ไหนๆมันจะเป็นเงินกงเต๊กอยู่แล้ว จะไปสงวนเงินสดสุดชีวิตทำไม
คุณหมอสันต์ครับ
ผมอ่าน (https://visitdrsant.blogspot.com/2020/04/19.html) ที่คุณหมอว่ารัฐบาลอเมริกันพิมพ์เงินออกมามากจนเงินจะกลายเป็นแบงค์กงเต๊ก ก็ในเมื่อมันจะกลายเป็นแบงค์กงเต๊กอยู่แล้ว คุณหมอจะแนะนำให้คนที่มีเงินน้อยอย่างเราสงวนเงินสดสุดชีวิตไปทำไมละครับ รีบใช้ๆมันไปเสียก่อนที่มันจะกลายเป็นเงินกงเต๊กไม่ดีกว่าหรือครับ
................................................................
ตอบครับ
ผมไม่อยากให้บล็อกนี้เป็นที่คุยกันเรื่องเงินทองและการทำมาหากินนะครับ เพราะไม่ใช่เรื่องที่ผมมีความรู้ ผมจึงตอบไปตามคอมมอนเซ้นส์หรือสามัญสำนึกแบบไม่มีกรอบของหลักวิชา ซึ่งการตอบแบบลูกทุ่งลุ่นๆอย่างนี้อาจทำให้ผมถูกตื้บได้ แค่ตอบครั้งที่แล้วไปครั้งเดียวก็มีความเห็นจากท่านผู้อ่านจากแวดวงธนาคารว่าคุณหมอแนะนำให้คนหยุดชำระหนี้อย่างนี้จะไม่ดีกระมัง ดังนั้นผมขอตอบจดหมายเรื่องเงินทองและการทำมาหากินฉบับนี้เป็นครั้งสุดท้ายเพราะจดหมายนี้สืบเนื่องมาจากบทความที่แล้ว ต่อไปจะไม่พูดถึงเรื่องนี้อีกแล้ว เพราะผมต้องการให้บล็อกของผมเป็นที่ตอบจดหมายเพื่อช่วยให้คนดูแลสุขภาพของตัวเองได้ด้วยตัวเอง อันเป็นเรื่องที่ผมถนัดและจะช่วยผู้คนได้อย่างเป็นเนื้อเป็นหนังมากกว่า
เอาละ ตอบจดหมายของคุณว่า..คือเงินนั้นมันเป็นสิ่งที่วิ่งเข้าหาคนรวยแต่วิ่งหนีคนจน
ถ้าเราดูในอเมริกา คนรวยนั้นเครดิตเขาดี เขาจึงได้เงินจำนวนมากๆมาฟรีๆ อยากได้เท่าไหร่เขาก็จะได้ ในรูปของซอฟท์โลน คือเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ แล้วคุณอย่าไปคิดว่าเงินกู้ของคนรวยนี้เขาจะใช้คืนนะ ไม่หรอก เขากู้ไปแล้วเขาเอาเงินไปใช้ลงทุนเลยโดยไม่คิดจะใช้คืน เพราะเขาใช้เงินต่อเงิน หมดท่าเขาก็ออกเครดิตในรูปของหุ้นกู้หรือบอนด์ ก็คือสร้างหนี้ใหม่ต่อเพื่อเอาเงินสดมาใช้มากขึ้นอีก จนท้ายที่สุดของที่สุดเมื่อบริษัทของคนรวยจะล้ม รัฐก็จะพิมพ์แบงค์กงเต๊กมาอุ้มกิจการของเขาในรูปของการให้ธนาคารกลางเข้ามาซื้อหุ้นกู้ซึ่งเป็นหนี้เน่าของบริษัทใหญ่ๆไว้ทั้งหมด ก็แปลว่าหนี้ที่คนรวยก่อขึ้นไม่รู้กี่รอบต่อกี่รอบนั้นท้ายที่สุดเขาไม่ต้องเอาเงินสดมาใช้คืน ดังนั้นคนรวยเขาใช้ชีวิตแบบเป็นนายของเงิน เขาก่อหนี้ เขาก็ไม่ต้องใช้คืน นี่เป็นสิ่งที่เป็นอยู่ในอเมริกานะ
แต่ชีวิตคนจนมันเป็นหนังคนละเรื่อง คนจนใช้ชีวิตแบบเป็นทาสของเงิน เพราะคนจนดำรงชีวิตอยู่ไม่ได้ถ้าไม่มีเงิน บ้านต้องเช่า ข้าวต้องซื้อ ผักสักต้นต้องซื้อเขากิน น้ำเปล่าเพื่อดื่มสักขวดหนึ่งก็ต้องไปซื้อเขาดื่ม หากไม่มีเงินแค่ร้อยบาทก็ต้องอดข้าวอดน้ำ
