การฉีด Carboxy กับการให้นมบุตรและแผลผ่าคลอด
รบกวนสอบถามหน่อยค่ะ ว่าการฉีด carboxy เนี่ย มีผลกับการให้นมลูกมั๊ย เพราะตอนนี้ก็ให้นมลูกอยู่ เกรงว่าเมื่อฉีดไปแล้ว ก๊าซอยู่ในร่างกายจะส่งผลอะไรกับน้ำนมหรือเปล่า กลัวเป็นอันตรายกับลูกเมื่อทานน้ำนมเข้าไป อีกอย่างคือ ผ่าคลอดมาค่ะ สามารถฉีดได้หรือเปล่า ผ่าแนวบิกีนี่ มาได้สิบเดือนแล้ว แต่แผลผ่าเพิ่งเริ่มมานูนและแดงตอนเข้าเดือนที่ห้าหลังผ่า ตอนนี้กดๆที่แผลมันเป็นคีย์ลอยด์แดงนูนและแข็งก็เจ็บๆ ไม่รู้ว่าฉีดเข้าไปจะเป็นอะไรมั๊ย กลัวแผลปริ
ช่วยแนะนำหน่อยค่ะ ว่าทำได้หรือเปล่า
ปล. โพสถามตามบอร์ดของคลีนิค ก็เห็นตอบว่าทำได้ แต่ไม่แน่ใจ กลัวว่าเค้าอยากจะขายของอย่างเดียว เลยมาคุณหมอถามในนี้ดีกว่า ขอบคุณมากค่ะ
m
ตอบ
ก่อนตอบคำถามของคุณ ผมขอให้ข้อมูลของผมก่อนนะครับ ว่า
1. ยังไม่มีหลักฐานหรือผลการวิจัยเปรียบเทียบทิ่พิสูจน์ได้ว่าการฉีดใดๆเข้าไปละลายไขมันนั้นมีความปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นฉีดก๊าซหรือฉีดของเหลว ซึ่งทางการแพทย์เรียกรวมว่า injection lipolysis แปลไทยให้เป็นไทยคือว่าไม่ว่าจะคาร์บอกซี่ หรือเมโสเทราปี่ หรืออะไรก็ตามสุดแต่จะเรียกกัน มันไม่มีใครบอกได้ว่าปลอดภัย
2. FDA ซึ่งเป็นองค์การอาหารและยาอเมริกัน ไม่อนุมัติให้ฉีด carboxy ละลายไขมันในอเมริกา อย่าถามว่า FDA ไทยหรืออย.ของกระทรวงสาธารณสุขท่านว่าอย่างไรนะครับ ผมเข้าใจว่าลำพังเรื่องทุจริตซื้อคอมพิวเตอร์ในกระทรวงก็คงปวดหัวท่านพอแรงแล้ว อย่ารบกวนท่านเลย
3. คำโฆษณาที่ว่า FDA approved นั้นเป็นความเท็จ เช่นอ่านในรายละเอียดแล้วจะเห็นว่าจริงๆแล้วเป็นการอนุมัติให้ใช้เครื่องมือนั้นไปทำอย่างอื่น ไม่ใช่อนุมัติให้ฉีด carboxy ละลายไขมันใต้ผิวหนัง
4. คำโฆษณาที่ว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นของธรรมชาติในร่างกายอยู่แล้ว ฉีดเข้าไปปลอดภัยแน่นอนนั้นไม่จริง เพราะยังไม่มีหลักฐานว่าการฉีดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าร่างกายมีความปลอดภัย จะเหมาง่ายๆว่ามันเป็นของมีในร่างกายอยู่แล้วฉีดเข้าไปได้นั้นไม่ใช่วิธีประเมินทางวิทยาศาสตร์ ยกตัวอย่างง่ายๆก๊าซออกซิเจนก็มีอยู่ในร่างกาย แต่ยังทำให้เด็กตาบอดได้เลย เป็นต้น ความปลอดภัยต้องมาจากการวิจัยเปรียบเทียบระหว่างฉีดกับไม่ฉีดเท่านั้น จะมั่วนิ่มสรุปลอยๆขึ้นมาไม่ได้
5. เมื่อเดือนกค. 52 ภาคีแพทย์เพื่อความปลอดภัยในการฉีดสารเพื่อการรักษาในอเมริกาและแคนาดา (The Physicians Coalition for Injectable Safety) ได้ออกโรงเตือนผู้ป่วย [1] ว่าการฉีดคาร์บอกซี่ไม่ใช่สิ่งที่ FDA อนุมัติและไม่มีหลักฐานเรื่องความปลอดภัย ทั้งยังแนะนำให้ผู้ป่วยถามหมอสามคำถามก่อนฉีดว่า (1) สิ่งที่จะฉีดให้นี้หมอแผนปัจจุบันทั่วไปและสถานพยาบาลมาตรฐานที่มีอุปกรณ์ครบถ้วนเขาฉีดรักษาเรื่องนี้กันหรือเปล่า (2) สิ่งที่จะฉีดให้นี้ FDA อนุมัติให้ฉีดได้โดยปลอดภัยหรือเปล่า (3) คุณหมอได้บอกทางเลือกในการรักษาอื่นๆเพื่อรักษาเรื่องเดียวกันโดยบอกความเสี่ยงและประโยชน์ของทางเลือกครับถ้วนหรือเปล่า รวมทั้งความเสี่ยงการมีอุปกรณ์เครื่องมือช่วยชีวิตในสถานพยาบาลไม่ครบในกรณีเกิดอะไรขึ้น
