ทำบอลลูนแล้วมีจ้ำเลือด จะลดแอสไพรินเหลือแค่วันเว้นวันได้ไหม
เรียนคุณหมอสันต์ครับ
ผมทำบอลลูนใส่ขดลวดมาปีกว่าแล้ว ผมแพ้ยา clopidogrel ตอนนี้กินยา baby Aspirin (81 mg) อย่างเดียววันละเม็ดแล้วชอบมีจ้ำเลือดออกตามข้อพับ อยากถามคุณหมอว่าถ้าผมจะลดยาเหลือวันเว้นวันจะดีไหม จะได้ผลไหม จะปลอดภัยไหม หรือว่าผมควรทำอย่างไรดี
.....................................................................
ตอบครับ
ก่อนตอบคำผมขอให้ข้อมูลวิจัยเท่าที่วงการแพทย์มีอยู่แก่คุณก่อนนะ
งานวิจัยเชิงระบาดวิทยาพบว่าโหลงโจ้งแล้วการใช้ยาแอสไพรินในขนาดระหว่าง 30 -1500 มก.ต่อวันล้วนให้ผลลดความเสี่ยงที่จะเกิดจุดจบที่เลวร้ายของโรคหลอดเลือดลงไปได้ประมาณ 25% เหมือนกันหมด
โปรดส้งเกตว่ายังมีผู้ป่วยอีกจำนวนหนึ่งซึ่งแม้จะให้ยาไม่ว่าในขนาดใดแล้วแต่ก็ยังดื้อด้านและเกิดจุดจบที่เลวร้ายของโรคขึ้นจนได้
นั่นเป็นเรื่องในร่างกายคน อีกงานวิจัยหนึ่งใช้วิธีเทียบขนาดแอสไพรินที่ผู้ป่วย 108 คนกิน กับการเอาเลือดของผู้ป่วยออกมาตรวจดูการจับกลุ่มของเกล็ดเลือดในห้องแล็บ พบว่าหากกินยาที่ขนาดวันละ 30 มก. ผู้ป่วย 40% จะได้ฤทธิต้านการจับกลุ่มเกล็ดเลือดที่พอเพียง ถ้ากิน 100 มก.ผู้ป่วยอีก 50% ได้ฤทธิ์พอเพียง แต่ว่าจะเหลือผู้ป่วยอีก 10% ที่จะต้องเพิ่มขนาดขึ้นไปถึง 300-500 มก.จึงจะได้ฤทธิ์ในห้องแล็บพอเพียง
เอาละคราวนี้มาตอบคำถาม
ประเด็นได้ผลหรือไม่ได้ผล
การที่คุณกินยาที่ขนาด 81 มก.ต่อวันแล้วเกิดจ้ำเลือดบ่อย แสดงว่าได้ฤทธิ์ต้านการจับกลุ่มเกล็ดเลือดมากเกินไป คุณจึงน่าจะเป็นคนประเภทไวต่อยา หากลดยาลงเป็นวันเว้นวัน (40.5 มก.ต่อวัน) ถามว่าได้ผลไหม ตอบตามผลวิจัยเชิงระบาดวิทยาก็ตอบว่าน่าจะยังได้ผลอยู่ เพราะยังไม่ต่ำกว่า 30 มก.ต่อวัน
ประเด็นปลอดภัยหรือไม่ปลอดภัย
หากนิยามคำว่าหากนิยามคำว่าปลอดภัยว่าหมายถึงผลข้างเคียงของยาแอสไพริน การกินยาขนาดน้อยก็ปลอดภัยมากกว่ายาขนาดมาก หากนิยามคำว่าปลอดภัยว่าคือไม่เกิดการภาวะจุดจบที่เลวร้ายของโรคอันได้แก่อัมพาตและหัวใจวายหรือตาย ขนาดยา 30 - 1500 มก.ต่อวันก็ปลอดภัยพอๆกันคือลดโอกาสเกิดเรื่องได้ประมาณ 25% เท่านั้น ไม่ใช่ลดได้ 100% การเจาะเอาเลือดออกมาตรวจการจับกลุ่มของเกล็ดเลือดในห้องแล็บ (in vitro) ไม่ได้เป็นหลักประกันว่าในร่างกายคน (in vivo) การจับกลุ่มของเกล็ดเลือดจะเป็นแบบเดียวกัน แต่ถ้าคุณเป็นคนบ้าความปลอดภัยคุณก็อาจทำได้ โดยระหว่างกินยาวันละเม็ดอยู่นี้คุณก็ไปเจาะเลือดที่ห้องแล็บ ให้เขาตรวจดูการจับกลุ่มของเกล็ดเลือดของคุณด้วยวิธี platelet aggregation test ซึ่งแล็บหลายแห่งทำได้ หลังจากนั้นก็เปลี่ยนไปกินยาหนึ่งเม็ดวันเว้นวันไปหนึ่งเดือนแล้วก็กลับไปให้ห้องแล็บเขาตรวจแบบเดิมซ้ำอีก หากผลการตรวจได้ผลไม่ต่างกัน คุณก็ลดขนาดยาลงได้โดยสบายใจยิ่งขึ้น
ประเด็นตัวช่วยอื่นๆ