ดังนั้นคนจนเมื่อถูกเลิกจ้างงานหากคิดจะมีอิสระภาพก็ต้องหาวิธีดำรงชีวิตอยู่โดยเป็นอิสระจากเงินให้ได้ก่อน คือต้องอยู่แบบไม่ต้องไปง้อซื้ออะไรจากใคร บ้านก็ไม่ต้องเช่าเขา อาหารก็จำกัดการซื้อเขาเฉพาะที่จำเป็นสุดๆจริงๆ เสื้อผ้า เครื่องประดับ รถรา มอไซค์ ทีวี เครื่องเสียง ซึ่งเป็นส่วนเกินของความจำเป็นพื้นฐานก็ไม่ต้องไปซื้อหา มันจะเป็นชีวิตใหม่ในรูปแบบพออยู่พอกินและพึ่งตัวเองได้โดยไม่ต้องไปง้อซื้อหรือขายอะไรกับใคร คนที่ไม่มีที่ดินของตัวเองแต่พอมีเงินจะซื้อที่ดินได้ผมก็แนะนำให้ซื้อที่ดินทำกินผืนเล็กๆสักงานสองงานในต่างจังหวัดไว้เพื่อการเริ่มต้นการมีชีวิตอยู่แบบพออยู่พอกิน คนที่ไม่มีที่ดินและไม่มีปัญญาซื้อที่ดินก็ไปขอแหมะอยู่ท้ายสวนของคนรู้จักหรือขอเช่าเขาถูกๆสักหนึ่งงานเพื่อเริ่มต้นการมีชีวิตแบบพออยู่พอกิน การทำอย่างนี้มันไม่ใช่การทำอาชีพนะ มันเป็นการใช้ชีวิตในแบบที่เป็นไปได้อย่างมีความสุขตามอัตภาพโดยไม่ต้องมีอาชีพอะไร แต่ขอให้สงวนเงินสดที่มีอยู่ไว้สุดชีวิต ไม่ยุ่งกับเงินกู้นอกระบบเด็ดขาดเพราะจะเป็นการชักนำเภทภัยเข้ามาสู่ตัวเอง ไม่สร้างหนี้ใหม่กับสถาบันการเงินใดๆแม้ว่าเขาจะมาชักชวนหรือเอาดอกถูกมาล่อก็อย่าหลงกล ส่วนหนี้เก่าหากมีอยู่ก็หยุดการชำระเสียดื้อๆทั้งต้นและดอกโดยบอกเขาไปตรงๆว่าเราไม่มีเงิน เรากำลังจะตั้งต้นชีวิตใหม่ หากลืมตาอ้าปากได้เราจะกลับมาชำระให้หมดภายหลัง แต่ตอนนี้ตกงานแล้วต้องหยุดชำระหนี้อย่างเดียว
ในช่วงแรกของการจะตั้งตัวให้อยู่ได้ด้วยตัวเองโดยเป็นอิสระจากเงินนี้มันเป็นช่วงที่ต้องใช้เงินในกรณีจำเป็น เช่นการสร้างเพิงที่อยู่อาศัยของตัวเองเพื่อจะได้ไม่ต้องไปเช่าเขาก็ต้องใช้เงิน การเริ่มต้นผลิตอาหารกินเองเพื่อจะได้ไม่ต้องซื้อเขากินทุกมื้อก็ต้องใช้เงินตั้งต้น แม้ในการดำรงชีวิตแบบพออยู่พอกินในระยะยาวเองมันก็ยังต้องอาศัยเงินในบางเรื่องบางครั้งเหมือนกัน นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมเราจึงต้องสงวนเงินสดสุดชีวิต ที่ว่าสุดชีวิตนี้ไม่ใช่ว่าจะเป็นเงินสดมากมายอะไรนะ เพราะสถิติของธนาคารประเทศไทยพบว่าคนไทย 80% มีเงินสดฝากแบงค์ไว้ไม่ถึง 5 หมื่นบาท เงินแค่ไม่ถึง 5 หมื่นบาทแค่นี้แหละที่ผมบอกว่าต้องสงวนไว้สุดชีวิต ในตอนนี้อย่าเอาเงินนี้ไปซื้ออะไรที่มันไม่จำเป็น สงวนเอาไว้เป็นทุนสร้างชีวิตใหม่
สำหรับท่านผู้อ่านท่านอื่นอาจมองว่าหมอสันต์ทำไมแนะนำให้คนทิ้งความรับผิดชอบ ผมตอบว่านี่มันเป็นการหนีตายจากวิกฤติเฉพาะหน้าเพื่อความอยู่รอดของตัวเองและครอบครัว เมื่อคนจนหนีตายด้วยการหยุดการชำระหนี้ไม่มีใครเดือดร้อนมากมากดอก แบ้งค์อย่างมากก็มียอดหนี้สูญเพิ่มขึ้น ซึ่งในที่สุดรัฐก็จะเอาเงินภาษีมาซื้อหนี้สูญนั้นไป ดังนั้นการหยุดจ่ายต้นจ่ายดอกเป็นยุทธวิธีแก้ปัญหาที่นุ่มนวลที่สุดแล้วเท่าที่ผมคิดได้สำหรับสังคมที่มีปริมาณคนตกงานบานเบอะอย่างตอนนี้ แล้วอีกอย่างหนึ่ง เงินนั้นมันเป็นเพียงมายานะครับ เป็นเพียงสิ่งสมมุติที่ผู้คนยอมรับเอาเป็นสื่อในการแลกเปลี่ยนข้าวปลาอาหารและของใช้ สมัยก่อนเราใช้ดินเผาบ้าง กาบหอยบ้างทำเป็นเงิน อย่าไปหลงบูชาเงินว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นหนี้เขาแล้วไม่มีเงินชดใช้ต้องซีเรียสจริงจังถึงขั้นฆ่าตัวตาย ผมเคยเป็นนักเรียนเกษตร ปรมาจารย์ของวิชาเกษตรท่านหนึ่งคือท่านสิทธิพร กฤดากร ซึ่งท่านพูดว่า
"เงินทองเป็นมายา ข้าวปลาเป็นของจริง"
