ให้หัดเรียงลำดับปัญหาสุขภาพของตัวเอง
เริ่มเลยนะครับผม อายุ 51 ปี สูง 172 หนัก 96.5 กก. และส่งผลตรวจอื่นๆมาด้วย
ข้อมูลด้านสุขภาพคือผมกินยาลดไขมัน Fenofibrate 300 mg มานาน 10 กว่าปีแล้ว โดยค่า ไตรกลี ถ้าไม่กินยาจะสุง เกือบๆ 500 LDL ระยะแรกไม่สุงเกินค่าปกติ แต่มาระยะหลังสุงขึ้น163 ไขมันดี HDL ต่ำ อยู่ในระดับ 24 บ้าง 30 บ้าง ไม่เคยเกิน 45 น้ำตาล อยู่ที่ 105 ระยะหลังจึงมี ยากลุ่ม Statin 10 mg มาเพิ่มอีกตัว รวมทั้งยังเป็นพวกกรดไหลย้อยเป็นๆ หายๆเสมอ แต่เคยส่องกล้องแล้วไม่พบปัญหาใหญ่อะไรครับ
ปัญหาที่รบกวนชีวิตผมมากและไม่มีทางออกที่ ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติครับ ขอย้อนไปเมื่อ
สักเมื่อ ก.ย. 2557 ผมได้ถูก แตน หรือตัวต่อ บางชนิดต่อยเพียงตัวเดียว แล้วเกิดภาวะ แพ้รุนแรง anaphylaxis แต่ดีที่เพื่อนพาไป รพ.บนเกาะได้เร็ว หมอได้ฉีด อะดินาลีน ให้ทำให้รู้ว่าต่อไปต้องระวังสัตว์ต่อยพวกนี้ ตอนออกจาก รพ. ได้ไปอาบน้ำเย็นพยาบาลให้ไปอาบน้ำ จนได้อาการแพ้ความเย็นแถมมาอีกตัวนึง ไปจับแก้วน้ำเย็นนิ้วจะบวมแดงเลย ลงสระน้ำ ขึ้มมาผื่นขึ้นทั้งตัวผมเข้าใจว่าตอนที่พยาบาลให้ไปอาบน้ำ ทำพิษผมแน่ๆ ให้เป็นแบบนี้ ปัจจุบันผมพกยาฉีด Epinephrine
ติดไว้เสมอและไม่กล้าไปประเทศหนาว
เข้าปัญหาครับ สักปี 58 ผมก็เริ่มมีการใจสั่นๆ และมากขึ้นเรื่อยๆ นานเข้ามันรบกวนชีวิตผมมากครับผมได้พบหมอหัวใจอยู่และรักษาด้วยการกินยา atenolol 25 ช่งแรกกินครึ่งเม็ดเช้า เย็น ช่วงหลังกิน 1 เม็ดเช้าเท่านั้น ผลที่ได้คืออาการจะมีกำเริบในทุกรอบ เดือนกว่าถึงสองเดือน จะเป็นที่ 5-7 วัน ตอนเป็นจะนอนไม่ได้มันเต้นแบบ มาเป็นตัวๆ เป็นระยะๆ ถืี่หน่อยก็ เต้น 3 ครั้ง มา 1 ตัว (คือใจมันจะบีบตัวรั่วขึ้นมาแปปนึง ถ้าจับชีพจรดูจังหวะนั้นชีพจรจะเว้น) ไม่ไม่สม่ำเสมอ และจนในที่สุดแพทย์ส่งผมไปทำ EP หลังทำหมอให้งดยาทุกตัวผมก็นึกว่าจะหายเลยที่ไหนได้ กลับบ้านไปเต้นผิดปกติทุกวันและตลอดเวลาเลยครับ ผมทนจน 2 สัปดาห์นัดไปพบหมอว่า ตามที่ผมเข้าใจ เข้าไปเจอตัว SVT และทำลายวงจรไปแล้วแต่มีตัว PAC ที่หมอว่ามันไม่คุ้มจี้ อันตราย หมอให้กิน amiodarone 200 โดยให้หักกินวันละครึ่งเม็ด อาการเหมือนดีขึ้น แต่ว่าเพียง 2 สัปดาห์ อาการมันมาอีกแล้วครับ และตอนพิมพ์นี้ เข้าวันที่ 4 แล้วครับเหนื่อยใจมาก ไม่มีทางออก
