รู้สึกเบื่อ เหนื่อย พอแล้ว ขอแยกตัวกลับ
กราบเรียนคุณหมอสันต์ที่เคารพและนับถือสุดๆค่ะ
ขอรบกวนปรึกษาคุณหมอในเรื่องขี้หมามากๆหน่อยค่ะ
คุณหมอคะดิฉันเลือกทางไหนดีระหว่างหน้าที่ภรรยาที่คอยดูแลสามีที่แสนวิเศษกับชีวิตเงียบสงบท่ามกลางสายลมแสงแดดที่ตนรักแต่ต้องแลกกับการทิ้งความรับผิดชอบต่อสามี
ดิฉันอายุ 53 สามี 55 ลูกโตรับผิดชอบตัวเองไปหมดแล้ว ทรัพย์สมบัติก็มีพอเกษียณได้แล้วจากฝีมือสามีคนเดียว สามีมีบุคลิกจริงจัง เครียดง่าย เครียดนาน ไม่สนใจเรื่องสุขภาพ ชีวิตให้ความหมายกับคำว่าหัวหน้าครอบครัวเท่านั้น จะกินอยู่หลับนอนยังไงก็ได้ขอให้ได้หาเงิน และปกป้องดูแลคนในครอบครัว เวลาเครียดมากๆ ก็ขอดื่มแอลกอฮอล์คลายเครียด สามีจึงมีปัญหาสุขภาพมาเป็นสายๆเช่นหมอนรองกระดูกเคลื่อนจนนั่งแทบไม่ได้ ความดันโลหิตสูง คอเรสรอลเริ่มสูง ส่วนดิฉันเองเป็นสายสุขภาพอย่างแรง ติดตามยึดแนวทางของหมอสันต์มานานแสนนาน ปลูกผักกินเอง กินอาหารพืชผักเป็นหลัก เราก็เลยง้างกันเรื่องนี้เป็นระยะๆ มาถึงตอนนี้ดิฉันรู้สึกเบื่อ เหนื่อย พอแล้ว ขอแยกตัวกลับไปอยู่บ้านที่ต่างจังหวัดใช้ชีวิตกับสายลมแสงแดดกับการดูแลสุขภาพตัวเองเพื่อไม่ให้เป็นภาระต่อลูกหลานในอนาคต แต่กลับกลายเป็นว่าเป็นการสร้างภาระให้สามี ต้องเวียนขับรถไปๆมาๆเพื่อมาเฝ้ามาดูแลเมียที่อยู่คนเดียวนี่อีก ทั้งๆที่ตัวเองก็ทำงานหนักและต้องเจ็บทรมานกับอาการเจ็บหลังที่ต้องขับรถนานๆ ตอนนี้เลยไม่มีใครมีความสุข
ขอบพระคุณค่ะ
...............................................
ตอบครับ
อามิตตาภะ พุทธะ
นี่เป็นตัวอย่างของการใช้ความยึดถือเกี่ยวพันไปในทางทำลายมากกว่าสร้างสรรค์
สมัยผมทำงานอยู่เมืองนอก มีเพื่อนคนหนึ่งเป็นหมอดมยาฝรั่ง มีปัญหากับลูกชายที่เขารักมากแต่ลูกก็ไม่เอาไหน ไม่ตั้งใจเรียนหนังสือ นั่นก็ไม่เอานี่ก็ไม่เอา เขาปรับทุกข์เรื่องลูกกับผมบ่อยมาก ในที่สุดลูกขอเงินพ่อหยุดเรียนกลางคันเพื่อเดินทางรอบโลกแสวงหาตัวตนของตัวเองแบบบักหำน้อยพเนจร พ่อก็อนุญาต ในวันที่เขาจะไปส่งลูกที่สนามบิน บังเอิญเช้าวันนั้นเราออกเวรที่รพ.เอกชนด้วยกัน ผมจึงเสนอตัวว่าจะขับรถแวะไปส่งเขาที่สนามบินและรอรับเขากลับไปทำงานกันต่อที่รพ.รัฐบาล (เราทำงานสองโรงพยาบาล) ที่ผมเล่านี่ก็เพื่อจะไฮไลท์ตอนสำคัญที่พ่อเขาสั่งลาลูกบังเกิดเกล้าก่อนจากว่า
"Don't write to me. For me, no news is good news"
