อย่า..อย่าให้คนเป็นไข้เข้าไปในโรงพยาบาล
เมื่อวานผมถามพยาบาลผู้ช่วยถึงลูกน้องอีกคนหนึ่งซึ่งผมไม่เห็นหน้ามาสองวัน ก็ได้รับรายงานว่าเธอเป็นไข้จึงไปโรงพยาบาล ผมอุทานว่า
"..เฮ้ย ช่วงนี้เป็นไข้ไปโรงพยาบาลได้ด้วยหรือ แล้วหมอเขารับดูให้หรือ" ก็ถูกถามว่า
"ทำไมจะไม่ดูให้ละค่ะ"
"..อ้าว ช่วงที่กำลังมีการระบาดของโควิด19 ปกติเขาต้องห้ามไม่ให้คนเป็นไข้เข้าโรงพยาบาล เขาต้องเก็บโรงพยาบาลไว้รักษาโรคเรื้อรังต่างๆที่ไม่เกี่ยวกับการเป็นไข้ เพราะหากให้คนเป็นไข้เข้าไปใช้โรงพยาบาลช่วงนี้ ในจำนวนนั้นบางคนก็เป็นโควิด19 โดยที่หมอและพยาบาลไม่รู้ ต่อไปทุกโรงพยาบาลก็จะเป็นที่เก็บเชื้อโควิด19 และหมอพยาบาลก็จะป่วยเป็นโควิด19 กันเป็นเบือ"
"แล้วจะให้คนเป็นไข้ไปไหนละคะ"
"เขาต้องมีป้อมยามหรือด่านตำรวจทหารที่คอยคัดกรองคนเป็นไข้ อย่างน้อยก็ต้องกรองตั้งแต่ป้อมยามหน้าโรงพยาบาลว่าใครเป็นไข้บ้าง ถ้าเป็นไข้ไม่ให้เข้า ต้องไปที่ด่านตรวจที่เขาตั้งไว้ที่ไหนสักแห่งนอกรพ.เพื่อตรวจคนเป็นไข้โดยเฉพาะ ด่านนี้เขาก็จะคัดกรองเอาผู้มีความเสี่ยงเข้าเกณฑ์ที่จะต้องตรวจให้ยิ่งขึ้นไปไปตรวจกับหมอซึ่งมีเครื่องแต่งตัวป้องกันโรครัดกุมคอยตรวจอยู่ตรงนั้นเลย และถ้าวินิจฉัยว่าเป็นโควิด19 จริงก็ส่งไปสถานกักกันโรคหรือวอร์ดกักกันโรคโดยตรงเลยโดยไม่ผ่านห้องฉุถเฉินหรือผ่านคลินิกอายุรกรรมอย่างคนไข้ปกติ เมืองใหญ่เมืองหนึ่งเขาจะมีโรงพยาบาลหรือวอร์ดรับรักษาโควิด19 อยู่อย่างมากก็สามสี่แห่ง ไม่ให้คนเป็นโรคโควิดไปยุ่งกับโรงพยาบาลที่เหลือ "
"ที่หมอพูดนี่มันประเทศไทยหรือประเทศไหนคะ"
"ทุกประเทศที่มีโรคโควิด19 เขาก็ทำแบบนี้กันหมดแหละ ไม่งั้นเดี๋ยวหมอพยาบาลทุกโรงพยาบาลติดโรคกันหมดแล้วจะเอาใครมารักษาคนไข้กันอยู่ล่ะ"
"โธ่..คุณหมอไม่ได้ออกไปไหนเลยจึงไม่รู้เรื่องข้างนอก หนูจะบอกให้เอาบุญนะคะ ที่คุณหมอว่ามาทั้งหมดนั้นเมืองไทยไม่มีหรอก"
"อ้าว..ว เหรอ..."
