อายุ 81 อัมพาตจากเนื้องอกในหัวใจ ผ่าดีไม่ผ่าดี
เรียนคุณหมอสันต์
รบกวนปรึกษาค่ะ คุณพ่อเข้ารพ ด้วยอาการเส้นเลือดสมองอุดตัน ทำmri สมองพบว่าสิ่งที่อุด หลุดไปแล้ว วันแรกยังไม่ได้ทำechoหัวใจ หมอบอกลิ่มเลือด อุดตัน หลังทำถึงพูดว่าเป็นชิ้นส่วนของก้อนเนื้องอกในหัวใจ
ทีมแพทย์ต้องการให้ผ่าทันที ส่วนเราลูกๆรู้สึกไม่แน่ใจว่าควร ผ่าหรือไม่ แจ้งคุณหมอไปว่าจะรอให้พ่อดีขึ้น {ซึ่งหมายถึงพูดจารู้เรื่องกว่านี้ ตอนนี้ตอบเป็นคำๆ ชัดบ้างไม่ชัดบ้างไม่สามารถ บอกได้ว่ารู้สึกหรือต้องการ อะไร ปวดเข้าห้องน้ำยังบอกไม่ได้เลยค่ะ}แล้วจะถามเจ้าตัวเอง
คุณหมอเข้ามาในห้อง เข้าไปพูดกับคุณพ่อเอง อธิบายหมด ทุกอย่าง เค้าดูงงๆ ตอนแรกบอกผ่า สักพักบอกไม่ผ่า (ตอนนี้ลักษณะการตอบของเค้าคือจะพูดซ้ำคำสุดท้ายของคำถาม). พยายามจะแจ้งคุณหมอ ดูไม่เป็นผลเท่าไหร่ค่ะ
เค้าเลยให้เซ็นเอกสารไม่ผ่า แล้วพูดกับเราว่า”ถ้าคุณปฏิเสธการรักษา ก้อกลับบ้านไป จะมาอยู่ให้เสียเงินทำไม”
ตอนนี้เราก้อหน้าทน ยังอยู่ที่รพ เพราะรู้สึกว่าพ่อเรายังไม่พร้อมจะกลับบ้าน นอนอยู่บนเตียงมา9วัน. ไม่ได้ลงจากเตียงเลย เพราะทีมแพทย์ไม่ให้กายภาพ เพราะกลัวก้อนเนื้องอกจะหลุด
คุณหมอคะ ช่วยกรุณาแนะนำหน่อยค่ะว่าควรจะผ่าไหมคะ
ด้วยความเคารพ
Ps เคยมีประวัติลิ่มเลือดอุดตันสมองเมื่อ9ปีที่แล้วค่ะ ตอนนี้ขยับแขนขาได้ทั้ง2ข้างค่ะ จะเดินก็เดินได้แบบซอยเท้าเล็กๆค่ะ เนื้องอกมีขนาด 2.3 cm ไม่มีการเต้นรัวของหัวใจห้องบนซ้าย (AF) ก่อนเกิดอาการครั้งนี้ เดินได้ ช่วยเหลือตัวเองได้ปกติค่ะ
.....................................................................................
