โรคสมองเสื่อมสไตล์ "หญิงแก่บ้าอำนาจ"
สวัสดีคุณหมอค่ะ
ขอโทษที่รบกวนคุณหมอนะคะ ตอนนี้ทำอะไรกันไม่ถูกจริงๆค่ะ คุณแม่อายุ 75 ปี คุณหมอระบบประสาท ทำการ mri และคุณหมอจิตแพทย์ลงความเห็นว่า คุณแม่เส้นเลือดตีบที่สมองส่วนหน้า
ทำให้มีอาการพาร์กินสัน และโรคสมองเสื่อม และยังมีอาการหลงผิด คือเห็นภาพหลอน แล้วคิดไปเองว่าคุณพ่อพาผู้หญิงเข้าบ้าน อาละวาดใส่คุณพ่อทั้งวันทั้งคืนค่ะ แม้ว่าทุกคนในบ้านจะพยายามอธิบายค่อยๆบอก ค่อยๆพูดคุณแม่ก็ไม่ฟังค่ะ คุณแม่จะพูดว่า ฉันผิด ฉันเลว เข้าข้างแต่พ่อ เข้าข้างผู้หญิงคนนั้นที่พามา โดนคุณไสย หลงเสน่ห์กันไปหมด ใครพูดอะไรไม่ได้เลยค่ะ พยายามคุยดีดีก็แล้ว
จนคุณหมอจิตแพทย์ บอกให้คุณพ่อดุ ห้ามพฤติกรรม แล้วปล่อยคุณแม่ไว้คนเดียว ซึ่งก็ไม่ได้ผลค่ะ พูดไม่หยุด พอทุกคนบอกให้ใจเย็นๆ อย่าเพิ่งคุย โกธร โมโหเลยค่ะ คุยด้วยไม่ได้เลย ไม่สามารถใช้เหตุผลใดๆด้วยได้ แล้วก็กลับมาพูดว่าคุณพ่อ คุณพ่อเดินหนี ไม่คุย ไม่ฟัง ตามที่คุณหมอจิตแพทย์แนะนำ ก็ไม่ยอมค่ะ โกรธ โมโห กรี๊ด ตีคุณพ่อ ทุกคนห้ามคุณแม่ แล้ว เดินหนี พอไม่มีใครฟัง ก็โมโห จนไม่รู้จะทำยังไงแล้วค่ะ เครียดกันทั้งบ้านจริงๆ
จึงอยากสอบถามคุณหมอค่ะ ว่าต้องทำอย่างไรดี ควรแก้ปัญหานี้อย่างไรอีกบ้าง ตอนนี้สงสารคุณพ่อมาก และสงสารคุณแม่ด้วย คือทุกข์ใจในเรื่องที่ไม่จริง และห่วงสุขภาพของทั้งคุณพ่อคุณแม่ค่ะ แบบนี้ไม่ไหวกันจริงๆ
ขอบคุณคุณหมอมากนะคะ ที่กรุณา
2.2 สนองตอบต่อการแสดงออกของอารมณ์ไปในทางเอื้ออาทรใส่ใจ เช่นถ้าเศร้าก็ปลอบ ถ้ากลัวก็พูดหรือยิ้มแสดงสีหน้าให้อุ่นใจ ถ้าโกรธออกงิ้วก็ให้วางเฉยเสียอย่าไปสนองตอบใดๆ
3.2 ขึ้นต้นประโยคด้วยการแนะนำตัวเองอยู่ในทีทุกครั้ง สบตาทุกครั้งที่พูดกัน
3.3 พูดกับท่านแบบตัวต่อตัว อย่าพูดแบบวงสนทนา
3.4 จับมือท่านบีบเวลาพูด เพื่อให้ท่านสนใจว่าเรากำลังพูดด้วย
3.5 ใช้คำง่ายๆ สั้นๆ พูดเป็นประโยคสั้นๆ พูดซ้ำๆถ้าจำเป็น เวลาท่านพูดมา หากไม่สมบูรณ์เราก็ต่อเสียให้สมบูรณ์ โดยไม่ตำหนิ
3.6 อย่าทำเสียงสูง อย่าทำเสียงดัง อย่าตะคอก ใจเย็นๆ
