บัวใต้-ปริ่มน้ำ กับความหมายของชีวิต
คืออย่างนี้นะคะ
ตัวเอง ก็เป็นมนุษย์ที่เคยคิดเรื่อย ๆ ทำไม ทำไม เพื่ออะไร เพื่ออะไรกับการเกิด แก่ เจ็บ ตาย เกิด แล้วก็สรุปตัวเองได้อีกฉากใหญ่หลังไปนั่งวิปัสสนากรรมฐานว่า เอาล่ะ เราควรวางจิตไปทางเดียวกับพุทธศาสนา เพราะยังไม่พบ ไม่เห็นทางไหนที่ดีกว่า หรือใช่กว่าเลย
แต่ตอนนี้ ผ่านมาสามปีละ ก็ยังทำได้ไม่ดีนัก หลง ๆ ลืม ๆ จนรู้สึกว่า (ตามที่เคยแจ้งไป) "สิ่งที่ตัวเองกำลังสับสน ไขว่คว้าอยู่ ไม่รู้จะไปถึงไหนหรือเปล่า"
เหมือนบัวใต้ -ปริ่มน้ำอยู่ือย่างนี้
สิ่งที่ทำได้ดี คือชอบอ่านแนวคิดของคนต่าง ๆ จนกระทั่งมา search พบบทความของหมอ และสิ่งนี้เหมือนสิ่งที่จิตของตัวเอง ได้พึ่งพักใจที่ล้าบ้าง สบายบ้าง ไม่สบายบ้าง
มีอะไรช่วยแนะนำในการดำรงชีวิตมนุษย์ ช่วย Forward มาบ้างนะคะ อยากเป็นคนดี
สุดท้ายมีกลอนให้ เพราะเป็นกลอนที่ศรัทธามากโดยส่วนตัว (หากหมอยังไม่เคยพบเจอบทนี้)
อยากเป็นเช่นหินผา
จาได้ไม่ยลยิน
ไร้ทั้งสิ้นซึ่งวิญญา
ใครด่าว่าไม่รู้สึก
ห้วงเหวลึกและลำธาร
ต้นไม้สูงตระหง่าน
เป็นเพื่อนฉันก็พอใจ...
ขอบคุณค่ะ
ด้วยความนับถือ
(สงวนนาม)
ตอบครับ
1. ขอบคุณที่ส่งกลอนมาให้ ผมชอบกลอนของคุณ
2. เรื่องที่คุณอยากเป็นคนดีนั้นไม่มีปัญหาดอก เพราะอ่านจากจดหมายคุณเป็นคนดีอยู่แล้ว แต่เป็นคนดีที่ขี้หงุดหงิด แบบว่าดิ้นรนจะปลดแอกทางใจให้ตัวเอง แต่ก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะสำเร็จ
3. เรื่องอยากอ่าน ลองอ่านต่อไปนี้ดู
3.1 กามูส์ โดยเฉพาะเรื่อง “ตำนานแห่งซิสซิฟัสว่าด้วยการฆ่าตัวตายและความไร้สาระของชีวิต” มีต้นฉบับภาษาอังกฤษอยู่ในอินเตอร์เน็ททั่วไป เจ้านี้เป็นนักเขียนในค่ายเอ็กซิสตองเชียลลิสม์ งานเขียนนี้จับเอาเรื่องปรัมปราในตำนานกรีกที่ว่าซิสซิฟัสถูกพระเจ้าลงโทษด้วยการสาปให้กลิ้งหินขึ้นภูเขา เมื่อใดก็ตามที่หินนั้นขึ้นไปถึงยอดเขา มันจะกลิ้งกลับมาอยู่ที่ตีนเขาใหม่โดยอัตโนมัติ เพื่อให้ซิสซิฟัสต้องกลิ้งมันขึ้นไปใหม่ เป็นเช่นนี้ชั่วนิรันดร ถือว่าเป็นการลงโทษที่แสบยิ่งกว่าการฆ่าให้ตาย กามูส์ยกประเด็นตอนที่ซิสซิฟัสมองหินที่กลิ้งกลับลงจากเขา ว่าเขาจะรู้สึกอย่างไร ความพยายาม ความยากลำบากทั้งหลายสูญสิ้น คงจะรู้สึกเป็นอื่นไปไม่ได้นอกจากรู้สึกว่าชีวิตมันช่างไร้สาระสิ้นดี กามูส์บอกว่าคนเราฆ่าตัวตายไม่ใช่เพราะความยากลำบากของชีวิต แต่เพราะทนความไร้แก่นสารของโลกนี้ไม่ได้ต่างหาก ตะเกียกตะกายแค่ไหน สุดท้ายก็คือความว่างเปล่า พูดแบบเราๆก็คือ..