จะพกยาอมใต้ลิ้นไปทำพรือละครับ มันไม่ช่วยให้คุณรอดตายมากขึ้น
คุณหมอสันต์ครับ
ตอนนี้มีคำแนะนำให้คนไทยทุกคนพกยาไนโตรกลีเซอรีนอมใต้ลิ้น เพื่อป้องกันหัวใจวายกะทันหัน ผมได้รับโพสต์มาเรื่องนี้แยะมากโดยที่ตัวผมเองก็ไม่อาจตัดสินได้เองว่าถูกหรือผิด ผมรบกวนคุณหมอสันต์ช่วยแนะนำด้วยครับว่าผมควรจะทำตามคำแนะนำนี้ไหม
..............................
ตอบครับ
ถามว่าคนไทยทุกคนควรพกยาอมไนโตรหรือไนเตรทไหม ตอบว่า "ไม่ควร" จะพกไปทำพรื้อละครับ เพราะยาในกลุ่มไนเตรทรวมทั้งไนโตรกลีเซอรีนไม่ได้ช่วยลดอัตราตายของผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเลย หากคุณจะตาย ก็เพราะโรคของคุณมันสาหัสถึงขั้นตายได้ แต่ไม่ใช่เพราะคุณไม่ได้อมยาไนเตรท
จริงอยู่ มาตรฐานการแพทย์ในการรักษาผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันนอกโรงพยาบาล (หมายถึงในรถฉุกเฉิน) ประกอบด้วยการฉีดมอร์ฟีน ให้ออกซิเจน อมไนเตรท และเคี้ยวแอสไพริน (MONA) แต่ว่านั่นไม่ใช่เรื่องที่ผู้ป่วยจะพกพาไว้ทำเอง เป็นเรื่องที่บุคลากรทางการแพทย์เขาจะเลือกให้ตามดุลพินิจ ซึ่งเขาจะต้องตรวจสอบเงื่อนไขก่อน กล่าวคือ
(1) ถ้าไม่ปวด ไม่กระสับกระส่าย ก็ไม่ต้องฉีดมอร์ฟืน
(2) ถ้าออกซิเจนในเลือดไม่ต่ำกว่า 90% ก็ไม่ต้องให้ออกซิเจนเพราะให้ไปก็ไล้ฟบอย แล้วคนที่ออกซิเจนจะต่ำกว่า 90%เนี่ยหาได้ง่ายๆที่ไหนละครับ ขนาดหัวใจหยุดเต้นไปพักหนึ่งแล้วออกซิเจนยังไม่ต่ำกว่า 90% เลย หากออกซิเจนไม่ต่ำการไปให้ออกซิเจนบางงานวิจัยพบว่ากลับมีผลเสียมากกว่าผลดี
(3) ถ้าไม่เจ็บหน้าอก ก็ไม่ต้องให้ยาอมใต้ลิ้น เพราะยาอมใต้ลิ้นเป็นเพียงยาบรรเทาอาการเจ็บหน้าอก ไม่ใช่ยารักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบให้หาย และหากจะให้ยาอมใต้ลิ้นกันจริงๆก็ต้องตรวจสอบให้ชัวร์ๆก่อนว่าอัตราการเต้นของหัวใจไม่ได้ช้าเกินไปหรือเร็วเกินไป ต้องเช็คความดันเลือดก่อนด้วยว่าความดันไม่ต่ำเกินไป และต้องเช็คประวัติด้วยว่าไม่ได้กินยาแก้นกเขาไม่ขัน (เช่นไวอากร้า) อยู่ เพราะหากหัวใจเต้นผิดปกติอยู่ก็ดี ความดันเลือดต่ำอยู่ก็ดี กินยารักษานกเขาไม่ขันอยู่ก็ดี หากให้อมไนเตรทไปอาจเร่งให้ได้กลับบ้านเก่าเร็วขึ้น
(4) การเคี้ยวยาแอสไพรินขนาด 162 - 325 มก. แล้วกลืนน้ำตามดูจะเป็นการรักษาก่อนถึงรพ.ที่มีประโยชน์มากที่สุดในแง่ของการลดอัตราตายและการลดจุดจบอันเลวร้ายของโรคนี้ หากไม่แพ้ยาแอสไพริน การเคี้ยวยาแอสไพรินทันทีขณะเดินทางไปรพ.ต่างหากที่เป็นสิ่งที่ควรทำ
จะทำอย่างไรเพื่อไม่ให้ตายจากโรคหัวใจ
การเป็นประชาชนคนธรรมดานี้ หากอยากมีสุขภาพดีมีอายุยืนไม่ตายด้วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันง่ายๆ คุณไม่ต้องถึงกับพกยาหรืออุ้มถังออกซิเจนไปไหนต่อไหน หรือขยันไปให้หมอเขาตรวจนั่นตรวจนี่ดอกครับ ให้คุณใช้สูตรที่วงการแพทย์สรุปมาจากหลักฐานวิทยาศาสตร์ต่อไปนี้ รับประกันว่าโอกาสที่คุณจะตายเร็วก่อนเวลาอันควรจะลดลงชัวร์ป๊าด วิธีการคือ
