ยุทธการปิดประเทศไทย (Lockdown Thailand) นี่เป็นโอกาสสุดท้ายถ้าจะทำ
กราบเรียนลุงตู่ที่เคารพ
ผมไม่เคยคิดมาก่อนว่าตัวเองจะเขียนจดหมายฉบับนี้ แต่อยู่ๆความคิดก็ผุดขึ้นมาในใจว่ายามนี้หากผมไม่ได้แชร์ข้อมูลความรู้ในวิชาชีพที่ผมมีอยู่ให้คนอื่นรู้ให้หมด ไปภายหน้าหากเกิดเรื่องที่โศกเศร้าเสียใจขึ้น ผมก็จะมานั่งเสียดายสิ่งที่ผ่านไปว่าตอนนั้นผมน่าจะทำอย่างนั้นอย่างนี้ ผมจึงตัดสินใจเขียนจดหมายนี้ถึงลุง
ก่อนอื่นผมขอให้ลุงดูลักษณะข้อมูลการป่วยเป็นโรคโควิด19 ของประเทศอิตาลีที่ติดตามโดยโรงพยาบาลจอห์น ฮอพคินส์ ก่อนนะครับ
โปรดสังเกตว่านับตั้งแต่มีการพบคนป่วยคนแรกเมื่อ 15 กพ. 63 อัตราการเพิ่มของผู้ป่วยเป็นไปอย่างอ้อยอิ่งเชื่องช้ามาก ภาษาระบาดวิทยาเรียกว่ามันเป็น initialization phase แล้วเมื่อย่างเข้ากลางเดือนมีค. 63 จำนวนผู้ป่วยก็เพิ่มอย่างรวดเร็ว ทำให้ความชันของกราฟกระดกขึ้นแทบจะตั้งฉาก นี่เรียกว่าโรคมันเริ่มเข้าสู่ระยะเร่ง (acceleration phase) เรื่องราวอย่างอื่นในอิตาลีเป็นอย่างไรผมขอไม่พูดถึง เพราะคุณลุงก็ทราบดีอยู่แล้ว
คราวนี้มาดูกราฟของประเทศไทยเราบ้าง ผมสร้างกราฟนี้ขึ้นมาจากข้อมูลวันต่อวันของกรมควบคุมโรค
เราตรวจพบคนไข้คนแรกเมื่อ 22 มค. 63 คือก่อนอิตาลีตั้งนาน ความแตกต่างกันอยู่ที่ความสามารถของเราที่จะยื้อให้ระยะ initialization ยาวนานกว่าของอิตาลี แต่ตอนปลายของกราฟไม่แตกต่างกัน คือโรคได้เข้าสู่ระยะ acceleration แล้ว อนาคตของชาติไทย
"ต่อไปจะเป็นฉันใด ...ไม่..รู้......."