"ไม่ต้องจดหมายมาหาพ่อ พ่อจะถือว่าการไม่มีข่าว คือข่าวดี"
คือสมัยโน้นไม่มีอีเมล การติดต่อกันต้องจดหมายเท่านั้น ผมฟังแล้วน้ำตาซึม พ่อที่รักลูกอย่างกับดวงใจตามติดชีวิตความเป็นอยู่ลูกแทบจะทุกฝีก้าว ตัดใจบอกลูกว่าไม่ต้องส่งข่าวคราวมาหาพ่อดอก เพื่อจะให้ลูกได้เป็นอิสระจากความห่วงใยของพ่อ เพื่อให้ลูกได้เที่ยวเสาะหาประสบการณ์ชีวิตของเขาให้สนุก
กลับมาตอบคำถามของคุณดีกว่า ถามว่าจะทำอย่างไรดี ตอบว่าคุณมี 2 ทางเลือก
ทางเลือกที่ 1. แก่แล้ว ตัวใครตัวมัน
นี่เป็นทางเลือกที่หมอสันต์สรรเสริญมากที่สุด ตอนหนุ่มๆผมตำหนิคนที่คิดอย่างนี้มาก แต่พอตัวเองยิ่งแก่ก็ยิ่งเข้าใจทางเลือกนี้ว่ามันเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดจริงๆ เพราะเมื่อกำลังจะตายอยู่แล้ว แต่ละคนต้องขวานขวายไปทำมิชชั่นที่ตัวเองเกิดมาอยากทำให้เสร็จเสียก่อนตาย จะมามัวห่วงเตี้ยอุ้มค่อมอยู่ทำไม ฉันจะเอาของฉันยังงี้ คุณจะเอาของคุณยังไงก็เรื่องของคุณ หากเลือกทางนี้แล้วก็อย่าไปจมอยู่กับความรู้สึกผิดเพราะมันเป็นแค่คอนเซ็พท์หรือเป็นแค่สมมุติ ผมหมายถึงการเป็นภรรยาของผู้ชายซื่อบื้อที่แสนดีคนหนึ่งมันเป็นแค่เรื่องสมมุติ เป็นแค่ละครที่เล่นกันมาหลายปี หากเบื่อเล่นแล้วจังหวะเหมาะๆเช่นลูกพ้นอกไปแล้วก็เลิกเล่นได้ ลองไปเล่นบทอื่นที่อาจจะใช่ชีวิตที่เสาะหามานานมากกว่าจะเป็นไรไป หากจะให้มันนุ่มนวลยิ่งขึ้นหน่อยก็ตั้งโต๊ะคุยกับคุณสามีดีๆ สุนทรียสนทนา ให้เขาเข้าใจ แต่ไม่ใช่ให้เขาอนุมัติ ว่า
"..วาระสุดท้ายของชีวิตนี้ฉันได้ตัดสินใจแล้วว่าจะออกธุดงค์จากอาคาริยวิสัยไปแสวงหาโมกขธรรม...จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ"
แจ้งแล้วเขาจะเสียใจหรือจะดีใจ นั่นเรื่องของเขา คุณอย่าไปอาเวคอาวรณ์
เขียนมาถึงตอนนี้ขอนอกเรื่องหน่อย เรื่องนี้เกิดขึ้นในเมืองไทยนี้แหละ ประมาณสิบกว่าปีมาแล้ว ผมไปผ่าตัดที่รพ.เอกชนแห่งหนึ่ง เสร็จแล้วก็นั่งคุยกันเล่นในหมู่พวกหมอใหญ่ด้วยกันที่ห้องพักแพทย์ แล้วก็มีนักศึกษาทำวิทยานิพนธ์ปริญญาโทคนหนึ่งนัดมาขอสัมภาษณ์หมอใหญ่ท่านหนึ่ง สัมภาษณ์กันใกล้ๆนั่นแหละ ซึ่งผมก็ได้ยินด้วย หัวข้อวิทยานิพนธ์ก็คือหากอีกสามเดือนจะตายท่านอยากจะทำอะไร หมอใหญ่ท่านนั้นตอบว่า
"เก็บเสื้อผ้าลงกระเป๋า เดินออกจากบ้าน" นักศึกษาสาวผู้สัมภาษณ์ถามว่า
"ไม่อยากอยู่กับภรรยาที่รักในช่วงสุดท้ายของชีวิตหรือคะ" คุณหมอใหญ่ตอบว่า
