มารร้ายของคนอายุน้อย..ตุ่มไขมันชนิดอ่อนไหวง่าย (vulnerable plaque)
เรียนคุณหมอสันต์ครับ
ผมมีเรื่องอยากจะรบกวนถามคุณหมอดังนี้ครับ ผมอายุ 35 ปี ตรวจพบเป็นโรคหัวใจพึ่งไปทำบอลลูนมา แต่ว่าทำแล้วก็ยังมีอาการอยู่ ผมได้ไปทำการติดตามอาการโรคเส้นเลือดหัวใจตีบมาและคุณหมอเล่าให้ฟังว่า ช่วงนี้อาการของโรคเกิดขึ้นกับคนอายุน้อยๆมีมากขึ้น สัปดาห์ที่ผ่านมาหมอว่าก็มีอีก 2 เคส ผู้หญิงอายุ 32 เส้นเลือดตีบ 3 เส้น, อีกคน ผู้ชายอายุ 41 ต้องทำการปั้มหัวใจ ผมเลยคิดว่าถ้าข้อมูลของผมซึ่งเป็นโรคหัวใจตอนอายุ 35 สามารถนำไปบอกให้คนอื่นเป็นอุทาหรณ์ได้ โดยไม่เกิดผลกระทบหรือผลเสียหายกับใครผมรู้สึกยินดีครับ
ขอเล่าเรืื่องของผมอย่างละเอียดนะครับ ผมเป็นคนไม่สูบบุหรี่ ไม่เสพยาเสพย์ติด ครอบครัวผมไม่มีใครเป็นโรคหัวใจ กินอาหารเหมือนคนปกติทั่วไปครับ ตอนเช้าใน 1 อาทิตย์ ก็มีทานข้าวเหนียวหมูปิ้ง ไก่ปิ้ง , แซนวิชแฮม ตอนกลางวัน ตอนเย็นก็ทั่วไปครับ ส่วนขนมหวานผมไม่ค่อยได้ทานเลยครับ แต่ว่าผลการตรวจสุขภาพประจำปีที่บริษัทแจ้งว่าผมมีไขมันในเลือดสูงมาตั้งแต่ปี 2013 ซึ่งผมก็คิดว่าไม่ซีเรียส ผมเป็นคนออกำลังกายสม่ำเสมอ ผมจะเล่นแต่เวทยกพวกดัมเบลมา 3 – 4 ปี อาทิตย์ประมาณ 3 วันแต่จะไม่ได้วิ่งและไม่ได้คาร์ดิโอครับ เรื่องวิธีจัดการความเครียดยอมรับว่า 3 – 4 ปีมานี้ผมไม่ได้มีวิธีการจัดการความเครียดครับ เวลาเครียดก็จะเก็บนำมาคิดอยู่ตลอดทำให้บางครั้งก็นอนไม่หลับ เหมือนคิดอยู่ตลอดเวลากับปัญหาที่เกิดขึ้นครับ แต่หลังจากที่ผมทำบอลลูนมาผมปล่อยวางมากขึ้นครับ รู้เลยชีวิตเป็นอะไรไม่แน่นอนจริงๆ ผมไม่คิดเลยว่าจะตรวจเจอโรคหัวใจคิดว่าเป็นโรคกระเพาะอาหารครับ
เริ่มมาตั้งแต่ปี 2015 ผมรู้สึกเหมือนมีอะไรมากดที่ใต้ลิ้นปี้ตลอดเวลาแต่การรู้สึกคือเป็นการรู้สึกแบบรำคาญ ไม่ได้จุกแน่นมากจนทนไม่ได้ครับ (พฤติกรรมผมชอบแขม่วเกร็งท้องจนเป็นนิสัยผมไม่รู้เกี่ยวกับสาเหตุนี้หรือป่าวครับ) จนปี 2016 ผมจึงได้ไปหาคุณหมอทางเดินอาหารตรวจด้วยอาการดังกล่าวและคุณหมอให้ทำการส่องกล้องกระเพาะอาหาร ซึ่งผลตรวจออกมาว่าปกติตามที่ผมส่งมาให้ปกติ หลังจากนั้นคุณหมอให้ยาเคลือบกระเพาะมาทานแต่ผมก็ไม่หายครับ จากนั้นผมก็มีอาการเหมือนมีอะไรมากดที่ใต้ลิ้นปี่มาโดยตลอด จนถึงวันที่ 20/06/2017 