ตอบครับ
โรคที่คุณพ่อของคุณเป็นคือเนื้องอกในหัวใจ (myxoma) ซึ่งกรณีที่คุณพ่อของคุณนี้อยู่ที่ข้างซ้าย ความเสี่ยงของเนื้องอกที่อยู่ข้างซ้ายก็คือชิ้นส่วนของมันจะหลุดไปอุดหลอดเลือดได้ทั่วตัว ที่เรากลัวคืออุดหลอดเลือดที่สมอง โอกาสที่จะเกิดเรื่องอย่างนี้มี 21-33% ทางสองแพร่งที่จะต้องเลือกก็คือจะผ่าตัดดีหรือไม่ผ่าตัดดี
ประโยชน์ที่จะได้จากการผ่าตัดคือการป้องกันการเป็นอัมพาตซึ่งมีโอกาสหลุด 21-33% ได้อย่างเด็ดขาด แต่ไม่เกี่ยวอะไรกับคุณภาพชีวิต เพราะคุณภาพชีวิตของท่านตอนนี้ขยับแขนขาได้เดินได้ มันดีอยู่แล้ว การผ่าตัดจะไม่เปลี่ยนคุณภาพชีวิตของท่านให้ดีไปกว่านี้ในระยะยาว ส่วนการที่ท่านจะพูดรู้เรื่องหรือไม่รู้เรื่องตอนนี้นั้นท่านก็จะเป็นของท่านต่อไป ไม่ว่าจะผ่าตัดหรือไม่ เพราะอย่าลืมว่าผ่าที่หัวใจนะไม่ได้ผ่าที่สมอง
ในอีกด้านหนึ่งคือความเสี่ยงของการผ่าตัดหัวใจเอาเนื้องอกออก ซึ่งในกรณีของคนทั่วไปที่แข็งแร็งดี โอกาสตายเพราะการผ่าตัดแบบนี้มีประมาณ 1-2.5% เท่านั้นเอง คือมีความเสี่ยงน้อยมาก คุ้มกับประโยชน์ที่จะได้จากการผ่าตัด
แต่ในกรณีที่อายุมากและเพิ่งผ่านการเป็นอัมพาตมาหมาดๆอย่างคุณพ่อของคุณนี้ ผมประมาณความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตจากการผ่าตัดและการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง (เช่นเป็นอัมพาตอย่างแรง) ไว้ที่ประมาณ 10% ท้้งนี้โปรดเข้าใจว่าประโยชน์ที่จะได้จากการผ่าตัดนั้นได้ตลอดชีวิตที่จะมีไปข้างหน้า แต่ความเสี่ยงที่จะเกิดจากการผ่าตัดนั้นเกิดทันทีภายในเวลาเริ่มลงมือผ่าตัดไปจนถึงไม่เกิน 30 วันนับจากวันผ่าตัด ดังนั้นจะเห็นว่าประโยชน์ของการผ่าตัดมีมากกว่าหากเป็นกรณีที่ผู้ป่วยจะต้องมีชีวิตไปอีกยาวนาน แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอายุมากแล้ว จะอยู่ไปได้อีกไม่กี่ปี ประโยชน์และความเสี่ยงของการผ่าตัดก็ก้ำกึ่งกัน จะเลือกเอาทางไหนก็ได้ ผู้ที่จะเลือกได้ดีที่สุดก็คือตัวผู้ป่วยเอง ให้ท่านเลือกแบบที่ท่านชอบก็แล้วกัน
ตอนนี้ท่านสมองยังไม่ค่อยแจ่มเพราะเพิ่งฟื้นจากอัมพาตมาใหม่ๆ ก็ทำกายภาพบำบัดให้ท่านรู้เรื่องดีก่อนก็ได้ ไม่ต้องกลัวว่าทำกายภาพแล้วเนื้องอกจะหลุดพลั้วะไปสมอง เพราะการหลุดของเนื้องอกในหัวใจไม่เกี่ยวกับท่าร่างของผู้ป่วยและไม่เกี่ยวกับลักษณะของการออกกำลังกาย เพราะแรงกระทำจากการเปลี่ยนท่าร่างและการออกกำลังกายต่อเนื้องอกในหัวใจมันมันจิ๊บจ๊อยมากเมื่อเทียบกับแรงกระแทกจากการบีบตัวของหัวใจซึ่งเกิดขึ้นทุกวินาที พูดง่ายๆว่าถ้ามันจะหลุดนอนหลับอยู่ดีๆมันก็หลุดได้ ยังไม่เคยมีหลักฐานว่าเนื้องอกในหัวใจหลุดมากขึ้นขณะออกกำลังกาย ดังนั้นให้กลับบ้านไปทำกายภาพบำบัดให้เต็มที่ ไม่ต้องกลัวโน่นกลัวนี่ ใช้เวลาทำนานกี่วันกี่เดือนไม่เป็นไร เอาจนท่านสมองแจ่ม ดุลพินิจดี แล้วก็เล่าเรื่องโรคนี้ให้ท่านฟัง และบอกให้ท่านตัดสินใจเลือกวิธีรักษาของท่านเอง