เมื่ออยู่แบบพออยู่พอกินได้สำเร็จแล้ว คราวนี้ชีวิตมันก็จะฉลุย เงินมันจะไม่ใช่นายของเราอีกต่อไปแล้ว ตราบใดที่เราไม่เผลอโลภมากไปสร้างหนี้ขึ้นมาใหม่อีก เงินมันจะค่อยๆวิ่งเข้ามาหาเราเองทีละเล็กทีละน้อยจากการขายสิ่งที่เหลือใช้จากการใช้ชีวิตแบบพออยู่พอกิน และเมื่อเราตั้งหลักอยู่ได้ด้วยตัวเองแล้ว เราก็จะมีพลังงานเหลือไปร่วมมือกับเพื่อนๆผู้มีอุดมการณ์เดียวกันเพื่อช่วยกันคิดช่วยกันทำอะไรร่วมกันในลักษณะที่จะทำให้การซื้อขายแลกเปลี่ยนผลิตผลส่วนเกินของเราเป็นไปได้ง่ายขึ้น เงินมันก็ค่อยๆวิ่งเข้ามาหาเรามากขึ้นๆ
แต่หากเราเผลอไปสร้างหนี้ขึ้นมาใหม่ วงจรชั่วร้ายก็จะกลับมาหาเราใหม่อีกทันทีนะ เพราะในการบี้ให้มีการชำระหนี้นั้น คนจนจะถูกบี้แบบสุดๆก่อนเขาเพื่อน เพราะคนรวยใช้ยุทธศาสตร์บี้เอาการชำระหนี้จากคนจนเพื่ออาศัยการบี้นี้เป็นการตีวัวกระทบคราดบีบให้รัฐมาอุ้มหนี้ให้คนรวย เพราะรู้อยู่แก่ใจว่าหากคนจนอยู่ไม่ได้รัฐก็จะอยู่ไม่ได้ทำให้ท้ายที่สุดรัฐก็จำต้องอุ้มคนรวยเพื่อให้คนรวยอวยหนี้ให้กับคนจน อวยนี้ไม่ได้หมายความว่ายกให้เลิกเลยนะ อย่างดีก็แค่ผ่อนปรนรอจังหวะที่จะบี้กันต่ออีกเมื่อคนจนพอจะมีเงินจ่าย ดังนั้นเมื่อใดที่เป็นหนี้เขา เมื่อนั้นก็จะไม่มีวันได้อยู่อย่างสงบสุข ต้องรอเงินกงเต๊กที่รัฐอาจจะพิมพ์แจกคนจนเป็นพักๆซึ่งก็ทั่วถึงบ้างไม่ทั่วถึงบ้าง หรือไม่ก็รอวันที่คนจนพากันลุกฮือขึ้นมาโค่นล้มระบบสังคมที่ไม่มีการแบ่งเฉลี่ยกันนี้ลงไปเสีย หากไม่มีวันนั้น ก็อย่าหวังว่าชีวิตของคนจนที่เป็นหนี้เขาจะได้อยู่อย่างสงบสุข
แต่คุณอย่าไปหวังว่าวันแห่งการโค่นล้มระบบสังคมเก่านั้นจะมาถึงเร็ว หรือมันอาจไม่มาเลยก็ได้แม้ว่าจะมีนักการเมืองจำนวนหนึ่งเร่งให้มันให้เกิดขึ้นเร็วๆเพื่อสนองตัณหาส่วนตนของพวกเขา เพราะสังคมมนุษย์มันมีธรรมชาติว่าขณะที่การเปลี่ยนแปลงดำเนินไปมันจะมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์มีนวัตกรรมในการแก้ปัญหาแบบใหม่ๆเกิดขึ้นตลอดเวลา และในหมู่คนรวยมันก็ไม่ใช่จะมีแต่คนเห็นแก่ตัวไปเสียทั้งหมด 100% คนรวยที่ตั้งใจจะเปิดช่องทางแบ่งปันให้คนจนก็มีแยะซึ่งส่วนนี้จะเป็นเซฟตี้วาลว์ช่วยปลดปล่อยความอัดอั้นได้ ดังนั้นหากคุณเป็นคนจนที่ฝันถึงวันที่คนจนจะลุกฮือขึ้นโค่นล้มระบบเก่าพร้อมๆกัน วันนั้นมันอาจไม่เกิดขึ้นง่ายๆนะ
ดังนั้นยามนี้การสงวนเงินสดสุดชีวิตเพื่อเอาเงินนั้นมาตั้งต้นสร้างชีวิตใหม่ของตัวเองในรูปแบบที่พออยู่พอกินและเป็นอิสระจากเงินย่อมเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดที่คนจนคนหนึ่งซึ่งถูกเลิกจ้างงานพึงจะทำได้ ส่วนคนที่มีเงินมากหรือคนมีเงินสดแยะ ซึ่งผมนิยามว่าคือคนที่มีเงินฝากแบงค์มากกว่า 5 หมื่นบาทขึ้นไป ณ ตอนนี้ คนกลุ่มนั้นเป็นคนส่วนน้อยแค่ 20% ของประเทศไทย เขาจะใช้ชีวิตอย่างไรก็ช่างเขาเถอะ เราซึ่งเป็นคนมีเงินสดน้อยและกำลังตกงาน อย่าไปเอาอย่างเขาเลย
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
...........................................................
