นพ.สันต์ พูดทางบุญนิยมทีวี.เรื่องสถานการณ์การแพทย์และสังคมหลังโควิด19
เมื่อวันที่ 7 มิย. 63 นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ให้สัมภาษณ์ทางทีวีบุญนิยม โดยมีนพ.วีรพงศ์ ไชยภักดิ์ เป็นพิธีกร บทความนี้ตัดตอนมาจากคำสัมภาษณ์
นพ. วีรพงศ์
ขอให้อัพเดทภาพรวมสถานะการณ์โควิด19 ว่าบ้านเราเป็นอย่างไร รอบบ้านเป็นอย่างไร
นพ. สันต์
ถ้าเปรียบเป็นการชกมวย ยกแรกเราก็ชนะคะแนนแล้วอย่างขาวสะอาด กรรมการทุกคนให้คะแนนเราชนะเป็นเอกฉันท์ แต่ว่ามวยเขาไม่ได้ชกกันยกเดียวนะ เราประสบความสำเร็จในยุทธศาสตร์ suppression คือกดโรคหรือการล็อคดาวน์ แต่ว่าเรากำลังจะต่อยในยกสอง ด้วยยุทธศาสตร์ที่เขาเรียกกันว่า mitigation คือยุทธศาสตร์ยั้งโรค แบบว่าปล่อยแล้วดูเชิง ถ้ากลับมากขึ้นมาอีกก็กด ถ้าน้อยลงก็ปล่อย กดๆ ปล่อยๆ จนกว่าจะมีวัคซีน สาระของยกที่สองมีแค่นี้ เพราะวิธีการทางด้านการแพทย์ก็มีสาระอยู่แค่นี้ไม่ได้ซ้บซ้อน แต่เศรษฐกิจสังคมเป็นอีกเรื่องหนึ่งนะ แถมมันยังอาจจะมียกที่สาม คือถ้าหากสองปีผ่านไปแล้วก็ยังไม่มีวี่แววว่าจะมีวัคซีน เพราะอย่าลืมว่าวัคซีนเอดส์ วัคซีนไข้เลือดออกผ่านไปสี่สิบปีแล้วก็ยังไม่มีวัคซีนนะ ถ้าไม่มีวัคซีนโควิด19 นั่นหมายความว่าเราถูกบังคับให้เปลี่ยนไปใช้ยุทธศาสตร์ปล่อยโรคหรือ unmitigated แล้วเราจะปล่อยอย่างไร แต่นั้นเอาไว้ก่อนเถอะ อย่าเพิ่งไปยกที่สามเลย เราเพิ่งจะขึ้นต่อยในยกที่สอง แค่นี้ก็หนักแล้ว
นพ. วีรพงศ์
ลองวิเคราะห์หน่อยได้ไหม ทำไมประเทศอื่นเขาแย่ แต่ของเราทำได้ดี เป็นเพราะว่าผู้นำของเราเชื่อฟังหมอหรือเปล่า
นพ. สันต์
ตรงนั้นก็สำคัญอยู่ แต่ไม่สำคัญมาก ประเด็นที่สำคัญที่สุดคือ อันนี้พูดถึงแต่เรื่องในวงการแพทย์นะ ในเรื่องโควิด19 นี้เป็นครั้งแรกที่วงการแพทย์ไทยตัดสินใจโดยไม่ตามก้นฝรั่ง แต่ก่อนการจัดการโรคโดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเราทำทุกอย่างตามก้นฝรั่งหมด เราทุ่มเงินเปิดศูนย์หัวใจสิบกว่าแห่ง ทำบอลลูนฟรี ทำผ่าตัดบายพาสฟรี ให้ยารักษาฟรี แต่อัตราตายของคนเป็นโรคหัวใจเพิ่มขึ้น คือฝรั่งล้มเหลวอย่างไรเราก็ล้มเหลวอย่างนั้น
แต่เรื่องโควิด19 นี้เป็นครั้งแรกที่เราใช้นโยบายไม่ตามก้นฝรั่ง ฝรั่งใช้นโยบายปล่อยโรคคือ unmitigated บ้าง ยั้งโรคหรือ mitigated บ้าง แต่เราใช้นโยบาย suppression เราประสบความสำเร็จ แต่ฝรั่ง...
นพ. วีรพงศ์
แย่...
นพ. สันต์
ใช่.. ฉนั้นความสำเร็จครั้งนี้มันอยู่ที่ยุทธศาสตร์ที่เราเลือกใช้ พูดมาถึงตรงนี้ขอนอกเรื่องหน่อยนะ มันคันปาก โควิดไม่ใช่เรื่องใหญ่นะ ในเรื่องปัญหาสุขภาพและอัตราตายของผู้คนในเมืองไทย เรื่องใหญ่คือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และยุทธศาสตร์ของเราก็ "ผิด" คือทุกวันนี้เราไปตามก้นฝรั่งไปเน้นการใช้ยาและเทคโนโลยี เน้นการทำบอลลูน ทำบายพาส แต่โรคไม่ติดต่อเรื้อรังวิธีเหล่านี้ไม่ได้ทำให้โรคหาย หลักฐานวิทยาศาสตร์มันก็มากเกินพอแล้วที่จะบอกว่าวิธีเหล่านี้ไม่ได้ทำให้โรคหาย แต่เราก็ลุยถั่วตามฝรั่งไปอยู่นั่นแหละ ลุยไปอย่างไม่รู้ว่าจะหยุดกันเมื่อไหร่
ส่วนวิธีที่จะทำให้โรคหายก็คือการกิน การอยู่ การปรับวิธีใช้ชีวิต เราไม่เคยให้ความสนใจเลย ทีผมตั้งศูนย์เวลเนสวีแคร์นี้ขึ้นมาก็เพื่อให้คนหันมาสนใจปรับวิธีใช้ชีวิต แต่มันก็มีผลในวงจำกัด นี้ด..ด เดียว
นพ. วีรพงศ์
ก็ไม่เป็นไรครับ มันกำลังจะเกิด new normal ขึ้นมาละ อาจารย์พูดขึ้นมาแล้วผมขอออกความคิดเห็นหน่อย คันปากอยู่เหมือนกัน ฮะ ฮะ ฮะ คือแพทย์เราถูกสอนมาให้ตั้งรับ คือการรักษา เราไม่ได้ถูกสอนให้ป้องกัน อย่างโภชาการผมยังจำไม่ได้เลยว่ามันมีในหลักสูตรตอนผมรียนหรือเปล่า เมื่อเราไม่ถนัด จะแนะนำคนไข้ก็กระดากปาก แต่เราจะเอาเรื่องการป้องกันไปโยนให้ใครละ ในเมื่อในกระทรวงสาธารณสุข ไม่ว่าจะกรมกองไหน ผู้เป็นใหญ่ต้องเป็นแพทย์หมด เราก็เลยย้ำกันอยู่แต่เทคโนโลยีการรักษา ขยายโรงพยาบาลให้รับผู้ป่วยได้มากขึ้น สมัยผมไปฝึกงานจุฬาตึกมีสองชั้น เดี๋ยวนี้มียี่สิบชั้น ศิริราช รามา ขยายกันจะไม่เหลือที่่ว่าง หมายความว่ายังไง หมายความว่าคนป่วยมากขึ้น ถูกไหม ผมเห็นด้วยว่าเรากำลังหลงทางไปแล้ว
นพ.สันต์
ใช่ ยุทธศาสตร์ของเราผิด เราไม่สันทัดในการใช้ตัวชี้วัดที่เหมาะสม ในทางการแพทย์ตัวชี้วัดปลายทางคืออัตราตาย เอาง่ายๆโควิด19 นี่แหละ ตัวชี้วัดคืออัตราตาย ประสิทธิภาพก็คือการที่เราใช้เงินน้อยแล้วลดอัตราตายได้มาก โควิด 19 เราใส่เงินเข้าไปน้อยแต่ลดอัตราตายได้มาก เราประสบความสำเร็จในโควิด19 เพราะยุทธศาสตร์ของเราถูก แต่โรคไม่ติดต่อเรื้อรังยุทธศาสตร์ของเราผิด แล้วเราจะสิ้นเนื้อประดาตัวกับยุทธศาสตร์ที่ผิดๆนี้ โดยที่ยังไม่มีวี่แววว่าเราจะหันมาหายุทธศาสตร์ที่ถูกต้องเลย