ผมแนะนำว่าคุณในฐานะลูก ไม่ควรเลือกวิธีรักษาแทนท่าน เพราะเลือกไม่ผ่า ท่านก็มีโอกาสเป็นอัมพาตหรือตาย (จากเนื้องอกหลุด) เลือกที่จะผ่าตัด ท่านก็มีโอกาสจะเป็นอัมพาตหรือตาย (จากการผ่าตัด) คุณก็จะรู้สึกผิดทั้งขึ้นทั้งล่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณไม่เข้าใจสัจจธรรมของชีวิต ซึ่งยายของผมเคยเล่าให้ฟังเป็นภาษาเหนือว่า
"...อายุซาว (ยี่สิบ) แอ่วสาวบ่อก้าย
สามสิบ บ่อหน่ายสังสาร
สี่สิบ เยี้ยะก๋าน (ทำงาน) เหมือนฟ้าผ่า
ห้าสิบ สาวน้อยด่าบ่อเจ็บใจ๋
หกสิบ ไอเหมือนฟาน (อีเก้ง) โขก
เจ็ดสิบ บ่าโหก (โรค) เต็มตัว
แปดสิบ ไค่หัว (หัวเราะ)เหมือนไห้ (ร้องไห้) (คงเป็นเพราะหน้าเหี่ยวมากจนดูไม่ออก)
เก้าสิบ ไข้ก็ตาย ไม่ไข้ก็ตาย.."
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. Bortolotti, U. et al. Surgical excision of intracardiac myxomas (a 20-year follow-up) . Ann Thorac Surg. 1990; 49: 449–453
2. Bjessmo, S. and Ivert, T. Cardiac myxoma (40 years’ experience in 63 patients) . Ann Thorac Surg. 1997; 63: 697–700
รบกวนปรึกษาค่ะ คุณพ่อเข้ารพ ด้วยอาการเส้นเลือดสมองอุดตัน ทำmri สมองพบว่าสิ่งที่อุด หลุดไปแล้ว วันแรกยังไม่ได้ทำechoหัวใจ หมอบอกลิ่มเลือด อุดตัน หลังทำถึงพูดว่าเป็นชิ้นส่วนของก้อนเนื้องอกในหัวใจ
ทีมแพทย์ต้องการให้ผ่าทันที ส่วนเราลูกๆรู้สึกไม่แน่ใจว่าควร ผ่าหรือไม่ แจ้งคุณหมอไปว่าจะรอให้พ่อดีขึ้น {ซึ่งหมายถึงพูดจารู้เรื่องกว่านี้ ตอนนี้ตอบเป็นคำๆ ชัดบ้างไม่ชัดบ้างไม่สามารถ บอกได้ว่ารู้สึกหรือต้องการ อะไร ปวดเข้าห้องน้ำยังบอกไม่ได้เลยค่ะ}แล้วจะถามเจ้าตัวเอง
คุณหมอเข้ามาในห้อง เข้าไปพูดกับคุณพ่อเอง อธิบายหมด ทุกอย่าง เค้าดูงงๆ ตอนแรกบอกผ่า สักพักบอกไม่ผ่า (ตอนนี้ลักษณะการตอบของเค้าคือจะพูดซ้ำคำสุดท้ายของคำถาม). พยายามจะแจ้งคุณหมอ ดูไม่เป็นผลเท่าไหร่ค่ะ
เค้าเลยให้เซ็นเอกสารไม่ผ่า แล้วพูดกับเราว่า”ถ้าคุณปฏิเสธการรักษา ก้อกลับบ้านไป จะมาอยู่ให้เสียเงินทำไม”
ตอนนี้เราก้อหน้าทน ยังอยู่ที่รพ เพราะรู้สึกว่าพ่อเรายังไม่พร้อมจะกลับบ้าน นอนอยู่บนเตียงมา9วัน. ไม่ได้ลงจากเตียงเลย เพราะทีมแพทย์ไม่ให้กายภาพ เพราะกลัวก้อนเนื้องอกจะหลุด
คุณหมอคะ ช่วยกรุณาแนะนำหน่อยค่ะว่าควรจะผ่าไหมคะ
ด้วยความเคารพ
Ps เคยมีประวัติลิ่มเลือดอุดตันสมองเมื่อ9ปีที่แล้วค่ะ ตอนนี้ขยับแขนขาได้ทั้ง2ข้างค่ะ จะเดินก็เดินได้แบบซอยเท้าเล็กๆค่ะ เนื้องอกมีขนาด 2.3 cm ไม่มีการเต้นรัวของหัวใจห้องบนซ้าย (AF) ก่อนเกิดอาการครั้งนี้ เดินได้ ช่วยเหลือตัวเองได้ปกติค่ะ
.....................................................................................
