อยากสอบถามเรื่องการไปเรียนต่อที่อเมริกาค่ะ
หนูเป็นแพทย์ใช้ทุนปีที่ 2 กำลังจะตัดสินใจเรียนต่อ ด้วยสถานการณ์บ้านเมืองตอนนี้ กับความฝันตอนเด็กที่อยากไปเรียนต่อ usa
หนูอยากปรึกษา อ เรื่องเรียนต่อที่อเมริกายากมากมั้ยคะ กดดันมากมั้ย หนูพอทราบว่าต้องใช้ USMLE สอบ คนที่นู่นเค้ายอมรับเรามั้ยคะ โอกาสที่จะไปอยู่นู่นยาวๆ ทำงานต่อเลยเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนคะ
......................................................................
ตอบครับ
1. ถามว่าการจะไปฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านที่อเมริกายากไหม ตอบว่ายากครับ เพราะปีหนึ่งๆจะมีคนไทยได้ไปเพียง 4-5 คน ที่เหลือต้องไปเป็น research fellow แทนโดยไม่ได้เข้าโปรแกรมฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน ด่านใหญ่ที่สุดที่เป็นด่านกักกันแพทย์ไทยไม่ให้ไปเป็นแพทย์ประจำบ้านในอเมริกาได้ง่ายๆก็คือการสอบ USMLE นั่นแหละ
2. ถามว่าการไปฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านที่ต่างประเทศกดดันไหม ตอบว่าจะว่ากดดนก็กดดัน จะว่าสนุกดีก็สนุกดี แล้วแต่จะมอง เป็นธรรมดาว่าแพทย์ต่างชาติจะถูกมองว่าเป็นควายก่อนเสมอ จนกว่าจะมีโอกาสได้พิสูจน์ตัวเองว่าไม่ใช่ อย่าลืมว่าผมบอกว่ามีโอกาสนะ บางคนไม่ใช่ควาย แต่ไม่มีโอกาสได้พิสูจน์ตัวเอง ก็เลยถูกมองว่าเป็นควายตลอดกาล ทั้งๆที่ไม่ได้เป็นควาย
ยกตัวอย่างเช่นสมัยผมเป็นแพทย์ประจำบ้านในหน่วยผ่าตัดหัวใจ ผมไปถึงเขาก็บรรจุผมเป็นเรสิเด้นท์ศัลยกรรมหัวใจเลยท่ามกลางสายตาไม่ไว้ใจของทั้งแพทย์และพยาบาลว่าเจ้าหมอกะเหรี่ยงตัวเล็กๆดำๆพูดภาษาคนไม่รู้เรื่องคนนี้จะมาทำอะไรเสียหายกับคนไข้ให้เขาเดือดร้อนขึ้นโรงขึ้นศาลหรือเปล่า ผมมองตาพวกเขาแล้วเข้าใจแต่ก็แกล้งไม่เข้าใจ จึงก้มหน้าก้มตาทำงานของผมไปดุ่ยๆงุดๆ พูดน้อยๆเพราะพูดแล้วฝรั่งฟังไม่ออก ต้องอาศัยเขียนตัวบรรจงแทน ซึ่งเป็นเรื่องยากมากสำหรับผมที่จะเขียนตัวบรรจงแต่ก็ต้องยอม ผมไม่คาดหวังอะไรทั้งนั้น ถือว่าทางใครทางมัน ผมทำงานรับผิดชอบของผมให้ดี จบแล้วก็กลับบ้านไปหาลูกเมีย จนกระทั่งกลางดึกของคืนวันหนึ่งพวกหมออายุรกรรมหัวใจทำบอลลูนฉุกเฉินให้ผู้ป่วยวีไอพี.