6. การฉีด carboxy เข้าร่างกายไม่ใช่การทำเวชปฏิบัติ ไม่ใช่การรักษาโรค ไม่ใช่กิจของแพทย์ ผิดกฎหมายพรบ.ประกอบวิชาชีพเวชกรรม และผิดหลักจริยธรรมวิชาชีพแพทย์ แต่คุณอย่าถามนะครับว่าแล้วทำไมเขายังทำกัน
เอาละผมพล่ามข้อมูลที่ผมอยากพล่ามไปแล้ว คราวนี้มาตอบคำถามของคุณทีละข้อ
1. การฉีด carboxy มีผลกับการให้นมลูกมั๊ย ตอบว่าวงการแพทย์ยังไม่ทราบ เพราะไม่มีการวิจัย และที่แอบๆฉีดกันอยู่ก็ยังไม่มีเรื่องแดงขึ้นมา
2. เมื่อฉีดไปแล้ว ก๊าซอยู่ในร่างกายจะส่งผลอะไรกับน้ำนมหรือเปล่า ตอบว่าไม่มีใครทราบเช่นเดียวกันครับ ใครที่กล้าบอกว่าปลอดภัยโดยไม่มีหลักฐานรองรับนั้น เขาโกหกแน่นอน
3. อีกอย่างคือ ผ่าคลอดมาค่ะ สามารถฉีดได้หรือเปล่า ตอบว่า อีกนั่นแหละครับ ผลของการฉีดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อแผลผ่าตัดก็ยังไม่มีใครทราบ ทราบแต่ว่าไม่มีหลักฐานว่ามันปลอดภัย
4. โพสถามตามบอร์ดของคลีนิค ก็ตอบว่าทำได้ แต่ไม่แน่ใจ กลัวว่าเค้าอยากจะขายของอย่างเดียว เลยมาคุณหมอถามในนี้ดีกว่า อันนี้ผมขอตอบว่าแหล่งข้อมูลด้านสุขภาพนี้จะมาจากไหนไม่สำคัญหรอกครับ แต่ขอให้บอกประเด็นสำคัญอันได้แก่ (1) หลักฐานงานวิจัยรองรับ ซึ่งต้องเป็นงานวิจัยที่มีลำดับชั้นของหลักฐานสูง เช่นวิจัยแบบสุ่มตัวอย่างเปรียบเทียบ เป็นต้น และต้องเป็นงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ที่เชื่อถือได้ ไม่ใช่พิมพ์ในจดหมายข่าวของบริษัทเครื่องมือ (2) หลักฐานการรับรองความปลอดภัยจากองค์กรที่มีหน้าที่ดูแลโดยตรง ซึ่งในกรณีของอาหารและยาก็ต้องมีคำรับรองของ FDA (3) ถ้าคนพูดมีผลประโยชน์คาบเกี่ยวกับเรื่องที่พูด ต้องด้วยว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนอยู่อย่างไร เขาเรียกว่าการ declare conflict of interest ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลของการให้ข้อมูลวิทยาศาสตร์ที่ทำกันทั่วโลก ข้อมูลจากไหนก็ตาม ถ้ามีองค์ประกอบทั้งสามอย่างนี้ครบ ก็เป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้ครับ
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. Carboxytherapy and Mesotherapy Unproven, Physician Group urges consumers to be aware of non-approved cosmetic injections. Accessed at http:// www. injectablesafety. org/ media/ news_release/31, on December 10, 2009.