1. เมื่อยังสบายดีไม่มีอาการเจ็บหน้าอก ไม่ว่าจะเป็นโรคหรือไม่เป็นโรค ให้คุณจ้ัดการดูแลตัวเองโดยใช้ตัวชี้วัดสุขภาพง่ายๆเจ็ดตัว (simple-7) คือ (1) น้ำหนัก (2) ความดันเลือด (3) ไขมันในเลือด (4) น้ำตาลในเลือด (5) การกินผักผลไม้ให้มากพอ (6) การออกกกำลังกายให้มากพอ และ (7) การไม่สูบบุหรี่
2. เมื่อมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกแล้ว ให้คุณวินิจฉัยตัวเองก่อนว่าเป็นการเจ็บหน้าอกแบบไหน ระหว่าง
2.1 เจ็บหน้าอกแบบด่วน หรือเป็นกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉีียบพลัน (acute MI)
2.2 เจ็บหน้าอกแบบไม่ด่วน (stable angina)
วิธีวินิจฉัยว่าเป็นแบบไหนก็ไม่ยาก คุณใช้นาฬิกาอย่างเดียว เวลาที่ใช้ตัดสินคือ 20 นาที คือจับเวลานับตั้งแต่เริ่มมีอาการเจ็บหน้าอก ให้คุณจับเวลาแล้วถ้ากำลังออกกำลังกายอยู่ให้พักแล้วดูเชิง แล้วดูนาฬิกาไปด้วย หากผ่านไป 20 นาทีทั้งๆที่พักแล้วยังไม่หายเจ็บหน้าอก ให้วินิจฉัยตัวเองว่าคุณเป็นกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
เมื่อวินิจฉัยว่าตัวเองเป็นกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ให้รีบไปโรงพยาบาลที่สามารถทำการตรวจสวนหัวใจได้ให้เร็วที่สุด การไปถึงรพ.ช้าหรือเร็วเป็นปัจจัยกำหนดว่าจะคุณตายหรือรอด ไปได้ช้าหรือเร็วนี่แหละของจริง..ชัวร์เลย นับจากเมื่อคุณเริ่มเจ็บหน้าอกนะ เรื่องยาอม ยาดม ล้วนไม่ใช่ประเด็นสำคัญ อยากอมก็อม ไม่อยากอมก็ไม่ต้องอม อยากดมก็ดม ไม่อยากดมก็ไม่ต้องดม และในบรรดายาที่ควรใช้ก่อนถึงโรงพยาบาล การเคี้ยวยาแอสไพรินแล้วดื่มน้ำตามเป็นยาที่มีประโยชน์มากที่สุดที่หากทำได้ก็ควรทำ อย่างไรก็ตามการไปโรงพยาให้เร็วที่สุดสำคัญกว่าการมัวหายา ถ้าไม่มีปัญญาไปรพ.เองก็โทรศัพท์เรียกรถพยาบาล (1669) อยู่จังหวัดไหนก็ใช้เบอร์นี้ได้ ในกรณีที่คุณเกิดหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน การมีคนอยู่ใกล้ชิดที่กล้าลงมือช่วยชีวิตคุณโดยการกดหน้าอก (ปั๊มหัวใจ) ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของคุณได้
แต่ถ้าเป็นการเจ็บหน้าอกขณะออกแรงแล้วคุณพักแป๊บเดียว (ไม่เกิน 20 นาที) แล้วอาการเจ็บแน่นหน้าอกหายไป ให้คุณวินิจฉัยตัวเองว่าคุณเป็นโรคหัวใจขาดเลือดแบบไม่เร่งด่วน หากคุณรู้ตัวว่าเป็นโรคหัวใจขาดเลือดอยู่แล้วก็ดูแลตัวเองตามหลักการง่ายๆเจ็ดอย่างข้างต้นต่อไปโดยไม่ต้องไปโรงพยาบาล แต่ถ้าคุณไม่เคยรู้ตัวมาก่อนว่าเป็นโรคหัวใจขาดเลือดก็ให้หาเวลาว่างไปหาหมอเพื่อตรวจยืนยันการวินิจฉัยเสียสักหนึ่งครั้ง จะได้วางแผนถูกว่าจะเลือกวิธีรักษาตัวเองต่อไปอย่างไร
