การกินยาป้องกันมาลาเรียก่อนไปเที่ยวป่า
เพื่อนฝรั่งจะมาเที่ยวเมืองไทย มีแผนจะไปเที่ยวดูป่าที่อุทัยธานีและกาญจนบุรี เขาบอกว่าหมอของเขาให้กินยาป้องกันมาลาเรียก่อนเข้าป่า มีความจำเป็นไหม
พ.น.
ตอบ
ในประเทศไทย ไม่แนะนำให้ใช้ยาป้องกันมาลาเรีย ไม่ว่าสำหรับนักท่องเที่ยวไทยหรือต่างชาติ ไม่ว่าจะเข้าป่าหรือไม่เข้าป่า เหตุผลเพราะ
1. หลักฐานจากงานวิจัย [1] พบว่าความเสี่ยงที่จะติดเชื้อมีน้อยมาก คือ 1 ใน 16,000 คน ข้อมูลย้อนหลัง 6 ปีของรพ.เวชศาสตร์เขตร้อนซึ่งเป็นศูนย์รักษามาเลเรียเองพบว่ามีนักท่องเที่ยวติดเชื้อมาเลเรียในประเทศไทยเพียง 3 ราย [2]
2. ไม่มียาใดป้องกันมาเลเรียได้ 100% ยาป้องกันได้แต่เชื้อฟาลซิพารั่ม แต่เชื้อนี้ในเมืองไทยก็มีดื้อยาที่ใช้ป้องกัน ไม่ว่าจะเป็นยา คลอโรควิน หรือยาเมโฟลควิน
3. เมืองไทยการเข้าถึงสถานพยาบาลหลังจากมีอาการไข้ทำได้ง่ายมาก ทุกอำเภอมีรพ.อำเภอ ที่จะต้องรอนแรมกลางป่าหลายวันกว่าจะพบหมอได้นั้นไม่มีแล้ว เว้นเสียแต่ว่าจะเข้าป่าลึกหลายวัน แบบนั้นก็ขอหมอเอายาพกพาสำหรับการรักษา (standby drug) พอเป็นไข้ขึ้นมาก็กินแบบรักษาโรคเต็มรูปแบบไปเลย (เช่นเมโฟลควินหรือลาเรียม 1250 มก. หรือห้าเม็ด (25 มก.กก.) กินทีเดียว พอออกจากป่าแล้วอย่างไรก็ต้องไปให้หมอดูซ้ำอีกที
ควรบอกฝรั่งว่าที่ดีกว่าการกินยาป้องกันมาเลเรีย คือการป้องกันไม่ให้ยุงกัด ซึ่งควรทำอย่างยิ่งดังนี้
1. ใช้ยาทาผิวหนังกันยุง ยาที่งานวิจัย [3] บอกว่าทากันยุงได้จริงนั้นคือยาอ่านฉลากดูแล้วต้องมีส่วนผสมของสาร DEET (N, N dimethyl-m-toluamide) โดยเลือกยี่ห้อที่มีความเข้มข้นของ DEET สูง คือถ้าสูงถึง 35% จะกันยุงได้นาน 4-6 ชม. ถ้าเข้มข้นถึง 100% จะกันยุงได้นาน 10 ชม. ส่วนสมุนไพรกันยุงสาระพัดนั้น มีประสิทธิภาพไม่แน่นอน
2. สวมเสื้อผ้าให้มิดชิด
3. นอนกางมุ้ง หรือในบ้านที่มีมุ้งลวด
4. หลีกเลี่ยงการเดินทางช่วงที่ยุงก้นปล่องออกหากิน คือพลบค่ำ กลางคืน ไปจนถึงเช้ามืด
เอกสารอ้างอิง
1. Hill DR, Behrens RH, Bradley DJ. The risk of malaria in travelers to Thailand. Trans R Soc Trop Med Hyg 1996;90:680-1.
2. Piyaphanee W, Krudsood S, et.al. Travellers’ malaria among foreigners at the Hospital For Tropical Disease, Bangkok, Thailand – a six year review (2000-2005). Korean J Parasitol. 2006;44:229-32
3. Fradin MS. Insect Protection. In: Keystone JS, Kozarsky PE, Freedan DO et al. Travel Medicine. Mosby, Elsevier, 2004: 61-9.