3.7 อย่าถามคำถามที่ท้าทายให้รื้อฟื้นความจำในอดีต เพราะจะก่อความรู้สึกว่าท่านถูกดูถูกได้ หรือไม่ก็นำไปสู่การทะเลาะกัน ถ้าท่านจำไม่ได้แล้วแต่งเรื่องใหม่ขึ้นมาแทน ก็แค่แสดงให้ท่านรู้ว่าเราเข้าใจ และเพียงแค่ทบทวนประเด็นสำคัญให้ท่านทราบโดยไม่ให้เสียหน้าก็พอแล้ว
3.8 ถ้าจะให้ท่านทำอะไรแล้วท่านไม่เอาด้วย เราก็ต้องยอมรับว่าท่านยังไม่ร่วมมือ อย่าฝืน อย่าสั่ง อย่าเร่ง
3.10 ใช้หลักการสอนทักษะ เมื่อจะสอนให้ทำอะไรที่ท่านลืมวิธีทำไปแล้ว กล่าวคือเอางานที่จะสอนให้ทำมาแตกย่อยเป็นขั้นเป็นตอน สาธิตภาพรวมให้ดูก่อน แล้วสาธิตการทำจริงแยกทีละขั้น แล้วให้ทำตามทีละขั้น แล้วให้ท่านทำใหม่เองตั้งแต่ต้นจนจบ สรุปตบท้ายเมื่อทำเสร็จแล้ว ให้คำชมเมื่อทำได้สำเร็จ สอนด้วยน้ำเสียงที่อบอุ่น
ขอโทษที่รบกวนคุณหมอนะคะ ตอนนี้ทำอะไรกันไม่ถูกจริงๆค่ะ คุณแม่อายุ 75 ปี คุณหมอระบบประสาท ทำการ mri และคุณหมอจิตแพทย์ลงความเห็นว่า คุณแม่เส้นเลือดตีบที่สมองส่วนหน้า
ทำให้มีอาการพาร์กินสัน และโรคสมองเสื่อม และยังมีอาการหลงผิด คือเห็นภาพหลอน แล้วคิดไปเองว่าคุณพ่อพาผู้หญิงเข้าบ้าน อาละวาดใส่คุณพ่อทั้งวันทั้งคืนค่ะ แม้ว่าทุกคนในบ้านจะพยายามอธิบายค่อยๆบอก ค่อยๆพูดคุณแม่ก็ไม่ฟังค่ะ คุณแม่จะพูดว่า ฉันผิด ฉันเลว เข้าข้างแต่พ่อ เข้าข้างผู้หญิงคนนั้นที่พามา โดนคุณไสย หลงเสน่ห์กันไปหมด ใครพูดอะไรไม่ได้เลยค่ะ พยายามคุยดีดีก็แล้ว
จนคุณหมอจิตแพทย์ บอกให้คุณพ่อดุ ห้ามพฤติกรรม แล้วปล่อยคุณแม่ไว้คนเดียว ซึ่งก็ไม่ได้ผลค่ะ พูดไม่หยุด พอทุกคนบอกให้ใจเย็นๆ อย่าเพิ่งคุย โกธร โมโหเลยค่ะ คุยด้วยไม่ได้เลย ไม่สามารถใช้เหตุผลใดๆด้วยได้ แล้วก็กลับมาพูดว่าคุณพ่อ คุณพ่อเดินหนี ไม่คุย ไม่ฟัง ตามที่คุณหมอจิตแพทย์แนะนำ ก็ไม่ยอมค่ะ โกรธ โมโห กรี๊ด ตีคุณพ่อ ทุกคนห้ามคุณแม่ แล้ว เดินหนี พอไม่มีใครฟัง ก็โมโห จนไม่รู้จะทำยังไงแล้วค่ะ เครียดกันทั้งบ้านจริงๆ
จึงอยากสอบถามคุณหมอค่ะ ว่าต้องทำอย่างไรดี ควรแก้ปัญหานี้อย่างไรอีกบ้าง ตอนนี้สงสารคุณพ่อมาก และสงสารคุณแม่ด้วย คือทุกข์ใจในเรื่องที่ไม่จริง และห่วงสุขภาพของทั้งคุณพ่อคุณแม่ค่ะ แบบนี้ไม่ไหวกันจริงๆ
ขอบคุณคุณหมอมากนะคะ ที่กรุณา
..........................................................................
