เด็กหญิงสาวเจ็บหน้าอก บางกรณีมันเป็นของจริง
สวัสดีค่ะคุณหมอ
หนูชื่อ...นะคะ อายุ 21 ปี คือหนูเริ่มเจ็บหน้าอกตั้งเเต่สมัยมัธยมต้นเเล้วค่ะ มักจะเป็นตอนวิ่งออกกำลังกายรู้สึกมีอะไรมาทิ่มที่หน้าอกด้านซ้ายเวลาหายใจ เลยคิดว่าอาจจะเหนื่อยเกินไป พอช่วงมัธยมปลายบางวันเดินๆอยู่ หรือนั่งเฉยๆอยู่ก็เจ็บเวลาหายใจขึ้นมาดื้อๆ
มีวันนึงตอนมัธยมปลายขณะอยู่บนรถโดยสารกำลังจะเอื้อมมือไปกดกริ่ง อยู่ดีหน้าอกด้านซ้ายก็เจ็บขึ้นมา ซึ่งครั้งนี้ไม่เหมือนกับครั้งก่อนๆ เพราะมันไม่ได้เจ็บเเบบเข็มทิ่ม เเต่มันเหมือนะไรเกิดขึ้นที่หน้าอกเเต่อธิบายไม่ถูก เเล้วความเจ็บก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รู้สึกได้ว่ามันเเผ่มาที่ใต้รักเเร้ ช่วงอกซ้ายด้านหน้า ลามไปถึงเเขนซ้าย ไหล่ ตอนนั้นช่วงตัวด้านซ้ายไม่มีเเรงเลย รู้สึกชา ด้วยความที่ตกใจมากเลยยืนเฉยๆตรงนั้นซักพัก จนอาการหายไป
จนตอนนี้หนูเรียนอยู่มหาวิทยาลัยเเล้ว อาการเจ็บเเบบเข็มทิ่มเเทบไม่มีเลยเลย เเต่กลับเป็นเวลาออกกำลังกาย(ไม่ออกกำลังกายก็เคยเจ็บ)หน้าอกด้านซ้ายมันจะรู้สึกเหมือนเอ็นหรืออะไรบางอย่างผิดปกติเเล้วค่อยๆเจ็บเเบบเเผ่ คือมันจะปวดเเบบมีอาการมาบีบรุงเเรง ตรงหน้าอกฝั่งซ้ายจนเเละรู้สึกเกร็งช่วงนั้น เเต่ไม่ชา รุนเเรงเท่ารอบที่อยู่บนรถโดยสาร สามารถพูดได้ว่าทุกครั้งที่ออกกำลังกายต้องมีอาการนี้เกิดขึ้น1ครั้ง ซึ่งพักหลังเกิดขึ้นถี่จนเริ่มกลัวจริงๆจังๆขึ้นมาเเล้วค่ะ
จึงอยากรบกวนถามคุณหมอว่าอาการเเบบนี้อันตรายไหมคะ หรือเป็นเพราะร่างกายไม่ทนต่อการออกกำลังเฉยๆ หรือเพราะใช้งานกล้ามเนื้อหนักเกินไปคะ
ขอบพระคุณค่ะ
............................................................