"ทุกคนที่เป็นไข้และกลัวโรคโควิด19ก็จะไปห้องฉุกเฉินหรือคลินิกตรวจโรคธรรมดา แล้วเมื่อกี้คุณหมอพูดถึงให้ทหารคัดกรองผู้มีความเสี่ยง อย่างไรจึงจะเรียกว่าเป็นผู้มีความเสี่ยงละคะ"
"ตรงนี้คุณจะมาอำผมว่าเมืองไทยเขาไม่บอกคุณไม่ได้นะ เพราะผมได้ยินทางคลิปกับหูตัวเอง เจ้าหน้าที่เขาอธิบายซ้ำซากปาวๆว่าเกณฑ์คัดกรองผู้ที่จะต้องไปรับการตรวจให้ยิ่งขึ้นไปมีสามข้อ คือ (1) มีไข้ (เกินกี่องศาผมจำไม่ได้แล้ว) (2) มีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งคือน้ำมูกไหล ไอ หายใจลำบาก (3) มีประวัติว่าใน 14 วันที่ผ่านมาได้ติดต่อสัมผัสกับคนเป็นโควิด19 หรือได้ไปประเทศเสี่ยงที่รัฐบาลลิสต์รายชื่อไว้
ใครก็ตามที่มีครบสามข้อนี้เขาจะเรียกว่าเป็นผู้ป่วยอยู่ในระหว่างสืบค้น หรือ Patients Under Investigation เรียกย่อๆว่า PUI ซึ่งจะต้องถูกกักกันโรค (quarantined) หรืออย่างน้อยก็แยกตัวเองอยู่ที่บ้าน (home isolation) จนกว่าจะรู้ผลการตรวจขั้นสุดท้ายว่าเป็นหรือไม่เป็นโควิด19 ทั้งหมดนี้เป็นกลไกการเฝ้าระวังสอบสวนกักกันโรคซึ่งใช้กับโรคระบาดทุกโรค"
"อาจารย์คะ ให้หนูระบายอะไรหน่อยได้ไหม หนูอยู่กับอาจารย์แต่อาจารย์ไม่สอนอะไรหนูเลย หนูอยากรู้อะไรต้องไปอ่านเอาจากบล็อกที่อาจารย์เขียน อย่างเรื่องแอ๊พกู้ชาติที่อาจารย์เขียน หนูไม่เข้าใจว่ามันเป็นอย่างไรและจะใช้ประโยชน์ได้อย่างไร"
"หิ หิ เอ็ง..เอ๊ยไม่ใช่ คุณอย่าบ่นเลย ให้ ม. ของผมบ่นคนเดียวก็พอแล้ว โอเค.วันนี้ผมจะสอนคุณเรื่องแอ็พกู้ชาติ
ชื่ออย่างเป็นทางการของมันควรจะเรียกว่า Health Code หรือเรียกเป็นภาษาเทคนิคว่า color based QR code กำเนิดของมันเกิดที่เมืองจีน ไม่ใช่โดยรัฐบาลนะ แต่โดยเอกชนสองบริษัท คือบริษัท Ant Financial ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ Alibaba ของนายแจ้ค หม่า และเป็นผู้ให้บริการแอ๊พจ่ายเงินทางมือถือที่เรียกว่า AliPay กับอีกบริษัทหนึ่งชื่อ TenCent ซึ่งเป็นผู้ให้บริการแอ๊พ WeChat (คล้ายๆ Line บ้านเรา)