3. เมื่อหมอวินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจขาดเลือดแล้ว การรักษายังต้องแยกเป็นสองกรณี
3.1 กรณีที่คุณถูกหามเข้ารพ. กำลังเจ็บหน้าอกอยู่ หมอตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจแล้วมีภาวะคลื่นยก (ST elevation) การรักษาที่ทำให้มีอัตรารอดชีวิตดีที่สุดคือการทำการตรวจสวนหัวใจฉุกเฉินแล้วทำการรักษาแบบรุกล้ำทันทีเดี๋ยวนั้น ไม่ว่าจะใช้บอลลูนขยายหลอดเลือดหรือทำผ่าตัดบายพาส
3.2 กรณีคุณเป็นโรคหัวใจขาดเลือดแบบไม่ด่วน หมายความว่าเจ็บหน้าอกพักแล้วหาย ไม่มีกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หรือมีกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันแล้วแต่รอดชีวิตมาสบายดีิแล้วไม่น้อยกว่า24 ชั่วโมง การรักษาต่อจากจุดนั้นมีทางเลือกอยู่สองแบบ คือจะทำการรักษาแบบรุกล้ำ (ทำบอลลูนหรือผ่าตัดบายพาส) หรือจะทำการรักษาแบบไม่รุกล้ำ คือกินยาและดูตัวเองด้วยตัวชี้วัดง่ายๆเจ็ดอย่างข้างต้นไปก็ได้ ซึ่งงานวิจัยพบว่าไม่ว่าจะรักษาแบบไหนก็ได้อัตรารอดชีวิตที่ไม่แตกต่างกัน
4. ทั้งหมดนี้ไม่ใช่ว่าจะหายไม่ได้นะ โรคหัวใจเป็นโรคที่หายได้ งานวิจัยแบ่งกลุ่มสุ่มตัวอย่างเปรียบเทียบให้คนปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตอย่างสิ้นเชิง (กินอาหารพืชเป็นหลัก ออกกำลังกาย จัดการความเครียด มีการสนับสนุนกันทางสังคม) พบจากการติดตามดูภาพฉีดสีดูหลอดเลือดว่าโรคหลอดเลือดหัวใจตีบสามารถถอยกลับได้ หรือพูดง่ายๆว่ามันหายได้ด้วยการจัดการปัจจัยเสี่ยงอย่างจริงจัง
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
จดหมายจากผู้อ่าน 1
ขอบคุณมากๆค่ะ มีประโยชน์มากเลย อยากให้คุณหมออธิบายอีกนิดค่ะ เรื่องการสนับสนุนทางสังคมทำอย่างไรคะ
ตอบครับ
หมายถึงเพื่อนช่วยเพื่อน (peer support) ในงานวิจัยบังคับให้เข้ากลุ่มเพื่อนสัปดาห์ละ 1 ชม.เพื่อปรับทุกขฺ์ผูกมิตรช่วยเหลือกันและกัน
บรรณานุกรม
1. Amsterdam EA, Wenger NK, Brindis RG, Casey DE Jr, Ganiats TG, Holmes DR Jr, et al. 2014 AHA/ACC guideline for the management of patients with non-ST-elevation acute coronary syndromes: a report of the American College of Cardiology/American Heart Association Task Force on Practice Guidelines. Circulation. 2014 Dec 23. 130 (25):e344-426.
2. O'Gara PT, Kushner FG, Ascheim DD, et al. American College of Cardiology Foundation/American Heart Association Task Force on Practice Guidelines. 2013 ACCF/AHA guideline for the management of ST-elevation myocardial infarction: a report of the American College of Cardiology Foundation/American Heart Association Task Force on Practice Guidelines. Circulation. 2013 Jan 29. 127 (4):e362-425.
