(เรื่องไร้สาระ-7) เก็บเกี่ยวน้ำฝน รีชาร์จน้ำใต้ดิน
เช้าวันนี้..ขอบคุณโควิด19 ที่ทำให้ผมมีเวลานั่งละเลียดกับอาหารเช้าที่ระเบียงบ้านบนเขาโดยไม่ต้องรีบร้อนลกๆไปทำนั่นทำนี่เหมือนสมัยที่ต้องเปิดแค้มป์สอนทุกสัปดาห์ แต่ละเลียดอยู่ได้ไม่นานบรรยากาศก็เปลี่ยนเป็นเครียดไปทันทีเมื่อคนสวนขึ้นมารายงานเหตุการณ์พิเศษ
"น้ำใต้ดินคงจะหมดเสียแล้วครับ บางครั้งสูบออกมามีลมมากกว่าน้ำ และขุ่นด้วย"
โอ้ละหนอ ดวงเดือนเอย ถ้าโลกนี้ดำเนินมาถึงขั้นน้ำใต้ดินแห้งขอด ชีวิตที่เหลือต่อไปจะเป็นฉันใด นี่หมายความว่าอารยธรรมหุบเขามวกเหล็กวาลเลย์จะถึงกาลล่มสลายเพราะขาดน้ำเสียแล้วหรืออย่างไร ยังไม่ทันจะคิดอ่านอะไรต่อก็มีโทรศัพท์จากเพื่อนบ้านเข้ามา
"คุณหมอมีเบอร์นายต่าย คนขายน้ำไหมครับ"
หิ หิ อาการเดียวกันเลย คือกำลังร่อแร่เพราะขาดน้ำ เมื่อวางหูไปแล้วผมคิดถึงเพื่อนที่อินเดีย เขาเล่าว่าสมัยเขาหนุ่มๆน้ำใต้ดินที่บ้านเขาขุดลงไปไม่กี่ฟุตเพื่อจะวางฐานรากสร้างตึกน้ำใต้ดินไหลออกมาวิดออกไม่ทันเลย แต่เนื่องจากทุกวันนี้คนอินเดียขยันเจาะขยันดูด ระดับน้ำใต้ดินจึงงวดลงๆ คนอินเดียมีเทคนิคมาแต่โบราณที่จะขุดสระแบบซุปเปอร์ลึกระดับยี่สิบสามสิบเมตรเพื่อให้เชื่อมโยงกับชั้นหินอุ้มน้ำเพื่อให้มีน้ำโผล่ขึ้นมาให้ใช้ตลอดปี แต่เขาบอกว่าสระแบบนั้นวันนี้ในอินเดียแห้งหมดแล้ว ทุกวันนี้ชาวบ้านที่อินเดียต้องเจาะบาดาลลึกลงไปถึง 400 ฟุตจึงจะได้น้ำ เมื่อคิดถึงอินเดียก็เลยคิดต่อไปถึงอัฟริกา นานมาแล้วผมเคยอ่านหนังสือเนชันแนลจีโอกราฟฟีถึงเรื่องราวของผู้ชายคนหนึ่งที่ประเทศซิมบับเวย์หรือเอธิโอเปียนี่แหละจำไม่ได้แล้ว เขาเป็นชาวไร่ที่คิดค้นวิธีเก็บเกี่ยวน้ำฝน (rain water harvesting) และวิธีรีชาร์จระดับน้ำใต้ดินให้ตื้นขึ้น (recharging underground water) จนขึ้นมาถึงรากของข้าวโพดได้ ด้วยเทคนิคเช่นทำฝายแม้วดักกั้นทางน้ำไหลเป็นช่วงๆ ทำหลุมดักน้ำฝนให้ไหลลงดินแทนที่จะไหลหนีไปตามผิวดินเพื่อให้น้ำมีเวลาซึมลงใต้ดิน ทำสระลึกเป็นพิเศษจนถึงชั้นหินอุ้มน้ำเพื่อให้น้ำไหลลงสู่หินอุ้มน้ำ ซึ่งผมอ่านแบบไม่ได้เกี่ยวอะไรกับตัวเองหรอกแต่ความที่ตัวเองสนใจทุกอย่างที่เกี่ยวกับเกษตรจึงประทับใจในเรื่องราวและจำรายละเอียดได้จนถึงเดี๋ยวนี้