ทั้งสองบริษัทนี้ได้เปิดให้ลูกค้าของตัวเองลงทะเบียนฟรีเพื่อขอรับ Health Code ได้ทุกวัน คือทุกวันลูกค้าต้องคลิกตอบคำถามสามข้อตามเกณฑ์ PUI ที่ผมบอกไปแล้วนั่นแหละ ตอบแล้วแอ๊พก็จะออก Health Code ให้เป็นสีเขียวเหลืองแดง เขียวก็แปลว่าปลอดโรคไม่ต้องแยกตัวเอง โค้ดนี้ออกใหม่ทุกเที่ยงคืน นั่นหมายความว่าลูกค้าต้องตอบคำถามทุกวัน เมื่อมีคนส่วนใหญ่มีโค้ดนี้บรรดาห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร โรงพยาบาล โรงเรียน รถไฟ รถยนต์ สนามบิน เรือบิน ก่อนจะรับลูกค้าเข้าไปเขาก็จะสะแกน Health Code ของลูกค้าก่อน ถ้าไม่มีหรือมีแต่ไม่ใช่สีเขียวเขาก็ไม่ให้เข้าไปในสถานที่ของเขา อย่างถ้าคุณอยู่เมืองจีนตอนนี้หากอยากขึ้นเครื่องบินกลับเมืองไทยเขาจะสะแกน Health Code ของคุณก่อน ถ้าคุณไม่มี Health Code คุณไม่ได้กลับเมืองไทยดอก
เนื่องจากลูกค้าของ AliPay และ WeChat ครอบคลุมคนจีนจำนวนมาก หน่วยงานควบคุมโรคต่างๆทั้งในระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ต่างก็ขอสองบริษัทนี้เข้าไปใช้ฐานข้อมูล Health Code เพื่อทำงานเฝ้าระวังสอบสวนกักกันโรคผ่านข้อมูลโค้ดของประชาชนในความรับผิดชอบของตน เมืองใหญ่มากกว่า 200 เมืองล้วนใช้ Health Code ช่วยในการบริหารจัดการโรค และเป็นที่ยอมรับกันทั่วจีนว่าเฮลท์โค้ดเป็นตัวเปลี่ยนเกม (Game Changer) ตัวหนึ่งในการกำราบโรคโควิด19 การใช้เฮลท์โค้ดของจีนมีตัวช่วยตัวหนึ่งคือกฎหมายจีนซึ่งมีข้อหนึ่งว่าการโกหกเรื่องไข้และเรื่องการใช้ยาลดไข้มีโทษจำคุก"
"แล้วเมืองไทยไม่มีแจ้คหม่า อาจารย์คิดว่าจะทำได้หรือคะ"
"ทำได้แน่นอน มันไม่เกี่ยวอะไรกับแจ้คหม่งแจ้คหม่า แต่มันต้องเริ่มโดยภาครัฐไม่ใช่ภาคเอกชน เพราะฐานข้อมูลบัตรประชาชนอยู่ในความดูแลของรัฐ อำนาจที่จะออกระเบียบให้ทุกคนลงข้อมูลตามความเป็นจริงก็มีอยู่แล้วโดยอาศัยพรก.ฉุกเฉิน ผมยังมองไม่เห็นอุปสรรคใดๆที่ว่าจะทำไม่ได้ และผมมั่นใจว่าไม่กี่วันจากนี้ไปก็จะมีแอ๊พช่วยชาตินี้ออกมาใช้"
"อาจารย์คะ หนูถามด้วยความอยากรู้จริงๆ ทำไมจีนเป็นประเทศใหญ่มีคนมากขนาดนั้นเขาจึงเอาโควิด19 อยู่"