จดหมายจากท่านผู้อ่าน
อันนี้ดิฉันเห็นต่างนะค่ะ ชอบและติดตามคุณหมอมาตลอดค่ะ คิดว่ามนุษย์เป็นสังคมที่ต้องพึ่งพากัน มีอาชีพหลากหลายกันไป เพื่อเพิ่มเติมซึ่งกันและกัน แต่ละคนมีความสนใจและพรสวรรค์ต่างกัน ก็ควรมุ่งทำให้ดีที่สุด ลดค่านิยมฟุ้งเฟ้อ รับผิดชอบในการกระทำ น่าจะช่วยได้บ้างนะค่ะ
ตอบครับ
ขอบพระคุณครับ
ผมไม่ได้ปฏิเสธหลักพื้นฐานของสังคมอันไพบูลย์ในปัจจุบันซึ่งประกอบด้วย
(1) division of labor แยกกันทำตามความชำนาญ
(2) economy of scale ยิ่งทำเรื่องเดียวให้ใหญ่ๆให้แยะๆยิ่งทำได้ดี
(3) capital credit access อาศัยอำนาจของเงินทุนในการทำการ
แน่นอนแนวทางสามอย่างนี้เวอร์คสำหรับคนที่พัฒนาตัวเองมาจนมีความรู้ความชำนาญเฉพาะด้านและใช้ความชำนาญนั้นหาเงินได้มากพอซื้อสิ่งอื่นที่เราไม่มีเวลาหรือไม่มีความชำนาญในการผลิตมาใช้ (ตราบใดความชำนาญของเรายังมีคนจ้างหรือของอย่างเดียวที่เราผลิตยังมีคนซื้อ) ผมไม่ได้ต่อต้านเลย ผมเองก็ใช้ชีวิต 80% อยู่ในแนวทางสามอย่างนี้
แต่ทำไมผมตอบคำถามในทิศทางตรงกันข้ามกับแนวทางทั้งสามนี้ ก็เพราะผมตอบคำถามให้น้องซึ่งตกงานและไม่มีวี่แววว่าเมื่อไหร่จะมีคนจ้างทำงานอีก ไม่มีความชำนาญพิเศษอะไรที่จะไปหาผู้ว่าจ้างใหม่ และไม่มีเครดิตที่จะกู้เงินมาลงทุนทำอะไรของตัวเอง ผมตอบคนที่อยู่ในที่นั่งอย่างนี้ ว่าตกที่นั่งอย่างนี้แล้วไม่ได้หมายความว่าจะหมดโอกาสมีชีวิตที่ดี ยัง..มันยังไม่หมดโอกาส มันยังมีโอกาสจะมีชีวิตที่ดี ชีวิตที่ดีมากๆด้วย นั่นก็คือวิธีที่ผมแนะนำนั่นแหละ
บางท่านเขียนมาแย้งว่าผมเรียนเกษตรมาจึงเห็นการทำเกษตรเป็นของง่าย คนอื่นไม่เคยเรียนมาจะไปทำได้อย่างไร ตรงนี้ผมยอมรับว่าการเกษตรมันก็มี know how ของมัน แต่อย่าลืมว่าโคตรเหง้าศักราชของไทยเราเป็นชุมชนกสิกรรมนะครับ และโชคดีที่ระบบสังคมแบบใหม่นี้ยังไม่ได้ทำลายภูมิปัญญาดั้งเดิมของไทยเราไปเสียหมดเกลี้ยง มันยังพอเหลือซากให้ขุดคุ้ยได้ เปิดยูทูปก็จะเห็นแหล่งความรู้ในรูปของปราชญ์ชาวบ้านให้ความรู้ฟรีเยอะแยะ ไม่ได้หมายความว่าทำตามนั้นจะได้ตามนั้น แต่หมายความว่าเราไม่ถึงกับต้องไปเริ่มต้นจากจุดที่ไม่รู้อะไรเลย การเกษตรคุณค่าของมันอยู่ที่การได้เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา และเป็นการเรียนรู้ธรรมชาติที่ยิ่งเรียนก็ยิ่งสนุก ดังนั้นอย่าเอาความไม่รู้หรือไม่เดียงสาทางการเกษตรมาเป็นกำแพงความกลัวกั้นไม่ให้กล้าเริ่มต้นชีวิตใหม่ซึ่งเป็นชีวิตจริง ชีวิตจริงไม่มีล้มเหลว มีแต่ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ แล้วในการใช้ชีวิตแบบพึ่งตัวเองเพื่อให้แค่พออยู่พอกิน ทำอะไรล้มเหลวมา อย่างมากก็เสียแรงงานของเราเอง ซึ่งก็คือการได้ออกกำลังกายโดยไม่ต้องเสียเงินค่าเข้ายิม ไม่มีอะไรน่ากลัว
สันต์
ผมอ่าน (https://visitdrsant.blogspot.com/2020/04/19.html) ที่คุณหมอว่ารัฐบาลอเมริกันพิมพ์เงินออกมามากจนเงินจะกลายเป็นแบงค์กงเต๊ก ก็ในเมื่อมันจะกลายเป็นแบงค์กงเต๊กอยู่แล้ว คุณหมอจะแนะนำให้คนที่มีเงินน้อยอย่างเราสงวนเงินสดสุดชีวิตไปทำไมละครับ รีบใช้ๆมันไปเสียก่อนที่มันจะกลายเป็นเงินกงเต๊กไม่ดีกว่าหรือครับ
................................................................
