เมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้วผมไปสอนคอร์ส MBT ได้พบกับแฟนบล็อกท่านหนึ่งที่มาเรียน ซึ่งลดน้ำหนักตัวเองไปได้ 30 กก. ด้วยวิธีกินอาหารพืชเป็นหลักควบกับการออกกำลังกาย ยังผลให้หายจากโรคนอนกรนอย่างเด็ดขาดไปเลย ที่ประทับใจมากก็คือแม้จะลดน้ำหนักไปแล้วตั้ง 30 กก. ก็ยังดูหนุ่มสดใสกว่าวัยไม่มีเหี่ยวอย่างที่คนรักสวยรักหล่อกลัวเวลาลดน้ำหนักเลย เมื่อกลับมาถึงบ้านกรุงเทพฯผลเลยเกิดความคิดว่าน่าจะเขียนถึงงานวิจัยใหม่ๆเกี่ยวกับการลดความอ้วนสักครั้งก็ดี เผื่อคนที่ล่าถอยยกธงขาวไปแล้วจะมีลูกอึดกลับมาสู้ใหม่
สถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐ (NIH) ได้ออกเงินให้ทำวิจัยผู้ประสบความสำเร็จในรายการทีวี. Weight Watcher ซึ่งลดน้ำหนักได้กันคนละ 9 กก.ต่อสัปดาห์และลดน้ำหนักเฉลี่ยตลอดการแข่งขันได้คนละ 58 กก. ซึ่งเยอะมาก งานวิจัยนี้ตามไปดูคนเหล่านี้ 14 คนหลังจบรายการแล้วสองปีพบว่า 13 คนน้ำหนักกลับขึ้นมาอีก 66% และในจำนวนนี้สี่คนน้ำหนักกลับมามากกว่าก่อนเข้าแข่งขัน
ข้อมูลนี้ฟังแล้วอาจดูน่าระทดระท้อสำหรับคนตั้งใจจะลดน้ำหนัก เพราะรายการ Weight Watcher นี้มีทั้งเทรนเนอร์ที่ดุดันแต่มีฝีมือในการสร้างแรงบันดาลใจระดับเยี่ยมวรยุทธ์ มีหมอที่เก่งคอยดูแลเกาะติด มีตารางอาหารที่เข้มงวด และมีโปรแกรมการออกกำลังกายแบบมหาโหด แต่ผลสุดท้ายทุกอย่างแทบจะกลับมาเหมียน..น เดิม มันน่าระทดระท้อไหมละ
ผมไปอเมริกาครั้งหลังสุดราวสองปีมาแล้ว ตอนขาไปรีบๆไม่ได้สังเกตอะไร แต่พอขากลับรอเครื่องบินที่สนามบิน LAX นานจึงสังเกตเห็นว่าคนอเมริกันนี้อ้วนกันระดับหนังการ์ตูนสู้ไม่ได้เลยทีเดียว คุณย่าคุณยายที่นั่งล้อเข็นต้องเอาล้อเข็นวีลแชร์สองคันมาเชื่อมกันเป็นคันเดียวจึงจะนั่งได้ ลูกๆที่เดินตามคุณย่าก็อ้วน หลานชายที่เข็นรถวีลแชร์ให้คุณย่าก็อ้วน สรุปแล้วอ้วนกันหมดสนามบิน
แต่สังคมอเมริกันก็ไม่ได้นิ่งดูดายกับโรคอ้วน เมื่อปีกลายปีเดียวรัฐบาลสหรัฐจ่ายเงินวิจัยเฉพาะเรื่องการลดความอ้วนไปถึง 931 ล้านเหรียญ งานวิจัยที่โดดเด่นมากคืองานวิจัยลงทะเบียนคนอ้วนแห่งชาติ (National Weight Control Registry - NWCR) ซึ่งติดตามคนอ้วนที่ประสบความสำเร็จในการลดน้ำหนัก ซึ่งนิยามว่าลดได้ไม่ต่ำกว่า 14 กก. และคงน้ำหนักที่ลดได้ไว้ได้นานกว่า 1 ปีขึ้นไปจำนวนกว่า 10,000 คน คนเหล่านี้ลดน้ำหนักได้เฉลี่ยคนละ 30 กก.และคงน้ำหนักระดับต่ำนี้มาได้เฉลี่ยคนละ 5.5 ปีแล้ว งานวิจัยนี้จะดูว่าอะไรทำให้พวกเขาประสบความสำเร็จ ข้อมูลทั้งหมดที่พอจะสรุปได้เป็นเนื้อเป็นหนังมีดังนี้
