ลมหายใจคือด้ายที่ผูกคุณกับร่างกายนี้ไว้ด้วยกัน
หมอสันต์ตอบคำถามสมาชิก RDBY ซึ่งถามว่าคำพูดในสไลด์เรื่องการจัดเวลาเพื่อตัวเอง ซึ่งบรรทัดหนึ่งบอกว่า "อ่าน user manual" นั้นหมายความว่าอย่างไร
...................................................
คำว่า user manual หรือคู่มือการใช้งานทุกคนก็รู้ว่าเมื่อเราได้เครื่องจักรหรืออุปกรณ์อะไรที่ซับซ้อนมาสักชิ้นหนึ่ง ผู้ผลิตมักจะให้คู่มือการใช้งานติดมาด้วย คนขยันก็จะอ่าน คนขี้เกียจก็จะทิ้งไปแต่ไปใช้วิธีมั่วๆลองหมุนปุ่มโน่นนี่นั่นบนอุปกรณ์เอาแบบลองผิดลองถูกแล้วส่วนใหญ่ก็พอจะใช้อุปกรณ์ได้ระดับหนึ่ง แต่อาจจะได้ใช้ความสามารถของอุปกรณ์นั้นเพียงเล็กน้อยไม่เต็มศักยภาพที่เขาออกแบบมาให้มันทำได้ อย่างเช่นโทรศัพท์ไอโฟนที่ใช้ๆกันอยู่นี้ มีกี่คนในหมู่พวกเราที่อ่านคู่มือการใช้งานก่อนใช้มัน คุณคงเคยได้ยินผลวิจัยการใช้ไอโฟนว่าผู้ซื้อที่ตัดสิ้นใจเปลี่ยนรุ่นจากรุ่นเก่าไปซื้อรุ่นใหม่แต่ละรุ่นนั้น ได้ใช้งานมันเพียง 7% ของขีดความสามารถที่ไอโฟนเก่ามันทำได้เท่านั้น พูดง่ายๆว่าเราใช้มันไม่เต็มศักยภาพที่มันมี
ชีวิตนี้ ร่างกายนี้ ก็เป็น machine หรือเป็นเครื่องจักรชิ้นหนึ่งนะ เหมือนกับโทรศัพท์ไอโฟนเหมือนกัน มีวันหมดอายุเหมือนกัน แต่ต่างกันที่ร่างกายมันมีความซับซ้อนกว่าไอโฟนมาก ที่ผมบอกว่า "อ่าน user manual" หมายความว่าคุณได้รับอุปกรณ์ที่ซับซ้อนขนาดนี้มาใช้ ใจคอคุณจะไม่เปิดอ่านคู่มือการใช้งานสักหน่อยหรือ คู่มือการใช้งานชีวิตนี้ร่างกายนี้มันไม่มีใครพิมพ์ไว้เป็นเล่มไว้บนกระดาษแบ่งเป็นบทๆอย่างคู่มือการใช้งานไอโฟน แต่คุณก็อ่านมันได้ด้วยการหันความสนใจกลับทิศจากนอกเข้าใน แล้วให้ความสนใจมันไปทีละส่วน มันไม่ได้ยากนะ มาลองดูกันไหมละ มาอ่านคู่มือการใช้งานไปกับผมสักหน้าสองหน้า
เริ่มต้นด้วยผมจะให้คุณลองวางความคิดของคุณทิ้งไปก่อน วางหมายความว่าไม่สนใจ ไม่คิดต่อยอด แล้วหันเหความสนใจของคุณมาตามดูลมหายใจของคุณเองนะ ลองดูนะ
มีสติ ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่น รู้ตัวว่าเรากำลังนั่งอยู่ตรงนี้ กำลังหายใจเข้า กำลังหายใจออก เข้า ออก เข้า ออก
คุณรู้ไหมถ้าคุณหายใจออกแล้วไม่หายใจเข้าเมื่อใด เมื่อนั้นชีวิตนี้ก็ดับวูบลง
ลมหายใจมันจึงไม่ได้มีความหมายแค่การแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนกับคาร์บอนไดออกไซด์เท่านั้นนะ แต่ลมหายใจนี้คือด้ายที่ผูกคุณกับร่างกายนี้ไว้ด้วยกัน เนื่องจากลมหายใจมันเกิดขึ้นเป็นอัตโนมัติตลอดเวลาไม่เคยหยุดคุณจึงไม่ได้สนใจมันเลย ลมหายใจจึงทำให้คุณเกิดความหลอนประการที่หนึ่งขึ้น คือความหลอนที่ว่าคุณกับร่างกายนี้เป็นอันเดียวกัน ทั้งๆที่จริงๆแล้วมันเป็นคนละอันกันโดยมีลมหายใจอันเปราะบางผูกมันไว้ด้วยกันเท่านั้น
