นัยสำคัญของโรคทีี่โคนหลอดเลือดซ้าย (left main)
คุณหมอคะนี้รูปหลานคะ
ดิฉันเป็นเส้นเลือดตีบทีหัวใจคะ อายุหกสิบสองคะ เป็นปี59 น่าจะเส้นหนึ่ง คืออาการเจ็บทีหน้าอก รามมาถึงคางและเจ็บไปถึงแขนข้างช้าย เมือปี59 แต่หมอไม่ได้บอกเส้นเลือดตีบ บอกให้ไปฉีดสีทำบางลุม ทำทีจุฬาใช้สิทรคะ แต่ฉันไม่ทำ กินคิวเทนมาตลอด ก็อยู่เจ็บบ้างไม่เจ็บบ้าง อยู่ได้ ออกกำลังกาย ไปสวนลุมเดินหนึ่งรอบ ปั่นจักยาน ครั้งละสี่ห้ารัอยรอบ และเปลียนแปลงการกินอาหารไห่กินมัน. และงดหวานกินถั่วต้มห้าสี ต้มให้สุกแล้วเอามาผัดกับข้าวห้าสี ใส่มันและเผือก ใส่หัวระพา ก็อร่อยคะ อยู่ได้ปีหนึ่งคิดว่าหายแล้ว ไปกินของมันและหวาน เอาพอมาเดือนหายใจไม่ออกไปเช็ดทีโรงพยาบาลได้สิทรที่เจริงกรุงประชารัฐ. ที่นี่หมอเอาไปวิ่งสายพาน หมอบอกตีบไม่เกินสามเส้นบอกให้บอลลุม ถ้าผ่าน ถ้าไม่สำเร็จให้ทำใบผัด ฉันอ่านบบทความคุณหมอแล้วไม่อยากทำ แต่บางครั้งก็หายใจออกโล่ง แต่บางครั้งก็หายใจไม่ออก เหมืองอยู่ห้องแคบๆไม่มีอากาศคะ ก็เพิ่มอาหารเสริมหลายตัวก็ทำให้ดีขึ้นหายใจ โล่งคะ ก็อยู่มาได้ถึงวันนี้คะ ฉันเป็นความดันด้วยคะ แต่คุมอยู่ด้วยทุกเช้าปั่น คิ่งฉ่าย ต้นใหญ่ และแคลอกแดง แอ็กเปิ้ลเขียว มะเขือเทศ เก่าคี่สามสิบเม็ดแช่นำ้ก่อนเอามาปันกินทุกเช้าหนึ่งแก้วก่อนอาหารคะ ความดันก็คงทีไม่เคยกินยาสักเม็ค หมอให้ยาเริมเลือดและยาลดไขมันยาความดันยาอมใต้ลิ้นหลายตัว หักดิบคะหมอ ก็บอกว่าถ้าไม่ทำก็ไว้มาปั่นหัวใจแล้วกัน จะถามหมอว่าควรทำบอลลุมไหมคะ ถ้าไม่ผ่านก็ทำใบพัดที่นี้ตายแน่เลยคะ ควรทำยังไงดีคะ แต่ฉันอยากเข้าคอรของคุณหมอคะไม่รู้ปรึกษาได้ที่ไหนคะค่าใช้จ่ายเท่าไรคะ
คุณหมอช่วยตอบหน่อยนะคะ ขอขอบคุณหมอมากคะ
....................................................