พ.น.
ตอบ
ในประเทศไทย ไม่แนะนำให้ใช้ยาป้องกันมาลาเรีย ไม่ว่าสำหรับนักท่องเที่ยวไทยหรือต่างชาติ ไม่ว่าจะเข้าป่าหรือไม่เข้าป่า เหตุผลเพราะ
1. หลักฐานจากงานวิจัย [1] พบว่าความเสี่ยงที่จะติดเชื้อมีน้อยมาก คือ 1 ใน 16,000 คน ข้อมูลย้อนหลัง 6 ปีของรพ.เวชศาสตร์เขตร้อนซึ่งเป็นศูนย์รักษามาเลเรียเองพบว่ามีนักท่องเที่ยวติดเชื้อมาเลเรียในประเทศไทยเพียง 3 ราย [2]
2. ไม่มียาใดป้องกันมาเลเรียได้ 100% ยาป้องกันได้แต่เชื้อฟาลซิพารั่ม แต่เชื้อนี้ในเมืองไทยก็มีดื้อยาที่ใช้ป้องกัน ไม่ว่าจะเป็นยา คลอโรควิน หรือยาเมโฟลควิน
3. เมืองไทยการเข้าถึงสถานพยาบาลหลังจากมีอาการไข้ทำได้ง่ายมาก ทุกอำเภอมีรพ.อำเภอ ที่จะต้องรอนแรมกลางป่าหลายวันกว่าจะพบหมอได้นั้นไม่มีแล้ว เว้นเสียแต่ว่าจะเข้าป่าลึกหลายวัน แบบนั้นก็ขอหมอเอายาพกพาสำหรับการรักษา (standby drug) พอเป็นไข้ขึ้นมาก็กินแบบรักษาโรคเต็มรูปแบบไปเลย (เช่นเมโฟลควินหรือลาเรียม 1250 มก. หรือห้าเม็ด (25 มก.กก.) กินทีเดียว พอออกจากป่าแล้วอย่างไรก็ต้องไปให้หมอดูซ้ำอีกที
ควรบอกฝรั่งว่าที่ดีกว่าการกินยาป้องกันมาเลเรีย คือการป้องกันไม่ให้ยุงกัด ซึ่งควรทำอย่างยิ่งดังนี้
1. ใช้ยาทาผิวหนังกันยุง ยาที่งานวิจัย [3] บอกว่าทากันยุงได้จริงนั้นคือยาอ่านฉลากดูแล้วต้องมีส่วนผสมของสาร DEET (N, N dimethyl-m-toluamide) โดยเลือกยี่ห้อที่มีความเข้มข้นของ DEET สูง คือถ้าสูงถึง 35% จะกันยุงได้นาน 4-6 ชม. ถ้าเข้มข้นถึง 100% จะกันยุงได้นาน 10 ชม. ส่วนสมุนไพรกันยุงสาระพัดนั้น มีประสิทธิภาพไม่แน่นอน
2. สวมเสื้อผ้าให้มิดชิด
3. นอนกางมุ้ง หรือในบ้านที่มีมุ้งลวด
4. หลีกเลี่ยงการเดินทางช่วงที่ยุงก้นปล่องออกหากิน คือพลบค่ำ กลางคืน ไปจนถึงเช้ามืด
เอกสารอ้างอิง
1. Hill DR, Behrens RH, Bradley DJ. The risk of malaria in travelers to Thailand. Trans R Soc Trop Med Hyg 1996;90:680-1.
2. Piyaphanee W, Krudsood S, et.al. Travellers’ malaria among foreigners at the Hospital For Tropical Disease, Bangkok, Thailand – a six year review (2000-2005). Korean J Parasitol. 2006;44:229-32
3. Fradin MS. Insect Protection. In: Keystone JS, Kozarsky PE, Freedan DO et al. Travel Medicine. Mosby, Elsevier, 2004: 61-9.
ความคิดเห็น