ตกลงดิฉันเป็นโรคอ้วนหรือไม่เป็นกันแน่
ดิฉันไปตรวจที่รพ.มีชื่อแห่งหนึ่ง หมอเอาน้ำหนักส่วนสูงมาคำนวณดัชนีมวลกายได้ 27.5 และวินิจฉัยว่าดิฉันเป็นโรคอ้วน (obesity) และแนะนำให้ใช้ยาลดความอ้วน แต่ต่อมาเพื่อนของเพื่อนที่เป็นหมอเขาเอาตัวเลขไปดูแล้วบอกว่านี่ยังไม่ได้เป็นโรคอ้วน อยู่ในระดับน้ำหนักเกิน (overweight) เท่านั้น ทำไมหมอใช้เกณฑ์ไม่เหมือนกัน คุณหมอสันต์ช่วยสรุปด้วยว่าตกลงดิฉันเป็นโรคอ้วนหรือไม่เป็นคะ
F Lady
ตอบ
ประเด็นที่หนึ่ง ดัชนีมวลกายคำนวณมาอย่างไร ผมเดาเอาว่าคุณเข้าใจแล้ว แต่ขอสรุปอีกทีเผื่อเหนี่ยว ว่าดัชนีมวลกาย ( Body Mass Index – BMI) คำนวณจากการเอาส่วนสูงเป็นเมตรยกกำลังสอง แล้วเอาค่าที่ได้ไปหารน้ำหนักเป็นกิโลกรัม
BMI = นน.เป็นกก / (ส่วนสูงเป็นเมตร) ยกกำลังสอง
ตัวอย่างเช่นน้ำหนัก 70 กก.สูง 175 ซม. เอาส่วนสูงเป็นเมตร (1.75) ยกกำลังสอง หมายความว่า 1.75 x 1.75 ได้ = 3.0625 แล้วเอาน้ำหนัก 70 ตั้ง เอาค่าที่ได้คือ 3.0625 ไปหาร 70 ได้ BMI = 22.9 เป็นต้น
ประเด็นที่สอง ดัชนีมวลกายของคุณ = 27.5 ทำไมหมอคนหนึ่งว่าเป็นโรคอ้วน หมออีกคนว่าไม่ใช่ สาเหตุก็เพราะหมอทั้งสองคนไปยึดเกณฑ์มาตรฐานคนละอันกัน
หากถือตามองค์การอนามัยโลก ดัชนีมวลการเป็นค่าเดียวกันทั้งเพศชายและหญิง โดยพบว่ามีความเสี่ยงสุขภาพ "มากกว่าปกติ" ตั้งแต่ BMI = 25 กก./ตรม. ขึ้นไป จึงใช้ตัวเลข 25 เป็นเกณฑ์นิยามคำว่าน้ำหนักเกิน ( overweight ) และพบว่าความเสี่ยงจะอยู่ในระดับ "สูง" ถ้า BMI = 30 กก./ตรม.ขึ้นไป จึงใช้ตัวเลข 30 เป็นเกณฑ์นิยามคำว่าเป็นโรคอ้วน ( obesity)
แต่พวกหมอๆของประเทศเอเซียไม่ยอมรับเกณฑ์นี้ และอ้างหลักฐานว่าความสัมพันธ์ระหว่าง BMI กับความเสี่ยงต่อการเป็นโรคแตกต่างกันไปตามเผ่าพันธ์ จึงพยายามที่จะหาค่าที่เจาะจงต่อประชากรเอเชีย [4,5] ต่อมา WHO จึงได้จัดประชุมผู้เชี่ยวชาญขึ้นที่สิงค์โปร์ [6] แล้วสรุปว่าโอเค้.. โอเค. ที่ประชุมมีมติยอมรับว่าความสัมพันธ์ระหว่างความเสี่ยงต่อโรคกับ BMI นั้นแตกต่างไปตามชาติพันธ์ โดยสรุปได้หลวมๆว่าความเสี่ยงระดับต้น (เกณฑ์น้ำหนักเกิน) จะเริ่มเกิด ณ ตรงไหนก็ได้ที่ BMI = 22-25 กก./ตรม. ส่วนความเสี่ยงระดับสูง (เกณฑ์โรคอ้วน) จะเริ่มเกิด ณ ตรงไหนก็ได้ที่ BMI = 26-31 กก./ตรม. ให้คุณหมอๆกำหนดเกณฑ์เลือกจุดที่จะลงมือจัดการรักษาหรือจัดการปัจจัยเสี่ยงเอาได้เองตามใจชอบ แบบว่าชาติใครชาติมัน แต่มีข้อตกลงกลางว่าถ้าจะพูดจาเพื่อเปรียบเทียบข้ามเผ่าพันธ์ว่าใครน้ำหนักเกิน ใครอ้วนละก็ ขอให้ใช้เกณฑ์ของ WHO เกณฑ์เดียวเท่านั้น
สรุปว่า โดยนิตินัยตามมาตรฐาน WHO คุณแค่น้ำหนักเกิน ยังไม่ได้เป็นโรคอ้วน แต่โดยพฤตินัย ในฐานะที่คุณเป็นคนเอเซีย BMI = 27.5 หมายความว่าคุณมีความเสี่ยงสุขภาพอยู่ในระดับสูงแล้ว สมควรจะดำเนินลดน้ำหนักอย่างขมีขมันเต็มแม็ก โดยไม่ต้องรอให้ได้เป็นคนอ้วนตามเกณฑ์อนามัยโลกก่อนหรอกครับ
ป.ล.
