บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤศจิกายน, 2022

เป็นโรคกระดูกบางกระดูกพรุนแปลว่าไม่ได้เจ็บป่วยเป็นโรคอะไร

(ภาพวันนี้: ตำลึง บนลวดหนาม) คุณหมอคะ ขอรบกวน 2 เรื่องค่ะ 1. พี่เป็นโรคกระดูกบาง และถามแทนคนที่เป็นกระดูกพรุนว่าควรกิน vitaminD ใช่ไหมคะ  ควรกินVitamin D3 หรือ D2 ขนาด 1,000 หรือ 3,000 IU ทุกวัน ใช่ไหมคะ ตอนนี้พี่กิน Vitamin D2 ขนาด 20,000 IU สัปดาห์ละ 1 capsule และยังไม่ได้ไปตรวจเลือดเลยว่า Vitamin D ในเลือดสูงขึ้นหรือเปล่า ก่อนหน้านี้กิน 20,000 IU ทุก 2 สัปดาห์ค่ะ ช่วงนี้มีอาการปวดกระดูกตามข้อศอก ทาVoltaren ก็ดีขึ้น และก็เปลี่ยนไปเจ็บที่นิ้วบ้าง เกิดความรำคาญมากค่ะ 2. ตอนเช้าตื่นมามักมีเสมหะสีขาว และตอนตื่นมาเข้าห้องน้ำกลางคืนก็จะมีเสมหะเช่นเดียวกัน แต่ตอนกลางวันไม่ค่อยมีเพราะดื่มน้ำบ่อยๆ ตอนกลางคืนก็เอากระติกน้ำร้อนขึ้นไปห้องนอนเพื่อจิบตอนลุกมาเข้าห้องน้ำ จำเป็นต้องกินยาละลายเสมหะไหมคะ และควรกินตัวไหนดีคะ หวังว่าคุณหมอจะเมตตาตอบคำถาม เพราะไม่อยากไปโรงพยาบาลช่วงนี้ที่เป็นขาขึ้นของโควิตอีกรอบหนึ่งค่ะ ขอบคุณมากค่ะ …………………………………………………. ตอบครับ 1.. เป็นโรคกระดูกบางหรือกระดูกพรุน ไม่มีอาการเจ็บป่วยอะไร ไปหาหมอเอ็กซเรย์กระดูกแล้วบอกว่าเป็นโรคนี้ ถามว่าเป็นโรคนี้แล้วต้องกินวิตามินดีใช่ไหม ฮ

นี่เป็นโอกาสทองแล้ว ถ้าไม่ใช่ตอนนี้ จะเป็นตอนไหน

(ภาพวันนี้: ไปกินข้าวเย็นบ้านเพื่อนที่แก่งคอย โค้งน้ำที่เห็นข้างล่างคือแม่น้ำป่าสัก) อาจารย์สันต์ครับ ผม นพ. … นะครับ ตอนนี้ผมเป็น lung cancer stage IB ผ่าตัด LL Lobectomy ไปแล้ว ผมส่งผลพยาธิมาให้อาจารย์ช่วยดู อยากปรึกษาอาจารย์เรื่อง chemo ครับ ……………………………………….. ตอบครับ ประเด็นที่ 1.  ในแง่ pathology ผลชิ้นเนื้อที่ส่งมาเป็น non small cell carcinoma ส่วนใหญ่มันเป็น invasive mucinous adenocarcinoma (IMA) ผมเข้าใจว่าคุณหมอส่งตรวจ gene mutation เพื่อดูความเป็นไปได้ของการใช้ยา check point inhibitor ไปแล้ว แต่ก่อนผลมาให้ทำใจล่วงหน้าไว้ก่อนว่าธรรมชาติของเซลพวกนี้ส่วนใหญ่จะมาทาง KRAS mutation โดยที่มีน้อยมากที่จะมีตัวรับ EGFR (epidermal growth factor receptor) ข้อมูลนี้ทำให้เรารู้ล่วงหน้าว่าเราอาจจะไปหวังพึ่ง target therapy มากไม่ได้ แต่หากผลตรวจยีนมีตัวรับ ก็ควรให้ยารักษาในกลุ่ม check point therapy เพราะมีงานวิจัยเปรียบเทียบออกมาแล้วว่าดีแน่ [1] ส่วนเคมีบำบัดนั้นผมไม่แนะนำเลย ประเด็นที่ 2.  สิ่งที่ผมสนใจมากคือ lifestyle modification ต่อ cancer เพราะมีหลักฐานระดับ RCT ออกมาแล้วว่ามันได้ผล นั่น