อ๋อผมเคยสงสัยว่าผม แพนิกรึป่าว จึงไปพบ จิตรเวช มียา Fluoxetine และยา Clorazepate มากินด้วย แต่ผมหยุดกิน Fluoxetine ก่อนช่วง กิน amiodarone
คำถามครับ
1. ในเมื่อ PAC จี้ไม่ได้เท่ากับผมยังต้องกินยาต่อไป ยาตัวไปจะเหมาะสมและทำให้ผมมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ครับ ผมกลัวยา amiodarone เพราะหาข้อมูลว่ามันเป้นพิษต่อปอด ตับ มากครับ ควรกลับมากิน Atenolol vอย่างเดิมดีกว่ามัียครับ
2. ผมมีอารการของแพนิก หรือโรคซึมเศร้าร่วมด้วยหรือมัียครับ เพราะผมจะเครียดและไม่ค่อยมีความสุขใน ทุกๆ ด้าน ทั้งสุขภาพและชีวิตครอบครับ การงาน
3. ยา Fluoxetine และยา amiodarone ใช้ร่วมกันได้มั๊ยครับ ถ้าผมยังสงสัยว่าแพนิกคือสาเหตุของการเต้นผิดปกติ
4. ถ้าผมโดยต่อต่อยอีก ผมจะฉีด Epinephrine ได้มั๊ยครับมันทำงานสวนทางกันกับยาหัวใจ ที่กินอยู่ใช่มั๊ยครับ
5. เรืองภุมิแพ้ เรื่องต่อต่อยมันเกี่ยวกันโรคใจเต้นผิดปกติ หรือโรคแพนิก มั๊ยครับ
ผมรู้ว่าผมต้องลดความอ้วนด่วน บางที่มันคือสาเหตุหนึ่งด้วย และงด กาแฟ ของชอบ ตัดออกให้หมดใช่มั๊ยครับ ครับ หิหิ ผมออกกำลังกายโดยการตีแบด สัปดาห์ละ 3 ครั้งครับ
ผมเป็นแฟนติดตามอ่านคุณหมอเป็นประจำ รบกวนคุณหมอด้วยครับ
ข้อมูลด้านสุขภาพคือผมกินยาลดไขมัน Fenofibrate 300 mg มานาน 10 กว่าปีแล้ว โดยค่า ไตรกลี ถ้าไม่กินยาจะสุง เกือบๆ 500 LDL ระยะแรกไม่สุงเกินค่าปกติ แต่มาระยะหลังสุงขึ้น163 ไขมันดี HDL ต่ำ อยู่ในระดับ 24 บ้าง 30 บ้าง ไม่เคยเกิน 45 น้ำตาล อยู่ที่ 105 ระยะหลังจึงมี ยากลุ่ม Statin 10 mg มาเพิ่มอีกตัว รวมทั้งยังเป็นพวกกรดไหลย้อยเป็นๆ หายๆเสมอ แต่เคยส่องกล้องแล้วไม่พบปัญหาใหญ่อะไรครับ
ปัญหาที่รบกวนชีวิตผมมากและไม่มีทางออกที่ ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติครับ ขอย้อนไปเมื่อ
สักเมื่อ ก.ย. 2557 ผมได้ถูก แตน หรือตัวต่อ บางชนิดต่อยเพียงตัวเดียว แล้วเกิดภาวะ แพ้รุนแรง anaphylaxis แต่ดีที่เพื่อนพาไป รพ.บนเกาะได้เร็ว หมอได้ฉีด อะดินาลีน ให้ทำให้รู้ว่าต่อไปต้องระวังสัตว์ต่อยพวกนี้ ตอนออกจาก รพ. ได้ไปอาบน้ำเย็นพยาบาลให้ไปอาบน้ำ จนได้อาการแพ้ความเย็นแถมมาอีกตัวนึง ไปจับแก้วน้ำเย็นนิ้วจะบวมแดงเลย ลงสระน้ำ ขึ้มมาผื่นขึ้นทั้งตัวผมเข้าใจว่าตอนที่พยาบาลให้ไปอาบน้ำ ทำพิษผมแน่ๆ ให้เป็นแบบนี้ ปัจจุบันผมพกยาฉีด Epinephrine
ติดไว้เสมอและไม่กล้าไปประเทศหนาว