ผมขออนุญาตสอด เพื่อป้องกันไม่ให้คุณเข้าใจคำอธิบายของคุณหมอของคุณผิดไป คือสิ่งสำคัญที่สุดในการลดน้ำหนักต้องเป็นการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตอย่างสิ้นเชิง (total lifestyle modification) อันได้แก่การเปลี่ยนนิสัยไปออกกำลังกายสม่ำเสมอ และการโภชนาการที่มุ่งปรับลดแคลอรี่รวมลง ไม่ใช่การใช้ยา...นะครับ
เอกสารอ้างอิง
1. WHO Global Database on Body Mass Index. Accessed on May 11, 2009 at http://apps.who.int/bmi/index.jsp?intro ... tro_3.html
2. WHO. Physical status: the use and interpretation of anthropometry. Report of a WHO Expert Committee. WHO Technical Report Series 854. Geneva: World Health Organization, 1995.
3. WHO. Obesity: preventing and managing the global epidemic. Report of a WHO Consultation. WHO Technical Report Series 894. Geneva: World Health Organization, 2000.
4. WHO/IASO/IOTF. The Asia-Pacific perspective: redefining obesity and its treatment. Health Communications Australia: Melbourne, 2000.
5. James WPT, Chen C, Inoue S. Appropriate Asian body mass indices? Obesity Review, 2002; 3:139.
6. WHO expert consultation. Appropriate body-mass index for Asian populations and its implications for policy and intervention strategies. The Lancet, 2004; 157-163.
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
F Lady
ตอบ
ประเด็นที่หนึ่ง ดัชนีมวลกายคำนวณมาอย่างไร ผมเดาเอาว่าคุณเข้าใจแล้ว แต่ขอสรุปอีกทีเผื่อเหนี่ยว ว่าดัชนีมวลกาย ( Body Mass Index – BMI) คำนวณจากการเอาส่วนสูงเป็นเมตรยกกำลังสอง แล้วเอาค่าที่ได้ไปหารน้ำหนักเป็นกิโลกรัม
BMI = นน.เป็นกก / (ส่วนสูงเป็นเมตร) ยกกำลังสอง
ตัวอย่างเช่นน้ำหนัก 70 กก.สูง 175 ซม. เอาส่วนสูงเป็นเมตร (1.75) ยกกำลังสอง หมายความว่า 1.75 x 1.75 ได้ = 3.0625 แล้วเอาน้ำหนัก 70 ตั้ง เอาค่าที่ได้คือ 3.0625 ไปหาร 70 ได้ BMI = 22.9 เป็นต้น
ประเด็นที่สอง ดัชนีมวลกายของคุณ = 27.5 ทำไมหมอคนหนึ่งว่าเป็นโรคอ้วน หมออีกคนว่าไม่ใช่ สาเหตุก็เพราะหมอทั้งสองคนไปยึดเกณฑ์มาตรฐานคนละอันกัน
หากถือตามองค์การอนามัยโลก ดัชนีมวลการเป็นค่าเดียวกันทั้งเพศชายและหญิง โดยพบว่ามีความเสี่ยงสุขภาพ "มากกว่าปกติ" ตั้งแต่ BMI = 25 กก./ตรม. ขึ้นไป จึงใช้ตัวเลข 25 เป็นเกณฑ์นิยามคำว่าน้ำหนักเกิน ( overweight ) และพบว่าความเสี่ยงจะอยู่ในระดับ "สูง" ถ้า BMI = 30 กก./ตรม.ขึ้นไป จึงใช้ตัวเลข 30 เป็นเกณฑ์นิยามคำว่าเป็นโรคอ้วน ( obesity)