ตอบครับ
ผมไม่อยากให้บล็อกนี้เป็นที่คุยกันเรื่องเงินทองและการทำมาหากินนะครับ เพราะไม่ใช่เรื่องที่ผมมีความรู้ ผมจึงตอบไปตามคอมมอนเซ้นส์หรือสามัญสำนึกแบบไม่มีกรอบของหลักวิชา ซึ่งการตอบแบบลูกทุ่งลุ่นๆอย่างนี้อาจทำให้ผมถูกตื้บได้ แค่ตอบครั้งที่แล้วไปครั้งเดียวก็มีความเห็นจากท่านผู้อ่านจากแวดวงธนาคารว่าคุณหมอแนะนำให้คนหยุดชำระหนี้อย่างนี้จะไม่ดีกระมัง ดังนั้นผมขอตอบจดหมายเรื่องเงินทองและการทำมาหากินฉบับนี้เป็นครั้งสุดท้ายเพราะจดหมายนี้สืบเนื่องมาจากบทความที่แล้ว ต่อไปจะไม่พูดถึงเรื่องนี้อีกแล้ว เพราะผมต้องการให้บล็อกของผมเป็นที่ตอบจดหมายเพื่อช่วยให้คนดูแลสุขภาพของตัวเองได้ด้วยตัวเอง อันเป็นเรื่องที่ผมถนัดและจะช่วยผู้คนได้อย่างเป็นเนื้อเป็นหนังมากกว่า
เอาละ ตอบจดหมายของคุณว่า..คือเงินนั้นมันเป็นสิ่งที่วิ่งเข้าหาคนรวยแต่วิ่งหนีคนจน
ถ้าเราดูในอเมริกา คนรวยนั้นเครดิตเขาดี เขาจึงได้เงินจำนวนมากๆมาฟรีๆ อยากได้เท่าไหร่เขาก็จะได้ ในรูปของซอฟท์โลน คือเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ แล้วคุณอย่าไปคิดว่าเงินกู้ของคนรวยนี้เขาจะใช้คืนนะ ไม่หรอก เขากู้ไปแล้วเขาเอาเงินไปใช้ลงทุนเลยโดยไม่คิดจะใช้คืน เพราะเขาใช้เงินต่อเงิน หมดท่าเขาก็ออกเครดิตในรูปของหุ้นกู้หรือบอนด์ ก็คือสร้างหนี้ใหม่ต่อเพื่อเอาเงินสดมาใช้มากขึ้นอีก จนท้ายที่สุดของที่สุดเมื่อบริษัทของคนรวยจะล้ม รัฐก็จะพิมพ์แบงค์กงเต๊กมาอุ้มกิจการของเขาในรูปของการให้ธนาคารกลางเข้ามาซื้อหุ้นกู้ซึ่งเป็นหนี้เน่าของบริษัทใหญ่ๆไว้ทั้งหมด ก็แปลว่าหนี้ที่คนรวยก่อขึ้นไม่รู้กี่รอบต่อกี่รอบนั้นท้ายที่สุดเขาไม่ต้องเอาเงินสดมาใช้คืน ดังนั้นคนรวยเขาใช้ชีวิตแบบเป็นนายของเงิน เขาก่อหนี้ เขาก็ไม่ต้องใช้คืน นี่เป็นสิ่งที่เป็นอยู่ในอเมริกานะ
แต่ชีวิตคนจนมันเป็นหนังคนละเรื่อง คนจนใช้ชีวิตแบบเป็นทาสของเงิน เพราะคนจนดำรงชีวิตอยู่ไม่ได้ถ้าไม่มีเงิน บ้านต้องเช่า ข้าวต้องซื้อ ผักสักต้นต้องซื้อเขากิน น้ำเปล่าเพื่อดื่มสักขวดหนึ่งก็ต้องไปซื้อเขาดื่ม หากไม่มีเงินแค่ร้อยบาทก็ต้องอดข้าวอดน้ำ
ดังนั้นคนจนเมื่อถูกเลิกจ้างงานหากคิดจะมีอิสระภาพก็ต้องหาวิธีดำรงชีวิตอยู่โดยเป็นอิสระจากเงินให้ได้ก่อน คือต้องอยู่แบบไม่ต้องไปง้อซื้ออะไรจากใคร บ้านก็ไม่ต้องเช่าเขา อาหารก็จำกัดการซื้อเขาเฉพาะที่จำเป็นสุดๆจริงๆ เสื้อผ้า เครื่องประดับ รถรา มอไซค์ ทีวี เครื่องเสียง ซึ่งเป็นส่วนเกินของความจำเป็นพื้นฐานก็ไม่ต้องไปซื้อหา มันจะเป็นชีวิตใหม่ในรูปแบบพออยู่พอกินและพึ่งตัวเองได้โดยไม่ต้องไปง้อซื้อหรือขายอะไรกับใคร คนที่ไม่มีที่ดินของตัวเองแต่พอมีเงินจะซื้อที่ดินได้ผมก็แนะนำให้ซื้อที่ดินทำกินผืนเล็กๆสักงานสองงานในต่างจังหวัดไว้เพื่อการเริ่มต้นการมีชีวิตอยู่แบบพออยู่พอกิน