Spirituality คืออะไร

(ภาพวันนี้: พวงคราม) เรียนคุณหมอสันต์ อยากไปเข้า SR กับคุณหมอแต่จองไม่เคยทันสักที แต่ก็จะไปให้ได้สักครั้ง ตอนนี้อยากถามก่อนว่า Spirituality นี้มันคืออะไรกันแน่คะ อีกอย่างหนึ่งสงสัยมานานแล้วว่าพรหมวิหารสี่ เป็นอันเดียวกันกับพรหมของศาสนาพราหมณ์ไหมคะ ……………………………………………………………………….. ตอบครับ 1.. ถามว่า spirituality คืออะไร ตอบว่าคือส่วนของชีวิตนี้ที่พ้นไปจากร่างกายและความคิด เมื่อพ้นไปจากความคิดก็เท่ากับว่าพ้นไปจากขอบเขตที่ภาษาจะตามไปบรรยายได้ เพราะความคิดก็คือโลกของภาษา ทุกซอกทุกมุมของความคิดบรรยายได้ด้วยภาษา ความคิดเป็นโลกที่เรารู้จักแล้ว (known) ในรูปของชื่อและรูปร่าง (names and forms) แต่ว่า spirituality นี้เป็นส่วนที่พ้นไปจากสิ่งที่เราเคยรู้จัก คือเป็น unknown ไม่อาจอธิบายได้ด้วยภาษา แต่ผมจะตอบคำถามคุณด้วยการอธิบายคำว่า spirituality เป็นภาษาซึ่งมันสื่อได้ไม่ตรง คุณใช้ได้แค่เป็นแนวทางกว้างๆเพื่อไปมีประสบการณ์จริงด้วยตัวเองเท่านั้น คือ spirituality นี้หมายถึงสิ่งที่เป็นคลื่นละเอียดอ่อนที่อยู่ข้างหลังทุกสรรพสิ่งในจักรวาลนี้ คลื่นนี้มันมีอยู่อันเดียว ใครก็ตามที่เข้าถึงตรงนี้ก็คือเข้าถึงสิ่งเ

จุลินทรีย์ในลำไส้ กับจุลินทรีย์ที่กินเข้าไป

(ภาพวันนี้: มองออกนอกหน้าต่าง) กราบเรียนอาจารย์สันต์ เมื่ออาทิตย์ที่แล้วได้มีโอกาสไปกราบครูบาอาจารย์ซึ่งเป็นพระอาวุโสที่จังหวัด … พอจ.ท่านมีความสนใจเรื่องการบำบัดโรคโดยใช้สมุนไพรธรรมชาติและจุลินทรีย์ในร่างกาย พอจ. ภาวนาอยู่รูปเดียวและได้ปลูกสมุนไพรไทยหลายชนิดที่บริเวณกุฏิ พอจ. ได้อ่านบทความของคุณหมอและมีความสนในอย่างมาก พอจ. ได้ฝากให้ถามคำถามคุณหมอดังต่อไปนี้ค่ะ 1. ร่างกายคนเรามีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์กี่ชนิด ชื่ออะไรบ้าง 2. แต่ละชนิดเราจะหาได้จากแหล่งอาหารอะไร 3. จะตรวจสอบได้ไหมว่าตอนนี้ร่างกายเรามีจุลินทรีย์ตัวไหนเท่าไร ส่วนตัวตอนนี้กินprobiotica ของ … และคิดว่าจะลองส่งไปให้พอจ.ด้วย คุณหมอคิดว่ามีข้อไม่ดีอะไรไหมคะ? ขอบพระคุณมากค่ะ …………………………………………………………………….. ตอบครับ 1.. ถามว่าร่างกายคนเรามีจุลินทรีย์กี่ชนิด ตอบจากความรู้การวิเคราะห์ยีน (genome sequencing) หากนับเป็นสายพันธ์ (gene type) มีอยู่ประมาณ 3,300,000 gene type ขณะที่เซลทุกเซลในร่างกายรวมกันยังมียีนแค่ 25000 gene type เท่านั้นเองนะ กลับมาพูดถึงจุลินทรีย์ หากนับเป็นตัวๆมีอยู่ประมาณไม่ต่ำกว่า 30,000,000,000 เซลล์ (30 ทริลเลียน)

