หมอสันต์เปิดแค้มป์พลิกผันโรคด้วยตนเอง (RDBY-34) ครั้งแรกของปีนี้ในวันที่ 23-26 กพ. 68



        เมื่อปลายปีที่แล้ว ผมได้ทดลองทำแค้มป์พลิกผันโรคด้วยตนเอง (RDBY-33) ในรูปแบบใหม่ คือเป็นการทำคลินิกรักษาโรคเรื้อรังแบบให้หมอสันต์เป็นหมอประจำตัว เริ่มต้นด้วยการพบกับหมอสันต์แบบตัวต่อตัวเพื่อเจาะลึกปัญหารายคนของใครของมันทีละคน เพื่อประเมินทั้งการซักประวัติตรวจร่างกายและสรุปผลการตรวจในอดีตทั้งหมดแล้ววางแผนรักษาให้ทีละคน โดยใช้เวลาในวันแรกทั้งวัน แล้วใช้เวลาวันที่เหลือเรียนความรู้และฝึกปฏิบัติทักษะในการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตร่วมกัน การเรียนความรู้ก็เปลี่ยนวิธีใหม่จากเดิมที่นั่งฟังสรุปผลการวิจัยทั่วโลกที่จะนำมาใช้กับตัวเอง เปลี่ยนมาเป็นการเรียนแบบ problem based คือเอาปัญหาของเพื่อนร่วมกลุ่มทีละคนเป็นตัวตั้ง แล้วเอาผลวิจัยที่เกี่ยวข้องมาอธิบายและแนะนำวิธีจัดการโรค ทำให้ทุกคนรู้ข้อมูลที่จำเป็นต่อการจัดการโรคของตนอย่างละเอียด เมื่อจบแค้มป์สี่วันแล้วก็ให้กลับไปดูแลตัวเองต่อที่บ้านโดยมีการติดตามรับฟังข่าวและช่วยเหลือเพิ่มเติมเฉพาะเรื่องที่ต้องตามดูต่อเนื่องเช่นการลดยาเป็นต้น 

        เมื่อมาประเมินผลดูแล้วพบว่าได้ผลดีกว่าทำแค้มป์ในรูปแบบเดิมที่ไปเน้นที่การเรียนการสอนมากกว่าเจาะลึกปัญหารายคน และยังได้ข้อมูลเพิ่มเติมมาแบบฟลุ้คๆด้วยความบังเอิญเนื่องจากใน RDBY-33 สมาชิกมาไม่ครบ 12 คนทำให้จำนวนรวมมีน้อยซึ่งกลับเป็นผลดีต่อการทำแค้มป์ในรูปแบบใหม่นี้เพราะหมอกับคนไข้มีเวลาคุยกันแบบเจาะลึกรายคนมากขึ้น

         ข้อมูลทั้งหมดนี้จะนำมาสู่การปรับรูปแบบของแค้มป์ RDBY-34 และแค้มป์ต่อๆไปอย่างถาวร ซึ่งมีสาระหลังสามประการ คือ (1) เน้นการเริ่มความสัมพันธ์แบบแพทย์ประจำตัวระหว่างหมอสันต์กับผู้ป่วยแต่ละคนและตามดูกันไปแบบต่อเนื่อง และ (2) ไม่เน้นจำนวนคนว่าต้องมากพอที่ทำกิจกรรมกลุ่ม มีกลุ่มเล็กก็ทำแบบกลุ่มเล็ก กล่าวคือจากนี้ต่อไปจะถือหลักคนยิ่งน้อยยิ่งดี มาคนเดียวทำกับคนเดียว เพราะผมได้เปลี่ยนมุมมองไปแล้วว่านี่เป็นการทำคลินิกเปลี่ยนวิถีชีวิตไม่ใช่ทำแค้มป์อย่างสมัยก่อน ประกอบกับตัวหมอสันต์เองก็ชราลงเป็นลำดับ การรับดูแลผู้ป่วยน้อยคนลงย่อมดีกว่ารับดูทีละมากๆแบบสมัยหนุ่มๆ (3) ได้นำผลวิจัยอาหารไทยสุขภาพที่ได้ผลสรุปออกมาอย่างชัดเจนดีแล้วว่าดีมาปรับปรุงเนื้อหาสาระทางด้านโภชนาการรวมไปถึงเปลี่ยนอาหารที่กินและที่ฝึกทำในแค้มป์ด้วย 