รู้แต่ว่าหากเปรียบเทียบฉากลิเกที่เลวร้ายที่สุด อนาคตของชาติไทยมันจะมีได้สองฉาก
ฉากที่ 1. หากลุงตัดสินใจเดินหน้าไปกับยุทธการบรรเทาโรค (mitigation strategy) ซึ่งผมขอตั้งชื่อเรียกเป็นภาษาบ้านๆว่า "ยุทธการวิ่งตามโรค" อย่างทุกว้นนี้ มันจะเป็นดังนี้ คือ การวิ่งตามโรคถึงจุดหนึ่งก็จะวิ่งตามไม่ทัน ก็จะเปลี่ยนเป็นยุทธการ "ได้แค่ไหนเอาแค่นั้น" นั่นก็คือโรคจะกระจายไปพ้นการควบคุม ผู้คนจะตายมากกว่าปกติ แต่นั่นไม่ใช่ปัญหาใหญ่เพราะเมืองไทยเราเมื่อเอาจำนวนคนที่คาดว่าจะตายตั้งหารด้วยจำนวนเมรุเผาศพที่มีแล้ว เราก็ยังเผาได้ทันแบบวันต่อวัน แต่ที่จะเป็นปัญหาคือในช่วงที่คนกำลังป่วยและล้มตายนั้น โรงพยาบาล สถานที่ อุปกรณ์ ยา พยาบาล หมอ จะไม่พอในการดูแลคนไข้ หมอและพยาบาลเรียนยังไม่ทันจบก็ต้องเกณฑ์ออกมาทำงานแล้ว สภาพการณ์จะทุเรศทุรังประมาณไหนผมไม่ทราบ เพราะผมเองก็ไม่เคยเห็น เวลาที่เกิดเรื่องอย่างนี้คงจะนานประมาณหนึ่งปี ถึงตอนนั้นผมหรือลุงก็อาจจะไม่ได้อยู่ดูแล้วก็ได้
ฉากที่ 2. หากลุงตัดสินใจใช้ ยุทธการปิดประเทศไทย (Lockdown Thailand) อย่างเอาเป็นเอาตายตั้งแต่วันนี้ เอาเป็นเอาตายหมายความว่าปิดประเทศห้ามคนเข้าออกถ้าไม่จำเป็น ปิดบ้าน ออกเคอร์ฟิวห้ามออกนอกบ้านทั้งกลางวันกลางคืนยกเว้นกรณีจำเป็น หยุดพาหนะขนผู้คนไปมาทุกชนิดยกเว้นการส่งอาหารหรือยุทโธปกรณ์ที่จำเป็น วางแผน "ยุทธบริการ" ให้ดี ตั้งแต่กระบวนการผลิตอาหาร รวบรวมอาหาร และจัดส่งอาหารให้ถึงทุกคนทุกวัน เรียนรู้จากจีนว่าให้เปิดแอ๊พมือถือที่บังคับให้ประชาชนทุกคนใช้ ให้ประชาชนทุกคนมีหน้าที่ลงแอ๊พทุกวันว่าวันนี้ตัวเองมีอาการผิดปกติอะไรบ้างมีไข้กี่องศาและวันนี้ไปทำอะไรที่ไหนมา อีกอย่างหนึ่งยุทธการปิดประเทศนี้จะไม่เวอร์คหากไม่มีกลไกค้นหาตัวผู้ป่วย ให้เรียนรู้จากเกาหลีว่าการจะเคลียร์โรคได้ต้องค้นหาโรคให้พบ ใช้ยุทธการตรวจหาโรคแบบปูพรมทุกรูปแบบ ในเวลาที่ปิดประเทศไม่กี่วัน เกาหลีตรวจหาโรคไปถึง 270,000 คน จากประชากรทั้งหมด 51 ล้านคน หากลุงทำอย่างนี้ ผมมั่นใจจากการประเมินฝีมือและผลงานการควบคุมโรคของไทยเราที่ผ่านมาว่าเราจะสามารถเคลียร์โรคจน "เอาอยู่" ได้ในเวลาไม่กี่สัปดาห์
เมื่อ "เอาอยู่" แล้ว โรคหมดแล้ว เราก็เลิกควบคุมภายใน เปิดให้คนไทยเดินทางไปมาทำมาค้าขายกันภายในประเทศได้เหมือนอย่างจีนทำที่อู่ฮั่น แต่ยังปิดประเทศอยู่ต่อไปไม่มีกำหนด จนกว่าจะมีวัคซีนใช้ ซึ่งผมประมาณว่าไม่น่าจะนานกว่า 18 เดือน ถึงนานกว่านั้นก็ยอมรับได้ เพราะไหนๆก็ไหนๆแล้ว