ตอบครับ
ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมมีหลายสไตล์ ของคุณแม่ของคุณนี้เป็นสไตล์ "หญิงแก่บ้าอำนาจ" ปัญหาของคุณกำลังจะเป็นปัญหาเบอร์ต้นๆของครอบครัวไทยในอนาคต คือการมีผู้ป่วยสมองเสื่อมไว้ในความดูแล
คุณแม่ของคุณอยู่ในความดูแลของจิตแพทย์อยู่แล้ว ได้ยาบำบัดอาการโรคจิตจากพยาธิสภาพของเนื้อสมอง (organic brain syndrome - OBS) อยู่แล้ว การตอบคำถามของคุณเราจะคุยกันในประเด็นว่าครอบครัว ซึ่งก็คือลูกหลาน ควรจัดการปัญหาเมื่อมีคุณพ่อคุณแม่หรือปู่ย่าตายายเป็นสมองเสื่อมแต่อยู่บ้านด้วยกันอย่างไรดี
อีกประการหนึ่ง ก่อนจะมาถึงจิตแพทย์คุณแม่ของคุณน่าจะถูกส่งต่อมาจากอายุรแพทย์หรือแพทย์ทั่วไป ซึ่งผมมั่นใจว่าแพทย์ท่านได้วินิจฉัยสาเหตุสมองเสื่อมที่เป็นหญ้าปากคอกที่แก้ได้ง่ายๆออกไปหมดแล้ว อันได้แก่
1. สมองเสื่อมจากยาต่างๆที่กำลังกินอยู่
2. ขาดวิตามินบี.12
3. ขาดโฟเลท
4. ขาดวิตามินดี
5. โรคฮอร์โมนต่อมไทรอยด์ต่ำ (hypothyroidism)
มาถึงขั้นนี้แล้ว จะไม่พยายามไปรักษาที่ตัวโรคแล้วนะ ส่วนนั้นให้คุณทำใจอย่างเดียว แต่จะมามุ่งที่การจัดการดูแล ซึ่งผมแนะนำว่า
1. การจัดการเรื่องความปลอดภัย ตั้งแต่
1.1 การป้องกันการลื่นตกหกล้ม ดูแลสถานที่ที่คุณแม่อยู่หรือใช้งานไม่ให้มีอะไรที่สะดุดง่าย ติดตั้งราวจับตามจุดที่จำเป็น เพราะถ้าหกล้มกระดูกสะโพกหักก็เป็นหนังเรื่องยาวอีก
1.2 การป้องกันการทำร้ายตนเองและผู้อื่น ติดตั้งล็อคสิ่งจำเป็นและอันตรายให้หมด เช่นตู้ยา ที่เก็บอาวุธอย่างปืน มีด แอลกอฮอล์ ปรับตัวควบคุมอุณหภูมิน้ำร้อน (คนสมองเสื่อมชอบอาบน้ำร้อนจนลวกตัวเอง) ไม้ขีดไฟ (เพราะคนเป็นสมองเสื่อมจุดไฟเผาบ้านตัวเองนี่เป็นเรื่องเกิดบ่อยมาก) เครื่องดับเพลิงในบ้านต้องพร้อมใช้งานเสมอ
1.3 ทำการกักขังถ้าจำเป็น เช่นขังให้เดินไปได้บางห้องที่ชัวร์ว่าปลอดภัยแล้วเท่านั้น หน้าต่างใส่ลูกกรงให้หมด อย่าไปคิดมากว่าเป็นลูกจะขังคุณแม่ได้อย่างไร หากจำเป็นต้องขังก็ต้องขัง คุณอย่าลืมว่านายกรัฐมนตรีหญิงเหล็กของอังกฤษ ยิ่งใหญ่ขนาดไหน ทำคุณประโยชน์แก่ชาติไว้มากมายเท่าไหร่ บั้นปลายของชีวิตเป็นสมองเสื่อม แม้ตัวเองจะเดินไปเดินมาได้ พูดภาษาคนรู้เรื่อง แต่ก็ยังถูกจับขังอยู่ตั้งหลายปีก่อนเสียชีวิต