เมื่อภัยแล้งมากถึงตัว ก็ต้องทิ้งอาหารเช้าอันชื่นมื่นอ้อยสร้อยเพื่อเดินลงไปสำรวจภัยแล้งตามแบบมหาดไทย เมื่อกวาดตาสำรวจพื้นดินในเขตรั้วตัวเองเป็นพิเศษก็เห็นว่าดินที่ตีนเขาแห้งไม่มีอะไรคลุม ผิวดินราบเรียบ เมื่อเอาน้ำฉีดน้ำก็จะไหลผ่านผิวดินไปอย่างรวดเร็ว พอหยุดฉีดแป๊บเดียวผิวดินก็แห้งอีก เมื่อเอาจอบขุดดูก็เห็นชัดว่าน้ำที่ฉีดไม่ได้ซึมลงไปในดินเลย เพราะผิวดินมันแน่นเหมือนกับดินถูกคลุมด้วยพลาสติกยังงั้นแหละ
ผมมองออกไปยังคลองนอกรั้ว อยู่ที่นี่มายี่สิบกว่าปีแล้วผมไม่เคยออกไปดูอะไรนอกรั้วบ้าน คราวนี้มุดออกไปนอกรั้วไปเดินสำรวจป่าหลังบ้านซึ่งส่วนหนึ่งเพิ่งถูกไฟคลอกจนใบไม้และต้นไม้เล็กๆตายหมดเหลือแต่ดินเปลือยๆดำๆ สำรวจคลองแห้งที่ข้างบ้านก็พบว่าวันนี้พื้นคลองอยู่จมลึกลงไปมาก ท้องคลองเป็นผิวเรียบแทบจะขัดมันไม่มีแง่งหินให้น้ำไหลจ๊อกๆแจ๊กๆแบบโรแมนติกเลย ผมคาดเดาพยาธิสรีรวิทยาว่าเมื่อไฟป่าเผาใบไม้และต้นไม้เล็กน้อยไปหมดจนดินเปลือยพอฝนตกก็ไม่มีอะไรอุ้มน้ำ น้ำก็ไหลลงคลองมาอย่างรวดเร็วและมีโมเมนตัมมากจนกัดเซาะห้วยให้ตรงแน่วและเกลี้ยงเกลาได้ แป๊บเดียวก็ไหลลงไปท่วมข้างล่างหมดโดยไม่เปิดโอกาสให้น้ำได้ซึมผ่านท้องคลองลงไปหาชั้นหินอุ้มน้ำใต้ดินอันเป็นแหล่งกำเนิดของน้ำบาดาล ดังนั้นฝนตกทีไรข้างบนผิวดินน้ำท่วม แต่ข้างล่างผิวดินแล้งน้ำ
ท่าทางหมอสันต์ไม่ต้องกลัวจะว่างงานเพราะโควิด19 เพราะมีงานใหม่เข้ามาแล้ว นั่นคือ "โครงการเก็บเกี่ยวน้ำฝนและรีชาร์จน้ำใต้ดิน" (rain water harvesting and underground water recharging) งานนี้มีโครงการย่อยอยู่ข้างในหลายโครงการ
โครงการย่อยที่ 1. เอาเรื่องการเก็บเกี่ยวน้ำฝนไว้ใช้ในบ้านก่อน เพราะทำง่าย ผมคำนวณปริมาณการใช้น้ำในบ้านของสองตายาย ใช้อย่างคนแก่เงอะๆงะๆคนละ 40 ลิตรต่อวัน สองคนวันละ 80 ลิตร เดือนละ 2,400 ลิตร แต่ช่วงแล้งน้ำมีแค่ 7 เดือน นั่นหมายความว่าผมต้องเก็บน้ำไว้ 16,800 ลิตร แล้วก็มาคำนวณว่าน้ำฝนจากหลังคาจะพอใช้หรือเปล่า ที่มวกเหล็กฝนตกปีละ 1,100 มม. บ้านผมมีพื้นที่หลังคา 140 ตรม. รับน้ำฝนได้ปีละ 154,000 ลิตร เหลือเฟือเพราะผมต้องการแค่ 16,800 ลิตรเท่านั้น คราวนี้ก็มาดูระบบการจัดเก็บ ตอนนี้ถังเก็บน้ำฝนมีอยู่แล้วราว 7,000 ลิตร ต้องซื้อมาใหม่อีก 10,000 ลิตร คือซึ้อใบใหญ่ 5,000 ลิตรสองใบ ซื้อจากปากช่องปุ๊บก็มาปั๊บ ตั้งเด่รออยู่ข้างโรงรถบนเขาแล้วเรียบร้อย ขั้นตอนต่อจากนี้ไปก็จะเป็นการทำรางรับน้ำฝน ตั้งถัง และเดินท่อ ซึ่งเป็นงานวิศวเกินบนผิวดินระดับธรรมดาๆไม่มีอะไรน่าตื่นเต้น
