กลุ่มอาการเจ็บเอ็นข้างหัวเข่า Iliotibial band (ITB) syndrome
เรียนคุณหมอสันต์
อายุ 38 ปี ตอนนี้วิ่งจ๊อกกิ้งแล้วเจ็บเข่ามา เจ็บด้านข้างนอกหัวเข่า ลามไปถึงใต้เข่า ไปหาหมอบอกว่าเป็นโรค ITB ให้เลิกวิ่งจ๊อกกิ้ง กินยาแก้อักเสบและยาคลายกล้ามเนื้อ หนูเปลี่ยนมาปั่นจักรยานก็ไม่เห็นหายเจ็บ อย่างนี้แปลว่าออกกำลังกายไม่ได้เลยหรือคะ อยากถามคุณหมอว่าวิธีรักษาที่แท้จริงควรทำอย่างไร
.............................................................
ตอบครับ
กลุ่มอาการเจ็บเอ็นข้างหัวเข่า Iliotibial band syndrome (ITB) เป็นเหตุการเจ็บบริเวณข้างหัวเข่าที่พบบ่อยที่สุดในนักกีฬาหนุ่มๆสาวๆซึ่งเล่นกีฬาชนิดที่ต้องวิ่งๆปั่นๆหรือกีฬาที่มีการงอเข่าเหยียดเข่า งอๆ เหยียดๆ ซ้ำๆ ซากๆ เท่าที่มีการสำรวจรายงานไว้พบว่าโรคนี้เป็นมากถึง 12% ของนักกีฬาทั้งหมด
อันว่าเอ็นข้างหัวเข่านี้มันเป็นเอ็นเชื่อมระหว่างขอบกระดูกเชิงกราน (iliac crest) เชื่อมโยงกับกล้ามเนื้อก้น (gluteus) แล้ววิ่งเป็นแถบแบนๆเลียบด้านนอกของขา วิ่งคร่อมโหนกด้านนอกของข้อเข่า (lateral femoral condyle) ไปจบที่ปุ่มกระดูกหน้าแข้ง (tibia tubercle) ซึ่งอยู่ใต้หัวเข่าด้านนอก เอ็นนี้มีบทบาทช่วยในการเคลื่อนไหวสี่ทิศทาง คือ
(1) อ้าขา (hip abduction)
(2) หมุนขาเข้าใน (hip internal rotation) เช่นตอนนักมวยตีเข่า
(3) เหยียดเข่า
(4) งอเข่า
เอกลักษณ์ของเอ็นข้างเข่านี้คือช่วงระหว่างจากจุดกำเนิดไปจนถึงจุดสิ้นสุดมันไม่ได้เชื่อมต่อกับกระดูกชิ้นใดๆเลยนั่นหมายความว่ามันวิ่งเลียบข้างหัวเข่าไปโดยไม่ได้เกาะติดกับหัวเข่า นี่อาจเป็นเหตุให้มันถูไปไถมากับโหนกด้านนอกของข้อเข่า หรือไม่ก็บีบอัดรัดปลายประสาทที่แทรกอยู่ในเบาะไขมันที่เคลือบโหนกด้านนอกของข้อเข่าจนเกิดอักเสบและเจ็บปวดขึ้นมาก็ได้ ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรยังไม่มีหลักฐานชี้ชัด ได้แต่เดาเอา ที่รู้แน่ชัดแล้วก็คือรู้ว่าเมื่อเอ็นนี้อักเสบ มันก็เจ็บที่ข้างหัวเข่า รู้เท่านั้นแหละ
งานวิจัยเชิงชีวกลไก (biomechanics) พบว่าเอ็นข้างหัวเข่าจะถูกอัดลงกับโหนกด้านนอกของหัวเข่าเฉพาะเมื่อวิ่งหรือเดินในจังหวะที่เท้ากระทบพื้นขณะที่ข้อเข่างอไม่เกิน 30 องศาเท่านั้น ซึ่งการวิ่งหรือเดินแบบหัวเข่างอนิดเดียวนี้มักจะเกิดเมื่อวิ่งหรือเดินลงเขาหรือลงบันไดหรือขณะวิ่งหรือเดินช้าๆ หรือปั่นจักรยานโดยตั้งอานสูงเกินไป
อาการ
