ชาปลายเท้าสองข้าง
วันนี้ขอตอบจดหมายฉบับเมื่อวานซึ่งค้างตอบในประเด็นชาปลายเท้า ผมขอเอาจดหมายมาลงซ้ำอีกครั้ง
เรียนคุณหมอสันต์ที่นับถือ
ได้ติดตามบล็อกคุณหมอมานานพอสมควร เป็นบทความที่มีประโยชต่อสาธารณชนอย่างแท้จริงและตรงกับใจผมมากที่คุณหมอเน้นการป้องกันโรคดีกว่ามารักษาโรคภายหลัง ผมจึงหลีกเลี่ยงการใช้ยาเสมอ โดยเฉพาะยาปฏิชีวนะเพราะมันทำลายภูมิคุ้มกัน หลายสิบปีที่ผมแทบไม่เคยเป็นโรคสามัญประจำบ้านเลยครับ อย่างเช่นโรคไข้หวัด หากมีเริ่มอาการครั่นเนื้อ ครั่นตัว ผมใช้วิธีแค่ออกกำลังเล็กน้อย อาการดังกล่าวจะหายไปโดยไม่ต้องใช้ยาใดๆทั้งสิ้น ก็ขอเกริ่นไว้เป็นข้อคิดแก่แฟนบล็อกคุณหมอด้วยครับ
อารัมภบทแล้วขอรบกวนคุณหมอดังนี้ครับ ผมอายุ68ปี สูง 160 ซม.หนัก 56 กก. เมื่อปี 2549 มีอาการแน่นหน้าอก และร้าวไปที่แขนทั้งสองข้าง ขณะเช็ดถูรถ หมอบอกเป็นอาการเส้นเลือดหัวใจตีบ ไขมันรวมประมาณ 233 mg/dl HDL 43 mg/dl TRIGLYCERRIDE 163 mg/dl LDL 131 mg/dl ความดัน 140/90-150/95 ยาที่ได้รับคือ
เบบี้ แอสไพริน ตอนแรกไม่กิน ตอนหลังเห็นประโยชมากว่าโทษจีงกินทุกวัน
prenolol 50 mg กินครึ่งเม็ด กินวันเว้นวัน เพราะวัดความดันปกติ
lipitor (ตอนหลังเปลี่ยนเป็น xarator )20mg กินครึ่งเม็ด กินสัปดาห์ละ 2 ครั้ง คือจันทร์กับพฤหัส เพราะผมได้ทดลองแล้วพบว่ายาคุมได้ถึง 60 ชม. กล่าวคือเจาะเลีอดวันอังคาร งดกินยาคืนวันจันทร์ (กินคืนวันอาทิตย์)ได้ผลเลือดดีมากเหมือนกินคืนวันจันทร์ ต่อมางดกินคืนวันอาทิตย์(กินคืนวันเสาร์) ได้ผลเลือดเหมือนกับกินคืนวันอาทิตย์ ทั้งสองแบบทดลองอย่างละ 2 ครั้ง โดยเจาะเลือดทุก 6เดือน เท่ากับผมใช้เวลา 2 ปีในการทดลองฤทธ์ของยา มีข้อเรียนถามว่า
1 ผมทำอย่างนี้เป็นการสมควรไหมครับ มีการวิจัยฤทธ์ของยาอย่างที่ผมทดลองหรือไม่
2 เมื่อปีเศษๆ ผมเริ่มมีอาการชาที่นิ้วเท้าข้างซ้าย (ค่า glucose 100 mg/dl) ขณะนี้เริ่มชาที่นิ้วเท้าข้างขวาแล้ว (ค่า glucose 103 mg/dl) อาการชาเกี่ยวข้องกับเสันเลือดหัวใจตีบ และหรือระดับน้ำตาลในเลือดไหมครับ
3 มีงานวิจัยวิธีรักษาอาการชาที่เท้า(รวมทั้งที่มือด้วย) ไหมครับ
ป.ล.อาหารเน้นผักผลไม้แต่ยังอดเนื้อสัตว์ไม่ได้ ออกกำลังกายสม่ำเสมอแต่ยังไม่ถึงขั้นที่คุณหมอแนะนำ ส่วนเรื่องคลายเครียดคิดว่าทำได้ดี
ขอขอบพระคุณคุณหมอ ณ โอกาสนี้
(ชื่อ) .......
......................................................................