โครงการย่อยที่ 2. การรีชาร์จน้ำฝนเหลือใช้ลงไปเก็บในชั้นดิน subsoil หลักการนั้นง่ายมาก ทุกบ้านทำได้เองทันที คือมีน้ำฝนหล่นลงมาในพื้นที่เท่าไหร่ก็ให้ไหลไปลงหลุมเพื่อให้มันกระจายซึมไปในชั้นดินเหนียวให้หมดไม่ให้เหลือไหลตามผิวดินทิ้งไปนอกพื้นที่ ซึ่งปกติดินชั้น subsoil จะมีความหนาประมาณ 6 เมตร ซับน้ำได้ประมาณ 20% นั่นหมายความว่าบ้านบนเขามีเนื้อที่สามไร่ก็จะเก็บน้ำไว้ในชั้นดินเหนียวได้ถึง 960 คิวบิกเมตร คิวนะ ไม่ใช่ลิตร คือแค่ชั้นดินลึกไม่กี่เมตรนี่ก็เก็บน้ำได้เพียบ วิธีวางหลุมวางท่อหากจะใช้วิธีโบราณแบบใช้สายน้ำวัดระดับเอาก็ทำได้ แต่ว่ามันไม่เท่และไม่หนุก นี่เป็นโอกาสที่จะซื้อของเล่นใหม่มาเล่นแล้ว ผมเปิดหาในลาซาดา แล้วก็พบ หิ หิ กล้องส่องระดับ ราคาสี่พันหก ถูกมาก ซื้อเล้ย..ย เอ็นเทอร์ สมัยผมเรียนแม่โจ้กล้องนี้ราคาสามหมื่นกว่าบาท จำได้ว่าครูหวงมาก ต้องยกมือไหว้ก่อนจึงจะกล้าใช้ จากนี้ไปก็ร้องเพลงรอจนกว่ากล้องจะมาถึง แล้วก็จะสำรวจทำแผนที่คอนทัวร์ (contour map) กำหนดตำแหน่งหลุมที่จะกระจายน้ำลงดิน ก่อนที่จะไปถึงขั้นตอนขุดกันจริงๆต่อไป ถ้าผมทำเสร็จแล้วจะถ่ายรูปมาให้ดูนะครับ
โครงการย่อยที่ 3. คือการชลอการไหลของน้ำในลำห้วย คือเปลี่ยนห้วยจากการเป็นถนนซุเปอร์ไฮเวย์พื้นเรียบให้มันกลับมาเป็นห้วยน้ำใสไหลรินมีแง่งมีหินมีจอกแหน น้ำไหลช้าๆจ๊อกๆแจ๊กๆ จะได้มีเวลาซึมลงไปหาชั้นหินอุ้มน้ำ นี่เป็นโอกาสที่จะได้เล่นกล้ามกันครั้งใหญ่แล้ว..คือยกหิน ถ้ารีบลงมือทำก่อนฝนจะมาก็คงทำไปได้มากพอควร ควบคู่กันไปก็ต้องป้องกันไฟป่าไม่ให้ลามเข้ามาถึงพื้นที่ระบายน้ำสู่ห้วยด้วย เพราะหากมีไฟป่าทุกปี ไม่มีวัสดุคลุมดิน การชะหน้าดินลงห้วยจะมากและน้ำจะไหลลงห้วยเร็วเกินไปจนห้วยจ๊อกแจ๊กกลายเป็นห้วยโครมคราม
โครงการย่อยที่ 4. การเติมน้ำบาดาลลงในชั้นหินอุ้มน้ำ ตรงนี้แหละคือ underground water recharging ของจริง มันเป็นงานใหญ่ต้องหาแนวร่วมจากเพื่อนบ้านที่บ้าๆคล้ายๆกันให้ได้สองสามคนก่อนจึงจะทำได้ เพราะการเติมน้ำลงชั้นหินอุ้มน้ำ (aquifer) ต้องทำในระดับชุมชนจึงจะเวิร์ค ก่อนอื่นก็ต้องมีข้อมูลความลึกของชั้นหินต่างๆในชุมชนก่อน ผมรู้จักนักเจาะน้ำบาดาลเร่ร่อนที่หากินในละแวกนี้สองสามคน ที่ผมเรียกว่านักเจาะเร่ร่อนก็เพราะหากความทราบถึงทางกรมทรัพย์ว่ามีพวกนักเจาะเข้ามา กรมทรัพย์ก็จะมาดักจับ พวกนักเจาะก็จะร่อนหนี ผมโทรศัพท์หานักเจาะเร่ร่อนเพื่อขอภาพถ่ายชั้นหินในมวกเหล็กวาลเลย์ที่พวกเขาได้เจาะไปจนพรุนไปเกือบทุกซอกทุกหลืบของหุบเขาแล้ว ปรากฎว่าหายากจริงๆ เพราะบ่อที่เจาะส่วนใหญ่เป็นบ่อเถื่อนไม่มีการเก็บบันทึกชั้นหิน แต่ก็โชคดีมีบางบ่อที่เจ้าของเจาะจงขออนุญาตกรมทรัพย์ ทำให้มีข้อมูลชั้นหินที่ทำไว้รายงานกรมทรัพย์ ผมถ่ายรูปมาให้ดูเป็นตัวอย่างบ่อหนึ่งด้วย
ถ้าดูรูปแล้วไม่เข้าใจ ผมอธิบายให้นะ ภาพที่เห็นคือกระสอบเปล่าปูบนพื้นดินขณะเจาะบาดาล โปรดสังเกตหัวแม่โป้งเท้าของนายช่างใหญ่ (หิ หิ) ที่วางอยู่บนกระสอบคือตัวอย่างหินที่หัวเจาะเจาะลงไปถึงซึ่งเครื่องจะเก็บตัวอย่างใส่กระบอกให้ทุกความลึก 1 เมตร เริ่มจากมุมบนขวาลงมา จะเห็นว่าพื้นที่เจาะนี้ไม่มีดินเลยเพราะเป็นเชิงเขา เจาะปุ๊บก็เข้าหินกาบสีเหลืองราว 8 เมตร แล้วก็ไปหินกาบเทาอีกราว 25 เมตร แล้วก็ไปชั้นหินดานสีเทาเข้มซึ่งมีน้ำไปอีกหลายสิบเมตรจนสิ้นสุดการเจาะ
เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลหินที่ช่างได้จากการเจาะหลายๆบ่อก็สรุปได้ว่าในมวกเหล็กวาลเลย์นี้ชั้นดิน (subsoil) ตื้นราว 0-3 เมตร ถัดไปก็เป็นเป็นชั้นหินกาบและหินดาน (shale หรือ sedimentary rock) ไปลึกเกินหนึ่งร้อยเมตร โดยระดับน้ำใต้ดินอยู่ลึกประมาณ 60 เมตรเป็นต้นไป
ได้ข้อมูลเรื่องชั้นหินเพียงพอต่อการวางแผนแล้ว ขั้นต่อไปก็คือรอจังหวะให้ชุมชนมีความพร้อม คือรอให้ขาดน้ำกันจนได้ที่ก่อนแล้วค่อยมาตั้งวงหารือกัน อาจจะเป็นปีหน้าหรือปีโน้นก็ได้ เทคนิคการรีชาร์จน้ำนั้นไม่ยาก ก็แค่ประเมินทิศทางการเคลื่อนตัวของน้ำใต้ดินแล้วสุ่มเลือกปลายลำห้วยสักสี่ห้าห้วยในหุบเขานี้แล้วขุดสระลึกจนถึงชั้นหินอุ้มน้ำที่ตรงนั้น แล้วรอให้น้ำฝนเติมน้ำลงไปในสระนี้แทนที่จะให้ไหลทิ้งออกไปนอกหุบเขา ก็เป็นอันเสร็จพิธี แต่ที่ยากคือการเสาะหาความร่วมมือในชุมชนเพราะแม้ว่าเราคนไทยด้วยกันมีอะไรคุยกันได้ไม่มีปัญหา มีแต่ปัญหาตรงที่ตกลงกันไม่ค่อยได้ ..หิ หิ การรีชาร์จน้ำใต้ดินนี้มันมีปัจจัยประกอบมาก ไม่ว่าจะเป็นแรงเฉื่อยและแรงหนีศูนย์กลางจากการหมุนของโลกแต่นั่นก็ยังพอคาดเดาได้ รูเลี้ยวของแผ่นหินกาบและหินปูนนี่สิครับคาดเดาไม่ได้เลย จึงเป็นการยากที่จะให้ความมั่นใจสมาชิกชุมชนล่วงหน้าว่าทำแล้วบ้านใครจะได้ประโยชน์แค่ไหนในเวลาเท่าไหร่ อย่างไรก็ตามถ้าตกลงกันได้และได้ทำ ได้ผลแค่ไหนผมสัญญาว่าจะเก็บมาเล่าให้ฟัง