ในบรรดาอาหารที่มี salicylate (ซึ่งเป็นตัวยาหลักในแอสไพริน) ขมิ้นชันเป็นอาหารที่มีซาลิไซเลทสูงที่สุด จึงแนะนำให้ผู้ที่มีเหตุให้ใช้ยาต้านเกล็ดเลือดไม่ได้ให้กินขมิ้นชันเป็นอาหารประจำวัน นอกจากนี้ salicylate ยังมีมากในอาหารพืชที่หลากหลาย เช่น มะเขือ เห็ด อาโวกาโด เบอรี่ อินทผาลัม พรุน ลูกเกต อัลมอนด์ ถั่วลิสง เครื่องเทศเช่นโอเรกาโน สะระแหน่ พริก มัสตาร์ด โรสแมรี่ ชา กาแฟ ไวน์ เป็นต้น ถ้าคุณกินแอสไพรินน้อยกว่าปกติก็กินอาหารพวกนี้มากๆเข้าไว้ก็ช่วยให้คุณสบายใจได้อีกทางหนึ่ง
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. de Gaetano G, Donati MB, Cerletti C: Prevention on thrombosis and vascular inflammation: benefits and limitations of selective or combined COX-1, COX-2 and 5-LOX inhibitors. Trends Pharmacol Sci 2003, 24: 245-52.
2. FitzGerald GA: Parsing an enigma: the pharmacodynamics of aspirin resistance. Lancet 2003, 361: 542-4. 10.1016/S0140-6736(03)12560-3
3. Antithrombotic Trialists' Collaboration: Collaborative meta-analysis of randomized trials of antiplatelet therapy for prevention of death, myocardial infarction, and stroke in high risk patients. BMJ 2002, 324: 71-86. 10.1136/bmj.324.7336.S71
4. Syrbe G, Redlich H, Weidlich B, et al.: Individual dosing of ASA prophylaxis by controlling platelet aggregation. Clin Appl Thromb Hemost 2001, 7: 209-13.
ผมทำบอลลูนใส่ขดลวดมาปีกว่าแล้ว ผมแพ้ยา clopidogrel ตอนนี้กินยา baby Aspirin (81 mg) อย่างเดียววันละเม็ดแล้วชอบมีจ้ำเลือดออกตามข้อพับ อยากถามคุณหมอว่าถ้าผมจะลดยาเหลือวันเว้นวันจะดีไหม จะได้ผลไหม จะปลอดภัยไหม หรือว่าผมควรทำอย่างไรดี
.....................................................................
ตอบครับ
ก่อนตอบคำผมขอให้ข้อมูลวิจัยเท่าที่วงการแพทย์มีอยู่แก่คุณก่อนนะ
งานวิจัยเชิงระบาดวิทยาพบว่าโหลงโจ้งแล้วการใช้ยาแอสไพรินในขนาดระหว่าง 30 -1500 มก.ต่อวันล้วนให้ผลลดความเสี่ยงที่จะเกิดจุดจบที่เลวร้ายของโรคหลอดเลือดลงไปได้ประมาณ 25% เหมือนกันหมด
โปรดส้งเกตว่ายังมีผู้ป่วยอีกจำนวนหนึ่งซึ่งแม้จะให้ยาไม่ว่าในขนาดใดแล้วแต่ก็ยังดื้อด้านและเกิดจุดจบที่เลวร้ายของโรคขึ้นจนได้
นั่นเป็นเรื่องในร่างกายคน อีกงานวิจัยหนึ่งใช้วิธีเทียบขนาดแอสไพรินที่ผู้ป่วย 108 คนกิน กับการเอาเลือดของผู้ป่วยออกมาตรวจดูการจับกลุ่มของเกล็ดเลือดในห้องแล็บ พบว่าหากกินยาที่ขนาดวันละ 30 มก. ผู้ป่วย 40% จะได้ฤทธิต้านการจับกลุ่มเกล็ดเลือดที่พอเพียง ถ้ากิน 100 มก.ผู้ป่วยอีก 50% ได้ฤทธิ์พอเพียง แต่ว่าจะเหลือผู้ป่วยอีก 10% ที่จะต้องเพิ่มขนาดขึ้นไปถึง 300-500 มก.จึงจะได้ฤทธิ์ในห้องแล็บพอเพียง
เอาละคราวนี้มาตอบคำถาม
ประเด็นได้ผลหรือไม่ได้ผล