นพ.วีรพงศ์
อาจารย์คิดว่ามีทางออกอย่างไร new normal ครั้งนี้จะกระตุกให้กลับมาได้ไหม
นพ.สันต์
องค์ประกอบที่ทำให้เราดุ่ยๆไปกับยุทธศาสตร์ที่ผิดอย่างเหนียวแน่นนี้มันมีอยู่สามองค์ประกอบนะ
อย่างที่หนึ่ง ก็คืออุตสาหกรรมการแพทย์ ซึ่งประกอบกันเข้าลงตัวแบบผีกับโลงเลยทีเดียว ฮะ ฮะ ฮะ คือลงตัวดีมาก ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ ไม่ว่าจะบริษัทยา บริษัทเครื่องมือ แพทย์ โรงพยาบาล
อย่างที่สอง คือตัวแพทย์เองที่ด้านหนึ่งได้รับการศึกษามาอย่างที่อาจารย์ว่าอีกด้านหนึ่งก็ไปลงตัวกับอุตสาหกรรมการแพทย์
อย่างที่สาม ซึ่งสำคัญที่สุดก็คือคนไข้ ซึ่งเขาไม่รู้และไม่เชื่อว่าเขามีศักยภาพและมีอำนาจที่จะดูแลตัวเขาเองได้ จะพลิกผันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของเขาเองได้ สามอย่างนี้ประกอบกันเข้า เราจึงไปไหนไม่รอด ตัวผมเองพยายามมาทำในส่วนที่สาม คือพยายามให้คนไข้เขารู้และเข้าใจว่าเขาดูแลตัวเขาเองได้ เขามีอำนาจ มีศักยภาพที่จะทำได้ แล้วเทคโนโลยีใหม่ๆมันก็ยิ่งเอื้อ
ผมเชื่อว่าถ้ายุทธศาสตร์ของชาติเปลี่ยน ทั้งสามองค์ประกอบนี้เปลี่ยนได้ มองย้อนไปในอดีตห้าสิบปีมานี้ การเปลี่ยนยุทธศาสตร์สำคัญในทางการแพทย์มีสองครั้ง ครั้งแรกคือเมื่อเราเริ่มระบบสามสิบบาท ครั้งที่สองคือเมื่อเราทำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหรือรพ.สต.ซึ่งผมอสม.ร่วมเป็นส่วนหนึ่งด้วย การเปลี่ยนแปลงทั้งสองครั้งเกิดขึ้นเพราะการเปลี่ยนนโยบายของชาติ มาถึงรอบโควิด19 นี้ผมว่ามันน่าจะเป็นโอกาสที่เราจะลงมือเปลี่ยนยุทธศาสตร์ด้านการแพทย์ของชาติที่มันไปผิดทางนี้เสียเลย ถ้าไม่รอยุทธศาสตร์ชาติ ก็ควรจะไปเริ่มที่ชุมชน คนที่ดูทีวีบุญนิยมนี้มีจำนวนมากที่เป็นผู้บริหารรัฐบาลท้องถิ่น ผมขอฝากไว้เสียเลย เช่นหมู่บ้านสุขภาพ ตำบลสุขภาพ หรือเมืองสุขภาพ ถ้ามันมีขึ้นมาสักที่หนึ่งให้เป็นตคัวอย่างมันจะเจ๋งมาก มันจะยกแผ่นดินนี้ให้สูงขึ้นทันที
นพ.วีรพงศ์
ของเรา พ่อท่านเองก็ทำมาตลอดนะ แต่การสร้างชุมชนมันไม่ใช่เรื่องง่าย พระพยอมเคยไปดูที่ปฐมอโศกแล้วกลับมาจะสร้างเป็นชุมชนในอุดมคติขึ้นมา มีที่ดิน สร้างที่พักอาศัย อยู่กันอย่างสบาย ประกฎว่าไม่ได้เพราะทะเลาะกัน ไม่ใช่ว่าปฐมอโศกหรือบ้านราชธานีอโศกไม่ตีกันนะ ก็ตีก้นหนักเหมือนกัน แต่ว่าตีกันระดับคนมีศีล คืออย่างดีก็ใช้หอกปาก เพราะว่าทุกคนมีกิเลส มีมากก็ตีกันมาก กว่าจะรวมกันมาเป็นอย่างวันนี้ได้ คือเป็นชุมชนที่ใช้เป็นโมเดลได้ นี่ก็เป็นตัวอย่างของ new normal ซึ่งว่าจริงๆแล้วพระพุทธเจ้าทำมาก่อนแล้ว ของเรานี้พ่อท่านก็พาทำมาสี่สิบปีแล้ว
พ่อท่านใช้ยุทธศาสตร์ที่เรียกว่าบุญญาวุธ 7 หมายเลข ประกอบด้วย คือ
(1) สุขภาพบุญนิยม ซึ่งมี 8 อ. คือ อาหาร อากาศ ออกกำลังกาย อารมณ์ เอนกาย เอาพิษออก อาชีวะ และอิทธิบาทสี่ ซึ่งทั้งหมดนี้ก็คือการป้องกันโรคทางกายทางใจทั้งสิ้น
(2) ตลาดอาริยะ คือเป็นการค้าขายแบบบุญนิยม คือเท่าทุน หรือต่ำกว่าทุน หรือแจกฟรี กำไรไม่เอา เป็นรูปแบบของการปฏิบัติธรรมที่ได้ทั้งประโยชนตนประโยชน์ท่าน คนซื้อได้ของดี คนขายได้ลดความโลภ
(3) กสิกรรมไร้สารพิษ เป็นหนึ่งในสามอาชีพกู้ชาติ หรือกู้โลก คือกสิกรรมไร้สารพิษ การจัดการขยะ และการผลิตปุ๋ยสอาด
(4) การศึกษาบุญนิยม เรามีโรงเรียนซึ่งกำลังขยายไปถึงปวช. ปวส. เป็นคนละขั้วกับการศึกษาทุนนิยม บุญนิยมคือหล่อหลอมให้คนเรียนเป็นคนมีคุณภาพ เอาให้ตัวเองน้อย เผื่อแผ่เยอะ ตัวเองเสพย์ปัจจัยสี่แค่ ข้าว ผ้า ยา บ้าน ก็พอแล้ว หากมีศักยภาพจะผลิตมากกว่านี้ก็แจกจ่ายเจือจานให้สังคม จึงอยู่กับโลกได้โดยไม่ได้ขัดแย้งกับโลกเขา
(5) (ศิลปะ วิทยาศาสตร์ บุญนิยม)
(6) สื่อสารบุญนิยม ก็คือการเผยแพร่ธรรมะ และแนวทางดำเนินชีวิตแบบนี้ เราประกอบอาชีพจัดการขยะได้เงินมาก็เอาเงินมาทำสถานีโทรทัศน์ เน้นเรื่องที่เป็นประโยชน์กับมนุษยชาติ
(7) การเมืองบุญนิยม ซึ่งก็คือการเมืองผ่านพรรคพลังธรรมในอดีต แต่ต้องเลิกราไปเพราะถูกรุมยำ
ที่พูดมาทั้งหมดนี่แหละคือที่ผมเห็นว่าเป็นทางไปของ new normal
นพ.สันต์
ผมก็เพิ่งได้ยินนะ ทั้งๆที่มาสันติอโศกตั้งหลายครั้งแล้ว อะไรนะ บุญญาวุธเจ็ดหมายเลข ผมเห็นด้วย ในแง่ที่จะรับมือกับระยะหลังโควิด19 นี่ใช่เลย เข้าท่าดีมาก