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
"น้ำใต้ดินคงจะหมดเสียแล้วครับ บางครั้งสูบออกมามีลมมากกว่าน้ำ และขุ่นด้วย"
โอ้ละหนอ ดวงเดือนเอย ถ้าโลกนี้ดำเนินมาถึงขั้นน้ำใต้ดินแห้งขอด ชีวิตที่เหลือต่อไปจะเป็นฉันใด นี่หมายความว่าอารยธรรมหุบเขามวกเหล็กวาลเลย์จะถึงกาลล่มสลายเพราะขาดน้ำเสียแล้วหรืออย่างไร ยังไม่ทันจะคิดอ่านอะไรต่อก็มีโทรศัพท์จากเพื่อนบ้านเข้ามา
"คุณหมอมีเบอร์นายต่าย คนขายน้ำไหมครับ"
หิ หิ อาการเดียวกันเลย คือกำลังร่อแร่เพราะขาดน้ำ เมื่อวางหูไปแล้วผมคิดถึงเพื่อนที่อินเดีย เขาเล่าว่าสมัยเขาหนุ่มๆน้ำใต้ดินที่บ้านเขาขุดลงไปไม่กี่ฟุตเพื่อจะวางฐานรากสร้างตึกน้ำใต้ดินไหลออกมาวิดออกไม่ทันเลย แต่เนื่องจากทุกวันนี้คนอินเดียขยันเจาะขยันดูด ระดับน้ำใต้ดินจึงงวดลงๆ คนอินเดียมีเทคนิคมาแต่โบราณที่จะขุดสระแบบซุปเปอร์ลึกระดับยี่สิบสามสิบเมตรเพื่อให้เชื่อมโยงกับชั้นหินอุ้มน้ำเพื่อให้มีน้ำโผล่ขึ้นมาให้ใช้ตลอดปี แต่เขาบอกว่าสระแบบนั้นวันนี้ในอินเดียแห้งหมดแล้ว ทุกวันนี้ชาวบ้านที่อินเดียต้องเจาะบาดาลลึกลงไปถึง 400 ฟุตจึงจะได้น้ำ เมื่อคิดถึงอินเดียก็เลยคิดต่อไปถึงอัฟริกา นานมาแล้วผมเคยอ่านหนังสือเนชันแนลจีโอกราฟฟีถึงเรื่องราวของผู้ชายคนหนึ่งที่ประเทศซิมบับเวย์หรือเอธิโอเปียนี่แหละจำไม่ได้แล้ว เขาเป็นชาวไร่ที่คิดค้นวิธีเก็บเกี่ยวน้ำฝน (rain water harvesting) และวิธีรีชาร์จระดับน้ำใต้ดินให้ตื้นขึ้น (recharging underground water) จนขึ้นมาถึงรากของข้าวโพดได้ ด้วยเทคนิคเช่นทำฝายแม้วดักกั้นทางน้ำไหลเป็นช่วงๆ ทำหลุมดักน้ำฝนให้ไหลลงดินแทนที่จะไหลหนีไปตามผิวดินเพื่อให้น้ำมีเวลาซึมลงใต้ดิน ทำสระลึกเป็นพิเศษจนถึงชั้นหินอุ้มน้ำเพื่อให้น้ำไหลลงสู่หินอุ้มน้ำ ซึ่งผมอ่านแบบไม่ได้เกี่ยวอะไรกับตัวเองหรอกแต่ความที่ตัวเองสนใจทุกอย่างที่เกี่ยวกับเกษตรจึงประทับใจในเรื่องราวและจำรายละเอียดได้จนถึงเดี๋ยวนี้
เมื่อภัยแล้งมากถึงตัว ก็ต้องทิ้งอาหารเช้าอันชื่นมื่นอ้อยสร้อยเพื่อเดินลงไปสำรวจภัยแล้งตามแบบมหาดไทย เมื่อกวาดตาสำรวจพื้นดินในเขตรั้วตัวเองเป็นพิเศษก็เห็นว่าดินที่ตีนเขาแห้งไม่มีอะไรคลุม ผิวดินราบเรียบ เมื่อเอาน้ำฉีดน้ำก็จะไหลผ่านผิวดินไปอย่างรวดเร็ว พอหยุดฉีดแป๊บเดียวผิวดินก็แห้งอีก เมื่อเอาจอบขุดดูก็เห็นชัดว่าน้ำที่ฉีดไม่ได้ซึมลงไปในดินเลย เพราะผิวดินมันแน่นเหมือนกับดินถูกคลุมด้วยพลาสติกยังงั้นแหละ