แค้มป์ RDBY34 เหมาะสำหรับใครบ้าง

แค้มป์ RDBY34 เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่วงการแพทย์ยังไม่สามารถรักษาให้หาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

(1) โรคหลอดเลือดหัวใจ

(2) โรคหลอดเลือดสมอง (อัมพาต)

(3) โรคความดันเลือดสูง

(4) โรคเบาหวาน

(5) โรคไขมันในเลือดสูง

(6) โรคอ้วน

(7) โรคไตเรื้อรัง

(8) โรคสมองเสื่อม

หลักสูตร (Course Syllabus) 

1. วัตถุประสงค์

1.1 เพื่อทำการรักษาโรคเรื้อรังให้ผู้ป่วยรายคน ด้วยการสรุปเรียงลำดับปัญหา สรุปแผนการรักษา ที่มุ่งเน้นการรักษาแบบคำนึงถึงองค์รวม การเปลี่ยนวิถีชีวิต และส่วนที่ผู้ป่วยจะทำได้ด้วยตนเองมากที่สุด

1.2 เพื่อให้ความรู้

    1.2.1 รู้กลไกพื้นฐานร่วมของโรคเรื้อรัง (1) กลไกการอักเสบของหลอดเลือด (2) กลไกจุลินทรีย์ในลำไส้ (3) กลไกการเผาผลาญของเซลล์ (4) กลไกการเสียดุลยภาพของระบบประสาทอัตโนมัติ เป็นต้น

    1.2.2 รู้ปัจจัยเสี่ยงของโรคเรื้อรังแต่ละโรค

    1.3.3 รู้วิธีการวินิจฉัยโรคเรื้อรังแต่ละโรคของแพทย์ และสามารถแปลผลการตรวจ เช่น EST, Echo, CAC, CTA, CAG, CT/MRI brain เป็นต้น

    1.2.4 รู้และเข้าใจแนวทางการรักษาในส่วนของแพทย์

    1.2.5 รู้วิธีจัดการโรคด้วยตนเองในส่วนของตัวผู้ป่วย (1) ในแง่ของโภชนาการ (2) ในแง่ของการออกกำลังกาย (3) ในแง่ของการจัดการความเครียด (4) ในแง่ของการมีสัมพันธภาพที่ดีกับคนรอบตัว

    1.2.6 รู้ทางเลือกวิธีรักษาทุกวิธี และรู้ประโยชน์และความเสี่ยงของแต่ละทางเลือกอย่างละเอียด
1.1.7 รู้จักยาทุกตัวที่ตนเองได้รับ ทั้งชื่อ ขนาด วิธีกิน กลุ่มยา ฤทธิ์ยา และผลข้างเคียงของยา

    1.2.8 รู้จักอาหารไทยสุขภาพที่เป็นผลจากการวิจัยอาหารไทยสุขภาพ

    1.2.9 รู้วิธีจัดชั้นและประเมินหลักฐานวิทยาศาสตร์ที่แพร่หลายในอินเตอร์เน็ทว่าอันไหนเป็นหลักฐานที่เชื่อถือได้ระดับมากหรือระดับน้อย

    1.2.10 รู้วิธีใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลผู้ป่วยบนอินเตอร์เน็ทในการติดตามดูแลสุขภาพของตนเอง
    1.2.11 รู้ศักยภาพของตนเองว่าสามารถทำอะไรได้ด้วยตนเองบ้างเพื่อให้ตนเองหายจากโรค

    1.3. เพื่อพัฒนาทักษะ 
    คาดหวังให้ผู้ป่วยสามารถทำสิ่งต่อไปนี้ด้วยตนเอง
    1.3.1 บริหารจัดการโรคของตนเองได้โดยใช้ตัวชี้วัดพื้นฐาน 8 ตัว (1) น้ำหนัก (2) ความดันเลือด (3) ไขมันในลือด (4) น้ำตาลในเลือด (5) ปริมาณผักผลไม้ที่กินต่อวัน (6) เวลาออกกำลังกายต่อสัปดาห์ (7) การสูบบุหรี่ (8) การนอนหลับ
    1.3.2 บริหารยาของตนเองได้ สามารถลดหรือเพิ่มยาของตนเองตามตัวชี้วัดและอาการที่เกี่ยวข้องได้

    1.3.3 เลือกอาหารสำเร็จรูปหรือกึ่งสำเร็จรูปในตลาดที่เป็นอาหารพืชแบบไม่สกัดไม่ขัดสีและอาหาร prebiotic, probiotic ได้
    1.3.4 ทำอาหารไทยสุขภาพกินเองที่บ้านได้ เช่น ผัดทอดอาหารโดยใช้น้ำหรือใช้ลมร้อนแทนน้ำมันได้ อบถั่วและนัทไว้เป็นอาหารว่างเองได้ ทำเครื่องดื่มจากผักผลไม้โดยไม่ทิ้งกากด้วยตนเองได้
    1.3.5 ประเมินสมรรถนะร่างกายของตนเองด้วยการสังเกตอัตราการหายใจ การนับชีพจรจากเครื่องช่วยนับ และการทำ One milk walk test ให้ตัวเองได้
    1.3.6 ออกกำลังกายแบบแอโรบิกได้ด้วยตนเองได้
    1.3.7 ออกกำลังกายแบบฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อโดยใช้ท่ากายบริหาร ดัมเบล สายยืด และกระบอง ได้ด้วยตนเอง
    1.3.8 ออกกำลังกายแบบเสริมการทรงตัวได้ด้วยตนเอง
    1.3.9 สามารถกำกับดูแลและแก้ไขท่าร่าง (posture) ในชีวิตประจำวันของตนเองได้
    1.3.10 ผ่อนคลายความเครียดเฉียบพลันด้วยเทคนิคต่างๆ relax breathing ได้
    1.3.11 จัดการความเครียดในชีวิตประจำวันด้วยการฝึกวางความคิดผ่านเทคนิคต่างๆเช่น นั่งสมาธิ ไทชิ โยคะ ได้
    1.3.12 สามารถเปิดตัวเองออกไปมีชีวิตร่วมกับผู้อื่น มีสัมพันธภาพที่ดีกับคนรอบตัวได้

    1.3.13 สามารถใช้เครื่องมือบนอินเตอร์เน็ทในการดูแลตนเองต่อเนื่องได้ด้วยตนเอง

1.4    เพื่อสร้างเจตคติใหม่ในการรับมือกับโรคเรื้อรัง
คาดหวังให้ผู้ป่วยเกิดเจตคติต่อไปนี้
1.4.1 มีความมั่นใจว่าตนเองสามารถ (empowered) ที่จะดลบันดาลให้โรคของตัวเองหายได้
1.4.2 มีความมุ่งมั่นในพันธะสัญญา (commitment) ที่จะเป็นผู้ดูแลตนเองไม่ให้เป็นภาระแก่คนอื่น
1.4.3 มีความอยาก (motivated) ที่จะมีชีวิตอย่างมีสุขภาพดี มีความสุข

     6. ตารางกิจกรรมขณะอยู่ในแค้มป์ 

ก่อนวันเข้าแค้มป์

    สมาชิกส่งรายละเอียดข้อมูลและสุขภาพและข้อมูลโรคของตนเองมาให้พยาบาลประจำแค้มป์ (คุณโอ๋ โทร 0855198219)

วันเข้าแค้มป์วันแรก

09.00 – 16.00     Registration and initial assessment by doctors
1) ลงทะเบียนเข้าแค้มป์
2) เช็คอินเข้าห้องพัก
3) วัดความดันโลหิต ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง คำนวณดัชนีมวลกาย วัด Body composition ฝึกหัดใส่ข้อมูลตัวชี้วัดเข้าเวชระเบียนส่วนบุคคลทางอินเตอร์เน็ท
4) ผลัดกันเข้ารับการตรวจประเมินและวางแผนรักษาโรครายคนกับ นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ ตามตารางเวลาที่จัดไว้ (เน้นย้ำเรื่องการพบแพทย์ตรงตามเวลาที่จัดไว้ เนื่องจากมีสมาชิกหลายท่าน)
ท่านสามารถพักผ่อนได้ตามอัธยาศัย ทางศูนย์สุขภาพ Wellness We Care Centre (WWC) มีการจัดเตรียมห้องประชุม เพื่อฉายสื่อความรู้ด้านสุขภาพในระหว่างรอคิวพบแพทย์ หากท่านต้องการนวดผ่อนคลาย ที่ WWC มีศูนย์ Herbal Treatment Centre โดยทีมแพทย์แผนไทย สามารถติดต่อขอรายละเอียดได้ที่คลินิกแผนกต้อนรับ หรือทางคลินิกแพทย์แผนไทยโดยมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
15.30 – 16.00     Tea break พักดื่มน้ำชากาแฟ