ผมมีอาการจุกๆที่คอและแน่นๆที่หน้าอก แต่ที่ใต้ลิ้นปี่ก็รู้สึกเหมือนเดิม ผมเลยไปหาคุณหมอที่ รพ. ... ซึ่งตรวจพบว่าคลื่นหัวใจผิดปกติไปจากเดิมตามรูปครับ จึงได้เขียนเรื่องส่งตัวผมไปที่ รพ. ... (เพราะผมมีสิทธิประกันสังคมอยู่ที่นั่น) วันรุ่งขึ้นผมได้มาที่ รพ. ... และได้มีการเจาะเลือดดูค่าเอนไซม์หัวใจ Troponin I พบว่าตอนเช้าวัดได้ 2.6 ส่วนตอนเย็นวัดได้ 4 กว่าๆ คุณหมอเห็นว่าค่าเอนไซม์สูงเกิน 100% เลยให้ผมนอน ICU และฉีดสีให้ในวันที่ 24/06/2017 ที่ รพ. .... ผลพบว่าตีบ 1 เส้น 80% จึงทำบอลลูนไป ตามผลฉีดสีที่ผมส่งมาให้คุณหมอด้วย แล้วนี้หมอให้ยามาทานอยู่ 4 ตัวครับก็คือ
1 Plavix 75 mg เช้า 1 เม็ด
2 Aspirin 81 mg เช้า 2 เม็ด
3 Bisloc 2.5 mg เช้า 1 เม็ด (ยาเก่า),
4. Nebilet 5 mg เช้า 1/2 เม็ด (ยาใหม่)
5. xarator 40 mg ก่อนนอน 1 เม็ด
ซึ่งหลังจากผมทำบอลลูนมา 1 เดือนกว่าจนมาถึงตอนนี้ ผมยังมีอาการไม่ปกติคือ จะรู้สึกเวียนๆหัว คิดช้า ความจำลดลง (คิดว่าจะทำอะไรแต่อีกแป็บเดียวก็ลืมที่คิดแล้วครับ), ตื่นเช้ามาจะมีน้ำมูกและรู้สึกปวดฟันกรามด้านขวาเวลาที่ทานข้าวครับ ซึ่งมันทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของผมลดลง และเวลาเครียดผมมีอาการค่อนข้างขาดความมั่นใจ และมีอาการจุกที่คอครับ และจะเหมือนกล้ามเนื้อกระตุกถี่ๆเป็นบางครั้งครับ ซึ่งผมได้กลับไปปรึกษาคุณหมอที่ดูแลผมอยู่ คุณหมอได้ปรับยาจากตัว Bisloc เป็นยา Nebilet 5 mg โดยให้ทานเวลาเช้า 1/2 เม็ด โดยผมได้ปรับยามาประมาณ 1 อาทิตย์แต่ผมยังไม่ดีขึ้นเลยครับ ผมอยากถามคุณหมอสันต์ว่า
1) ผมจะสามารถกลับไปเล่นกีฬาฟิตเนสเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อและเตะบอลที่เป็นกีฬาที่ผมชอบได้ไหมครับ
2) ถ้าปีหน้าผมอยากลาอุปสมบทสามารถทำได้ไหมครับ
3) ผมยังมีโอกาศไปดื่มนิดๆหน่อยๆสังสรรค์กับเพื่อนได้อยู่ไหมครับ
4) ทำไมผมจึงเป็นโรคหัวใจทั้งๆที่อายุยังน้อย
5) อาการที่เป็นหลังทำบอลลูนเกิดจากอะไร
6) ผมควรจะทำอย่างไรดีครับ
7) ยาทั้ง 4 ตัวนี้ ผมทราบว่า Plavix ต้องกินไป 1 ปี ส่วนอีก 3 ตัว ผมต้องกินไปตลอดชีวิตเลยใช่ไหมครับ ผมจะลดยาอย่างไรเพราะไม่ต้องการกินยามาก
ด้วยความเคารพ
............................................................