เข้าปัญหาครับ สักปี 58 ผมก็เริ่มมีการใจสั่นๆ และมากขึ้นเรื่อยๆ นานเข้ามันรบกวนชีวิตผมมากครับผมได้พบหมอหัวใจอยู่และรักษาด้วยการกินยา atenolol 25 ช่งแรกกินครึ่งเม็ดเช้า เย็น ช่วงหลังกิน 1 เม็ดเช้าเท่านั้น ผลที่ได้คืออาการจะมีกำเริบในทุกรอบ เดือนกว่าถึงสองเดือน จะเป็นที่ 5-7 วัน ตอนเป็นจะนอนไม่ได้มันเต้นแบบ มาเป็นตัวๆ เป็นระยะๆ ถืี่หน่อยก็ เต้น 3 ครั้ง มา 1 ตัว (คือใจมันจะบีบตัวรั่วขึ้นมาแปปนึง ถ้าจับชีพจรดูจังหวะนั้นชีพจรจะเว้น) ไม่ไม่สม่ำเสมอ และจนในที่สุดแพทย์ส่งผมไปทำ EP หลังทำหมอให้งดยาทุกตัวผมก็นึกว่าจะหายเลยที่ไหนได้ กลับบ้านไปเต้นผิดปกติทุกวันและตลอดเวลาเลยครับ ผมทนจน 2 สัปดาห์นัดไปพบหมอว่า ตามที่ผมเข้าใจ เข้าไปเจอตัว SVT และทำลายวงจรไปแล้วแต่มีตัว PAC ที่หมอว่ามันไม่คุ้มจี้ อันตราย หมอให้กิน amiodarone 200 โดยให้หักกินวันละครึ่งเม็ด อาการเหมือนดีขึ้น แต่ว่าเพียง 2 สัปดาห์ อาการมันมาอีกแล้วครับ และตอนพิมพ์นี้ เข้าวันที่ 4 แล้วครับเหนื่อยใจมาก ไม่มีทางออก
อ๋อผมเคยสงสัยว่าผม แพนิกรึป่าว จึงไปพบ จิตรเวช มียา Fluoxetine และยา Clorazepate มากินด้วย แต่ผมหยุดกิน Fluoxetine ก่อนช่วง กิน amiodarone
คำถามครับ
1. ในเมื่อ PAC จี้ไม่ได้เท่ากับผมยังต้องกินยาต่อไป ยาตัวไปจะเหมาะสมและทำให้ผมมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ครับ ผมกลัวยา amiodarone เพราะหาข้อมูลว่ามันเป้นพิษต่อปอด ตับ มากครับ ควรกลับมากิน Atenolol vอย่างเดิมดีกว่ามัียครับ
2. ผมมีอารการของแพนิก หรือโรคซึมเศร้าร่วมด้วยหรือมัียครับ เพราะผมจะเครียดและไม่ค่อยมีความสุขใน ทุกๆ ด้าน ทั้งสุขภาพและชีวิตครอบครับ การงาน
3. ยา Fluoxetine และยา amiodarone ใช้ร่วมกันได้มั๊ยครับ ถ้าผมยังสงสัยว่าแพนิกคือสาเหตุของการเต้นผิดปกติ
4. ถ้าผมโดยต่อต่อยอีก ผมจะฉีด Epinephrine ได้มั๊ยครับมันทำงานสวนทางกันกับยาหัวใจ ที่กินอยู่ใช่มั๊ยครับ
5. เรืองภุมิแพ้ เรื่องต่อต่อยมันเกี่ยวกันโรคใจเต้นผิดปกติ หรือโรคแพนิก มั๊ยครับ
ผมรู้ว่าผมต้องลดความอ้วนด่วน บางที่มันคือสาเหตุหนึ่งด้วย และงด กาแฟ ของชอบ ตัดออกให้หมดใช่มั๊ยครับ ครับ หิหิ ผมออกกำลังกายโดยการตีแบด สัปดาห์ละ 3 ครั้งครับ
ผมเป็นแฟนติดตามอ่านคุณหมอเป็นประจำ รบกวนคุณหมอด้วยครับ
...............................................................