"อยู่กันมาสี่สิบปี พอแล้ว"
ฮ่า ฮ่า ฮ่า ตะแล้น ตะแล้น ตะแล้น
ทางเลือกที่ 2. แบ่งให้กันและกันคนละครึ่ง
คุณยอมเสียเวลาครึ่งหนึ่งให้สามี สามียอมเสียเวลาครึ่งหนึ่งให้คุณ สามียอมเหนื่อยปวดหลังปวดเอวขับรถมาเยี่ยมคุณบ้าง คุณยอมเหนื่อยไปเยี่ยมสามีบ้าง คุณยอมฟังสามีพล่ามเรื่องไร้สาระของเขาบ้าง เขายอมมาดูคุณทำเรื่องไร้สาระของคุณที่บ้านนอกบ้าง ไม่ใข่วิธีที่ดีที่สุด เพราะมันเหนื่อยเอาการอยู่ แต่มันเป็นความลงตัวในแง่ของเมตตาธรรมและความห่วงใยที่คู่ชีวิตมีต่อกัน นานไปมันอาจพัฒนาไปในทางที่ว่ากิจกรรมของคนที่มีประโยชน์ต่อชีวิตจะดึงอีกคนหนึ่งที่มัวแต่จมอยู่กับเรื่องไร้สาระให้เข้ามาหามากขึ้นๆจนเกิดการแต่งงานใหม่ คือทั้งคู่มาใช้ชีวิตแนวทางเดียวกัน 100% ด้วยความเต็มใจของทั้งสองฝ่ายในที่สุดก็เป็นไปได้
ทั้งสองทางเลือกนี้คุณเลือกทางไหนก็ได้ เอาแบบที่ชอบที่ชอบ
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
ขอรบกวนปรึกษาคุณหมอในเรื่องขี้หมามากๆหน่อยค่ะ
คุณหมอคะดิฉันเลือกทางไหนดีระหว่างหน้าที่ภรรยาที่คอยดูแลสามีที่แสนวิเศษกับชีวิตเงียบสงบท่ามกลางสายลมแสงแดดที่ตนรักแต่ต้องแลกกับการทิ้งความรับผิดชอบต่อสามี
ดิฉันอายุ 53 สามี 55 ลูกโตรับผิดชอบตัวเองไปหมดแล้ว ทรัพย์สมบัติก็มีพอเกษียณได้แล้วจากฝีมือสามีคนเดียว สามีมีบุคลิกจริงจัง เครียดง่าย เครียดนาน ไม่สนใจเรื่องสุขภาพ ชีวิตให้ความหมายกับคำว่าหัวหน้าครอบครัวเท่านั้น จะกินอยู่หลับนอนยังไงก็ได้ขอให้ได้หาเงิน และปกป้องดูแลคนในครอบครัว เวลาเครียดมากๆ ก็ขอดื่มแอลกอฮอล์คลายเครียด สามีจึงมีปัญหาสุขภาพมาเป็นสายๆเช่นหมอนรองกระดูกเคลื่อนจนนั่งแทบไม่ได้ ความดันโลหิตสูง คอเรสรอลเริ่มสูง ส่วนดิฉันเองเป็นสายสุขภาพอย่างแรง ติดตามยึดแนวทางของหมอสันต์มานานแสนนาน ปลูกผักกินเอง กินอาหารพืชผักเป็นหลัก เราก็เลยง้างกันเรื่องนี้เป็นระยะๆ มาถึงตอนนี้ดิฉันรู้สึกเบื่อ เหนื่อย พอแล้ว ขอแยกตัวกลับไปอยู่บ้านที่ต่างจังหวัดใช้ชีวิตกับสายลมแสงแดดกับการดูแลสุขภาพตัวเองเพื่อไม่ให้เป็นภาระต่อลูกหลานในอนาคต แต่กลับกลายเป็นว่าเป็นการสร้างภาระให้สามี ต้องเวียนขับรถไปๆมาๆเพื่อมาเฝ้ามาดูแลเมียที่อยู่คนเดียวนี่อีก ทั้งๆที่ตัวเองก็ทำงานหนักและต้องเจ็บทรมานกับอาการเจ็บหลังที่ต้องขับรถนานๆ ตอนนี้เลยไม่มีใครมีความสุข
ขอบพระคุณค่ะ
...............................................