คำว่า new normal ที่อาจารย์พูดถึง เอาแคบเข้ามาเฉพาะเรื่องสุขภาพก่อนนะ อะไรที่เรียกว่า new คือโควิด19 เป็นแค่หนึ่งตัวอย่างของสิ่งใหม่ๆที่จะทะยอยเปลี่ยนหน้ากันเข้ามา นั่นคือบรรดาโรคอุบัติใหม่ทั้งหลาย เพราะมนุษย์เราเพิ่มจำนวนขึ้นมาจนถึงจุดที่มีจำนวนมากเกินไปแล้ว เราไปเบียดสัตว์อื่นให้ไม่มีที่อยู่และล้มตายไป พวกจุลชีวิตเช่นแบคทีเรียและไวรัสจากสัตว์มันไม่มีที่สิงอยู่มันก็ย้ายจากร่างกายสัตว์มาอยู่กับคน อย่าลืมว่าโรคเด็ดๆที่เราเคยได้มาล้วนได้มาจากสัตว์ทั้งสิ้น เราได้โรคหวัดมาจากม้า, ได้โรคเรื้อนมาจากควาย ได้วัณโรคมาจากวัว ได้ไอกรนมาจากหมู ได้ไข้หวัดใหญ่มาจากเป็ด ได้งูสวัดมาจากไก่ ได้ซาร์ส์มาจากนก ได้อีโบล่ามาจากลิง และโควิด19 นี่เราน่าจะได้มาจากค้างคาว เพราะฉนั้นมันยังจะมีโรคอุบัติใหม่อีกหลายโรคที่ต่อคิวย้ายวิกจากสัตว์มาระบาดในมนุษย์
อีกเหตุหนึ่งที่โรคอุบัติใหม่จะมากขึ้นก็คืออุณหภูมิของโลกนี้มันสูงขึ้นไวรัสหรือแบคทีเรียชนิดที่ถูกแช่แข็งนิ่งๆในความเย็นมันคงจะเริ่มจะได้อุณหภูมิเหมาะต่อการแพร่พันธุ์ ราวกับสะเปิร์มที่ถูกแช่แข็งไว้เป็นร้อยปีแล้วถูกอุ่นขึ้น มันก็จะทยอยกันออกมาหาร่างกายสัตว์เพื่อสิงสู่อยู่กิน แล้วมนุษย์ก็เผอิญเป็นสัตว์ชนิดที่หาตัวได้ง่ายที่สุดเสียด้วย การที่ผู้คนสมัยนี้อยู่กันอย่างแออัดยัดเยียดเหมือนปลวกอยู่ในรังก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่จะทำให้โรคอุบัติใหม่แพร่กระจายในหมู่มนุษย์ได้ง่ายและเร็ว
เมื่อโรคอุบัติใหม่ดาหน้าเข้ามา ชีวิตจากนี้ไปความสำคัญจึงไปตกที่การดูแลตัวเองให้มีภูมิคุ้มกันต่อโรค ซึ่งสิงที่พึงทำก็คือ
(1) การกินอาหารที่ดี ซึ่งก็คืออาหารที่มีสัดส่วนของพืชที่มากและหลากหลาย ทั้งผัก ผลไม้ ถั่ว นัท และเมล็ดต่างๆ ในรูปแบบที่ไม่ขัดสีหรือในรูปแบบใกล้เคียงธรรมชาติ ให้พลังงานส่วนใหญ่มาจากพืชแทนที่จะมาจากเนื้อสัตว์ อาหารพืชที่หลากหลายให้วิตามินซี. วิตามินอี. และธาตุสังกะสี สารต้านอนุมูลอิสระต่างๆ ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของระบบภูมิคุ้มกัน
(2) การนอนหลับ เพราะมีงานวิจัยความสัมพันธ์ที่แน่ชัดระหว่างการนอนหลับที่พอเพียงกับการมีภูมิคุ้มกันโรคที่ดี
(3) การออกแดดและใช้ชีวิตกลางแจ้ง เพราะแดดทำให้ร่างกายได้รับวิตามินดี.ซึ่งเป็นตัวสำคัญในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันอีกตัวหนึ่ง มีงานวิจัยที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างการมีวิตามินดี.ต่ำกับการติดเชื้อทางเดินลมหายใจมากขึ้น และงานวิจัยใหม่เกี่ยวกับคนตายด้วยโรคโควิด19 ก็พบว่าคนที่มีระดับวิตามินดี.ในเลือดต่ำจะตายจากโรคโควิดมากกว่าคนมีวิตามินดีในเลือดปกติ
แดดยังมีคุณอีกอย่างหนึ่งคือมันทำให้นอนหลับดีขึ้น งานวิจัยแบบแบ่งกลุ่มเปรียบเทียบที่ทำกับคนชราในเนอร์สซิ่งโฮมให้คำตอบที่ชัดเจนว่าคนชราที่ได้ออกไปตากแดดทุกวันจะมีการนอนหลับที่ดีกว่าคนชราที่ไม่ได้ออกไปตากแดด
ในแง่ของการติดเชื้อ แดดและการทำงานหรือออกกำลังกายกลางแจ้งเป็นตัวช่วยเพิ่มอุณหภูมิร่างกายให้สูงขึ้น ซึ่งเป็นอีกปัจจัยสำคัญในการกำจัดเชื้อโรคโดยเฉพาะอย่างยิ่งไวรัสทางเดินลมหายใจออกไปจากร่างกาย
(4) การออกกำลังกาย นี่เป็นของแน่อยู่แล้ว ทุกคนรู้ว่าการออกกำลังกายทำให้ร่างกายแข็งแรง ทำให้จิตใจดีมีชีวิตชีวา ทำให้ภูมิต้านทานโรคดีขึ้น ทุกคนรู้ แต่ปัญหากลับอยู่ที่รู้แล้วไม่ทำ คือคนส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ออกกำลังกาย แม้จะมีเวลาว่างมากก็ตาม
(5) ในกรณีที่ร่างกายมีความเสี่ยงต่อการขาดวิตามินบางตัว เช่นเมื่อไม่ได้ออกแดดหรือออกแดดไม่ได้ร่างกายก็เสี่ยงต่อการขาดวิตามินดี. หรือเมื่อมีหลักฐานจากการเจาะเลือดว่าระดับวิตามินดีต่ำกว่าปกติ ควรจะทดแทนด้วยวิตามินดีชนิดกิน ในกรณีที่มีเหตุให้กินอาหารไม่ได้ ก็ควรกินวิตามินแร่ธาตุรวมชนิดเม็ดเสริมไปด้วยจนกว่าจะกลับมากินอาหารได้ตามปกติ
(6) ความเครียด หรือการที่ร่างกายต้องอยู่ในสภาพถูกคุกคามนานเกินไป เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันหมดแรง ดังนั้นการจะมีภูมิคุ้มกันดีก็ต้องจัดการความเครียดให้ดี
นพ.วีรพงศ์
ในแง่สุขภาพเราคุยกันถ้วนถี่ดีแล้ว ในแง่ของเศรษฐกิจสังคมละ อาจารย์มองทางออกว่าอย่างไร
นพ.สันต์
ผมแยกคนที่ถูกกระทบออกเป็นสี่กลุ่มนะ
