียเล่าเรื่องโยคีกับงูเห่าให้ผมฟัง เรื่องมีอยู่ว่าวันหนึ่งโยคีจรดลมาถึงหมู่บ้านหนึ่งก็จะเข้าไปพักในบ้านร้างที่ก้นซอยซึ่งเงียบเชียบทั้งซอย ชาวบ้านก็ห้ามว่าอย่าเข้าไปเพราะในบ้านร้างนั้นมีงูเห่าที่ฉกคนบาดเจ็บและตายไปหลายคนแล้ว โยคีไม่กลัว แล้วก็เข้าไปพักในบ้านร้างนั้น งูเห่าก็ออกมาชูคอขู่ฟ่อๆ ทำท่าจะฉกโยคี โยคีมองงูเห่าด้วยสายตานิ่งและถามว่าเอ็งจะมาฉกข้าทำไม ข้าไม่เคยทำอะไรเอ็งมาก่อนเลยนะ งูเห่าเห็นโยคีเยือกเย็นกว่าตนเสียอีกก็ถามว่าเจ้าเป็นใคร โยคีก็ตอบว่าข้าเป็นโยคี งูเห่าเลื่อมใสขอเป็นศิษย์ฝึกวิชาโยคี ซึ่งโยคีก็ยอมรับโดยมีข้อแม้ว่าระหว่างฝึกวิชานี้ห้ามฉกใครเด็ดขาด งูเห่ารับปาก โยคีก็สอนวิชาโยคะให้ ตั้งแต่หลักวินัยสังคม วินัยตนเอง หลักอาสนะ และปราณายามะ แล้วก็บอกว่าโอเค.วันนี้เอาแค่นี้ก่อน ให้ขยันฝึกไป ครั้งหน้าข้าจะกลับมาสอนการสังเกตความคิดและการทำสมาธิบ่มเพาะปัญญาญาณให้ ว่าแล้วโยคีก็จรดลต่อไป อีกหลายเดือนต่อมากลับมาที่ซอยนี้อีกก็แปลกใจที่พวกเด็กๆเข้ามาวิ่งเล่นเต็มซอยไม่เงียบเหมือนครั้งก่อน พอเข้าไปในบ้านร้างก็เห็นงูเห่านอนแอ้งแม้งนิ่งอยู่ไม่กระดิกกระเดี้ย จึงถามว่าเกิดอะไรขึ้น งูเห่าจึงเล่าว่าเมื่อข้าถือสัตย์ไม่ฉกใครตามที่รับปากท่านไว้ พวกเด็กๆก็มารุมตีข้าจนหลังหักจึงต้องเลื้อยเข้ามาซ่อนตัวอยู่ในนี้ โยคีจึงทำการรักษาหลังที่หักให้หาย แล้วสอนว่า

     "ข้าห้ามไม่ให้เอ็งฉกใคร แต่ไม่ได้ห้ามไม่ให้เอ็งชูคอขู่ฟ่อๆนะ"

     กล่าวโดยสรุปนิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่าการยึดมั่นในหลักดีชั่วบาปบุญคุณโทษนั้นควรเอาแค่พอให้เป็นสมาชิกอยู่ในสังคมกับคนอื่นได้ก็พอแล้ว อย่าเถรตรงเกินไปจนพาตัวเองเป็นทุกข์เลย

     ประเด็นที่ 4. ผมไม่ได้ห้ามคุณคิดตะพึดนะ ผมบอกว่าความคิดที่มองออกมาจากความคิด เนื้อหาส่วนใหญ่มีแต่ขี้ แต่ในอีกด้านหนึ่ง ความคิดที่มองออกมาจากความโปร่งใสโดยไม่เกี่ยวข้องกับสำนึกว่าเป็นบุคคลของคุณ มันเป็นปัญญาญาณ (intuition) นะ หมายถึงปัญญาที่จะนำพาคุณสู่ความหลุดพ้น ดังนั้นทุกครั้งที่มีสิ่งเร้ามากระทบ มันเป็นโอกาสที่คุณจะเทียบเคียงระหว่างความคิดแบบเก่าและแบบใหม่ แล้วเลือกสนองตอบเพียงแบบใดแบบหนึ่ง ระหว่าง 

     (1) ปกป้องความเป็นบุคคลของคุณด้วยความรู้สึกผิด ความกลัว ความเศร้าเสียใจ หรือ 

     (2) ก้าวขึ้นไปไกล้ความหลุดพ้นจากกรงความคิดของคุณอีกหนึ่งขั้น ด้วยการเห็นเรื่องนั้นตามที่มันเป็นโดยไม่เอาความเป็นบุคคลของคุณเข้าไปเกี่ยวข้อง