อาการหลักของกลุ่มอาการเจ็บเอ็นข้างหัวเข่าคือเจ็บตรงโหนกด้านนอกของข้อเข่า (lateral femoral epicondyle) สูงกว่าเส้นระนาบผิวข้อขึ้นมาประมาณ 2-4 ซม. ยิ่งกดตรงนี้ยิ่งเจ็บ ถ้าอาการเป็นมากอาจเจ็บลงไปถึงหน้าแข้ง น่อง และเจ็บขึ้นมาถึงขาด้านนอก โดยมักเจ็บขณะวิ่งหรือเดิน ขณะขึ้นลงเขาหรือบันไดจะเจ็บมากเป็นพิเศษ บางรายต้องเดินลากขาเพราะงอเข่าแล้วจะเจ็บ ถ้าเป็นมากก็มักเจ็บต่อเนื่องไปถึงตอนพักด้วย คนที่มีรูปทรงของขาผิดรูป เช่น ขาโก่งจนเข่าห่างจากกัน (valrus) หรือโก่งเข้าจนเข่าตีกัน (valgus) หรือขายาวไม่เท่ากัน มีแนวโน้มที่จะเกิดกลุ่มอาการเจ็บเอ็นข้างหัวเข่านี้ได้ง่ายขึ้นกว่าคนทั่วไป
มีวิธีตรวจเพื่อดูการหดเกร็งของเอ็นข้างหัวเข่าอย่างหนึ่งเรียกว่า Ober's test คือให้คนเจ็บนอนตะแคงงอเข่างอสะโพกเล็กน้อย เอาข้างเจ็บขึ้น ผู้ตรวจเอามือหนึ่งจับสะโพกส่วนบนให้ตะแคงนิ่งๆไว้ แขนอีกข้างหนึ่งช้อนยกขาบนของคนเจ็บขึ้นและดึงขาบนไปข้างหลัง (hip abduction and extension) แล้วค่อยปล่อยมือวางขาบนลงบนพื้นเตียง (adduction) ในท่าขาบนอยู่ข้างหลังทั้งอย่างนั้น (extension) หากเอ็นข้างหัวเข่าตึงมากผู้บาดเจ็บจะวางขาลงบนพื้นไม่ได้ แปลว่าเอ็นข้างหัวเข่าหดเกร็งก็ถือว่าตรวจได้ผลบวก (อย่างไรก็ตาม ผมเองยังไม่เคยเห็นงานวิจัยเปรียบเทียบพิสูจน์ว่าการทำท่าอย่างนี้สัมพันธ์กับการที่เอ็นข้างหัวเข่าหดเกร็งจริงหรือเปล่า ท่าตรวจแบบนี้จึงเป็นการตรวจตามประเพณีนิยมมากกว่าตามหลักฐานวิจัย)
การรักษา
1. หากมีสาเหตุทางกายภาพ เช่นขาโก่ง (bow leg) เข่าตีกัน (knock knee) ขาไม่เท่ากัน ต้องไปแก้ปัญหาทางกายภาพก่อน ซึ่งผมเคยตอบคำถามเรื่องขาโก่ง (https://visitdrsant.blogspot.com/2019/12/varus.html) ไว้แล้ว ท่านที่สนใจให้ตามไปอ่านได้
2. ขณะที่ปวดเฉียบพลันอยู่นั้นก็บรรเทาปวดกันไปตามสูตร ด้วยการพักการใช้งาน ประคบร้อน ประคบเย็น กด นวด อุลตร้าซาวด์ ใช่เครื่องเขย่า เป็นต้น
3. เมื่ออาการปวดทุเลาก็ให้เริ่มการทำกายภาพบำบัด ซึ่งมีหลักสำคัญอยู่ที่การยืดเอ็นข้างหัวเข่า เช่น
ท่าที่ 1. สมมุติว่าจะยืดเอ็นของขาซ้าย ให้ยืนเอามือซ้ายเท้าผนังระดับเหนือศีรษะให้ขาซ้ายอยู่ห่างจากผนังราวครึ่งก้าวโดยเท้าชิดกัน แล้วเอียงสะโพกเข้าชิดผนังแต่สองเท้ายังปัหลักอยู่ที่เดิมโดยไม่ขยับ คือจงใจให้ขาซ้ายถูกเอียงทำมุมกับลำตัวซึ่งอยู่ในแนวดิ่งให้มากที่สุด (hip adduction) หากทำได้ให้ค่อยเลื่อนเท้าซ้ายผ่านไปด้านหลังของขาขวาจนขาซ้ายไขว้กับขาขวาได้ก็ยิ่งจะทำให้เอ็นข้างหัวเข่าซ้ายถูกยืดมากยิ่งขึ้น ทิ้งให้มันถูกยืดอยู่อย่างนั้นสัก 20 วิแล้วค่อยๆกลับมาท่ายืนปกติ แล้วยืดซ้ำอีกสักสองสามครั้ง