ถ้าคุณตั้งใจตามดูลมหายใจไป ถี่เข้า ลึกซึ้งเข้า ละเอียดเข้า ถึงจุดหนึ่งคุณก็จะรู้สึกได้ด้วยตัวคุณเองว่าคุณกับร่างกายนี้เป็นคนละอันกัน ผมไม่ได้หมายความว่าคุณต้องรู้สึกให้ได้ตอนนี้นะ แต่บอกทิศว่ามันจะไปพบอย่างนี้เมื่อคุณละเอียดพอ ยังไม่จำเป็นต้องเป็นตอนนี้
ความจริงไม่ต้องอาศัยลมหายใจก็ได้ แค่คุณอาศัยตรรกะคิดย้อนประสบการณ์ในอดีตเอาก็ได้ คุณในฐานะที่เป็นความรู้ตัวหรือเป็นชีวิต คุณสามารถนึกย้อนไปได้ถึงอย่างน้อยก็ตอนห้าขวบหกขวบ นับตั้งแต่นั้นมาคุณก็เป็นคุณมาตลอดไม่เคยสลับสับเปลี่ยนไปเป็นคนโน้นคนนี้เลย แต่ร่างกายนี้คุณรู้ได้ด้วยตัวคุณเองว่ามันเปลี่ยนเรื่อยมา ตั้งแต่เป็นเด็กตัวเล็กนิดเดียว มาเป็นสาว มาเป็นแม่คน มาจนเป็นผู้ใหญ่เต็มตัว มันคนละร่างกายชัดๆ เด็กหกขวบจะเป็นร่างกายเดียวกับผู้หญิงอายุห้าสิบมันเป็นไปไม่ได้ถูกแมะ ดังนั้นในคู่มือใช้งานหน้าแรกนี้บอกว่าคุณต้องเคลียร์ความหลอนอันแรก คือความหลอนที่ว่าคุณกับร่างกายนี้เป็นสิ่งเดียวกันก่อน เพราะมันไม่ใช่ ในการจะใช้อุปกรณ์นี้ต่อไปคุณต้องเข้าใจแล้วว่ามันมีสองพาร์ตแล้วนะ คือคุณหรือความรู้ตัว กับร่างกาย เป็นคนละพาร์ตที่แยกกัน
คราวนี้ผมจะให้คุณเปลี่ยนมาสังเกตดูความคิดบ้าง นี่ผมยังไม่ต้องบอกให้คุณทำอย่างไรคุณก็เข้าไปอยู่ในความคิดเรียบร้อยแล้ว เพราะมันเป็นความเคยชินแบบอัตโนมัติที่ความสนใจของคุณจะเข้าไปขลุกอยู่ในความคิดตลอดเวลา จนเกิดความหลอนประการที่สองขึ้น คือความหลอนที่ว่าคุณกับความคิดนี้เป็นอันเดียวกัน
แต่ถ้าคุณสังเกตความคิดให้เป็น คือสังเกตอยู่ข้างนอก ไม่ไปผสมโรงคิด คือให้ aware of a thought ไม่ใช่ thinking a thought ทำถี่ๆเข้า ลึกซึ้งเข้า ถึงจุดหนึ่งคุณก็จะรู้สึกได้เองว่าคุณกับความคิดนี้เป็นคนละอันกัน ตรงนี้คุณเป็นผู้สังเกต ตรงนั้นความคิด ความคิดเป็นสิ่งที่ถูกคุณสังเกต ไม่ใช่คุณ มาถึงตอนนี้คู่มือการใช้งานหน้าที่สองนี้บอกว่าคุณต้องเคลียร์ความหลอนที่ว่าคุณกับความคิดเป็นสิ่งเดียวกันก่อน เพราะมันไม่ใช่ มันเป็นคนละพาร์ต สรุปว่ามาถึงหน้านี้ ชีวิตมีสามพาร์ตที่แยกจากกันเด็ดขาดได้แล้วนะ คือ (1) ร่างกาย (2) ความคิด (3) ความรู้ตัว ในการจะใช้อุปกรณ์นี้ต่อไปคุณต้องเข้าใจว่าคุณกำลังใช้งานพาร์ตไหนอยู่ ก่อนที่จะอ่านให้ลึกยิ่งขึ้นว่าพาร์ตนั้นมันใช้งานอย่างไร หาไม่แล้วคุณก็จะใช้อุปกรณ์ชิ้นนี้แบบมั่วๆเหมือนคนเอาเครื่องบินตัดปีกออกเพื่อขับบนถนนอย่างรถยนต์ ซึ่งคุณก็จะยังใช้งานมันได้ แต่จะใช้มันได้ไม่เต็มศักยภาพที่มันมี
