คอนเซ็พท์จะไร้ความหมายหากไม่ได้ทดสอบในประสบการณ์จริง
ได้อ่านที่อาจารย์เขียนเรื่องความคิด คอนเซ็พท์ และความเชื่อ แล้วมีความทึ่งและชอบมาก แต่เมื่อคิดไตร่ตรองไปก็มาติดขัดตรงที่ว่าทุกอย่างก็คือความคิดหมด ต้องวางหมดเลยหรือ ถ้าวางหมด แล้วชีวิตนี้จะเหลืออะไรละคะ
................................................
ตอบครับ
1. ถามว่าในการจะพบกับความสงบเย็นที่ภายในนี้ ต้องวางความคิดทุกชนิดหมดเลยหรือ ไม่ว่าจะเป็นความคิด คอนเซ็พท์ และความเชื่อใดๆ ตอบว่าต้องวางหมดเลยครับ ต้องวางหมดเกลี้ยงเลย จึงจะเข้าถึงความรู้ตัว อันเป็นบ่อเกิดของความสุขสงบที่ภายในได้ แต่ว่าการวางนี้มันมีสองแบบนะ
1.1 คอนเซ็พท์ที่เป็นเครื่องมือทำมาหากิน เช่นคอนเซ็พท์ทางคณิตศาสตร์ บวก ลบ คูณ หาร เมื่อใช้เสร็จแล้วเราวางแบบเก็บเข้ากล่องเครื่องมือ เหมือนเก็บไขควงที่ใช้แล้วเข้ากล่อง ไปภายหน้าหากจำเป็นต้องใช้ เราก็เปิดกล่องหยิบขึ้นมาใช้ได้อีก
1.2 คอนเซ็พท์ที่เป็นขี้หมา คือไม่มีอะไรเป็นจริงเลยมีแต่จะทำให้ชีวิตเราจมลง ให้วางแบบทิ้งไปเลย เช่นความเชื่อที่ว่าความเป็นบุคคลที่ชื่อนี้มีเพศนี้มีการศึกษามาอย่างนี้ได้รับยศฐาบรรดาศักดิ์และการยกย่องเกียรติรางวัลต่างๆอย่างนี้ ให้วางแบบทิ้งไปเลย เพราะมันเป็นขี้หมาล้วนๆ เอาไปใช้การอะไรไม่ได้ มีแต่จะทำให้เราติดหล่มไปไหนไม่รอด
2. ถามว่าเมื่อวางความคิด คอนเซ็พท์ และความเชื่อไปหมดแล้ว ชีวิตจะเหลืออะไร อ้า นี่แหละ มาถูกที่เลย ถามถูกจุดเลยนะคะคุณเจ้าขา ตอบว่า..เมื่อทิ้งสิ่งที่เราคิดว่าเป็นของจริง (ซึ่งแท้จริงแล้วไม่ใช่ของจริง) ทั้งหมดแล้ว ก็จะเหลือสิ่งที่เราไม่เคยรู้ไม่เคยเห็นว่ามันมีอยู่ แต่ว่ามันมีอยู่และเป็นของจริง คือเหลือความว่างที่มีแต่ความต่ื่น และความสามารถรับรู้อยู่ นี่แหละ ของจริง และนี่แหละคือการบรรลุความหลุดพ้น ที่เขาว่าหลุดพ้น หลุดพ้น (enlightenment) หรือตื่น (awakening) ก็คือตรงนี้แหละ
อุปมาอุปไมยว่าโลกทัศน์ของมนุษย์ทั่วไปนี้เปรียบได้กับการมองเห็นเชือกกล้วยเป็นงู ตราบใดที่ยังเชื่อว่ามันเป็นงู ตราบนั้นก็มิอาจเข้าไปจับต้องใช้ประโยชน์จากเชือกกล้วยได้ ต้องทิ้งความเชื่อที่ว่ามันเป็นงูไปอย่างสิ้นเชิงก่อน จึงจะเข้าไปจับต้องใช้งานเชือกกล้วยได้ ฉันใดก็ฉันเพล ตราบใดที่ยังเชื่อว่าความคิด คอนเซ็พท์ และความเชื่อต่างๆรวมทัั้งสมมุติบัญญัติทั้งหลายไม่ว่าที่เราเห็นเป็นรูปร่าง (forms) และที่เราตั้งชื่อให้ได้ (names) เหล่านี้เป็นเรื่องจริง เป็นของที่มีอยู่จริง ตราบน้้นก็ไม่มีวันจะได้รู้จักความรู้ตัว ซึ่งจะปรากฎให้เห็นเมื่อวางความคิดทุกรูปแบบไปหมดแล้วเท่านั้น