ตอบครับ
เด็กหญิงสาวอายุอานามขนาดคุณนี้ มองเผินๆเหมือนเป็นโรคประสาทชนิดขี้กังวลเจ็บโน่นเจ็บนี่จิ๊ดๆจ๊าดๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ็บแปล๊บ..บ แปล๊บ ที่หัวใจเหมือนมีใครเอามีดมาทิ่มมาแทง ซึ่งกรณีเช่นนั้นเป็นเรืื่องไม่ซีเรียส ไม่ต้องทำอะไร แค่ทำความเข้าใจว่ามันเป็นอาการที่ไม่มีนัยสำคัญ มันเจ็บขึ้นมากก็เพิกเฉยต่อมันเสีย เรื่องก็จบ
แต่กรณีของคุณนี้ หากฟังให้ดี อาการที่คุณเล่ามันเป็นอาการแบบคลาสสิกของการที่กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดชนิดไม่เร่งด่วน (stable angina) ที่ว่าคลาสสิกคือเจ็บแบบแน่นๆตื้อๆหนักๆ เมื่อเจ็บมากจะแผ่ออกไป หรือร้าวไปถึงแขน และมักมีความสัมพันธ์กับเวลาที่หัวใจต้องใช้เลือดมาก เช่นขณะออกกำลังกาย พอพัก อาการเจ็บก็ทุเลาลง อย่างนี้เรียกว่าเป็นการเจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือดแบบไม่เร่งด่วน ถ้าเป็นผู้ใหญ่อายุมาก เราก็จะเหมาเข้าเข่งกลุ่มคนเป็นโรคหัวใจขาดเลือด หมายถึงโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ แต่กรณีของคุณนี้อายุแค่นี้คงไม่ใช่โรคหัวใจขาดเลือดแน่ จึงจำเป็นจะต้องสืบค้นเอาคำตอบว่ามันเกิดอะไรขึ้นที่หัวใจ
พูดมาถึงตอนนี้ผมขอเล่านอกเรื่องหน่อย เป็นคนละเรื่องเดียวกัน นานหลายปีมาแล้ว วันหนึ่งผมได้รับโทรศัทพ์จากเพื่อนที่เป็นหมออยู่ต่างจังหวัดว่าลูกชายของเขาซึ่งเป็นเด็กหนุ่มรูปร่างดีอายุยี่สิบกว่าและเป็นนักออกกำลังกายกำลังถูกแอดมิทไว้ที่รพ.เอกชนแห่งหนึ่ง หมอวินิจฉัยว่าเป็นกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันโดยมีคลื่นหัวใจเปลี่ยนแปลงและมีเอ็นไซม์ของหัวใจออกมาในเลือดมากผิดปกติ และหมอจะทำการตรวจสวนหัวใจฉีดสีเป็นการฉุกเฉิน เพื่อนของผมไม่แน่ใจว่าจะเป็นการตรวจโดยไม่จำเป็นหรือเปล่าจึงโทรศัพท์มาปลุกผมตอนค่อนรุ่ง ผมนึกในใจว่าดูเถอะ วงการหมอของเรานี้ แม้แต่หมอด้วยกันยังระแวงหมอด้วยกันเลย ความระแวงนี้เกิดจากความเชื่อว่ากล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันเป็นเรื่องของผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่ที่มีปัจจัยเสี่ยงมาหลายปีเท่านั้น ไม่ใช่เรื่องของเด็กวัยรุ่น จึงไม่เชื่อว่าลูกชายของตัวเองจะเป็นกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันได้ แต่ผมฟังเรื่องเล่าก็รู้แล้วว่านี่แหละของจริง คือผู้ป่วยกำลังเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันและเวลาที่ผ่านไปแต่ละนาทีก็มีค่าเพราะกล้ามเนื้อกำลังทะยอยตายเพิ่มขึ้นตลอดเวลา ความที่เป็นเพื่อนสนิทเรียนหนังสือด้วยกันมา ลูกของเขาก็เหมือนลูกของเรา ผมจึงลุกจากที่นอนเอารถพยาบาลไปรับผู้ป่วยมาจากรพ.