ตอบครับ
ดังที่ได้สัญญาไว้ ว่าวันนี้จะตอบประเด็นที่เหลืออยู่ประเด็นเดียว คือประเด็นชาปลายเท้านะ
1. ถามว่าอาการชาปลายเท้าเกี่ยวกับน้ำตาลในเลือด (103 mg/dl) ไหม ตอบว่าอาจจะเกี่ยวหรืออาจจะไม่เกี่ยวก็ได้ครับ เพราะในแง่สาเหตุวิทยา มีรายงานสถิติว่าคนที่ใกล้จะเป็นเบาหวาน (prediabetes) คือคนที่น้ำตาลในเลือดสูงกว่า 100 แต่ไม่เกิน 125 อย่างคุณนี้มีความสัมพันธ์กับการเป็นโรคปลายประสาทอักเสบยอดนิยมสองชนิดมากกว่าคนทั่วไป สองชนิดที่ว่านั้นคือ (1) โรคปลายประสาทอักเสบจากเบาหวาน (diabetic peripheral neuropathy - DPN) ซึ่งพบราว 50% และ (2) โรคปลายประสาทอักเสบแบบหาสาเหตุไม่พบ (cryptogenic sensory peripheral neuropathy - CSPN) ซึ่งพบราว 30% ของผู้ป่วยปลายประสาทอักเสบทั้งหมด
นอกจากโรคปลายประสาทอักเสบยอดนิยมสองชนิดข้างต้นแล้ว โรคปลายประสาทอักเสบยังเกิดได้จากอีกหลายสาเหตุดังต่อไปนี้
1. ปลายประสาทอักเสบเพราะยา (รวมทั้งยา statin ที่คุณกินอยู่ก็เป็นต้นเหตุได้)
2. ขาดวิตามินบี.12
3. เกิดพิษของวิตามินบี.6 (กินมากเกิน)
4. อัลกอฮอลิสม์
5. ของเสียคั่งค้างจากโรคไต (uremia)
6. พิษของสารเคมีและโลหะหนัก
7. เส้นประสาทถูกกดทับ
8. ตับอักเสบ
9. พันธุกรรมปลายประสาทอักเสบ
10. เป็นอาการข้างเคียงของโรคมะเร็ง
11. ซิฟิลิส
12. เอดส์
2. ถามว่าอาการปลายประสาทอักเสบเป็นอย่างไรได้บ้าง ตอบว่าเป็นได้ตั้งแต่ เหน็บ ชา ซ่า รู้สึกยิบๆ หรือเจ็บ ที่ปลายมือปลายเท้าทั้งสองข้าง มีอยู่ราวสิบเปอร์เซ็นต์ที่อาจมีอาการทรงตัวลำบากหรือหมดเรี่ยวหมดแรง
3. ถามว่าเมื่อชาปลายเท้าอย่างนี้ควรจะทำอย่างไรต่อไป ตอบว่าควรทำดังนี้
3.1 สิ่งแรกที่พึงทำคือหยุดยาลดไขมันที่กำลังกินอยู่ไปก่อนแล้วดูเชิงไปสัก 3-6 เดือน
3.2 เปลี่ยนอาหารมาเป็นกินพืชเป็นหลัก เพราะงานวิจัยพบว่าอาหารพืชเป็นหลักจะลดการเป็นเบาหวานในผู้ป่วยใกล้เป็นเบาหวานลงได้ และลดอาการปลายประสาทอักเสบได้ดีกว่าอาหารปกติที่มีเนื้อสัตว์อยู่ด้วย
3.3 ทำการฟื้นฟูร่างกายตนเองโดยเน้นการออกกำลังกายเพื่อป้องกันการลื่นตกหกล้ม ด้วยการควบรวมการออกกำลังกายสองแบบ คือแบบฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (strength training) เข้ากับแบบเสริมการทรงตัว (balance exercise) ผมเคยอัดวิดิโอการออกกำลังกายทั้งสองแบบไว้ หาดูในยูทูปได้
3.4 ถ้าหลังจากหยุดยาและดูเชิงไปหลายเดือนแล้วไม่ดีขึ้น ให้ไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจหาสาเหตุปลายประสาทอักเสบ โดยอย่างน้อยต้องตรวจต่อไปนี้
3.4.1 ตรวจร่างกายทางประสาทวิทยาโดยแพทย์ประสาทวิทยา (neurologist)
3.4.2 ตรวจการนับเม็ดเลือด (CBC) เพื่อประเมินว่ามีโลหิตจางชนิดเม็ดเลือดแดงโตซึ่งเกิดจากการขาดวิตามินบี.12 หรือไม่
3.4.3 ตรวจน้ำตาลในเลือดเพื่อประเมินเบาหวาน
3.4.4 ตรวจระดับสาร เอ็มเอ็มเอ. หรือโฮโมซีสเตอีน เพื่อประเมินการขาดวิตามินบี.12
3.4.5 ตรวจดูภาวะการอักเสบในร่างกาย โดยตรวจค่า ESR , CRP, และ ANF
3.4.6 ตรวจระดับของโลหะหนัก โดยอย่างน้อยต้องตรวจปรอท ตะกั่ว สารหนู
3.4.7 ตรวจสถานะการติดเชื้อ HIV และซิฟิลิส (VDRL)
การจัดการโรคต่อจากนั้นขึ้นอยู่กับผลการตรวจทั้งหมดข้างต้น ถ้าพบสาเหตุก็แก้ไขสาเหตุ แต่ถ้าไม่พบสาเหตุก็รับยาแก้ปวดแล้วกลับบ้าน กลับมากินอาหารพืชเป็นหลัก ขยันทำกายภาพบำบัดฟื้นฟูตัวเองด้วยการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อกับฝึกเสริมการทรงตัว แล้วก็ยอมรับว่ามันจะเป็นของมันอย่างนี้ก็ช่างมันเถอะ สถิติทางการแพทย์บอกให้คุณอุ่นใจได้หน่อยว่าโรคปลายประสาทอักเสบแบบหาสาเหตุไม่เจอ (CSPN) นี้ มีการพยากรณ์โรคที่ดีพอควร ไม่ได้เป็นโรครุนแรง และการดำเนินโรคก็เป็นแบบช้าๆหยุดๆ ไม่ถึงกับจะทำให้พิการหรือทุพลภาพ ถ้ายอมรับมันได้ไม่ไปหงุดหงิดกับมันก็จะมีชีวิตพออยู่ได้สบายๆแม้ว่าอาการชาจะไม่หายไปไหน
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. Chong PH, Boskovich A, Stevkovic N, Bartt RE. Statin-associated peripheral neuropathy: review of the literature. Pharmacotherapy 2004;24:1194-1203
เรียนคุณหมอสันต์ที่นับถือ
ได้ติดตามบล็อกคุณหมอมานานพอสมควร เป็นบทความที่มีประโยชต่อสาธารณชนอย่างแท้จริงและตรงกับใจผมมากที่คุณหมอเน้นการป้องกันโรคดีกว่ามารักษาโรคภายหลัง ผมจึงหลีกเลี่ยงการใช้ยาเสมอ โดยเฉพาะยาปฏิชีวนะเพราะมันทำลายภูมิคุ้มกัน หลายสิบปีที่ผมแทบไม่เคยเป็นโรคสามัญประจำบ้านเลยครับ อย่างเช่นโรคไข้หวัด หากมีเริ่มอาการครั่นเนื้อ ครั่นตัว ผมใช้วิธีแค่ออกกำลังเล็กน้อย อาการดังกล่าวจะหายไปโดยไม่ต้องใช้ยาใดๆทั้งสิ้น ก็ขอเกริ่นไว้เป็นข้อคิดแก่แฟนบล็อกคุณหมอด้วยครับ
อารัมภบทแล้วขอรบกวนคุณหมอดังนี้ครับ ผมอายุ68ปี สูง 160 ซม.หนัก 56 กก. เมื่อปี 2549 มีอาการแน่นหน้าอก และร้าวไปที่แขนทั้งสองข้าง ขณะเช็ดถูรถ หมอบอกเป็นอาการเส้นเลือดหัวใจตีบ ไขมันรวมประมาณ 233 mg/dl HDL 43 mg/dl TRIGLYCERRIDE 163 mg/dl LDL 131 mg/dl ความดัน 140/90-150/95 ยาที่ได้รับคือ
เบบี้ แอสไพริน ตอนแรกไม่กิน ตอนหลังเห็นประโยชมากว่าโทษจีงกินทุกวัน
prenolol 50 mg กินครึ่งเม็ด กินวันเว้นวัน เพราะวัดความดันปกติ