     ทั้งสองทางเลือกนี้คุณจะเอาอย่างไหน คุณเลือกเอง 

     ประเด็นที่ 5. หัดไว้วางใจชีวิตเสียบ้าง คุณควรไว้วางใจปัญญาญาณส่วนลึกของคุณว่าท้ายที่สุดแล้วมันจะชงสิ่งดีๆให้ชีวิตของคุณเสมอ มองให้เห็นว่าชีวิตของคุณนี้คุณไม่ได้เป็นคนควบคุมมัน แต่มันเชื่อมโยงกับจักรวาลด้วยพลังเมตตาธรรมที่ละเอียดอ่อนและสงบเย็น ไม่ว่าคุณจะหลงทางไปอยู่ในความคิดหรืออยู่ที่ไหน ด้วยสายใยเมตตาธรรมนี้มันจะพาคุณกลับมา ณ ที่สงบเย็นได้เสมอ การไว้วางใจชีวิตจะทำให้คุณหายกลัวชีวิตซึ่งความกลัวนั้นกำลังกัดกร่อนคุณอยู่ขณะนี้ ในการทำอาชีพนี้ขอให้คุณมั่นอยู่กับการทำทุกอย่างด้วยความเมตตาต่อคนไข้ ไม่ใช่ทำทุกอย่างเพื่อปกป้องความเป็นบุคคลของตัวคุณเอง นอกจากจะเมตตาต่อคนไข้แล้วให้คุณเมตตาต่อตัวเองด้วย ให้อภัยตัวเองด้วย ปล่อยทุกอย่างไปไม่ต้องไปคอยควบคุม แล้วทุกอย่างมันลงล็อคเข้าที่เอง

นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
[อ่านต่อ...]

05 พฤศจิกายน 2561

หนูไม่เข้าใจโจทย์การใช้ชีวิต

(หมอสันต์คุยกับ fc ท่านหนึ่งใน spiritual Retreat)

Q: หนูไม่เข้าใจโจทย์การใช้ชีวิต

หมอสันต์: ชีวิตเป็นของง่าย สนุก สร้างสรรค์ และมีความเป็นอัตโนมัติอยู่ในที คุณแค่ปล่อยให้ทุกอย่างมันเวอร์คของมันเองแทนที่จะไปพยายามทำให้มันเวอร์ค แล้วคุณก็จะพบว่าชีวิตนี้น่ารื่นรมย์

Q: จากจุดที่หนูเป็นอยู่นี้ จะเริ่มต้นได้อย่างไรละคะ

หมอสันต์: ก็เริ่มกับอะไรก็ตามที่ถูกจริตคุณนั่นแหละ เริ่มที่ตรงนั้น ทิ้งอารมณ์ลบใดๆไปเสีย ทำสิ่งที่ชอบ ให้ชีวิตมีแต่ความตื่นเต้น ความรักเมตตา การสร้างสรรค์

Q: หนูก็อยากจะทิ้งความคิดลบมาคิดแต่บวกนะคะ แต่ก็เห็นอยู่ว่าบางคนกำลังทิ่มแทงเราอยู่อย่างจงใจ

หมอสันต์: คนอื่นจะมีพฤติการต่อคุณอย่างไรไม่สำคัญ แต่คุณรับรู้แล้วตีความและสนองตอบอย่างไรนั่นแหละสำคัญ สถานะการณ์ข้างนอกไม่สำคัญ แต่สถานะของใจของคุณต่างหากที่สำคัญ อย่าลืมว่าสถานะการณ์ทุกสถานะการณ์ที่เกิดขึ้นมันเกิดขึ้นแบบไม่มีความหมายนะ มันเกิดขึ้นแบบเป็นกลางๆ แต่ใจของเราไปให้ค่าให้ความหมายแก่มันเอง ให้คุณเรียนรู้ที่จะมองให้เห็นทุกอย่างจากมุมมองที่โปร่งใส มองเห็นด้วย clarity มองให้เห็นตามที่มันเป็น see it as it is และสนองตอบออกไปอย่างสร้างสรรค์ การสนองตอบต่อสิ่งเร้าของคุณจะเป็นตัวกำหนดความเป็นไปในชีวิตของคุณ ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตเกิดขึ้น "เพราะ" คุณ ไม่ใช่เกิดขึ้น "ต่อ" คุณ

Q: แม้ว่าคนอื่นเขาจะร้ายต่อเราอย่างไรก็ตามหรือคะ

หมอสันต์: อย่าไปคิดถึงคนอื่น ตัวคุณเป็นคนเดียวที่คุณจะต้องคิดถึง ชีวิตมีแค่เดี๋ยวนี้ซึ่งดำรงอยู่แค่แป๊บเดียวเอง ถ้ามัวไปคิดถึงคนอื่นคุณก็หมดโอกาสได้ใช้ชีวิตของคุณเสียแล้ว การที่คุณคิดจะเผื่อแผ่สิ่งดีๆให้คนอื่นก็ดี หรือคิดแก้ไขคนอื่นก็ดี มองผิวเผินเป็นเจตนาที่ดี แต่ขอให้มันแผ่ออกไปจากการที่คุณประสบความสำเร็จในการใช้ชีวิตของคุณเองให้มีความสุขแล้วคนอื่นเขามาเรียนรู้จากคุณเอาเองดีกว่า ไม่ใช่คุณไปยัดเยียดให้เขาทั้งๆที่คุณเองก็ยังเอาตัวไม่รอด 