ถ้าคุณไม่ยอมขังคุณแม่ของคุณไว้ในบ้าน ก็ไม่มีใครจะรับคุณแม่ของคุณไปขังให้ได้ เพราะโรงพยาบาลเกือบทุกแห่งไม่สามารถดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ได้ โรงพยาบาลทั่วไปนั้นดูแลไม่ได้เลย โรงพยาบาลโรคจิตก็ผลักดันให้ครอบครัวเอาไปดูแลเองเพราะรพ.ดูแลไม่ไหว คนไข้อัลไซเมอร์มีแต่จะมากขึ้นๆทุกปีตามความยืนยาวของอายุคน ตอนนี้น่าจะเป็นท็อปไฟว์ของโรคดุที่เป็นสาเหตุการตายสูงสุดแล้ว วัดวาอารามก็ไม่รับ เพราะรับเข้าไปปฏิบัติธรรมแล้วพระเถรเณรชีแตกกระเจิง หลวงพ่อทุกวัดไม่มีวัดไหนรับคนไข้โรคจิตทุกประเภทเข้าวัด เพราะหลวงพ่อก็กลัวเหมือนกัน หิ หิ
2. การดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม
มีหลายประเด็น ในเวลาอันจำกัดนี้ขอพูดประเด็นเดียว คือการรับมือกับอาการประสาทหลอน ผมแนะนำว่า
2.1 อย่าไปโต้เถียง โบราณว่าอย่าถือคนบ้า อย่าว่าคนเมา นั่นแหละ ใช้ได้เลย
2.2 สนองตอบต่อการแสดงออกของอารมณ์ไปในทางเอื้ออาทรใส่ใจ เช่นถ้าเศร้าก็ปลอบ ถ้ากลัวก็พูดหรือยิ้มแสดงสีหน้าให้อุ่นใจ ถ้าโกรธออกงิ้วก็ให้วางเฉยเสียอย่าไปสนองตอบใดๆ
2.3 อย่าให้ดูทีวีที่เป็นเรื่องเอะอะมะเทิ่งรุนแรง หรือนางเอกแสดงอารมณ์แว้ด แว้ด..ด เพราะบางครั้งผู้ป่วยสมองเสื่อมจะ "เล่นด้วย" กับเรื่องในทีวี.โดยแยกไม่ออกว่าอะไรเป็นเรื่องจริง อะไรเป็นแค่นิยายน้ำเน่า
3. หลักการสื่อสารกับผู้ป่วยสมองเสื่อม
3.1 การจะให้คนสมองเสื่อมสนใจว่าเราจะพูดกับท่าน เราควรจะเข้าไปหาท่านทางด้านหน้า อย่าพูดแบบอยู่คนละห้องหรืออยู่ข้างๆ
3.2 ขึ้นต้นประโยคด้วยการแนะนำตัวเองอยู่ในทีทุกครั้ง สบตาทุกครั้งที่พูดกัน
3.3 พูดกับท่านแบบตัวต่อตัว อย่าพูดแบบวงสนทนา
3.4 จับมือท่านบีบเวลาพูด เพื่อให้ท่านสนใจว่าเรากำลังพูดด้วย
3.5 ใช้คำง่ายๆ สั้นๆ พูดเป็นประโยคสั้นๆ พูดซ้ำๆถ้าจำเป็น เวลาท่านพูดมา หากไม่สมบูรณ์เราก็ต่อเสียให้สมบูรณ์ โดยไม่ตำหนิ
3.6 อย่าทำเสียงสูง อย่าทำเสียงดัง อย่าตะคอก ใจเย็นๆ
3.7 อย่าถามคำถามที่ท้าทายให้รื้อฟื้นความจำในอดีต เพราะจะก่อความรู้สึกว่าท่านถูกดูถูกได้ หรือไม่ก็นำไปสู่การทะเลาะกัน ถ้าท่านจำไม่ได้แล้วแต่งเรื่องใหม่ขึ้นมาแทน ก็แค่แสดงให้ท่านรู้ว่าเราเข้าใจ และเพียงแค่ทบทวนประเด็นสำคัญให้ท่านทราบโดยไม่ให้เสียหน้าก็พอแล้ว
3.8 ถ้าจะให้ท่านทำอะไรแล้วท่านไม่เอาด้วย เราก็ต้องยอมรับว่าท่านยังไม่ร่วมมือ อย่าฝืน อย่าสั่ง อย่าเร่ง
3.9 พูดอะไรกับท่านให้เจาะจง อย่าพูดกว้างๆ อย่าตีวัวกระทบคราด
3.10 ใช้หลักการสอนทักษะ เมื่อจะสอนให้ทำอะไรที่ท่านลืมวิธีทำไปแล้ว กล่าวคือเอางานที่จะสอนให้ทำมาแตกย่อยเป็นขั้นเป็นตอน สาธิตภาพรวมให้ดูก่อน แล้วสาธิตการทำจริงแยกทีละขั้น แล้วให้ทำตามทีละขั้น แล้วให้ท่านทำใหม่เองตั้งแต่ต้นจนจบ สรุปตบท้ายเมื่อทำเสร็จแล้ว ให้คำชมเมื่อทำได้สำเร็จ สอนด้วยน้ำเสียงที่อบอุ่น