1. ทุกคน (100%) เปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของตัวเอง เช่น นอนเร็วขึ้น ตื่นเช้าขึ้น
2. แทบจะทุกคน (98%) เปลี่ยนอาหารตัวเองไปจากเดิม ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง
3. เกือบทุกคน (90%) เพิ่มการออกกำลังกายแต่ว่าไม่ได้โหดมาก คือเฉลี่ยเท่ากับเดินวันละหนึ่งชั่วโมงทุกวัน
4. ส่วนใหญ่ (78%) ลดน้ำหนักแบบสโลว์บัทชัวร์ คือช้าๆ มั่นคง ไม่ฮวบฮาบ และกินอาหารเช้าทุกวัน
5. ส่วนใหญ่ (75%) ขยันชั่งน้ำหนัก คือชั่งทุกสัปดาห์เป็นอย่างน้อย
6. เกินครึ่ง (62%) ลดเวลาดูทีวี.เหลือสัปดาห์ละไม่เกิน 10 ชม.
7. ครึ่งหนึ่ง (55%) กินอาหารตามสูตรใดสูตรหนึ่ง ที่เหลือกินเองไม่มีสูตร
8. สูตรอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทุกคนไม่มี ไม่ว่าจะเป็นสูตรเจไขมันต่ำ (low fat vegan) สูตรอาหารลดความดัน (DASH) สูตรมังไม่ใส่เครื่องเทศ สูตรคาร์โบไฮเดรตต่ำ (low carb) สูตรตะบันกินเนื้อ (paleo ) สูตรตะบันเคี้ยว (บางสูตรเคี้ยวคำละ 722 ครั้ง) ทุกสูตรได้ผลกับบางคนแต่ไม่ได้ผลกับอีกบางคน บางคนต้องร่อนไปลองไปหลายสูตร หลายวิธี จึงจะพบสูตรที่ใช่สำหรับตัวเอง
นอกจากงานวิจัย NWCR นี้แล้ว ยังมีงานวิจัยอื่นๆที่ได้ข้อสรุปที่มีผลน่าสนใจและเป็นความรู้ใหม่ของวงการแพทย์ในเรื่องโรคอ้วน คือ
1. การศึกษายีนที่ทำให้คนอ้วน พบว่าคนที่มียีนอ้วน มีน้ำหนักตัวมากกว่าชาวบ้านทั่วไปแค่ 3% เท่านั้นเอง นั่นหมายความว่ากรรมพันธ์ุไม่ได้มีปัญหากับเรื่องอ้วนมากอย่างที่เราเคยเข้าใจ
2. การอ้วนมีความสัมพันธ์กับการได้รับสารพิษหรือสารเคมีบางชนิดจากสิ่งแวดล้อม เช่น สารไบฟีนอล (BPA) ที่ใช้เชื่อมกระป๋องอาหาร สารพ่นเคลือบกันไฟที่ใช้กับโซฟาและเฟอร์นิเจอร์ ยาฆ่าแมลงที่ตกค้างในอาหาร สาร phthalates ที่พบในพลาสติกและเครื่องสำอางค์ สารเหล่านี้มีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนบางชนิดในร่างกายซึ่งทำให้อ้วนได้