ระดับชาติแล้วเจ้ากรรมสายสวนหัวใจเกิดทะลุออกนอกหลอดเลือด เลือดออกมาคั่งในถุงหุ้มหัวใจแล้วผู้ป่วยช็อคตาค้างหัวใจหยุดเต้นทันที หัวหน้าอายุรกรรมตามนายของผมโดยตรงแต่นายไม่อยู่ ออกไปตกปลาต่างจังหวัด แล้วนิสัยนายเวลาปลีกวิเวกจะปิดโทรศัพท์ ผมเข้าใจว่าจะป้องกัน ม. โทร.หา (หิ หิ ถ้าเดาผิด กราบขออภัย้เจ้านาย) ขณะที่พวกผู้ใหญ่เขาติดต่อกันอยู่นั้นผมก็ได้รับแจ้งเรื่องตามสายงานปกติด้วย ผมสั่งให้เอาผู้ป่วยเข้าห้องผ่าตัดด่วนทั้งๆที่กำลังซีพีอาร์.อยู่ แล้วผ่าเปิดหน้าอกเข้าไปในถุงหุ้มหัวใจควักเอาเลือดออกมาเพื่อให้หัวใจมีช่องว่างให้เต้นได้ใหม่ วันรุ่งขึ้นผมได้เลื่อนยศจากควายเป็นทาสธรรมดาทันที โถ.. ผมนึกในใจว่านี่มันเรื่องจิ๊บๆ ใครก็ตามที่จบเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญศัลยกรรมทรวงอกที่เมืองไทยแล้วก็ล้วนทำผ่าตัดด้วยวิธีนี้ได้ในชั่วลัดนิ้วมือเดียวทั้งนั้น ไม่ต้องอาศัยความเก่งอะไรเป็นพิเศษเลย แต่เผอิญผมมีโอกาสได้แสดง จึงได้เลื่อนยศเร็ว แล้วพูดแล้วจะหาว่าคุยนะ พอปีรุ่งขึ้นผมก็ได้เลื่อนยศเป็นขุนทาส หิ หิ ก้าวหน้าซะ
3. ถามว่าคนที่นู่นจะยอมรับเราไหม ตอบว่าถ้าคุณได้พิสูจน์ให้คนอื่นเขาเห็นว่าคุณไม่ใช่ควาย เขาก็จะยอมรับ วิชาแพทย์นั้นกว้างใหญ่ไพศาลล้ำลึก ไม่มีใครรู้ดีกว่าใคร ฝรั่งหรือกะเหรี่ยงก็ตกทะเลลึกเดียวกัน และเมื่อคุณแสดงให้เขาเห็นซ้ำๆซากๆว่ากึ๋นหรือ "มอก" ของคุณนั้นล้ำลึกพอควร เขาก็จะยอมรับคุณเอง นอกจากนี้ แพทย์ไทยมีเอกลักษณ์หลายๆอย่างที่แพทย์ฝรั่งไม่มีทำให้แพทย์ไทยเป็นที่ยอมรับง่ายขึ้น เช่น ความอ่อนน้อมถ่อมตน การรู้จักแกล้งโง่ การรู้จักให้อภัย การกล้ารับผิดแม้จะเป็นความผิดอุกฉกรรจ์หรือเป็นการรับผิดแทนลูกน้อง การเอาจริงเอาจังกับการดูแลคนไข้ การไม่เกี่ยงเรื่องผลประโยชน์เช่นการยอมอยู่เวรในวันนักขัตฤกษ์ เป็นต้น
4. ถามว่าการจะอยู่ทำงานต่อที่โน่นยาวเลยเป็นไปได้ไหม ตอบว่าเป็นไปได้หาก J-1 visa หมด (เจ็ดปี) แล้วคุณต้องกลับมาก่อน แล้วหาตำแหน่งงานแล้วค่อยกลับไปใหม่ หากผลงานเก่าของคุณดี หรือหนังสือแนะนำคุณแข็งแรง คุณก็หางานทำได้