ท่าที่ 2. นอนหงายชันเข่า เอาเท้าซ้าย (ข้างเจ็บ) ขึ้นพาดหน้าเข่าขวา แล้วเอาสองมือรวบขาขวาตรงใกล้กับหัวเข่าขวาแล้วดึงขาขวาเข้าหาตัวจนสะโพกและขาซ้ายตึงได้ที่ วิธีนี้จะยืดเอ็นข้างหัวเข่าส่วนที่อยู่ตั้งแต่สะโพกมาถึงกลางขาได้ดี
ท่าที่ 3. ท่ากายบริหารยืดเหยียดแบบยืนกางขาชูมือซ้ายขึ้นเหนือศรีษะแล้วโยกทั้งมือซ้าย พร้อมกับเอียงศรีษะและลำตัวไปทางขวาโดยสะโพกอยู่ที่เดิมนิ่งๆ ทิ้งให้ยืดอยู่สัก 20 วินาที เป็นการยืดลำตัวและขาซีกซ้ายและเอ็นข้างหัวเข่าซ้ายไปพร้อมกัน แล้วก็สลับมายืดซีกขวาบ้าง
4. ถ้าทำกายภาพบำบัดด้วยตัวเองอย่างนี้ไปพักใหญ่เช่น 4-6 สัปดาห์แล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ก็ต้องกลับไปหาหมอกระดูก (orthopedists) หรือหมอกายภาพบำบัด (physiatrists) ให้ตรวจวินิจฉัยสาเหตุทางกายภาพที่ละเอียด หรือทำการรักษาที่รุกล้ำยิ่งขึ้นเช่นการฉีดยาต้านการอักเสบเฉพาะที่ หรือแม้กระทั่งทำการผ่าตัดแก้ไข (เช่น กรณีที่เกิดพังผืดติดยึดมาก หรือเมื่อต้องผ่าตัดแก้ความผิดปกติของภาวะขาโก่งหรือขาเกจนหัวเข่าตีกัน เป็นต้น)
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
อายุ 38 ปี ตอนนี้วิ่งจ๊อกกิ้งแล้วเจ็บเข่ามา เจ็บด้านข้างนอกหัวเข่า ลามไปถึงใต้เข่า ไปหาหมอบอกว่าเป็นโรค ITB ให้เลิกวิ่งจ๊อกกิ้ง กินยาแก้อักเสบและยาคลายกล้ามเนื้อ หนูเปลี่ยนมาปั่นจักรยานก็ไม่เห็นหายเจ็บ อย่างนี้แปลว่าออกกำลังกายไม่ได้เลยหรือคะ อยากถามคุณหมอว่าวิธีรักษาที่แท้จริงควรทำอย่างไร
.............................................................
ตอบครับ
กลุ่มอาการเจ็บเอ็นข้างหัวเข่า Iliotibial band syndrome (ITB) เป็นเหตุการเจ็บบริเวณข้างหัวเข่าที่พบบ่อยที่สุดในนักกีฬาหนุ่มๆสาวๆซึ่งเล่นกีฬาชนิดที่ต้องวิ่งๆปั่นๆหรือกีฬาที่มีการงอเข่าเหยียดเข่า งอๆ เหยียดๆ ซ้ำๆ ซากๆ เท่าที่มีการสำรวจรายงานไว้พบว่าโรคนี้เป็นมากถึง 12% ของนักกีฬาทั้งหมด
อันว่าเอ็นข้างหัวเข่านี้มันเป็นเอ็นเชื่อมระหว่างขอบกระดูกเชิงกราน (iliac crest) เชื่อมโยงกับกล้ามเนื้อก้น (gluteus) แล้ววิ่งเป็นแถบแบนๆเลียบด้านนอกของขา วิ่งคร่อมโหนกด้านนอกของข้อเข่า (lateral femoral condyle) ไปจบที่ปุ่มกระดูกหน้าแข้ง (tibia tubercle) ซึ่งอยู่ใต้หัวเข่าด้านนอก เอ็นนี้มีบทบาทช่วยในการเคลื่อนไหวสี่ทิศทาง คือ
(1) อ้าขา (hip abduction)