ผมมองออกไปยังคลองนอกรั้ว อยู่ที่นี่มายี่สิบกว่าปีแล้วผมไม่เคยออกไปดูอะไรนอกรั้วบ้าน คราวนี้มุดออกไปนอกรั้วไปเดินสำรวจป่าหลังบ้านซึ่งส่วนหนึ่งเพิ่งถูกไฟคลอกจนใบไม้และต้นไม้เล็กๆตายหมดเหลือแต่ดินเปลือยๆดำๆ สำรวจคลองแห้งที่ข้างบ้านก็พบว่าวันนี้พื้นคลองอยู่จมลึกลงไปมาก ท้องคลองเป็นผิวเรียบแทบจะขัดมันไม่มีแง่งหินให้น้ำไหลจ๊อกๆแจ๊กๆแบบโรแมนติกเลย ผมคาดเดาพยาธิสรีรวิทยาว่าเมื่อไฟป่าเผาใบไม้และต้นไม้เล็กน้อยไปหมดจนดินเปลือยพอฝนตกก็ไม่มีอะไรอุ้มน้ำ น้ำก็ไหลลงคลองมาอย่างรวดเร็วและมีโมเมนตัมมากจนกัดเซาะห้วยให้ตรงแน่วและเกลี้ยงเกลาได้ แป๊บเดียวก็ไหลลงไปท่วมข้างล่างหมดโดยไม่เปิดโอกาสให้น้ำได้ซึมผ่านท้องคลองลงไปหาชั้นหินอุ้มน้ำใต้ดินอันเป็นแหล่งกำเนิดของน้ำบาดาล ดังนั้นฝนตกทีไรข้างบนผิวดินน้ำท่วม แต่ข้างล่างผิวดินแล้งน้ำ
ท่าทางหมอสันต์ไม่ต้องกลัวจะว่างงานเพราะโควิด19 เพราะมีงานใหม่เข้ามาแล้ว นั่นคือ "โครงการเก็บเกี่ยวน้ำฝนและรีชาร์จน้ำใต้ดิน" (rain water harvesting and underground water recharging) งานนี้มีโครงการย่อยอยู่ข้างในหลายโครงการ
สั่งซื้อจากปากช่องปุ๊บ ก็มาปั๊บ |
โครงการย่อยที่ 1. เอาเรื่องการเก็บเกี่ยวน้ำฝนไว้ใช้ในบ้านก่อน เพราะทำง่าย ผมคำนวณปริมาณการใช้น้ำในบ้านของสองตายาย ใช้อย่างคนแก่เงอะๆงะๆคนละ 40 ลิตรต่อวัน สองคนวันละ 80 ลิตร เดือนละ 2,400 ลิตร แต่ช่วงแล้งน้ำมีแค่ 7 เดือน นั่นหมายความว่าผมต้องเก็บน้ำไว้ 16,800 ลิตร แล้วก็มาคำนวณว่าน้ำฝนจากหลังคาจะพอใช้หรือเปล่า ที่มวกเหล็กฝนตกปีละ 1,100 มม. บ้านผมมีพื้นที่หลังคา 140 ตรม. รับน้ำฝนได้ปีละ 154,000 ลิตร เหลือเฟือเพราะผมต้องการแค่ 16,800 ลิตรเท่านั้น คราวนี้ก็มาดูระบบการจัดเก็บ ตอนนี้ถังเก็บน้ำฝนมีอยู่แล้วราว 7,000 ลิตร ต้องซื้อมาใหม่อีก 10,000 ลิตร คือซึ้อใบใหญ่ 5,000 ลิตรสองใบ ซื้อจากปากช่องปุ๊บก็มาปั๊บ ตั้งเด่รออยู่ข้างโรงรถบนเขาแล้วเรียบร้อย ขั้นตอนต่อจากนี้ไปก็จะเป็นการทำรางรับน้ำฝน ตั้งถัง และเดินท่อ ซึ่งเป็นงานวิศวเกินบนผิวดินระดับธรรมดาๆไม่มีอะไรน่าตื่นเต้น