    การที่คุณบีบให้คนอื่นเชื่อความเชื่อหรือไอเดียของคุณ แสดงว่าคุณไม่เชื่อในความเชื่อหรือไอเดียของคุณเอง การบังคับคนอื่นเป็นการแสดงออกถึงความเชื่อว่าคุณกำลังจะร่วงลงหลุมจึงต้องลากคนอื่นร่วงลงไปด้วยเพราะคุณไม่กล้าร่วงไปคนเดียว ตราบใดที่คุณยังรู้สึกว่าคุณถูกโดดเดี่ยว นั่นคือความไม่เชื่อว่าคุณเป็นหนี่งเดียวกับจักรวาลนี้ ถ้าคุณไม่ไว้ใจจักรวาลนี้ คุณก็ไม่กล้าปล่อยวางทุกอย่างจากการควบคุมและการปกป้องตนเองของคุณ ตราบใดที่คุณไม่ปล่อยวาง ตราบนั้นคุณก็ยังไม่เป็นอิสระ

Q: หนูเคยลองปล่อยวางแล้ว แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือความล้มเหลวเละตุ้มเป๊ะ

หมอสันต์: ชีวิตไม่มีล้มเหลว ความกลัวล้มเหลวมีจุดกำเนิดที่เราตั้งเอาอะไรเป็นเป้าหมายของชีวิต ถ้าคุณไปเอาเหตุการณ์เล็กๆเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งเป็นเป้าหมายของชีวิต คุณก็ต้องอยู่กับความกลัวล้มเหลวไปตลอดชีวิต เพราะเหตุการณ์ใดๆก็ตามในชีวิตของคนเรานี้เราควบคุมมันได้ซะที่ไหนละ แต่ถ้าคุณวางเป้าหมายไว้ว่าจะหลุดพ้นจากกรงความคิดของคุณไปสู่ศักยภาพอันไร้ขีดจำกัด ทุกเหตุการณ์ในชีวิตก็จะกลายเป็นแบบฝึกหัดพัฒนาคุณไปสู่เป้าหมาย คุณไม่มีวันล้มเหลว มีแต่เรียนรู้และพัฒนาใกล้เป้าหมายเข้าไปทุกวัน

Q: ยังไงเสีย ใจมันก็ยังกลัว

หมอสันต์: สิ่งที่ควรกลัวมีแต่ความกลัวเท่านั้น เพราะในชีวิตนี้ไม่มีอะไรที่จะสร้างเหตุการณ์ลบขึ้นมาได้นอกจาก (1) ความกลัว (2) ความสงสัย และ (3) ความเชื่อว่าคุณขาดนั่นขาดนี่

     ผมจะบอกเคล็ดลับของชีวิตให้นะ ความจริงคือเหตุการณ์นอกตัวไม่ได้สร้างความเชื่อ แต่ความเชื่อภายในเป็นตัวสร้างเหตุการณ์ในชีวิตขึ้นมาก่อน แล้วเหตุการณ์นั้นก็จะไปจะตอกย้ำความเชื่อให้หนักแน่นยิ่งขึ้น วนเวียนเป็นวงจรชั่วร้ายอยู่อย่างนี้ เมื่อใดก็ตามที่คุณเปลี่ยนความเชื่อของคุณได้..คือเลิกกลัวซะ ประสบการณ์จริงกับสิ่งนอกตัวของคุณก็จะเปลี่ยนไป ผมรับประกันกับคุณได้ร้อยเปอร์เซ็นต์เลยว่ามันจะต้องเป็นอย่างนี้เสมอ