ตอบครับ
อามิตตาภะ พุทธะ
นี่เป็นตัวอย่างของการใช้ความยึดถือเกี่ยวพันไปในทางทำลายมากกว่าสร้างสรรค์
สมัยผมทำงานอยู่เมืองนอก มีเพื่อนคนหนึ่งเป็นหมอดมยาฝรั่ง มีปัญหากับลูกชายที่เขารักมากแต่ลูกก็ไม่เอาไหน ไม่ตั้งใจเรียนหนังสือ นั่นก็ไม่เอานี่ก็ไม่เอา เขาปรับทุกข์เรื่องลูกกับผมบ่อยมาก ในที่สุดลูกขอเงินพ่อหยุดเรียนกลางคันเพื่อเดินทางรอบโลกแสวงหาตัวตนของตัวเองแบบบักหำน้อยพเนจร พ่อก็อนุญาต ในวันที่เขาจะไปส่งลูกที่สนามบิน บังเอิญเช้าวันนั้นเราออกเวรที่รพ.เอกชนด้วยกัน ผมจึงเสนอตัวว่าจะขับรถแวะไปส่งเขาที่สนามบินและรอรับเขากลับไปทำงานกันต่อที่รพ.รัฐบาล (เราทำงานสองโรงพยาบาล) ที่ผมเล่านี่ก็เพื่อจะไฮไลท์ตอนสำคัญที่พ่อเขาสั่งลาลูกบังเกิดเกล้าก่อนจากว่า
"Don't write to me. For me, no news is good news"
"ไม่ต้องจดหมายมาหาพ่อ พ่อจะถือว่าการไม่มีข่าว คือข่าวดี"
คือสมัยโน้นไม่มีอีเมล การติดต่อกันต้องจดหมายเท่านั้น ผมฟังแล้วน้ำตาซึม พ่อที่รักลูกอย่างกับดวงใจตามติดชีวิตความเป็นอยู่ลูกแทบจะทุกฝีก้าว ตัดใจบอกลูกว่าไม่ต้องส่งข่าวคราวมาหาพ่อดอก เพื่อจะให้ลูกได้เป็นอิสระจากความห่วงใยของพ่อ เพื่อให้ลูกได้เที่ยวเสาะหาประสบการณ์ชีวิตของเขาให้สนุก
กลับมาตอบคำถามของคุณดีกว่า ถามว่าจะทำอย่างไรดี ตอบว่าคุณมี 2 ทางเลือก
ทางเลือกที่ 1. แก่แล้ว ตัวใครตัวมัน
นี่เป็นทางเลือกที่หมอสันต์สรรเสริญมากที่สุด ตอนหนุ่มๆผมตำหนิคนที่คิดอย่างนี้มาก แต่พอตัวเองยิ่งแก่ก็ยิ่งเข้าใจทางเลือกนี้ว่ามันเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดจริงๆ เพราะเมื่อกำลังจะตายอยู่แล้ว แต่ละคนต้องขวานขวายไปทำมิชชั่นที่ตัวเองเกิดมาอยากทำให้เสร็จเสียก่อนตาย จะมามัวห่วงเตี้ยอุ้มค่อมอยู่ทำไม ฉันจะเอาของฉันยังงี้ คุณจะเอาของคุณยังไงก็เรื่องของคุณ หากเลือกทางนี้แล้วก็อย่าไปจมอยู่กับความรู้สึกผิดเพราะมันเป็นแค่คอนเซ็พท์หรือเป็นแค่สมมุติ ผมหมายถึงการเป็นภรรยาของผู้ชายซื่อบื้อที่แสนดีคนหนึ่งมันเป็นแค่เรื่องสมมุติ เป็นแค่ละครที่เล่นกันมาหลายปี หากเบื่อเล่นแล้วจังหวะเหมาะๆเช่นลูกพ้นอกไปแล้วก็เลิกเล่นได้ ลองไปเล่นบทอื่นที่อาจจะใช่ชีวิตที่เสาะหามานานมากกว่าจะเป็นไรไป หากจะให้มันนุ่มนวลยิ่งขึ้นหน่อยก็ตั้งโต๊ะคุยกับคุณสามีดีๆ สุนทรียสนทนา ให้เขาเข้าใจ แต่ไม่ใช่ให้เขาอนุมัติ ว่า