5. ถามว่าควรจะลงทุนทุ่มเทเพื่อให้ได้ไปฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านที่อเมริกาไหม ตอบว่าถ้าคุณไม่มีลูก ไม่มี ผ. หรือมี ผ. แต่เขามีสิทธิเท่ากับศูนย์ และคุณมีเงินทุนที่จะผลาญไปกับเรื่องนี้ประมาณ 2 ล้านบาทขึ้นไป มีเวลาที่อาจจะเสียไปฟรีๆประมาณ 2 ปี ผมแนะนำว่าคุณควรจะลงทุนทุ่มเท ซึ่งคุณอาจจะต้องไปเข้าโรงเรียนติวสอบ USMLE อยู่ที่โน่นนาน 1-2 ปีด้วยเงินของตัวเอง เหตุผลที่ผมเชียร์ก็เพราะผมอยากให้แพทย์ไทยรุ่นใหม่ได้มีโอกาสไปฝึกอบรมทางโน้นบ้างไม่ให้ขาดสาย ไม่ใช่ว่ากลัวความรู้ไม่ทันเขาหรอก เพราะความรู้อยู่ที่ไหนก็เรียนทันกันหมด แต่การฝึกวินัยในการทำงานของฝรั่งนั้น ถ้าแพทย์ไทยได้มีโอกาสไปฝึกบ้างก็จะได้เลือกนำเอาส่วนที่ดีมาฝึกแพทย์ไทยรุ่นหลังๆต่อไป การฝึกวินัยในการทำงานนี้หากเราไปเป็น research fellow โดยไม่ได้เข้าเป็นแพทย์ประจำบ้านมันจะได้ฝึกน้อยเพราะไม่ได้อยู่ในสายการทำงานของเขาไม่ได้เป็นลูกน้องไม่ได้เป็นหัวหน้าจึงไม่รู้รสชาติที่แท้จริงว่าฝรั่งเขาทำงานกันอย่างไร
สุดท้ายนี้ขออวยพรให้คุณหมอประสบความสำเร็จดังหวัง แต่หากพยายามสองปีแล้วยังไม่สำเร็จก็ไม่เป็นไร ก็กลับมาทำงานบ้านเราใหม่ เงินและเวลาที่เสียไปก็ถือว่าเอาไปซื้อความรู้และประสบการณ์ในต่างแดน ไม่ต้องเคอะเขินขวยอายอะไร เพราะมีรุ่นพี่ของคุณหมอจำนวนมากที่พยายามทุ่มเทแล้วแต่ไปไม่ได้ หลายคนอยู่ทำงานบ้านเราก็สร้างผลงานดีๆสร้างสรรค์สิ่งดีๆไว้มากมายก็มี
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
หนูอยากปรึกษา อ เรื่องเรียนต่อที่อเมริกายากมากมั้ยคะ กดดันมากมั้ย หนูพอทราบว่าต้องใช้ USMLE สอบ คนที่นู่นเค้ายอมรับเรามั้ยคะ โอกาสที่จะไปอยู่นู่นยาวๆ ทำงานต่อเลยเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนคะ
......................................................................
ตอบครับ
1. ถามว่าการจะไปฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านที่อเมริกายากไหม ตอบว่ายากครับ เพราะปีหนึ่งๆจะมีคนไทยได้ไปเพียง 4-5 คน ที่เหลือต้องไปเป็น research fellow แทนโดยไม่ได้เข้าโปรแกรมฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน ด่านใหญ่ที่สุดที่เป็นด่านกักกันแพทย์ไทยไม่ให้ไปเป็นแพทย์ประจำบ้านในอเมริกาได้ง่ายๆก็คือการสอบ USMLE นั่นแหละ
2. ถามว่าการไปฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านที่ต่างประเทศกดดันไหม ตอบว่าจะว่ากดดนก็กดดัน จะว่าสนุกดีก็สนุกดี แล้วแต่จะมอง เป็นธรรมดาว่าแพทย์ต่างชาติจะถูกมองว่าเป็นควายก่อนเสมอ จนกว่าจะมีโอกาสได้พิสูจน์ตัวเองว่าไม่ใช่ อย่าลืมว่าผมบอกว่ามีโอกาสนะ บางคนไม่ใช่ควาย แต่ไม่มีโอกาสได้พิสูจน์ตัวเอง ก็เลยถูกมองว่าเป็นควายตลอดกาล ทั้งๆที่ไม่ได้เป็นควาย