Q: คุณหมอกำลังจะบอกว่า..เรากลัวอะไรเราจะได้สิ่งนั้น

หมอสันต์: ใช่ แล้วกลไกการเกิดมันก็ไม่ได้ซับซ้อน มันเป็นฟิสิกส์ง่ายๆตรงไปตรงมาแบบว่ากริยาทำให้เกิดปฏิกริยา ผมอธิบายตรงนี้หน่อยนะ สิ่งที่คุณเรียกว่าความเป็นจริงทางกายภาพหรือความเป็นจริงนอกตัว แท้จริงก็คือภาพฉายหรือ projection ของใจของคุณ ที่ฉายออกไปข้างนอกรอบตัวสามร้อยหกสิบองศา ออกไปปรากฎเป็นความหลอนอยู่ที่ข้างนอก แล้วอายตนะของคุณก็รับเอาความหลอนนั้นกลับมาสร้างเป็นบุคลิกหรือความเป็นบุคคล (persona) ของคุณขึ้นมา แต่ละความเชื่อแต่ละเพอร์โซน่าจึงเป็นเหมือนแท่งแก้วปริซึม ซึ่งจะเปลี่ยนสีขาวของจักรวาลนี้ให้เป็นสีรุ้งของสิ่งที่คุณเรียกว่า "ความเป็นจริงนอกตัว" ที่คุณจับต้องมองเห็นได้ ถ้าความเชื่อของคุณเปลี่ยนไป ก็เหมือนคุณสร้างปริซึมแบบใหม่ที่เปลี่ยนมุมตกกระทบของจักรวาลให้สะท้อนออกเป็น "ความเป็นจริงนอกตัว" ในสีอื่นๆแบบอื่นๆได้อีกหลายแบบ ดังนั้น ที่คุณหลงคิดว่าความเป็นจริงเหล่านั้นมันอยู่นอกตัวคุณ แท้จริงแล้วมันออกไปจากข้างในตัวคุณ คือมันฉายออกไปจากใจของคุณ

Q: มันจะออกไปจากใจเราได้ยังไงละคะ ในเมื่อเราไม่เคยควบคุมสิ่งภายนอกได้เลย

หมอสันต์: มันก็ฉายผ่านความกลัวหรือความเชื่อของคุณออกไปไง ถ้าคุณเชื่อว่าสิ่งที่ปรากฎขึ้นนั้นคุณไม่ได้ทำให้เกิดขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นก็จะดูเหมือนเป็นไปตามกฎของโอกาสเป็นไปตามยถากรรม คุณก็จะไปเปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้ แต่ถ้าคุณเห็นทะลุว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับคุณส่วนใหญ่เป็นผลจากใจของคุณสร้างมันขึ้นมาเอง คุณก็จะเปลี่ยนแปลงมันได้

Q: อาจารย์ชอบพูดถึงจักรวาล ฟังแล้วไม่รู้เรื่อง

หมอสันต์: ผมต้องขอโทษด้วย มันเป็นสิ่งที่อยู่พ้นภาษาผมจึงไม่มีศัพท์ให้เลือกใช้ คุณจะให้ผมเรียกมันว่าอะไรละ เต๋า สุญญตา นิพพาน ปัญญาญาณส่วนลึก ความรู้ตัว พระเจ้า จักรวาล จะเรียกมันว่าอะไรก็ได้ สิ่งที่คุณรู้ว่ามันมีอยู่ แม้จะมองไม่เห็น ฟังไม่ได้ยิน จับต้องไม่ได้ แต่คุณรู้ว่ามันมีอยู่ อย่างเช่นความคิดงี้ มันมีอยู่ ทุกสิ่งทุกอย่างหากต่อยย่อยละเอียดลงไปจนถึงที่สุดแล้วมันล้วนไปอยู่ในสถานะเดียวกันสถานะหนึ่งซึ่งไม่มีชื่อเรียก ผมจึงเรียกมันง่ายๆว่าจักรวาล ซึ่งทุกชีวิตแชร์หรือใช้ร่วมกัน การที่เรามองให้เห็นว่าทุกชีวิตมีรากมาจากที่เดียวกัน ทำให้เราเลิกหลงเชื่อว่าความเป็นบุคคลของเรานี้แยกส่วนออกมาต่างหากจากจักรวาล ทำให้เราไม่รู้สึกว่าโดดเดี่ยวเพราะเราเป็นส่วนหนึ่งของทั้งหมดไม่ได้แยกส่วน ทำให้เราเปิดรับและไว้ใจจักรวาลนี้โดยไม่ต้องมาเคร่งเครียดระมัดระวังว่าคนอื่นสิ่งอื่นจะมาคอยทิ่มแทงทำลายตัวเราที่แยกส่วนออกมา ทำให้เรามีความรักความเมตตาต่อชีวิตอื่นโดยอัตโนมัติเพราะเขากับเราล้วนมีรากเป็นอันเดียวกัน