ตอบครับ
โรคที่คุณพ่อของคุณเป็นคือเนื้องอกในหัวใจ (myxoma) ซึ่งกรณีที่คุณพ่อของคุณนี้อยู่ที่ข้างซ้าย ความเสี่ยงของเนื้องอกที่อยู่ข้างซ้ายก็คือชิ้นส่วนของมันจะหลุดไปอุดหลอดเลือดได้ทั่วตัว ที่เรากลัวคืออุดหลอดเลือดที่สมอง โอกาสที่จะเกิดเรื่องอย่างนี้มี 21-33% ทางสองแพร่งที่จะต้องเลือกก็คือจะผ่าตัดดีหรือไม่ผ่าตัดดี
ประโยชน์ที่จะได้จากการผ่าตัดคือการป้องกันการเป็นอัมพาตซึ่งมีโอกาสหลุด 21-33% ได้อย่างเด็ดขาด แต่ไม่เกี่ยวอะไรกับคุณภาพชีวิต เพราะคุณภาพชีวิตของท่านตอนนี้ขยับแขนขาได้เดินได้ มันดีอยู่แล้ว การผ่าตัดจะไม่เปลี่ยนคุณภาพชีวิตของท่านให้ดีไปกว่านี้ในระยะยาว ส่วนการที่ท่านจะพูดรู้เรื่องหรือไม่รู้เรื่องตอนนี้นั้นท่านก็จะเป็นของท่านต่อไป ไม่ว่าจะผ่าตัดหรือไม่ เพราะอย่าลืมว่าผ่าที่หัวใจนะไม่ได้ผ่าที่สมอง
ในอีกด้านหนึ่งคือความเสี่ยงของการผ่าตัดหัวใจเอาเนื้องอกออก ซึ่งในกรณีของคนทั่วไปที่แข็งแร็งดี โอกาสตายเพราะการผ่าตัดแบบนี้มีประมาณ 1-2.5% เท่านั้นเอง คือมีความเสี่ยงน้อยมาก คุ้มกับประโยชน์ที่จะได้จากการผ่าตัด
แต่ในกรณีที่อายุมากและเพิ่งผ่านการเป็นอัมพาตมาหมาดๆอย่างคุณพ่อของคุณนี้ ผมประมาณความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตจากการผ่าตัดและการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง (เช่นเป็นอัมพาตอย่างแรง) ไว้ที่ประมาณ 10% ท้้งนี้โปรดเข้าใจว่าประโยชน์ที่จะได้จากการผ่าตัดนั้นได้ตลอดชีวิตที่จะมีไปข้างหน้า แต่ความเสี่ยงที่จะเกิดจากการผ่าตัดนั้นเกิดทันทีภายในเวลาเริ่มลงมือผ่าตัดไปจนถึงไม่เกิน 30 วันนับจากวันผ่าตัด ดังนั้นจะเห็นว่าประโยชน์ของการผ่าตัดมีมากกว่าหากเป็นกรณีที่ผู้ป่วยจะต้องมีชีวิตไปอีกยาวนาน แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอายุมากแล้ว จะอยู่ไปได้อีกไม่กี่ปี ประโยชน์และความเสี่ยงของการผ่าตัดก็ก้ำกึ่งกัน จะเลือกเอาทางไหนก็ได้ ผู้ที่จะเลือกได้ดีที่สุดก็คือตัวผู้ป่วยเอง ให้ท่านเลือกแบบที่ท่านชอบก็แล้วกัน