ตอบครับ
ในการดูแลสุขภาพด้วยตัวเองนี้ จำเป็นจะต้องหัดเรียงลำดับปัญหาของตัวเองให้ได้ก่อน วิธีนี้เป็นวิธีมาตรฐานที่หมอทุกคนใช้ในการดูแลคนไข้ ผมกำลังจะสอนให้คนไข้ใช้วิธีเดียวกับหมอ คนไข้หลายคนดูแลตัวเองแบบสับสนจับต้นชนปลายไม่ถูก บางคนไปตรวจต่างๆมามากมายแต่สรุปไม่ได้ว่าตัวเองมีปัญหาอะไรบ้าง ที่แย่กว่านั้นก็คือกำลังกินยาอะไรอยู่บ้างยังไม่รู้เลย ทั้งนี้โดยคาดหมายว่าตัวเองไม่รู้ก็ไม่เป็นไรหรอก หมอเขาก็คงจะรู้ นั่นเป็นการคาดหมายที่มีส่วนถูกนิดเดียว แต่มีส่วนผิดมาก จะผิดมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับคุณมีหมอเฉพาะทางดูแลคุณกี่คน คือยิ่งมีหมอเฉพาะทางดูแลคุณอยู่หลายคน โอกาสที่หมอจะไม่รู้ปัญหาของคุณครบถ้วนก็ยิ่งมากขึ้น เพราะหมอแต่ละคนเขาโฟกัสเฉพาะอวัยวะที่เขารับผิดชอบ ส่วนที่หมอคนอื่นดูอยู่แล้วนั้นเขาจะไม่ไปยุ่ง เหตุผลหนึ่งเพราะมันเป็นจริยธรรมวิชาชีพว่าแพทย์ไม่พึงก้าวก่ายงานของกันและกัน และอีกเหตุผลหนึ่งคือแพทย์อ่านลายมือของกันและกันไม่ออก..อามิตตาพุทธ
ในการดูแลสุขภาพด้วยตัวเองนี้ จำเป็นจะต้องหัดเรียงลำดับปัญหาของตัวเองให้ได้ก่อน วิธีนี้เป็นวิธีมาตรฐานที่หมอทุกคนใช้ในการดูแลคนไข้ ผมกำลังจะสอนให้คนไข้ใช้วิธีเดียวกับหมอ คนไข้หลายคนดูแลตัวเองแบบสับสนจับต้นชนปลายไม่ถูก บางคนไปตรวจต่างๆมามากมายแต่สรุปไม่ได้ว่าตัวเองมีปัญหาอะไรบ้าง ที่แย่กว่านั้นก็คือกำลังกินยาอะไรอยู่บ้างยังไม่รู้เลย ทั้งนี้โดยคาดหมายว่าตัวเองไม่รู้ก็ไม่เป็นไรหรอก หมอเขาก็คงจะรู้ นั่นเป็นการคาดหมายที่มีส่วนถูกนิดเดียว แต่มีส่วนผิดมาก จะผิดมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับคุณมีหมอเฉพาะทางดูแลคุณกี่คน คือยิ่งมีหมอเฉพาะทางดูแลคุณอยู่หลายคน โอกาสที่หมอจะไม่รู้ปัญหาของคุณครบถ้วนก็ยิ่งมากขึ้น เพราะหมอแต่ละคนเขาโฟกัสเฉพาะอวัยวะที่เขารับผิดชอบ ส่วนที่หมอคนอื่นดูอยู่แล้วนั้นเขาจะไม่ไปยุ่ง เหตุผลหนึ่งเพราะมันเป็นจริยธรรมวิชาชีพว่าแพทย์ไม่พึงก้าวก่ายงานของกันและกัน และอีกเหตุผลหนึ่งคือแพทย์อ่านลายมือของกันและกันไม่ออก..อามิตตาพุทธ
ยกตัวอย่างกรณีของคุณนี้ฟังเรื่องเล่าเผินๆเหมือนคุณไม่ได้มีปัญหาอะไรมาก แต่หากจับเอาเรื่องที่เล่าและผลแล็บที่คุณส่งมา ผมเขียนลำดับของปัญหา โดยเรียงตามลำดับเรืื่องใหญ่ไปหาเรื่องเล็ก จะได้ดังนี้
ปัญหาเรียงตามลำดับ (Problems List) ห้าคน โอกาสจะผิดก็มี
1. หัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ (tachyarrythmia) (อยู่ในระยะหลังการรักษาด้วยการจี้ - EP)
2. มีความเสี่ยงต่อพิษของยา finofibrate จะทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ
3. โรคอ้วน (อ้วนขนานแท้ ดัชนีมวลกาย 32)