3.11 ตอกย้ำจุดแข็ง ไม่ใช่จุดอ่อนของท่าน โฟกัสที่ความสำเร็จ ไม่ใช่ความล้มเหลว
3.12 แกล้งโง่เสียบ้าง ถ้าท่านว่าเราผิด อย่าเถียง พูดว่า “หนูขอโทษ” จะดีกว่า แม้ว่าเราจะไม่ได้ทำผิดก็ตาม การเถียงเพื่อให้คนสมองเสื่อมยอมรับความเสื่อมของตัวเองนั้น เป็นการพาท่านไปโฟกัสที่จุดอ่อนของท่าน ซึ่งมีแต่จะทำให้อาการของท่านแย่ลงและเป็นภาระให้เรามากขึ้น
3.15 อินไปกับเรื่องที่ท่านเล่า สนใจฟัง พูดเสริมตรงที่เป็นข้อมูลความจริง ตรงไหนไม่จริงอย่าขัด แม้บางครั้งจะเป็นเรื่องโกหกชัดๆ แต่คนสมองเสื่อมจำเรื่องราวได้กระท่อนกระแท่นและจำเป็นต้องแต่งส่วนที่ขาดหายไปเสริมเข้ามาใหม่เพื่อให้สื่อสารกับคนอื่นได้ หากไปขัดคอ การสื่อสารก็จะมีแต่ลดน้อยลง
3.16. อย่าให้ข้อมูลมาก ยิ่งให้ข้อมูลมาก คนเป็นโรคสมองเสื่อมยิ่งย่อยข้อมูลยาก เวลาสนทนาให้แต่ข้อมูลที่จำเป็น และทำให้ข้อมูลนั้นเข้าใจง่าย เจาะทีละหนึ่งประเด็น เมื่อเข้าใจประเด็นแรกดีแล้ว จึงค่อยไปประเด็นที่สอง
3.17 อย่าไปคาดหวังว่าท่านจะจำหรือทำอะไรได้มากมาย
3.18 ยืนหยัดเคารพนับถือท่านอยู๋อย่างจริงใจ อย่านินทาท่านทั้งๆที่ท่านก็นั่งอยู่ตรงนั้น
4. การป้องกันผู้ดูแลไม่ให้บ้า
เป็นเหตุการณ์ปกติที่ผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมจำนวนหนึ่งจบลงด้วยการที่ตัวเองเครียด หรือป่วยซะอีกคน ผมแนะนำคุณในฐานะตัวผู้ดูแล ว่า
4.1 ฝึกวิชาหูทวนลม ถ้ายังไม่สำเร็จวิชานี้ก็เอาปลั๊กหรือสำลีอุดหูซะ
4.2 ความรับผิดชอบของคุณในฐานะผู้ดูแล (caregiver) คือรับผิดชอบต่อตัวคุณเองก่อน ไม่ให้กายหรือใจของคุณป่วย ดังนั้นหมั่นเติมพลังให้ตัวเอง ออกกำลังกายทุกวัน ดูแลโภชนาการตัวเองให้ดี กินผักและผลไม้แยะๆ ไม่ใช่เอาแต่ต้มมาม่ากิน นั่งสมาธิให้ผ่อนคลายทุกวันด้วย
4.3 รู้จักพักเอาแรง จัดเวลาและสถานที่ให้คุณได้อยู่กับตัวเอง ผ่อนคลาย นั่งสมาธิ สิ่งนี้คุณต้องจงใจทำให้ได้ทุกวัน ถ้าคุณไม่เรียนรู้ที่จะจัดเวลานอก ความคับข้องใจจะสะสมจนถึงระดับเดือดพล่านในที่สุด
4.4 ตั้งทีมของคุณขึ้นมา อย่ารับเละอยู่คนเดียว พี่น้องมีหลายคนก็ช่วยกัน ใครช่วยอะไรมาก็รับไว้
4.5 ขยันมองหาว่าภาวะซึมเศร้ามาเยือนคุณหรือเปล่า อย่าลังเลที่จะหาหมอถ้าสงสัย
คุณมีภาระอันหนักหนาสาหัส ผมรู้..แต่ช่วยคุณได้แค่นี้จริงๆ
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์