3. ชนิดของบักเตรีในร่างกายมีผลต่อความอ้วน งานวิจัยตามดูคน 800 คนอย่างละเอียดระดับเจาะน้ำตาลในเลือดดูทุก 5 นาทีเป็นเวลานาน 7 วัน บันทึกอาหารที่กิน การนอน การออกกำลังกายอย่างละเอียด และเพาะเชื้อบักเตรีในอุจจาระดูทุกวัน พบว่าระดับน้ำตาลในเลือดของแต่ละคนต่างกันได้แบบลิบลับทั้งๆบางกลุ่มบางคนกินอาหารอย่างเดียวกันในเวลาใกล้เคียงกัน นั่นหมายความว่าการสอนคนให้กินอย่างนั้นอย่างนี้เวลานั้นเวลานี้กลายเป็นเรื่องไร้สาระไปเลย เพราะร่างกายแต่ละคนมีผลงานแตกต่างกันมากอย่างนี้ จะไปหาสูตรสำเร็จสำหรับทุกคนได้อย่างไร งานวิจัยนี้พบว่าความแตกต่างของระดับน้ำตาลที่ต่างกันได้มากมายนี้สัมพันธ์กับชนิดของบักเตรีในลำไส้ แต่ ณ ขณะนี้ยังสรุปไม่ได้แน่ชัดว่าบักเตรีชนิดไหนที่เป็นดาวเด่นช่วยลดน้ำตาลในเลือดและลดความอ้วนได้ (ถึงกระนั้นพวกทำบักเตรีอัดเม็ดขายก็ออกหน้าขายของไปก่อนแล้ว)
4. งานวิจัยพบว่าคนอ้วนส่วนใหญ่ปรารถนาลดน้ำหนักแบบโลภมากจะเอาสวยเอาหล่อเป็นเกณฑ์ โดยวางเป้าหมายไว้สูงกว่าที่แพทย์แนะนำถึง 3 เท่า การทบทวนงานวิจัยถึงวันนี้พบว่าไม่ต้องตั้งใจลดมากมายบ้าเลือดอย่างนั้นดอก เพราะการวางเป้าหมายสูงทำให้หมดแรงเสียตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่มทำ หากลดน้ำหนักได้เพียง 10% ของที่เป็นอยู่ ดัชนีสุขภาพแทบทุกตัวก็จะดีขึ้นทันตาเห็นไม่ว่าจะเป็นความดันเลือด ไขมันในเลือด น้ำตาลในเลือด การดื้อต่ออินสุลิน เป็นต้น ดังนั้นจึงควรมุ่งลดน้ำหนักโดยเอาการมีสุขภาพดีเป็นเป้าหมาย อย่าฝันไกลถึงแต่จะสวยจะหล่อแต่ไปไม่ถึง
ทั้งหมดนี้คืออัพเดทล่าสุดเกี่ยวกับผลวิจัยโรคอ้วน
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. Sifferlin A. Here is the best-kept secret about weight loss: No single diet - from low carb and paleo to low fat and vegan- will work for everyone. TIME 2017;189(21):36-43
[อ่านต่อ...]
สถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐ (NIH) ได้ออกเงินให้ทำวิจัยผู้ประสบความสำเร็จในรายการทีวี. Weight Watcher ซึ่งลดน้ำหนักได้กันคนละ 9 กก.ต่อสัปดาห์และลดน้ำหนักเฉลี่ยตลอดการแข่งขันได้คนละ 58 กก. ซึ่งเยอะมาก งานวิจัยนี้ตามไปดูคนเหล่านี้ 14 คนหลังจบรายการแล้วสองปีพบว่า 13 คนน้ำหนักกลับขึ้นมาอีก 66% และในจำนวนนี้สี่คนน้ำหนักกลับมามากกว่าก่อนเข้าแข่งขัน