4. โรค Subclinical hypothyroidism (TSH = 10.65 , FT4 = 1.13)
4. ไขมันในเลือดสูง ที่อาจเกิดจากไฮโปไทรอยด์
5. โรคกลัวเกินเหตุ (panic disorder) อยู่ในระหว่างรักษาด้วยยาโดยจิตแพทย์
6. มีความเสี่ยงจากพิษของต่อต่อยต่อหัวใจเต้นผิดจังหวะ
7. เคยแพ้แมลงต่อยแบบรุนแรง anaphylaxis
เห็นไหมครับ ดูเผินๆก็ว่าไม่มีอะไร แต่พอเขียนเรียงลำดับปัญหาแล้วก็จะเห็นว่ามีปัญหาแยะเหมือนกัน แล้วการเรียงลำดับปัญหานี้ หากเรียงให้ดีมันจะชี้ทางให้เราแก้ปัญหาได้ง่ายขึ้นด้วย ยกตัวอย่างเช่น
ประเด็นที่ 1. เมื่อเรามองว่าเรื่องหัวใจเต้นผิดจังหวะเป็นเรื่องสำคัญสูงสุดตอนนี้ แล้วยา finofibrate ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะก็กลายเป็นของแสลงที่ต้องรีบจัดการทันที
ประเด็นที่ 2. เมื่อเราตรวจพบว่ามีไฮโปไทรอยด์อยู่ มันบอกใบ้ไปถึงว่าภาวะไขมันในเลือดสูงที่ดื้อด้านต่อยาขณะนี้และโรคอ้วนมันอาจจะเกิดจากไฮโปไทรอยด์ก็ได้ ดังนั้นการแก้ไขต้องแก้ไปพร้อมกันทั้งสามอย่าง
ประเด็นที่ 3. เมื่อทราบภูมิหลังว่าเคยแพ้ต่อรุนแรง และทางการแพทย์รู้อยู่แล้วว่าสารพิษจากเหล็กไนของต่อทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะได้ แล้วเวลาเกิดเรื่องก็สอดรับกันเป็นอันดี คือถูกต่อต่อยก่อนแล้วหัวใจเต้นรัวทีหลัง ก็แสดงว่าที่หัวใจเต้นสั่นๆรัวๆอยู่นี้อาจจะไม่ใช่เพราะโรคปสด. (ประสาทแด๊กซ์) หรือโรคกลัวเกินเหตุก็ได้ หมายความว่าคำวินิจฉัยว่าเป็นโรคกลัวเกินเหตุอาจจะเป็นปลายเหตุ และยารักษาโรคนี้ที่กินอยู่ก็อาจจะยังไม่จำเป็นเร่งด่วน
เห็นไหมครับ แค่หัดเรียงลำดับปัญหาของตัวเองให้ดี เราก็เริ่มมองเห็นทางแก้ปัญหาไรๆแล้ว ดังนั้นวันนี้ผมจึงอยากจะย้ำให้แฟนบล้อกหมอสันต์ทุกท่านหัดเรียงลำดับปัญหาสุขภาพของตัวเองให้เป็น การใช้ตัวชี้วัดสุขภาพง่ายๆเจ็ดอย่าง (Simple7 ได้แก่น้ำหนัก ความดัน ไขมัน น้ำตาล การกินพืชผักผลไม้ การออกกำลังกาย การสูบบุหรี่) จะทำให้จับประเด็นปัญหาได้ง่ายขึ้น จับประเด็นปัญหาได้แล้วก็เขียนมันลงไปในสมุดสุขภาพ เอาการเรียงลำดับปัญหานี้เป็นแม่ในการวางแผนสุขภาพในแต่ละปี แล้วก็ลงมือทำตามแผน ปีหนึ่งก็มาปรับปรุงแก้ไขเสียทีหนึ่ง นี่คือการดูแลตัวเองแบบที่เจ๋งที่สุด ซึ่งจะให้ผลดีชนิดที่ไม่มีหมอคนไหนจะมาทำให้คุณได้ดีเท่าคุณทำเอง
โอเค. ผมจบวาระของผมแล้ว คราวนี้มาตอบคำถามของคุณ
1. ถามว่าในการรักษา PAC จะเปลีี่ยนจากยา amiodarone ซึ่งมีพิษมาก มากินยา Atenolol ซึ่งมีพิษน้อยกว่าและเคยกินมาแล้วจะดีไหม ตอบว่า "ดีครับ"
