(เรื่องไร้สาระ-6) นึกว่าทุเรียน กลับเป็นคางคก
ผมเป็นคนชอบกินมะพร้าวอ่อน เพราะตอนเด็กแม่ตั้งร้านข้างถนนขายมะพร้าวอ่อน ผมจึงมีทักษะในการปอกมะพร้าวอ่อนให้ลูกค้า และเมื่อลูกค้าไม่มีก็ปอกกินเสียเอง ที่มวกเหล็กไม่เหมือนที่พะเยา เพราะที่มวกเหล็กเป็นเมืองภูเขาหินเขาดินลูกรัง มะพร้าวไม่ชอบขึ้น สมัยก่อนจึงไม่มีมะพร้าวอ่อนขาย ต่อมาเมืองมวกเหล็กโตขึ้นเพราะมีคนเข้ามาทำงานก่อสร้างทางรถไฟทางคู่บ้าง โรงเรียนนายทหารอากาศบ้าง จึงมีการจัดตลาดนัดบ่อยๆ ลุงดอนคนเฝ้าบ้านของผมบอกว่าสัปดาห์หนึ่งมีเจ็ดวันแต่มวกเหล็กมีตลาดนัดแปดครั้ง มีนัก "เปิดท้ายขายของ" จากต่างเมืองแวะเข้ามาขายของมากมาย เพื่อนซึ่งเป็นวิศวกรคนหนึ่งชอบไปเดินดูของที่เขาวางขายที่ตลาดนัดมวกเหล็ก เขาพูดชักชวนให้ผมไปดูว่า
"ของนอกอิมพอร์ตก็เยอะนะ" ผมถามว่า
"มวกเหล็กไม่ใช่เมืองชายแดน จะอิมพอร์ตของมาจากไหนหรือ" เขาตอบว่า
"มาจากอีลัก กับอีหยิบ"
(ฮะ ฮ่า ฮ่า ตะแล้น ตะแล้น ตะแล้น)
กลับมาพูดถึงมะพร้าวอ่อน ในบรรดาคนมาเปิดท้ายขายของก็มีคนขายมะพร้าวอ่อนด้วย ทำให้ผมมีโอกาสได้กลับมากินมะพร้าวอ่อนใหม่ เข้าตลาดซื้อกันทีไม่ต่ำกว่าเจ็ดแปดลูก เพื่อนที่มาคบหากันพอรู้ว่าผมชอบกินมะพร้าวอ่อนเมื่อมาหาก็แวะซื้อมะพร้าวอ่อนมาฝาก ทำให้ขยะจากลูกมะพร้าวในแต่ละสัปดาห์กองพะเนินเทินทึกจนผมรู้สึกเกรงใจคนเก็บขยะของเทศบาลมวกเหล็ก
ประกอบกับผมเริ่มสอนให้พนักงานที่เวลเนสวีแคร์ลงมือแยกขยะเพื่อเอาขยะย่อยสลายได้ไปทำปุ๋ย เมื่อสอนเขาแล้วบ้านของตัวเองก็ควรแยกขยะด้วย ผมจึงลองระบบแยกขยะที่บ้านบนเขา ลองไปหลายแบบ มาลงตัวที่แบบภูมิปัญญาไทยดั้งเดิม คือระบบส้วมหลุม แปลว่าเอาขยะไปฝังดินดื้อๆ เพราะผมมีหลุมที่ขุดไว้ตั้งใจจะทำสวนปลูกกาแฟ ขุดหลุมขนมครกไว้เต็มไปหมดแต่ปลูกกาแฟได้สิบกว่าต้นก็หยุดปลูก เพราะพอผลิตผลกาแฟออกมาแล้วผมถูก ม. ใช้ให้ล้างและบี้เม็ดกาแฟเพื่อให้เธอเอาไปคั่ว โห..