คนที่ไม่มีที่ดินและไม่มีปัญญาซื้อที่ดินก็ไปขอแหมะอยู่ท้ายสวนของคนรู้จักหรือขอเช่าเขาถูกๆสักหนึ่งงานเพื่อเริ่มต้นการมีชีวิตแบบพออยู่พอกิน การทำอย่างนี้มันไม่ใช่การทำอาชีพนะ มันเป็นการใช้ชีวิตในแบบที่เป็นไปได้อย่างมีความสุขตามอัตภาพโดยไม่ต้องมีอาชีพอะไร แต่ขอให้สงวนเงินสดที่มีอยู่ไว้สุดชีวิต ไม่ยุ่งกับเงินกู้นอกระบบเด็ดขาดเพราะจะเป็นการชักนำเภทภัยเข้ามาสู่ตัวเอง ไม่สร้างหนี้ใหม่กับสถาบันการเงินใดๆแม้ว่าเขาจะมาชักชวนหรือเอาดอกถูกมาล่อก็อย่าหลงกล ส่วนหนี้เก่าหากมีอยู่ก็หยุดการชำระเสียดื้อๆทั้งต้นและดอกโดยบอกเขาไปตรงๆว่าเราไม่มีเงิน เรากำลังจะตั้งต้นชีวิตใหม่ หากลืมตาอ้าปากได้เราจะกลับมาชำระให้หมดภายหลัง แต่ตอนนี้ตกงานแล้วต้องหยุดชำระหนี้อย่างเดียว
ในช่วงแรกของการจะตั้งตัวให้อยู่ได้ด้วยตัวเองโดยเป็นอิสระจากเงินนี้มันเป็นช่วงที่ต้องใช้เงินในกรณีจำเป็น เช่นการสร้างเพิงที่อยู่อาศัยของตัวเองเพื่อจะได้ไม่ต้องไปเช่าเขาก็ต้องใช้เงิน การเริ่มต้นผลิตอาหารกินเองเพื่อจะได้ไม่ต้องซื้อเขากินทุกมื้อก็ต้องใช้เงินตั้งต้น แม้ในการดำรงชีวิตแบบพออยู่พอกินในระยะยาวเองมันก็ยังต้องอาศัยเงินในบางเรื่องบางครั้งเหมือนกัน นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมเราจึงต้องสงวนเงินสดสุดชีวิต ที่ว่าสุดชีวิตนี้ไม่ใช่ว่าจะเป็นเงินสดมากมายอะไรนะ เพราะสถิติของธนาคารประเทศไทยพบว่าคนไทย 80% มีเงินสดฝากแบงค์ไว้ไม่ถึง 5 หมื่นบาท เงินแค่ไม่ถึง 5 หมื่นบาทแค่นี้แหละที่ผมบอกว่าต้องสงวนไว้สุดชีวิต ในตอนนี้อย่าเอาเงินนี้ไปซื้ออะไรที่มันไม่จำเป็น สงวนเอาไว้เป็นทุนสร้างชีวิตใหม่
สำหรับท่านผู้อ่านท่านอื่นอาจมองว่าหมอสันต์ทำไมแนะนำให้คนทิ้งความรับผิดชอบ ผมตอบว่านี่มันเป็นการหนีตายจากวิกฤติเฉพาะหน้าเพื่อความอยู่รอดของตัวเองและครอบครัว เมื่อคนจนหนีตายด้วยการหยุดการชำระหนี้ไม่มีใครเดือดร้อนมากมากดอก แบ้งค์อย่างมากก็มียอดหนี้สูญเพิ่มขึ้น ซึ่งในที่สุดรัฐก็จะเอาเงินภาษีมาซื้อหนี้สูญนั้นไป ดังนั้นการหยุดจ่ายต้นจ่ายดอกเป็นยุทธวิธีแก้ปัญหาที่นุ่มนวลที่สุดแล้วเท่าที่ผมคิดได้สำหรับสังคมที่มีปริมาณคนตกงานบานเบอะอย่างตอนนี้ แล้วอีกอย่างหนึ่ง เงินนั้นมันเป็นเพียงมายานะครับ เป็นเพียงสิ่งสมมุติที่ผู้คนยอมรับเอาเป็นสื่อในการแลกเปลี่ยนข้าวปลาอาหารและของใช้ สมัยก่อนเราใช้ดินเผาบ้าง กาบหอยบ้างทำเป็นเงิน อย่าไปหลงบูชาเงินว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นหนี้เขาแล้วไม่มีเงินชดใช้ต้องซีเรียสจริงจังถึงขั้นฆ่าตัวตาย ผมเคยเป็นนักเรียนเกษตร ปรมาจารย์ของวิชาเกษตรท่านหนึ่งคือท่านสิทธิพร กฤดากร ซึ่งท่านพูดว่า
"เงินทองเป็นมายา ข้าวปลาเป็นของจริง"