อยากออกจากราชการ แต่กลัวไม่ได้เงินเดือน

(ภาพวันนี้: พู่จอมพล) สวัสดีครับอาจารย์ ปรึกษาอาจารย์เรื่องที่คิดว่าเลื่อนลอยอยู่ แต่อยากได้คาถาเป่ากระหม่อมจากอาจารย์ครับ ตอนนี้ผม 55 แล้ว อยากออกจากราชการ อยากเด็ดขาดเหมือนอาจารย์ อยากไปอยู่ป่าอยู่สวนเพราะเริ่มทำไว้แล้ว แต่ดันทำเกินตัวเล็กน้อย พละกำลังยังเหลืออยู่ คิดว่าถ้าไม่ป่วยน่าจะอยู่ได้อีกนาน ปัญหาคือคิดไปเองว่าถ้ารับราชการอยู่อย่างนี้มันเสียศักดิ์ศรี เพราะไม่ทุ่มเทเหมือนเดิมแล้วเนื่องจากมีงานสวนต้องทำ จึงมักจะเคร่งครัดเรื่องว่าถ้านอกเวลาแล้วจะขอปิด ไม่รับรู้ ไม่ช่วยวางแผน กลายเป็น dead wood ทำงานไปวันๆ เหมือนที่ผมเคยมองหมอสูงอายุท่านอื่น (แต่ก็กลัวเงินหมดก่อนตายหากออกไปตอนนี้ครับ) ด้วยความเคารพ ……………………………………………………………………………. ตอบครับ 1.. ถามว่าอายุ 55 ปี ทนไม่ไหวแล้ว อยากจากออกจากราชการไปทำอะไรหนุกๆของตัวเองแต่ก็กลัวจะไม่ได้เงินเดือน คิดอย่างนี้มันเสียศักดิ์ศรีไหม ตอบว่าไม่เสียหรอกครับ ใครๆเขาก็คิดอย่างนี้กันทั้งนั้น เพียงแต่ว่าร้อยทั้งร้อยก็ๆได้แต่คิดแต่ไม่มีใครกล้าขยับออกไปจริงสักคน ต้องขอบคุณกรงทองอันแน่นหนาที่ระบบราชการสร้างไว้ ไม่งั้นก็คงขังคนไว้จนถึงอายุ 60 ไม่ได้ 2.. การ

หมอสันต์กราบขออภัย

นานมาแล้วผมได้ยินได้ฟังเรื่องราวของผู้สูงอายุท่านหนึ่งซึ่งเคยเป็นคนมีเกียรติเป็นที่นับถือในวงการของท่านเอง เรื่องเกิดขึ้นเมื่อท่านปฏิเสธไม่ไปงานศพของญาติกันด้วยเหตุผลว่าท่านแก่เงอะงะแล้วไปไม่สะดวก กลายเป็นเรื่องเป็นราวใหญ่โตอันเกิดจากความไม่เข้าใจกัน ถึงขั้นประกาศตัดญาติขาดมิตรกันเลยทีเดียว ผมรับฟังด้วยความเข้าใจท่านผู้สูงอายุท่านนั้นแต่ก็มีความรู้สึกขบขันอยู่ในใจว่าเออหนอ ความยึดถือในบทละครที่ตัวเองเล่นของคนเรานี้บางทีมันมากจนลืมไปว่ามันเป็นแค่ละคร ไม่คิดว่าวันหนึ่งต้องมาเจอเรื่องแบบนี้กับตัวเอง ผมต้องขอโทษที่อาศัยบล็อกนี้สื่อข้อความวันนี้ ทำให้ท่านผู้อ่านที่คาดหวังจะได้อ่านข้อมูลความรู้เรื่องสุขภาพต้องเสียเวลาเปิดบล็อกโดยไม่ได้อ่านอะไร แต่ผมก็มองไม่เห็นหนทางใดที่จะสื่อความในใจนี้ออกไปเป็นการป้องกันที่จะเกิดกรณีบัวช้ำน้ำขุ่นขึ้นในภายหลัง เพราะคนรู้จักผมมีทั้งใกล้และไกล ทั้งวงในวงนอก มองไม่เห็นวิธีสื่อสารใดๆดีไปกว่าผ่านบล็อกนี้ ประเด็นก็คือผมอยากกราบเรียนให้ทราบล่วงหน้าเพื่อป้องกันการต้องมาพะอืดพอมเพราะต่างไม่รู้ใจกัน ว่าการเสนอให้ผมรับปริญญาดุษฏีก็ดี รับรางวัลก็ดี เป็นกรรมการกิติมศักด

