สิ่งที่ควรมีใน emergency kit เมื่อท่องเที่ยว
(last update 3 กย. 58)
ผมเป็นนักเที่ยวแบบลุย เอารถ SUV ตลุยไปนอนค้างอ้างแรมที่ไกลๆบ่อย อยากถามคุณหมอสันต์ว่าหากจะจัดทำ kit เพื่อใช้แก้ปัญหาเรื่องการเจ็บป่วยเฉพาะหน้า ควรจะมียาและอุปกรณ์อะไรบ้างครับ และแต่ละอย่างใช้งานอย่างไร
Pong
ตอบ
สิ่งที่แนะนำต่อไปนี้เป็นอุปกรณ์และยาพื้นฐานสำหรับนักเดินทางทั่วไป
1. อุปกรณ์ปฐมพยาบาล ได้แก่
1.1 สำลี
1.2 น้ำยาฆ่าเชื้อที่แผล (Povidone iodine)
1.3 ผ้าก๊อซปิดแผล
1.4 ผ้าพันแผล (gauze bandage
1.5 พลาสเตอร์เหนียวปิดแผล (sticky tape)
1.6 ผ้ายืดพันแก้เคล็ดขัดยอก (elastic bandage)
1.7 เจลล้างมือ
1.8 ถุงมือใช้แล้วทิ้ง (disposable gloves)
1.9 น้ำเกลือล้างแผลเป็นถุง (ถ้าไม่มีใช้น้ำสะอาดล้างแทนได้)
1.10 ปากคีบหยิบสำลี (forceps)
1.11 กรรไกรตัด
2. ยาบรรเทาปวดลดไข้ (paracetamol)
3. ยาบรรเทาอาการท้องเสีย ซึ่งที่มีหลักฐานว่ามีประโยชน์แน่นอนมีอยู่ตัวเดียวคือ น้ำเกลือแร่เป็นซอง (ORS) ส่วนยาอื่นเช่นยาลดการเคลื่อนไหวของลำไส้และยาปฏิชีวนะนั้น ไม่มีหลักฐานว่ามีประโยชน์ชัดเจน ในกรณีที่ต้องการใช้ยาปฏิชีวนะ ปัจจุบันถือว่ายา fluoroquinolone (ciprofloxacin) เป็นยาที่เหมาะ [1] ในการรักษาท้องเสียจากการเดินทาง (traveller’s diarrhea) แต่ก็ต้องชั่งน้ำหนักกับผลเสียของยา ซึ่งรายงานของอย.สหรัฐ (FDA) บอกว่าทำให้เกิดเอ็นอักเสบและเอ็นขาดได้
4. ยาปฏิชีวนะรักษาการติดเชื้อทางเดินลมหายใจส่วนบนไม่จำเป็นในเจ็ดวันแรก เพราะมาตรฐานการรักษาการติดเชื้อทางเดินลมหายใจส่วนบนในเจ็ดวันแรกไม่ใช้ยา แต่กรณีที่จะพกยาเผื่อไว้กรณีการติดเชื้อนานกว่าเจ็ดวันและสงสัยมากว่าจะเกิดจากบักเตรี ก็อาจพกยา เช่น clarithromycin
5. ยาแก้แพ้เช่นยาแอนตี้ฮิสตามีน เพื่อบรระเทาอาการหวัดและแพ้
6. ยาแก้เมารถ Dramamine โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีเพื่อนร่วมเดินทางเป็นผู้หญิงจะขาดไม่ได้
7. ครีมทาผิวหนังกันยุง ควรเป็นยาที่มีส่วนผสมของสาร DEET (N, N dimethyl-m-toluamide) เพราะกันยุงได้แน่นอน อย่าหวังพึ่งสมุนไพรกันยุง เพราะประสิทธิภาพไม่แน่นอน [2]
8. ยากินรักษามาเลเรียกรณีมีไข้ในป่าแล้วออกมาไม่ทัน เช่นเมโฟลควินหรือลาเรียม 1250 มก. หรือห้าเม็ด (25 มก.กก.) กินทีเดียว
9. อุปกรณ์ดูแลฟัน เช่นไหมขัดฟัน
10. อุปกรณ์ประจำตัวกรณีมีปัญหาสุขภาพ เช่นแว่นตาและคอนแทคสำรองกรณีใช้คอนแทคเลนส์ แบตเตอรี่สำรองกรณีใช้เครื่องช่วยฟัง ขนมขบเคี้ยวหวานๆกรณีกินยาเบาหวานอยู่ประจำ อุปกรณ์ฉีดยา กรณีฉีดอินสุลินประจำ
11. ถ้าเคยเรียนรู้การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (CPR) มาแล้ว ควรมี pocket mask สำหรับช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานติดไว้ด้วย
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
เอกสารอ้างอิง
1. Al-Abris SS, Beeching NJ. Nye FJ. Traveller’s diarrhea. Lancet Infect Dis. 2005 ; 5 : 349-60.
2. Fradin MS. Insect Protection. In: Keystone JS, Kozarsky PE, Freedan DO et al. Travel Medicine. Mosby, Elsevier, 2004: 61-9.