2. ถามว่าคุณมีอาการของแพนิกหรือโรคซึมเศร้าร่วมด้วยไหม ตอบว่ามีครับ เกณฑ์วินิจฉัยโรคกลัวเกินเหตุและโรคซึมเศร้าผมเคยเขียนไปแล้วบ่อยครั้ง คุณหาอ่านดูได้ (เช่นใน http://visitdrsant.blogspot.com/2010/07/major-depression.html และ http://visitdrsant.blogspot.com/2010/11/panic-disorder.html ) แต่ประเด็นสำคัญคือมันมีโอกาสมากที่คุณไม่ได้มีกลไกพื้นฐานทางจิตจวนเจียนจะเป็นบ้า..เอ๊ย ไม่ใช่ที่เอื้อต่อการเป็นโรคนี้อย่างคนอื่นเขา แต่คุณเป็นโรคนี้เพราะต่อต่อยแล้วหัวใจเต้นรัวแล้วคุณก็กลัวตายขึ้นมา การรักษามันจึงอาจจะไม่ยากเหมือนคนที่มีกลไกพื้นฐานทางจิตผิดปกติมาก่อนก็ได้ ส่วนคำบ่นของคุณที่ว่าคุณไม่ค่อยมีความสุขใน ทุกๆด้าน ทั้งสุขภาพและชีวิตครอบครัวการงานนั้น มันเป็นเอกลักษณ์ของชีวิตปุถุชนหรือ "วิถีโลกิยะ" หากคุณอยากกจะออกจากตรงนี้คุณต้องไปทาง "โลกุตระ" โน่น ไปโน่นเลย
3. ถามว่ายา Fluoxetine และยา amiodarone ใช้ร่วมกันได้ไหม ตอบว่าได้ครับ แต่ว่ายา amiodarone นี้เป็นปฏิปักษ์อย่างรุนแรงกับยา Adrenalin หรือ epinephrine ที่คุณพกพาไว้แก้แพ้ ดังนั้นจะอย่างไรเสียคุณก็ต้องเลิกยา amiodarone
4. ถามว่าถ้าโดยต่อต่อยอีก จะฉีด Epinephrine ได้ไหม ตอบว่าได้หากเลิกยา amiodarone เสีย
5. เรื่องภูมิแพ้ เรื่องต่อต่อยมันเกี่ยวกันโรคใจเต้นผิดปกติไหม ตอบว่าเกี่ยวครับ พิษของต่อมีสารชื่อ apompilidotoxin (a-PMTX) ซึ่งเป็นสารพิษต่อระบบประสาทที่มีผลต่อเส้นประสาทนำไฟฟ้าในหัวใจโดยตรง รายงานผู้ป่วยถูกต่อต่อยแล้วเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะก็มีอยู่บ่อยพอควร เรื่องพิษของต่่อเนี่ยยิ่งไปกว่านั้นนะ ต่อต่อยจึ๊งเดียวสามารถทำเอาคนที่หลอดเลือดหัวใจดีๆอยู่กลายเป็นกล้ามเนื้้อหัวใจตายเฉียบพลันแล้วตายได้เลยนะคุณ
6. ข้อนี้คงไม่ใช่คำถาม แต่เป็นคำสาบานตนว่า "รู้ว่าต้องลดความอ้วนด่วน จะงดกาแฟ ของชอบ ตัดออกให้หมด จะออกกำลังกายโดยการตีแบดสัปดาห์ละ 3 ครั้ง" ตอบว่า โอม..ม ชานติ สาธุ..สาธุ
หมดคำถามแล้วนะ ขอสรุปส่งท้ายว่าปัญหาของคุณเรื่องหยูกเรื่องยาและเรื่องฮอร์โมนไทรอยด์กับโรคอ้วนมันพันกัน อาจจะเกินปัญญาที่คุณจะแก้ไขตามลำพัง ผมแนะนำให้คุณหาหมอเจ้าประจำไว้สองหมอ คือหมอโรคต่อมไร้ท่อ (endocrinologist) กับหมออายุรกรรมหัวใจ (cardiologist) ส่วนหมอจิตเวชนั้นเอาไว้ก่อนก็ได้ ให้คุณสื่อสารแบบจับเข่าคุยกับสองหมอนี้แล้วทำตามคำแนะนำของเขาหรือเธอไปอย่างขมีขมัน ปัญหาทั้งหลายมันก็จะค่อยๆดีขึ้นเอง หรือหากพยายามตามที่แนะนำนี้แล้วไม่สำเร็จ ให้หาโอกาสมาเข้าแค้มป์ RDBY ซึ่งในแค้มป์นี้ผมจะเป็นหมอประจำตัวให้ทุกคนไปนานหนึ่งปี ถ้าวิธีนี้ยังไม่สำเร็จอีกก็..ชีวิตใครชีวิตมัน ตัวใครตัวมันละกันนะครับ
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. Wagdi P, Mehan VK, Burgi H, Salzmann C. Acute myocardial infarction after wasp stings in a patient with normal coronary arteries. Am Heart J 1994;128:820-3.