3. Roffi M, Patrono C, Collet JP, et al. 2015 ESC Guidelines for the management of acute coronary syndromes in patients presenting without persistent ST-segment elevation: Task Force for the Management of Acute Coronary Syndromes in Patients Presenting without Persistent ST-Segment Elevation of the European Society of Cardiology (ESC). Eur Heart J. 2016 Jan 14. 37 (3):267-315.
4. Task Force on the management of ST-segment elevation acute myocardial infarction of the European Society of Cardiology (ESC); Steg PG, James SK, Atar D, et al. ESC Guidelines for the management of acute myocardial infarction in patients presenting with ST-segment elevation. Eur Heart J. 2012 Oct. 33 (20):2569-619.
5. Cabello JB, Burls A, Emparanza JI, Bayliss S, Quinn T. Oxygen therapy for acute myocardial infarction. Cochrane Database Syst Rev. 2013 Aug 21. 8:CD007160.
6. Hochman JS, et al. Coronary intervention for persistent occlusion after myocardial infarction (OAT trial). N Engl J Med. 2006;355(23):2395-2407.
7. Boden WE, O'rourke RA, Teo KK, et al; COURAGE Trial Co-Principal Investigators and Study Coordinators.The evolving pattern of symptomatic coronary artery disease in the United States and Canada: baseline characteristics of the Clinical Outcomes Utilizing Revascularization and Aggressive DruG Evaluation (COURAGE) trial. Am J Cardiol. 2007;99:208-212.
8. Ornish D, Brown SE, et al. Can lifestyle changes reverse coronary heart disease. The Lancet 1990fb 336: 129-33 1990.
9. Ornish D, et. al. Intensive lifestyle changes for reversal of coronary heart disease. JAMA 1998; 280(23): 2001-2007 1998
10. Esselstyn CB Jr, Ellis SG, Medendorp SV, Crowe TD. A strategy to arrest and reverse coronary artery disease: a 5-year longitudinal study of a single physician’s practice. J Fam Pract 1995;41:560 –568.
11. Esselstyn CB Jr. Updating a 12-year experience with arrest and reversal therapy for coronary heart disease (an overdue requiem for palliative cardiology). Am J Cardiol 1999;84:339 –341.
5.
12. Esselstyn CB Jr. Resolving the coronary artery disease epidemic through plant-based nutrition. Prev Cardiol 2001;4:171–177.
ตอนนี้มีคำแนะนำให้คนไทยทุกคนพกยาไนโตรกลีเซอรีนอมใต้ลิ้น เพื่อป้องกันหัวใจวายกะทันหัน ผมได้รับโพสต์มาเรื่องนี้แยะมากโดยที่ตัวผมเองก็ไม่อาจตัดสินได้เองว่าถูกหรือผิด ผมรบกวนคุณหมอสันต์ช่วยแนะนำด้วยครับว่าผมควรจะทำตามคำแนะนำนี้ไหม
..............................
ตอบครับ
ถามว่าคนไทยทุกคนควรพกยาอมไนโตรหรือไนเตรทไหม ตอบว่า "ไม่ควร" จะพกไปทำพรื้อละครับ เพราะยาในกลุ่มไนเตรทรวมทั้งไนโตรกลีเซอรีนไม่ได้ช่วยลดอัตราตายของผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเลย หากคุณจะตาย ก็เพราะโรคของคุณมันสาหัสถึงขั้นตายได้ แต่ไม่ใช่เพราะคุณไม่ได้อมยาไนเตรท