กาแฟหอมอร่อยก็จริง แต่งานบี้เม็ดกาแฟเนี่ยมันหนักและน่าเบื่อซะ ผมจึงระงับโครงการปลูกกาแฟไว้แค่นั้น เหลือแต่หลุมขนมครกกระจายอยู่ทั่วพื้นสวนอีกหลายหลุม ใช้เป็นหลุมฝังขยะได้สบายๆ หลุมนี้เต็มก็ไปหลุมหน้า พอหลุมเก่ายุบไปก็กลับมาใส่ใหม่ ด้วยวิธีนี้ระบบกำจัดขยะย่อยสลายได้ของผมจะสบายบื๋อไปอีกหลายสิบปี
วันหนึ่ง ผมเอาขยะไปฝัง ตั้งใจว่าจะควักหลุมเก่าที่ยุบไปแล้วเพื่อเอาขยะใหม่ลงเพิ่ม พอเอาจอบขูดเอาใบไม้แห้งหน้าหลุมออกก็สะดุดเปลือกทุเรียน ผมสงสัยว่านี่คนสวนของผมอู้ฟู่ขนาดซื้อทุเรียนมากินได้เลยหรือนี่ เพราะเจ้านายยังไม่มีปัญญาเลย ขูดไปขูดมาทุเรียนนั้นเกิดเด้งได้ อ้าว..กลายเป็นคางคกยักษ์ ตัวโตยังกะเต่า ไม่หนีจอบของผมด้วย แค่เงยหน้าขึ้นมามองผมอย่างรำคาญ ตัวมันอ้วนใหญ่ผิดคางคกที่เคยเห็นทั่วไป ถ้าไม่ใช่มันเป็นคางคกกลายพันธุ์เพราะโดนรังสีเอ็กซ์ก็คงเป็นเพราะมันอยู่ในบ่ออาหารที่สมบูรณ์เกินขนาด ผมจึงตัดสินใจสำรวจขุดค้นลงไปยังก้นหลุมขยะ จึงพบว่ามีสัตว์ใต้ดินอยู่ในหลุมนั้นเพียบ ทั้งสาระพัดแมลง ปลวก มด รวมทั้งจิ้งหรีด กิ้งกือ ด้วง ไส้เดือน ตัวลูกก๋งพระอินทร์ ไฮไลท์อยู่ที่ตอนที่จอบพลิกเอากะลามะพร้าวที่ยังไม่ย่อยสลายให้หงายขึ้นมา โอ้..โฮ มีกิ้งกือไส้เดือนพากันไปอาศัยอยู่ในโพรงของกะลามะพร้าวใต้ดินนั้นลูกละร่วมสิบตัวยั้วเยี้ยราวกับเป็นเมืองพิภพใต้บาดาล บรื๊อว..ว ทำให้ผมเกินปิ๊งไอเดียขึ้นมาว่า
"ได้การละ ขยะลูกมะพร้าวนี่ไง ที่จะมาเป็นโพรงให้สัตว์ที่มีหน้าที่ช่วยให้ดินร่วนซุยได้ซุกซ่อนอาศัย"
คิดได้แล้วแต่มัวยุ่งๆกับงานทำแค้มป์สอนคนไข้จนลืมไป จนวันหนึ่งหลังจากที่โรคโควิด19 ออกอาละวาด ลูกน้องไปซื้อไข่ที่ตลาดมวกเหล็กแล้วกลับมารายงานว่า..ไข่หมดตลาด
"หา อะไรนะ มวกเหล็กเนี่ยนะ ไข่หมดตลาด!"