ผมรู้ว่าคนรอบข้างลุงจะร้องกระต๊ากปานประหนึ่งปากจะฉีกถึงใบหูว่าทำอย่างนี้ไม่ได้ เศรษฐกิจจะฉิบหาย บ้านเมืองจะวุ่นวาย เครื่องบินต้องจอดขึ้นสนิม ครึ่งหนึ่งของเศรษฐกิจซึ่งต้องพึ่งพาการท่องเที่ยวและการคมนาคมต้องพังพินาศ ธนาคารจะล้ม ผู้คนจะแห่กันไปถอนเงิน ตลาดหุ้นล่ม จะมีการล้มละลายกันทั่วประเทศ คนงานไม่มีเงินจ่ายค่าผ่อนรถผ่อนบ้าน บริษัทรถบริษัทบ้านจะเจ๊ง ต้องปรับโครงสร้างหนี้กันจ้าละหวั่น ต้องเอา IMF เข้ามา (ถึงตอนนั้นผมไม่แน่ใจว่าจะยังมี IMF อยู่หรือเปล่า) จะมีการตุนสินค้าจำเป็น เกิดภาวะเงินเฟ้อ คนตกงานครึ่งประเทศ โจรผู้ร้ายจะชุกชุม ขื่อ แป กบิลเมืองจะเสียไป ผมไม่ได้เถียงว่าสิ่งเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้น แต่ทั้งหมดนี้ก็ไม่ใช่ไม่เคยเกิดนะ มันเคยเกิดมาแล้วในเมืองไทยเรานี้ และเราก็ผ่านมันมาได้
มองในอีกด้านหนึ่ง นี่อาจจะเป็นโอกาสเดียวนะที่เราจะได้บริหารชาติไปตามทิศทางที่ในหลวงร.9 ทรงสอนไว้..เศรษฐกิจพอเพียง
"การจะเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ แต่สำคัญที่เราพออยู่พอกิน"
ชาติไทยนี้ผมมั่นใจว่าไม่ต้องพึ่งคนต่างชาติให้เข้ามาเที่ยวแม้จะนานถึงปีสองปีเราก็ยังอยู่กันได้หากเราบริหารสังคมด้วยวิธีใหม่ ด้วยปรัชญาของในหลวงร.9 เศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งพระองค์ทรงสอนว่า
"เศรษฐกิจพอเพียงในขั้นที่ 3 เป็นการจัดตั้งเอาชุมชนสหกรณ์ผู้ผลิตทั้งหลายมาผสานกันเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ และร่วมมือกับแหล่งพลังงาน แหล่งเงินทุน และนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมเข้ามาช่วยการผลิต การแปรรูป และการตลาดต่างๆอย่างซับซ้อน"
แล้วในบรรยากาศของโลกยามนี้ เราปิดประเทศแต่เราไม่ได้ปิดการส่งออกนำเข้า เราเป็นผู้ผลิตอาหารซึ่งเป็นสินค้าจำเป็นยามข้าวยากหมากแพง การปิดประเทศเราได้เปรียบในเวทีโลก ไม่มีใครมากดดันให้เราเปิดประเทศดอก เพราะยามนี้ทุกประเทศก็หนีตายปิดประเทศเอาตัวรอดกันหมด
ผมมีอย่างหนึ่งที่อยากจะแชร์กับลุงนะครับ แม้ว่าสะเกลของผมจะเล็กจิ๊บจ๊อยกว่าสะเกลของลุงมาก คือตัวผมเองเป็นหมอผ่าต้ดหัวใจโดยอาชีพ วันหนึ่งจับพลัดจับผลูผมต้องร้บสองจ๊อบคือต้องเป็นผู้อำนวยการใหญ่ทำงานบริหารธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนด้วย ในหมวกของการเป็นผู้บริหารธุรกิจ ผมไม่รู้เรื่องอะไรเลย ต้องอาศัยที่ปรึกษาซึ่งเรียนเอ็มบีเอ.