การส่องตรวจลำไส้ใหญ่ในผู้สูงอายุเพื่อป้องกันมะเร็งจะคุ้มไหม
พี่สาวอายุ 79 ปี มีอาการหลังมือหลังเท้าบวม พยาบาลคัดกรองส่งพบหมออายุรกรรมกระดูกข้อ หลังจาก ตรวจเลือด xray แล้ว ยังไม่พบว่าเป็นเก๊าท์ หมอวินิจฉัยว่าเป็นเก๊าท์เทียมตามวัย ให้ยาลดบวมมากิน นัดมาตรวจเลือดอีกครั้งหลัง 1 เดือน ค่าตับก็ปกติ xray ปอดก็ปกติ แต่ CEA 7.4 หมอจะให้ส่องกล้องตรวจลำไส้
คำถาม: งงค่ะว่า จากแค่หลังเท้าบวม ไฉนมาไกลถึงตรวจหามะเร็งลำไส้ได้คะ และควรให้คนวัยนี้ไปส่องกล้องตรวจมั้ยคะ
ขอบคุณค่ะ คุณหมอ
........................................
ตอบครับ
ก่อนจะตอบคำถาม คุณพี่พูดถึงโรคเก้าท์เทียม ท่านผู้อ่านท่านอื่นอาจงง ผมขอพูดเสียหน่อยว่าโรคเก้าท์เทียมหรือ pseudo gout แปลว่าโรคปวดข้อข้อบวมเหมือนเก้าท์แต่ไม่ใช่เก้าท์ เพราะผลึกที่อยู่ในข้อไม่ใช่ผลึกยูริก แต่เป็นผลึกแคลเซียมไพโรฟอสเฟตไดไฮเดรต (CPPD) วินิจฉัยจากเอ็กซเรย์ข้อแล้วเห็นแคลเซียมเกาะที่แผ่นกระดูกในข้อ (chrondrocalcinosis) ควบกับเจาะดูดเอาน้ำเลี้ยงข้อมาส่องกล้องจุลทรรศน์แล้วมองเห็นผลึกแบบแคลเซียมไพโรฟอสเฟต เป็นโรคที่วงการแพทย์ยังไม่ทราบกลไกการเกิดและไม่ทราบวิธีรักษาเฉพาะ ได้แต่ให้ยาแก้ปวดแก้อักเสบไปตามมีตามเกิด
คุณถามว่าคนอายุ 79 ปี เจาะเลือดได้ CEA 7.4 หมอจะให้ส่องตรวจลำไส้ใหญ่จะตรวจดีไหม ตอบว่า
1. ถ้ามองจากการมีอายุ 50 ปีขึ้นไป การส่องตรวจลำไส้ใหญ่ทุกๆสิบปี เป็นวิธีคัดกรองป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ถือว่าเป็นมาตรฐานปัจจุบันของวงการแพทย์ และเป็นสิ่งที่ควรทำ
2. ถ้ามองจากการมี CEA 7.4 การจะให้ส่องตรวจลำไส้ใหญ่ด้วยเหตุว่า CEA บ่งชี้ถึงการจะเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่นั้น มีเหตุผลหรือเปล่า ตอบว่าไม่มีเหตุผล เพราะสถิติจากงานวิจัยในผู้ป่วยจริงพบว่าคนที่ตรวจ CEA ได้ค่าสูงกว่า 5 ng/L นั้น มีความไวต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่จริงๆเพียง 52% เท่านั้นเอง คือโยนหัวโยนก้อยเอาก็ได้ผลไม่ต่างจากการตรวจ CEA มาตรฐานของวงการแพทย์ปัจจุบันจึงไม่ใช้ค่า CEA เป็นตัวบ่งชี้การส่องตรวจลำไส้ใหญ่เพื่อคัดกรองโรค
3. สองข้อข้างต้นนั้น เรามองจากแง่ข้อบ่งชี้ หรือประโยชน์ของการส่องตรวจลำไส้ใหญ่ คราวนี้มามองถึงข้อบ่งห้าม หรือโทษของการส่องตรวจลำไส้ใหญ่บ้าง ในผู้ป่วยอายุมากระดับ 80 ปีเช่นนี้ งานวิจัยพบว่าโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจากกล้องทะลุลำไส้จะมากกว่าคนอายุน้อย คือคนอายุมากมีโอกาสทะลุ 0.08% หรือประมาณหนึ่งในพัน ขณะที่ประโยชน์ที่จะได้ในแง่การลดอัตราตายจากโรคนั้นน้อยลง แปลไทยเป็นไทยว่าอายุปูนนี้แล้วจะทำอะไรไม่ทำอะไรก็จะยืดอายุออกไปอีกได้อีกแค่ไหนกันเชียว สรุปว่าโหลงโจ้งแล้วประโยชน์กับความเสี่ยงพอๆกัน ดังนั้นในคนอายุปูนนี้จะส่องตรวจลำไส้ใหญ่เพื่อป้องกันโรคหรือไม่แพทย์ไม่อาจตัดสินใจแทนได้ เพราะข้อมูลก้ำกึ่งกัน ขอให้พี่สาวของคุณเป็นคนตัดสินใจเองก็แล้วกันครับ
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. Bel Hadj Hmida Y1, Tahri N, Sellami A, Yangui N, Jlidi R, Beyrouti MI, Krichen MS, Masmoudi H. Sensitivity, specificity and prognostic value of CEA in colorectal cancer: results of a Tunisian series and literature review. Tunis Med. 2001 Aug-Sep;79(8-9):434-40.