3. ข้อนี้คุณไม่ได้ถามนะ แต่ผมแถมให้เผื่อสำหรับท่านผู้อ่านทั่่วไปด้วย
ประเด็นที่หนึ่ง โลกทัศน์ของคนทั่วไปเป็นคอนเซ็พท์ที่เห็นว่าชีวิตนี้มีเป้าหมายคือความสุข และวิธีจะบรรลุความสุขก็คือพยายามอยู่กับสิ่งที่เราพอใจ และหลีกหนีสิ่งที่เราไม่พอใจ นี่เป็นคอนเซ็พท์แบบคนทั่วไปหรือพูดง่ายๆว่าแบบโลกิยะ
ขณะที่คอนเซ็พท์แบบโลกุตระหรือแบบจิตวิญญาณซึ่งแทบทุกศาสนาใช้คอนเซ็พท์เดียวกัน คือชีวิตนี้มีเป้าหมายคือความสุข ตรงนี้เหมือนกันนะ แต่ต่างกันที่การจะบรรลุความสุขนั้นไม่ใช่ด้วยวิธีแสวงหาและอยู่กับสิ่งที่พอใจแล้วหลีกหนีสิ่งที่ไม่พอใจ การจะบรรลุความสุขที่ยั่งยืนนั้นต้องมองให้เห็นว่าความพอใจก็ดี ความไม่พอใจก็ดีมันหมุนเวียนเปลี่ยนหน้ากันมาหาแบบเป็นกระแสการไหลไปของชีวิต จะต้องมองให้เห็นว่าทั้งสองอย่างเป็นกระแสชีวิตธรรมดาๆ มองให้เห็น และยอมรับมันอย่างที่มันเป็น ไม่ไปเกาะเกี่ยว (ถ้าสุข) หรือหนี (ถ้าทุกข์) จึงจะได้พบกับความสงบเย็นที่ภายใน อันเป็นความสุขที่แท้จริง
ประเด็นที่สอง คอนเซ็พท์ทุกคอนเซ็พท์เป็นเพียงความคิด แม้แต่คำสอนของบรมศาสดาใดๆไม่ว่าจะดังแค่ไหนก็เป็นเพียงความคิด แต่มันจะมีความหมายขึ้นมาหากถูกนำไปทดสอบในประสบการณ์จริง บางคอนเซ็พท์ซึ่งถูกยกเมฆขึ้นมา เมื่อถูกทดสอบก็อาจจะเจ๊งกะบ๊งไป บางคอนเซ็พท์ที่ได้มาจากประสบการณ์ตรงของผู้บอกเล่า เมื่อถูกทดสอบก็อาจจะก่อประสบการณ์จริงตรงตามนั้น
ยกตัวอย่างเช่นผมได้ยินได้ฟังมานานแล้วถึงคำเตือนที่ว่าอย่าไปยิ้มให้ลิงเชียวนะ เพราะมันจะก้าวร้าวใส่เราทันที ผมได้แต่คิดว่าจริงหรือวะ มันจะเป็นไปได้อย่างไร ลิงก็คล้ายกับคน เราเมตตาต่อมันมันก็น่าจะรับรู้ได้ จนกระทั่งวันหนึ่งผมไปเที่ยววัดบนเขาแห่งหนึ่ง เดินผ่านฝูงลิง มีลูกลิงตัวหนึ่งนั่งอยู่เดี่ยว ผมมองมันด้วยความทึ่งในรายละเอียดของสีหน้าแววตามือไม้นิ้วเล็บ ช่างละเอียดและเหมือนคนเสียนี่กระไร ผมเผลอยิ้มให้มันอย่างเอ็นดู ทันใดที่ผมยิ้มให้เจ้าลิงน้อยก็แยกเขี้ยวร้องแว้ก..