มาจากฮาร์วาร์ดบ้างจากวาร์ตันบ้าง คนนั้นว่าอย่างนั้นคนนี้ว่าอย่างนี้ ผมไม่รู้เรื่อง ผมต้องฟัง ใหม่ๆผมก็ฟังแบบเผลอให้พวกเขาครอบแม้ว่าลึกๆผมจะไม่ค่อยเห็นด้วยเพราะถือว่าเขารู้ดีกว่าผม ทำแบบนี้ทำไปทำมาธุรกิจของบริษัทแย่ลง ในที่สุดผมบอกทุกคนว่าคุณมีความคิดดีเลิศประเสริฐศรีอะไรบอกผมมาให้หมด แล้วผมจะใช้ความรู้สึกจากลำไส้ของผมตัดสินใจเลือกเอง เลือกผิดเลือกถูกไม่ใช่เรื่องของคุณ เป็นเรื่องของผม ซึ่งในความเป็นจริงผมก็เลือกผิดบ้างถูกบ้าง แต่ถูกก็มากกว่าผิด และที่สำคัญคือในสถานะการณ์วิกฤต ผมไม่เคยเลือกผิดเลย คือผมจะบอกว่าลุงอย่าลืมว่าลุงเป็นทหารใหญ่นะครับ เคยบังคับบัญชากองทัพกำลังพลเป็นแสนๆ เคยรบทัพจับศึกมาแล้ว แล้วลุงจะกลัวอะไรกับการทิ้งความเห็นของที่ปรึกษาในเรื่องที่เขารู้ดีกว่าลุงมาเชื่อความรู้สึกจากลำไส้ของลุงเอง
กล่าวโดยสรุป ลุงกำลังถูกบีบให้เลือกสองอย่างว่าจะเอาอะไรไว้ก่อน ระหว่างชีวิตของคน กับเศรษฐกิจของชาติ แน่นอนผมเป็นหมอผมสนับสนุนให้ลุงเลือกชีวิตของคน ลุงไม่ใช่หมออาจจะคิดไม่เหมือนผมก็ไม่เป็นไร แต่ผมทิ้งคำถามไว้ให้ลุงหน่อยว่า ถ้าไม่มีชีวิต แล้วจะมีเศรษฐกิจไว้ทำพรือละครับ
(รักลุง ตั้งแต่ครั้งเสื้อเหลืองเสื้อแดง)
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
ผมไม่เคยคิดมาก่อนว่าตัวเองจะเขียนจดหมายฉบับนี้ แต่อยู่ๆความคิดก็ผุดขึ้นมาในใจว่ายามนี้หากผมไม่ได้แชร์ข้อมูลความรู้ในวิชาชีพที่ผมมีอยู่ให้คนอื่นรู้ให้หมด ไปภายหน้าหากเกิดเรื่องที่โศกเศร้าเสียใจขึ้น ผมก็จะมานั่งเสียดายสิ่งที่ผ่านไปว่าตอนนั้นผมน่าจะทำอย่างนั้นอย่างนี้ ผมจึงตัดสินใจเขียนจดหมายนี้ถึงลุง
ก่อนอื่นผมขอให้ลุงดูลักษณะข้อมูลการป่วยเป็นโรคโควิด19 ของประเทศอิตาลีที่ติดตามโดยโรงพยาบาลจอห์น ฮอพคินส์ ก่อนนะครับ
โปรดสังเกตว่านับตั้งแต่มีการพบคนป่วยคนแรกเมื่อ 15 กพ. 63 อัตราการเพิ่มของผู้ป่วยเป็นไปอย่างอ้อยอิ่งเชื่องช้ามาก ภาษาระบาดวิทยาเรียกว่ามันเป็น initialization phase แล้วเมื่อย่างเข้ากลางเดือนมีค. 63 จำนวนผู้ป่วยก็เพิ่มอย่างรวดเร็ว ทำให้ความชันของกราฟกระดกขึ้นแทบจะตั้งฉาก นี่เรียกว่าโรคมันเริ่มเข้าสู่ระยะเร่ง (acceleration phase) เรื่องราวอย่างอื่นในอิตาลีเป็นอย่างไรผมขอไม่พูดถึง เพราะคุณลุงก็ทราบดีอยู่แล้ว
เราตรวจพบคนไข้คนแรกเมื่อ 22 มค. 63 คือก่อนอิตาลีตั้งนาน ความแตกต่างกันอยู่ที่ความสามารถของเราที่จะยื้อให้ระยะ initialization ยาวนานกว่าของอิตาลี แต่ตอนปลายของกราฟไม่แตกต่างกัน คือโรคได้เข้าสู่ระยะ acceleration แล้ว อนาคตของชาติไทย
"ต่อไปจะเป็นฉันใด ...ไม่..รู้......."