ยกตัวอย่างเช่นสมัยผมเป็นแพทย์ประจำบ้านในหน่วยผ่าตัดหัวใจ ผมไปถึงเขาก็บรรจุผมเป็นเรสิเด้นท์ศัลยกรรมหัวใจเลยท่ามกลางสายตาไม่ไว้ใจของทั้งแพทย์และพยาบาลว่าเจ้าหมอกะเหรี่ยงตัวเล็กๆดำๆพูดภาษาคนไม่รู้เรื่องคนนี้จะมาทำอะไรเสียหายกับคนไข้ให้เขาเดือดร้อนขึ้นโรงขึ้นศาลหรือเปล่า ผมมองตาพวกเขาแล้วเข้าใจแต่ก็แกล้งไม่เข้าใจ จึงก้มหน้าก้มตาทำงานของผมไปดุ่ยๆงุดๆ พูดน้อยๆเพราะพูดแล้วฝรั่งฟังไม่ออก ต้องอาศัยเขียนตัวบรรจงแทน ซึ่งเป็นเรื่องยากมากสำหรับผมที่จะเขียนตัวบรรจงแต่ก็ต้องยอม ผมไม่คาดหวังอะไรทั้งนั้น ถือว่าทางใครทางมัน ผมทำงานรับผิดชอบของผมให้ดี จบแล้วก็กลับบ้านไปหาลูกเมีย จนกระทั่งกลางดึกของคืนวันหนึ่งพวกหมออายุรกรรมหัวใจทำบอลลูนฉุกเฉินให้ผู้ป่วยวีไอพี.ระดับชาติแล้วเจ้ากรรมสายสวนหัวใจเกิดทะลุออกนอกหลอดเลือด เลือดออกมาคั่งในถุงหุ้มหัวใจแล้วผู้ป่วยช็อคตาค้างหัวใจหยุดเต้นทันที หัวหน้าอายุรกรรมตามนายของผมโดยตรงแต่นายไม่อยู่ ออกไปตกปลาต่างจังหวัด แล้วนิสัยนายเวลาปลีกวิเวกจะปิดโทรศัพท์ ผมเข้าใจว่าจะป้องกัน ม. โทร.หา (หิ หิ ถ้าเดาผิด กราบขออภัย้เจ้านาย) ขณะที่พวกผู้ใหญ่เขาติดต่อกันอยู่นั้นผมก็ได้รับแจ้งเรื่องตามสายงานปกติด้วย ผมสั่งให้เอาผู้ป่วยเข้าห้องผ่าตัดด่วนทั้งๆที่กำลังซีพีอาร์.อยู่ แล้วผ่าเปิดหน้าอกเข้าไปในถุงหุ้มหัวใจควักเอาเลือดออกมาเพื่อให้หัวใจมีช่องว่างให้เต้นได้ใหม่ วันรุ่งขึ้นผมได้เลื่อนยศจากควายเป็นทาสธรรมดาทันที โถ.. ผมนึกในใจว่านี่มันเรื่องจิ๊บๆ ใครก็ตามที่จบเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญศัลยกรรมทรวงอกที่เมืองไทยแล้วก็ล้วนทำผ่าตัดด้วยวิธีนี้ได้ในชั่วลัดนิ้วมือเดียวทั้งนั้น ไม่ต้องอาศัยความเก่งอะไรเป็นพิเศษเลย แต่เผอิญผมมีโอกาสได้แสดง จึงได้เลื่อนยศเร็ว แล้วพูดแล้วจะหาว่าคุยนะ พอปีรุ่งขึ้นผมก็ได้เลื่อนยศเป็นขุนทาส หิ หิ ก้าวหน้าซะ