2. Risk of perforation from a colonoscopy in adults: a large population-based study. Arora G, Mannalithara A, Singh G, Gerson LB, Triadafilopoulos G. Gastrointest Endosc. 2009 Mar; 69(3 Pt 2):654-64.
คำถาม: งงค่ะว่า จากแค่หลังเท้าบวม ไฉนมาไกลถึงตรวจหามะเร็งลำไส้ได้คะ และควรให้คนวัยนี้ไปส่องกล้องตรวจมั้ยคะ
ขอบคุณค่ะ คุณหมอ
........................................
ตอบครับ
ก่อนจะตอบคำถาม คุณพี่พูดถึงโรคเก้าท์เทียม ท่านผู้อ่านท่านอื่นอาจงง ผมขอพูดเสียหน่อยว่าโรคเก้าท์เทียมหรือ pseudo gout แปลว่าโรคปวดข้อข้อบวมเหมือนเก้าท์แต่ไม่ใช่เก้าท์ เพราะผลึกที่อยู่ในข้อไม่ใช่ผลึกยูริก แต่เป็นผลึกแคลเซียมไพโรฟอสเฟตไดไฮเดรต (CPPD) วินิจฉัยจากเอ็กซเรย์ข้อแล้วเห็นแคลเซียมเกาะที่แผ่นกระดูกในข้อ (chrondrocalcinosis) ควบกับเจาะดูดเอาน้ำเลี้ยงข้อมาส่องกล้องจุลทรรศน์แล้วมองเห็นผลึกแบบแคลเซียมไพโรฟอสเฟต เป็นโรคที่วงการแพทย์ยังไม่ทราบกลไกการเกิดและไม่ทราบวิธีรักษาเฉพาะ ได้แต่ให้ยาแก้ปวดแก้อักเสบไปตามมีตามเกิด
คุณถามว่าคนอายุ 79 ปี เจาะเลือดได้ CEA 7.4 หมอจะให้ส่องตรวจลำไส้ใหญ่จะตรวจดีไหม ตอบว่า
1. ถ้ามองจากการมีอายุ 50 ปีขึ้นไป การส่องตรวจลำไส้ใหญ่ทุกๆสิบปี เป็นวิธีคัดกรองป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ถือว่าเป็นมาตรฐานปัจจุบันของวงการแพทย์ และเป็นสิ่งที่ควรทำ
2. ถ้ามองจากการมี CEA 7.4 การจะให้ส่องตรวจลำไส้ใหญ่ด้วยเหตุว่า CEA บ่งชี้ถึงการจะเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่นั้น มีเหตุผลหรือเปล่า ตอบว่าไม่มีเหตุผล เพราะสถิติจากงานวิจัยในผู้ป่วยจริงพบว่าคนที่ตรวจ CEA ได้ค่าสูงกว่า 5 ng/L นั้น มีความไวต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่จริงๆเพียง 52% เท่านั้นเอง คือโยนหัวโยนก้อยเอาก็ได้ผลไม่ต่างจากการตรวจ CEA มาตรฐานของวงการแพทย์ปัจจุบันจึงไม่ใช้ค่า CEA เป็นตัวบ่งชี้การส่องตรวจลำไส้ใหญ่เพื่อคัดกรองโรค
3. สองข้อข้างต้นนั้น เรามองจากแง่ข้อบ่งชี้ หรือประโยชน์ของการส่องตรวจลำไส้ใหญ่ คราวนี้มามองถึงข้อบ่งห้าม หรือโทษของการส่องตรวจลำไส้ใหญ่บ้าง ในผู้ป่วยอายุมากระดับ 80 ปีเช่นนี้ งานวิจัยพบว่าโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจากกล้องทะลุลำไส้จะมากกว่าคนอายุน้อย คือคนอายุมากมีโอกาสทะลุ 0.08% หรือประมาณหนึ่งในพัน ขณะที่ประโยชน์ที่จะได้ในแง่การลดอัตราตายจากโรคนั้นน้อยลง แปลไทยเป็นไทยว่าอายุปูนนี้แล้วจะทำอะไรไม่ทำอะไรก็จะยืดอายุออกไปอีกได้อีกแค่ไหนกันเชียว สรุปว่าโหลงโจ้งแล้วประโยชน์กับความเสี่ยงพอๆกัน ดังนั้นในคนอายุปูนนี้จะส่องตรวจลำไส้ใหญ่เพื่อป้องกันโรคหรือไม่แพทย์ไม่อาจตัดสินใจแทนได้ เพราะข้อมูลก้ำกึ่งกัน ขอให้พี่สาวของคุณเป็นคนตัดสินใจเองก็แล้วกันครับ
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. Bel Hadj Hmida Y1, Tahri N, Sellami A, Yangui N, Jlidi R, Beyrouti MI, Krichen MS, Masmoudi H. Sensitivity, specificity and prognostic value of CEA in colorectal cancer: results of a Tunisian series and literature review. Tunis Med. 2001 Aug-Sep;79(8-9):434-40.
2. Risk of perforation from a colonoscopy in adults: a large population-based study. Arora G, Mannalithara A, Singh G, Gerson LB, Triadafilopoulos G. Gastrointest Endosc. 2009 Mar; 69(3 Pt 2):654-64.