ข้อมูลนี้ฟังแล้วอาจดูน่าระทดระท้อสำหรับคนตั้งใจจะลดน้ำหนัก เพราะรายการ Weight Watcher นี้มีทั้งเทรนเนอร์ที่ดุดันแต่มีฝีมือในการสร้างแรงบันดาลใจระดับเยี่ยมวรยุทธ์ มีหมอที่เก่งคอยดูแลเกาะติด มีตารางอาหารที่เข้มงวด และมีโปรแกรมการออกกำลังกายแบบมหาโหด แต่ผลสุดท้ายทุกอย่างแทบจะกลับมาเหมียน..น เดิม มันน่าระทดระท้อไหมละ
ผมไปอเมริกาครั้งหลังสุดราวสองปีมาแล้ว ตอนขาไปรีบๆไม่ได้สังเกตอะไร แต่พอขากลับรอเครื่องบินที่สนามบิน LAX นานจึงสังเกตเห็นว่าคนอเมริกันนี้อ้วนกันระดับหนังการ์ตูนสู้ไม่ได้เลยทีเดียว คุณย่าคุณยายที่นั่งล้อเข็นต้องเอาล้อเข็นวีลแชร์สองคันมาเชื่อมกันเป็นคันเดียวจึงจะนั่งได้ ลูกๆที่เดินตามคุณย่าก็อ้วน หลานชายที่เข็นรถวีลแชร์ให้คุณย่าก็อ้วน สรุปแล้วอ้วนกันหมดสนามบิน
แต่สังคมอเมริกันก็ไม่ได้นิ่งดูดายกับโรคอ้วน เมื่อปีกลายปีเดียวรัฐบาลสหรัฐจ่ายเงินวิจัยเฉพาะเรื่องการลดความอ้วนไปถึง 931 ล้านเหรียญ งานวิจัยที่โดดเด่นมากคืองานวิจัยลงทะเบียนคนอ้วนแห่งชาติ (National Weight Control Registry - NWCR) ซึ่งติดตามคนอ้วนที่ประสบความสำเร็จในการลดน้ำหนัก ซึ่งนิยามว่าลดได้ไม่ต่ำกว่า 14 กก. และคงน้ำหนักที่ลดได้ไว้ได้นานกว่า 1 ปีขึ้นไปจำนวนกว่า 10,000 คน คนเหล่านี้ลดน้ำหนักได้เฉลี่ยคนละ 30 กก.และคงน้ำหนักระดับต่ำนี้มาได้เฉลี่ยคนละ 5.5 ปีแล้ว งานวิจัยนี้จะดูว่าอะไรทำให้พวกเขาประสบความสำเร็จ ข้อมูลทั้งหมดที่พอจะสรุปได้เป็นเนื้อเป็นหนังมีดังนี้
1. ทุกคน (100%) เปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของตัวเอง เช่น นอนเร็วขึ้น ตื่นเช้าขึ้น
2. แทบจะทุกคน (98%) เปลี่ยนอาหารตัวเองไปจากเดิม ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง
3. เกือบทุกคน (90%) เพิ่มการออกกำลังกายแต่ว่าไม่ได้โหดมาก คือเฉลี่ยเท่ากับเดินวันละหนึ่งชั่วโมงทุกวัน
4. ส่วนใหญ่ (78%) ลดน้ำหนักแบบสโลว์บัทชัวร์ คือช้าๆ มั่นคง ไม่ฮวบฮาบ และกินอาหารเช้าทุกวัน
5. ส่วนใหญ่ (75%) ขยันชั่งน้ำหนัก คือชั่งทุกสัปดาห์เป็นอย่างน้อย
6. เกินครึ่ง (62%) ลดเวลาดูทีวี.เหลือสัปดาห์ละไม่เกิน 10 ชม.