ตอบครับ
จดหมายของคุณอ่านสนุกมากนะครับ ผมชอบที่คุณเรียกการผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจตีบว่าทำใบพัด ฟังแล้วน่ารักกว่าของจริงแยะ ส่วนที่คุณเล่าว่าปั่นจักรยานรอบสวนลุมพินีครั้งละสี่ห้าร้อยรอบนั้นผมเดาเอาว่าคุณคงหมายถึงครั้งละสี่ห้ารอบนะครับ โดยภาพรวมขอชมว่าคุณเป็นผู้สูงวัยที่ดูแลตัวเองดีมาก ทั้งในแง่ของการปรับเปลี่ยนอาหาร การออกกำลังกาย
เอาละ มาตอบคำถามของคุณนะ
ถามว่ามีอาการเจ็บหน้าอกเวลาออกกำลังกาย หมอวินิจฉัยเบื้องต้นว่าเป็นหลอดเลืือดหัวใจตีบ แล้วแนะนำให้ตรวจสวนหัวใจเพื่อมุ่งหน้าไปทำบอลลูน แต่ไม่อยากทำ ควรทำอย่างไร ตอบว่าผู้ป่วยอย่างคุณนี้เรียกว่าเจ็บหน้าอกระดับคลาส 2 (class II) คือต้องออกกำลังกายที่มากกว่าเดินไปมาถึงจะเจ็บ คนไข้แบบคุณนี้งานวิจัยชื่อ COURAGE Trial ได้เอาคนไข้แบบนี้มาตรวจสวนหัวใจแล้วเลือกเอามาแต่คนที่เจ็บหน้าอกคลาส 1-3 ที่ตีบหนึ่งเส้นบ้าง สองเส้นบ้าง ตีบสามเส้นบ้าง แต่ไม่มีรอยตีบที่โคนหลอดเลือดซ้าย (LM) เอามาจับฉลากแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งทำบอลลูนหรือบายพาสหมดทุกคนรูดมหาราช อีกกลุ่มหนึ่งไม่ต้องทำอะไรรุกล้ำ ได้แต่กินยาไป แล้วตามดูไปสิบสามปี ดูว่าใครจะตายมากกว่ากัน พบว่าทั้งสองกลุ่มทั้งกลุ่มทำบอลลูนและกลุ่มไม่ทำก็ตายมากเท่ากัน ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงใช้เป็นแนวทางให้คุณใช้รักษาตัวเองได้ คือผมแนะนำให้คุณทำเป็นสองขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1. ให้ทำการตรวจยืนยันก่อนว่าไม่มีรอยตีบที่โคนหลอดเลือดซ้าย (left main - LM) วิธีการตรวจยืนยันมีสองวิธีให้เลือก คือ
วิธีที่ 1 ตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยการทำเอ็กซเรย์หลอดเลือดหัวใจด้วยคอมพิวเตอร์ (CTA) หรือ
วิธีที่ 2. ฉีดสีตรวจสวนหัวใจ (CAG)
วิธีแรกมีข้อดีที่นุ่มนวลกว่า มีภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่า สีที่ฉีดมีพิษต่อไตน้อยกว่ากันมาก แต่ก็มีข้อเสียที่หากคิดจะทำบอลลูน ก็ต้องเสียเวลามาฉีดสีตรวจสวนหัวใจเพื่อทำบอลลูนอีกรอบหนึ่ง
แต่ในกรณีของคุณซึ่งมีความตั้งใจจะไม่รักษาแบบรุกล้ำเป็นทุนอยู่แล้วหากไม่มีรอยตีบที่โคนซ้าย (LM) ผมแนะนำว่าให้ใช้วิธีที่ 1 คือทำ CTA น่าจะดีที่สุด ผลของการตรวจ CTA จะเป็นตัวชี้บ่งให้รักษาไปสองทาง คือ