16.00 – 16.30     แนะนำแค้มป์สุขภาพโรคหลอดเลือดหัวใจ แนะนำการติดตั้งแอพพลิเคชั่นการติดตามตัวชี้วัดสุขภาพ                            
16.30-17.10น กิจกรรมสันทนาการ : เพื่อฝึกกล้ามเนื้อ การทรงตัว และระบบประสาท
17.10 – 19.00     cooking demonstration สาธิตสอนแสดงวิธีทำอาหารแบบพืชเป็นหลัก รูปแบบใกล้เคียงธรรมชาติ ไม่สกัดไม่ขัดสี ไขมันต่ำ (plant-based, whole food, low fat diet; PBWF) และรับประทานอาหารเย็น

วันที่สอง
06.45 – 7.00       BP measurement วัดความดันโลหิตตอนเช้า
(คุณโอ๋และผู้ช่วย)
07.00 – 08.00     Stretching
exercise การออกกำลังกายแบบยืดเหยียดกล้ามเนื้อ(15 นาที)
และการทดสอบพื้นฐานร่างกาย

(1) 1 minute sit-to-stand test ลุกนั่งภายใน 1 นาที (3 นาที)
(2) time up and go test การลุกเดินและวนกลับ ( 7 นาที)

(3) six-minute walk test ทดสอบสมรรถนะร่างกายด้วยวิธีเดิน 6 นาที ( 20 นาที)
08.00 – 9.30       อาหารเช้าและเวลาส่วนตัว
9.30 – 10.30       เรียนรู้การจัดการโรคเรื้อรังแบบ problem based ตามโรคที่สมาชิกเป็น (นพ.สันต์)
10.30 – 10.45     Tea break ดื่มน้ำชากาแฟ
10.45 – 12.00     เรียนรู้การจัดการโรคเรื้อรังแบบ problem based ตามโรคที่สมาชิกเป็น ภาค2 (นพ.สันต์)

12.00 – 14.00     รับประทานอาหารกลางวันและเวลาส่วนตัว

14.00 – 17.00      เรียนรู้การจัดการโรคเรื้อรังแบบ problem based ตามโรคที่สมาชิกเป็น ภาค3 (นพ.สันต์)

วันที่สาม
06.45 – 7.00       BP measurement วัดความดันโลหิตตอนเช้า (คุณโอ๋และผู้ช่วย)
7.00 – 8.00         Stress Management การจัดการความเครียด (โยคะ สมาธิ ไทชิ) 
08.00 – 10.00     อาหารเช้าและเวลาส่วนตัว
10.00 – 11.00     Lecture: Pathophysiology of chronic diseases กลไกการเกิดโรคเรื้อรัง (1) กลไกการอักเสบของหลอดเลือด (2) กลไกจุลินทรีย์ในลำไส้ (3) กลไกการเผาผลาญของเซลล์ (4) กลไกการเสียดุลยภาพของระบบประสาทอัตโนมัติ (นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์)

11.00 -12.00 บรรยาย กลุ่มโรคหัวใจขาดเลือด (1) กลไกพื้นฐานของโรคหัวใจขาดเลือด (2) อาการวิทยาของหัวใจขาดเลือด แบบด่วน และแบบไม่ด่วน (3) การแปลผลตรวจพิเศษทางด้านหัวใจ / EST / Echo /CAC (แคลเซียมสะกอร์) / CTA / CAG (สวนหัวใจ) (4) งานวิจัยเปรียบเทียบการรักษาโรคหัวใจด้วยวิธีรุกล้ำและไม่รุกล้ำ (5) งานวิจัยการทำให้โรคหัวใจถอยกลับด้วยอาหารและการใช้ชีวิต