รู้แต่ว่าหากเปรียบเทียบฉากลิเกที่เลวร้ายที่สุด อนาคตของชาติไทยมันจะมีได้สองฉาก
ฉากที่ 1. หากลุงตัดสินใจเดินหน้าไปกับยุทธการบรรเทาโรค (mitigation strategy) ซึ่งผมขอตั้งชื่อเรียกเป็นภาษาบ้านๆว่า "ยุทธการวิ่งตามโรค" อย่างทุกว้นนี้ มันจะเป็นดังนี้ คือ การวิ่งตามโรคถึงจุดหนึ่งก็จะวิ่งตามไม่ทัน ก็จะเปลี่ยนเป็นยุทธการ "ได้แค่ไหนเอาแค่นั้น" นั่นก็คือโรคจะกระจายไปพ้นการควบคุม ผู้คนจะตายมากกว่าปกติ แต่นั่นไม่ใช่ปัญหาใหญ่เพราะเมืองไทยเราเมื่อเอาจำนวนคนที่คาดว่าจะตายตั้งหารด้วยจำนวนเมรุเผาศพที่มีแล้ว เราก็ยังเผาได้ทันแบบวันต่อวัน แต่ที่จะเป็นปัญหาคือในช่วงที่คนกำลังป่วยและล้มตายนั้น โรงพยาบาล สถานที่ อุปกรณ์ ยา พยาบาล หมอ จะไม่พอในการดูแลคนไข้ หมอและพยาบาลเรียนยังไม่ทันจบก็ต้องเกณฑ์ออกมาทำงานแล้ว สภาพการณ์จะทุเรศทุรังประมาณไหนผมไม่ทราบ เพราะผมเองก็ไม่เคยเห็น เวลาที่เกิดเรื่องอย่างนี้คงจะนานประมาณหนึ่งปี ถึงตอนนั้นผมหรือลุงก็อาจจะไม่ได้อยู่ดูแล้วก็ได้
ฉากที่ 2. หากลุงตัดสินใจใช้ ยุทธการปิดประเทศไทย (Lockdown Thailand) อย่างเอาเป็นเอาตายตั้งแต่วันนี้ เอาเป็นเอาตายหมายความว่าปิดประเทศห้ามคนเข้าออกถ้าไม่จำเป็น ปิดบ้าน ออกเคอร์ฟิวห้ามออกนอกบ้านทั้งกลางวันกลางคืนยกเว้นกรณีจำเป็น หยุดพาหนะขนผู้คนไปมาทุกชนิดยกเว้นการส่งอาหารหรือยุทโธปกรณ์ที่จำเป็น วางแผน "ยุทธบริการ" ให้ดี ตั้งแต่กระบวนการผลิตอาหาร รวบรวมอาหาร และจัดส่งอาหารให้ถึงทุกคนทุกวัน เรียนรู้จากจีนว่าให้เปิดแอ๊พมือถือที่บังคับให้ประชาชนทุกคนใช้ ให้ประชาชนทุกคนมีหน้าที่ลงแอ๊พทุกวันว่าวันนี้ตัวเองมีอาการผิดปกติอะไรบ้างมีไข้กี่องศาและวันนี้ไปทำอะไรที่ไหนมา อีกอย่างหนึ่งยุทธการปิดประเทศนี้จะไม่เวอร์คหากไม่มีกลไกค้นหาตัวผู้ป่วย ให้เรียนรู้จากเกาหลีว่าการจะเคลียร์โรคได้ต้องค้นหาโรคให้พบ ใช้ยุทธการตรวจหาโรคแบบปูพรมทุกรูปแบบ ในเวลาที่ปิดประเทศไม่กี่วัน เกาหลีตรวจหาโรคไปถึง 270,000 คน จากประชากรทั้งหมด 51 ล้านคน หากลุงทำอย่างนี้ ผมมั่นใจจากการประเมินฝีมือและผลงานการควบคุมโรคของไทยเราที่ผ่านมาว่าเราจะสามารถเคลียร์โรคจน "เอาอยู่" ได้ในเวลาไม่กี่สัปดาห์