กลุ่มที่ 1. คือคนตกงาน ที่มีรากมาจากชนบท ครอบครัวยังมีที่ดินเป็นของตนเอง วิธีแก้ปัญหาก็คือกลับไปบ้านที่ชนบท ไปปลูกบ้านแบบง่ายๆอยู่ในที่ดินของตนเอง ถ้าไม่มีที่ดินและอยู่ในวิสัยที่จะซื้อหาหรือเช่าได้ก็หาที่ดินสักงานสองงานก็พอแล้ว พยายามใช้ที่ดินรอบๆบ้านผลิตอาหารกินเองให้ได้มากที่สุด เป้าหมายคือพออยู่พอกิน อย่าไปหวังสร้างอาชีพจากเกษตรกรรม ให้ทำการเกษตรแบบวิถีชีวิต คือทำเพื่อให้ชีวิตมีคุณภาพ มีความสุข ได้กินบ้าง ส่วนที่ขาดก็อาจจะต้องอาศัยสะแตมป์อาหาร (ซึ่งผมคาดว่าในอนาคตจะมีให้) หรือเงินเยียวยาจากรัฐบ้าง
กลุ่มที่ 2. คือคนตกงานที่ไร้ที่อยู่ ไม่มีที่ดินของตนเอง และไม่มีปัญญาจะหาที่ดินเป็นของตัวเองไว้ซุกหัวนอนหรือปลูกอยู่ปลูกกินได้ไม่ว่าจะเช่าหรือซื้อที่แค่งานครึ่งงานก็ตาม กลุ่มนี้เป็นกลุ่มใหญ่มาก เพราะคนไทยนี้ตามสถิติของกรมที่ดิน ครัวเรือนที่ถือโฉนดมีที่ดินเป็นของตัวเองมีเพียง 25% เท่านั้นเอง อีก 75% ไม่มีที่ดินเป็นของตัวเอง กลุ่มนี้ทางเลือกในช่วงวิกฤติที่หางานทำไมได้นี้ ไม่มีทางอื่นเลยนอกจากรอการเยียวยาจากรัฐหรือจากกลุ่มคนที่เขามีจะกินเท่านั้นเอง หากการเยียวยาหรือการแบ่งปันไม่ทั่วถึง มันก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเกิดการลุกฮือกันขึ้นมาพร้อมๆกันทั่วประเทศหากภาวะตกงานไม่มีที่อยู่ที่กินนี้ยืดออกไปหลายปี
กลุ่มที่ 3. คือคนที่มีงานที่มั่นคงหรือมีเงิน เช่นข้าราชการหรือคนที่มีเงินหรือทรัพย์ในรูปแบบต่างๆเก็บออมไว้แล้วพอสมควร กลุ่มนี้ชีวิตส่วนตัวเขาไม่ได้มีปัญหาอะไร แต่การที่เขาจะใช้ชีวิตอย่างไรเป็นตัวกำหนดความอยู่รอดของสังคมไทยของเราในอนาคตด้วย คือเราจะรอดจากวิกฤติครั้งนี้ถ้าคนที่มีแบ่งปันเอื้ออาทรให้คนที่ไม่มี
กลุ่มที่ 4. คือคนที่มีหน้าที่บริหารจัดการสังคม เช่นรัฐบาล ไหนๆพูดกับอาจารย์แล้วผมก็ขอฝากไปถึงลุงตู่ซะเลย อย่างน้อยสิ่งที่ผมเห็นว่าจำเป็นคือการที่จะต้องลงมือปฏิรูปที่ดินหรืออย่างน้อยก็จัดสรรที่ดินให้ครัวเรือนที่ตกงานและไม่มีที่อาศัยไม่มีที่ซุกหัวนอน ครัวเรือนละงานสองงานก็ยังดี
ผมมองว่าการที่คนเราจะอยู่รอดต้องมีอาหารมีที่ซุกหัวนอน การจะผลิตอาหารเองได้ต้องมีที่ดินบ้าง ยี่สิบสามสิบวาก็ยังดีกว่าไม่มีเลย สมัยผมเป็นหมอหนุ่มๆอยู่บ้านพักแพทย์มีที่ว่างราวสี่ตารางวาผมก็ปลูกผักพอกินกันสามคนพ่อแม่ลูกไปตลอดปี การปฏิรูปที่ดินจึงเป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วน ปัจจุบันนี้ที่ดินทำเกษตรที่มีอยู่ทั้งหมด 149 ล้านไร่นั้น 80% อยู่ในมือของเจ้าที่ดินเพียง 5% เท่านั้นเอง ความพิกลพิการของการถือครองที่ดินแบบนี้มันต้องได้รับการแก้ไข มิฉะนั้นมันจะเป็นเหตุให้สังคมของเราล่มสลาย เพราะคนไร้ที่อยู่และไม่มีจะกินซึ่งกลายเป็นคนส่วนใหญ่จะพากันลุกฮือขึ้นพร้อมกันทั่วประเทศ ถึงตอนนั้นอะไรที่เราไม่เคยคิดว่าจะเกิดขึ้นในสังคมของเราก็จะเกิดขึ้นได้
นพ.วีรพงศ์
คิดว่าต้องใช้เวลานานเท่าไหร่ จะทันกับโควิด19 ไหม
นพ.สันต์
อาจารย์วีรพงศ์ ถ้าจะทำจริงๆก็สามวันก็ทำได้ เพราะคนที่ตกงานแบบยากจนและไร้ที่ทำกิน คือไม่มีที่ดินนะ มีประมาณ 2 ล้านครัวเรือน ครัวเรือนนะ ไม่ใช่คน ถ้าหาที่ให้ครัวเรือนละหนึ่งงาน ก็ใช้ที่แค่ห้าแสนไร่ ที่ดินทำเกษตรของเรามี 149 ล้านไร่ ที่อยู่ในความดูแลของหน่วยงานของรัฐก็แยะ คนธรรมดาก็แยะ แค่นามสกุลเดียวก็มีที่ดินในครอบครองห้าแสนกว่าไร่แล้ว อีกนามสกุลหนึ่งมีสองแสนกว่าไร่ นี่ว่าตามข้อมูลของสำนักปฏิรูปที่ดินนะ ถ้าจะทำจริงเราทำได้เลย ถ้าเกรงใจคนรวยก็กู้เงิน IMF หรือออกพันธบัตรซื้อที่ดินจากคนรวยมาแจกคนจนก็ได้ เช่าก็ได้ สังคมไทยมีพื้นฐานแน่นหนาอีกอย่างหนึ่งก็คือความเอื้ออาทร เพราะรากของเราคือศาสนาพุทธ ขอให้มีเจ้าภาพจัดแจงให้มันลงตัวแค่นั้นแหละ
นพ.วีรพงศ์
แล้วจะไม่มีปัญหาบางคนทำเกษตรไม่เป็นหรือ
นพ.สันต์
เกษตรกรรมเป็นดีเอ็นเอของคนไทย ถ้าอาจารย์เอาไส้เดือนที่เลี้ยงไว้ในลิ้นชักเป็นเวลานานไปปล่อยลงดิน อาจารย์จะกังวลไหมว่าไส้เดือนนั้นจะหลงทาง ไม่ใช่ไหมครับ เพราะการอยู่ในดินเป็นดีเอ็นเอของไส้เดือน
แล้วประเด็นที่ว่าจะไม่มีน้ำ จะทำอะไรได้ เมืองไทยเรานี้เป็นเขตมรสุม เราได้น้ำจากฝนปีละอย่างน้อยก็ 1000 มม.ซึ่งเป็นปริมาณที่แยะมาก แล้วที่พระเจ้าอยู่หัวร.เก้าสอนกี่เรื่องกี่เรื่องก็วนเวียนอยู่กับการเก็บเกี่ยวน้ำฝนไว้ใช้ ไม่ว่าจะเป็นคลองไส้ไก่ หลุมขนมครก การห่มดิน การขุดสระ ก็เพื่อใช้ประโยชน์จากน้ำฝนให้เต็มเม็ดเต็มหน่วยทั้งสิ้น ดังนั้นเอาจริงๆแล้วมันทำได้ ขอให้มีที่ดินเหอะ แล้วเดี๋ยวทุกอย่างจะค่อยๆลงตัวเอง ในระหว่างที่ยังไม่ลงตัวก็ยาไส้กันไปด้วยสะแตมป์อาหารหรือเงินชดเชยไปก่อน ซึ่งนั่นก็เป็นสิ่งที่ต้องทำอยู่แล้ว