จริงอยู่ มาตรฐานการแพทย์ในการรักษาผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันนอกโรงพยาบาล (หมายถึงในรถฉุกเฉิน) ประกอบด้วยการฉีดมอร์ฟีน ให้ออกซิเจน อมไนเตรท และเคี้ยวแอสไพริน (MONA) แต่ว่านั่นไม่ใช่เรื่องที่ผู้ป่วยจะพกพาไว้ทำเอง เป็นเรื่องที่บุคลากรทางการแพทย์เขาจะเลือกให้ตามดุลพินิจ ซึ่งเขาจะต้องตรวจสอบเงื่อนไขก่อน กล่าวคือ
(1) ถ้าไม่ปวด ไม่กระสับกระส่าย ก็ไม่ต้องฉีดมอร์ฟืน
(2) ถ้าออกซิเจนในเลือดไม่ต่ำกว่า 90% ก็ไม่ต้องให้ออกซิเจนเพราะให้ไปก็ไล้ฟบอย แล้วคนที่ออกซิเจนจะต่ำกว่า 90%เนี่ยหาได้ง่ายๆที่ไหนละครับ ขนาดหัวใจหยุดเต้นไปพักหนึ่งแล้วออกซิเจนยังไม่ต่ำกว่า 90% เลย หากออกซิเจนไม่ต่ำการไปให้ออกซิเจนบางงานวิจัยพบว่ากลับมีผลเสียมากกว่าผลดี
(3) ถ้าไม่เจ็บหน้าอก ก็ไม่ต้องให้ยาอมใต้ลิ้น เพราะยาอมใต้ลิ้นเป็นเพียงยาบรรเทาอาการเจ็บหน้าอก ไม่ใช่ยารักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบให้หาย และหากจะให้ยาอมใต้ลิ้นกันจริงๆก็ต้องตรวจสอบให้ชัวร์ๆก่อนว่าอัตราการเต้นของหัวใจไม่ได้ช้าเกินไปหรือเร็วเกินไป ต้องเช็คความดันเลือดก่อนด้วยว่าความดันไม่ต่ำเกินไป และต้องเช็คประวัติด้วยว่าไม่ได้กินยาแก้นกเขาไม่ขัน (เช่นไวอากร้า) อยู่ เพราะหากหัวใจเต้นผิดปกติอยู่ก็ดี ความดันเลือดต่ำอยู่ก็ดี กินยารักษานกเขาไม่ขันอยู่ก็ดี หากให้อมไนเตรทไปอาจเร่งให้ได้กลับบ้านเก่าเร็วขึ้น
(4) การเคี้ยวยาแอสไพรินขนาด 162 - 325 มก. แล้วกลืนน้ำตามดูจะเป็นการรักษาก่อนถึงรพ.ที่มีประโยชน์มากที่สุดในแง่ของการลดอัตราตายและการลดจุดจบอันเลวร้ายของโรคนี้ หากไม่แพ้ยาแอสไพริน การเคี้ยวยาแอสไพรินทันทีขณะเดินทางไปรพ.ต่างหากที่เป็นสิ่งที่ควรทำ
จะทำอย่างไรเพื่อไม่ให้ตายจากโรคหัวใจ
การเป็นประชาชนคนธรรมดานี้ หากอยากมีสุขภาพดีมีอายุยืนไม่ตายด้วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันง่ายๆ คุณไม่ต้องถึงกับพกยาหรืออุ้มถังออกซิเจนไปไหนต่อไหน หรือขยันไปให้หมอเขาตรวจนั่นตรวจนี่ดอกครับ ให้คุณใช้สูตรที่วงการแพทย์สรุปมาจากหลักฐานวิทยาศาสตร์ต่อไปนี้ รับประกันว่าโอกาสที่คุณจะตายเร็วก่อนเวลาอันควรจะลดลงชัวร์ป๊าด วิธีการคือ
1. เมื่อยังสบายดีไม่มีอาการเจ็บหน้าอก ไม่ว่าจะเป็นโรคหรือไม่เป็นโรค ให้คุณจ้ัดการดูแลตัวเองโดยใช้ตัวชี้วัดสุขภาพง่ายๆเจ็ดตัว (simple-7) คือ (1) น้ำหนัก (2) ความดันเลือด (3) ไขมันในเลือด (4) น้ำตาลในเลือด (5) การกินผักผลไม้ให้มากพอ (6) การออกกกำลังกายให้มากพอ และ (7) การไม่สูบบุหรี่
2. เมื่อมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกแล้ว ให้คุณวินิจฉัยตัวเองก่อนว่าเป็นการเจ็บหน้าอกแบบไหน ระหว่าง
2.1 เจ็บหน้าอกแบบด่วน หรือเป็นกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉีียบพลัน (acute MI)
2.2 เจ็บหน้าอกแบบไม่ด่วน (stable angina)
วิธีวินิจฉัยว่าเป็นแบบไหนก็ไม่ยาก คุณใช้นาฬิกาอย่างเดียว เวลาที่ใช้ตัดสินคือ 20 นาที คือจับเวลานับตั้งแต่เริ่มมีอาการเจ็บหน้าอก ให้คุณจับเวลาแล้วถ้ากำลังออกกำลังกายอยู่ให้พักแล้วดูเชิง แล้วดูนาฬิกาไปด้วย หากผ่านไป 20 นาทีทั้งๆที่พักแล้วยังไม่หายเจ็บหน้าอก ให้วินิจฉัยตัวเองว่าคุณเป็นกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