มวกเหล็กและกลางดงเนี่ยเป็นตำบลอภิมหาเกษตรกรรมเลยนะทำการเกษตรทุกชนิดแต่เป็นไปได้ไงไข่หมดตลาด ลูกน้องแก้ต่างให้ว่าคงเป็นเพราะผู้ว่ากทม.ให้ข่าวว่าจะปิดช้อปปิ้งมอลกรุงเทพ ชาวมวกเหล็กคงกลัวต่อไปตลาดมวกเหล็กจะถูกผู้ว่าสั่งปิดด้วย จึงรีบมาซื้อของตุนไว้ ซึ่งเป็นคำอธิบายที่ฟังขึ้น เพราะผมเห็นว่าหลายปีหลังมานี้คนมวกเหล็กชอบทำอะไรตามแบบคนกรุงเทพไปซะแทบทุกเรื่อง
แต่ไม่เป็นไร ที่บ้านบนเขาผมก็ปลูกอะไรไว้บ้างเหมือนกัน หมดท่าก็คงพอมีอะไรให้เก็บกินอยู่บ้างหรอก ตกเย็นพอต้องการมะนาวผมก็เดินลงไปจะเก็บมะนาวเลมอนที่ปลูกไว้มากิน เห็นครั้งสุดท้ายว่ามันออกลูกใกล้สุก แต่พอลงไปถึง
มะนาวแห้งตายไปแล้ว..จบข่าว
หิ หิ ก็สามเดือนไม่ได้ลงมาดูเลย มัวแต่ยุ่งเรื่องนั่นเรื่องนี่ โธ่ ทำสวนอย่างนี้แล้วจะได้กินไหมเนี่ยคุณพี่ แล้วนี่ถ้าพืชอาหารที่ตลาดมวกเหล็กหมดผมก็อดตายสิ ทั้งๆที่ตัวเองก็มีที่ดินที่อยู่เป็นไร่ อายเขาไหมละ คิดขึ้นมาถึงตรงนี้จึงร่างโปรเจ็คใหม่ทันที
แถ่น..แทน..แท้น "Food Forest" หรือ "ป่าอาหาร" คือชื่อของโปรเจ็คไร้สาระอันใหม่นี้ เกิดขึ้นมาเพราะความบันดาลใจจากโรคโควิด19 ที่ทำให้ตลาดมวกเหล็กไม่มีไข่ขายและโควิดนี้อีกนั่นแหละที่ทำให้หมอสันต์ต้องงดทำแค้มป์ที่เวลเนสวีแคร์จนกลายเป็นคนว่างงาน โครงการนี้จะเป็นการบูรณาการการเอาขยะกะลามะพร้าวมาทำบ้านใต้ดินให้ไส้เดือนและกิ้งกือบวกเข้าไปกับการทำสวนป่าเพื่อผลิตอาหาร ใช้ที่ดินทำโครงการ 50 ตารางเมตร หรือราว 12.5 ตารางวา คิดได้แล้วก็เรียกประชุมคณะทำงาน ซึ่งมีกันสองคนคือผมกับลุงดอน และระดมทรัพยากร คือจอบคนละอัน แล้วก็เริ่มต้นโครงการด้วยการขุด ขุด ขุด ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2563 อันเป็นปีที่ 2 ในรัชกาลปัจจุบัน
แผนก็คือจะขุดเป็นหลุมกลมขนาดผ่าศูนย์กลางราว 8 เมตร ลึกครึ่งเมตร เพื่อทำการ "ปรุงดิน" ก่อน แต่ว่าเมื่อลงมือขุดแล้วก็พบว่า โห.. ดินมันช่างแข็งซะ มือไม้แตกหมด คืบหน้าช้าเหลือเกิน สองคนกับลุงดอนแม้จะทำงานแบบโอที.ด้วย กว่าจะขุดได้ถึงเป้าหมายน่าจะต้องใช้เวลาเป็นเดือน จึงคิดถึงคำพูดฝรั่งขึ้นมา
"Why work hard?"
"จะเลือกวิธีทำงานหนักไปทำไมละเจ้าพี่"