การตั้งต้นมองชีวิตว่ามีสามพาร์ตแยกกันคือ คุณอันหมายถึงความรู้ตัว ร่างกาย และความคิด โดยที่คุณไม่ใช่ร่างกาย คุณไม่ใช่ความคิด นี่เป็นตัวอย่างของการเปิดอ่านคู่มือการใช้งานมาได้สองหน้าแรก ถ้าคุณเป็นคนแบบซื้อไอโฟนมาแล้วไม่อ่านคู่มือการใช้งานเลย กับชีวิตและร่างกายคุณก็จะทำแบบเดียวกัน นั่นหมายความว่าคุณจะจมอยู่ในความหลอนที่ว่าคุณ ร่างกาย และความคิด เป็นอันเดียวกันที่เรียกรวมๆว่าสำนึกว่าเป็นบุคคล คราวนี้คุณก็จะเริ่มใช้อุปกรณ์ชิ้นนี้แบบมั่วแล้ว ถ้าเป็นการใช้งานไอโฟนโดยไม่อ่านคู่มือคุณอาจใช้งานมันได้ถึง 7% ของศักยภาพที่มันมี แต่ถ้าเป็นชีวิตนี้ร่างกายนี้ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ซับซ้อนกว่าไอโฟนมาก หากคุณใช้มันโดยไม่ตั้งใจอ่านคู่มือการใช้งาน ผมว่าคุณจะใช้งานมันได้ไม่ถึง 1% ของศักยภาพที่มันมีหรอก แถมความหลอนจากการใช้อุปกรณ์ไม่เป็นจะทำให้คุณเป็นทุกข์เอาด้วย
วันนี้เรามีเวลาคุยถึงคู่มือการใช้งานนี้แค่สองหน้าแรกนะ ทีนี้จากหน้าที่สามเป็นต้นไปให้คุณไปอ่านต่อเอาเองด้วยการเดินบนเส้นทางหันความสนใจจากนอกเข้าในด้วยตัวของคุณเอง
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
...................................................
คำว่า user manual หรือคู่มือการใช้งานทุกคนก็รู้ว่าเมื่อเราได้เครื่องจักรหรืออุปกรณ์อะไรที่ซับซ้อนมาสักชิ้นหนึ่ง ผู้ผลิตมักจะให้คู่มือการใช้งานติดมาด้วย คนขยันก็จะอ่าน คนขี้เกียจก็จะทิ้งไปแต่ไปใช้วิธีมั่วๆลองหมุนปุ่มโน่นนี่นั่นบนอุปกรณ์เอาแบบลองผิดลองถูกแล้วส่วนใหญ่ก็พอจะใช้อุปกรณ์ได้ระดับหนึ่ง แต่อาจจะได้ใช้ความสามารถของอุปกรณ์นั้นเพียงเล็กน้อยไม่เต็มศักยภาพที่เขาออกแบบมาให้มันทำได้ อย่างเช่นโทรศัพท์ไอโฟนที่ใช้ๆกันอยู่นี้ มีกี่คนในหมู่พวกเราที่อ่านคู่มือการใช้งานก่อนใช้มัน คุณคงเคยได้ยินผลวิจัยการใช้ไอโฟนว่าผู้ซื้อที่ตัดสิ้นใจเปลี่ยนรุ่นจากรุ่นเก่าไปซื้อรุ่นใหม่แต่ละรุ่นนั้น ได้ใช้งานมันเพียง 7% ของขีดความสามารถที่ไอโฟนเก่ามันทำได้เท่านั้น พูดง่ายๆว่าเราใช้มันไม่เต็มศักยภาพที่มันมี