เมื่ออยู่แบบพออยู่พอกินได้สำเร็จแล้ว คราวนี้ชีวิตมันก็จะฉลุย เงินมันจะไม่ใช่นายของเราอีกต่อไปแล้ว ตราบใดที่เราไม่เผลอโลภมากไปสร้างหนี้ขึ้นมาใหม่อีก เงินมันจะค่อยๆวิ่งเข้ามาหาเราเองทีละเล็กทีละน้อยจากการขายสิ่งที่เหลือใช้จากการใช้ชีวิตแบบพออยู่พอกิน และเมื่อเราตั้งหลักอยู่ได้ด้วยตัวเองแล้ว เราก็จะมีพลังงานเหลือไปร่วมมือกับเพื่อนๆผู้มีอุดมการณ์เดียวกันเพื่อช่วยกันคิดช่วยกันทำอะไรร่วมกันในลักษณะที่จะทำให้การซื้อขายแลกเปลี่ยนผลิตผลส่วนเกินของเราเป็นไปได้ง่ายขึ้น เงินมันก็ค่อยๆวิ่งเข้ามาหาเรามากขึ้นๆ
แต่หากเราเผลอไปสร้างหนี้ขึ้นมาใหม่ วงจรชั่วร้ายก็จะกลับมาหาเราใหม่อีกทันทีนะ เพราะในการบี้ให้มีการชำระหนี้นั้น คนจนจะถูกบี้แบบสุดๆก่อนเขาเพื่อน เพราะคนรวยใช้ยุทธศาสตร์บี้เอาการชำระหนี้จากคนจนเพื่ออาศัยการบี้นี้เป็นการตีวัวกระทบคราดบีบให้รัฐมาอุ้มหนี้ให้คนรวย เพราะรู้อยู่แก่ใจว่าหากคนจนอยู่ไม่ได้รัฐก็จะอยู่ไม่ได้ทำให้ท้ายที่สุดรัฐก็จำต้องอุ้มคนรวยเพื่อให้คนรวยอวยหนี้ให้กับคนจน อวยนี้ไม่ได้หมายความว่ายกให้เลิกเลยนะ อย่างดีก็แค่ผ่อนปรนรอจังหวะที่จะบี้กันต่ออีกเมื่อคนจนพอจะมีเงินจ่าย ดังนั้นเมื่อใดที่เป็นหนี้เขา เมื่อนั้นก็จะไม่มีวันได้อยู่อย่างสงบสุข ต้องรอเงินกงเต๊กที่รัฐอาจจะพิมพ์แจกคนจนเป็นพักๆซึ่งก็ทั่วถึงบ้างไม่ทั่วถึงบ้าง หรือไม่ก็รอวันที่คนจนพากันลุกฮือขึ้นมาโค่นล้มระบบสังคมที่ไม่มีการแบ่งเฉลี่ยกันนี้ลงไปเสีย หากไม่มีวันนั้น ก็อย่าหวังว่าชีวิตของคนจนที่เป็นหนี้เขาจะได้อยู่อย่างสงบสุข
แต่คุณอย่าไปหวังว่าวันแห่งการโค่นล้มระบบสังคมเก่านั้นจะมาถึงเร็ว หรือมันอาจไม่มาเลยก็ได้แม้ว่าจะมีนักการเมืองจำนวนหนึ่งเร่งให้มันให้เกิดขึ้นเร็วๆเพื่อสนองตัณหาส่วนตนของพวกเขา เพราะสังคมมนุษย์มันมีธรรมชาติว่าขณะที่การเปลี่ยนแปลงดำเนินไปมันจะมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์มีนวัตกรรมในการแก้ปัญหาแบบใหม่ๆเกิดขึ้นตลอดเวลา และในหมู่คนรวยมันก็ไม่ใช่จะมีแต่คนเห็นแก่ตัวไปเสียทั้งหมด 100% คนรวยที่ตั้งใจจะเปิดช่องทางแบ่งปันให้คนจนก็มีแยะซึ่งส่วนนี้จะเป็นเซฟตี้วาลว์ช่วยปลดปล่อยความอัดอั้นได้ ดังนั้นหากคุณเป็นคนจนที่ฝันถึงวันที่คนจนจะลุกฮือขึ้นโค่นล้มระบบเก่าพร้อมๆกัน วันนั้นมันอาจไม่เกิดขึ้นง่ายๆนะ
ดังนั้นยามนี้การสงวนเงินสดสุดชีวิตเพื่อเอาเงินนั้นมาตั้งต้นสร้างชีวิตใหม่ของตัวเองในรูปแบบที่พออยู่พอกินและเป็นอิสระจากเงินย่อมเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดที่คนจนคนหนึ่งซึ่งถูกเลิกจ้างงานพึงจะทำได้ ส่วนคนที่มีเงินมากหรือคนมีเงินสดแยะ ซึ่งผมนิยามว่าคือคนที่มีเงินฝากแบงค์มากกว่า 5 หมื่นบาทขึ้นไป ณ ตอนนี้ คนกลุ่มนั้นเป็นคนส่วนน้อยแค่ 20% ของประเทศไทย เขาจะใช้ชีวิตอย่างไรก็ช่างเขาเถอะ เราซึ่งเป็นคนมีเงินสดน้อยและกำลังตกงาน อย่าไปเอาอย่างเขาเลย
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
...........................................................