lipitor (ตอนหลังเปลี่ยนเป็น xarator )20mg กินครึ่งเม็ด กินสัปดาห์ละ 2 ครั้ง คือจันทร์กับพฤหัส เพราะผมได้ทดลองแล้วพบว่ายาคุมได้ถึง 60 ชม. กล่าวคือเจาะเลีอดวันอังคาร งดกินยาคืนวันจันทร์ (กินคืนวันอาทิตย์)ได้ผลเลือดดีมากเหมือนกินคืนวันจันทร์ ต่อมางดกินคืนวันอาทิตย์(กินคืนวันเสาร์) ได้ผลเลือดเหมือนกับกินคืนวันอาทิตย์ ทั้งสองแบบทดลองอย่างละ 2 ครั้ง โดยเจาะเลือดทุก 6เดือน เท่ากับผมใช้เวลา 2 ปีในการทดลองฤทธ์ของยา มีข้อเรียนถามว่า
1 ผมทำอย่างนี้เป็นการสมควรไหมครับ มีการวิจัยฤทธ์ของยาอย่างที่ผมทดลองหรือไม่
2 เมื่อปีเศษๆ ผมเริ่มมีอาการชาที่นิ้วเท้าข้างซ้าย (ค่า glucose 100 mg/dl) ขณะนี้เริ่มชาที่นิ้วเท้าข้างขวาแล้ว (ค่า glucose 103 mg/dl) อาการชาเกี่ยวข้องกับเสันเลือดหัวใจตีบ และหรือระดับน้ำตาลในเลือดไหมครับ
3 มีงานวิจัยวิธีรักษาอาการชาที่เท้า(รวมทั้งที่มือด้วย) ไหมครับ
ป.ล.อาหารเน้นผักผลไม้แต่ยังอดเนื้อสัตว์ไม่ได้ ออกกำลังกายสม่ำเสมอแต่ยังไม่ถึงขั้นที่คุณหมอแนะนำ ส่วนเรื่องคลายเครียดคิดว่าทำได้ดี
ขอขอบพระคุณคุณหมอ ณ โอกาสนี้
(ชื่อ) .......
......................................................................
ตอบครับ
ดังที่ได้สัญญาไว้ ว่าวันนี้จะตอบประเด็นที่เหลืออยู่ประเด็นเดียว คือประเด็นชาปลายเท้านะ
1. ถามว่าอาการชาปลายเท้าเกี่ยวกับน้ำตาลในเลือด (103 mg/dl) ไหม ตอบว่าอาจจะเกี่ยวหรืออาจจะไม่เกี่ยวก็ได้ครับ เพราะในแง่สาเหตุวิทยา มีรายงานสถิติว่าคนที่ใกล้จะเป็นเบาหวาน (prediabetes) คือคนที่น้ำตาลในเลือดสูงกว่า 100 แต่ไม่เกิน 125 อย่างคุณนี้มีความสัมพันธ์กับการเป็นโรคปลายประสาทอักเสบยอดนิยมสองชนิดมากกว่าคนทั่วไป สองชนิดที่ว่านั้นคือ (1) โรคปลายประสาทอักเสบจากเบาหวาน (diabetic peripheral neuropathy - DPN) ซึ่งพบราว 50% และ (2) โรคปลายประสาทอักเสบแบบหาสาเหตุไม่พบ (cryptogenic sensory peripheral neuropathy - CSPN) ซึ่งพบราว 30% ของผู้ป่วยปลายประสาทอักเสบทั้งหมด
นอกจากโรคปลายประสาทอักเสบยอดนิยมสองชนิดข้างต้นแล้ว โรคปลายประสาทอักเสบยังเกิดได้จากอีกหลายสาเหตุดังต่อไปนี้
1. ปลายประสาทอักเสบเพราะยา (รวมทั้งยา statin ที่คุณกินอยู่ก็เป็นต้นเหตุได้)
2. ขาดวิตามินบี.12
3. เกิดพิษของวิตามินบี.6 (กินมากเกิน)
4. อัลกอฮอลิสม์
5. ของเสียคั่งค้างจากโรคไต (uremia)
6. พิษของสารเคมีและโลหะหนัก
7. เส้นประสาทถูกกดทับ
8. ตับอักเสบ
9. พันธุกรรมปลายประสาทอักเสบ
10. เป็นอาการข้างเคียงของโรคมะเร็ง
11. ซิฟิลิส
12. เอดส์
2. ถามว่าอาการปลายประสาทอักเสบเป็นอย่างไรได้บ้าง ตอบว่าเป็นได้ตั้งแต่ เหน็บ ชา ซ่า รู้สึกยิบๆ หรือเจ็บ ที่ปลายมือปลายเท้าทั้งสองข้าง มีอยู่ราวสิบเปอร์เซ็นต์ที่อาจมีอาการทรงตัวลำบากหรือหมดเรี่ยวหมดแรง