การที่คุณกินยาที่ขนาด 81 มก.ต่อวันแล้วเกิดจ้ำเลือดบ่อย แสดงว่าได้ฤทธิ์ต้านการจับกลุ่มเกล็ดเลือดมากเกินไป คุณจึงน่าจะเป็นคนประเภทไวต่อยา หากลดยาลงเป็นวันเว้นวัน (40.5 มก.ต่อวัน) ถามว่าได้ผลไหม ตอบตามผลวิจัยเชิงระบาดวิทยาก็ตอบว่าน่าจะยังได้ผลอยู่ เพราะยังไม่ต่ำกว่า 30 มก.ต่อวัน
ประเด็นปลอดภัยหรือไม่ปลอดภัย
หากนิยามคำว่าหากนิยามคำว่าปลอดภัยว่าหมายถึงผลข้างเคียงของยาแอสไพริน การกินยาขนาดน้อยก็ปลอดภัยมากกว่ายาขนาดมาก หากนิยามคำว่าปลอดภัยว่าคือไม่เกิดการภาวะจุดจบที่เลวร้ายของโรคอันได้แก่อัมพาตและหัวใจวายหรือตาย ขนาดยา 30 - 1500 มก.ต่อวันก็ปลอดภัยพอๆกันคือลดโอกาสเกิดเรื่องได้ประมาณ 25% เท่านั้น ไม่ใช่ลดได้ 100% การเจาะเอาเลือดออกมาตรวจการจับกลุ่มของเกล็ดเลือดในห้องแล็บ (in vitro) ไม่ได้เป็นหลักประกันว่าในร่างกายคน (in vivo) การจับกลุ่มของเกล็ดเลือดจะเป็นแบบเดียวกัน แต่ถ้าคุณเป็นคนบ้าความปลอดภัยคุณก็อาจทำได้ โดยระหว่างกินยาวันละเม็ดอยู่นี้คุณก็ไปเจาะเลือดที่ห้องแล็บ ให้เขาตรวจดูการจับกลุ่มของเกล็ดเลือดของคุณด้วยวิธี platelet aggregation test ซึ่งแล็บหลายแห่งทำได้ หลังจากนั้นก็เปลี่ยนไปกินยาหนึ่งเม็ดวันเว้นวันไปหนึ่งเดือนแล้วก็กลับไปให้ห้องแล็บเขาตรวจแบบเดิมซ้ำอีก หากผลการตรวจได้ผลไม่ต่างกัน คุณก็ลดขนาดยาลงได้โดยสบายใจยิ่งขึ้น
ประเด็นตัวช่วยอื่นๆ
ในบรรดาอาหารที่มี salicylate (ซึ่งเป็นตัวยาหลักในแอสไพริน) ขมิ้นชันเป็นอาหารที่มีซาลิไซเลทสูงที่สุด จึงแนะนำให้ผู้ที่มีเหตุให้ใช้ยาต้านเกล็ดเลือดไม่ได้ให้กินขมิ้นชันเป็นอาหารประจำวัน นอกจากนี้ salicylate ยังมีมากในอาหารพืชที่หลากหลาย เช่น มะเขือ เห็ด อาโวกาโด เบอรี่ อินทผาลัม พรุน ลูกเกต อัลมอนด์ ถั่วลิสง เครื่องเทศเช่นโอเรกาโน สะระแหน่ พริก มัสตาร์ด โรสแมรี่ ชา กาแฟ ไวน์ เป็นต้น ถ้าคุณกินแอสไพรินน้อยกว่าปกติก็กินอาหารพวกนี้มากๆเข้าไว้ก็ช่วยให้คุณสบายใจได้อีกทางหนึ่ง
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. de Gaetano G, Donati MB, Cerletti C: Prevention on thrombosis and vascular inflammation: benefits and limitations of selective or combined COX-1, COX-2 and 5-LOX inhibitors. Trends Pharmacol Sci 2003, 24: 245-52.
2. FitzGerald GA: Parsing an enigma: the pharmacodynamics of aspirin resistance. Lancet 2003, 361: 542-4. 10.1016/S0140-6736(03)12560-3
3. Antithrombotic Trialists' Collaboration: Collaborative meta-analysis of randomized trials of antiplatelet therapy for prevention of death, myocardial infarction, and stroke in high risk patients. BMJ 2002, 324: 71-86. 10.1136/bmj.324.7336.S71
4. Syrbe G, Redlich H, Weidlich B, et al.: Individual dosing of ASA prophylaxis by controlling platelet aggregation. Clin Appl Thromb Hemost 2001, 7: 209-13.