โครงการย่อยที่ 2. การรีชาร์จน้ำฝนเหลือใช้ลงไปเก็บในชั้นดิน subsoil หลักการนั้นง่ายมาก ทุกบ้านทำได้เองทันที คือมีน้ำฝนหล่นลงมาในพื้นที่เท่าไหร่ก็ให้ไหลไปลงหลุมเพื่อให้มันกระจายซึมไปในชั้นดินเหนียวให้หมดไม่ให้เหลือไหลตามผิวดินทิ้งไปนอกพื้นที่ ซึ่งปกติดินชั้น subsoil จะมีความหนาประมาณ 6 เมตร ซับน้ำได้ประมาณ 20% นั่นหมายความว่าบ้านบนเขามีเนื้อที่สามไร่ก็จะเก็บน้ำไว้ในชั้นดินเหนียวได้ถึง 960 คิวบิกเมตร คิวนะ ไม่ใช่ลิตร คือแค่ชั้นดินลึกไม่กี่เมตรนี่ก็เก็บน้ำได้เพียบ วิธีวางหลุมวางท่อหากจะใช้วิธีโบราณแบบใช้สายน้ำวัดระดับเอาก็ทำได้ แต่ว่ามันไม่เท่และไม่หนุก นี่เป็นโอกาสที่จะซื้อของเล่นใหม่มาเล่นแล้ว ผมเปิดหาในลาซาดา แล้วก็พบ หิ หิ กล้องส่องระดับ ราคาสี่พันหก ถูกมาก ซื้อเล้ย..ย เอ็นเทอร์ สมัยผมเรียนแม่โจ้กล้องนี้ราคาสามหมื่นกว่าบาท จำได้ว่าครูหวงมาก ต้องยกมือไหว้ก่อนจึงจะกล้าใช้ จากนี้ไปก็ร้องเพลงรอจนกว่ากล้องจะมาถึง แล้วก็จะสำรวจทำแผนที่คอนทัวร์ (contour map) กำหนดตำแหน่งหลุมที่จะกระจายน้ำลงดิน ก่อนที่จะไปถึงขั้นตอนขุดกันจริงๆต่อไป ถ้าผมทำเสร็จแล้วจะถ่ายรูปมาให้ดูนะครับ
ห้วยซุูเปอร์ไฮเวย์ ไม่มีหรอก เสียงน้ำใสไหลรินจ๊อกๆแจ๊กๆ |
โครงการย่อยที่ 3. คือการชลอการไหลของน้ำในลำห้วย คือเปลี่ยนห้วยจากการเป็นถนนซุเปอร์ไฮเวย์พื้นเรียบให้มันกลับมาเป็นห้วยน้ำใสไหลรินมีแง่งมีหินมีจอกแหน น้ำไหลช้าๆจ๊อกๆแจ๊กๆ จะได้มีเวลาซึมลงไปหาชั้นหินอุ้มน้ำ นี่เป็นโอกาสที่จะได้เล่นกล้ามกันครั้งใหญ่แล้ว..คือยกหิน ถ้ารีบลงมือทำก่อนฝนจะมาก็คงทำไปได้มากพอควร ควบคู่กันไปก็ต้องป้องกันไฟป่าไม่ให้ลามเข้ามาถึงพื้นที่ระบายน้ำสู่ห้วยด้วย เพราะหากมีไฟป่าทุกปี ไม่มีวัสดุคลุมดิน การชะหน้าดินลงห้วยจะมากและน้ำจะไหลลงห้วยเร็วเกินไปจนห้วยจ๊อกแจ๊กกลายเป็นห้วยโครมคราม
ชั้นหินใต้ดิน หนึ่งกระปุกต่อทุกความลึก 1 เมตร |
โครงการย่อยที่ 4. การเติมน้ำบาดาลลงในชั้นหินอุ้มน้ำ ตรงนี้แหละคือ underground water recharging ของจริง มันเป็นงานใหญ่ต้องหาแนวร่วมจากเพื่อนบ้านที่บ้าๆคล้ายๆกันให้ได้สองสามคนก่อนจึงจะทำได้ เพราะการเติมน้ำลงชั้นหินอุ้มน้ำ (aquifer) ต้องทำในระดับชุมชนจึงจะเวิร์ค ก่อนอื่นก็ต้องมีข้อมูลความลึกของชั้นหินต่างๆในชุมชนก่อน ผมรู้จักนักเจาะน้ำบาดาลเร่ร่อนที่หากินในละแวกนี้สองสามคน ที่ผมเรียกว่านักเจาะเร่ร่อนก็เพราะหากความทราบถึงทางกรมทรัพย์ว่ามีพวกนักเจาะเข้ามา กรมทรัพย์ก็จะมาดักจับ พวกนักเจาะก็จะร่อนหนี ผมโทรศัพท์หานักเจาะเร่ร่อนเพื่อขอภาพถ่ายชั้นหินในมวกเหล็กวาลเลย์ที่พวกเขาได้เจาะไปจนพรุนไปเกือบทุกซอกทุกหลืบของหุบเขาแล้ว ปรากฎว่าหายากจริงๆ เพราะบ่อที่เจาะส่วนใหญ่เป็นบ่อเถื่อนไม่มีการเก็บบันทึกชั้นหิน แต่ก็โชคดีมีบางบ่อที่เจ้าของเจาะจงขออนุญาตกรมทรัพย์ ทำให้มีข้อมูลชั้นหินที่ทำไว้รายงานกรมทรัพย์ ผมถ่ายรูปมาให้ดูเป็นตัวอย่างบ่อหนึ่งด้วย