เมื่อ "เอาอยู่" แล้ว โรคหมดแล้ว เราก็เลิกควบคุมภายใน เปิดให้คนไทยเดินทางไปมาทำมาค้าขายกันภายในประเทศได้เหมือนอย่างจีนทำที่อู่ฮั่น แต่ยังปิดประเทศอยู่ต่อไปไม่มีกำหนด จนกว่าจะมีวัคซีนใช้ ซึ่งผมประมาณว่าไม่น่าจะนานกว่า 18 เดือน ถึงนานกว่านั้นก็ยอมรับได้ เพราะไหนๆก็ไหนๆแล้ว
ผมรู้ว่าคนรอบข้างลุงจะร้องกระต๊ากปานประหนึ่งปากจะฉีกถึงใบหูว่าทำอย่างนี้ไม่ได้ เศรษฐกิจจะฉิบหาย บ้านเมืองจะวุ่นวาย เครื่องบินต้องจอดขึ้นสนิม ครึ่งหนึ่งของเศรษฐกิจซึ่งต้องพึ่งพาการท่องเที่ยวและการคมนาคมต้องพังพินาศ ธนาคารจะล้ม ผู้คนจะแห่กันไปถอนเงิน ตลาดหุ้นล่ม จะมีการล้มละลายกันทั่วประเทศ คนงานไม่มีเงินจ่ายค่าผ่อนรถผ่อนบ้าน บริษัทรถบริษัทบ้านจะเจ๊ง ต้องปรับโครงสร้างหนี้กันจ้าละหวั่น ต้องเอา IMF เข้ามา (ถึงตอนนั้นผมไม่แน่ใจว่าจะยังมี IMF อยู่หรือเปล่า) จะมีการตุนสินค้าจำเป็น เกิดภาวะเงินเฟ้อ คนตกงานครึ่งประเทศ โจรผู้ร้ายจะชุกชุม ขื่อ แป กบิลเมืองจะเสียไป ผมไม่ได้เถียงว่าสิ่งเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้น แต่ทั้งหมดนี้ก็ไม่ใช่ไม่เคยเกิดนะ มันเคยเกิดมาแล้วในเมืองไทยเรานี้ และเราก็ผ่านมันมาได้
มองในอีกด้านหนึ่ง นี่อาจจะเป็นโอกาสเดียวนะที่เราจะได้บริหารชาติไปตามทิศทางที่ในหลวงร.9 ทรงสอนไว้..เศรษฐกิจพอเพียง
"การจะเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ แต่สำคัญที่เราพออยู่พอกิน"
ชาติไทยนี้ผมมั่นใจว่าไม่ต้องพึ่งคนต่างชาติให้เข้ามาเที่ยวแม้จะนานถึงปีสองปีเราก็ยังอยู่กันได้หากเราบริหารสังคมด้วยวิธีใหม่ ด้วยปรัชญาของในหลวงร.9 เศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งพระองค์ทรงสอนว่า
"เศรษฐกิจพอเพียงในขั้นที่ 3 เป็นการจัดตั้งเอาชุมชนสหกรณ์ผู้ผลิตทั้งหลายมาผสานกันเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ และร่วมมือกับแหล่งพลังงาน แหล่งเงินทุน และนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมเข้ามาช่วยการผลิต การแปรรูป และการตลาดต่างๆอย่างซับซ้อน"