กรณีที่ 1 หากพบว่ามีรอยตีบที่โคนหลอดเลือดซ้าย (LM) ผมแนะนำว่าควรจะเดินหน้าตรวจสวนหัวใจแล้วทำการผ่าตัดบายพาส เพราะโรครอยตีบที่โคนหลอดเลือดซ้าย แม้ในปัจจุบันนี้วงการแพทย์ก็ยังใช้วิธีรักษาแบบจับผ่าตัดบายพาสหมด ทั้งนี้เป็นการทำตามงานวิจัยที่ทำเมื่อหลายสิบปีมาแล้ว (CASS study) โดยเปรียบเทียบการการรักษาผู้ป่วยที่มีรอยตีบที่โคนหลอดเลือดซ้ายระหว่างวิธีผ่าตัดบายพาสกับวิธีกินยา พบว่าวิธีผ่าตัดบายพาสมีอัตรารอดชีวิตสูงกว่า
แต่ว่างานวิจัย CASS study นั้นทำในสมัยที่ยังไม่มียาดีๆอย่างปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาสะแตตินลดไขมันในสมัยนั้นยังไม่มี นอกจากนี้ตอนนั้นวงการแพทย์ยังไม่มีความรู้ว่าอาหารพืชเป็นหลักมีผลทำให้โรคหลอดเลืือดหัวใจถอยกลับได้ จึงไม่มีการสอนให้ผู้ป่วยกินอาหารแบบมีพืชเป็นหลัก และการสอนให้ผู้ป่วยออกกำลังกายในสมัยนั้นก็สอนผิดเพราะวงการแพทย์นึกว่าหากให้ออกกำลังกายแล้วจะตายเร็วขึ้น จึงห้ามไม่ให้คนไข้ออกกำลังกายโดยสิ้นเชิง ปัจจุบันนี้เรามีความรู้แล้วว่าการออกกำลังกายลดอัตราตายคนเป็นหัวใจขาดเลือดลงได้ รู้แล้วว่าอาหารพืชเป็นหลักทำให้โรคถอยกลับได้ รู้แล้วว่าใช้ยาสะแตตินกรณีไขมันสูงจะลดอัตราตายจากโรคได้ หากเราควบรวมการปรับอาหาร การออกกำลังกาย และการใช้ยาลดไขมันเมื่อจำเป็นมาควบรวมกันรักษาผู้ป่วย LM โดยไม่ต้องผ่าตัดบายพาส จะมีผลดีเท่าการผ่าตัดบายพาสหรือไม่ ตรงนี้ยังไม่มีคำตอบ เพราะยังไม่มีงานวิจัยรองรับ ผู้ป่วยที่มีโรคที่โคนหลอดเลือดซ้าย (LM) หากจะไม่ยอมทำบายพาส จึงต้องเสี่ยงเอาเองเพราการรักษาแบบไม่ผ่าตัดจะดีเท่าการผ่าตัดหรือไม่ก็ยังไม่รู้
อนึ่ง มีหมอหัวใจจำนวนหนึ่งซึ่งถนัดทำบอลลูน มักจับผู้ป่วยที่มีรอยตีบที่โคนหลอดเลือดซ้าย (LM) รักษาด้วยการทำบอลลูน ซึ่งผมไม่เห็นด้วยเลย เพราะงานวิจัยชื่อ SYNTAX trial ได้สุ่มตัวอย่างผู้ป่วยที่มีรอยตีบที่โคนหลอดเลือดซ้าย (LM) ไปรักษาสองแบบเปรียบเทียบกััน คืือบอลลูน กับบายพาส พบว่าพวกที่รักษาแบบบอลลูนมีอัตราต้องกลับมาทำใหม่และอัตราตายสูงกว่าพวกที่ทำผ่าตัดบายพาส
กรณีีที่ 2. หากพบว่าไม่มีรอยตีบที่โคนหลอดเลือดซ้าย (LM) ผมแนะนำว่าให้ใช้คุณภาพชีวิตเป็นตัวตัดสินว่าจะรักษาแบบไหน กล่าวคือ
หากอาการปวดมากขึ้นจนรู้สึกว่าชีวิตไม่มีคุณภาพแล้ว ออกแรงนิดหน่อยก็เจ็บหน้าอก ก็ควรไปตรวจสวนหัวใจเพื่อทำบอลลูนหรือทำบายพาส แต่..