ช่วยแนะนำหน่อยค่ะ ว่าทำได้หรือเปล่า
ปล. โพสถามตามบอร์ดของคลีนิค ก็เห็นตอบว่าทำได้ แต่ไม่แน่ใจ กลัวว่าเค้าอยากจะขายของอย่างเดียว เลยมาคุณหมอถามในนี้ดีกว่า ขอบคุณมากค่ะ
m
ตอบ
ก่อนตอบคำถามของคุณ ผมขอให้ข้อมูลของผมก่อนนะครับ ว่า
1. ยังไม่มีหลักฐานหรือผลการวิจัยเปรียบเทียบทิ่พิสูจน์ได้ว่าการฉีดใดๆเข้าไปละลายไขมันนั้นมีความปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นฉีดก๊าซหรือฉีดของเหลว ซึ่งทางการแพทย์เรียกรวมว่า injection lipolysis แปลไทยให้เป็นไทยคือว่าไม่ว่าจะคาร์บอกซี่ หรือเมโสเทราปี่ หรืออะไรก็ตามสุดแต่จะเรียกกัน มันไม่มีใครบอกได้ว่าปลอดภัย
2. FDA ซึ่งเป็นองค์การอาหารและยาอเมริกัน ไม่อนุมัติให้ฉีด carboxy ละลายไขมันในอเมริกา อย่าถามว่า FDA ไทยหรืออย.ของกระทรวงสาธารณสุขท่านว่าอย่างไรนะครับ ผมเข้าใจว่าลำพังเรื่องทุจริตซื้อคอมพิวเตอร์ในกระทรวงก็คงปวดหัวท่านพอแรงแล้ว อย่ารบกวนท่านเลย
3. คำโฆษณาที่ว่า FDA approved นั้นเป็นความเท็จ เช่นอ่านในรายละเอียดแล้วจะเห็นว่าจริงๆแล้วเป็นการอนุมัติให้ใช้เครื่องมือนั้นไปทำอย่างอื่น ไม่ใช่อนุมัติให้ฉีด carboxy ละลายไขมันใต้ผิวหนัง
4. คำโฆษณาที่ว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นของธรรมชาติในร่างกายอยู่แล้ว ฉีดเข้าไปปลอดภัยแน่นอนนั้นไม่จริง เพราะยังไม่มีหลักฐานว่าการฉีดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าร่างกายมีความปลอดภัย จะเหมาง่ายๆว่ามันเป็นของมีในร่างกายอยู่แล้วฉีดเข้าไปได้นั้นไม่ใช่วิธีประเมินทางวิทยาศาสตร์ ยกตัวอย่างง่ายๆก๊าซออกซิเจนก็มีอยู่ในร่างกาย แต่ยังทำให้เด็กตาบอดได้เลย เป็นต้น ความปลอดภัยต้องมาจากการวิจัยเปรียบเทียบระหว่างฉีดกับไม่ฉีดเท่านั้น จะมั่วนิ่มสรุปลอยๆขึ้นมาไม่ได้
5. เมื่อเดือนกค. 52 ภาคีแพทย์เพื่อความปลอดภัยในการฉีดสารเพื่อการรักษาในอเมริกาและแคนาดา (The Physicians Coalition for Injectable Safety) ได้ออกโรงเตือนผู้ป่วย [1] ว่าการฉีดคาร์บอกซี่ไม่ใช่สิ่งที่ FDA อนุมัติและไม่มีหลักฐานเรื่องความปลอดภัย ทั้งยังแนะนำให้ผู้ป่วยถามหมอสามคำถามก่อนฉีดว่า (1) สิ่งที่จะฉีดให้นี้หมอแผนปัจจุบันทั่วไปและสถานพยาบาลมาตรฐานที่มีอุปกรณ์ครบถ้วนเขาฉีดรักษาเรื่องนี้กันหรือเปล่า (2) สิ่งที่จะฉีดให้นี้ FDA อนุมัติให้ฉีดได้โดยปลอดภัยหรือเปล่า (3) คุณหมอได้บอกทางเลือกในการรักษาอื่นๆเพื่อรักษาเรื่องเดียวกันโดยบอกความเสี่ยงและประโยชน์ของทางเลือกครับถ้วนหรือเปล่า รวมทั้งความเสี่ยงการมีอุปกรณ์เครื่องมือช่วยชีวิตในสถานพยาบาลไม่ครบในกรณีเกิดอะไรขึ้น