นพ.สันต์ ใจยอดศฺิลป์
นพ. วีรพงศ์
ขอให้อัพเดทภาพรวมสถานะการณ์โควิด19 ว่าบ้านเราเป็นอย่างไร รอบบ้านเป็นอย่างไร
นพ. สันต์
ถ้าเปรียบเป็นการชกมวย ยกแรกเราก็ชนะคะแนนแล้วอย่างขาวสะอาด กรรมการทุกคนให้คะแนนเราชนะเป็นเอกฉันท์ แต่ว่ามวยเขาไม่ได้ชกกันยกเดียวนะ เราประสบความสำเร็จในยุทธศาสตร์ suppression คือกดโรคหรือการล็อคดาวน์ แต่ว่าเรากำลังจะต่อยในยกสอง ด้วยยุทธศาสตร์ที่เขาเรียกกันว่า mitigation คือยุทธศาสตร์ยั้งโรค แบบว่าปล่อยแล้วดูเชิง ถ้ากลับมากขึ้นมาอีกก็กด ถ้าน้อยลงก็ปล่อย กดๆ ปล่อยๆ จนกว่าจะมีวัคซีน สาระของยกที่สองมีแค่นี้ เพราะวิธีการทางด้านการแพทย์ก็มีสาระอยู่แค่นี้ไม่ได้ซ้บซ้อน แต่เศรษฐกิจสังคมเป็นอีกเรื่องหนึ่งนะ แถมมันยังอาจจะมียกที่สาม คือถ้าหากสองปีผ่านไปแล้วก็ยังไม่มีวี่แววว่าจะมีวัคซีน เพราะอย่าลืมว่าวัคซีนเอดส์ วัคซีนไข้เลือดออกผ่านไปสี่สิบปีแล้วก็ยังไม่มีวัคซีนนะ ถ้าไม่มีวัคซีนโควิด19 นั่นหมายความว่าเราถูกบังคับให้เปลี่ยนไปใช้ยุทธศาสตร์ปล่อยโรคหรือ unmitigated แล้วเราจะปล่อยอย่างไร แต่นั้นเอาไว้ก่อนเถอะ อย่าเพิ่งไปยกที่สามเลย เราเพิ่งจะขึ้นต่อยในยกที่สอง แค่นี้ก็หนักแล้ว
นพ. วีรพงศ์
ลองวิเคราะห์หน่อยได้ไหม ทำไมประเทศอื่นเขาแย่ แต่ของเราทำได้ดี เป็นเพราะว่าผู้นำของเราเชื่อฟังหมอหรือเปล่า
นพ. สันต์
ตรงนั้นก็สำคัญอยู่ แต่ไม่สำคัญมาก ประเด็นที่สำคัญที่สุดคือ อันนี้พูดถึงแต่เรื่องในวงการแพทย์นะ ในเรื่องโควิด19 นี้เป็นครั้งแรกที่วงการแพทย์ไทยตัดสินใจโดยไม่ตามก้นฝรั่ง แต่ก่อนการจัดการโรคโดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเราทำทุกอย่างตามก้นฝรั่งหมด เราทุ่มเงินเปิดศูนย์หัวใจสิบกว่าแห่ง ทำบอลลูนฟรี ทำผ่าตัดบายพาสฟรี ให้ยารักษาฟรี แต่อัตราตายของคนเป็นโรคหัวใจเพิ่มขึ้น คือฝรั่งล้มเหลวอย่างไรเราก็ล้มเหลวอย่างนั้น
แต่เรื่องโควิด19 นี้เป็นครั้งแรกที่เราใช้นโยบายไม่ตามก้นฝรั่ง ฝรั่งใช้นโยบายปล่อยโรคคือ unmitigated บ้าง ยั้งโรคหรือ mitigated บ้าง แต่เราใช้นโยบาย suppression เราประสบความสำเร็จ แต่ฝรั่ง...
นพ. วีรพงศ์
แย่...
นพ. สันต์
ใช่.. ฉนั้นความสำเร็จครั้งนี้มันอยู่ที่ยุทธศาสตร์ที่เราเลือกใช้ พูดมาถึงตรงนี้ขอนอกเรื่องหน่อยนะ มันคันปาก โควิดไม่ใช่เรื่องใหญ่นะ ในเรื่องปัญหาสุขภาพและอัตราตายของผู้คนในเมืองไทย เรื่องใหญ่คือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และยุทธศาสตร์ของเราก็ "ผิด" คือทุกวันนี้เราไปตามก้นฝรั่งไปเน้นการใช้ยาและเทคโนโลยี เน้นการทำบอลลูน ทำบายพาส แต่โรคไม่ติดต่อเรื้อรังวิธีเหล่านี้ไม่ได้ทำให้โรคหาย หลักฐานวิทยาศาสตร์มันก็มากเกินพอแล้วที่จะบอกว่าวิธีเหล่านี้ไม่ได้ทำให้โรคหาย แต่เราก็ลุยถั่วตามฝรั่งไปอยู่นั่นแหละ ลุยไปอย่างไม่รู้ว่าจะหยุดกันเมื่อไหร่
ส่วนวิธีที่จะทำให้โรคหายก็คือการกิน การอยู่ การปรับวิธีใช้ชีวิต เราไม่เคยให้ความสนใจเลย ทีผมตั้งศูนย์เวลเนสวีแคร์นี้ขึ้นมาก็เพื่อให้คนหันมาสนใจปรับวิธีใช้ชีวิต แต่มันก็มีผลในวงจำกัด นี้ด..ด เดียว
นพ. วีรพงศ์
ก็ไม่เป็นไรครับ มันกำลังจะเกิด new normal ขึ้นมาละ อาจารย์พูดขึ้นมาแล้วผมขอออกความคิดเห็นหน่อย คันปากอยู่เหมือนกัน ฮะ ฮะ ฮะ คือแพทย์เราถูกสอนมาให้ตั้งรับ คือการรักษา เราไม่ได้ถูกสอนให้ป้องกัน อย่างโภชาการผมยังจำไม่ได้เลยว่ามันมีในหลักสูตรตอนผมรียนหรือเปล่า เมื่อเราไม่ถนัด จะแนะนำคนไข้ก็กระดากปาก แต่เราจะเอาเรื่องการป้องกันไปโยนให้ใครละ ในเมื่อในกระทรวงสาธารณสุข ไม่ว่าจะกรมกองไหน ผู้เป็นใหญ่ต้องเป็นแพทย์หมด เราก็เลยย้ำกันอยู่แต่เทคโนโลยีการรักษา ขยายโรงพยาบาลให้รับผู้ป่วยได้มากขึ้น สมัยผมไปฝึกงานจุฬาตึกมีสองชั้น เดี๋ยวนี้มียี่สิบชั้น ศิริราช รามา ขยายกันจะไม่เหลือที่่ว่าง หมายความว่ายังไง หมายความว่าคนป่วยมากขึ้น ถูกไหม ผมเห็นด้วยว่าเรากำลังหลงทางไปแล้ว
นพ.สันต์
ใช่ ยุทธศาสตร์ของเราผิด เราไม่สันทัดในการใช้ตัวชี้วัดที่เหมาะสม ในทางการแพทย์ตัวชี้วัดปลายทางคืออัตราตาย เอาง่ายๆโควิด19 นี่แหละ ตัวชี้วัดคืออัตราตาย ประสิทธิภาพก็คือการที่เราใช้เงินน้อยแล้วลดอัตราตายได้มาก โควิด 19 เราใส่เงินเข้าไปน้อยแต่ลดอัตราตายได้มาก เราประสบความสำเร็จในโควิด19 เพราะยุทธศาสตร์ของเราถูก แต่โรคไม่ติดต่อเรื้อรังยุทธศาสตร์ของเราผิด แล้วเราจะสิ้นเนื้อประดาตัวกับยุทธศาสตร์ที่ผิดๆนี้ โดยที่ยังไม่มีวี่แววว่าเราจะหันมาหายุทธศาสตร์ที่ถูกต้องเลย