คุณเป็นคนบ้าปริยัติ..รู้ตัวหรือเปล่า

(ภาพวันนี้: ดอกคอสมอส) กราบเรียนอาจารย์สันต์ หนูมาเข้า SR เมื่อ 2020 ตอนนั้นอาจารย์อธิบายวงจรปฏิจจสมุปบาทสั้นๆหนูฟังแล้วเข้าใจดีมาก แต่พอกลับมาก็ลืมคำอธิบายของอาจารย์ในรายละเอียดเสียแล้ว เมื่อนานมานี้มีเหตุการณ์ที่แฟนเขาพูดอะไรที่ไม่ถูกใจหนู คืนนั้นหนูมีใจสั่นรัวเป็นพักๆ และนอนไม่หลับทั้งคืนเพราะคิดเรื่องที่แฟนเขาพูด ในที่สุดเมื่อทุกข์มากก็พยายามเอาหลักปฏิจจสมุปบาทมาอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นแต่ก็อธิบายไม่ได้ คิดไปคิดมาอยู่หลายรอบ ตื่นมาเปิดหนังสือพุทธธรรมก็ยังอธิบายไม่ได้ จึงเขียนมาขอความกรุณาอาจารย์ค่ะ …………………………………………………….. ตอบครับ คุณเป็นคนบ้าปริยัติ รู้ตัวหรือเปล่า ความบ้าปริยัติจะไม่พาคุณไปไหนได้ไกลดอก อย่างมากก็จะเป็นแค่ฝูงไก่ในสุ่ม ไก่ก็คือเหล่าความคิดของคุณ สุ่มก็คือโลกของภาษาที่เป็นที่มาของปริยัติซึ่งเป็นคอนเซ็พท์ที่ครอบหัวคุณอยู่นั่นแหละ แต่ถามมาผมก็จะตอบไป และจะอธิบายตามสไตล์ของผมซึ่งไม่เหมือนคำอธิบายของผู้ชำนาญปริยัติทั้งหลายก็อย่าว่ากันนะ ถ้าใครค่อนแคะว่าหมอสันต์ไม่รู้เรื่องและพูดผิดก็ให้ยอมรับกับเขาไปเลยว่าผมพูดผิด เพราะผมเป็นคนไม่เอาปริยัติไม่เอาผิดเอาถูกย่อมจะมีโอกาสพูดผิด

แค้มป์พลิกผันโรคด้วยตนเอง (RDBY-25) 1-4 ธค. 65

(ภาพวันนี้: ตั้งกระถางทิ้งไว้นานไปหน่อย) คอนเซ็พท์ใหม่ของ RDBY-25 มีอยู่สองเรื่องที่เกิดขึ้นใหม่ในวงการแพทย์ ซึ่งจะถูกนำเข้ามาเป็นพื้นฐานในการจัดแค้มป์ RDBY-25 คือ 1. มุมมองใหม่ที่ว่าโรคเรื้อรังทั้งหลายอย่างน้อยก็ 8 โรค คืออัมพาต หัวใจ ความดัน เบาหวาน ไขมันสูง อ้วน โรคไตเรื้อรัง และโรคสมองเสื่อม แท้จริงแล้วเป็นโรคเดียวกัน มีสาเหตุเดียวกันคือการกินและการใช้ชีวิต และเมื่อแก้สาเหตุนี้ที่เดียว ก็รักษาโรคกลุ่มนี้ได้หมด 2. ความก้าวหน้าของการตรวจยีน (genome sequencing) ทำให้เกิดความรู้ใหม่ที่บ่งชี้ถึงความสำคัญของการมีจุลินทรีย์ในลำไส้ที่หลากหลายว่าเป็นเครื่องมือหนึ่งในการป้องกันและรักษาโรคเรื้อรัง ทำให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มความหลากหลายของจุลินทรีย์ในลำไส้ด้วยการกินอาหารเลี้ยงจุลินทรีย์ (prebiotic) และกินอาหารที่ประกอบขึ้นจากตัวจุลินทรีย์เอง (probiotic) ความเป็นมาของ RDBY มันเริ่มจากตัวผมเองเคยป่วยเป็นโรคหัวใจขาดเลือด ความที่อยากหนีจากแนวทางการรักษาแบบโรงพยาบาล (กินยา สวนหัวใจ บอลลูน ผ่าตัดบายพาส) จึงทบทวนงานวิจัยเพื่อหาทางออกอื่นและได้พบว่าการจัดการปัจจัยเสี่ยงของโรคโดยตัวผู้ป่วยเอง ทั