3. ถามว่ายา Fluoxetine และยา amiodarone ใช้ร่วมกันได้ไหม ตอบว่าได้ครับ แต่ว่ายา amiodarone นี้เป็นปฏิปักษ์อย่างรุนแรงกับยา Adrenalin หรือ epinephrine ที่คุณพกพาไว้แก้แพ้ ดังนั้นจะอย่างไรเสียคุณก็ต้องเลิกยา amiodarone
4. ถามว่าถ้าโดยต่อต่อยอีก จะฉีด Epinephrine ได้ไหม ตอบว่าได้หากเลิกยา amiodarone เสีย
5. เรื่องภูมิแพ้ เรื่องต่อต่อยมันเกี่ยวกันโรคใจเต้นผิดปกติไหม ตอบว่าเกี่ยวครับ พิษของต่อมีสารชื่อ apompilidotoxin (a-PMTX) ซึ่งเป็นสารพิษต่อระบบประสาทที่มีผลต่อเส้นประสาทนำไฟฟ้าในหัวใจโดยตรง รายงานผู้ป่วยถูกต่อต่อยแล้วเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะก็มีอยู่บ่อยพอควร เรื่องพิษของต่่อเนี่ยยิ่งไปกว่านั้นนะ ต่อต่อยจึ๊งเดียวสามารถทำเอาคนที่หลอดเลือดหัวใจดีๆอยู่กลายเป็นกล้ามเนื้้อหัวใจตายเฉียบพลันแล้วตายได้เลยนะคุณ
6. ข้อนี้คงไม่ใช่คำถาม แต่เป็นคำสาบานตนว่า "รู้ว่าต้องลดความอ้วนด่วน จะงดกาแฟ ของชอบ ตัดออกให้หมด จะออกกำลังกายโดยการตีแบดสัปดาห์ละ 3 ครั้ง" ตอบว่า โอม..ม ชานติ สาธุ..สาธุ
หมดคำถามแล้วนะ ขอสรุปส่งท้ายว่าปัญหาของคุณเรื่องหยูกเรื่องยาและเรื่องฮอร์โมนไทรอยด์กับโรคอ้วนมันพันกัน อาจจะเกินปัญญาที่คุณจะแก้ไขตามลำพัง ผมแนะนำให้คุณหาหมอเจ้าประจำไว้สองหมอ คือหมอโรคต่อมไร้ท่อ (endocrinologist) กับหมออายุรกรรมหัวใจ (cardiologist) ส่วนหมอจิตเวชนั้นเอาไว้ก่อนก็ได้ ให้คุณสื่อสารแบบจับเข่าคุยกับสองหมอนี้แล้วทำตามคำแนะนำของเขาหรือเธอไปอย่างขมีขมัน ปัญหาทั้งหลายมันก็จะค่อยๆดีขึ้นเอง หรือหากพยายามตามที่แนะนำนี้แล้วไม่สำเร็จ ให้หาโอกาสมาเข้าแค้มป์ RDBY ซึ่งในแค้มป์นี้ผมจะเป็นหมอประจำตัวให้ทุกคนไปนานหนึ่งปี ถ้าวิธีนี้ยังไม่สำเร็จอีกก็..ชีวิตใครชีวิตมัน ตัวใครตัวมันละกันนะครับ
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. Wagdi P, Mehan VK, Burgi H, Salzmann C. Acute myocardial infarction after wasp stings in a patient with normal coronary arteries. Am Heart J 1994;128:820-3.
2. Ferrari S, Pietroiusti A, Galanti A, Compagnucci M, Fontana L. Paroxysmal atrial fibrillation after insect sting. J Allergy Clin Immunol 1996;98:759-61.
3. Sahara Y, Gotoh M, Konno K, Miwa A, Tsubokawa H, Robinson HP, et al. A new class of neurotoxin from wasp venom slows inactivation of sodium current. Eur J Neurosci 2000;12:1961-70.