รุ่นพี่เขาว่ามะนาวเป็นด่าง..จริงหรือคะ
คุณหมอคะ
รุ่นพี่คนหนึ่งส่งข้อมูลเรื่อง corona virus มาให้ อ้างว่ามาจาก John Hopkins University อ่านดูแล้วก็พอเข้าใจ แต่งานวิจัย ทำในปี 1991 เลยทำให้สงสัยว่า เป็นข้อมูลที่ถูกต้องหรือไม่ ถ้าเป็น fake information ก็ขออภัยด้วยค่ะ ถ้าถูกต้องจะได้ส่งต่อให้คนอื่นๆต่อไป
อีกเรื่องหนึ่ง เขาบอกว่า lemon มีค่า pH 9.9 และ lime มีค่า pH 8.2 ทั้ง2 ตัวนี้น่าจะเป็นกรดมากกว่าเป็นด่าง คิดว่าน่าจะลองเอาน้ำมะนาวมาวัดpH ดู
ฝากคุณหมอพิจารณาด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ
..................................................................
ตอบครับ
1. ถามว่าธรรมชาติของไวรัสที่ผู้ร่อนข่าวสารอ้างว่าเอามาจากงานวิจัยในวารสาร JOURNAL OF VIROLOGY, Apr. 1991, P. 1916-1928. Vol. 65, No. 4 ทั้งหมดนั้นเป็นของจริงหรือไม่ ตอบว่าเป็นข้อมูลที่ถูกต้องตามที่เขาคัดลอกมา ข้อมูลนี้ยังใช้ได้อยู่ แม้จะตีพิมพ์ไว้นานแล้วก็ตาม
2. ถามว่าเรื่องอาหารเป็นด่างรักษาไวรัสนั้นเป็นข้อมูลจริงเช่นกันหรือไม่ ตอบว่าไม่เกี่ยวกัน ข้อมูลวิจัยเรื่องธรรมชาติของไวรัสก็เรื่องหนึ่ง ส่วนที่ผู้ร่อนข่าวสารชักจูงให้กินอาหารเป็นด่างต้านไวรัสก็อีกเรื่องหนึ่ง ไม่เกี่ยวกัน
3. ถามว่ามะนาวเป็นด่างจริงหรือไม่ ตอบว่าโถ คุณพี่ มะนาวมันเป็นกรดอาเซติกเปรี้ยวจี๊ดมันจะเป็นด่างไปได้อย่างไร pH ของมะนาวอยู่ที่ 2-3 ครับ ขณะที่สารที่เป็นกลางมี pH 7.0 โดยประมาณ สารน้ำในร่างกายมี pH 7.4 โดยประมาณ
4. ถามว่าแล้วทำไมเขาว่ามะนาวเป็นด่าง ตอบว่า เออ.. แล้วผมจะรู้ไหมเนี่ย แหะ แหะ
ผมเดาเอาว่าเขาคงจะหมายถึงว่ามะนาวเป็นอาหารในกลุ่มที่กินแล้วจะมีกรดเหลือไปขับทิ้งที่ไตน้อย กล่าวคือมันมีคนแบ่งอาหารที่คนเรากินออกตามศักยภาพที่จะสร้างกรดไปเป็นภาระให้ไตขับทิ้งหลังจบการเผาผลาญอาหารแล้ว (potential renal acid load - PRAL) หรือบ้างก็เรียกง่ายๆว่าอาหารสร้างกรด ซึ่ง ถ้าแบ่งอาหารตามคอนเซ็พท์นี้ก็จะแบ่งอาหารออกได้เป็นสามกลุ่ม คือ