แต่พวกหมอๆของประเทศเอเซียไม่ยอมรับเกณฑ์นี้ และอ้างหลักฐานว่าความสัมพันธ์ระหว่าง BMI กับความเสี่ยงต่อการเป็นโรคแตกต่างกันไปตามเผ่าพันธ์ จึงพยายามที่จะหาค่าที่เจาะจงต่อประชากรเอเชีย [4,5] ต่อมา WHO จึงได้จัดประชุมผู้เชี่ยวชาญขึ้นที่สิงค์โปร์ [6] แล้วสรุปว่าโอเค้.. โอเค. ที่ประชุมมีมติยอมรับว่าความสัมพันธ์ระหว่างความเสี่ยงต่อโรคกับ BMI นั้นแตกต่างไปตามชาติพันธ์ โดยสรุปได้หลวมๆว่าความเสี่ยงระดับต้น (เกณฑ์น้ำหนักเกิน) จะเริ่มเกิด ณ ตรงไหนก็ได้ที่ BMI = 22-25 กก./ตรม. ส่วนความเสี่ยงระดับสูง (เกณฑ์โรคอ้วน) จะเริ่มเกิด ณ ตรงไหนก็ได้ที่ BMI = 26-31 กก./ตรม. ให้คุณหมอๆกำหนดเกณฑ์เลือกจุดที่จะลงมือจัดการรักษาหรือจัดการปัจจัยเสี่ยงเอาได้เองตามใจชอบ แบบว่าชาติใครชาติมัน แต่มีข้อตกลงกลางว่าถ้าจะพูดจาเพื่อเปรียบเทียบข้ามเผ่าพันธ์ว่าใครน้ำหนักเกิน ใครอ้วนละก็ ขอให้ใช้เกณฑ์ของ WHO เกณฑ์เดียวเท่านั้น
สรุปว่า โดยนิตินัยตามมาตรฐาน WHO คุณแค่น้ำหนักเกิน ยังไม่ได้เป็นโรคอ้วน แต่โดยพฤตินัย ในฐานะที่คุณเป็นคนเอเซีย BMI = 27.5 หมายความว่าคุณมีความเสี่ยงสุขภาพอยู่ในระดับสูงแล้ว สมควรจะดำเนินลดน้ำหนักอย่างขมีขมันเต็มแม็ก โดยไม่ต้องรอให้ได้เป็นคนอ้วนตามเกณฑ์อนามัยโลกก่อนหรอกครับ
ป.ล.
ผมขออนุญาตสอด เพื่อป้องกันไม่ให้คุณเข้าใจคำอธิบายของคุณหมอของคุณผิดไป คือสิ่งสำคัญที่สุดในการลดน้ำหนักต้องเป็นการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตอย่างสิ้นเชิง (total lifestyle modification) อันได้แก่การเปลี่ยนนิสัยไปออกกำลังกายสม่ำเสมอ และการโภชนาการที่มุ่งปรับลดแคลอรี่รวมลง ไม่ใช่การใช้ยา...นะครับ
เอกสารอ้างอิง
1. WHO Global Database on Body Mass Index. Accessed on May 11, 2009 at http://apps.who.int/bmi/index.jsp?intro ... tro_3.html
2. WHO. Physical status: the use and interpretation of anthropometry. Report of a WHO Expert Committee. WHO Technical Report Series 854. Geneva: World Health Organization, 1995.
3. WHO. Obesity: preventing and managing the global epidemic. Report of a WHO Consultation. WHO Technical Report Series 894. Geneva: World Health Organization, 2000.
4. WHO/IASO/IOTF. The Asia-Pacific perspective: redefining obesity and its treatment. Health Communications Australia: Melbourne, 2000.
5. James WPT, Chen C, Inoue S. Appropriate Asian body mass indices? Obesity Review, 2002; 3:139.
6. WHO expert consultation. Appropriate body-mass index for Asian populations and its implications for policy and intervention strategies. The Lancet, 2004; 157-163.
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
ความคิดเห็น