"เพราะเขาแก้จุดอ่อนที่ใหญ่ให้กลายเป็นจุดแข็งคือทำใหญ่ให้เล็ก หมายความว่าในการบริหารจัดการโรคโควิด19 เขาซอยหน่วยบริหารจัดการลงย่อยยุบยิบยับไม่เพียงแต่ซอยประเทศเป็นมณฑล จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน แค่นั้น แต่ยังซอยไปถึงหน่วยงานที่มีความสามารถบริหารลูกค้าของตัวเองได้ให้เป็นหน่วยบริหารโรคแบบเอกเทศด้วย เช่น สนามบิน ท่ารถ ท่าเรือ ช้อปปิ้งมอล โรงเรียน โรงพยาบาล ร้านอาหาร ทุกหน่วยบริหารจัดการอย่างอิสระภายใต้กรอบนโยบายของส่วนกลางโดยใช้ข้อมูลจาก Health Code ช่วย เมืองไทยก็มีขีดความสามารถจะทำอย่างนี้ได้ อย่างวันก่อนผมเขียนถึงหมู่บ้านอะไรสักอย่างที่สกลนคร นั่นก็เป็นตัวอย่างของการบริหารจัดการโรคโดยหน่วยย่อยที่ได้ผล"
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
"..เฮ้ย ช่วงนี้เป็นไข้ไปโรงพยาบาลได้ด้วยหรือ แล้วหมอเขารับดูให้หรือ" ก็ถูกถามว่า
"ทำไมจะไม่ดูให้ละค่ะ"
"..อ้าว ช่วงที่กำลังมีการระบาดของโควิด19 ปกติเขาต้องห้ามไม่ให้คนเป็นไข้เข้าโรงพยาบาล เขาต้องเก็บโรงพยาบาลไว้รักษาโรคเรื้อรังต่างๆที่ไม่เกี่ยวกับการเป็นไข้ เพราะหากให้คนเป็นไข้เข้าไปใช้โรงพยาบาลช่วงนี้ ในจำนวนนั้นบางคนก็เป็นโควิด19 โดยที่หมอและพยาบาลไม่รู้ ต่อไปทุกโรงพยาบาลก็จะเป็นที่เก็บเชื้อโควิด19 และหมอพยาบาลก็จะป่วยเป็นโควิด19 กันเป็นเบือ"
"แล้วจะให้คนเป็นไข้ไปไหนละคะ"
"เขาต้องมีป้อมยามหรือด่านตำรวจทหารที่คอยคัดกรองคนเป็นไข้ อย่างน้อยก็ต้องกรองตั้งแต่ป้อมยามหน้าโรงพยาบาลว่าใครเป็นไข้บ้าง ถ้าเป็นไข้ไม่ให้เข้า ต้องไปที่ด่านตรวจที่เขาตั้งไว้ที่ไหนสักแห่งนอกรพ.เพื่อตรวจคนเป็นไข้โดยเฉพาะ ด่านนี้เขาก็จะคัดกรองเอาผู้มีความเสี่ยงเข้าเกณฑ์ที่จะต้องตรวจให้ยิ่งขึ้นไปไปตรวจกับหมอซึ่งมีเครื่องแต่งตัวป้องกันโรครัดกุมคอยตรวจอยู่ตรงนั้นเลย และถ้าวินิจฉัยว่าเป็นโควิด19 จริงก็ส่งไปสถานกักกันโรคหรือวอร์ดกักกันโรคโดยตรงเลยโดยไม่ผ่านห้องฉุถเฉินหรือผ่านคลินิกอายุรกรรมอย่างคนไข้ปกติ เมืองใหญ่เมืองหนึ่งเขาจะมีโรงพยาบาลหรือวอร์ดรับรักษาโควิด19 อยู่อย่างมากก็สามสี่แห่ง ไม่ให้คนเป็นโรคโควิดไปยุ่งกับโรงพยาบาลที่เหลือ "
"ที่หมอพูดนี่มันประเทศไทยหรือประเทศไหนคะ"
"ทุกประเทศที่มีโรคโควิด19 เขาก็ทำแบบนี้กันหมดแหละ ไม่งั้นเดี๋ยวหมอพยาบาลทุกโรงพยาบาลติดโรคกันหมดแล้วจะเอาใครมารักษาคนไข้กันอยู่ล่ะ"
"โธ่..คุณหมอไม่ได้ออกไปไหนเลยจึงไม่รู้เรื่องข้างนอก หนูจะบอกให้เอาบุญนะคะ ที่คุณหมอว่ามาทั้งหมดนั้นเมืองไทยไม่มีหรอก"
"อ้าว..ว เหรอ..."