จริงครับ จริงครับ อย่ากระนั้นเลย พอดีเพื่อนบ้านเขาจ้างรถแบ็คโฮเข้ามาขุดฐานรากสร้างบ้านใหม่ ผมจึงจ้างต่อให้มาขุดสวนให้ผมด้วย รถขุดกึง กึง กึง สองสามแป๊บก็เสร็จ จากนั้นก็เอาเศษไม้ใบไม้ลง เอาขี้วัวซึ่งเป็นปุ๋ยประจำชาติ เอ๊ย..ปุ๋ยประจำเมืองมวกเหล็กลงใส่ เอาแกลบดิบลงเพื่อให้ดินมีความร่วนซุยพอที่รากพืชจะหยั่งลงได้ เอาขยะลูกมะพร้าวและกะลามะพร้าวลง แล้วใช้ทั้งจอบทั้งคราดคลุกๆๆ ในที่สุดขั้นตอนการปรุงดินก็เสร็จสรรพ จึงถ่ายรูปไว้เป็นหลักฐาน
จากนี้ไปก็จะเป็นการทะยอยปลูกพืชอาหารในรูปแบบ Miyawaki Forest คือป่าอาหารแบบผสมผสานให้พืชได้ใช้ประโยชน์จากแสงแดดตั้งแต่ระดับสูง กลาง ต่ำลงไปจนถึงระดับระผิวดิน ผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการนี้ตามที่หมอสันต์รายงานให้หน่วยเหนือทราบประกอบการขออนุมัติงบประมาณก็คือผืนดิน 50 ตรม.นี้จะสามารถผลิตอาหารให้คนกินได้ประมาณครึ่งหนึ่งของประชากรในหมู่บ้านมวกเหล็กวาลเลย์...ผ่าง ผ่าง ผ่าง ข้อเท็จจริงจะเป็นประการใด ขอให้ท่านผู้อ่านติดตามดูเมื่อเริ่มผลิตอาหารมาชั่งตวงวัดได้จริงๆแล้ว
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
"ของนอกอิมพอร์ตก็เยอะนะ" ผมถามว่า
"มวกเหล็กไม่ใช่เมืองชายแดน จะอิมพอร์ตของมาจากไหนหรือ" เขาตอบว่า
"มาจากอีลัก กับอีหยิบ"
(ฮะ ฮ่า ฮ่า ตะแล้น ตะแล้น ตะแล้น)
กลับมาพูดถึงมะพร้าวอ่อน ในบรรดาคนมาเปิดท้ายขายของก็มีคนขายมะพร้าวอ่อนด้วย ทำให้ผมมีโอกาสได้กลับมากินมะพร้าวอ่อนใหม่ เข้าตลาดซื้อกันทีไม่ต่ำกว่าเจ็ดแปดลูก เพื่อนที่มาคบหากันพอรู้ว่าผมชอบกินมะพร้าวอ่อนเมื่อมาหาก็แวะซื้อมะพร้าวอ่อนมาฝาก ทำให้ขยะจากลูกมะพร้าวในแต่ละสัปดาห์กองพะเนินเทินทึกจนผมรู้สึกเกรงใจคนเก็บขยะของเทศบาลมวกเหล็ก
ประกอบกับผมเริ่มสอนให้พนักงานที่เวลเนสวีแคร์ลงมือแยกขยะเพื่อเอาขยะย่อยสลายได้ไปทำปุ๋ย เมื่อสอนเขาแล้วบ้านของตัวเองก็ควรแยกขยะด้วย ผมจึงลองระบบแยกขยะที่บ้านบนเขา ลองไปหลายแบบ มาลงตัวที่แบบภูมิปัญญาไทยดั้งเดิม คือระบบส้วมหลุม แปลว่าเอาขยะไปฝังดินดื้อๆ เพราะผมมีหลุมที่ขุดไว้ตั้งใจจะทำสวนปลูกกาแฟ ขุดหลุมขนมครกไว้เต็มไปหมดแต่ปลูกกาแฟได้สิบกว่าต้นก็หยุดปลูก เพราะพอผลิตผลกาแฟออกมาแล้วผมถูก ม. ใช้ให้ล้างและบี้เม็ดกาแฟเพื่อให้เธอเอาไปคั่ว โห..กาแฟหอมอร่อยก็จริง แต่งานบี้เม็ดกาแฟเนี่ยมันหนักและน่าเบื่อซะ ผมจึงระงับโครงการปลูกกาแฟไว้แค่นั้น เหลือแต่หลุมขนมครกกระจายอยู่ทั่วพื้นสวนอีกหลายหลุม ใช้เป็นหลุมฝังขยะได้สบายๆ หลุมนี้เต็มก็ไปหลุมหน้า พอหลุมเก่ายุบไปก็กลับมาใส่ใหม่ ด้วยวิธีนี้ระบบกำจัดขยะย่อยสลายได้ของผมจะสบายบื๋อไปอีกหลายสิบปี