แห่งนั้น ไม่ไปรับเองก็ไม่ได้ เพราะคนไข้หนักอย่างนี้ไม่มีหมอคนไหนเซ็นอนุญาตให้เคลื่อนย้ายออกจากรพ.หรอก เมื่อไปรับมาถึงรพ.ที่ผมทำงานอยู่แล้วผมก็ให้สวนหัวใจเลยทันที ผลปรากฎว่าเป็นความผิดปกติของหลอดเลือดหัวใจแต่กำเนิดชนิดเส้นเลือดโป่งพอง (coronary aneurysm) แล้วเลือดไหลวนจนลิ่มเลือดเกิดขึ้นในส่วนที่โป่งพองนั้นแล้วอุดการไหลของเลือดทั้งหมด ความพยายามที่จะเอาบอลลูนเข้าไปดึงหรือดูดเอาเลือดออกก็ไม่สำเร็จเพราะหลอดเลือดมันขนาดใหญ่กว่าตัวบอลลูนมาก จึงให้ทำผ่าตัดบายพาสกันเดี๋ยวนั้นเลย โชคดีที่ทุกอย่างยังไม่สาย กล้ามเนื้อยังไม่ตายเป็นบริเวณกว้างเกินไป หลังผ่าตัดผู้ป่วยฟื้นตัวดีกลับไปใช้ชีวิตแบบนักออกกำลังกายตามปกติได้ ที่เล่าให้ฟังนี้เพื่อให้เห็นของจริงว่าอาการเจ็บหน้าอกในเด็กหนุ่มเด็กสาว ไม่ใช่เรื่องไร้สาระเสมอไป บางครั้ง แม้จะนานๆครั้ง มันเป็นของจริง ซึ่งหากมองข้ามไปแบบเหมาโหลว่าเป็นปสด.ก็อาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
กรณีของคุณนี้ อาศัยหลักฐานเท่าที่ให้มา ยังไม่ได้ตรวจฟังเสียงหัวใจ ผมวินิจฉัยทางอากาศด้วยการเดาล่วงหน้าว่าคุณเป็นโรคความผิดปกติของหลอดเลือดหัวใจแต่กำเนิดชนิดเลือดแดงต่อตรงกับเลือดดำ (congenital coronary AV malformation) จะเป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่ จะต้องพิสูจน์ด้วยการสืบค้นเป็นขั้นเป็นตอน ดังนั้นผมแนะนำว่าคุณต้องไปหาหมออายุรกรรมหัวใจ (cardiologist) หรือไม่ก็หาหมออายุรกรรมหัวใจเด็ก (pediatric cardiologist) และสิ่งที่ควรทำอย่างน้อยคือควรตรวจสมรรถนะหัวใจด้วยการวิ่งสายพาน (EST) เพื่อให้เห็นจะๆว่าจริงหรือเปล่าเมื่อออกแรงแล้วหัวใจจะขาดเลือด หากวิ่งสายพานแล้วได้ผลบวก ผมแนะนำว่าให้คุณเดินหน้าทำการตรวจสวนหัวใจ (CAG) ไปเลยทันที รับประกันว่ากรณีเช่นนี้ไม่ใช่การตรวจที่มากเกินไปแม้ว่าคุณจะอายุเพิ่งจะ 21 ก็ตาม ส่วนการตรวจที่รุกล้ำน้อยกว่านี้เช่นการทำเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ดูหลอดเลือดหัวใจ (coronary CTA) นั้น ผมแนะนำให้ข้ามไปไม่ต้องทำ เพราะหากมันให้คำตอบที่กำกวมมันก็ต้องไปจบด้วยการตรวจสวนหัวใจอยู่ดี