"ทุกคนที่เป็นไข้และกลัวโรคโควิด19ก็จะไปห้องฉุกเฉินหรือคลินิกตรวจโรคธรรมดา แล้วเมื่อกี้คุณหมอพูดถึงให้ทหารคัดกรองผู้มีความเสี่ยง อย่างไรจึงจะเรียกว่าเป็นผู้มีความเสี่ยงละคะ"
"ตรงนี้คุณจะมาอำผมว่าเมืองไทยเขาไม่บอกคุณไม่ได้นะ เพราะผมได้ยินทางคลิปกับหูตัวเอง เจ้าหน้าที่เขาอธิบายซ้ำซากปาวๆว่าเกณฑ์คัดกรองผู้ที่จะต้องไปรับการตรวจให้ยิ่งขึ้นไปมีสามข้อ คือ (1) มีไข้ (เกินกี่องศาผมจำไม่ได้แล้ว) (2) มีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งคือน้ำมูกไหล ไอ หายใจลำบาก (3) มีประวัติว่าใน 14 วันที่ผ่านมาได้ติดต่อสัมผัสกับคนเป็นโควิด19 หรือได้ไปประเทศเสี่ยงที่รัฐบาลลิสต์รายชื่อไว้
ใครก็ตามที่มีครบสามข้อนี้เขาจะเรียกว่าเป็นผู้ป่วยอยู่ในระหว่างสืบค้น หรือ Patients Under Investigation เรียกย่อๆว่า PUI ซึ่งจะต้องถูกกักกันโรค (quarantined) หรืออย่างน้อยก็แยกตัวเองอยู่ที่บ้าน (home isolation) จนกว่าจะรู้ผลการตรวจขั้นสุดท้ายว่าเป็นหรือไม่เป็นโควิด19 ทั้งหมดนี้เป็นกลไกการเฝ้าระวังสอบสวนกักกันโรคซึ่งใช้กับโรคระบาดทุกโรค"
"อาจารย์คะ ให้หนูระบายอะไรหน่อยได้ไหม หนูอยู่กับอาจารย์แต่อาจารย์ไม่สอนอะไรหนูเลย หนูอยากรู้อะไรต้องไปอ่านเอาจากบล็อกที่อาจารย์เขียน อย่างเรื่องแอ๊พกู้ชาติที่อาจารย์เขียน หนูไม่เข้าใจว่ามันเป็นอย่างไรและจะใช้ประโยชน์ได้อย่างไร"
"หิ หิ เอ็ง..เอ๊ยไม่ใช่ คุณอย่าบ่นเลย ให้ ม. ของผมบ่นคนเดียวก็พอแล้ว โอเค.วันนี้ผมจะสอนคุณเรื่องแอ็พกู้ชาติ
ชื่ออย่างเป็นทางการของมันควรจะเรียกว่า Health Code หรือเรียกเป็นภาษาเทคนิคว่า color based QR code กำเนิดของมันเกิดที่เมืองจีน ไม่ใช่โดยรัฐบาลนะ แต่โดยเอกชนสองบริษัท คือบริษัท Ant Financial ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ Alibaba ของนายแจ้ค หม่า และเป็นผู้ให้บริการแอ๊พจ่ายเงินทางมือถือที่เรียกว่า AliPay กับอีกบริษัทหนึ่งชื่อ TenCent ซึ่งเป็นผู้ให้บริการแอ๊พ WeChat (คล้ายๆ Line บ้านเรา)
ทั้งสองบริษัทนี้ได้เปิดให้ลูกค้าของตัวเองลงทะเบียนฟรีเพื่อขอรับ Health Code ได้ทุกวัน คือทุกวันลูกค้าต้องคลิกตอบคำถามสามข้อตามเกณฑ์ PUI ที่ผมบอกไปแล้วนั่นแหละ ตอบแล้วแอ๊พก็จะออก Health Code ให้เป็นสีเขียวเหลืองแดง เขียวก็แปลว่าปลอดโรคไม่ต้องแยกตัวเอง โค้ดนี้ออกใหม่ทุกเที่ยงคืน นั่นหมายความว่าลูกค้าต้องตอบคำถามทุกวัน เมื่อมีคนส่วนใหญ่มีโค้ดนี้บรรดาห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร โรงพยาบาล โรงเรียน รถไฟ รถยนต์ สนามบิน เรือบิน ก่อนจะรับลูกค้าเข้าไปเขาก็จะสะแกน Health Code ของลูกค้าก่อน ถ้าไม่มีหรือมีแต่ไม่ใช่สีเขียวเขาก็ไม่ให้เข้าไปในสถานที่ของเขา อย่างถ้าคุณอยู่เมืองจีนตอนนี้หากอยากขึ้นเครื่องบินกลับเมืองไทยเขาจะสะแกน Health Code ของคุณก่อน ถ้าคุณไม่มี Health Code คุณไม่ได้กลับเมืองไทยดอก
เนื่องจากลูกค้าของ AliPay และ WeChat ครอบคลุมคนจีนจำนวนมาก หน่วยงานควบคุมโรคต่างๆทั้งในระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ต่างก็ขอสองบริษัทนี้เข้าไปใช้ฐานข้อมูล Health Code เพื่อทำงานเฝ้าระวังสอบสวนกักกันโรคผ่านข้อมูลโค้ดของประชาชนในความรับผิดชอบของตน เมืองใหญ่มากกว่า 200 เมืองล้วนใช้ Health Code ช่วยในการบริหารจัดการโรค และเป็นที่ยอมรับกันทั่วจีนว่าเฮลท์โค้ดเป็นตัวเปลี่ยนเกม (Game Changer) ตัวหนึ่งในการกำราบโรคโควิด19 การใช้เฮลท์โค้ดของจีนมีตัวช่วยตัวหนึ่งคือกฎหมายจีนซึ่งมีข้อหนึ่งว่าการโกหกเรื่องไข้และเรื่องการใช้ยาลดไข้มีโทษจำคุก"
"แล้วเมืองไทยไม่มีแจ้คหม่า อาจารย์คิดว่าจะทำได้หรือคะ"
"ทำได้แน่นอน มันไม่เกี่ยวอะไรกับแจ้คหม่งแจ้คหม่า แต่มันต้องเริ่มโดยภาครัฐไม่ใช่ภาคเอกชน เพราะฐานข้อมูลบัตรประชาชนอยู่ในความดูแลของรัฐ อำนาจที่จะออกระเบียบให้ทุกคนลงข้อมูลตามความเป็นจริงก็มีอยู่แล้วโดยอาศัยพรก.ฉุกเฉิน ผมยังมองไม่เห็นอุปสรรคใดๆที่ว่าจะทำไม่ได้ และผมมั่นใจว่าไม่กี่วันจากนี้ไปก็จะมีแอ๊พช่วยชาตินี้ออกมาใช้"
"อาจารย์คะ หนูถามด้วยความอยากรู้จริงๆ ทำไมจีนเป็นประเทศใหญ่มีคนมากขนาดนั้นเขาจึงเอาโควิด19 อยู่"
"เพราะเขาแก้จุดอ่อนที่ใหญ่ให้กลายเป็นจุดแข็งคือทำใหญ่ให้เล็ก หมายความว่าในการบริหารจัดการโรคโควิด19 เขาซอยหน่วยบริหารจัดการลงย่อยยุบยิบยับไม่เพียงแต่ซอยประเทศเป็นมณฑล จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน แค่นั้น แต่ยังซอยไปถึงหน่วยงานที่มีความสามารถบริหารลูกค้าของตัวเองได้ให้เป็นหน่วยบริหารโรคแบบเอกเทศด้วย เช่น สนามบิน ท่ารถ ท่าเรือ ช้อปปิ้งมอล โรงเรียน โรงพยาบาล ร้านอาหาร ทุกหน่วยบริหารจัดการอย่างอิสระภายใต้กรอบนโยบายของส่วนกลางโดยใช้ข้อมูลจาก Health Code ช่วย เมืองไทยก็มีขีดความสามารถจะทำอย่างนี้ได้ อย่างวันก่อนผมเขียนถึงหมู่บ้านอะไรสักอย่างที่สกลนคร นั่นก็เป็นตัวอย่างของการบริหารจัดการโรคโดยหน่วยย่อยที่ได้ผล"
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์