ก กระโดดถอยไป เข้าใจว่าธรรมเนียมลิงการแยกเขี้ยวใส่กันเป็นการโหมโรงก่อนจะลงมือตบตีกัน ผมจึงนึกขึ้นได้ว่าเออ ที่เขาว่าอย่ายิ้มให้ลิงนั้นท่าจะจริงแฮะ ผมติ๊กลงไปบนเช็คลิสต์ในใจผมได้หนึ่งข้อแล้ว ว่าเรื่องยิ้มกับลิงนี่เป็นของจริงแฮะ นี่เป็นตัวอย่างของการเอาคอนเซ็พท์ไปทดสอบในประสบการณ์จริง คอนเซ็พท์เป็นความคิดที่เราเรียนรู้มาด้วยความจำและความคิดอ่าน (intellect) แต่ประสบการณ์จริงเป็นการรู้ (knowing) ที่เราได้รับผ่านการสัมผัสรับรู้ จะด้วยผ่านอายาตนะตาหูจมูกผิวหนัง (sensation) หรือผ่านการรู้จากส่วนลึกๆข้างใน (intuition) ก็ตาม
สิ่งที่ผมจะเน้นในประเด็นนี้คือคอนเซ็พท์ทางจิตวิญญาณไม่ว่าจะเลิศสะแมนแตนอย่างไรก็ตาม มันย่อมไร้ความหมายอย่างสิ้นเชิงหากไม่ได้นำไปทดสอบในประสบการณ์จริง เพราะความสุขสงบที่เราไขว่คว้าหานั้นเป็นประสบการณ์จริง ไม่ใช่เป็นแค่คอนเซ็พท์ การเรียนรู้จดจำคอนเซ็พท์ทางจิตวิญญาณหรือคำสอนทางศาสนาไว้มาก หรือเรียนจบหลักสูตรศาสนาหรืือปรัชญาป.ตรีโทเอกจนโต้วาทีเถียงกับชาวบ้านได้คอเป็นเอ็นนั้น เป็นเพียงการเพิ่มความคิดที่มีมากอยู่แล้วให้เฟอะฟะขึ้นไปอีก ผมจึงพูดบ่อยๆว่าหยุดอ่านหนังสือเสีย หยุดตระเวณฟังอะไรที่โน่นที่นี่เสีย ทิ้งความสนใจต่อสิ่งภายนอกใดๆเสีย หันเข้าหาภายในตัวเอง สั่งสมประสบการณ์จริงเพื่อทดสอบคอนเซ็พท์ที่ได้เรียนมาว่าอะไรใช่ อะไรไม่ใช่ จึงจะบรรลุความสงบสุขที่ภายในได้
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
................................................
ตอบครับ
1. ถามว่าในการจะพบกับความสงบเย็นที่ภายในนี้ ต้องวางความคิดทุกชนิดหมดเลยหรือ ไม่ว่าจะเป็นความคิด คอนเซ็พท์ และความเชื่อใดๆ ตอบว่าต้องวางหมดเลยครับ ต้องวางหมดเกลี้ยงเลย จึงจะเข้าถึงความรู้ตัว อันเป็นบ่อเกิดของความสุขสงบที่ภายในได้ แต่ว่าการวางนี้มันมีสองแบบนะ
1.1 คอนเซ็พท์ที่เป็นเครื่องมือทำมาหากิน เช่นคอนเซ็พท์ทางคณิตศาสตร์ บวก ลบ คูณ หาร เมื่อใช้เสร็จแล้วเราวางแบบเก็บเข้ากล่องเครื่องมือ เหมือนเก็บไขควงที่ใช้แล้วเข้ากล่อง ไปภายหน้าหากจำเป็นต้องใช้ เราก็เปิดกล่องหยิบขึ้นมาใช้ได้อีก
1.2 คอนเซ็พท์ที่เป็นขี้หมา คือไม่มีอะไรเป็นจริงเลยมีแต่จะทำให้ชีวิตเราจมลง ให้วางแบบทิ้งไปเลย เช่นความเชื่อที่ว่าความเป็นบุคคลที่ชื่อนี้มีเพศนี้มีการศึกษามาอย่างนี้ได้รับยศฐาบรรดาศักดิ์และการยกย่องเกียรติรางวัลต่างๆอย่างนี้ ให้วางแบบทิ้งไปเลย เพราะมันเป็นขี้หมาล้วนๆ เอาไปใช้การอะไรไม่ได้ มีแต่จะทำให้เราติดหล่มไปไหนไม่รอด