Q: เรื่องการอยู่กับปัจจุบัน หนูก็ไม่เข้าใจ

หมอสันต์: เวลาเป็นมุมมองที่ขึ้นอยู่กับจุดที่คุณใช้มองมัน อุปมาเหมือนการดูภาพยนตร์ สมัยผมเป็นเด็กอยู่บ้านนอก น้าเขยผมทำโรงหนัง ผมชอบไปดูหนังทั้งแบบนั่งดูแบบผู้ชมทั่วไป ทั้งแบบเข้าไปเกะกะในห้องฉาย ถ้าผมนั่งดูหนังแบบผู้ชม ผมจดจ่ออยู่กับภาพบนจอ ผมเห็นแต่เดี๋ยวนั้นของภาพยนต์เรื่องนั้น ซึ่งเป็นภาพหลอนที่เกิดจากการร่อนเฟรมทีละเฟรมในฟิลม์ผ่านหน้าหลอดฉายภาพให้ดูเหมือนเหตุการณ์กำลังเกิดขึ้นต่อเนื่องกัน แต่พอผมเข้าไปคลุกอยู่ในห้องถ่าย สมัยนั้นเครื่องฉายชอบติด คนคุมต้องคอยเอามือลากฟิลม์ออกมาคลี่แล้วป้อนเข้าไปหาหลอดภาพ หากมองภาพยนต์จากมุมนี้ ผมเห็นฟิลม์หนังทีละหลายๆเฟรมพร้อมกันในมือของคนฉาย ทำให้ผมเห็นเหตุการณ์ที่ต่อคิวเกิดขึ้นตามลำดับก่อนหลังได้พร้อมกันเดี๋ยวนั้น จัดว่าเป็นมุมองต่อเวลาในแบบที่กว้างขึ้น คือเห็นทั้งปัจจุบันและอนาคตพร้อมกัน แต่ถ้าหนังติดตุงนัง คนฉายจะหยุดฉายชั่วคราวแล้วลากฟิลม์หนังทั้งม้วนออกมาวางเกลื่อนอยู่บนโต๊ะเพื่อค่อยๆม้วนกลับเข้ารีลใหม่ ตอนนี้ผมจะเห็นทุกเฟรมของหนังเรื่องนั้น เห็นเหตุการณ์ทุกเหตุการณ์ตั้งแต่ต้นจนจบว่ามีอยู่แล้วพร้อมหน้ากัน ณ ที่นั่น เดี๋ยวนั้น เหลือแต่ว่าผมจะเลือกมองเลือกเอาตรงไหนเป็น "ปัจจุบัน" ของหนังเรื่องนั้นเท่านั้น

     เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตคนเราก็เป็นอย่างนี้ คือทุกเหตุการณ์มีอยู่แล้ว ดำรงอยู่แล้วตรงหน้าคุณพร้อมกันอยู่แล้วที่เดี๋ยวนี้ ถ้าคุณมีขีดความสามารถที่จะมองได้แคบแค่วงที่ขีดโดยความจำในอดีตของคุณ คุณก็จะเห็นแต่ฉากที่อยู่ตรงหน้าอย่างที่คุณเห็นโลกในวันนี้ เปรียบได้กับผมเห็นภาพยนต์ที่กำลังฉายอยู่บนจอ แต่ถ้าคุณมีขีดความสามารถที่จะมองได้กว้างขึ้น คุณก็จะเห็นเหตุการณ์หลายๆเหตุการณ์ที่คุณจะเลือกหยิบอันไหนมาเป็นปัจจุบันของคุณก็ได้ เปรียบได้กับตอนที่ผมมองม้วนหนังทั้งเรื่องคลี่เกลื่อนอยู่บนโต๊ะ

     เปรียบอีกอย่างหนึ่งความเป็นจริงที่อายตนะของคุณรับรู้ได้นี้ก็เหมือนการที่คุณฟังวิทยุ สถานีวิทยุนับร้อยที่ต่างก็มีรายการของตัวเองและแข่งกันออกอากาศตลอดเวลา แต่คุณได้ยินเฉพาะสถานีที่คุณจูนเข้าไปฟังเท่านั้น ทุกสถานีเขาออกอากาศของเขาอยู่แล้ว คุณจูนไปที่หนึ่งก็ได้ยินคลื่นหนึ่ง มันขึ้นอยู่กับว่าคุณจะจูนไปฟังคลื่นไหน แต่ทุกคลื่นออกอากาศอยู่แล้วที่นี่เดี๋ยวนี้พร้อมกัน

Q: ถ้างั้นส่วนที่เรามองไม่เห็น รับรู้ไม่ได้ หรือไม่ได้จูนคลื่นฟ้ง มันไปอยู่เสียที่ไหนละ

     มันก็อยู่ในใจคุณนี่แหละ ใจส่วนที่เรียกกันว่า "จิตใต้สำนึก" หรือ "ความจำ" นั่นไง ส่วนนี้มันเหมือนห้องที่จัดทำขึ้นเพื่อเก็บข้อมูลไว้รอคิวให้จิตสำนึกกลั่นกรองและหยิบขึ้นมาใช้ทีละอย่าง แบบว่า one thing at the time ดังนั้นจิตใต้สำนึกจึงเป็นผลจากการมีชีวิตอยู่ในสมมุติของเวลา เมื่อใดก็ตามที่คุณเริ่มรู้ว่าคุณเป็นความรู้ตัวเพียงอันเดียวที่ขยายการรับรู้ออกไปได้ไม่สิ้นสุด เส้นแบ่งระหว่างจิตใต้สำนึกและจิตสำนึกก็จะหายไป เวลาก็จะไม่มี เหลือแต่ปัจจุบันที่นี่เดี๋ยวนี้ คุณอยากรู้อะไรก็รู้ได้ทันทีทั้งหมด