เมื่อวินิจฉัยว่าตัวเองเป็นกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ให้รีบไปโรงพยาบาลที่สามารถทำการตรวจสวนหัวใจได้ให้เร็วที่สุด การไปถึงรพ.ช้าหรือเร็วเป็นปัจจัยกำหนดว่าจะคุณตายหรือรอด ไปได้ช้าหรือเร็วนี่แหละของจริง..ชัวร์เลย นับจากเมื่อคุณเริ่มเจ็บหน้าอกนะ เรื่องยาอม ยาดม ล้วนไม่ใช่ประเด็นสำคัญ อยากอมก็อม ไม่อยากอมก็ไม่ต้องอม อยากดมก็ดม ไม่อยากดมก็ไม่ต้องดม และในบรรดายาที่ควรใช้ก่อนถึงโรงพยาบาล การเคี้ยวยาแอสไพรินแล้วดื่มน้ำตามเป็นยาที่มีประโยชน์มากที่สุดที่หากทำได้ก็ควรทำ อย่างไรก็ตามการไปโรงพยาให้เร็วที่สุดสำคัญกว่าการมัวหายา ถ้าไม่มีปัญญาไปรพ.เองก็โทรศัพท์เรียกรถพยาบาล (1669) อยู่จังหวัดไหนก็ใช้เบอร์นี้ได้ ในกรณีที่คุณเกิดหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน การมีคนอยู่ใกล้ชิดที่กล้าลงมือช่วยชีวิตคุณโดยการกดหน้าอก (ปั๊มหัวใจ) ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของคุณได้
แต่ถ้าเป็นการเจ็บหน้าอกขณะออกแรงแล้วคุณพักแป๊บเดียว (ไม่เกิน 20 นาที) แล้วอาการเจ็บแน่นหน้าอกหายไป ให้คุณวินิจฉัยตัวเองว่าคุณเป็นโรคหัวใจขาดเลือดแบบไม่เร่งด่วน หากคุณรู้ตัวว่าเป็นโรคหัวใจขาดเลือดอยู่แล้วก็ดูแลตัวเองตามหลักการง่ายๆเจ็ดอย่างข้างต้นต่อไปโดยไม่ต้องไปโรงพยาบาล แต่ถ้าคุณไม่เคยรู้ตัวมาก่อนว่าเป็นโรคหัวใจขาดเลือดก็ให้หาเวลาว่างไปหาหมอเพื่อตรวจยืนยันการวินิจฉัยเสียสักหนึ่งครั้ง จะได้วางแผนถูกว่าจะเลือกวิธีรักษาตัวเองต่อไปอย่างไร
3. เมื่อหมอวินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจขาดเลือดแล้ว การรักษายังต้องแยกเป็นสองกรณี
3.1 กรณีที่คุณถูกหามเข้ารพ. กำลังเจ็บหน้าอกอยู่ หมอตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจแล้วมีภาวะคลื่นยก (ST elevation) การรักษาที่ทำให้มีอัตรารอดชีวิตดีที่สุดคือการทำการตรวจสวนหัวใจฉุกเฉินแล้วทำการรักษาแบบรุกล้ำทันทีเดี๋ยวนั้น ไม่ว่าจะใช้บอลลูนขยายหลอดเลือดหรือทำผ่าตัดบายพาส
3.2 กรณีคุณเป็นโรคหัวใจขาดเลือดแบบไม่ด่วน หมายความว่าเจ็บหน้าอกพักแล้วหาย ไม่มีกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หรือมีกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันแล้วแต่รอดชีวิตมาสบายดีิแล้วไม่น้อยกว่า24 ชั่วโมง การรักษาต่อจากจุดนั้นมีทางเลือกอยู่สองแบบ คือจะทำการรักษาแบบรุกล้ำ (ทำบอลลูนหรือผ่าตัดบายพาส) หรือจะทำการรักษาแบบไม่รุกล้ำ คือกินยาและดูตัวเองด้วยตัวชี้วัดง่ายๆเจ็ดอย่างข้างต้นไปก็ได้ ซึ่งงานวิจัยพบว่าไม่ว่าจะรักษาแบบไหนก็ได้อัตรารอดชีวิตที่ไม่แตกต่างกัน
4. ทั้งหมดนี้ไม่ใช่ว่าจะหายไม่ได้นะ โรคหัวใจเป็นโรคที่หายได้ งานวิจัยแบ่งกลุ่มสุ่มตัวอย่างเปรียบเทียบให้คนปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตอย่างสิ้นเชิง (กินอาหารพืชเป็นหลัก ออกกำลังกาย จัดการความเครียด มีการสนับสนุนกันทางสังคม) พบจากการติดตามดูภาพฉีดสีดูหลอดเลือดว่าโรคหลอดเลือดหัวใจตีบสามารถถอยกลับได้ หรือพูดง่ายๆว่ามันหายได้ด้วยการจัดการปัจจัยเสี่ยงอย่างจริงจัง
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
จดหมายจากผู้อ่าน 1
ขอบคุณมากๆค่ะ มีประโยชน์มากเลย อยากให้คุณหมออธิบายอีกนิดค่ะ เรื่องการสนับสนุนทางสังคมทำอย่างไรคะ
ตอบครับ
หมายถึงเพื่อนช่วยเพื่อน (peer support) ในงานวิจัยบังคับให้เข้ากลุ่มเพื่อนสัปดาห์ละ 1 ชม.เพื่อปรับทุกขฺ์ผูกมิตรช่วยเหลือกันและกัน
บรรณานุกรม