2. ถามว่าเมื่อวางความคิด คอนเซ็พท์ และความเชื่อไปหมดแล้ว ชีวิตจะเหลืออะไร อ้า นี่แหละ มาถูกที่เลย ถามถูกจุดเลยนะคะคุณเจ้าขา ตอบว่า..เมื่อทิ้งสิ่งที่เราคิดว่าเป็นของจริง (ซึ่งแท้จริงแล้วไม่ใช่ของจริง) ทั้งหมดแล้ว ก็จะเหลือสิ่งที่เราไม่เคยรู้ไม่เคยเห็นว่ามันมีอยู่ แต่ว่ามันมีอยู่และเป็นของจริง คือเหลือความว่างที่มีแต่ความต่ื่น และความสามารถรับรู้อยู่ นี่แหละ ของจริง และนี่แหละคือการบรรลุความหลุดพ้น ที่เขาว่าหลุดพ้น หลุดพ้น (enlightenment) หรือตื่น (awakening) ก็คือตรงนี้แหละ
อุปมาอุปไมยว่าโลกทัศน์ของมนุษย์ทั่วไปนี้เปรียบได้กับการมองเห็นเชือกกล้วยเป็นงู ตราบใดที่ยังเชื่อว่ามันเป็นงู ตราบนั้นก็มิอาจเข้าไปจับต้องใช้ประโยชน์จากเชือกกล้วยได้ ต้องทิ้งความเชื่อที่ว่ามันเป็นงูไปอย่างสิ้นเชิงก่อน จึงจะเข้าไปจับต้องใช้งานเชือกกล้วยได้ ฉันใดก็ฉันเพล ตราบใดที่ยังเชื่อว่าความคิด คอนเซ็พท์ และความเชื่อต่างๆรวมทัั้งสมมุติบัญญัติทั้งหลายไม่ว่าที่เราเห็นเป็นรูปร่าง (forms) และที่เราตั้งชื่อให้ได้ (names) เหล่านี้เป็นเรื่องจริง เป็นของที่มีอยู่จริง ตราบน้้นก็ไม่มีวันจะได้รู้จักความรู้ตัว ซึ่งจะปรากฎให้เห็นเมื่อวางความคิดทุกรูปแบบไปหมดแล้วเท่านั้น
3. ข้อนี้คุณไม่ได้ถามนะ แต่ผมแถมให้เผื่อสำหรับท่านผู้อ่านทั่่วไปด้วย
ประเด็นที่หนึ่ง โลกทัศน์ของคนทั่วไปเป็นคอนเซ็พท์ที่เห็นว่าชีวิตนี้มีเป้าหมายคือความสุข และวิธีจะบรรลุความสุขก็คือพยายามอยู่กับสิ่งที่เราพอใจ และหลีกหนีสิ่งที่เราไม่พอใจ นี่เป็นคอนเซ็พท์แบบคนทั่วไปหรือพูดง่ายๆว่าแบบโลกิยะ
ขณะที่คอนเซ็พท์แบบโลกุตระหรือแบบจิตวิญญาณซึ่งแทบทุกศาสนาใช้คอนเซ็พท์เดียวกัน คือชีวิตนี้มีเป้าหมายคือความสุข ตรงนี้เหมือนกันนะ แต่ต่างกันที่การจะบรรลุความสุขนั้นไม่ใช่ด้วยวิธีแสวงหาและอยู่กับสิ่งที่พอใจแล้วหลีกหนีสิ่งที่ไม่พอใจ การจะบรรลุความสุขที่ยั่งยืนนั้นต้องมองให้เห็นว่าความพอใจก็ดี ความไม่พอใจก็ดีมันหมุนเวียนเปลี่ยนหน้ากันมาหาแบบเป็นกระแสการไหลไปของชีวิต จะต้องมองให้เห็นว่าทั้งสองอย่างเป็นกระแสชีวิตธรรมดาๆ มองให้เห็น และยอมรับมันอย่างที่มันเป็น ไม่ไปเกาะเกี่ยว (ถ้าสุข) หรือหนี (ถ้าทุกข์) จึงจะได้พบกับความสงบเย็นที่ภายใน อันเป็นความสุขที่แท้จริง