หากคุณภาพชีวิตยังดีอยู่ ยังไปเดินสวนลุมปั่นจักรยานได้ทุกวัน ผมแนะนำให้รักษาแบบไม่รุกล้ำ คือดูแลตัวเองเรื่องอาหารให้มีพืชผักผลไม้มากๆ ออกกำลังกาย จัดการความเครียด และใช้ยากรณีที่มีความจำเป็นอย่างที่คุณทำอยู่แล้วต่อไป
อนึ่ง การที่คุณเอาพืชผักมาปั่นดื่มนั้นก็ดีแล้ว แต่ผมแนะนำว่าขอให้มีความหลากหลายของพืชผักที่นำมาปั่นจะดีกว่าปั่นผักหน้าเดิมๆสองสามอย่างทุกวัน เพราะสารต้านอนุมูลอิสระหรือวิตามินเกลือแร่ต่างๆนั้นบางชนิดก็มีในพืชคนละอย่างกัน ดังนั้นกินให้หลากหลายไว้เป็นดี
ถามว่าอยากมาเข้าคอร์สพลิกผันโรคด้วยตัวเอง (RDBY) จะติดต่ออย่างไร ตอบว่าลองดูรายละเอียดตรงนี้ครับ http://visitdrsant.blogspot.com/2017/04/rdby-camp.html
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. Boden WE, O'rourke RA, Teo KK, et al; COURAGE Trial Co-Principal Investigators and Study Coordinators.The evolving pattern of symptomatic coronary artery disease in the United States and Canada: baseline characteristics of the Clinical Outcomes Utilizing Revascularization and Aggressive DruG Evaluation (COURAGE) trial. Am J Cardiol. 2007;99:208-212.
2. Chaitman BR, Ryan TJ, Kronmal RA, Foster ED, Frommer PL, Killip T. Coronary Artery Surgery Study (CASS study): comparability of 10 year survival in randomized and randomizable patients. J Am Coll Cardiol. 1990 Nov;16(5):1071-8.
3. Mohr FW1, Morice MC, Kappetein AP, Feldman TE, Ståhle E, Colombo A, Mack MJ, Holmes DR Jr, Morel MA, Van Dyck N, Houle VM, Dawkins KD, Serruys PW.Coronary artery bypass graft surgery versus percutaneous coronary intervention in patients with three-vessel disease and left main coronary disease: 5-year follow-up of the randomised, clinical SYNTAX trial. Lancet. 2013 Feb 23;381(9867):629-38. doi: 10.1016/S0140-6736(13)60141-5.
ดิฉันเป็นเส้นเลือดตีบทีหัวใจคะ อายุหกสิบสองคะ เป็นปี59 น่าจะเส้นหนึ่ง คืออาการเจ็บทีหน้าอก รามมาถึงคางและเจ็บไปถึงแขนข้างช้าย เมือปี59 แต่หมอไม่ได้บอกเส้นเลือดตีบ บอกให้ไปฉีดสีทำบางลุม ทำทีจุฬาใช้สิทรคะ แต่ฉันไม่ทำ กินคิวเทนมาตลอด ก็อยู่เจ็บบ้างไม่เจ็บบ้าง อยู่ได้ ออกกำลังกาย ไปสวนลุมเดินหนึ่งรอบ ปั่นจักยาน ครั้งละสี่ห้ารัอยรอบ และเปลียนแปลงการกินอาหารไห่กินมัน. และงดหวานกินถั่วต้มห้าสี ต้มให้สุกแล้วเอามาผัดกับข้าวห้าสี ใส่มันและเผือก ใส่หัวระพา ก็อร่อยคะ อยู่ได้ปีหนึ่งคิดว่าหายแล้ว ไปกินของมันและหวาน เอาพอมาเดือนหายใจไม่ออกไปเช็ดทีโรงพยาบาลได้สิทรที่เจริงกรุงประชารัฐ. ที่นี่หมอเอาไปวิ่งสายพาน หมอบอกตีบไม่เกินสามเส้นบอกให้บอลลุม ถ้าผ่าน ถ้าไม่สำเร็จให้ทำใบผัด ฉันอ่านบบทความคุณหมอแล้วไม่อยากทำ แต่บางครั้งก็หายใจออกโล่ง แต่บางครั้งก็หายใจไม่ออก เหมืองอยู่ห้องแคบๆไม่มีอากาศคะ ก็เพิ่มอาหารเสริมหลายตัวก็ทำให้ดีขึ้นหายใจ โล่งคะ ก็อยู่มาได้ถึงวันนี้คะ ฉันเป็นความดันด้วยคะ แต่คุมอยู่ด้วยทุกเช้าปั่น คิ่งฉ่าย ต้นใหญ่ และแคลอกแดง แอ็กเปิ้ลเขียว มะเขือเทศ เก่าคี่สามสิบเม็ดแช่นำ้ก่อนเอามาปันกินทุกเช้าหนึ่งแก้วก่อนอาหารคะ ความดันก็คงทีไม่เคยกินยาสักเม็ค หมอให้ยาเริมเลือดและยาลดไขมันยาความดันยาอมใต้ลิ้นหลายตัว หักดิบคะหมอ ก็บอกว่าถ้าไม่ทำก็ไว้มาปั่นหัวใจแล้วกัน จะถามหมอว่าควรทำบอลลุมไหมคะ ถ้าไม่ผ่านก็ทำใบพัดที่นี้ตายแน่เลยคะ ควรทำยังไงดีคะ แต่ฉันอยากเข้าคอรของคุณหมอคะไม่รู้ปรึกษาได้ที่ไหนคะค่าใช้จ่ายเท่าไรคะ
คุณหมอช่วยตอบหน่อยนะคะ ขอขอบคุณหมอมากคะ
....................................................