ตอนนี้ท่านสมองยังไม่ค่อยแจ่มเพราะเพิ่งฟื้นจากอัมพาตมาใหม่ๆ ก็ทำกายภาพบำบัดให้ท่านรู้เรื่องดีก่อนก็ได้ ไม่ต้องกลัวว่าทำกายภาพแล้วเนื้องอกจะหลุดพลั้วะไปสมอง เพราะการหลุดของเนื้องอกในหัวใจไม่เกี่ยวกับท่าร่างของผู้ป่วยและไม่เกี่ยวกับลักษณะของการออกกำลังกาย เพราะแรงกระทำจากการเปลี่ยนท่าร่างและการออกกำลังกายต่อเนื้องอกในหัวใจมันมันจิ๊บจ๊อยมากเมื่อเทียบกับแรงกระแทกจากการบีบตัวของหัวใจซึ่งเกิดขึ้นทุกวินาที พูดง่ายๆว่าถ้ามันจะหลุดนอนหลับอยู่ดีๆมันก็หลุดได้ ยังไม่เคยมีหลักฐานว่าเนื้องอกในหัวใจหลุดมากขึ้นขณะออกกำลังกาย ดังนั้นให้กลับบ้านไปทำกายภาพบำบัดให้เต็มที่ ไม่ต้องกลัวโน่นกลัวนี่ ใช้เวลาทำนานกี่วันกี่เดือนไม่เป็นไร เอาจนท่านสมองแจ่ม ดุลพินิจดี แล้วก็เล่าเรื่องโรคนี้ให้ท่านฟัง และบอกให้ท่านตัดสินใจเลือกวิธีรักษาของท่านเอง
ผมแนะนำว่าคุณในฐานะลูก ไม่ควรเลือกวิธีรักษาแทนท่าน เพราะเลือกไม่ผ่า ท่านก็มีโอกาสเป็นอัมพาตหรือตาย (จากเนื้องอกหลุด) เลือกที่จะผ่าตัด ท่านก็มีโอกาสจะเป็นอัมพาตหรือตาย (จากการผ่าตัด) คุณก็จะรู้สึกผิดทั้งขึ้นทั้งล่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณไม่เข้าใจสัจจธรรมของชีวิต ซึ่งยายของผมเคยเล่าให้ฟังเป็นภาษาเหนือว่า
"...อายุซาว (ยี่สิบ) แอ่วสาวบ่อก้าย
สามสิบ บ่อหน่ายสังสาร
สี่สิบ เยี้ยะก๋าน (ทำงาน) เหมือนฟ้าผ่า
ห้าสิบ สาวน้อยด่าบ่อเจ็บใจ๋
หกสิบ ไอเหมือนฟาน (อีเก้ง) โขก
เจ็ดสิบ บ่าโหก (โรค) เต็มตัว
แปดสิบ ไค่หัว (หัวเราะ)เหมือนไห้ (ร้องไห้) (คงเป็นเพราะหน้าเหี่ยวมากจนดูไม่ออก)
เก้าสิบ ไข้ก็ตาย ไม่ไข้ก็ตาย.."
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. Bortolotti, U. et al. Surgical excision of intracardiac myxomas (a 20-year follow-up) . Ann Thorac Surg. 1990; 49: 449–453
2. Bjessmo, S. and Ivert, T. Cardiac myxoma (40 years’ experience in 63 patients) . Ann Thorac Surg. 1997; 63: 697–700
3. Bhan, A. et al. Surgical experience with intracardiac myxomas (long-term follow-up) . Ann Thor Surg. 1998; 66: 810–813