กฎเกณฑ์ทุกอย่างคือของหลอก พระเจ้าเป็นของเก๊ เวรกรรมมันไม่มีจริง นี่เป็นรากแนวคิดแบบเอ็กซิสตองเชียลลิสม์ ซึ่งมีแนวทางว่าการจะเอาชนะความรู้สึกที่ว่าชีวิตไร้ความหมายนั้นจะต้อง (1) ตระหนักว่าตัวเราเนี่ยแหละ เป็นผู้เลือกสิ่งใดๆในชีวิตเรา ทุกอย่างเราเลือกเอง รับผลเอง ไม่ต้องอ้างใคร ไม่ต้องโทษใคร (2) ความหมายของชีวิตเราต้องกำหนดเอง หันเข้าหาความรู้สึกผิดชอบชั่วดีที่ฝั่งอยู่ก้นบึ้งของใจเราแล้วก็ลงมือทำตามนั้น ไม่ต้องไปสนพระเจ้าหรือกฎชีวิตใดๆ
3.2 วิคเตอร์ แฟรงเคิล (Frankl) คนนี้เป็นหมอชาวยิวซึ่งเคยถูกนาซีจับขังคุก ในคุกทำให้เขามีประสบการณ์อย่างหนึ่งว่าเมื่อมีสิ่งเร้า (stimulus) มากระทบเรา ก่อนที่เราจะสนองตอบ (response) ออกไปนั้น มีช่องว่างอยู่นิดหนึ่ง ซึ่ง ณ ช่องว่างนั้นเรามีอิสระที่จะเลือกสนองตอบอย่างไรก็ได้ เรากำหนดของเราได้อย่างอิสระ ถ้าเราเลือกสนองตอบแบบหนึ่ง เราก็จะเป็นทุกข์ เลือกสนองตอบอีกแบบหนึ่ง เราก็ไม่ทุกข์ เขาเรียกอิสระที่เรากำหนดการสนองตอบนี้ว่า the last freedom of human คือเป็นอิสรภาพที่อยู่กับตัวเรานี่เอง ใครมาแย่งไปไม่ได้ หนังสือของเขาชื่อ Man search for meaning หาอ่านยากสักหน่อย แต่สรุปสาระแล้วก็มีอยู่ประมาณเนี้ยะแหละ
3.3 สตีเฟ่น โควีย์ (Covey) อันนี้รุ่นหลังแล้ว หมาดๆนี่เอง เขาเอาแนวคิดของแฟรงเคิลมาเรียกใหม่ว่า proactive หมายความว่าการรู้จักเลือกสนองตอบต่อสิ่งเร้าอย่างสร้างสรรค์ โดยมีเครื่องมือสำคัญสามอัน คือ (1) ความรู้ตัว (self awareness) (2) ปัญญาขบคิดคาดเดา (imagination) และ (3) ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีในใจ (conscientious) เขาเขียนหนังสือชื่ออุปนิสัยเจ็ดประการสู่ความสำเร็จ มีคนอ่านแยะมาก จะเห็นว่าโควีย์ลากเอาแนวคิดของเอ็กซิสตองเชียลลิสม์กลับมาโผล่ที่เรื่องสติ-สัมปชัญญะ ของพุทธะอีกจนได้ และขายดีเสียด้วย
4. อย่าลืมว่าหนังสือยิ่งอ่านมากยิ่งฟุ้งสร้าน ลงมือทำดีกว่า ผมแนะนำให้คุณลงมือแก้โรคหงุดหงิดของคุณ เป็นขั้นตอน ดังนี้
4.1 วางพื้นฐานด้านร่างกายก่อน กล่าวคือ (1) นอนให้พอ เพราะความเซ็งชีวิตส่วนหนึ่งเกิดจากร่างกายขาดการพักผ่อนที่พอเพียงโดยที่เราอาจจะไม่รู้ตัว (2) ออกกำลังกายให้ได้ระดับมาตรฐานทุกวัน เพราะการออกกำลังกายทำให้เกิดสารเอ็นดอร์ฟินแก้โรคหงุดหงิดชีวิตดีนัก (3) เกาะติดธรรมชาติ โดยเฉพาะแสงแดด งานวิจัยพบว่าถ้าได้ถูกแดดจังๆเสียบ้างช่วยรักษาหงุดหงิดซึมเศร้าได้