เรืื่องทั้งหมดนี้ไม่ได้เป็นเรื่องเร่งด่วน จะรอไว้ไปทำตอนปิดเทอมก็ได้ ในระหว่างนี้ข้อปฏิบัติก็คือ ไม่ต้องกินยาอะไร ให้ออกกำลังกายไปตามปกติทุกวัน แต่เมื่อถึงจุดที่เจ็บหน้าอกก็ต้องผ่อนการออกกำลังกายลง พอคลายเจ็บแล้วจึงจะค่อยเดินหน้าออกกำลังกายต่อไปได้ อย่าไปพยายามท้าทายหรือฝึกหัวใจด้วยการฝืนทำให้ได้มากขึ้น เพราะกรณีของคุณนี้ อาการเจ็บหน้าอก หากแปลเป็นภาษาบ้านๆก็จะแปลว่า
"ยมพบาลถือสามง่ามมายืนรออยู่หน้าประตูบ้านแล้ว"
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
ปล. เมื่อตรวจครบแล้ว ในกรณีที่หมอเขาแนะนำให้ผ่าตัดหรือทำอะไรก็ตาม อย่าเพิ่งผลีผลาม ให้ส่งผลการตรวจโดยละเอียดมาให้ดูอีกครั้ง ผมอาจมีคำแนะนำเพิ่มเติมเพื่อประกอบการตัดสินใจ
หนูชื่อ...นะคะ อายุ 21 ปี คือหนูเริ่มเจ็บหน้าอกตั้งเเต่สมัยมัธยมต้นเเล้วค่ะ มักจะเป็นตอนวิ่งออกกำลังกายรู้สึกมีอะไรมาทิ่มที่หน้าอกด้านซ้ายเวลาหายใจ เลยคิดว่าอาจจะเหนื่อยเกินไป พอช่วงมัธยมปลายบางวันเดินๆอยู่ หรือนั่งเฉยๆอยู่ก็เจ็บเวลาหายใจขึ้นมาดื้อๆ
มีวันนึงตอนมัธยมปลายขณะอยู่บนรถโดยสารกำลังจะเอื้อมมือไปกดกริ่ง อยู่ดีหน้าอกด้านซ้ายก็เจ็บขึ้นมา ซึ่งครั้งนี้ไม่เหมือนกับครั้งก่อนๆ เพราะมันไม่ได้เจ็บเเบบเข็มทิ่ม เเต่มันเหมือนะไรเกิดขึ้นที่หน้าอกเเต่อธิบายไม่ถูก เเล้วความเจ็บก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รู้สึกได้ว่ามันเเผ่มาที่ใต้รักเเร้ ช่วงอกซ้ายด้านหน้า ลามไปถึงเเขนซ้าย ไหล่ ตอนนั้นช่วงตัวด้านซ้ายไม่มีเเรงเลย รู้สึกชา ด้วยความที่ตกใจมากเลยยืนเฉยๆตรงนั้นซักพัก จนอาการหายไป
จนตอนนี้หนูเรียนอยู่มหาวิทยาลัยเเล้ว อาการเจ็บเเบบเข็มทิ่มเเทบไม่มีเลยเลย เเต่กลับเป็นเวลาออกกำลังกาย(ไม่ออกกำลังกายก็เคยเจ็บ)หน้าอกด้านซ้ายมันจะรู้สึกเหมือนเอ็นหรืออะไรบางอย่างผิดปกติเเล้วค่อยๆเจ็บเเบบเเผ่ คือมันจะปวดเเบบมีอาการมาบีบรุงเเรง ตรงหน้าอกฝั่งซ้ายจนเเละรู้สึกเกร็งช่วงนั้น เเต่ไม่ชา รุนเเรงเท่ารอบที่อยู่บนรถโดยสาร สามารถพูดได้ว่าทุกครั้งที่ออกกำลังกายต้องมีอาการนี้เกิดขึ้น1ครั้ง ซึ่งพักหลังเกิดขึ้นถี่จนเริ่มกลัวจริงๆจังๆขึ้นมาเเล้วค่ะ
จึงอยากรบกวนถามคุณหมอว่าอาการเเบบนี้อันตรายไหมคะ หรือเป็นเพราะร่างกายไม่ทนต่อการออกกำลังเฉยๆ หรือเพราะใช้งานกล้ามเนื้อหนักเกินไปคะ
ขอบพระคุณค่ะ
............................................................