ตอบครับ
1) ถามว่าเป็นโรคหัวใจขาดเลือดแล้วจะกลับไปเล่นและเตะบอลได้ไหม ตอบว่าได้ครับ และเป็นสิ่งที่ควรทำ เพราะการออกกำลังกายทุกชนิด แต่เน้นชนิดแอโรบิกซึ่งรวมทั้งเตะบอลด้วย มีผลลดอาการและลดอัตราตายของโรคหัวใจขาดเลือดและเพิ่มคุณภาพชีวิตได้ดี
2) ถามว่าจะบวชได้ไหม ตอบว่าได้ครับ ถ้าคุณยังมีจู๋อยู่ (พูดเล่น แต่คนไม่มีจู๋เขาห้ามบวชจีจีนะ)
3) ถามว่าจะไปดื่มนิดๆหน่อยๆสังสรรค์กับเพื่อนได้ไหม ตอบว่าได้ครับ สำหรับคนเป็นโรคหัวใจ การดื่มแอลกอฮอล์ในระดับพอควร (ไม่เกินวันละสองดริ๊งค์) เทียบกันแล้วคนที่ดื่มตายน้อยกว่าคนที่ไม่ดื่ม
4) ถามว่าทำไมคนอายุน้อยอย่างคุณจึงเป็นโรคหัวใจ ตอบว่าสมัยนี้อายุ 35 ไม่ได้น้อยแล้วสำหรับการเป็นโรคหัวใจ คนไข้รายสุดท้ายที่ผมผ่าตัดบายพาสก่อนสั่งลาอาชีพหมอผ่าตัดหัวใจ คนไข้อายุ 27 ปีเท่านั้นเอง นานมาแล้วหมอผ่าศพกลุ่มหนึ่งได้ทำงานวิจัยชื่อ PDAY โดยเอาศพคนหนุ่มคนสาวอายุ 15-34 ปีที่ตายด้วยอุบัติเหตุและฆาตกรรมจำนวน 2876 ศพมาผ่าดูหลอดเลือดหัวใจ พบว่าโรคไขมันพอกหลอดเลือดนี้เริ่มที่หลอดเลือดหัวใจตั้งแต่อายุ 15 ปี พออายุได้ 30 ปี หลายคนก็มีไขมันพอกมากระดับที่พร้อมจะเกิดหัวใจวายได้แล้ว
แล้วถามเจาะเฉพาะตัวคุณว่าทำไมถึงเป็นโรคหัวใจตั้งแต่อายุยังน้อย บุหรี่ก็ไม่สูบ ความดันก็ไม่สูง เบาหวานก็ไม่เป็น อ้วนก็ไม่อ้วน แถมขยันออกกำลังกายด้วย ตอบว่าก็เพราะคุณมีไขมันในเลือดสูงติดต่อกันอยู่นานหลายปีโดยไม่ได้รับการแก้ไขนะสิครับ ตรวจสุขภาพประจำปีหมอเขาก็บอกมาทุกปีว่าคุณมีไขมันในเลือดสูง แต่คุณก็ไม่ทำอะไร นี่มันเข้าคำพังที่ผมเคยอ่านในหนังสือหิโตปเทศที่ว่า
"..คนได้รับความไร้สุขก็ลงเอาเคราะห์
ผู้โง่เขลาไม่รู้จักโทษการกระทำของตัวเอง.."
ผมเปล่าว่าคุณนะ แค่อ้างภาษิตโบราณเฉยๆ หิ หิ ตะแล้น ตะแล้น ตะแล้น
อย่างไรก็ตาม ความสงสัยของคุณนี้วงการแพทย์ก็สงสัยมานานว่าทำไมคนอายุน้อยเส้นเลือดดี๊ดี มีตุ่มบนไขมันนิี้ดเดียวบางทีก็มีแค่ตุ่มเดียวอย่างคุณนี้เป็นต้น แต่พอเกิดหัวใจวายทีแทบเอาชีวิตไม่รอด คือไม่ตายก็คางเหลือง คนแก่เสียอีกเส้นเลือดเขรอะไปด้วยตุ่มไขมันจนแข็งโป้กไปทั้งลำอย่างกับท่อประปา กลับไม่เห็นจะเกิดหัวใจวายแบบรุนแรงเลย จึงเป็นที่มาของสมมุติฐาน (แปลว่าเรื่องที่มะโนเอา) ที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในวงการหมอหัวใจว่าตุ่มไขมันในคนหนุ่มนี้มันเป็นตุ่มไขมันชนิดอ่อนไหวง่าย (vulnerable plaque) พอมีอะไรกระแทกกระทั้น (เช่นความดัน) มีอะไรบีบ (เช่นความเครียดที่ทำให้หลอดเลือดหดตัว) หรือมีสารเคมีอะไรมากัดให้ถลอก (เช่นสารเคมีจากบุหรี่ ไขมัน น้ำตาล เกลือ) เยื่อคลุมตุ่มซึ่งบางจ๋อยอยู่แล้วก็จะแตกโพล้ะออกง่ายๆ น่าเสียดายที่ความรู้แพทย์ปัจจุบันนี้ยังไม่มีมุขอะไรใหม่ๆมาช่วยให้คนหนุ่มคนสาวป้องกันหัวใจวายได้มากขึ้น นอกเหนือไปจากการดูแลปัจจัยเสี่ยงอย่างที่รู้ๆกันอยู่
5) ถามว่าอาการที่เป็นหลังทำบอลลูนเกิดจากอะไร ตอบว่าฟังตามอาการที่เล่า มันเป็นอาการคลาสสิกของหัวใจขาดเลือด ซึ่งเกิดขึ้นแม้ว่าหมอจะได้แก้ไขรอยตีบที่หลอดเลือดไปแล้ว ทั้งนี้เป็นเพราะการที่เลือดไหลไม่สะดวก มันเกิดขึ้นได้ทั้งในระดับที่ตามองเห็นและระดับที่ตามองไม่เห็น หมายความว่าเกิดในระดับหลอดเลือดที่เล็กระดับหลอดเลือดฝอย วงการหมอหัวใจเรียกว่า cardiac syndrom X แปลว่าเป็นอะไรไม่รู้ รู้แต่ว่าเจ็บหน้าอก กล้ามเนื้อหัวใจตาย และฉีดสีดูหลอดเลือดก็เห็นโล่งดี
6) ถามว่าควรจะทำอย่างไรดี ตอบว่าให้ทำสองอย่าง คือ
อย่างที่ 1. ให้หัดดูแลตัวเองโดยใช้ตัวชี้วัดง่ายๆ 7 ตัว (Simple Seven) ได้แก่น้ำหนัก ความดัน ไขมันเลว น้ำตาลในเลือด การกินผักผลไม้ การออกกำลังกาย การไม่สูบบุหรี่ ซึ่งคุณทำได้ดีเกือบหมดยกเว้นการปรับอาหารเพื่อลดไขมันในเลือดคุณยังทำไม่เป็น ให้หาอ่านวิธีทำเอาจากบทความเก่าๆของผม
อย่างที่ 2. ให้ระวังปัจจัยกระตุกให้เกิดหลอดเลือดหดตัวเฉียบพลันอันเป็นปฐมเหตุของหัวใจวาย ซึ่งจากงานวิจััยพบว่ามีอยู่ห้าปัจจัยคือ
- การโมโหปรี๊ดแตก ทำให้ตายกะทันหันเพิ่มขึ้น 8.5 เท่า
- อาหารไขมันมื้อหนักๆ เหน่งๆมื้อเดียว ก็ทำให้หลอดเลือดหดตัวฟุบ..บ ได้นานถึง 6 ชั่วโมง
- เกลือ ซึ่งก็ได้จากอาหารเค็มๆ
- การที่ร่างกายขาดน้ำ คือดื่มน้ำไม่พอ
- การสูบบุหรี่
7) ถามว่ายาที่กินทั้งหมดนี้จะลดได้ไหม ต้องทำอย่างไร ตอบว่าลดได้ครับ ส่วนทำอย่างไรนั้น แต่เดิมผมเคยบอกวิธีให้คนไข้ลดละเลิกยาของตัวเองเป็นขั้นๆทางอีเมล แล้วพบว่ามีผลเสียมากกว่าผลดีเพราะคนไข้เอาไปทำแบบผิดๆถูกๆ อีกทั้งการสั่งยาโดยไม่เห็นตัวไม่ได้ตรวจร่างกายคนไข้มันเป็นการประกอบโรคศิลป์ที่ผิดวิธี หากขืนดื้อดึงทำไปวันหนึ่งผมคงจะโดนแพทยสภาเล่นงานเอาแน่ ผมจึงเลิกวิธีแนะนำเช่นนั้นเสีย ดังนั้นคุณจึงเหลือทางเลือกอีกสองวิธีคือ
วิธีที่ 1. คุยกับคุณหมอหัวใจของคุณถึงแผนการลดยา โดยให้คุณตัั้งใจปรับอาหารและการใช้ชีวิตนำหน้าให้ตัวชี้วัดมันดีขึ้นแล้วขอให้หมอลดยาตาม จนเลิกยาได้ในที่สุด