1. Amsterdam EA, Wenger NK, Brindis RG, Casey DE Jr, Ganiats TG, Holmes DR Jr, et al. 2014 AHA/ACC guideline for the management of patients with non-ST-elevation acute coronary syndromes: a report of the American College of Cardiology/American Heart Association Task Force on Practice Guidelines. Circulation. 2014 Dec 23. 130 (25):e344-426.
2. O'Gara PT, Kushner FG, Ascheim DD, et al. American College of Cardiology Foundation/American Heart Association Task Force on Practice Guidelines. 2013 ACCF/AHA guideline for the management of ST-elevation myocardial infarction: a report of the American College of Cardiology Foundation/American Heart Association Task Force on Practice Guidelines. Circulation. 2013 Jan 29. 127 (4):e362-425.
3. Roffi M, Patrono C, Collet JP, et al. 2015 ESC Guidelines for the management of acute coronary syndromes in patients presenting without persistent ST-segment elevation: Task Force for the Management of Acute Coronary Syndromes in Patients Presenting without Persistent ST-Segment Elevation of the European Society of Cardiology (ESC). Eur Heart J. 2016 Jan 14. 37 (3):267-315.
4. Task Force on the management of ST-segment elevation acute myocardial infarction of the European Society of Cardiology (ESC); Steg PG, James SK, Atar D, et al. ESC Guidelines for the management of acute myocardial infarction in patients presenting with ST-segment elevation. Eur Heart J. 2012 Oct. 33 (20):2569-619.
5. Cabello JB, Burls A, Emparanza JI, Bayliss S, Quinn T. Oxygen therapy for acute myocardial infarction. Cochrane Database Syst Rev. 2013 Aug 21. 8:CD007160.
6. Hochman JS, et al. Coronary intervention for persistent occlusion after myocardial infarction (OAT trial). N Engl J Med. 2006;355(23):2395-2407.
7. Boden WE, O'rourke RA, Teo KK, et al; COURAGE Trial Co-Principal Investigators and Study Coordinators.The evolving pattern of symptomatic coronary artery disease in the United States and Canada: baseline characteristics of the Clinical Outcomes Utilizing Revascularization and Aggressive DruG Evaluation (COURAGE) trial. Am J Cardiol. 2007;99:208-212.
8. Ornish D, Brown SE, et al. Can lifestyle changes reverse coronary heart disease. The Lancet 1990fb 336: 129-33 1990.
9. Ornish D, et. al. Intensive lifestyle changes for reversal of coronary heart disease. JAMA 1998; 280(23): 2001-2007 1998
10. Esselstyn CB Jr, Ellis SG, Medendorp SV, Crowe TD. A strategy to arrest and reverse coronary artery disease: a 5-year longitudinal study of a single physician’s practice. J Fam Pract 1995;41:560 –568.
11. Esselstyn CB Jr. Updating a 12-year experience with arrest and reversal therapy for coronary heart disease (an overdue requiem for palliative cardiology). Am J Cardiol 1999;84:339 –341.
5.
12. Esselstyn CB Jr. Resolving the coronary artery disease epidemic through plant-based nutrition. Prev Cardiol 2001;4:171–177.