ตอบครับ
เด็กหญิงสาวอายุอานามขนาดคุณนี้ มองเผินๆเหมือนเป็นโรคประสาทชนิดขี้กังวลเจ็บโน่นเจ็บนี่จิ๊ดๆจ๊าดๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ็บแปล๊บ..บ แปล๊บ ที่หัวใจเหมือนมีใครเอามีดมาทิ่มมาแทง ซึ่งกรณีเช่นนั้นเป็นเรืื่องไม่ซีเรียส ไม่ต้องทำอะไร แค่ทำความเข้าใจว่ามันเป็นอาการที่ไม่มีนัยสำคัญ มันเจ็บขึ้นมากก็เพิกเฉยต่อมันเสีย เรื่องก็จบ
แต่กรณีของคุณนี้ หากฟังให้ดี อาการที่คุณเล่ามันเป็นอาการแบบคลาสสิกของการที่กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดชนิดไม่เร่งด่วน (stable angina) ที่ว่าคลาสสิกคือเจ็บแบบแน่นๆตื้อๆหนักๆ เมื่อเจ็บมากจะแผ่ออกไป หรือร้าวไปถึงแขน และมักมีความสัมพันธ์กับเวลาที่หัวใจต้องใช้เลือดมาก เช่นขณะออกกำลังกาย พอพัก อาการเจ็บก็ทุเลาลง อย่างนี้เรียกว่าเป็นการเจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือดแบบไม่เร่งด่วน ถ้าเป็นผู้ใหญ่อายุมาก เราก็จะเหมาเข้าเข่งกลุ่มคนเป็นโรคหัวใจขาดเลือด หมายถึงโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ แต่กรณีของคุณนี้อายุแค่นี้คงไม่ใช่โรคหัวใจขาดเลือดแน่ จึงจำเป็นจะต้องสืบค้นเอาคำตอบว่ามันเกิดอะไรขึ้นที่หัวใจ
พูดมาถึงตอนนี้ผมขอเล่านอกเรื่องหน่อย เป็นคนละเรื่องเดียวกัน นานหลายปีมาแล้ว วันหนึ่งผมได้รับโทรศัทพ์จากเพื่อนที่เป็นหมออยู่ต่างจังหวัดว่าลูกชายของเขาซึ่งเป็นเด็กหนุ่มรูปร่างดีอายุยี่สิบกว่าและเป็นนักออกกำลังกายกำลังถูกแอดมิทไว้ที่รพ.เอกชนแห่งหนึ่ง หมอวินิจฉัยว่าเป็นกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันโดยมีคลื่นหัวใจเปลี่ยนแปลงและมีเอ็นไซม์ของหัวใจออกมาในเลือดมากผิดปกติ และหมอจะทำการตรวจสวนหัวใจฉีดสีเป็นการฉุกเฉิน เพื่อนของผมไม่แน่ใจว่าจะเป็นการตรวจโดยไม่จำเป็นหรือเปล่าจึงโทรศัพท์มาปลุกผมตอนค่อนรุ่ง ผมนึกในใจว่าดูเถอะ วงการหมอของเรานี้ แม้แต่หมอด้วยกันยังระแวงหมอด้วยกันเลย ความระแวงนี้เกิดจากความเชื่อว่ากล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันเป็นเรื่องของผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่ที่มีปัจจัยเสี่ยงมาหลายปีเท่านั้น ไม่ใช่เรื่องของเด็กวัยรุ่น จึงไม่เชื่อว่าลูกชายของตัวเองจะเป็นกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันได้ แต่ผมฟังเรื่องเล่าก็รู้แล้วว่านี่แหละของจริง คือผู้ป่วยกำลังเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันและเวลาที่ผ่านไปแต่ละนาทีก็มีค่าเพราะกล้ามเนื้อกำลังทะยอยตายเพิ่มขึ้นตลอดเวลา ความที่เป็นเพื่อนสนิทเรียนหนังสือด้วยกันมา ลูกของเขาก็เหมือนลูกของเรา ผมจึงลุกจากที่นอนเอารถพยาบาลไปรับผู้ป่วยมาจากรพ.แห่งนั้น ไม่ไปรับเองก็ไม่ได้ เพราะคนไข้หนักอย่างนี้ไม่มีหมอคนไหนเซ็นอนุญาตให้เคลื่อนย้ายออกจากรพ.