วิธีที่ 2. คุณมาเข้าแค้มป์พลิกผันโรคด้วยตัวเอง (RDBY) ซึ่งวิธีการทำแค้มป์นี้คือผมจะเป็นหมอประจำตัว (family doctor) ให้ผู้มาเข้าแค้มป์ทุกคนนาน 1 ปี ผมได้ตรวจร่างกายทุกคนเอง ได้ประเมินโรคทุกคนเองอย่างละเอียด เป็นคนวางแผนการรักษาเอง และสอนให้คนไข้ดูแลตัวเองโดยมีผมเป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษาใกล้ชิดทางอีเมลและทางโทรศัพท์ รวมทั้งคอยติดตามแนะนำการลด ละ เลิก ยาด้วย
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
ผมมีเรื่องอยากจะรบกวนถามคุณหมอดังนี้ครับ ผมอายุ 35 ปี ตรวจพบเป็นโรคหัวใจพึ่งไปทำบอลลูนมา แต่ว่าทำแล้วก็ยังมีอาการอยู่ ผมได้ไปทำการติดตามอาการโรคเส้นเลือดหัวใจตีบมาและคุณหมอเล่าให้ฟังว่า ช่วงนี้อาการของโรคเกิดขึ้นกับคนอายุน้อยๆมีมากขึ้น สัปดาห์ที่ผ่านมาหมอว่าก็มีอีก 2 เคส ผู้หญิงอายุ 32 เส้นเลือดตีบ 3 เส้น, อีกคน ผู้ชายอายุ 41 ต้องทำการปั้มหัวใจ ผมเลยคิดว่าถ้าข้อมูลของผมซึ่งเป็นโรคหัวใจตอนอายุ 35 สามารถนำไปบอกให้คนอื่นเป็นอุทาหรณ์ได้ โดยไม่เกิดผลกระทบหรือผลเสียหายกับใครผมรู้สึกยินดีครับ
ขอเล่าเรืื่องของผมอย่างละเอียดนะครับ ผมเป็นคนไม่สูบบุหรี่ ไม่เสพยาเสพย์ติด ครอบครัวผมไม่มีใครเป็นโรคหัวใจ กินอาหารเหมือนคนปกติทั่วไปครับ ตอนเช้าใน 1 อาทิตย์ ก็มีทานข้าวเหนียวหมูปิ้ง ไก่ปิ้ง , แซนวิชแฮม ตอนกลางวัน ตอนเย็นก็ทั่วไปครับ ส่วนขนมหวานผมไม่ค่อยได้ทานเลยครับ แต่ว่าผลการตรวจสุขภาพประจำปีที่บริษัทแจ้งว่าผมมีไขมันในเลือดสูงมาตั้งแต่ปี 2013 ซึ่งผมก็คิดว่าไม่ซีเรียส ผมเป็นคนออกำลังกายสม่ำเสมอ ผมจะเล่นแต่เวทยกพวกดัมเบลมา 3 – 4 ปี อาทิตย์ประมาณ 3 วันแต่จะไม่ได้วิ่งและไม่ได้คาร์ดิโอครับ เรื่องวิธีจัดการความเครียดยอมรับว่า 3 – 4 ปีมานี้ผมไม่ได้มีวิธีการจัดการความเครียดครับ เวลาเครียดก็จะเก็บนำมาคิดอยู่ตลอดทำให้บางครั้งก็นอนไม่หลับ เหมือนคิดอยู่ตลอดเวลากับปัญหาที่เกิดขึ้นครับ แต่หลังจากที่ผมทำบอลลูนมาผมปล่อยวางมากขึ้นครับ รู้เลยชีวิตเป็นอะไรไม่แน่นอนจริงๆ ผมไม่คิดเลยว่าจะตรวจเจอโรคหัวใจคิดว่าเป็นโรคกระเพาะอาหารครับ
เริ่มมาตั้งแต่ปี 2015 ผมรู้สึกเหมือนมีอะไรมากดที่ใต้ลิ้นปี้ตลอดเวลาแต่การรู้สึกคือเป็นการรู้สึกแบบรำคาญ ไม่ได้จุกแน่นมากจนทนไม่ได้ครับ (พฤติกรรมผมชอบแขม่วเกร็งท้องจนเป็นนิสัยผมไม่รู้เกี่ยวกับสาเหตุนี้หรือป่าวครับ) จนปี 2016 ผมจึงได้ไปหาคุณหมอทางเดินอาหารตรวจด้วยอาการดังกล่าวและคุณหมอให้ทำการส่องกล้องกระเพาะอาหาร