     การที่ความสนใจของคุณอยู่ที่ปัจจุบัน อยู่ที่เดี๋ยวนี้ เป็นประเด็นสำคัญที่จะทำให้กลไกเลือกหยิบปัจจุบันของคุณนี้ดำเนินไปได้ ถ้าคุณไปอยู่ในอดีตหรือในอนาคต หมายถึงว่าคุณไปอยู่ในความคิด คุณก็หมดโอกาสจะเลือกเอาปรากฎการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นและดำรงอยู่แล้วที่ตรงหน้ามาเป็นชีวิตของคุณ เพราะปัจจุบันเป็นโมเมนต์เดียวที่คุณดำรงอยู่และเลือกได้ แต่ถ้าคุณไม่อยู่ คุณจะรู้ได้อย่างไรว่ามีโอกาสอะไรมาถึงคุณให้คุณหยิบฉวยใช้ประโยชน์ได้บ้าง ผู้ที่จะทำหน้าที่เลือกแทนคุณก็คือจิตใต้สำนึกหรือความจำของคุณนั่นแหละ ซึ่งแน่นอนมันก็จะเลือกจากความกลัวหรือจากความเชื่อที่คุณฝังหัวตัวเองเอาไว้ ความกลัวก็คือความเชื่อว่าสิ่งร้ายๆจะเกิดขึ้นกับคุณในอนาคต หมายความว่าถ้าคุณไม่อยู่ที่ปัจจุบันเพื่อทำหน้าที่เลือก ความกลัวนั่นแหละจะเป็นผู้กำหนดชีวิตจริงให้คุณ

Q: แล้วที่อาจารย์บอกให้ทำในสิ่งที่ตัวเองชอบ ในชีวิตจริงจะรู้ได้อย่างไรว่าเราชอบอะไร

หมอสันต์: ให้คุณหมั่นสังเกตจดจำว่าอะไรที่ถูกจริตหรือทำให้คุณตื่นเต้นยินดีหรือลิงโลด (excite) มากที่สุดในชีวิต คุณมี passion กับอะไร ความตื่นเต้นหรือดีใจจนเนื้อเต้นกับสิ่งใดเป็นสัญญาณบอกว่าสิ่งนั้นแหละเป็นสิ่งที่คุณจะทำสำเร็จได้ง่ายและฉลุยที่สุดในชีวิต คลื่นความถี่นั้นหรือการสั่นสะเทือน (vibration) ระดับนั้นแหละเป็นสัญญาณบ่งบอกมาทางร่างกายว่าสิ่งนั้นเป็นวิถีที่ชีวิตคุณเลือกที่จะมาทำจะมาเป็น ดังนั้นเมื่อคุณตามความตื่นเต้นนี้ไป ก็เท่ากับคุณได้เลือกวิถีที่เป็นหนึ่งเดียวกับคลื่นความสั่นสะเทือนของคุณ ให้คุณทำสิ่งนั้น ตามความตื่นเต้นหรือความชอบหรือความถูกจริตนี้ไป จดจ่ออยู่กับการทำสิ่งที่ชอบนี้ โดยไม่ต้องไปหวังว่าผลลัพท์มันจะเป็นอย่างไร หรือถ้าจะหวังก็หวังว่าผลลัพท์มันจะเป็นศูนย์ไว้ก่อน focus on process, zero result เหมือนคนทำงานอดิเรก ทำแค่เอาสนุก ไม่สนใจผลลัพท์ แล้วชีวิตคุณก็จะมีความสุข คุณไม่ต้องห่วงเรื่องผลลัพท์ แล้วผลลัพท์มันจะออกมาดีเอง ถ้าคุณอยากจะหลุดพ้นจากความคิดของคุณเองไปสู่อิสรภาพ คุณไม่ต้องไปตั้งเป้าแล้วคอยประเมินว่าคุณจะหลุดหรือยัง จะหลุดเมื่อไหร่ อย่างนี้คุณไม่มีวันหลุด เพราะการคาดหวังก็คือการทิ้งปัจจุบันไปอยู่ในอนาคต คุณมีแต่จะห่างเป้าออกไปทุกที แต่ถ้าคุณโฟกัสที่การวางความคิด ถอยออกมาเป็นผู้สังเกต โฟกัสที่ตรงนี้ ที่นี่ เดี๋ยวนี้ เมื่อเงื่อนไขสุกงอม คุณก็หลุดพ้น