นพ.วีรพงศ์
อาจารย์คิดว่ามีทางออกอย่างไร new normal ครั้งนี้จะกระตุกให้กลับมาได้ไหม
นพ.สันต์
องค์ประกอบที่ทำให้เราดุ่ยๆไปกับยุทธศาสตร์ที่ผิดอย่างเหนียวแน่นนี้มันมีอยู่สามองค์ประกอบนะ
อย่างที่หนึ่ง ก็คืออุตสาหกรรมการแพทย์ ซึ่งประกอบกันเข้าลงตัวแบบผีกับโลงเลยทีเดียว ฮะ ฮะ ฮะ คือลงตัวดีมาก ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ ไม่ว่าจะบริษัทยา บริษัทเครื่องมือ แพทย์ โรงพยาบาล
อย่างที่สอง คือตัวแพทย์เองที่ด้านหนึ่งได้รับการศึกษามาอย่างที่อาจารย์ว่าอีกด้านหนึ่งก็ไปลงตัวกับอุตสาหกรรมการแพทย์
อย่างที่สาม ซึ่งสำคัญที่สุดก็คือคนไข้ ซึ่งเขาไม่รู้และไม่เชื่อว่าเขามีศักยภาพและมีอำนาจที่จะดูแลตัวเขาเองได้ จะพลิกผันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของเขาเองได้ สามอย่างนี้ประกอบกันเข้า เราจึงไปไหนไม่รอด ตัวผมเองพยายามมาทำในส่วนที่สาม คือพยายามให้คนไข้เขารู้และเข้าใจว่าเขาดูแลตัวเขาเองได้ เขามีอำนาจ มีศักยภาพที่จะทำได้ แล้วเทคโนโลยีใหม่ๆมันก็ยิ่งเอื้อ
ผมเชื่อว่าถ้ายุทธศาสตร์ของชาติเปลี่ยน ทั้งสามองค์ประกอบนี้เปลี่ยนได้ มองย้อนไปในอดีตห้าสิบปีมานี้ การเปลี่ยนยุทธศาสตร์สำคัญในทางการแพทย์มีสองครั้ง ครั้งแรกคือเมื่อเราเริ่มระบบสามสิบบาท ครั้งที่สองคือเมื่อเราทำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหรือรพ.สต.ซึ่งผมอสม.ร่วมเป็นส่วนหนึ่งด้วย การเปลี่ยนแปลงทั้งสองครั้งเกิดขึ้นเพราะการเปลี่ยนนโยบายของชาติ มาถึงรอบโควิด19 นี้ผมว่ามันน่าจะเป็นโอกาสที่เราจะลงมือเปลี่ยนยุทธศาสตร์ด้านการแพทย์ของชาติที่มันไปผิดทางนี้เสียเลย ถ้าไม่รอยุทธศาสตร์ชาติ ก็ควรจะไปเริ่มที่ชุมชน คนที่ดูทีวีบุญนิยมนี้มีจำนวนมากที่เป็นผู้บริหารรัฐบาลท้องถิ่น ผมขอฝากไว้เสียเลย เช่นหมู่บ้านสุขภาพ ตำบลสุขภาพ หรือเมืองสุขภาพ ถ้ามันมีขึ้นมาสักที่หนึ่งให้เป็นตคัวอย่างมันจะเจ๋งมาก มันจะยกแผ่นดินนี้ให้สูงขึ้นทันที
นพ.วีรพงศ์
ของเรา พ่อท่านเองก็ทำมาตลอดนะ แต่การสร้างชุมชนมันไม่ใช่เรื่องง่าย พระพยอมเคยไปดูที่ปฐมอโศกแล้วกลับมาจะสร้างเป็นชุมชนในอุดมคติขึ้นมา มีที่ดิน สร้างที่พักอาศัย อยู่กันอย่างสบาย ประกฎว่าไม่ได้เพราะทะเลาะกัน ไม่ใช่ว่าปฐมอโศกหรือบ้านราชธานีอโศกไม่ตีกันนะ ก็ตีก้นหนักเหมือนกัน แต่ว่าตีกันระดับคนมีศีล คืออย่างดีก็ใช้หอกปาก เพราะว่าทุกคนมีกิเลส มีมากก็ตีกันมาก กว่าจะรวมกันมาเป็นอย่างวันนี้ได้ คือเป็นชุมชนที่ใช้เป็นโมเดลได้ นี่ก็เป็นตัวอย่างของ new normal ซึ่งว่าจริงๆแล้วพระพุทธเจ้าทำมาก่อนแล้ว ของเรานี้พ่อท่านก็พาทำมาสี่สิบปีแล้ว
พ่อท่านใช้ยุทธศาสตร์ที่เรียกว่าบุญญาวุธ 7 หมายเลข ประกอบด้วย คือ
(1) สุขภาพบุญนิยม ซึ่งมี 8 อ. คือ อาหาร อากาศ ออกกำลังกาย อารมณ์ เอนกาย เอาพิษออก อาชีวะ และอิทธิบาทสี่ ซึ่งทั้งหมดนี้ก็คือการป้องกันโรคทางกายทางใจทั้งสิ้น
(2) ตลาดอาริยะ คือเป็นการค้าขายแบบบุญนิยม คือเท่าทุน หรือต่ำกว่าทุน หรือแจกฟรี กำไรไม่เอา เป็นรูปแบบของการปฏิบัติธรรมที่ได้ทั้งประโยชนตนประโยชน์ท่าน คนซื้อได้ของดี คนขายได้ลดความโลภ
(3) กสิกรรมไร้สารพิษ เป็นหนึ่งในสามอาชีพกู้ชาติ หรือกู้โลก คือกสิกรรมไร้สารพิษ การจัดการขยะ และการผลิตปุ๋ยสอาด
(4) การศึกษาบุญนิยม เรามีโรงเรียนซึ่งกำลังขยายไปถึงปวช. ปวส. เป็นคนละขั้วกับการศึกษาทุนนิยม บุญนิยมคือหล่อหลอมให้คนเรียนเป็นคนมีคุณภาพ เอาให้ตัวเองน้อย เผื่อแผ่เยอะ ตัวเองเสพย์ปัจจัยสี่แค่ ข้าว ผ้า ยา บ้าน ก็พอแล้ว หากมีศักยภาพจะผลิตมากกว่านี้ก็แจกจ่ายเจือจานให้สังคม จึงอยู่กับโลกได้โดยไม่ได้ขัดแย้งกับโลกเขา
(5) (ศิลปะ วิทยาศาสตร์ บุญนิยม)
(6) สื่อสารบุญนิยม ก็คือการเผยแพร่ธรรมะ และแนวทางดำเนินชีวิตแบบนี้ เราประกอบอาชีพจัดการขยะได้เงินมาก็เอาเงินมาทำสถานีโทรทัศน์ เน้นเรื่องที่เป็นประโยชน์กับมนุษยชาติ
(7) การเมืองบุญนิยม ซึ่งก็คือการเมืองผ่านพรรคพลังธรรมในอดีต แต่ต้องเลิกราไปเพราะถูกรุมยำ
ที่พูดมาทั้งหมดนี่แหละคือที่ผมเห็นว่าเป็นทางไปของ new normal
นพ.สันต์
ผมก็เพิ่งได้ยินนะ ทั้งๆที่มาสันติอโศกตั้งหลายครั้งแล้ว อะไรนะ บุญญาวุธเจ็ดหมายเลข ผมเห็นด้วย ในแง่ที่จะรับมือกับระยะหลังโควิด19 นี่ใช่เลย เข้าท่าดีมาก