14.00 – 15.00 บรรยายกลุ่มโรคไขมันสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน, (1) ชนิดของไขมันในเลือด ( 2) ไขมันเลว (LDL) ชนิดอนุภาคใหญ่และชนิดอนุภาคเล็ก (3) กลไกการเกิดหลอดเลือดอักเสบตามหลังไขมันในเลือดสูง (4) กลไกการเกิดโรคอ้วน (5) กลไกการดื้อต่ออินสุลิน (6) มาตรฐานระดับไขมันในเลือด (7) ยาลดไขมันและยาเบาหวานในเลือดทุกกลุ่ม กลไกการออกฤทธิ์ และผลข้างเคียง (8) วิธีบริหารยาลดไขมันในเลือด (รวมถึงการลดและเลิกยา) ด้วยตนเอง
12.00 – 14.00  รับประทานอาหารกลางวันและเวลาส่วนตัว
14.00 – 15.00  บรรยายโรคความดันเลือดสูง (นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์) (1) กลไกการเกิดความดันเลือดสูง (2) พยาธิวิทยาของโรคความดันเลือดสูง (3) งานวิจัยการรักษาความดันเลือดสูงโดยไม่ใช้ยา (4) ชนิดของยารักษาความดันเลือดสูง กลไกการออกฤทธิ์ และผลข้างเคียง (5) การบริหารยาลดความดันรวมถึงการลดหรือเลิกยาลดความดันด้วยด้วยตนเอง (6) งานวิจัยผลของอาหารต่อโรคไตเรื้อรัง

15.00 – 15.30 Workshop Overview of the Healthy Thai Food for reversing chronic disease บรรยายควบสาธิตสอนแสดงเรื่องอาหารไทยสุขภาพในการรักษาโรคเรื้อรัง
15.30 – 16.00     Tea break ดื่มน้ำชากาแฟ
16.00 – 17.00     strengthening exercise ฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายแบบฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
17.00 – 19.00     cooking demonstration สาธิตสอนแสดงวิธีทำอาหารแบบพืชเป็นหลัก รูปแบบใกล้เคียงธรรมชาติ ไม่สกัดไม่ขัดสี ไขมันต่ำ (plant-based, whole food, low fat diet; PBWF) และรับประทานอาหารเย็น

วันที่สี่
06.45 – 7.00       BP measurement วัดความดันโลหิตตอนเช้า (คุณโอ๋และผู้ช่วย)
07.00 – 08.30     Balance exercise การออกกำลังกายเสริมการทรงตัว / Aerobic exercise การออกกำลังกายแบบ high intensity interval training – HIIT

08.30 – 10.00     อาหารเช้าและเวลาส่วนตัว
10.00 – 10.30     Workshop ทักษะการวางความคิดเพื่อลดความเครียดและนอนหลับ (นพ.สันต์) 
10.30-12.00        Q&A ตอบคำถามเจาะลึกเรื่องการจัดการโรครายคน
12.00 เป็นต้นไป    ปิดแคมป์


รับประทานอาหารกลางวันและเดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ
 
* ตารางกิจกรรมอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

การเตรียมรับภาวะฉุกเฉินขณะเข้าแค้มป์

ผู้ป่วยที่มาเข้าโปรแกรมนี้ส่วนหนึ่งเป็นผู้ป่วยหนัก บ้างทำผ่าตัดบายพาสมาแล้ว บ้างทำบอลลูนมาแล้วคนละครั้งสองครั้ง บ้างมีหัวใจล้มเหลวแค่เดินสองสามก้าวก็หอบหรือเจ็บหน้าอกแล้ว บ้างรอเปลี่ยนหัวใจอยู่ บ้างเพิ่งเป็นอัมพาตมา ความเสี่ยงที่จะเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันหรือหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันหรืออัมพาตเฉียบพลันมีอยู่ตลอดเวลาแม้กระทั่งขณะนั่งหรือนอนอยู่เฉยๆ ความเสี่ยงนี้ผู้ป่วยทุกคนต้องยอมรับว่ามีโอกาสเกิดขึ้นได้ตามโรคของตัวเอง แต่ตัวหมอสันต์เองซึ่งเป็นหมอผ่าตัดหัวใจมาก่อนก็ไม่ประมาทในเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วย ได้เตรียมการด้านความปลอดภัยขณะเข้าแค้มป์ทุกครั้งรวมไปถึงการมีพยาบาลฉุกเฉินพร้อมอยู่ในศูนย์ตลอดเวลา มีอุปกรณ์เครื่องมือเพื่อรับมือกับภาวะฉุกเฉินได้ รวมทั้งขีดความสามารถที่จะเปิดหลอดเลือดให้น้ำเกลือหรือยาทางหลอดเลือดดำได้ทันที ขีดความสามารถที่จะใส่ท่อช่วยหายใจและช่วยการหายใจในภาวะฉุกเฉิน นอกจากนั้นยังมีขีดความสามารถที่จะช็อกไฟฟ้าหัวใจในกรณีฉุกเฉิน การประสานงานกับระบบรถฉุกเฉินและโรงพยาบาลใกล้เคียง และการมีพยาบาลผู้ป่วยวิกฤติอยู่ประจำในแค้มป์ 24 ชั่วโมง มีแพทย์ที่ตามให้เข้ามาดูแลผู้ป่วยได้ในเวลา 5-10 นาทีตลอดการฝึกอบรม