4.2 วางกรอบกิจกรรมชีวิตกว้างๆให้กับแต่ละวัน ว่าวันนี้คุณจะทำอะไร แล้วก็ทำตามนั้น ต้องเอาตรงนี้ให้ได้ก่อน ถ้าเอาตรงนี้ไม่ได้ก็ไม่ต้องไปนั่งวิปัสนากรรมฐานหรอก เพราะเปรียบเหมือนวัวหากแค่จะให้อยู่ในคอกที่ตีไว้อย่างกว้างๆมันยังอยู่ไม่ได้เลย ที่จะเอาเชือกไปผูกจูงไปมาซ้ายหันขวาหันได้นั้นอย่าหวัง
4.3 หาอะไรสักอย่างทำอย่างใส่ใจจริงจัง หมายความว่าโฟคัส ถ้าจะให้ดี อะไรที่ว่านี้ควรจะอยู่ห่างๆเงินไว้ หมายความว่าต้องไม่เป็นอะไรที่เสียเงินมาก หรือไม่เป็นอะไรที่ทำให้เราต้องลุ้นว่าจะได้เงินหรือเปล่า เพราะถ้ามีเงินมายุ่ง เราจะเสียโฟคัส แต่ถ้าการจะได้หรือเสียเงินเป็นผลพลอยได้นั้นไม่เป็นไร แต่อย่าไปโฟคัสที่เงิน เมื่อได้ทำอะไรอย่างใส่ใจจริงจังไปพักหนึ่งแล้ว คุณจะเลิกดิ้นรนหาความหมายของชีวิตไปเอง หมายความว่าคุณดูเหมือนจะพบแล้ว ถึงตอนนั้นค่อยๆเลื่อนไปโฟคัสที่การพัฒนาสติ ในสิ่งที่ทำอยู่นั่นแหละ ไม่ต้องไปนั่งหลับตากรรมฐานที่วัดดอก
ลองทำตามนี้ดู ถ้าบรรลุธรรมแล้วอย่าลืมกลับมาโปรดผมบ้างนะ..ฮิ..ฮิ
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
ตัวเอง ก็เป็นมนุษย์ที่เคยคิดเรื่อย ๆ ทำไม ทำไม เพื่ออะไร เพื่ออะไรกับการเกิด แก่ เจ็บ ตาย เกิด แล้วก็สรุปตัวเองได้อีกฉากใหญ่หลังไปนั่งวิปัสสนากรรมฐานว่า เอาล่ะ เราควรวางจิตไปทางเดียวกับพุทธศาสนา เพราะยังไม่พบ ไม่เห็นทางไหนที่ดีกว่า หรือใช่กว่าเลย
แต่ตอนนี้ ผ่านมาสามปีละ ก็ยังทำได้ไม่ดีนัก หลง ๆ ลืม ๆ จนรู้สึกว่า (ตามที่เคยแจ้งไป) "สิ่งที่ตัวเองกำลังสับสน ไขว่คว้าอยู่ ไม่รู้จะไปถึงไหนหรือเปล่า"
เหมือนบัวใต้ -ปริ่มน้ำอยู่ือย่างนี้
สิ่งที่ทำได้ดี คือชอบอ่านแนวคิดของคนต่าง ๆ จนกระทั่งมา search พบบทความของหมอ และสิ่งนี้เหมือนสิ่งที่จิตของตัวเอง ได้พึ่งพักใจที่ล้าบ้าง สบายบ้าง ไม่สบายบ้าง
มีอะไรช่วยแนะนำในการดำรงชีวิตมนุษย์ ช่วย Forward มาบ้างนะคะ อยากเป็นคนดี
สุดท้ายมีกลอนให้ เพราะเป็นกลอนที่ศรัทธามากโดยส่วนตัว (หากหมอยังไม่เคยพบเจอบทนี้)
อยากเป็นเช่นหินผา
จาได้ไม่ยลยิน
ไร้ทั้งสิ้นซึ่งวิญญา
ใครด่าว่าไม่รู้สึก
ห้วงเหวลึกและลำธาร
ต้นไม้สูงตระหง่าน
เป็นเพื่อนฉันก็พอใจ...