อดีต คือความคิดที่คิดขึ้นเมื่อเดี๋ยวนี้ ถ้าไม่มีความคิดที่เดี๋ยวนี้ อดีตก็ไม่มี

(ภาพวันนี้: พวงชมพู) อาจารย์คะ (1) จะทำอย่างไรกับอดีตที่เป็นเรื่องกวนใจไม่หยุดหย่อน และเผอิญมันเป็นสิ่งที่จะย้อนไปแก้ไขหรือขอโทษขอโพยไม่ได้เสียด้วย (2) ที่อาจารย์ให้ความสำคัญกับเดี๋ยวนี้ ก็ในเมื่ออดีตมันมากวน ทำอย่างไรจึงจะมีความสุขที่เดี๋ยวนี้ได้ ตอบครับ ………………………………………………………………………………… ก่อนอื่น เรามานิยามกันก่อนนะ ว่า “อดีตคือความคิด ที่เราคิดขึ้นที่เดี๋ยวนี้” ดังนั้นถ้าเราไม่คิดขึ้นที่เดี๋ยวนี้ อดีตก็ไม่มี คืออดีตไม่ใช่ของจริงที่ถาวร “จะไม่ใช่ของจริงได้อย่างไรละคะ เพราะมันเกิดขึ้นแล้วจริงๆ หลายคนก็รับรู้ได้” การจะยอมรับว่าอะไรเป็นของจริงที่ถาวร เราดูตรงที่สิ่งนั้นมันคงอยู่ตลอดมาและจะคงอยู่ตลอดไปหรือเปล่า ถ้ามันเกิดขึ้นแค่ชั่วคราวแล้วสลายหายไป เราไม่ถือว่านั่นเป็นของจริงที่ถาวร อดีตมันเคยเกิดขึ้นจริงแต่มันหมดไปแล้วหายไปแล้ว ถ้าเราไม่คิดถึงมันอีกที่เดี๋ยวนี้ อดีตก็ไม่มีแล้ว ส่วนคำถามที่ว่าจะอยู่ที่เดี๋ยวนี้อย่างไรจึงจะมีความสุข ตอบว่า ผมแนะนำห้าวิธีให้เลือกทำ วิธีที่ 1. ย่นเวลาในใจที่แต่เดิมมีอดีตอันไกลโพ้นและอนาคตอันยาวไกล ย่นลงมาให้เหลือแค่ลมหายใจนี้ หรืออย่างมากที่สุดก็ให้เหลือแค่ว