Q: ทำไมอาจารย์ชอบพูดถึง vibration

หมอสันต์: ก็เมื่อเราพูดถึงสิ่งที่ไม่ได้เป็นสสารที่จับต้องได้ มันก็เป็นพลังงานถูกแมะ เมื่อเราพูดถึงสสารเราจำแนกตามรูปทรง น้ำหนัก และขนาด แต่เมื่อพูดถึงพลังงานเราจำแนกกันตามคลื่นความถี่ของการสั่นสะเทือนหรือ vibration คือทุกอย่างที่จับต้องไม่ได้เป็นคลื่นหมด รวมทั้งแสง เสียง หรือถ้าจะว่าตามหลักวิทยาศาสตร์จริงๆแล้วแม้สิ่งที่แข็งโป๊กจนจับต้องได้เช่นก้อนหินและต้นไม้ก็ประกอบขึ้นมาจากคลื่น คือคลื่นในโครงสร้างขนาดเล็กอย่างอะตอมซึ่งเกิน 99.9% เป็นช่องว่างที่มีแต่คลื่นความสั่นสะเทือนอยู่ ทุกชีวิตก็คือคลื่นความสั่นสะเทือนที่มีชีวิต หมายความว่ามีจิตหรือความสามารถรับรู้ ข้อมูลความรู้ก็เป็นคลื่นความสั่นสะเทือนซึ่งดำรงอยู่เป็นคลังสากลที่เข้าถึงได้โดยทุกชีวิตและส่งไปมาหากันได้ในรูปของคอนเซ็พท์และภาษา ภาษาคือสิ่งที่ถูกแปลงมาจากคลื่นเสียง ซึ่งภาษานี้แหละที่ถูกแปลงต่อมาเป็นความเป็นบุคคลหรืออีโก้ของแต่ละคน ดังนั้นความเป็นบุคคลของคุณ เป็นเพียงความเชื่อหรือเจตคติ-ทัศนคติของคุณที่คุณสร้างเป็นจินตนภาพขึ้นมาว่านี่คือ "ฉัน" สาระของความเป็นคุณมีอยู่แค่นี้เอง คือเป็นแค่ความคิดไม่ได้มีสารัตถะอะไรมากกว่านี้เลยจริงๆ..เชื่อผม

Q: แล้วเราจะเอาเรื่อง vibration นี้ไปใช้ประโยชน์อะไรได้

หมอสันต์: อ๊าว..ว ก็ใช้ได้ในแง่ที่ว่าความเป็นบุคคลของคุณนี้มันไม่ใช่ของจริงไง้ มันเป็นเพียงจินตภาพที่ถูกสร้างขึ้นมาในใจคุณโดยอาศัยตรรกะของคอนเซ็พท์และภาษา ดังนั้นคุณจึงไม่ควรหลงยึดติดหรือปกป้องความเป็นบุคคลของคุณจนชีวิตมีแต่ความกลัว..กลัวจนไม่เป็นอันใช้ชีวิต ชีวิตของจริงมันเป็นคลื่นความสั่นสะเทือนที่ไล่ลึกลงไปแล้วล้วนมีรากมาจากสิ่งเดียวกันและเชื่อมโยงถึงกันหมดในรูปของคลื่นพื้นฐานของจักรวาล ให้คุณเปลี่ยนมุมมองชีวิตเสียใหม่ว่าคุณเป็นส่วนหนึ่งของจักรวาลนี้โดยแยกไม่ออกจากชีวิตอื่นๆทุกชีวิต เข้าใจอย่างนี้แล้วเมตตาธรรมก็จะเกิดขึ้นในใจโดยอัตโนมัติ เมื่อจิตมีเมตตา ความตื่นเต้นยินดีที่จะช่วยเหลือและความโอนอ่อนผ่อนปรนก็จะตามมา นี่คือมุมมองชีวิตที่จะตอบโจทย์การใช้ชีวิตให้คุณพ้นทุกข์จากความกลัวหรือความพยายามจะปกป้องความเป็นบุคคลของคุณได้

Q: แล้วชีวิตมีแค่เนี้ยเหรอ เกิดมาแล้วตายไป

หมอสันต์: คุณเป็นคนจำพวกไหนละ ถ้าคุณเป็นคนจำพวกที่มองชีวิตว่าเหตุการณ์เล็กๆเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งในชีวิตนี้คือเป้าหมายของชีวิต ชีวิตก็มีแค่นี้แหละ เกิดมา กิน นอน ขับถ่าย สืบพันธ์ แล้วก็ตายไป