ขอบคุณค่ะ
ด้วยความนับถือ
(สงวนนาม)
ตอบครับ
1. ขอบคุณที่ส่งกลอนมาให้ ผมชอบกลอนของคุณ
2. เรื่องที่คุณอยากเป็นคนดีนั้นไม่มีปัญหาดอก เพราะอ่านจากจดหมายคุณเป็นคนดีอยู่แล้ว แต่เป็นคนดีที่ขี้หงุดหงิด แบบว่าดิ้นรนจะปลดแอกทางใจให้ตัวเอง แต่ก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะสำเร็จ
3. เรื่องอยากอ่าน ลองอ่านต่อไปนี้ดู
3.1 กามูส์ โดยเฉพาะเรื่อง “ตำนานแห่งซิสซิฟัสว่าด้วยการฆ่าตัวตายและความไร้สาระของชีวิต” มีต้นฉบับภาษาอังกฤษอยู่ในอินเตอร์เน็ททั่วไป เจ้านี้เป็นนักเขียนในค่ายเอ็กซิสตองเชียลลิสม์ งานเขียนนี้จับเอาเรื่องปรัมปราในตำนานกรีกที่ว่าซิสซิฟัสถูกพระเจ้าลงโทษด้วยการสาปให้กลิ้งหินขึ้นภูเขา เมื่อใดก็ตามที่หินนั้นขึ้นไปถึงยอดเขา มันจะกลิ้งกลับมาอยู่ที่ตีนเขาใหม่โดยอัตโนมัติ เพื่อให้ซิสซิฟัสต้องกลิ้งมันขึ้นไปใหม่ เป็นเช่นนี้ชั่วนิรันดร ถือว่าเป็นการลงโทษที่แสบยิ่งกว่าการฆ่าให้ตาย กามูส์ยกประเด็นตอนที่ซิสซิฟัสมองหินที่กลิ้งกลับลงจากเขา ว่าเขาจะรู้สึกอย่างไร ความพยายาม ความยากลำบากทั้งหลายสูญสิ้น คงจะรู้สึกเป็นอื่นไปไม่ได้นอกจากรู้สึกว่าชีวิตมันช่างไร้สาระสิ้นดี กามูส์บอกว่าคนเราฆ่าตัวตายไม่ใช่เพราะความยากลำบากของชีวิต แต่เพราะทนความไร้แก่นสารของโลกนี้ไม่ได้ต่างหาก ตะเกียกตะกายแค่ไหน สุดท้ายก็คือความว่างเปล่า พูดแบบเราๆก็คือ..กฎเกณฑ์ทุกอย่างคือของหลอก พระเจ้าเป็นของเก๊ เวรกรรมมันไม่มีจริง นี่เป็นรากแนวคิดแบบเอ็กซิสตองเชียลลิสม์ ซึ่งมีแนวทางว่าการจะเอาชนะความรู้สึกที่ว่าชีวิตไร้ความหมายนั้นจะต้อง (1) ตระหนักว่าตัวเราเนี่ยแหละ เป็นผู้เลือกสิ่งใดๆในชีวิตเรา ทุกอย่างเราเลือกเอง รับผลเอง ไม่ต้องอ้างใคร ไม่ต้องโทษใคร (2) ความหมายของชีวิตเราต้องกำหนดเอง หันเข้าหาความรู้สึกผิดชอบชั่วดีที่ฝั่งอยู่ก้นบึ้งของใจเราแล้วก็ลงมือทำตามนั้น ไม่ต้องไปสนพระเจ้าหรือกฎชีวิตใดๆ
3.2 วิคเตอร์ แฟรงเคิล (Frankl) คนนี้เป็นหมอชาวยิวซึ่งเคยถูกนาซีจับขังคุก ในคุกทำให้เขามีประสบการณ์อย่างหนึ่งว่าเมื่อมีสิ่งเร้า (stimulus) มากระทบเรา ก่อนที่เราจะสนองตอบ (response) ออกไปนั้น มีช่องว่างอยู่นิดหนึ่ง ซึ่ง ณ ช่องว่างนั้นเรามีอิสระที่จะเลือกสนองตอบอย่างไรก็ได้ เรากำหนดของเราได้อย่างอิสระ ถ้าเราเลือกสนองตอบแบบหนึ่ง เราก็จะเป็นทุกข์ เลือกสนองตอบอีกแบบหนึ่ง เราก็ไม่ทุกข์ เขาเรียกอิสระที่เรากำหนดการสนองตอบนี้ว่า the last freedom of human คือเป็นอิสรภาพที่อยู่กับตัวเรานี่เอง ใครมาแย่งไปไม่ได้ หนังสือของเขาชื่อ Man search for meaning หาอ่านยากสักหน่อย แต่สรุปสาระแล้วก็มีอยู่ประมาณเนี้ยะแหละ