ตอบครับ
จดหมายของคุณอ่านสนุกมากนะครับ ผมชอบที่คุณเรียกการผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจตีบว่าทำใบพัด ฟังแล้วน่ารักกว่าของจริงแยะ ส่วนที่คุณเล่าว่าปั่นจักรยานรอบสวนลุมพินีครั้งละสี่ห้าร้อยรอบนั้นผมเดาเอาว่าคุณคงหมายถึงครั้งละสี่ห้ารอบนะครับ โดยภาพรวมขอชมว่าคุณเป็นผู้สูงวัยที่ดูแลตัวเองดีมาก ทั้งในแง่ของการปรับเปลี่ยนอาหาร การออกกำลังกาย
เอาละ มาตอบคำถามของคุณนะ
ถามว่ามีอาการเจ็บหน้าอกเวลาออกกำลังกาย หมอวินิจฉัยเบื้องต้นว่าเป็นหลอดเลืือดหัวใจตีบ แล้วแนะนำให้ตรวจสวนหัวใจเพื่อมุ่งหน้าไปทำบอลลูน แต่ไม่อยากทำ ควรทำอย่างไร ตอบว่าผู้ป่วยอย่างคุณนี้เรียกว่าเจ็บหน้าอกระดับคลาส 2 (class II) คือต้องออกกำลังกายที่มากกว่าเดินไปมาถึงจะเจ็บ คนไข้แบบคุณนี้งานวิจัยชื่อ COURAGE Trial ได้เอาคนไข้แบบนี้มาตรวจสวนหัวใจแล้วเลือกเอามาแต่คนที่เจ็บหน้าอกคลาส 1-3 ที่ตีบหนึ่งเส้นบ้าง สองเส้นบ้าง ตีบสามเส้นบ้าง แต่ไม่มีรอยตีบที่โคนหลอดเลือดซ้าย (LM) เอามาจับฉลากแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งทำบอลลูนหรือบายพาสหมดทุกคนรูดมหาราช อีกกลุ่มหนึ่งไม่ต้องทำอะไรรุกล้ำ ได้แต่กินยาไป แล้วตามดูไปสิบสามปี ดูว่าใครจะตายมากกว่ากัน พบว่าทั้งสองกลุ่มทั้งกลุ่มทำบอลลูนและกลุ่มไม่ทำก็ตายมากเท่ากัน ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงใช้เป็นแนวทางให้คุณใช้รักษาตัวเองได้ คือผมแนะนำให้คุณทำเป็นสองขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1. ให้ทำการตรวจยืนยันก่อนว่าไม่มีรอยตีบที่โคนหลอดเลือดซ้าย (left main - LM) วิธีการตรวจยืนยันมีสองวิธีให้เลือก คือ
วิธีที่ 1 ตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยการทำเอ็กซเรย์หลอดเลือดหัวใจด้วยคอมพิวเตอร์ (CTA) หรือ
วิธีที่ 2. ฉีดสีตรวจสวนหัวใจ (CAG)
วิธีแรกมีข้อดีที่นุ่มนวลกว่า มีภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่า สีที่ฉีดมีพิษต่อไตน้อยกว่ากันมาก แต่ก็มีข้อเสียที่หากคิดจะทำบอลลูน ก็ต้องเสียเวลามาฉีดสีตรวจสวนหัวใจเพื่อทำบอลลูนอีกรอบหนึ่ง
แต่ในกรณีของคุณซึ่งมีความตั้งใจจะไม่รักษาแบบรุกล้ำเป็นทุนอยู่แล้วหากไม่มีรอยตีบที่โคนซ้าย (LM) ผมแนะนำว่าให้ใช้วิธีที่ 1 คือทำ CTA น่าจะดีที่สุด ผลของการตรวจ CTA จะเป็นตัวชี้บ่งให้รักษาไปสองทาง คือ