หมอสันต์พูดกับสมาชิก Spiritual Retreat เรื่องชีวิตเหมือนการแวะ Transit Hall

อย่าไปซีเรียสกับชื่อหัวเรื่องในตารางเรียน เพราะของจริงผมไม่ได้ทำตามนั้น ความจริงไม่เฉพาะตารางเรียน ทั้งชีวิตนี้ก็อย่าไปซีเรียสกับเรื่องอะไรมาก อย่าไปคิดว่าเรื่องที่เรากำลังทำอยู่ หรือภาระกิจที่เรากำลังแบกอยู่นี้มันสำคัญอะไรมากมาย สมมุติว่าวันพรุ่งนี้เราตายไป หลังจบงานศพของเราไม่กี่วันโลกทั้งโลกก็จะกลับสู่สภาพเดิมไม่มีใครเดือดร้อนอะไร เพราะเมื่อเทียบกับจักรวาลอันกว้างใหญ่นี้ ชีวิตเราหนึ่งชีวิตก็เทียบได้กับเม็ดฝุ่นเม็ดเดียวเท่านั้น ดังนั้น อย่าไปจริงจังกับมันมากเกินไป ไหนๆพูดถึงประเด็นนี้แล้ว ขอพูดต่ออีกหน่อยเป็นการทวนความจำให้พวกเราว่าชีวิตนี้มันสั้นมาก this is a very brief life แป๊บเดียวเราก็ตายแล้ว เราต้องตระหนักตรงนี้ก่อนเราจึงจะใช้ชีวิตเป็น อุปมาที่ 1. เปรียบชีวิตเหมือนเราเดินทางไปเมืองนอกแล้วต้องลงเครื่องแรกเพื่อจะ ทรานสิทไปเครื่องที่สอง ผู้โดยสารทุกคนกรูกันเข้าไปใน transit hall เราแย่งที่นั่งในฮอลล์ไม่ได้เพราะมีคนตัดหน้าเราก็โมโหฮึดฮัด โดยเราลืมนึกไปว่าเราจะอยู่ในฮอลล์นี้อย่างมากก็ห้านาที เดี๋ยวเราก็จะต้องออกจากฮอลไปขึ้นอีกเครื่องหนึ่งแล้ว ชีวิตนี้ก็เป็นเช่นกับการเข้าไปอยู่ในทรานส

วิตามินรวมวันละเม็ดกำลังจะกลับมาแล้ว ในฐานะตัวช่วยลดความจำเสื่อม

(ภาพวันนี้: จากซ้ายไปขวา อิตาเลียนเบซิล, คาโมไมล์, กล้าถั่วฝักยาว, ไก่คอยาว, เสจ, กล่ำปลีแดง และเคล) มนุษย์เรานี้ชอบกินวิตามิน งานวิจัยในอเมริกาพบว่าคนเดินดินธรรมดาที่กินวิตามินประจำมีถึง 49% ดังนั้นเมื่อใดที่ใครว่าวิตามินไม่มีประโยชน์ก็จะทิ่มแทงใจคนรักวิตามินโดยตรง            เมื่อเกือบสิบปีมาแล้ว (14 มีค. 2013) ผมได้เขียนถึงการอกหักครั้งใหญ่ของคนบ้าวิตามินทั้งหลาย เมื่องานวิจัยสุขภาพแพทย์ชายของฮาร์วาร์ดซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร JAMA ได้สรุปผลวิจัย 14 ปีที่ทำกับแพทย์ชายจำนวน 14,641 คน แล้วพบว่าการกินวิตามินรวมวันละเม็ดไม่ได้ช่วยลดโรคหลอดเลือดหัวใจเลย ก่อนหน้านั้นงานวิจัยเดียวกันนี้ได้รายงานผลในประเด็นการป้องกันมะเร็งซึ่งผลก็ออกมาอย่างน่าผิดว่าการกินวิตามินวันละเม็ดป้องกันมะเร็งได้นิดน้อยจิ๊บจ๊อยมากจนไม่คุ้มที่จะตั้งหน้าตั้งตากินวิตามินทุกวันเลย มองย้อนหลังไปก่อนนั้นก็จะพบว่าผลวิจัยที่เป็นหลักฐานระดับสูงที่รายงานผ่านมาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะๆนั้นล้วนบ่งบอกไปในทิศทางเดียวกันทั้งสิ้นว่า การกินวิตามินเสริมนอกเหนือจากอาหารปกติสำหรับคนที่ไม่มีเหตุให้ขาดวิตามินเป็นพิเศษนั้น ไม่มีประโยชน์เพิ่มเติมแต