7. ครึ่งหนึ่ง (55%) กินอาหารตามสูตรใดสูตรหนึ่ง ที่เหลือกินเองไม่มีสูตร
8. สูตรอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทุกคนไม่มี ไม่ว่าจะเป็นสูตรเจไขมันต่ำ (low fat vegan) สูตรอาหารลดความดัน (DASH) สูตรมังไม่ใส่เครื่องเทศ สูตรคาร์โบไฮเดรตต่ำ (low carb) สูตรตะบันกินเนื้อ (paleo ) สูตรตะบันเคี้ยว (บางสูตรเคี้ยวคำละ 722 ครั้ง) ทุกสูตรได้ผลกับบางคนแต่ไม่ได้ผลกับอีกบางคน บางคนต้องร่อนไปลองไปหลายสูตร หลายวิธี จึงจะพบสูตรที่ใช่สำหรับตัวเอง
นอกจากงานวิจัย NWCR นี้แล้ว ยังมีงานวิจัยอื่นๆที่ได้ข้อสรุปที่มีผลน่าสนใจและเป็นความรู้ใหม่ของวงการแพทย์ในเรื่องโรคอ้วน คือ
1. การศึกษายีนที่ทำให้คนอ้วน พบว่าคนที่มียีนอ้วน มีน้ำหนักตัวมากกว่าชาวบ้านทั่วไปแค่ 3% เท่านั้นเอง นั่นหมายความว่ากรรมพันธ์ุไม่ได้มีปัญหากับเรื่องอ้วนมากอย่างที่เราเคยเข้าใจ
2. การอ้วนมีความสัมพันธ์กับการได้รับสารพิษหรือสารเคมีบางชนิดจากสิ่งแวดล้อม เช่น สารไบฟีนอล (BPA) ที่ใช้เชื่อมกระป๋องอาหาร สารพ่นเคลือบกันไฟที่ใช้กับโซฟาและเฟอร์นิเจอร์ ยาฆ่าแมลงที่ตกค้างในอาหาร สาร phthalates ที่พบในพลาสติกและเครื่องสำอางค์ สารเหล่านี้มีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนบางชนิดในร่างกายซึ่งทำให้อ้วนได้
3. ชนิดของบักเตรีในร่างกายมีผลต่อความอ้วน งานวิจัยตามดูคน 800 คนอย่างละเอียดระดับเจาะน้ำตาลในเลือดดูทุก 5 นาทีเป็นเวลานาน 7 วัน บันทึกอาหารที่กิน การนอน การออกกำลังกายอย่างละเอียด และเพาะเชื้อบักเตรีในอุจจาระดูทุกวัน พบว่าระดับน้ำตาลในเลือดของแต่ละคนต่างกันได้แบบลิบลับทั้งๆบางกลุ่มบางคนกินอาหารอย่างเดียวกันในเวลาใกล้เคียงกัน นั่นหมายความว่าการสอนคนให้กินอย่างนั้นอย่างนี้เวลานั้นเวลานี้กลายเป็นเรื่องไร้สาระไปเลย เพราะร่างกายแต่ละคนมีผลงานแตกต่างกันมากอย่างนี้ จะไปหาสูตรสำเร็จสำหรับทุกคนได้อย่างไร งานวิจัยนี้พบว่าความแตกต่างของระดับน้ำตาลที่ต่างกันได้มากมายนี้สัมพันธ์กับชนิดของบักเตรีในลำไส้ แต่ ณ ขณะนี้ยังสรุปไม่ได้แน่ชัดว่าบักเตรีชนิดไหนที่เป็นดาวเด่นช่วยลดน้ำตาลในเลือดและลดความอ้วนได้ (ถึงกระนั้นพวกทำบักเตรีอัดเม็ดขายก็ออกหน้าขายของไปก่อนแล้ว)
4. งานวิจัยพบว่าคนอ้วนส่วนใหญ่ปรารถนาลดน้ำหนักแบบโลภมากจะเอาสวยเอาหล่อเป็นเกณฑ์ โดยวางเป้าหมายไว้สูงกว่าที่แพทย์แนะนำถึง 3 เท่า การทบทวนงานวิจัยถึงวันนี้พบว่าไม่ต้องตั้งใจลดมากมายบ้าเลือดอย่างนั้นดอก เพราะการวางเป้าหมายสูงทำให้หมดแรงเสียตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่มทำ หากลดน้ำหนักได้เพียง 10% ของที่เป็นอยู่ ดัชนีสุขภาพแทบทุกตัวก็จะดีขึ้นทันตาเห็นไม่ว่าจะเป็นความดันเลือด ไขมันในเลือด น้ำตาลในเลือด การดื้อต่ออินสุลิน เป็นต้น ดังนั้นจึงควรมุ่งลดน้ำหนักโดยเอาการมีสุขภาพดีเป็นเป้าหมาย อย่าฝันไกลถึงแต่จะสวยจะหล่อแต่ไปไม่ถึง
ทั้งหมดนี้คืออัพเดทล่าสุดเกี่ยวกับผลวิจัยโรคอ้วน
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. Sifferlin A. Here is the best-kept secret about weight loss: No single diet - from low carb and paleo to low fat and vegan- will work for everyone. TIME 2017;189(21):36-43