"..วาระสุดท้ายของชีวิตนี้ฉันได้ตัดสินใจแล้วว่าจะออกธุดงค์จากอาคาริยวิสัยไปแสวงหาโมกขธรรม...จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ"
แจ้งแล้วเขาจะเสียใจหรือจะดีใจ นั่นเรื่องของเขา คุณอย่าไปอาเวคอาวรณ์
เขียนมาถึงตอนนี้ขอนอกเรื่องหน่อย เรื่องนี้เกิดขึ้นในเมืองไทยนี้แหละ ประมาณสิบกว่าปีมาแล้ว ผมไปผ่าตัดที่รพ.เอกชนแห่งหนึ่ง เสร็จแล้วก็นั่งคุยกันเล่นในหมู่พวกหมอใหญ่ด้วยกันที่ห้องพักแพทย์ แล้วก็มีนักศึกษาทำวิทยานิพนธ์ปริญญาโทคนหนึ่งนัดมาขอสัมภาษณ์หมอใหญ่ท่านหนึ่ง สัมภาษณ์กันใกล้ๆนั่นแหละ ซึ่งผมก็ได้ยินด้วย หัวข้อวิทยานิพนธ์ก็คือหากอีกสามเดือนจะตายท่านอยากจะทำอะไร หมอใหญ่ท่านนั้นตอบว่า
"เก็บเสื้อผ้าลงกระเป๋า เดินออกจากบ้าน" นักศึกษาสาวผู้สัมภาษณ์ถามว่า
"ไม่อยากอยู่กับภรรยาที่รักในช่วงสุดท้ายของชีวิตหรือคะ" คุณหมอใหญ่ตอบว่า
"อยู่กันมาสี่สิบปี พอแล้ว"
ฮ่า ฮ่า ฮ่า ตะแล้น ตะแล้น ตะแล้น
ทางเลือกที่ 2. แบ่งให้กันและกันคนละครึ่ง
คุณยอมเสียเวลาครึ่งหนึ่งให้สามี สามียอมเสียเวลาครึ่งหนึ่งให้คุณ สามียอมเหนื่อยปวดหลังปวดเอวขับรถมาเยี่ยมคุณบ้าง คุณยอมเหนื่อยไปเยี่ยมสามีบ้าง คุณยอมฟังสามีพล่ามเรื่องไร้สาระของเขาบ้าง เขายอมมาดูคุณทำเรื่องไร้สาระของคุณที่บ้านนอกบ้าง ไม่ใข่วิธีที่ดีที่สุด เพราะมันเหนื่อยเอาการอยู่ แต่มันเป็นความลงตัวในแง่ของเมตตาธรรมและความห่วงใยที่คู่ชีวิตมีต่อกัน นานไปมันอาจพัฒนาไปในทางที่ว่ากิจกรรมของคนที่มีประโยชน์ต่อชีวิตจะดึงอีกคนหนึ่งที่มัวแต่จมอยู่กับเรื่องไร้สาระให้เข้ามาหามากขึ้นๆจนเกิดการแต่งงานใหม่ คือทั้งคู่มาใช้ชีวิตแนวทางเดียวกัน 100% ด้วยความเต็มใจของทั้งสองฝ่ายในที่สุดก็เป็นไปได้
ทั้งสองทางเลือกนี้คุณเลือกทางไหนก็ได้ เอาแบบที่ชอบที่ชอบ
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์