คำว่า new normal ที่อาจารย์พูดถึง เอาแคบเข้ามาเฉพาะเรื่องสุขภาพก่อนนะ อะไรที่เรียกว่า new คือโควิด19 เป็นแค่หนึ่งตัวอย่างของสิ่งใหม่ๆที่จะทะยอยเปลี่ยนหน้ากันเข้ามา นั่นคือบรรดาโรคอุบัติใหม่ทั้งหลาย เพราะมนุษย์เราเพิ่มจำนวนขึ้นมาจนถึงจุดที่มีจำนวนมากเกินไปแล้ว เราไปเบียดสัตว์อื่นให้ไม่มีที่อยู่และล้มตายไป พวกจุลชีวิตเช่นแบคทีเรียและไวรัสจากสัตว์มันไม่มีที่สิงอยู่มันก็ย้ายจากร่างกายสัตว์มาอยู่กับคน อย่าลืมว่าโรคเด็ดๆที่เราเคยได้มาล้วนได้มาจากสัตว์ทั้งสิ้น เราได้โรคหวัดมาจากม้า, ได้โรคเรื้อนมาจากควาย ได้วัณโรคมาจากวัว ได้ไอกรนมาจากหมู ได้ไข้หวัดใหญ่มาจากเป็ด ได้งูสวัดมาจากไก่ ได้ซาร์ส์มาจากนก ได้อีโบล่ามาจากลิง และโควิด19 นี่เราน่าจะได้มาจากค้างคาว เพราะฉนั้นมันยังจะมีโรคอุบัติใหม่อีกหลายโรคที่ต่อคิวย้ายวิกจากสัตว์มาระบาดในมนุษย์
อีกเหตุหนึ่งที่โรคอุบัติใหม่จะมากขึ้นก็คืออุณหภูมิของโลกนี้มันสูงขึ้นไวรัสหรือแบคทีเรียชนิดที่ถูกแช่แข็งนิ่งๆในความเย็นมันคงจะเริ่มจะได้อุณหภูมิเหมาะต่อการแพร่พันธุ์ ราวกับสะเปิร์มที่ถูกแช่แข็งไว้เป็นร้อยปีแล้วถูกอุ่นขึ้น มันก็จะทยอยกันออกมาหาร่างกายสัตว์เพื่อสิงสู่อยู่กิน แล้วมนุษย์ก็เผอิญเป็นสัตว์ชนิดที่หาตัวได้ง่ายที่สุดเสียด้วย การที่ผู้คนสมัยนี้อยู่กันอย่างแออัดยัดเยียดเหมือนปลวกอยู่ในรังก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่จะทำให้โรคอุบัติใหม่แพร่กระจายในหมู่มนุษย์ได้ง่ายและเร็ว
เมื่อโรคอุบัติใหม่ดาหน้าเข้ามา ชีวิตจากนี้ไปความสำคัญจึงไปตกที่การดูแลตัวเองให้มีภูมิคุ้มกันต่อโรค ซึ่งสิงที่พึงทำก็คือ
(1) การกินอาหารที่ดี ซึ่งก็คืออาหารที่มีสัดส่วนของพืชที่มากและหลากหลาย ทั้งผัก ผลไม้ ถั่ว นัท และเมล็ดต่างๆ ในรูปแบบที่ไม่ขัดสีหรือในรูปแบบใกล้เคียงธรรมชาติ ให้พลังงานส่วนใหญ่มาจากพืชแทนที่จะมาจากเนื้อสัตว์ อาหารพืชที่หลากหลายให้วิตามินซี. วิตามินอี. และธาตุสังกะสี สารต้านอนุมูลอิสระต่างๆ ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของระบบภูมิคุ้มกัน
(2) การนอนหลับ เพราะมีงานวิจัยความสัมพันธ์ที่แน่ชัดระหว่างการนอนหลับที่พอเพียงกับการมีภูมิคุ้มกันโรคที่ดี
(3) การออกแดดและใช้ชีวิตกลางแจ้ง เพราะแดดทำให้ร่างกายได้รับวิตามินดี.ซึ่งเป็นตัวสำคัญในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันอีกตัวหนึ่ง มีงานวิจัยที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างการมีวิตามินดี.ต่ำกับการติดเชื้อทางเดินลมหายใจมากขึ้น และงานวิจัยใหม่เกี่ยวกับคนตายด้วยโรคโควิด19 ก็พบว่าคนที่มีระดับวิตามินดี.ในเลือดต่ำจะตายจากโรคโควิดมากกว่าคนมีวิตามินดีในเลือดปกติ
แดดยังมีคุณอีกอย่างหนึ่งคือมันทำให้นอนหลับดีขึ้น งานวิจัยแบบแบ่งกลุ่มเปรียบเทียบที่ทำกับคนชราในเนอร์สซิ่งโฮมให้คำตอบที่ชัดเจนว่าคนชราที่ได้ออกไปตากแดดทุกวันจะมีการนอนหลับที่ดีกว่าคนชราที่ไม่ได้ออกไปตากแดด
ในแง่ของการติดเชื้อ แดดและการทำงานหรือออกกำลังกายกลางแจ้งเป็นตัวช่วยเพิ่มอุณหภูมิร่างกายให้สูงขึ้น ซึ่งเป็นอีกปัจจัยสำคัญในการกำจัดเชื้อโรคโดยเฉพาะอย่างยิ่งไวรัสทางเดินลมหายใจออกไปจากร่างกาย
(4) การออกกำลังกาย นี่เป็นของแน่อยู่แล้ว ทุกคนรู้ว่าการออกกำลังกายทำให้ร่างกายแข็งแรง ทำให้จิตใจดีมีชีวิตชีวา ทำให้ภูมิต้านทานโรคดีขึ้น ทุกคนรู้ แต่ปัญหากลับอยู่ที่รู้แล้วไม่ทำ คือคนส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ออกกำลังกาย แม้จะมีเวลาว่างมากก็ตาม
(5) ในกรณีที่ร่างกายมีความเสี่ยงต่อการขาดวิตามินบางตัว เช่นเมื่อไม่ได้ออกแดดหรือออกแดดไม่ได้ร่างกายก็เสี่ยงต่อการขาดวิตามินดี. หรือเมื่อมีหลักฐานจากการเจาะเลือดว่าระดับวิตามินดีต่ำกว่าปกติ ควรจะทดแทนด้วยวิตามินดีชนิดกิน ในกรณีที่มีเหตุให้กินอาหารไม่ได้ ก็ควรกินวิตามินแร่ธาตุรวมชนิดเม็ดเสริมไปด้วยจนกว่าจะกลับมากินอาหารได้ตามปกติ
(6) ความเครียด หรือการที่ร่างกายต้องอยู่ในสภาพถูกคุกคามนานเกินไป เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันหมดแรง ดังนั้นการจะมีภูมิคุ้มกันดีก็ต้องจัดการความเครียดให้ดี
นพ.วีรพงศ์
ในแง่สุขภาพเราคุยกันถ้วนถี่ดีแล้ว ในแง่ของเศรษฐกิจสังคมละ อาจารย์มองทางออกว่าอย่างไร
นพ.สันต์
ผมแยกคนที่ถูกกระทบออกเป็นสี่กลุ่มนะ