(2) หมุนขาเข้าใน (hip internal rotation) เช่นตอนนักมวยตีเข่า
(3) เหยียดเข่า
(4) งอเข่า
เอกลักษณ์ของเอ็นข้างเข่านี้คือช่วงระหว่างจากจุดกำเนิดไปจนถึงจุดสิ้นสุดมันไม่ได้เชื่อมต่อกับกระดูกชิ้นใดๆเลยนั่นหมายความว่ามันวิ่งเลียบข้างหัวเข่าไปโดยไม่ได้เกาะติดกับหัวเข่า นี่อาจเป็นเหตุให้มันถูไปไถมากับโหนกด้านนอกของข้อเข่า หรือไม่ก็บีบอัดรัดปลายประสาทที่แทรกอยู่ในเบาะไขมันที่เคลือบโหนกด้านนอกของข้อเข่าจนเกิดอักเสบและเจ็บปวดขึ้นมาก็ได้ ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรยังไม่มีหลักฐานชี้ชัด ได้แต่เดาเอา ที่รู้แน่ชัดแล้วก็คือรู้ว่าเมื่อเอ็นนี้อักเสบ มันก็เจ็บที่ข้างหัวเข่า รู้เท่านั้นแหละ
งานวิจัยเชิงชีวกลไก (biomechanics) พบว่าเอ็นข้างหัวเข่าจะถูกอัดลงกับโหนกด้านนอกของหัวเข่าเฉพาะเมื่อวิ่งหรือเดินในจังหวะที่เท้ากระทบพื้นขณะที่ข้อเข่างอไม่เกิน 30 องศาเท่านั้น ซึ่งการวิ่งหรือเดินแบบหัวเข่างอนิดเดียวนี้มักจะเกิดเมื่อวิ่งหรือเดินลงเขาหรือลงบันไดหรือขณะวิ่งหรือเดินช้าๆ หรือปั่นจักรยานโดยตั้งอานสูงเกินไป
อาการ
อาการหลักของกลุ่มอาการเจ็บเอ็นข้างหัวเข่าคือเจ็บตรงโหนกด้านนอกของข้อเข่า (lateral femoral epicondyle) สูงกว่าเส้นระนาบผิวข้อขึ้นมาประมาณ 2-4 ซม. ยิ่งกดตรงนี้ยิ่งเจ็บ ถ้าอาการเป็นมากอาจเจ็บลงไปถึงหน้าแข้ง น่อง และเจ็บขึ้นมาถึงขาด้านนอก โดยมักเจ็บขณะวิ่งหรือเดิน ขณะขึ้นลงเขาหรือบันไดจะเจ็บมากเป็นพิเศษ บางรายต้องเดินลากขาเพราะงอเข่าแล้วจะเจ็บ ถ้าเป็นมากก็มักเจ็บต่อเนื่องไปถึงตอนพักด้วย คนที่มีรูปทรงของขาผิดรูป เช่น ขาโก่งจนเข่าห่างจากกัน (valrus) หรือโก่งเข้าจนเข่าตีกัน (valgus) หรือขายาวไม่เท่ากัน มีแนวโน้มที่จะเกิดกลุ่มอาการเจ็บเอ็นข้างหัวเข่านี้ได้ง่ายขึ้นกว่าคนทั่วไป
มีวิธีตรวจเพื่อดูการหดเกร็งของเอ็นข้างหัวเข่าอย่างหนึ่งเรียกว่า Ober's test คือให้คนเจ็บนอนตะแคงงอเข่างอสะโพกเล็กน้อย เอาข้างเจ็บขึ้น ผู้ตรวจเอามือหนึ่งจับสะโพกส่วนบนให้ตะแคงนิ่งๆไว้ แขนอีกข้างหนึ่งช้อนยกขาบนของคนเจ็บขึ้นและดึงขาบนไปข้างหลัง (hip abduction and extension) แล้วค่อยปล่อยมือวางขาบนลงบนพื้นเตียง (adduction) ในท่าขาบนอยู่ข้างหลังทั้งอย่างนั้น (extension) หากเอ็นข้างหัวเข่าตึงมากผู้บาดเจ็บจะวางขาลงบนพื้นไม่ได้ แปลว่าเอ็นข้างหัวเข่าหดเกร็งก็ถือว่าตรวจได้ผลบวก (อย่างไรก็ตาม ผมเองยังไม่เคยเห็นงานวิจัยเปรียบเทียบพิสูจน์ว่าการทำท่าอย่างนี้สัมพันธ์กับการที่เอ็นข้างหัวเข่าหดเกร็งจริงหรือเปล่า ท่าตรวจแบบนี้จึงเป็นการตรวจตามประเพณีนิยมมากกว่าตามหลักฐานวิจัย)