ทั้งนี้อย่าได้เข้าใจผิดว่าการจะปรับวิถีชีวิตเพื่อพลิกผันโรคให้ตัวเองนั้นเป็นเรื่องอันตราย ความเป็นจริงไม่ใช่เลย การปรับการใช้ชีวิตทั้งอาหารและการออกกำลังกายเพื่อดูแลตัวเองให้ได้นั้นเป็นกลไกรักษาโรคตามธรรมชาติ มีอันตรายน้อยกว่าการรักษาด้วยยา บอลลูน หรือผ่าตัดในโรงพยาบาลอย่างเทียบกันไม่ได้ แต่ทางแค้มป์เตรียมความพร้อมด้านความปลอดภัยในแค้มป์ให้มากเข้าไว้เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยหนักซึ่งเป็นกลุ่มที่จะได้ประโยชน์มากที่สุดจากการเข้าแค้มป์ มาเข้าแค้มป์ได้โดยไม่ต้องกังวลว่าจะไม่ปลอดภัยเท่าอยู่ในบ้านตัวเองเท่านั้น

ระยะก่อนเข้าแค้มป์ (Pre-camping preparation) 

ผู้ป่วยทุกท่านที่ได้รับเข้าโปรแกรมแล้ว จะต้องจัดส่งข้อมูลโรคของตนมาให้แพทย์วิเคราะห์ล่วงหน้าก่อนวันมาแค้มป์ โดยส่งข้อมูลมาทางคุณสายชล (โอ๋) พยาบาลประจำแค้มป์ ที่อีเมล totenmophph@gmail.com โดยอย่างน้อยต้องส่งข้อมูลพื้นฐานซึ่งจำเป็นต้องใช้ต่อไปนี้มา คือ

(1) ชื่อ นามสกุล
(2) วันเดือนปีเกิด
(3) เพศ
(4) เบอร์โทรศัพท์มือถือ
(5) อีเมลแอดเดรส
(6) เลขบัตรประจำตัวประชาชน
(7) ส่วนสูง
(8) น้ำหนัก
(9) ความดันเลือด
(10) น้ำตาลในเลือด (FBS) หรือน้ำตาลสะสม (HbA1C)
(11) ไขมันเลว (LDL)
(12) ตัวชี้วัดการทำงานของไต (eGFR หรือ Cr)
(13) เอ็นไซม์แสดงการทำงานของตับ (SGPT)
(14) การวินิจฉัย (ชื่อ) โรคทุกโรคที่รักษาอยู่ในปัจจบัน
(15) อาการป่วยทุกอาการที่มีในปัจจุบัน
(16) ยาทุกตัวที่กินอยู่ในปัจจุบัน พร้อมทั้งขนาด และวิธีกิน
(17) ผลการตรวจจำเพาะต่างๆ ถ้ามี เช่น ผลการตรวจเลือดอื่นๆ ภาพเอ็กซเรย์ปอด ผลตรวจสมรรถนะหัวใจ (EST) คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) ผลการตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยคอมพิวเตอร์ (CTA) ผลการตรวจสวนหัวใจ (CAG) ผลการตรวจผลการตรวจ CT สมอง โดยกรณีเป็นภาพหากส่งเป็นไฟล์ดิจิตอลได้ก็จะเป็นพระคุณ แต่หากส่งไม่ได้จะเอาโทรศัพท์ถ่ายแล้วส่งไฟล์รูปมาก็ได้ กรณีเป็นใบรายงานผลให้เอาโทรศัพท์ถ่ายใบรายงานแล้วส่งไฟล์มาก็ได้
(18) คำบอกเล่าลักษณะการใช้ชีวิตประจำวัน เน้นที่
– การบรรยายลักษณะอาหารที่กินแต่ละมื้อทุกมื้อ
– การออกกำลังกายที่ทำในแต่ละวัน
– วิธีจัดการความเครียดที่ใช้อยู่ประจำ
– ความกังวล (concern) ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นพิเศษ หากมีอยู่ในใจก็ให้แจ้งมาให้หมอสันต์ทราบด้วย