เนื้องอกที่ไต จะเลือกผ่าหรือไม่ผ่าขึ้นอยู่การชั่งน้ำหนักประโยชน์และความเสี่ยง

(ภาพวันนี้: ฝนหมด น้ำในสระหน้ากระต๊อบเริ่มใส) สวัสดีครับคุณหมอสันต์ ภรรยาผมอายุ 65 ปี เป็นผู้ป่วย SLE  รักษาที่ รพ. … เกือบ 40 ปีแล้ว เมื่อต้นปีนี้ทำ CT Scan พบเนื้องอกชนิด AML ที่ไตขวา เนื้องอกนี้ลุกลามเข้าไปในหลอดเลือดดำและ IVC (ผมได้แนบผล CT Scan มาให้คุณหมอช่วยดูด้วยครับ)  หมอให้กินยาคีโมแบบมุ่งเป้า (Targeted therapy) เพื่อหวังให้ก้อนเนื้องอกเล็กลงพอที่จะผ่าตัดได้ กินยาคีโมได้เพียง 2 เดือนก็เกิดติดเชื้อปอดอักเสบ PCP หมอสั่งหยุดยาคีโมแล้วแอดมิดที่ รพ. เพื่อรักษาปอดอักเสบ อยู่ รพ. 10 วัน  ยามุ่งเป้าไม่ได้ผล ขนาดก้อนเนื้องอกที่ไตไม่เล็กลง หมอศัลยกรรมหลอดเลือดบอกว่าต้องตัดไตข้างขวาทิ้งทั้งหมดรวมถึงหลอดเลือดดำที่มีเนื้องอกด้วย และนัดฟังเตียงวันที่ … นี้ ผมจึงขอเรียนถามคุณหมอสันต์ ดังนี้ 1. ผู้ป่วยมีทางเลือกอื่นหรือไม่นอกจากการตัดไตทิ้ง 2. แคมป์พลิกผันโรคด้วยตัวเองของคุณหมอสันต์เหมาะกับผู้ป่วยรายนี้หรือไม่ และจะจัดขึ้นวันที่เท่าไร ผมขอความกรุณาจากคุณหมอสันต์ด้วยครับ ……………………………………………………….. ตอบครับ 1. ทางเลือกก็มีสองทาง คือผ่าตัดกับไม่ผ่าตัด ชอบทางไหนก็ชั่งน้ำหนักประโยชน์และความเสี่ยงแล้ว

มะเร็งปอดชนิด Adenocarcinoma Stage-1AB จะรักษาด้วยยา Check point inhibitor ดีไหม

(ภาพวันนี้: คัทรียา หอมฟุ้งจากในพง) เรียนคุณหมอสันต์ ผมอายุ 64 ปี เป็นมะเร็งปอดกลีบบนซ้าย ทำผ่าตัดเอาปอดกลีบนั้นออกไปแล้ว ผลตรวจเป็นชนิด adenocarcinoma (ผมส่งผลชิ้นเนื้อมาให้ดูด้วย) หมอผ่าตัดบอกว่าเป็นระยะที่ 1 ตัดออกหมดแล้ว จบแล้ว แต่หมอมะเร็งบอกว่ามันไปถึงเยื่อหุ้มปอดแล้ว ควรจะใช้ยารักษามะเร็งรุ่นใหม่ชื่อ check point inhibitor ไหม ซึ่งพอบอกราคามาแล้วอึ้งเลย แต่ถ้ามันจำเป็นผมก็คงต้องเอา รบกวนถามความเห็นคุณหมอสันต์ว่ามะเร็งชนิดที่เป็นเป็นชนิดร้ายแรงหรือไม่ ควรจะใช้ยาแพงนี้ดีไหม จะมีประโยชน์ไหม มีอะไรอย่างอื่นที่ควรทำไหม ขอบพระคุณครับ ……………………………………………………………… ตอบครับ 1.. ถามว่าเป็นมะเร็งชนิด adenocarcinoma ที่ปอดเป็นชนิดร้ายแรงไหม ตอบว่าวงการแพทย์แบ่งมะเร็งปอดออกเป็นสองชนิด คือชนิดเซลเล็ก (Small cell lung cancer – SCLC) ซึ่งเป็นชนิดที่ดุหรือร้ายแรงที่สุดรักษากับไม่รักษาก็แปะเอี้ยคือตายในเวลาไม่กี่เดือน กับอีกชนิดหนึ่งเรียกว่าชนิดเซลไม่เล็ก ( Non–small cell lung cancer – NSCLC) ซึ่งถือว่าเป็นชนิดไม่ดุเท่า ยังพอรักษากันได้ ของคุณนี้เป็นมะเร็งจากเซลชนิด adenocarcinoma ถือว่าเป็นพวกเซลไม่เล

กินหรือไม่กินอาหารเช้าไม่สำคัญ สำคัญที่รู้หลักสังเกตทดลองกับตัวเอง (Personalization)