แล้วในบรรยากาศของโลกยามนี้ เราปิดประเทศแต่เราไม่ได้ปิดการส่งออกนำเข้า เราเป็นผู้ผลิตอาหารซึ่งเป็นสินค้าจำเป็นยามข้าวยากหมากแพง การปิดประเทศเราได้เปรียบในเวทีโลก ไม่มีใครมากดดันให้เราเปิดประเทศดอก เพราะยามนี้ทุกประเทศก็หนีตายปิดประเทศเอาตัวรอดกันหมด
ผมมีอย่างหนึ่งที่อยากจะแชร์กับลุงนะครับ แม้ว่าสะเกลของผมจะเล็กจิ๊บจ๊อยกว่าสะเกลของลุงมาก คือตัวผมเองเป็นหมอผ่าต้ดหัวใจโดยอาชีพ วันหนึ่งจับพลัดจับผลูผมต้องร้บสองจ๊อบคือต้องเป็นผู้อำนวยการใหญ่ทำงานบริหารธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนด้วย ในหมวกของการเป็นผู้บริหารธุรกิจ ผมไม่รู้เรื่องอะไรเลย ต้องอาศัยที่ปรึกษาซึ่งเรียนเอ็มบีเอ.มาจากฮาร์วาร์ดบ้างจากวาร์ตันบ้าง คนนั้นว่าอย่างนั้นคนนี้ว่าอย่างนี้ ผมไม่รู้เรื่อง ผมต้องฟัง ใหม่ๆผมก็ฟังแบบเผลอให้พวกเขาครอบแม้ว่าลึกๆผมจะไม่ค่อยเห็นด้วยเพราะถือว่าเขารู้ดีกว่าผม ทำแบบนี้ทำไปทำมาธุรกิจของบริษัทแย่ลง ในที่สุดผมบอกทุกคนว่าคุณมีความคิดดีเลิศประเสริฐศรีอะไรบอกผมมาให้หมด แล้วผมจะใช้ความรู้สึกจากลำไส้ของผมตัดสินใจเลือกเอง เลือกผิดเลือกถูกไม่ใช่เรื่องของคุณ เป็นเรื่องของผม ซึ่งในความเป็นจริงผมก็เลือกผิดบ้างถูกบ้าง แต่ถูกก็มากกว่าผิด และที่สำคัญคือในสถานะการณ์วิกฤต ผมไม่เคยเลือกผิดเลย คือผมจะบอกว่าลุงอย่าลืมว่าลุงเป็นทหารใหญ่นะครับ เคยบังคับบัญชากองทัพกำลังพลเป็นแสนๆ เคยรบทัพจับศึกมาแล้ว แล้วลุงจะกลัวอะไรกับการทิ้งความเห็นของที่ปรึกษาในเรื่องที่เขารู้ดีกว่าลุงมาเชื่อความรู้สึกจากลำไส้ของลุงเอง
กล่าวโดยสรุป ลุงกำลังถูกบีบให้เลือกสองอย่างว่าจะเอาอะไรไว้ก่อน ระหว่างชีวิตของคน กับเศรษฐกิจของชาติ แน่นอนผมเป็นหมอผมสนับสนุนให้ลุงเลือกชีวิตของคน ลุงไม่ใช่หมออาจจะคิดไม่เหมือนผมก็ไม่เป็นไร แต่ผมทิ้งคำถามไว้ให้ลุงหน่อยว่า ถ้าไม่มีชีวิต แล้วจะมีเศรษฐกิจไว้ทำพรือละครับ
(รักลุง ตั้งแต่ครั้งเสื้อเหลืองเสื้อแดง)
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์