3. ถามว่าเมื่อชาปลายเท้าอย่างนี้ควรจะทำอย่างไรต่อไป ตอบว่าควรทำดังนี้
3.1 สิ่งแรกที่พึงทำคือหยุดยาลดไขมันที่กำลังกินอยู่ไปก่อนแล้วดูเชิงไปสัก 3-6 เดือน
3.2 เปลี่ยนอาหารมาเป็นกินพืชเป็นหลัก เพราะงานวิจัยพบว่าอาหารพืชเป็นหลักจะลดการเป็นเบาหวานในผู้ป่วยใกล้เป็นเบาหวานลงได้ และลดอาการปลายประสาทอักเสบได้ดีกว่าอาหารปกติที่มีเนื้อสัตว์อยู่ด้วย
3.3 ทำการฟื้นฟูร่างกายตนเองโดยเน้นการออกกำลังกายเพื่อป้องกันการลื่นตกหกล้ม ด้วยการควบรวมการออกกำลังกายสองแบบ คือแบบฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (strength training) เข้ากับแบบเสริมการทรงตัว (balance exercise) ผมเคยอัดวิดิโอการออกกำลังกายทั้งสองแบบไว้ หาดูในยูทูปได้
3.4 ถ้าหลังจากหยุดยาและดูเชิงไปหลายเดือนแล้วไม่ดีขึ้น ให้ไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจหาสาเหตุปลายประสาทอักเสบ โดยอย่างน้อยต้องตรวจต่อไปนี้
3.4.1 ตรวจร่างกายทางประสาทวิทยาโดยแพทย์ประสาทวิทยา (neurologist)
3.4.2 ตรวจการนับเม็ดเลือด (CBC) เพื่อประเมินว่ามีโลหิตจางชนิดเม็ดเลือดแดงโตซึ่งเกิดจากการขาดวิตามินบี.12 หรือไม่
3.4.3 ตรวจน้ำตาลในเลือดเพื่อประเมินเบาหวาน
3.4.4 ตรวจระดับสาร เอ็มเอ็มเอ. หรือโฮโมซีสเตอีน เพื่อประเมินการขาดวิตามินบี.12
3.4.5 ตรวจดูภาวะการอักเสบในร่างกาย โดยตรวจค่า ESR , CRP, และ ANF
3.4.6 ตรวจระดับของโลหะหนัก โดยอย่างน้อยต้องตรวจปรอท ตะกั่ว สารหนู
3.4.7 ตรวจสถานะการติดเชื้อ HIV และซิฟิลิส (VDRL)
การจัดการโรคต่อจากนั้นขึ้นอยู่กับผลการตรวจทั้งหมดข้างต้น ถ้าพบสาเหตุก็แก้ไขสาเหตุ แต่ถ้าไม่พบสาเหตุก็รับยาแก้ปวดแล้วกลับบ้าน กลับมากินอาหารพืชเป็นหลัก ขยันทำกายภาพบำบัดฟื้นฟูตัวเองด้วยการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อกับฝึกเสริมการทรงตัว แล้วก็ยอมรับว่ามันจะเป็นของมันอย่างนี้ก็ช่างมันเถอะ สถิติทางการแพทย์บอกให้คุณอุ่นใจได้หน่อยว่าโรคปลายประสาทอักเสบแบบหาสาเหตุไม่เจอ (CSPN) นี้ มีการพยากรณ์โรคที่ดีพอควร ไม่ได้เป็นโรครุนแรง และการดำเนินโรคก็เป็นแบบช้าๆหยุดๆ ไม่ถึงกับจะทำให้พิการหรือทุพลภาพ ถ้ายอมรับมันได้ไม่ไปหงุดหงิดกับมันก็จะมีชีวิตพออยู่ได้สบายๆแม้ว่าอาการชาจะไม่หายไปไหน
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. Chong PH, Boskovich A, Stevkovic N, Bartt RE. Statin-associated peripheral neuropathy: review of the literature. Pharmacotherapy 2004;24:1194-1203