1. กลุ่มอาหารสร้างกรด (Acidifying foods) ได้แก่ เนื้อสัตว์ ไก่ ปลา ไข่ แอลกอฮอล์
2. กลุ่มอาหารเป็นกลาง (Neutral foods) ได้แก่ไขมัน แป้ง น้ำตาล
3. กลุ่มอาหารสร้างด่าง (Alkalizing foods)ได้แก่ ผลไม้ นัท ถั่ว และผักต่างๆ รวมทั้งมะนาวด้วย
การแบ่งอาหารเป็นสามกลุ่มนี้จะมีประโยชน์หรือมรรคผลอะไรผมก็ไม่ทราบเหมือนกัน เพราะร่างกายนี้มีระบบสร้างดุลของกรดและด่างที่ยอดเยี่ยมอยู่แล้ว กินอะไรเข้าไปร่างกายปรับเข้าสู่ดุลหมด นับถึงวันนี้ยังไม่มีหลักฐานวิทยาศาสตร์แม้แต่ชิ้นเดียวที่บ่งชี้ว่าอาหารสร้างกรดหรืออาหารสร้างด่างจะมีผลต่อสุขภาพอย่างไร ผมทราบว่าบางท่านไปตั้งหลักชิมปัสสาวะ ถ้าเปรี้ยวก็แสดงว่ากินอาหารสร้างกรดมาก ซึ่งก็แหงอยู่แล้วเพราะกลไกของระบบรักษาดุลของกรดด่างของร่างกายมีเครื่องมือหลักคือไต(ปัสสาวะ)และปอด (คาร์บอนไดออกไซด์) แต่ประเด็นก็คือว่าฉี่เปรี้ยวแล้วมีอะไรไหม อันนี้วงการแพทย์ยังไม่มีข้อมูลที่จะบ่งชี้อะไรเป็นตุเป็นตะได้
แต่ถ้าใครชอบจะกินอาหารสร้างกรด หรือชอบกินอาหารสร้างด่าง ตอนนี้ก็เป็นความชอบของแต่ละคน เชิญตามสะดวก ส่วนหมอสันต์นั้นเชียร์ให้กินแต่พืชตามงานวิจัยผลของอาหารต่อโรคเรื้อรัง ซึ่งเผอิญพืชเป็นอาหารสร้างด่าง ดังนั้นหมอสันต์จึงถูกจัดเป็นพวกด่างไปโดยปริยาย
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
รุ่นพี่คนหนึ่งส่งข้อมูลเรื่อง corona virus มาให้ อ้างว่ามาจาก John Hopkins University อ่านดูแล้วก็พอเข้าใจ แต่งานวิจัย ทำในปี 1991 เลยทำให้สงสัยว่า เป็นข้อมูลที่ถูกต้องหรือไม่ ถ้าเป็น fake information ก็ขออภัยด้วยค่ะ ถ้าถูกต้องจะได้ส่งต่อให้คนอื่นๆต่อไป
อีกเรื่องหนึ่ง เขาบอกว่า lemon มีค่า pH 9.9 และ lime มีค่า pH 8.2 ทั้ง2 ตัวนี้น่าจะเป็นกรดมากกว่าเป็นด่าง คิดว่าน่าจะลองเอาน้ำมะนาวมาวัดpH ดู
ฝากคุณหมอพิจารณาด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ
..................................................................