     แต่ถ้าคุณเป็นจำพวกที่มองว่าแต่ละโมเมนต์ในชีวิตนี้เป็นเพียงบันไดที่ใช้เหยียบขึ้นไปสู่ความหลุดพ้นจากกรงความคิดของตัวเอง ไปสู่ความมีศักยภาพไม่จำกัด ชีวิตก็คือการเติบโตจากลูกนกตัวโล้นๆไปเป็นนกที่มีขนเต็มตัว full-fledged แล้วบินได้ มันเป็นชีวิตที่สนุกสนานและมีความหมายกว้างไกลไร้ขอบเขต

     ถ้าคุณมองนก คุณพอจะบอกได้ใช่ไหมว่าการจะไปถึงมีขนเต็มตัวแล้วบินได้มันเป็นอย่างไร แต่กับการเป็นคน คุณบอกได้หรือเปล่าว่าการจะไปให้สุดศักยภาพของความเป็นคนนี้มันไปได้ไกลแค่ไหน นี่ตรงนี้แหละที่เป็นปัญหา คือมนุษย์เราส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าความเป็นมนุษย์นี้มีศักยภาพแค่ไหน เปรียบเหมือนถ้านกตัวหนึ่งเกิดมาแล้วมันไม่รู้ว่าปีกนี้ใช้บินได้ มันก็เลยคลานไปบนดินเอาปีกแทนไม้ค้ำยันกะเผลกๆไปมาแล้วก็แก่ตายไป คุณว่าการเกิดมามีชีวิตของนกตัวนั้นมันทุเรศไหมละ ชีวิตของมนุษย์ส่วนใหญ่ก็เป็นอย่างนกตัวนั้น คือไปติดอยู่ในกรงของความเชื่อที่ตัวเองสร้างเป็นจินตนภาพขึ้นมาว่านี่คือความเป็นบุคคลของตน จึงหมดโอกาสที่จะหลุดพ้นจากกรงนี้ออกไปสู่อิสรภาพที่ไร้ความกลัวและมีศักยภาพที่จะทำอะไรสร้างสรรค์ได้อย่างไม่มีขีดจำกัด

Q: ขอถามคำถามโง่ๆเป็นคำถามสุดท้ายนะคะ แล้วจะหลุดพ้นได้อย่างไร

หมอสันต์: 

    วิธีที่หนึ่ง ทิ้งความคิดไปให้หมด ซึ่งนั่นก็คือการฝึกมีสมาธิ แล้วมองทุกอย่างออกมาจากมุมที่ไม่มีความคิด เป็นมุมที่โปร่งใส clarity หรือเป็นมุมมองจากปัญญาญาณ (intuition) เห็นทุกอย่างตามที่มันเป็นโดยไม่มีความเป็นบุคคลของคุณเข้าไปยุ่ง คุณก็จะหลุดพ้น นี่เรียกว่าเส้นทางหลุดพ้นผ่านสมาธิ หรือเจโตวิมุตติ

     วิธีที่สอง เปิดใจยอมรับเต็มที่ว่าคุณเป็นส่วนหนึ่งของจักรวาลนี้ ยอมรับทุกอย่างที่คุณมีอยู่ ที่คุณเป็นอยู่ หรือที่คุณได้รับอยู่ ณ ที่นี่เดี๋ยวนี้ได้ 100% อย่างไม่มีเงื่อนไข ยอมรับยอมแพ้ทุกอย่าง ให้อภัย เมตตา ไม่ต้องหนีอะไร ไม่ต้องวิ่งหาอะไรอีก คุณก็หลุดพ้นเลยทันที เส้นทางนี้เรียกว่าหลุดพ้นด้วยการไว้วางใจ หรือสัทธาวิมุตติ

     วิธีที่สาม ใช้ตรรกะทางภาษาและเชาว์ปัญญาของคุณเองดึงความสนใจของคุณเองออกจากความคิดมาอยู่กับความรู้ตัว เช่นด้วยการตั้งคำถามต่อความคิดของตัวเองกับตัวเองแล้วตอบคำถามนั้นไปทีละความคิดๆ ถามตอบเพื่อดึงให้ความสนใจของคุณถอยออกมาจากความคิดนั้นกลับเข้ามาอยู่กับความรู้ตัวอันเป็นบ้านของมัน ตั้งคำถามกับทุกความคิด จนความสนใจของคุณผละออกมาจากทุกความคิดได้หมดเกลี้ยง ไม่เหลือความคิดไหนอยู่เลย คุณก็หลุดพ้นได้ เส้นทางนี้เรียกว่าหลุดพ้นด้วยการคิดไตร่ตรองหรือ ปัญญาวิมุตติ

    ทั้งสามวิธีนี้ใช้ผสมปนเปกันไปได้ รายละเอียดของทั้งสามวิธีนี้ คุณรอไปฝึกมีประสบการณ์จริงในห้องเรียนก็แล้วกัน

   นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
[อ่านต่อ...]