กรณีที่ 1 หากพบว่ามีรอยตีบที่โคนหลอดเลือดซ้าย (LM) ผมแนะนำว่าควรจะเดินหน้าตรวจสวนหัวใจแล้วทำการผ่าตัดบายพาส เพราะโรครอยตีบที่โคนหลอดเลือดซ้าย แม้ในปัจจุบันนี้วงการแพทย์ก็ยังใช้วิธีรักษาแบบจับผ่าตัดบายพาสหมด ทั้งนี้เป็นการทำตามงานวิจัยที่ทำเมื่อหลายสิบปีมาแล้ว (CASS study) โดยเปรียบเทียบการการรักษาผู้ป่วยที่มีรอยตีบที่โคนหลอดเลือดซ้ายระหว่างวิธีผ่าตัดบายพาสกับวิธีกินยา พบว่าวิธีผ่าตัดบายพาสมีอัตรารอดชีวิตสูงกว่า
แต่ว่างานวิจัย CASS study นั้นทำในสมัยที่ยังไม่มียาดีๆอย่างปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาสะแตตินลดไขมันในสมัยนั้นยังไม่มี นอกจากนี้ตอนนั้นวงการแพทย์ยังไม่มีความรู้ว่าอาหารพืชเป็นหลักมีผลทำให้โรคหลอดเลืือดหัวใจถอยกลับได้ จึงไม่มีการสอนให้ผู้ป่วยกินอาหารแบบมีพืชเป็นหลัก และการสอนให้ผู้ป่วยออกกำลังกายในสมัยนั้นก็สอนผิดเพราะวงการแพทย์นึกว่าหากให้ออกกำลังกายแล้วจะตายเร็วขึ้น จึงห้ามไม่ให้คนไข้ออกกำลังกายโดยสิ้นเชิง ปัจจุบันนี้เรามีความรู้แล้วว่าการออกกำลังกายลดอัตราตายคนเป็นหัวใจขาดเลือดลงได้ รู้แล้วว่าอาหารพืชเป็นหลักทำให้โรคถอยกลับได้ รู้แล้วว่าใช้ยาสะแตตินกรณีไขมันสูงจะลดอัตราตายจากโรคได้ หากเราควบรวมการปรับอาหาร การออกกำลังกาย และการใช้ยาลดไขมันเมื่อจำเป็นมาควบรวมกันรักษาผู้ป่วย LM โดยไม่ต้องผ่าตัดบายพาส จะมีผลดีเท่าการผ่าตัดบายพาสหรือไม่ ตรงนี้ยังไม่มีคำตอบ เพราะยังไม่มีงานวิจัยรองรับ ผู้ป่วยที่มีโรคที่โคนหลอดเลือดซ้าย (LM) หากจะไม่ยอมทำบายพาส จึงต้องเสี่ยงเอาเองเพราการรักษาแบบไม่ผ่าตัดจะดีเท่าการผ่าตัดหรือไม่ก็ยังไม่รู้
อนึ่ง มีหมอหัวใจจำนวนหนึ่งซึ่งถนัดทำบอลลูน มักจับผู้ป่วยที่มีรอยตีบที่โคนหลอดเลือดซ้าย (LM) รักษาด้วยการทำบอลลูน ซึ่งผมไม่เห็นด้วยเลย เพราะงานวิจัยชื่อ SYNTAX trial ได้สุ่มตัวอย่างผู้ป่วยที่มีรอยตีบที่โคนหลอดเลือดซ้าย (LM) ไปรักษาสองแบบเปรียบเทียบกััน คืือบอลลูน กับบายพาส พบว่าพวกที่รักษาแบบบอลลูนมีอัตราต้องกลับมาทำใหม่และอัตราตายสูงกว่าพวกที่ทำผ่าตัดบายพาส
กรณีีที่ 2. หากพบว่าไม่มีรอยตีบที่โคนหลอดเลือดซ้าย (LM) ผมแนะนำว่าให้ใช้คุณภาพชีวิตเป็นตัวตัดสินว่าจะรักษาแบบไหน กล่าวคือ
หากอาการปวดมากขึ้นจนรู้สึกว่าชีวิตไม่มีคุณภาพแล้ว ออกแรงนิดหน่อยก็เจ็บหน้าอก ก็ควรไปตรวจสวนหัวใจเพื่อทำบอลลูนหรือทำบายพาส แต่..