หรอก เมื่อไปรับมาถึงรพ.ที่ผมทำงานอยู่แล้วผมก็ให้สวนหัวใจเลยทันที ผลปรากฎว่าเป็นความผิดปกติของหลอดเลือดหัวใจแต่กำเนิดชนิดเส้นเลือดโป่งพอง (coronary aneurysm) แล้วเลือดไหลวนจนลิ่มเลือดเกิดขึ้นในส่วนที่โป่งพองนั้นแล้วอุดการไหลของเลือดทั้งหมด ความพยายามที่จะเอาบอลลูนเข้าไปดึงหรือดูดเอาเลือดออกก็ไม่สำเร็จเพราะหลอดเลือดมันขนาดใหญ่กว่าตัวบอลลูนมาก จึงให้ทำผ่าตัดบายพาสกันเดี๋ยวนั้นเลย โชคดีที่ทุกอย่างยังไม่สาย กล้ามเนื้อยังไม่ตายเป็นบริเวณกว้างเกินไป หลังผ่าตัดผู้ป่วยฟื้นตัวดีกลับไปใช้ชีวิตแบบนักออกกำลังกายตามปกติได้ ที่เล่าให้ฟังนี้เพื่อให้เห็นของจริงว่าอาการเจ็บหน้าอกในเด็กหนุ่มเด็กสาว ไม่ใช่เรื่องไร้สาระเสมอไป บางครั้ง แม้จะนานๆครั้ง มันเป็นของจริง ซึ่งหากมองข้ามไปแบบเหมาโหลว่าเป็นปสด.ก็อาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
กรณีของคุณนี้ อาศัยหลักฐานเท่าที่ให้มา ยังไม่ได้ตรวจฟังเสียงหัวใจ ผมวินิจฉัยทางอากาศด้วยการเดาล่วงหน้าว่าคุณเป็นโรคความผิดปกติของหลอดเลือดหัวใจแต่กำเนิดชนิดเลือดแดงต่อตรงกับเลือดดำ (congenital coronary AV malformation) จะเป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่ จะต้องพิสูจน์ด้วยการสืบค้นเป็นขั้นเป็นตอน ดังนั้นผมแนะนำว่าคุณต้องไปหาหมออายุรกรรมหัวใจ (cardiologist) หรือไม่ก็หาหมออายุรกรรมหัวใจเด็ก (pediatric cardiologist) และสิ่งที่ควรทำอย่างน้อยคือควรตรวจสมรรถนะหัวใจด้วยการวิ่งสายพาน (EST) เพื่อให้เห็นจะๆว่าจริงหรือเปล่าเมื่อออกแรงแล้วหัวใจจะขาดเลือด หากวิ่งสายพานแล้วได้ผลบวก ผมแนะนำว่าให้คุณเดินหน้าทำการตรวจสวนหัวใจ (CAG) ไปเลยทันที รับประกันว่ากรณีเช่นนี้ไม่ใช่การตรวจที่มากเกินไปแม้ว่าคุณจะอายุเพิ่งจะ 21 ก็ตาม ส่วนการตรวจที่รุกล้ำน้อยกว่านี้เช่นการทำเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ดูหลอดเลือดหัวใจ (coronary CTA) นั้น ผมแนะนำให้ข้ามไปไม่ต้องทำ เพราะหากมันให้คำตอบที่กำกวมมันก็ต้องไปจบด้วยการตรวจสวนหัวใจอยู่ดี
เรืื่องทั้งหมดนี้ไม่ได้เป็นเรื่องเร่งด่วน จะรอไว้ไปทำตอนปิดเทอมก็ได้ ในระหว่างนี้ข้อปฏิบัติก็คือ ไม่ต้องกินยาอะไร ให้ออกกำลังกายไปตามปกติทุกวัน แต่เมื่อถึงจุดที่เจ็บหน้าอกก็ต้องผ่อนการออกกำลังกายลง พอคลายเจ็บแล้วจึงจะค่อยเดินหน้าออกกำลังกายต่อไปได้ อย่าไปพยายามท้าทายหรือฝึกหัวใจด้วยการฝืนทำให้ได้มากขึ้น เพราะกรณีของคุณนี้ อาการเจ็บหน้าอก หากแปลเป็นภาษาบ้านๆก็จะแปลว่า
"ยมพบาลถือสามง่ามมายืนรออยู่หน้าประตูบ้านแล้ว"
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
ปล. เมื่อตรวจครบแล้ว ในกรณีที่หมอเขาแนะนำให้ผ่าตัดหรือทำอะไรก็ตาม อย่าเพิ่งผลีผลาม ให้ส่งผลการตรวจโดยละเอียดมาให้ดูอีกครั้ง ผมอาจมีคำแนะนำเพิ่มเติมเพื่อประกอบการตัดสินใจ