6. การฉีด carboxy เข้าร่างกายไม่ใช่การทำเวชปฏิบัติ ไม่ใช่การรักษาโรค ไม่ใช่กิจของแพทย์ ผิดกฎหมายพรบ.ประกอบวิชาชีพเวชกรรม และผิดหลักจริยธรรมวิชาชีพแพทย์ แต่คุณอย่าถามนะครับว่าแล้วทำไมเขายังทำกัน
เอาละผมพล่ามข้อมูลที่ผมอยากพล่ามไปแล้ว คราวนี้มาตอบคำถามของคุณทีละข้อ
1. การฉีด carboxy มีผลกับการให้นมลูกมั๊ย ตอบว่าวงการแพทย์ยังไม่ทราบ เพราะไม่มีการวิจัย และที่แอบๆฉีดกันอยู่ก็ยังไม่มีเรื่องแดงขึ้นมา
2. เมื่อฉีดไปแล้ว ก๊าซอยู่ในร่างกายจะส่งผลอะไรกับน้ำนมหรือเปล่า ตอบว่าไม่มีใครทราบเช่นเดียวกันครับ ใครที่กล้าบอกว่าปลอดภัยโดยไม่มีหลักฐานรองรับนั้น เขาโกหกแน่นอน
3. อีกอย่างคือ ผ่าคลอดมาค่ะ สามารถฉีดได้หรือเปล่า ตอบว่า อีกนั่นแหละครับ ผลของการฉีดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อแผลผ่าตัดก็ยังไม่มีใครทราบ ทราบแต่ว่าไม่มีหลักฐานว่ามันปลอดภัย
4. โพสถามตามบอร์ดของคลีนิค ก็ตอบว่าทำได้ แต่ไม่แน่ใจ กลัวว่าเค้าอยากจะขายของอย่างเดียว เลยมาคุณหมอถามในนี้ดีกว่า อันนี้ผมขอตอบว่าแหล่งข้อมูลด้านสุขภาพนี้จะมาจากไหนไม่สำคัญหรอกครับ แต่ขอให้บอกประเด็นสำคัญอันได้แก่ (1) หลักฐานงานวิจัยรองรับ ซึ่งต้องเป็นงานวิจัยที่มีลำดับชั้นของหลักฐานสูง เช่นวิจัยแบบสุ่มตัวอย่างเปรียบเทียบ เป็นต้น และต้องเป็นงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ที่เชื่อถือได้ ไม่ใช่พิมพ์ในจดหมายข่าวของบริษัทเครื่องมือ (2) หลักฐานการรับรองความปลอดภัยจากองค์กรที่มีหน้าที่ดูแลโดยตรง ซึ่งในกรณีของอาหารและยาก็ต้องมีคำรับรองของ FDA (3) ถ้าคนพูดมีผลประโยชน์คาบเกี่ยวกับเรื่องที่พูด ต้องด้วยว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนอยู่อย่างไร เขาเรียกว่าการ declare conflict of interest ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลของการให้ข้อมูลวิทยาศาสตร์ที่ทำกันทั่วโลก ข้อมูลจากไหนก็ตาม ถ้ามีองค์ประกอบทั้งสามอย่างนี้ครบ ก็เป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้ครับ
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. Carboxytherapy and Mesotherapy Unproven, Physician Group urges consumers to be aware of non-approved cosmetic injections. Accessed at http:// www. injectablesafety. org/ media/ news_release/31, on December 10, 2009.
ความคิดเห็น