ชีวิตนี้ ร่างกายนี้ ก็เป็น machine หรือเป็นเครื่องจักรชิ้นหนึ่งนะ เหมือนกับโทรศัพท์ไอโฟนเหมือนกัน มีวันหมดอายุเหมือนกัน แต่ต่างกันที่ร่างกายมันมีความซับซ้อนกว่าไอโฟนมาก ที่ผมบอกว่า "อ่าน user manual" หมายความว่าคุณได้รับอุปกรณ์ที่ซับซ้อนขนาดนี้มาใช้ ใจคอคุณจะไม่เปิดอ่านคู่มือการใช้งานสักหน่อยหรือ คู่มือการใช้งานชีวิตนี้ร่างกายนี้มันไม่มีใครพิมพ์ไว้เป็นเล่มไว้บนกระดาษแบ่งเป็นบทๆอย่างคู่มือการใช้งานไอโฟน แต่คุณก็อ่านมันได้ด้วยการหันความสนใจกลับทิศจากนอกเข้าใน แล้วให้ความสนใจมันไปทีละส่วน มันไม่ได้ยากนะ มาลองดูกันไหมละ มาอ่านคู่มือการใช้งานไปกับผมสักหน้าสองหน้า
เริ่มต้นด้วยผมจะให้คุณลองวางความคิดของคุณทิ้งไปก่อน วางหมายความว่าไม่สนใจ ไม่คิดต่อยอด แล้วหันเหความสนใจของคุณมาตามดูลมหายใจของคุณเองนะ ลองดูนะ
มีสติ ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่น รู้ตัวว่าเรากำลังนั่งอยู่ตรงนี้ กำลังหายใจเข้า กำลังหายใจออก เข้า ออก เข้า ออก
คุณรู้ไหมถ้าคุณหายใจออกแล้วไม่หายใจเข้าเมื่อใด เมื่อนั้นชีวิตนี้ก็ดับวูบลง
ลมหายใจมันจึงไม่ได้มีความหมายแค่การแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนกับคาร์บอนไดออกไซด์เท่านั้นนะ แต่ลมหายใจนี้คือด้ายที่ผูกคุณกับร่างกายนี้ไว้ด้วยกัน เนื่องจากลมหายใจมันเกิดขึ้นเป็นอัตโนมัติตลอดเวลาไม่เคยหยุดคุณจึงไม่ได้สนใจมันเลย ลมหายใจจึงทำให้คุณเกิดความหลอนประการที่หนึ่งขึ้น คือความหลอนที่ว่าคุณกับร่างกายนี้เป็นอันเดียวกัน ทั้งๆที่จริงๆแล้วมันเป็นคนละอันกันโดยมีลมหายใจอันเปราะบางผูกมันไว้ด้วยกันเท่านั้น
ถ้าคุณตั้งใจตามดูลมหายใจไป ถี่เข้า ลึกซึ้งเข้า ละเอียดเข้า ถึงจุดหนึ่งคุณก็จะรู้สึกได้ด้วยตัวคุณเองว่าคุณกับร่างกายนี้เป็นคนละอันกัน ผมไม่ได้หมายความว่าคุณต้องรู้สึกให้ได้ตอนนี้นะ แต่บอกทิศว่ามันจะไปพบอย่างนี้เมื่อคุณละเอียดพอ ยังไม่จำเป็นต้องเป็นตอนนี้
ความจริงไม่ต้องอาศัยลมหายใจก็ได้ แค่คุณอาศัยตรรกะคิดย้อนประสบการณ์ในอดีตเอาก็ได้ คุณในฐานะที่เป็นความรู้ตัวหรือเป็นชีวิต คุณสามารถนึกย้อนไปได้ถึงอย่างน้อยก็ตอนห้าขวบหกขวบ นับตั้งแต่นั้นมาคุณก็เป็นคุณมาตลอดไม่เคยสลับสับเปลี่ยนไปเป็นคนโน้นคนนี้เลย แต่ร่างกายนี้คุณรู้ได้ด้วยตัวคุณเองว่ามันเปลี่ยนเรื่อยมา ตั้งแต่เป็นเด็กตัวเล็กนิดเดียว มาเป็นสาว มาเป็นแม่คน มาจนเป็นผู้ใหญ่เต็มตัว มันคนละร่างกายชัดๆ เด็กหกขวบจะเป็นร่างกายเดียวกับผู้หญิงอายุห้าสิบมันเป็นไปไม่ได้ถูกแมะ ดังนั้นในคู่มือใช้งานหน้าแรกนี้บอกว่าคุณต้องเคลียร์ความหลอนอันแรก คือความหลอนที่ว่าคุณกับร่างกายนี้เป็นสิ่งเดียวกันก่อน เพราะมันไม่ใช่ ในการจะใช้อุปกรณ์นี้ต่อไปคุณต้องเข้าใจแล้วว่ามันมีสองพาร์ตแล้วนะ คือคุณหรือความรู้ตัว กับร่างกาย เป็นคนละพาร์ตที่แยกกัน