วันหนึ่ง ผมเอาขยะไปฝัง ตั้งใจว่าจะควักหลุมเก่าที่ยุบไปแล้วเพื่อเอาขยะใหม่ลงเพิ่ม พอเอาจอบขูดเอาใบไม้แห้งหน้าหลุมออกก็สะดุดเปลือกทุเรียน ผมสงสัยว่านี่คนสวนของผมอู้ฟู่ขนาดซื้อทุเรียนมากินได้เลยหรือนี่ เพราะเจ้านายยังไม่มีปัญญาเลย ขูดไปขูดมาทุเรียนนั้นเกิดเด้งได้ อ้าว..กลายเป็นคางคกยักษ์ ตัวโตยังกะเต่า ไม่หนีจอบของผมด้วย แค่เงยหน้าขึ้นมามองผมอย่างรำคาญ ตัวมันอ้วนใหญ่ผิดคางคกที่เคยเห็นทั่วไป ถ้าไม่ใช่มันเป็นคางคกกลายพันธุ์เพราะโดนรังสีเอ็กซ์ก็คงเป็นเพราะมันอยู่ในบ่ออาหารที่สมบูรณ์เกินขนาด ผมจึงตัดสินใจสำรวจขุดค้นลงไปยังก้นหลุมขยะ จึงพบว่ามีสัตว์ใต้ดินอยู่ในหลุมนั้นเพียบ ทั้งสาระพัดแมลง ปลวก มด รวมทั้งจิ้งหรีด กิ้งกือ ด้วง ไส้เดือน ตัวลูกก๋งพระอินทร์ ไฮไลท์อยู่ที่ตอนที่จอบพลิกเอากะลามะพร้าวที่ยังไม่ย่อยสลายให้หงายขึ้นมา โอ้..โฮ มีกิ้งกือไส้เดือนพากันไปอาศัยอยู่ในโพรงของกะลามะพร้าวใต้ดินนั้นลูกละร่วมสิบตัวยั้วเยี้ยราวกับเป็นเมืองพิภพใต้บาดาล บรื๊อว..ว ทำให้ผมเกินปิ๊งไอเดียขึ้นมาว่า
"ได้การละ ขยะลูกมะพร้าวนี่ไง ที่จะมาเป็นโพรงให้สัตว์ที่มีหน้าที่ช่วยให้ดินร่วนซุยได้ซุกซ่อนอาศัย"
คิดได้แล้วแต่มัวยุ่งๆกับงานทำแค้มป์สอนคนไข้จนลืมไป จนวันหนึ่งหลังจากที่โรคโควิด19 ออกอาละวาด ลูกน้องไปซื้อไข่ที่ตลาดมวกเหล็กแล้วกลับมารายงานว่า..ไข่หมดตลาด
"หา อะไรนะ มวกเหล็กเนี่ยนะ ไข่หมดตลาด!"
มวกเหล็กและกลางดงเนี่ยเป็นตำบลอภิมหาเกษตรกรรมเลยนะทำการเกษตรทุกชนิดแต่เป็นไปได้ไงไข่หมดตลาด ลูกน้องแก้ต่างให้ว่าคงเป็นเพราะผู้ว่ากทม.ให้ข่าวว่าจะปิดช้อปปิ้งมอลกรุงเทพ ชาวมวกเหล็กคงกลัวต่อไปตลาดมวกเหล็กจะถูกผู้ว่าสั่งปิดด้วย จึงรีบมาซื้อของตุนไว้ ซึ่งเป็นคำอธิบายที่ฟังขึ้น เพราะผมเห็นว่าหลายปีหลังมานี้คนมวกเหล็กชอบทำอะไรตามแบบคนกรุงเทพไปซะแทบทุกเรื่อง
แต่ไม่เป็นไร ที่บ้านบนเขาผมก็ปลูกอะไรไว้บ้างเหมือนกัน หมดท่าก็คงพอมีอะไรให้เก็บกินอยู่บ้างหรอก ตกเย็นพอต้องการมะนาวผมก็เดินลงไปจะเก็บมะนาวเลมอนที่ปลูกไว้มากิน เห็นครั้งสุดท้ายว่ามันออกลูกใกล้สุก แต่พอลงไปถึง
มะนาวแห้งตายไปแล้ว..จบข่าว
หิ หิ ก็สามเดือนไม่ได้ลงมาดูเลย มัวแต่ยุ่งเรื่องนั่นเรื่องนี่ โธ่ ทำสวนอย่างนี้แล้วจะได้กินไหมเนี่ยคุณพี่ แล้วนี่ถ้าพืชอาหารที่ตลาดมวกเหล็กหมดผมก็อดตายสิ ทั้งๆที่ตัวเองก็มีที่ดินที่อยู่เป็นไร่ อายเขาไหมละ คิดขึ้นมาถึงตรงนี้จึงร่างโปรเจ็คใหม่ทันที