กลุ่มที่ 1. คือคนตกงาน ที่มีรากมาจากชนบท ครอบครัวยังมีที่ดินเป็นของตนเอง วิธีแก้ปัญหาก็คือกลับไปบ้านที่ชนบท ไปปลูกบ้านแบบง่ายๆอยู่ในที่ดินของตนเอง ถ้าไม่มีที่ดินและอยู่ในวิสัยที่จะซื้อหาหรือเช่าได้ก็หาที่ดินสักงานสองงานก็พอแล้ว พยายามใช้ที่ดินรอบๆบ้านผลิตอาหารกินเองให้ได้มากที่สุด เป้าหมายคือพออยู่พอกิน อย่าไปหวังสร้างอาชีพจากเกษตรกรรม ให้ทำการเกษตรแบบวิถีชีวิต คือทำเพื่อให้ชีวิตมีคุณภาพ มีความสุข ได้กินบ้าง ส่วนที่ขาดก็อาจจะต้องอาศัยสะแตมป์อาหาร (ซึ่งผมคาดว่าในอนาคตจะมีให้) หรือเงินเยียวยาจากรัฐบ้าง
กลุ่มที่ 2. คือคนตกงานที่ไร้ที่อยู่ ไม่มีที่ดินของตนเอง และไม่มีปัญญาจะหาที่ดินเป็นของตัวเองไว้ซุกหัวนอนหรือปลูกอยู่ปลูกกินได้ไม่ว่าจะเช่าหรือซื้อที่แค่งานครึ่งงานก็ตาม กลุ่มนี้เป็นกลุ่มใหญ่มาก เพราะคนไทยนี้ตามสถิติของกรมที่ดิน ครัวเรือนที่ถือโฉนดมีที่ดินเป็นของตัวเองมีเพียง 25% เท่านั้นเอง อีก 75% ไม่มีที่ดินเป็นของตัวเอง กลุ่มนี้ทางเลือกในช่วงวิกฤติที่หางานทำไมได้นี้ ไม่มีทางอื่นเลยนอกจากรอการเยียวยาจากรัฐหรือจากกลุ่มคนที่เขามีจะกินเท่านั้นเอง หากการเยียวยาหรือการแบ่งปันไม่ทั่วถึง มันก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเกิดการลุกฮือกันขึ้นมาพร้อมๆกันทั่วประเทศหากภาวะตกงานไม่มีที่อยู่ที่กินนี้ยืดออกไปหลายปี
กลุ่มที่ 3. คือคนที่มีงานที่มั่นคงหรือมีเงิน เช่นข้าราชการหรือคนที่มีเงินหรือทรัพย์ในรูปแบบต่างๆเก็บออมไว้แล้วพอสมควร กลุ่มนี้ชีวิตส่วนตัวเขาไม่ได้มีปัญหาอะไร แต่การที่เขาจะใช้ชีวิตอย่างไรเป็นตัวกำหนดความอยู่รอดของสังคมไทยของเราในอนาคตด้วย คือเราจะรอดจากวิกฤติครั้งนี้ถ้าคนที่มีแบ่งปันเอื้ออาทรให้คนที่ไม่มี
กลุ่มที่ 4. คือคนที่มีหน้าที่บริหารจัดการสังคม เช่นรัฐบาล ไหนๆพูดกับอาจารย์แล้วผมก็ขอฝากไปถึงลุงตู่ซะเลย อย่างน้อยสิ่งที่ผมเห็นว่าจำเป็นคือการที่จะต้องลงมือปฏิรูปที่ดินหรืออย่างน้อยก็จัดสรรที่ดินให้ครัวเรือนที่ตกงานและไม่มีที่อาศัยไม่มีที่ซุกหัวนอน ครัวเรือนละงานสองงานก็ยังดี
ผมมองว่าการที่คนเราจะอยู่รอดต้องมีอาหารมีที่ซุกหัวนอน การจะผลิตอาหารเองได้ต้องมีที่ดินบ้าง ยี่สิบสามสิบวาก็ยังดีกว่าไม่มีเลย สมัยผมเป็นหมอหนุ่มๆอยู่บ้านพักแพทย์มีที่ว่างราวสี่ตารางวาผมก็ปลูกผักพอกินกันสามคนพ่อแม่ลูกไปตลอดปี การปฏิรูปที่ดินจึงเป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วน ปัจจุบันนี้ที่ดินทำเกษตรที่มีอยู่ทั้งหมด 149 ล้านไร่นั้น 80% อยู่ในมือของเจ้าที่ดินเพียง 5% เท่านั้นเอง ความพิกลพิการของการถือครองที่ดินแบบนี้มันต้องได้รับการแก้ไข มิฉะนั้นมันจะเป็นเหตุให้สังคมของเราล่มสลาย เพราะคนไร้ที่อยู่และไม่มีจะกินซึ่งกลายเป็นคนส่วนใหญ่จะพากันลุกฮือขึ้นพร้อมกันทั่วประเทศ ถึงตอนนั้นอะไรที่เราไม่เคยคิดว่าจะเกิดขึ้นในสังคมของเราก็จะเกิดขึ้นได้
นพ.วีรพงศ์
คิดว่าต้องใช้เวลานานเท่าไหร่ จะทันกับโควิด19 ไหม
นพ.สันต์
อาจารย์วีรพงศ์ ถ้าจะทำจริงๆก็สามวันก็ทำได้ เพราะคนที่ตกงานแบบยากจนและไร้ที่ทำกิน คือไม่มีที่ดินนะ มีประมาณ 2 ล้านครัวเรือน ครัวเรือนนะ ไม่ใช่คน ถ้าหาที่ให้ครัวเรือนละหนึ่งงาน ก็ใช้ที่แค่ห้าแสนไร่ ที่ดินทำเกษตรของเรามี 149 ล้านไร่ ที่อยู่ในความดูแลของหน่วยงานของรัฐก็แยะ คนธรรมดาก็แยะ แค่นามสกุลเดียวก็มีที่ดินในครอบครองห้าแสนกว่าไร่แล้ว อีกนามสกุลหนึ่งมีสองแสนกว่าไร่ นี่ว่าตามข้อมูลของสำนักปฏิรูปที่ดินนะ ถ้าจะทำจริงเราทำได้เลย ถ้าเกรงใจคนรวยก็กู้เงิน IMF หรือออกพันธบัตรซื้อที่ดินจากคนรวยมาแจกคนจนก็ได้ เช่าก็ได้ สังคมไทยมีพื้นฐานแน่นหนาอีกอย่างหนึ่งก็คือความเอื้ออาทร เพราะรากของเราคือศาสนาพุทธ ขอให้มีเจ้าภาพจัดแจงให้มันลงตัวแค่นั้นแหละ
นพ.วีรพงศ์
แล้วจะไม่มีปัญหาบางคนทำเกษตรไม่เป็นหรือ
นพ.สันต์
เกษตรกรรมเป็นดีเอ็นเอของคนไทย ถ้าอาจารย์เอาไส้เดือนที่เลี้ยงไว้ในลิ้นชักเป็นเวลานานไปปล่อยลงดิน อาจารย์จะกังวลไหมว่าไส้เดือนนั้นจะหลงทาง ไม่ใช่ไหมครับ เพราะการอยู่ในดินเป็นดีเอ็นเอของไส้เดือน
แล้วประเด็นที่ว่าจะไม่มีน้ำ จะทำอะไรได้ เมืองไทยเรานี้เป็นเขตมรสุม เราได้น้ำจากฝนปีละอย่างน้อยก็ 1000 มม.ซึ่งเป็นปริมาณที่แยะมาก แล้วที่พระเจ้าอยู่หัวร.เก้าสอนกี่เรื่องกี่เรื่องก็วนเวียนอยู่กับการเก็บเกี่ยวน้ำฝนไว้ใช้ ไม่ว่าจะเป็นคลองไส้ไก่ หลุมขนมครก การห่มดิน การขุดสระ ก็เพื่อใช้ประโยชน์จากน้ำฝนให้เต็มเม็ดเต็มหน่วยทั้งสิ้น ดังนั้นเอาจริงๆแล้วมันทำได้ ขอให้มีที่ดินเหอะ แล้วเดี๋ยวทุกอย่างจะค่อยๆลงตัวเอง ในระหว่างที่ยังไม่ลงตัวก็ยาไส้กันไปด้วยสะแตมป์อาหารหรือเงินชดเชยไปก่อน ซึ่งนั่นก็เป็นสิ่งที่ต้องทำอยู่แล้ว
นพ.สันต์ ใจยอดศฺิลป์