หากคุณภาพชีวิตยังดีอยู่ ยังไปเดินสวนลุมปั่นจักรยานได้ทุกวัน ผมแนะนำให้รักษาแบบไม่รุกล้ำ คือดูแลตัวเองเรื่องอาหารให้มีพืชผักผลไม้มากๆ ออกกำลังกาย จัดการความเครียด และใช้ยากรณีที่มีความจำเป็นอย่างที่คุณทำอยู่แล้วต่อไป
อนึ่ง การที่คุณเอาพืชผักมาปั่นดื่มนั้นก็ดีแล้ว แต่ผมแนะนำว่าขอให้มีความหลากหลายของพืชผักที่นำมาปั่นจะดีกว่าปั่นผักหน้าเดิมๆสองสามอย่างทุกวัน เพราะสารต้านอนุมูลอิสระหรือวิตามินเกลือแร่ต่างๆนั้นบางชนิดก็มีในพืชคนละอย่างกัน ดังนั้นกินให้หลากหลายไว้เป็นดี
ถามว่าอยากมาเข้าคอร์สพลิกผันโรคด้วยตัวเอง (RDBY) จะติดต่ออย่างไร ตอบว่าลองดูรายละเอียดตรงนี้ครับ http://visitdrsant.blogspot.com/2017/04/rdby-camp.html
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. Boden WE, O'rourke RA, Teo KK, et al; COURAGE Trial Co-Principal Investigators and Study Coordinators.The evolving pattern of symptomatic coronary artery disease in the United States and Canada: baseline characteristics of the Clinical Outcomes Utilizing Revascularization and Aggressive DruG Evaluation (COURAGE) trial. Am J Cardiol. 2007;99:208-212.
2. Chaitman BR, Ryan TJ, Kronmal RA, Foster ED, Frommer PL, Killip T. Coronary Artery Surgery Study (CASS study): comparability of 10 year survival in randomized and randomizable patients. J Am Coll Cardiol. 1990 Nov;16(5):1071-8.
3. Mohr FW1, Morice MC, Kappetein AP, Feldman TE, Ståhle E, Colombo A, Mack MJ, Holmes DR Jr, Morel MA, Van Dyck N, Houle VM, Dawkins KD, Serruys PW.Coronary artery bypass graft surgery versus percutaneous coronary intervention in patients with three-vessel disease and left main coronary disease: 5-year follow-up of the randomised, clinical SYNTAX trial. Lancet. 2013 Feb 23;381(9867):629-38. doi: 10.1016/S0140-6736(13)60141-5.
4. Ornish D, et. al. Intensive lifestyle changes for reversal of coronary heart disease. JAMA 1998; 280(23): 2001-2007 1998
5. Esselstyn CB Jr. Updating a 12-year experience with arrest and reversal therapy for coronary heart disease (an overdue requiem for palliative cardiology). Am J Cardiol 1999;84:339 –341.