การรักษา
1. หากมีสาเหตุทางกายภาพ เช่นขาโก่ง (bow leg) เข่าตีกัน (knock knee) ขาไม่เท่ากัน ต้องไปแก้ปัญหาทางกายภาพก่อน ซึ่งผมเคยตอบคำถามเรื่องขาโก่ง (https://visitdrsant.blogspot.com/2019/12/varus.html) ไว้แล้ว ท่านที่สนใจให้ตามไปอ่านได้
2. ขณะที่ปวดเฉียบพลันอยู่นั้นก็บรรเทาปวดกันไปตามสูตร ด้วยการพักการใช้งาน ประคบร้อน ประคบเย็น กด นวด อุลตร้าซาวด์ ใช่เครื่องเขย่า เป็นต้น
3. เมื่ออาการปวดทุเลาก็ให้เริ่มการทำกายภาพบำบัด ซึ่งมีหลักสำคัญอยู่ที่การยืดเอ็นข้างหัวเข่า เช่น
ท่าที่ 1. สมมุติว่าจะยืดเอ็นของขาซ้าย ให้ยืนเอามือซ้ายเท้าผนังระดับเหนือศีรษะให้ขาซ้ายอยู่ห่างจากผนังราวครึ่งก้าวโดยเท้าชิดกัน แล้วเอียงสะโพกเข้าชิดผนังแต่สองเท้ายังปัหลักอยู่ที่เดิมโดยไม่ขยับ คือจงใจให้ขาซ้ายถูกเอียงทำมุมกับลำตัวซึ่งอยู่ในแนวดิ่งให้มากที่สุด (hip adduction) หากทำได้ให้ค่อยเลื่อนเท้าซ้ายผ่านไปด้านหลังของขาขวาจนขาซ้ายไขว้กับขาขวาได้ก็ยิ่งจะทำให้เอ็นข้างหัวเข่าซ้ายถูกยืดมากยิ่งขึ้น ทิ้งให้มันถูกยืดอยู่อย่างนั้นสัก 20 วิแล้วค่อยๆกลับมาท่ายืนปกติ แล้วยืดซ้ำอีกสักสองสามครั้ง
ท่าที่ 2. นอนหงายชันเข่า เอาเท้าซ้าย (ข้างเจ็บ) ขึ้นพาดหน้าเข่าขวา แล้วเอาสองมือรวบขาขวาตรงใกล้กับหัวเข่าขวาแล้วดึงขาขวาเข้าหาตัวจนสะโพกและขาซ้ายตึงได้ที่ วิธีนี้จะยืดเอ็นข้างหัวเข่าส่วนที่อยู่ตั้งแต่สะโพกมาถึงกลางขาได้ดี
ท่าที่ 3. ท่ากายบริหารยืดเหยียดแบบยืนกางขาชูมือซ้ายขึ้นเหนือศรีษะแล้วโยกทั้งมือซ้าย พร้อมกับเอียงศรีษะและลำตัวไปทางขวาโดยสะโพกอยู่ที่เดิมนิ่งๆ ทิ้งให้ยืดอยู่สัก 20 วินาที เป็นการยืดลำตัวและขาซีกซ้ายและเอ็นข้างหัวเข่าซ้ายไปพร้อมกัน แล้วก็สลับมายืดซีกขวาบ้าง
4. ถ้าทำกายภาพบำบัดด้วยตัวเองอย่างนี้ไปพักใหญ่เช่น 4-6 สัปดาห์แล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ก็ต้องกลับไปหาหมอกระดูก (orthopedists) หรือหมอกายภาพบำบัด (physiatrists) ให้ตรวจวินิจฉัยสาเหตุทางกายภาพที่ละเอียด หรือทำการรักษาที่รุกล้ำยิ่งขึ้นเช่นการฉีดยาต้านการอักเสบเฉพาะที่ หรือแม้กระทั่งทำการผ่าตัดแก้ไข (เช่น กรณีที่เกิดพังผืดติดยึดมาก หรือเมื่อต้องผ่าตัดแก้ความผิดปกติของภาวะขาโก่งหรือขาเกจนหัวเข่าตีกัน เป็นต้น)
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์