ซึ่งผลตรวจออกมาว่าปกติตามที่ผมส่งมาให้ปกติ หลังจากนั้นคุณหมอให้ยาเคลือบกระเพาะมาทานแต่ผมก็ไม่หายครับ จากนั้นผมก็มีอาการเหมือนมีอะไรมากดที่ใต้ลิ้นปี่มาโดยตลอด จนถึงวันที่ 20/06/2017 ผมมีอาการจุกๆที่คอและแน่นๆที่หน้าอก แต่ที่ใต้ลิ้นปี่ก็รู้สึกเหมือนเดิม ผมเลยไปหาคุณหมอที่ รพ. ... ซึ่งตรวจพบว่าคลื่นหัวใจผิดปกติไปจากเดิมตามรูปครับ จึงได้เขียนเรื่องส่งตัวผมไปที่ รพ. ... (เพราะผมมีสิทธิประกันสังคมอยู่ที่นั่น) วันรุ่งขึ้นผมได้มาที่ รพ. ... และได้มีการเจาะเลือดดูค่าเอนไซม์หัวใจ Troponin I พบว่าตอนเช้าวัดได้ 2.6 ส่วนตอนเย็นวัดได้ 4 กว่าๆ คุณหมอเห็นว่าค่าเอนไซม์สูงเกิน 100% เลยให้ผมนอน ICU และฉีดสีให้ในวันที่ 24/06/2017 ที่ รพ. .... ผลพบว่าตีบ 1 เส้น 80% จึงทำบอลลูนไป ตามผลฉีดสีที่ผมส่งมาให้คุณหมอด้วย แล้วนี้หมอให้ยามาทานอยู่ 4 ตัวครับก็คือ
1 Plavix 75 mg เช้า 1 เม็ด
2 Aspirin 81 mg เช้า 2 เม็ด
3 Bisloc 2.5 mg เช้า 1 เม็ด (ยาเก่า),
4. Nebilet 5 mg เช้า 1/2 เม็ด (ยาใหม่)
5. xarator 40 mg ก่อนนอน 1 เม็ด
ซึ่งหลังจากผมทำบอลลูนมา 1 เดือนกว่าจนมาถึงตอนนี้ ผมยังมีอาการไม่ปกติคือ จะรู้สึกเวียนๆหัว คิดช้า ความจำลดลง (คิดว่าจะทำอะไรแต่อีกแป็บเดียวก็ลืมที่คิดแล้วครับ), ตื่นเช้ามาจะมีน้ำมูกและรู้สึกปวดฟันกรามด้านขวาเวลาที่ทานข้าวครับ ซึ่งมันทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของผมลดลง และเวลาเครียดผมมีอาการค่อนข้างขาดความมั่นใจ และมีอาการจุกที่คอครับ และจะเหมือนกล้ามเนื้อกระตุกถี่ๆเป็นบางครั้งครับ ซึ่งผมได้กลับไปปรึกษาคุณหมอที่ดูแลผมอยู่ คุณหมอได้ปรับยาจากตัว Bisloc เป็นยา Nebilet 5 mg โดยให้ทานเวลาเช้า 1/2 เม็ด โดยผมได้ปรับยามาประมาณ 1 อาทิตย์แต่ผมยังไม่ดีขึ้นเลยครับ ผมอยากถามคุณหมอสันต์ว่า
1) ผมจะสามารถกลับไปเล่นกีฬาฟิตเนสเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อและเตะบอลที่เป็นกีฬาที่ผมชอบได้ไหมครับ
2) ถ้าปีหน้าผมอยากลาอุปสมบทสามารถทำได้ไหมครับ
3) ผมยังมีโอกาศไปดื่มนิดๆหน่อยๆสังสรรค์กับเพื่อนได้อยู่ไหมครับ
4) ทำไมผมจึงเป็นโรคหัวใจทั้งๆที่อายุยังน้อย
5) อาการที่เป็นหลังทำบอลลูนเกิดจากอะไร
6) ผมควรจะทำอย่างไรดีครับ
7) ยาทั้ง 4 ตัวนี้ ผมทราบว่า Plavix ต้องกินไป 1 ปี ส่วนอีก 3 ตัว ผมต้องกินไปตลอดชีวิตเลยใช่ไหมครับ ผมจะลดยาอย่างไรเพราะไม่ต้องการกินยามาก
ด้วยความเคารพ
............................................................