คราวนี้ผมจะให้คุณเปลี่ยนมาสังเกตดูความคิดบ้าง นี่ผมยังไม่ต้องบอกให้คุณทำอย่างไรคุณก็เข้าไปอยู่ในความคิดเรียบร้อยแล้ว เพราะมันเป็นความเคยชินแบบอัตโนมัติที่ความสนใจของคุณจะเข้าไปขลุกอยู่ในความคิดตลอดเวลา จนเกิดความหลอนประการที่สองขึ้น คือความหลอนที่ว่าคุณกับความคิดนี้เป็นอันเดียวกัน
แต่ถ้าคุณสังเกตความคิดให้เป็น คือสังเกตอยู่ข้างนอก ไม่ไปผสมโรงคิด คือให้ aware of a thought ไม่ใช่ thinking a thought ทำถี่ๆเข้า ลึกซึ้งเข้า ถึงจุดหนึ่งคุณก็จะรู้สึกได้เองว่าคุณกับความคิดนี้เป็นคนละอันกัน ตรงนี้คุณเป็นผู้สังเกต ตรงนั้นความคิด ความคิดเป็นสิ่งที่ถูกคุณสังเกต ไม่ใช่คุณ มาถึงตอนนี้คู่มือการใช้งานหน้าที่สองนี้บอกว่าคุณต้องเคลียร์ความหลอนที่ว่าคุณกับความคิดเป็นสิ่งเดียวกันก่อน เพราะมันไม่ใช่ มันเป็นคนละพาร์ต สรุปว่ามาถึงหน้านี้ ชีวิตมีสามพาร์ตที่แยกจากกันเด็ดขาดได้แล้วนะ คือ (1) ร่างกาย (2) ความคิด (3) ความรู้ตัว ในการจะใช้อุปกรณ์นี้ต่อไปคุณต้องเข้าใจว่าคุณกำลังใช้งานพาร์ตไหนอยู่ ก่อนที่จะอ่านให้ลึกยิ่งขึ้นว่าพาร์ตนั้นมันใช้งานอย่างไร หาไม่แล้วคุณก็จะใช้อุปกรณ์ชิ้นนี้แบบมั่วๆเหมือนคนเอาเครื่องบินตัดปีกออกเพื่อขับบนถนนอย่างรถยนต์ ซึ่งคุณก็จะยังใช้งานมันได้ แต่จะใช้มันได้ไม่เต็มศักยภาพที่มันมี
การตั้งต้นมองชีวิตว่ามีสามพาร์ตแยกกันคือ คุณอันหมายถึงความรู้ตัว ร่างกาย และความคิด โดยที่คุณไม่ใช่ร่างกาย คุณไม่ใช่ความคิด นี่เป็นตัวอย่างของการเปิดอ่านคู่มือการใช้งานมาได้สองหน้าแรก ถ้าคุณเป็นคนแบบซื้อไอโฟนมาแล้วไม่อ่านคู่มือการใช้งานเลย กับชีวิตและร่างกายคุณก็จะทำแบบเดียวกัน นั่นหมายความว่าคุณจะจมอยู่ในความหลอนที่ว่าคุณ ร่างกาย และความคิด เป็นอันเดียวกันที่เรียกรวมๆว่าสำนึกว่าเป็นบุคคล คราวนี้คุณก็จะเริ่มใช้อุปกรณ์ชิ้นนี้แบบมั่วแล้ว ถ้าเป็นการใช้งานไอโฟนโดยไม่อ่านคู่มือคุณอาจใช้งานมันได้ถึง 7% ของศักยภาพที่มันมี แต่ถ้าเป็นชีวิตนี้ร่างกายนี้ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ซับซ้อนกว่าไอโฟนมาก หากคุณใช้มันโดยไม่ตั้งใจอ่านคู่มือการใช้งาน ผมว่าคุณจะใช้งานมันได้ไม่ถึง 1% ของศักยภาพที่มันมีหรอก แถมความหลอนจากการใช้อุปกรณ์ไม่เป็นจะทำให้คุณเป็นทุกข์เอาด้วย
วันนี้เรามีเวลาคุยถึงคู่มือการใช้งานนี้แค่สองหน้าแรกนะ ทีนี้จากหน้าที่สามเป็นต้นไปให้คุณไปอ่านต่อเอาเองด้วยการเดินบนเส้นทางหันความสนใจจากนอกเข้าในด้วยตัวของคุณเอง
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์