ประเด็นที่สอง คอนเซ็พท์ทุกคอนเซ็พท์เป็นเพียงความคิด แม้แต่คำสอนของบรมศาสดาใดๆไม่ว่าจะดังแค่ไหนก็เป็นเพียงความคิด แต่มันจะมีความหมายขึ้นมาหากถูกนำไปทดสอบในประสบการณ์จริง บางคอนเซ็พท์ซึ่งถูกยกเมฆขึ้นมา เมื่อถูกทดสอบก็อาจจะเจ๊งกะบ๊งไป บางคอนเซ็พท์ที่ได้มาจากประสบการณ์ตรงของผู้บอกเล่า เมื่อถูกทดสอบก็อาจจะก่อประสบการณ์จริงตรงตามนั้น
ยกตัวอย่างเช่นผมได้ยินได้ฟังมานานแล้วถึงคำเตือนที่ว่าอย่าไปยิ้มให้ลิงเชียวนะ เพราะมันจะก้าวร้าวใส่เราทันที ผมได้แต่คิดว่าจริงหรือวะ มันจะเป็นไปได้อย่างไร ลิงก็คล้ายกับคน เราเมตตาต่อมันมันก็น่าจะรับรู้ได้ จนกระทั่งวันหนึ่งผมไปเที่ยววัดบนเขาแห่งหนึ่ง เดินผ่านฝูงลิง มีลูกลิงตัวหนึ่งนั่งอยู่เดี่ยว ผมมองมันด้วยความทึ่งในรายละเอียดของสีหน้าแววตามือไม้นิ้วเล็บ ช่างละเอียดและเหมือนคนเสียนี่กระไร ผมเผลอยิ้มให้มันอย่างเอ็นดู ทันใดที่ผมยิ้มให้เจ้าลิงน้อยก็แยกเขี้ยวร้องแว้ก..ก กระโดดถอยไป เข้าใจว่าธรรมเนียมลิงการแยกเขี้ยวใส่กันเป็นการโหมโรงก่อนจะลงมือตบตีกัน ผมจึงนึกขึ้นได้ว่าเออ ที่เขาว่าอย่ายิ้มให้ลิงนั้นท่าจะจริงแฮะ ผมติ๊กลงไปบนเช็คลิสต์ในใจผมได้หนึ่งข้อแล้ว ว่าเรื่องยิ้มกับลิงนี่เป็นของจริงแฮะ นี่เป็นตัวอย่างของการเอาคอนเซ็พท์ไปทดสอบในประสบการณ์จริง คอนเซ็พท์เป็นความคิดที่เราเรียนรู้มาด้วยความจำและความคิดอ่าน (intellect) แต่ประสบการณ์จริงเป็นการรู้ (knowing) ที่เราได้รับผ่านการสัมผัสรับรู้ จะด้วยผ่านอายาตนะตาหูจมูกผิวหนัง (sensation) หรือผ่านการรู้จากส่วนลึกๆข้างใน (intuition) ก็ตาม
สิ่งที่ผมจะเน้นในประเด็นนี้คือคอนเซ็พท์ทางจิตวิญญาณไม่ว่าจะเลิศสะแมนแตนอย่างไรก็ตาม มันย่อมไร้ความหมายอย่างสิ้นเชิงหากไม่ได้นำไปทดสอบในประสบการณ์จริง เพราะความสุขสงบที่เราไขว่คว้าหานั้นเป็นประสบการณ์จริง ไม่ใช่เป็นแค่คอนเซ็พท์ การเรียนรู้จดจำคอนเซ็พท์ทางจิตวิญญาณหรือคำสอนทางศาสนาไว้มาก หรือเรียนจบหลักสูตรศาสนาหรืือปรัชญาป.ตรีโทเอกจนโต้วาทีเถียงกับชาวบ้านได้คอเป็นเอ็นนั้น เป็นเพียงการเพิ่มความคิดที่มีมากอยู่แล้วให้เฟอะฟะขึ้นไปอีก ผมจึงพูดบ่อยๆว่าหยุดอ่านหนังสือเสีย หยุดตระเวณฟังอะไรที่โน่นที่นี่เสีย ทิ้งความสนใจต่อสิ่งภายนอกใดๆเสีย หันเข้าหาภายในตัวเอง สั่งสมประสบการณ์จริงเพื่อทดสอบคอนเซ็พท์ที่ได้เรียนมาว่าอะไรใช่ อะไรไม่ใช่ จึงจะบรรลุความสงบสุขที่ภายในได้
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์