แถ่น..แทน..แท้น "Food Forest" หรือ "ป่าอาหาร" คือชื่อของโปรเจ็คไร้สาระอันใหม่นี้ เกิดขึ้นมาเพราะความบันดาลใจจากโรคโควิด19 ที่ทำให้ตลาดมวกเหล็กไม่มีไข่ขายและโควิดนี้อีกนั่นแหละที่ทำให้หมอสันต์ต้องงดทำแค้มป์ที่เวลเนสวีแคร์จนกลายเป็นคนว่างงาน โครงการนี้จะเป็นการบูรณาการการเอาขยะกะลามะพร้าวมาทำบ้านใต้ดินให้ไส้เดือนและกิ้งกือบวกเข้าไปกับการทำสวนป่าเพื่อผลิตอาหาร ใช้ที่ดินทำโครงการ 50 ตารางเมตร หรือราว 12.5 ตารางวา คิดได้แล้วก็เรียกประชุมคณะทำงาน ซึ่งมีกันสองคนคือผมกับลุงดอน และระดมทรัพยากร คือจอบคนละอัน แล้วก็เริ่มต้นโครงการด้วยการขุด ขุด ขุด ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2563 อันเป็นปีที่ 2 ในรัชกาลปัจจุบัน
แผนก็คือจะขุดเป็นหลุมกลมขนาดผ่าศูนย์กลางราว 8 เมตร ลึกครึ่งเมตร เพื่อทำการ "ปรุงดิน" ก่อน แต่ว่าเมื่อลงมือขุดแล้วก็พบว่า โห.. ดินมันช่างแข็งซะ มือไม้แตกหมด คืบหน้าช้าเหลือเกิน สองคนกับลุงดอนแม้จะทำงานแบบโอที.ด้วย กว่าจะขุดได้ถึงเป้าหมายน่าจะต้องใช้เวลาเป็นเดือน จึงคิดถึงคำพูดฝรั่งขึ้นมา
"Why work hard?"
"จะเลือกวิธีทำงานหนักไปทำไมละเจ้าพี่"
ขั้นตอนปรุงดินจบแล้ว พร้อมที่จะปลูกป่าอาหาร |
จริงครับ จริงครับ อย่ากระนั้นเลย พอดีเพื่อนบ้านเขาจ้างรถแบ็คโฮเข้ามาขุดฐานรากสร้างบ้านใหม่ ผมจึงจ้างต่อให้มาขุดสวนให้ผมด้วย รถขุดกึง กึง กึง สองสามแป๊บก็เสร็จ จากนั้นก็เอาเศษไม้ใบไม้ลง เอาขี้วัวซึ่งเป็นปุ๋ยประจำชาติ เอ๊ย..ปุ๋ยประจำเมืองมวกเหล็กลงใส่ เอาแกลบดิบลงเพื่อให้ดินมีความร่วนซุยพอที่รากพืชจะหยั่งลงได้ เอาขยะลูกมะพร้าวและกะลามะพร้าวลง แล้วใช้ทั้งจอบทั้งคราดคลุกๆๆ ในที่สุดขั้นตอนการปรุงดินก็เสร็จสรรพ จึงถ่ายรูปไว้เป็นหลักฐาน
จากนี้ไปก็จะเป็นการทะยอยปลูกพืชอาหารในรูปแบบ Miyawaki Forest คือป่าอาหารแบบผสมผสานให้พืชได้ใช้ประโยชน์จากแสงแดดตั้งแต่ระดับสูง กลาง ต่ำลงไปจนถึงระดับระผิวดิน ผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการนี้ตามที่หมอสันต์รายงานให้หน่วยเหนือทราบประกอบการขออนุมัติงบประมาณก็คือผืนดิน 50 ตรม.นี้จะสามารถผลิตอาหารให้คนกินได้ประมาณครึ่งหนึ่งของประชากรในหมู่บ้านมวกเหล็กวาลเลย์...ผ่าง ผ่าง ผ่าง ข้อเท็จจริงจะเป็นประการใด ขอให้ท่านผู้อ่านติดตามดูเมื่อเริ่มผลิตอาหารมาชั่งตวงวัดได้จริงๆแล้ว
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์