(ภาพวันนี้: นั่งสมาธิรับแดดอุ่น) คุณหมอคะ ถ้าไม่ทานอาหารเช้ามีผลอย่างไรต่อสุขภาพบ้างคะตอนนี้อายุประมาณ 60 ปีค่ะ ……………………………………………………….. คำถามแบบนี้มีเยอะมาก ไม่กินเช้าดีไหม ไม่กินเที่ยงดีไหม ไม่กินเย็นดีไหม กินของว่างดีไหม ไม่กินของว่างดีไหม กินมื้อเดียว สองมื้อ สามมื้อ สี่มื้อ ดีไหม ดื่มน้ำวันละสี่แก้วดีไหม สี่ขวดดีไหม กินข้าวก่อนกินผลไม้ดีไหม กินผลไม้ก่อนกินข้าวดีไหม กินขนมก่อนกินข้าวได้ไหม หรือกินขนมหลังกินข้าวดี ฯลฯ ผมไม่ได้ถือว่าเป็นคำถามไร้สาระนะ เป็นคำถามที่ดี แต่มันสื่อถึงความไม่เข้าใจหลักสำคัญอันหนึ่งในทางการแพทย์ คือหลักแต่ละร่างกายไม่เหมือนกัน (personalization) เอาแค่คนไข้ที่มาเข้าแค้มป์หมอสันต์นี่ทุกชั้นเรียนก็มีปัญหาแบบนี้ประจำ เพราะคนมาเข้าแค้มป์แบ่งง่ายๆเป็นสองแบบใหญ่ๆ คือคนอ้วนอยากผอม กับคนผอมอยากอ้วน แต่มาเรียนหลักสูตรเดียวกัน ถ้าไม่เข้าใจหลักการที่ว่าแต่ละร่างกายไม่เหมือนกันแล้วจะดันทุรังเอาคำแนะนำการกินที่หมอสันต์สอนไปใช้เหมือนกันหมดตะพึด คุณว่ามันจะเวอร์คไหม เออ.. วันนี้พูดถึงเรื่องนี้สักครั้งก็ดีเหมือนกัน ร่างกายมนุษย์นี้ดูเผินๆเหมือนกัน แต่ไม่เหมือนกัน เราอาจจะคิด

กลัวตัวเองแก่แล้วจะไม่มีใครดูดำดูดี

(ภาพวันนี้: ดอกชวนชม) กำลังดูแลคุณแม่ 91 ปีและติดเตียง ปวดหัวมากกับผู้อนุบาลผู้สูงอายุ ปีเดียวเปลี่ยนสี่คน ส่วนใหญ่อยู่ไม่ทน หาผ่านศูนย์บริบาลก็แล้ว หาผ่านคนรู้จักก็แล้ว ให้เงินเดือนถึง 24000 ก็ยังไม่อยู่ ทำให้นึกถึงสังคมไทยที่จะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด นี่ขนาดคุณแม่มีตัวดิฉันเองเป็นเจ้ากี้เจ้าการให้ เงินก็มี ยังหาคนมาดูแลลำบากขนาดนี้ พอถึงตาตัวเราเองเป็นคนแก่ติดเตียงบ้างจะหาคนที่ไหนมาดูแล แล้วถ้าหาผู้อนุบาลผู้สูงอายุไม่ได้ เราจะทำอย่างไร คุณหมอช่วยชี้ทางหน่อยว่ามันจะมีทางออกอย่างไร ……………………………………………………………………………………………. ตอบครับ 1.. ถามว่าสังคมไทยต่อไปมีแต่คนแก่แล้วจะอยู่กันอย่างไร จะไปหาคนอนุบาลผู้สูงอายุมาจากไหน ตอบว่าผมไม่รู้หรอกครับ เพราะวิชาแพทย์หากินกับข้อมูลความจริงเก่าๆที่เกิดขึ้นมาแล้ว เอาข้อมูลนั้นมาวิเคราะห์วิจัยเชิงสถิติแล้วออกคำแนะนำว่าเรื่องนี้ต้องแก้แบบไหนจึงจะดีที่สุด แต่ปัญหาคนแก่จะล้นโลกยังไม่เคยเกิดขึ้นจริง ข้อมูลยังไม่มี วิชาแพทย์จึงยังไม่มีความรู้นี้ครับ ที่มีแพทย์พูดว่าต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้ทางทีวีนั้นล้วนเดาเอาเองทั้งนั้น 2.. ถามว่าในอนาคตถ้าหาผู้ดูแลไม่