ตอบครับ
1. ถามว่าธรรมชาติของไวรัสที่ผู้ร่อนข่าวสารอ้างว่าเอามาจากงานวิจัยในวารสาร JOURNAL OF VIROLOGY, Apr. 1991, P. 1916-1928. Vol. 65, No. 4 ทั้งหมดนั้นเป็นของจริงหรือไม่ ตอบว่าเป็นข้อมูลที่ถูกต้องตามที่เขาคัดลอกมา ข้อมูลนี้ยังใช้ได้อยู่ แม้จะตีพิมพ์ไว้นานแล้วก็ตาม
2. ถามว่าเรื่องอาหารเป็นด่างรักษาไวรัสนั้นเป็นข้อมูลจริงเช่นกันหรือไม่ ตอบว่าไม่เกี่ยวกัน ข้อมูลวิจัยเรื่องธรรมชาติของไวรัสก็เรื่องหนึ่ง ส่วนที่ผู้ร่อนข่าวสารชักจูงให้กินอาหารเป็นด่างต้านไวรัสก็อีกเรื่องหนึ่ง ไม่เกี่ยวกัน
3. ถามว่ามะนาวเป็นด่างจริงหรือไม่ ตอบว่าโถ คุณพี่ มะนาวมันเป็นกรดอาเซติกเปรี้ยวจี๊ดมันจะเป็นด่างไปได้อย่างไร pH ของมะนาวอยู่ที่ 2-3 ครับ ขณะที่สารที่เป็นกลางมี pH 7.0 โดยประมาณ สารน้ำในร่างกายมี pH 7.4 โดยประมาณ
4. ถามว่าแล้วทำไมเขาว่ามะนาวเป็นด่าง ตอบว่า เออ.. แล้วผมจะรู้ไหมเนี่ย แหะ แหะ
ผมเดาเอาว่าเขาคงจะหมายถึงว่ามะนาวเป็นอาหารในกลุ่มที่กินแล้วจะมีกรดเหลือไปขับทิ้งที่ไตน้อย กล่าวคือมันมีคนแบ่งอาหารที่คนเรากินออกตามศักยภาพที่จะสร้างกรดไปเป็นภาระให้ไตขับทิ้งหลังจบการเผาผลาญอาหารแล้ว (potential renal acid load - PRAL) หรือบ้างก็เรียกง่ายๆว่าอาหารสร้างกรด ซึ่ง ถ้าแบ่งอาหารตามคอนเซ็พท์นี้ก็จะแบ่งอาหารออกได้เป็นสามกลุ่ม คือ
1. กลุ่มอาหารสร้างกรด (Acidifying foods) ได้แก่ เนื้อสัตว์ ไก่ ปลา ไข่ แอลกอฮอล์
2. กลุ่มอาหารเป็นกลาง (Neutral foods) ได้แก่ไขมัน แป้ง น้ำตาล
3. กลุ่มอาหารสร้างด่าง (Alkalizing foods)ได้แก่ ผลไม้ นัท ถั่ว และผักต่างๆ รวมทั้งมะนาวด้วย
การแบ่งอาหารเป็นสามกลุ่มนี้จะมีประโยชน์หรือมรรคผลอะไรผมก็ไม่ทราบเหมือนกัน เพราะร่างกายนี้มีระบบสร้างดุลของกรดและด่างที่ยอดเยี่ยมอยู่แล้ว กินอะไรเข้าไปร่างกายปรับเข้าสู่ดุลหมด นับถึงวันนี้ยังไม่มีหลักฐานวิทยาศาสตร์แม้แต่ชิ้นเดียวที่บ่งชี้ว่าอาหารสร้างกรดหรืออาหารสร้างด่างจะมีผลต่อสุขภาพอย่างไร ผมทราบว่าบางท่านไปตั้งหลักชิมปัสสาวะ ถ้าเปรี้ยวก็แสดงว่ากินอาหารสร้างกรดมาก ซึ่งก็แหงอยู่แล้วเพราะกลไกของระบบรักษาดุลของกรดด่างของร่างกายมีเครื่องมือหลักคือไต(ปัสสาวะ)และปอด (คาร์บอนไดออกไซด์) แต่ประเด็นก็คือว่าฉี่เปรี้ยวแล้วมีอะไรไหม อันนี้วงการแพทย์ยังไม่มีข้อมูลที่จะบ่งชี้อะไรเป็นตุเป็นตะได้
แต่ถ้าใครชอบจะกินอาหารสร้างกรด หรือชอบกินอาหารสร้างด่าง ตอนนี้ก็เป็นความชอบของแต่ละคน เชิญตามสะดวก ส่วนหมอสันต์นั้นเชียร์ให้กินแต่พืชตามงานวิจัยผลของอาหารต่อโรคเรื้อรัง ซึ่งเผอิญพืชเป็นอาหารสร้างด่าง ดังนั้นหมอสันต์จึงถูกจัดเป็นพวกด่างไปโดยปริยาย
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์