ตอบครับ
1) ถามว่าเป็นโรคหัวใจขาดเลือดแล้วจะกลับไปเล่นและเตะบอลได้ไหม ตอบว่าได้ครับ และเป็นสิ่งที่ควรทำ เพราะการออกกำลังกายทุกชนิด แต่เน้นชนิดแอโรบิกซึ่งรวมทั้งเตะบอลด้วย มีผลลดอาการและลดอัตราตายของโรคหัวใจขาดเลือดและเพิ่มคุณภาพชีวิตได้ดี
2) ถามว่าจะบวชได้ไหม ตอบว่าได้ครับ ถ้าคุณยังมีจู๋อยู่ (พูดเล่น แต่คนไม่มีจู๋เขาห้ามบวชจีจีนะ)
3) ถามว่าจะไปดื่มนิดๆหน่อยๆสังสรรค์กับเพื่อนได้ไหม ตอบว่าได้ครับ สำหรับคนเป็นโรคหัวใจ การดื่มแอลกอฮอล์ในระดับพอควร (ไม่เกินวันละสองดริ๊งค์) เทียบกันแล้วคนที่ดื่มตายน้อยกว่าคนที่ไม่ดื่ม
4) ถามว่าทำไมคนอายุน้อยอย่างคุณจึงเป็นโรคหัวใจ ตอบว่าสมัยนี้อายุ 35 ไม่ได้น้อยแล้วสำหรับการเป็นโรคหัวใจ คนไข้รายสุดท้ายที่ผมผ่าตัดบายพาสก่อนสั่งลาอาชีพหมอผ่าตัดหัวใจ คนไข้อายุ 27 ปีเท่านั้นเอง นานมาแล้วหมอผ่าศพกลุ่มหนึ่งได้ทำงานวิจัยชื่อ PDAY โดยเอาศพคนหนุ่มคนสาวอายุ 15-34 ปีที่ตายด้วยอุบัติเหตุและฆาตกรรมจำนวน 2876 ศพมาผ่าดูหลอดเลือดหัวใจ พบว่าโรคไขมันพอกหลอดเลือดนี้เริ่มที่หลอดเลือดหัวใจตั้งแต่อายุ 15 ปี พออายุได้ 30 ปี หลายคนก็มีไขมันพอกมากระดับที่พร้อมจะเกิดหัวใจวายได้แล้ว
แล้วถามเจาะเฉพาะตัวคุณว่าทำไมถึงเป็นโรคหัวใจตั้งแต่อายุยังน้อย บุหรี่ก็ไม่สูบ ความดันก็ไม่สูง เบาหวานก็ไม่เป็น อ้วนก็ไม่อ้วน แถมขยันออกกำลังกายด้วย ตอบว่าก็เพราะคุณมีไขมันในเลือดสูงติดต่อกันอยู่นานหลายปีโดยไม่ได้รับการแก้ไขนะสิครับ ตรวจสุขภาพประจำปีหมอเขาก็บอกมาทุกปีว่าคุณมีไขมันในเลือดสูง แต่คุณก็ไม่ทำอะไร นี่มันเข้าคำพังที่ผมเคยอ่านในหนังสือหิโตปเทศที่ว่า
"..คนได้รับความไร้สุขก็ลงเอาเคราะห์
ผู้โง่เขลาไม่รู้จักโทษการกระทำของตัวเอง.."
ผมเปล่าว่าคุณนะ แค่อ้างภาษิตโบราณเฉยๆ หิ หิ ตะแล้น ตะแล้น ตะแล้น
อย่างไรก็ตาม ความสงสัยของคุณนี้วงการแพทย์ก็สงสัยมานานว่าทำไมคนอายุน้อยเส้นเลือดดี๊ดี มีตุ่มบนไขมันนิี้ดเดียวบางทีก็มีแค่ตุ่มเดียวอย่างคุณนี้เป็นต้น แต่พอเกิดหัวใจวายทีแทบเอาชีวิตไม่รอด คือไม่ตายก็คางเหลือง คนแก่เสียอีกเส้นเลือดเขรอะไปด้วยตุ่มไขมันจนแข็งโป้กไปทั้งลำอย่างกับท่อประปา กลับไม่เห็นจะเกิดหัวใจวายแบบรุนแรงเลย จึงเป็นที่มาของสมมุติฐาน (แปลว่าเรื่องที่มะโนเอา) ที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในวงการหมอหัวใจว่าตุ่มไขมันในคนหนุ่มนี้มันเป็นตุ่มไขมันชนิดอ่อนไหวง่าย (vulnerable plaque) พอมีอะไรกระแทกกระทั้น (เช่นความดัน) มีอะไรบีบ (เช่นความเครียดที่ทำให้หลอดเลือดหดตัว) หรือมีสารเคมีอะไรมากัดให้ถลอก (เช่นสารเคมีจากบุหรี่ ไขมัน น้ำตาล เกลือ) เยื่อคลุมตุ่มซึ่งบางจ๋อยอยู่แล้วก็จะแตกโพล้ะออกง่ายๆ น่าเสียดายที่ความรู้แพทย์ปัจจุบันนี้ยังไม่มีมุขอะไรใหม่ๆมาช่วยให้คนหนุ่มคนสาวป้องกันหัวใจวายได้มากขึ้น นอกเหนือไปจากการดูแลปัจจัยเสี่ยงอย่างที่รู้ๆกันอยู่