3.3 สตีเฟ่น โควีย์ (Covey) อันนี้รุ่นหลังแล้ว หมาดๆนี่เอง เขาเอาแนวคิดของแฟรงเคิลมาเรียกใหม่ว่า proactive หมายความว่าการรู้จักเลือกสนองตอบต่อสิ่งเร้าอย่างสร้างสรรค์ โดยมีเครื่องมือสำคัญสามอัน คือ (1) ความรู้ตัว (self awareness) (2) ปัญญาขบคิดคาดเดา (imagination) และ (3) ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีในใจ (conscientious) เขาเขียนหนังสือชื่ออุปนิสัยเจ็ดประการสู่ความสำเร็จ มีคนอ่านแยะมาก จะเห็นว่าโควีย์ลากเอาแนวคิดของเอ็กซิสตองเชียลลิสม์กลับมาโผล่ที่เรื่องสติ-สัมปชัญญะ ของพุทธะอีกจนได้ และขายดีเสียด้วย
4. อย่าลืมว่าหนังสือยิ่งอ่านมากยิ่งฟุ้งสร้าน ลงมือทำดีกว่า ผมแนะนำให้คุณลงมือแก้โรคหงุดหงิดของคุณ เป็นขั้นตอน ดังนี้
4.1 วางพื้นฐานด้านร่างกายก่อน กล่าวคือ (1) นอนให้พอ เพราะความเซ็งชีวิตส่วนหนึ่งเกิดจากร่างกายขาดการพักผ่อนที่พอเพียงโดยที่เราอาจจะไม่รู้ตัว (2) ออกกำลังกายให้ได้ระดับมาตรฐานทุกวัน เพราะการออกกำลังกายทำให้เกิดสารเอ็นดอร์ฟินแก้โรคหงุดหงิดชีวิตดีนัก (3) เกาะติดธรรมชาติ โดยเฉพาะแสงแดด งานวิจัยพบว่าถ้าได้ถูกแดดจังๆเสียบ้างช่วยรักษาหงุดหงิดซึมเศร้าได้
4.2 วางกรอบกิจกรรมชีวิตกว้างๆให้กับแต่ละวัน ว่าวันนี้คุณจะทำอะไร แล้วก็ทำตามนั้น ต้องเอาตรงนี้ให้ได้ก่อน ถ้าเอาตรงนี้ไม่ได้ก็ไม่ต้องไปนั่งวิปัสนากรรมฐานหรอก เพราะเปรียบเหมือนวัวหากแค่จะให้อยู่ในคอกที่ตีไว้อย่างกว้างๆมันยังอยู่ไม่ได้เลย ที่จะเอาเชือกไปผูกจูงไปมาซ้ายหันขวาหันได้นั้นอย่าหวัง
4.3 หาอะไรสักอย่างทำอย่างใส่ใจจริงจัง หมายความว่าโฟคัส ถ้าจะให้ดี อะไรที่ว่านี้ควรจะอยู่ห่างๆเงินไว้ หมายความว่าต้องไม่เป็นอะไรที่เสียเงินมาก หรือไม่เป็นอะไรที่ทำให้เราต้องลุ้นว่าจะได้เงินหรือเปล่า เพราะถ้ามีเงินมายุ่ง เราจะเสียโฟคัส แต่ถ้าการจะได้หรือเสียเงินเป็นผลพลอยได้นั้นไม่เป็นไร แต่อย่าไปโฟคัสที่เงิน เมื่อได้ทำอะไรอย่างใส่ใจจริงจังไปพักหนึ่งแล้ว คุณจะเลิกดิ้นรนหาความหมายของชีวิตไปเอง หมายความว่าคุณดูเหมือนจะพบแล้ว ถึงตอนนั้นค่อยๆเลื่อนไปโฟคัสที่การพัฒนาสติ ในสิ่งที่ทำอยู่นั่นแหละ ไม่ต้องไปนั่งหลับตากรรมฐานที่วัดดอก
ลองทำตามนี้ดู ถ้าบรรลุธรรมแล้วอย่าลืมกลับมาโปรดผมบ้างนะ..ฮิ..ฮิ
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์