3. ถามว่าคนที่นู่นจะยอมรับเราไหม ตอบว่าถ้าคุณได้พิสูจน์ให้คนอื่นเขาเห็นว่าคุณไม่ใช่ควาย เขาก็จะยอมรับ วิชาแพทย์นั้นกว้างใหญ่ไพศาลล้ำลึก ไม่มีใครรู้ดีกว่าใคร ฝรั่งหรือกะเหรี่ยงก็ตกทะเลลึกเดียวกัน และเมื่อคุณแสดงให้เขาเห็นซ้ำๆซากๆว่ากึ๋นหรือ "มอก" ของคุณนั้นล้ำลึกพอควร เขาก็จะยอมรับคุณเอง นอกจากนี้ แพทย์ไทยมีเอกลักษณ์หลายๆอย่างที่แพทย์ฝรั่งไม่มีทำให้แพทย์ไทยเป็นที่ยอมรับง่ายขึ้น เช่น ความอ่อนน้อมถ่อมตน การรู้จักแกล้งโง่ การรู้จักให้อภัย การกล้ารับผิดแม้จะเป็นความผิดอุกฉกรรจ์หรือเป็นการรับผิดแทนลูกน้อง การเอาจริงเอาจังกับการดูแลคนไข้ การไม่เกี่ยงเรื่องผลประโยชน์เช่นการยอมอยู่เวรในวันนักขัตฤกษ์ เป็นต้น
4. ถามว่าการจะอยู่ทำงานต่อที่โน่นยาวเลยเป็นไปได้ไหม ตอบว่าเป็นไปได้หาก J-1 visa หมด (เจ็ดปี) แล้วคุณต้องกลับมาก่อน แล้วหาตำแหน่งงานแล้วค่อยกลับไปใหม่ หากผลงานเก่าของคุณดี หรือหนังสือแนะนำคุณแข็งแรง คุณก็หางานทำได้
5. ถามว่าควรจะลงทุนทุ่มเทเพื่อให้ได้ไปฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านที่อเมริกาไหม ตอบว่าถ้าคุณไม่มีลูก ไม่มี ผ. หรือมี ผ. แต่เขามีสิทธิเท่ากับศูนย์ และคุณมีเงินทุนที่จะผลาญไปกับเรื่องนี้ประมาณ 2 ล้านบาทขึ้นไป มีเวลาที่อาจจะเสียไปฟรีๆประมาณ 2 ปี ผมแนะนำว่าคุณควรจะลงทุนทุ่มเท ซึ่งคุณอาจจะต้องไปเข้าโรงเรียนติวสอบ USMLE อยู่ที่โน่นนาน 1-2 ปีด้วยเงินของตัวเอง เหตุผลที่ผมเชียร์ก็เพราะผมอยากให้แพทย์ไทยรุ่นใหม่ได้มีโอกาสไปฝึกอบรมทางโน้นบ้างไม่ให้ขาดสาย ไม่ใช่ว่ากลัวความรู้ไม่ทันเขาหรอก เพราะความรู้อยู่ที่ไหนก็เรียนทันกันหมด แต่การฝึกวินัยในการทำงานของฝรั่งนั้น ถ้าแพทย์ไทยได้มีโอกาสไปฝึกบ้างก็จะได้เลือกนำเอาส่วนที่ดีมาฝึกแพทย์ไทยรุ่นหลังๆต่อไป การฝึกวินัยในการทำงานนี้หากเราไปเป็น research fellow โดยไม่ได้เข้าเป็นแพทย์ประจำบ้านมันจะได้ฝึกน้อยเพราะไม่ได้อยู่ในสายการทำงานของเขาไม่ได้เป็นลูกน้องไม่ได้เป็นหัวหน้าจึงไม่รู้รสชาติที่แท้จริงว่าฝรั่งเขาทำงานกันอย่างไร
สุดท้ายนี้ขออวยพรให้คุณหมอประสบความสำเร็จดังหวัง แต่หากพยายามสองปีแล้วยังไม่สำเร็จก็ไม่เป็นไร ก็กลับมาทำงานบ้านเราใหม่ เงินและเวลาที่เสียไปก็ถือว่าเอาไปซื้อความรู้และประสบการณ์ในต่างแดน ไม่ต้องเคอะเขินขวยอายอะไร เพราะมีรุ่นพี่ของคุณหมอจำนวนมากที่พยายามทุ่มเทแล้วแต่ไปไม่ได้ หลายคนอยู่ทำงานบ้านเราก็สร้างผลงานดีๆสร้างสรรค์สิ่งดีๆไว้มากมายก็มี
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์