5) ถามว่าอาการที่เป็นหลังทำบอลลูนเกิดจากอะไร ตอบว่าฟังตามอาการที่เล่า มันเป็นอาการคลาสสิกของหัวใจขาดเลือด ซึ่งเกิดขึ้นแม้ว่าหมอจะได้แก้ไขรอยตีบที่หลอดเลือดไปแล้ว ทั้งนี้เป็นเพราะการที่เลือดไหลไม่สะดวก มันเกิดขึ้นได้ทั้งในระดับที่ตามองเห็นและระดับที่ตามองไม่เห็น หมายความว่าเกิดในระดับหลอดเลือดที่เล็กระดับหลอดเลือดฝอย วงการหมอหัวใจเรียกว่า cardiac syndrom X แปลว่าเป็นอะไรไม่รู้ รู้แต่ว่าเจ็บหน้าอก กล้ามเนื้อหัวใจตาย และฉีดสีดูหลอดเลือดก็เห็นโล่งดี
6) ถามว่าควรจะทำอย่างไรดี ตอบว่าให้ทำสองอย่าง คือ
อย่างที่ 1. ให้หัดดูแลตัวเองโดยใช้ตัวชี้วัดง่ายๆ 7 ตัว (Simple Seven) ได้แก่น้ำหนัก ความดัน ไขมันเลว น้ำตาลในเลือด การกินผักผลไม้ การออกกำลังกาย การไม่สูบบุหรี่ ซึ่งคุณทำได้ดีเกือบหมดยกเว้นการปรับอาหารเพื่อลดไขมันในเลือดคุณยังทำไม่เป็น ให้หาอ่านวิธีทำเอาจากบทความเก่าๆของผม
อย่างที่ 2. ให้ระวังปัจจัยกระตุกให้เกิดหลอดเลือดหดตัวเฉียบพลันอันเป็นปฐมเหตุของหัวใจวาย ซึ่งจากงานวิจััยพบว่ามีอยู่ห้าปัจจัยคือ
- การโมโหปรี๊ดแตก ทำให้ตายกะทันหันเพิ่มขึ้น 8.5 เท่า
- อาหารไขมันมื้อหนักๆ เหน่งๆมื้อเดียว ก็ทำให้หลอดเลือดหดตัวฟุบ..บ ได้นานถึง 6 ชั่วโมง
- เกลือ ซึ่งก็ได้จากอาหารเค็มๆ
- การที่ร่างกายขาดน้ำ คือดื่มน้ำไม่พอ
- การสูบบุหรี่
7) ถามว่ายาที่กินทั้งหมดนี้จะลดได้ไหม ต้องทำอย่างไร ตอบว่าลดได้ครับ ส่วนทำอย่างไรนั้น แต่เดิมผมเคยบอกวิธีให้คนไข้ลดละเลิกยาของตัวเองเป็นขั้นๆทางอีเมล แล้วพบว่ามีผลเสียมากกว่าผลดีเพราะคนไข้เอาไปทำแบบผิดๆถูกๆ อีกทั้งการสั่งยาโดยไม่เห็นตัวไม่ได้ตรวจร่างกายคนไข้มันเป็นการประกอบโรคศิลป์ที่ผิดวิธี หากขืนดื้อดึงทำไปวันหนึ่งผมคงจะโดนแพทยสภาเล่นงานเอาแน่ ผมจึงเลิกวิธีแนะนำเช่นนั้นเสีย ดังนั้นคุณจึงเหลือทางเลือกอีกสองวิธีคือ
วิธีที่ 1. คุยกับคุณหมอหัวใจของคุณถึงแผนการลดยา โดยให้คุณตัั้งใจปรับอาหารและการใช้ชีวิตนำหน้าให้ตัวชี้วัดมันดีขึ้นแล้วขอให้หมอลดยาตาม จนเลิกยาได้ในที่สุด
วิธีที่ 2. คุณมาเข้าแค้มป์พลิกผันโรคด้วยตัวเอง (RDBY) ซึ่งวิธีการทำแค้มป์นี้คือผมจะเป็นหมอประจำตัว (family doctor) ให้ผู้มาเข้าแค้มป์ทุกคนนาน 1 ปี ผมได้ตรวจร่างกายทุกคนเอง ได้ประเมินโรคทุกคนเองอย่างละเอียด เป็นคนวางแผนการรักษาเอง และสอนให้คนไข้ดูแลตัวเองโดยมีผมเป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษาใกล้ชิดทางอีเมลและทางโทรศัพท์ รวมทั้งคอยติดตามแนะนำการลด ละ เลิก ยาด้วย
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์