สถานที่เรียน

    Wellness we care center เวลเนสวีแคร์เซ็นตเตอร์ (มวกเหล็ก-เขาใหญ่)

วันเวลาสำหรับแค้มป์ RDBY-34

    วันที่  23-26 กพ. 2568

จำนวนที่รับเข้าแค้มป์ RDBY-34

    รับจำนวนไม่เกิน 12 คน (มีกี่คนก็เปิดแค้มป์ ไม่มีงด)

ค่าลงทะเบียน

    25,500 บาทสำหรับผู้เข้าแค้มป์

    16,500 บาทสำหรับผู้ติดตาม (พักห้องเดียวกันกับผู้เข้าแค้มป์)

       ราคานี้ไม่ครอบคลุมถึงค่าเดินทางไปและกลับระหว่างบ้านของท่านกับเวลเนสวีแคร์ (ผู้ป่วยไปเองกลับเอง) ไม่ครอบคลุมค่ายาและค่ารักษาพยาบาลส่วนบุคคลของแต่ละท่าน ไม่ครอบคลุมบริการพิเศษที่ท่านเลือกใช้เช่นการนวดบำบัดต่างๆ

    กรณีเป็นผู้ติดตาม ผู้ดูแลหรือ caregiver จะต้องลงทะเบียนเป็นผู้ติดตาม ราคานี้รวมค่ากิน ค่าอยู่ ค่าที่พักห้องเดียวกับผู้ป่วยของตน ค่าเข้าร่วมเรียนและร่วมทำกิจกรรมทุกอย่างในแค้มป์ แต่ไม่ได้เข้าพบแพทย์เพื่อรับการตรวจร่างกายและไม่ได้ร้บการประเมินปัญหาสุขภาพของตนโดยแพทย์ และไม่มีรายงานสรุปปัญหาสุขภาพโดยแพทย์ในเฮลท์แดชบอร์ด

    ในทุกกรณีเมื่อได้ที่นั่งแล้ว จะต้องโอนเงินค่าลงทะเบียนเข้าบัญชี ธนาคารกสิกรไทย สาขาสมุทรปราการ ชื่อบัญชี  บริษัท เมก้า วี แคร์ จำกัด เลขที่บัญชี 007-368-5478 ภายใน 24 ชั่วโมงหลังได้สำรองที่เรียนแล้ว หากพ้น 24 ชั่วโมงไปแล้วถือว่าสละสิทธิ์ ที่นั่งที่สำรองไว้ให้ท่านจะถูกคอมพิวเตอร์ตัดไปจัดสรรไปให้ผู้อื่นโดยอัตโนม้ติ

การสอบถามข้อมูลและสมัครลงทะเบียน

    สอบถามข้อมูลหรือลงทะเบียนได้ที่ เวลเนสวีแคร์เซ็นเตอร์ โทร : 063-6394003 หรือ Line ID : @wellnesswecare หรือ คลิก https://lin.ee/6JvCBsf CBsf หรือโทรศัพท์ติดต่อพยาบาลประจำแค้มป์โดยตรง (คุณโอ๋ โทร 0855198219)

นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เจ็ดใครหนอ

สอนวิธีแปลผลเคมีของเลือด

ชีวิตเมื่อตายไปแล้ว

เปลี่ยนอาหาร ปั่นจักรยาน น้ำตาลลด ความดันลด แต่ไขมันทำไมไม่ลด

ท่านอายุเก้าสิบแล้วยังไม่รู้ แล้วท่านจะรู้มันไปทำพรื้อละครับ

สิ่งที่ขาดหายไปจากชีวิตคนเราคือความเบิกบาน (Joy)

อายุ 70 ปีถูกคนในบ้านไล่ให้ไปฉีดวัคซีนไข้เลือดออก

มะเร็งต่อมลูกหมากแพร่กระจายไปกระดูกขาแล้ว จะไปต่อไงดี

หมอสันต์สวัสดีปีใหม่ 2568 / 2025

หมอสันต์กราบขออภัย และขอเปิดรับสมัคร์แค้มป์พลิกผันโรคด้วยตนเอง (RDBY 33) ใหม่