จดหมายจากท่านผู้อ่าน
อันนี้ดิฉันเห็นต่างนะค่ะ ชอบและติดตามคุณหมอมาตลอดค่ะ คิดว่ามนุษย์เป็นสังคมที่ต้องพึ่งพากัน มีอาชีพหลากหลายกันไป เพื่อเพิ่มเติมซึ่งกันและกัน แต่ละคนมีความสนใจและพรสวรรค์ต่างกัน ก็ควรมุ่งทำให้ดีที่สุด ลดค่านิยมฟุ้งเฟ้อ รับผิดชอบในการกระทำ น่าจะช่วยได้บ้างนะค่ะ
ตอบครับ
ขอบพระคุณครับ
ผมไม่ได้ปฏิเสธหลักพื้นฐานของสังคมอันไพบูลย์ในปัจจุบันซึ่งประกอบด้วย
(1) division of labor แยกกันทำตามความชำนาญ
(2) economy of scale ยิ่งทำเรื่องเดียวให้ใหญ่ๆให้แยะๆยิ่งทำได้ดี
(3) capital credit access อาศัยอำนาจของเงินทุนในการทำการ
แน่นอนแนวทางสามอย่างนี้เวอร์คสำหรับคนที่พัฒนาตัวเองมาจนมีความรู้ความชำนาญเฉพาะด้านและใช้ความชำนาญนั้นหาเงินได้มากพอซื้อสิ่งอื่นที่เราไม่มีเวลาหรือไม่มีความชำนาญในการผลิตมาใช้ (ตราบใดความชำนาญของเรายังมีคนจ้างหรือของอย่างเดียวที่เราผลิตยังมีคนซื้อ) ผมไม่ได้ต่อต้านเลย ผมเองก็ใช้ชีวิต 80% อยู่ในแนวทางสามอย่างนี้
แต่ทำไมผมตอบคำถามในทิศทางตรงกันข้ามกับแนวทางทั้งสามนี้ ก็เพราะผมตอบคำถามให้น้องซึ่งตกงานและไม่มีวี่แววว่าเมื่อไหร่จะมีคนจ้างทำงานอีก ไม่มีความชำนาญพิเศษอะไรที่จะไปหาผู้ว่าจ้างใหม่ และไม่มีเครดิตที่จะกู้เงินมาลงทุนทำอะไรของตัวเอง ผมตอบคนที่อยู่ในที่นั่งอย่างนี้ ว่าตกที่นั่งอย่างนี้แล้วไม่ได้หมายความว่าจะหมดโอกาสมีชีวิตที่ดี ยัง..มันยังไม่หมดโอกาส มันยังมีโอกาสจะมีชีวิตที่ดี ชีวิตที่ดีมากๆด้วย นั่นก็คือวิธีที่ผมแนะนำนั่นแหละ
บางท่านเขียนมาแย้งว่าผมเรียนเกษตรมาจึงเห็นการทำเกษตรเป็นของง่าย คนอื่นไม่เคยเรียนมาจะไปทำได้อย่างไร ตรงนี้ผมยอมรับว่าการเกษตรมันก็มี know how ของมัน แต่อย่าลืมว่าโคตรเหง้าศักราชของไทยเราเป็นชุมชนกสิกรรมนะครับ และโชคดีที่ระบบสังคมแบบใหม่นี้ยังไม่ได้ทำลายภูมิปัญญาดั้งเดิมของไทยเราไปเสียหมดเกลี้ยง มันยังพอเหลือซากให้ขุดคุ้ยได้ เปิดยูทูปก็จะเห็นแหล่งความรู้ในรูปของปราชญ์ชาวบ้านให้ความรู้ฟรีเยอะแยะ ไม่ได้หมายความว่าทำตามนั้นจะได้ตามนั้น แต่หมายความว่าเราไม่ถึงกับต้องไปเริ่มต้นจากจุดที่ไม่รู้อะไรเลย การเกษตรคุณค่าของมันอยู่ที่การได้เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา และเป็นการเรียนรู้ธรรมชาติที่ยิ่งเรียนก็ยิ่งสนุก ดังนั้นอย่าเอาความไม่รู้หรือไม่เดียงสาทางการเกษตรมาเป็นกำแพงความกลัวกั้นไม่ให้กล้าเริ่มต้นชีวิตใหม่ซึ่งเป็นชีวิตจริง ชีวิตจริงไม่มีล้มเหลว มีแต่ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ แล้วในการใช้ชีวิตแบบพึ่งตัวเองเพื่อให้แค่พออยู่พอกิน ทำอะไรล้มเหลวมา อย่างมากก็เสียแรงงานของเราเอง ซึ่งก็คือการได้ออกกำลังกายโดยไม่ต้องเสียเงินค่าเข้ายิม ไม่มีอะไรน่ากลัว
สันต์