ผมเป็นนักเที่ยวแบบลุย เอารถ SUV ตลุยไปนอนค้างอ้างแรมที่ไกลๆบ่อย อยากถามคุณหมอสันต์ว่าหากจะจัดทำ kit เพื่อใช้แก้ปัญหาเรื่องการเจ็บป่วยเฉพาะหน้า ควรจะมียาและอุปกรณ์อะไรบ้างครับ และแต่ละอย่างใช้งานอย่างไร
Pong
ตอบ
สิ่งที่แนะนำต่อไปนี้เป็นอุปกรณ์และยาพื้นฐานสำหรับนักเดินทางทั่วไป
1. อุปกรณ์ปฐมพยาบาล ได้แก่
1.1 สำลี
1.2 น้ำยาฆ่าเชื้อที่แผล (Povidone iodine)
1.3 ผ้าก๊อซปิดแผล
1.4 ผ้าพันแผล (gauze bandage
1.5 พลาสเตอร์เหนียวปิดแผล (sticky tape)
1.6 ผ้ายืดพันแก้เคล็ดขัดยอก (elastic bandage)
1.7 เจลล้างมือ
1.8 ถุงมือใช้แล้วทิ้ง (disposable gloves)
1.9 น้ำเกลือล้างแผลเป็นถุง (ถ้าไม่มีใช้น้ำสะอาดล้างแทนได้)
1.10 ปากคีบหยิบสำลี (forceps)
1.11 กรรไกรตัด
2. ยาบรรเทาปวดลดไข้ (paracetamol)
3. ยาบรรเทาอาการท้องเสีย ซึ่งที่มีหลักฐานว่ามีประโยชน์แน่นอนมีอยู่ตัวเดียวคือ น้ำเกลือแร่เป็นซอง (ORS) ส่วนยาอื่นเช่นยาลดการเคลื่อนไหวของลำไส้และยาปฏิชีวนะนั้น ไม่มีหลักฐานว่ามีประโยชน์ชัดเจน ในกรณีที่ต้องการใช้ยาปฏิชีวนะ ปัจจุบันถือว่ายา fluoroquinolone (ciprofloxacin) เป็นยาที่เหมาะ [1] ในการรักษาท้องเสียจากการเดินทาง (traveller’s diarrhea) แต่ก็ต้องชั่งน้ำหนักกับผลเสียของยา ซึ่งรายงานของอย.สหรัฐ (FDA) บอกว่าทำให้เกิดเอ็นอักเสบและเอ็นขาดได้
4. ยาปฏิชีวนะรักษาการติดเชื้อทางเดินลมหายใจส่วนบนไม่จำเป็นในเจ็ดวันแรก เพราะมาตรฐานการรักษาการติดเชื้อทางเดินลมหายใจส่วนบนในเจ็ดวันแรกไม่ใช้ยา แต่กรณีที่จะพกยาเผื่อไว้กรณีการติดเชื้อนานกว่าเจ็ดวันและสงสัยมากว่าจะเกิดจากบักเตรี ก็อาจพกยา เช่น clarithromycin
5. ยาแก้แพ้เช่นยาแอนตี้ฮิสตามีน เพื่อบรระเทาอาการหวัดและแพ้
6. ยาแก้เมารถ Dramamine โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีเพื่อนร่วมเดินทางเป็นผู้หญิงจะขาดไม่ได้
7. ครีมทาผิวหนังกันยุง ควรเป็นยาที่มีส่วนผสมของสาร DEET (N, N dimethyl-m-toluamide) เพราะกันยุงได้แน่นอน อย่าหวังพึ่งสมุนไพรกันยุง เพราะประสิทธิภาพไม่แน่นอน [2]
8. ยากินรักษามาเลเรียกรณีมีไข้ในป่าแล้วออกมาไม่ทัน เช่นเมโฟลควินหรือลาเรียม 1250 มก. หรือห้าเม็ด (25 มก.กก.) กินทีเดียว
9. อุปกรณ์ดูแลฟัน เช่นไหมขัดฟัน
10. อุปกรณ์ประจำตัวกรณีมีปัญหาสุขภาพ เช่นแว่นตาและคอนแทคสำรองกรณีใช้คอนแทคเลนส์ แบตเตอรี่สำรองกรณีใช้เครื่องช่วยฟัง ขนมขบเคี้ยวหวานๆกรณีกินยาเบาหวานอยู่ประจำ อุปกรณ์ฉีดยา กรณีฉีดอินสุลินประจำ
11. ถ้าเคยเรียนรู้การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (CPR) มาแล้ว ควรมี pocket mask สำหรับช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานติดไว้ด้วย
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
เอกสารอ้างอิง
1. Al-Abris SS, Beeching NJ. Nye FJ. Traveller’s diarrhea. Lancet Infect Dis. 2005 ; 5 : 349-60.
2. Fradin MS. Insect Protection. In: Keystone JS, Kozarsky PE, Freedan DO et al. Travel Medicine. Mosby, Elsevier, 2004: 61-9.