ถ้าดูรูปแล้วไม่เข้าใจ ผมอธิบายให้นะ ภาพที่เห็นคือกระสอบเปล่าปูบนพื้นดินขณะเจาะบาดาล โปรดสังเกตหัวแม่โป้งเท้าของนายช่างใหญ่ (หิ หิ) ที่วางอยู่บนกระสอบคือตัวอย่างหินที่หัวเจาะเจาะลงไปถึงซึ่งเครื่องจะเก็บตัวอย่างใส่กระบอกให้ทุกความลึก 1 เมตร เริ่มจากมุมบนขวาลงมา จะเห็นว่าพื้นที่เจาะนี้ไม่มีดินเลยเพราะเป็นเชิงเขา เจาะปุ๊บก็เข้าหินกาบสีเหลืองราว 8 เมตร แล้วก็ไปหินกาบเทาอีกราว 25 เมตร แล้วก็ไปชั้นหินดานสีเทาเข้มซึ่งมีน้ำไปอีกหลายสิบเมตรจนสิ้นสุดการเจาะ
เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลหินที่ช่างได้จากการเจาะหลายๆบ่อก็สรุปได้ว่าในมวกเหล็กวาลเลย์นี้ชั้นดิน (subsoil) ตื้นราว 0-3 เมตร ถัดไปก็เป็นเป็นชั้นหินกาบและหินดาน (shale หรือ sedimentary rock) ไปลึกเกินหนึ่งร้อยเมตร โดยระดับน้ำใต้ดินอยู่ลึกประมาณ 60 เมตรเป็นต้นไป
ได้ข้อมูลเรื่องชั้นหินเพียงพอต่อการวางแผนแล้ว ขั้นต่อไปก็คือรอจังหวะให้ชุมชนมีความพร้อม คือรอให้ขาดน้ำกันจนได้ที่ก่อนแล้วค่อยมาตั้งวงหารือกัน อาจจะเป็นปีหน้าหรือปีโน้นก็ได้ เทคนิคการรีชาร์จน้ำนั้นไม่ยาก ก็แค่ประเมินทิศทางการเคลื่อนตัวของน้ำใต้ดินแล้วสุ่มเลือกปลายลำห้วยสักสี่ห้าห้วยในหุบเขานี้แล้วขุดสระลึกจนถึงชั้นหินอุ้มน้ำที่ตรงนั้น แล้วรอให้น้ำฝนเติมน้ำลงไปในสระนี้แทนที่จะให้ไหลทิ้งออกไปนอกหุบเขา ก็เป็นอันเสร็จพิธี แต่ที่ยากคือการเสาะหาความร่วมมือในชุมชนเพราะแม้ว่าเราคนไทยด้วยกันมีอะไรคุยกันได้ไม่มีปัญหา มีแต่ปัญหาตรงที่ตกลงกันไม่ค่อยได้ ..หิ หิ การรีชาร์จน้ำใต้ดินนี้มันมีปัจจัยประกอบมาก ไม่ว่าจะเป็นแรงเฉื่อยและแรงหนีศูนย์กลางจากการหมุนของโลกแต่นั่นก็ยังพอคาดเดาได้ รูเลี้ยวของแผ่นหินกาบและหินปูนนี่สิครับคาดเดาไม่ได้เลย จึงเป็นการยากที่จะให้ความมั่นใจสมาชิกชุมชนล่วงหน้าว่าทำแล้วบ้านใครจะได้ประโยชน์แค่ไหนในเวลาเท่าไหร่ อย่างไรก็ตามถ้าตกลงกันได้และได้ทำ ได้ผลแค่ไหนผมสัญญาว่าจะเก็บมาเล่าให้ฟัง
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์