เมื่อชีวิตผ่านความตายมาแล้ว
อีกหนึ่งสาระประโยชน์จากสมาชิก RDBY ท่านหนึ่ง ให้ข้อคิดและอุทาหรณ์เตือนใจที่ดีมากสำหรับท่านผู้อ่านที่ถือว่าตัวเองยังอยู่ในวัยหนุ่มสาว ขอขอบคุณท่านเจ้าของประสบการณ์ที่ช่วยให้คนอื่นเรียนรู้เป็นอย่างดีนี้ด้วยนะครับ
................................................
เมื่อชีวิตผ่านความตายมาแล้ว
3 กันยายน 2560 ช่วงเช้ามีอาการเจ็บ หน้าอกอย่างรุนแรง และเริ่มปวดร้าวมาที่แขนซ้าย ภรรยาจึงรีบขับรถไปส่งที่โรงพยาบาลวิภาวดี โชคดีที่เป็นเช้าว้นอาทิตย์ ใชเ้วลาประมาณครึ่งชั่วโมง คุณหมอซักประวัติ สัมภาษณ์ประมาณ 1 นาทีผมก็หมดสติหัวใจหยุดเต้น ทีมแพทย์และพยาบาลฉุกเฉินปั๊มหัวใจขึ้นมา ได้ รู้สึกตัวแป๊บเดียว ผมก็หมดสติหัวใจหยุดเต้นไปอีกครั้ง (ทราบภายหลัง) คราวนี้ทีมฉุกเฉินใส่ท่อช่วยหายใจ ผมจึงรอดมาได้จนถึงทุกวันนี้
ย้อนกลับไปดูประวัติของเรื่องนี้ บริษัทฯให้พนักงานตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี ค่า LDL มากกว่า
160 (เป็นค่าที่ต้องให้ความสำคัญ) มาหลายปี มีคำแนะนำต่อท้ายสมุดตรวจสุขภาพมาโดยตลอด แต่ผมละเลย ไม่ได้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์จนกระทั่ง ถึงวัน ที่ผมหยุดหายใจ แพทย์ที่ ร.พ.วิภาวดีแจ้งว่าผมมีอาการเส้นเลือดอุดตันที่ LM ( Left Main เป็นจุดยุทธศาสตร์) จึงต้องทำบอลลูนเป็นการฉุกเฉิน และให้ทานยาวันละ 5.5 เม็ด
ผมทราบมาว่า การทานยามากย่อมส่งผลข้างเคียง โดยเฉพาะมีผลต่อไตในระยะยาว ครั้นจะหยุดยาเองก็ไม่กล้า จนกระทั่งมาเจอคอร์ส พลิกผันโรคด้วยตนเอง (RDBY) ของหมอสันต์จึงเกิดแรงบันดาลใจที่ต้องการ “ลดยาอย่างปลอดภัย ควรทำอย่างไร”
การเข้าแคมป์ RDBY
คุณหมอสันต์และทีมงาน มีการอบรมทั้งภาควิชาการและภาคปฏิบัติพอสรุปได้ดังนี้
ภาควิชาการ จะบอกข้อมูลของอาหารต่างๆ ควรหลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม กินอาหารพืชให้มากขึ้น และการกินอาหารพืชควรกินอย่างไร
ภาคปฏิบัติ การออกกำลังกายควรออกอย่างไร กิจกรรมเสริมกล้ามเนื้อ การฝึกโยคะ การทรงตัว ฯลฯ
การแบ่งปันประสบการณ์ของผู้เข้าร่วมแคมป์ การเอื้อเฟื้อเผื่อ แผ่การมีไมตรีจิต ของเพื่อนร่วมแคมป์
ที่สำคัญ ที่ใช้อยู่เป็นประจำ เมื่อรู้สึกว่า ขี้เกียจออกกำลังกาย คือ “ไทชิ” ผมนิยามว่า การใช้สติควบคุมการกระทำ หรืออาจกล่าวได้อีกนัยว่าทำอะไรก็ได้เมื่อมีสติควบคุม
ได้อะไรจาก RDBY
ยาที่เคยทานอยู่วันละ 5.5 เม็ด ปัจจุบันน ทานวันละ1.5 เม็ด เดิมค่ายาครั้งละเกือบหมื่น ปัจจุบันค่ายาครั้งละพันกว่าบาท (รับยา 4 เดือน/คร้ัง)
เปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหาร หลีกเลี่ยงการกินเนื้อสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม หรือเมื่ออยากดื่มนมก็ดื่มนมพร่องมันเนย หรือลดปริมาณการกินนมสด 100% ลง กินอาหารประเภทพืชมากขึ้น หลีกเลี่ยงอาหารผัดทอดด้วยน้ำมัน
การออกกำลังกาย เดิมเป็นคนไม่ชอบการออกกำลังกาย แต่ปัจจุบันออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาทีเกือบทุกวัน
ให้ความสำคัญกับการตรวจสุขภาพ โดยเฉพาะค่า LDL
อาหารพืชเป็นหลักสามารถทำให้อร่อยก็ได้
บทสรุป
การเข้าแคมป์ RDBY กับคุณหมอ สันต์ใจยอดศิลป์ และทีมงาน เป็นการเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิต
การดูแลสุขภาพอย่างมีสติ รู้จักอาหาร และการเลือกสรร รู้จักวิธีออกกำลังกายอย่างเหมาะสม รู้จักการใช้สติควบคุมการกระทำ และรู้จักธรรมดาของชีวิต
สุดท้ายนี้ขอขอบคุณหมอสันต์และทีมงาน มา ณ อากาสนี้เป็นอย่างสูง
มาโนชย์ ซื่อสัตย์ อายุ 55 ปี (RDBY รุ่นที่ 9)
ปัจจุบันทำงานอยู่ที่บริษัทการบินไทย
...........................................
................................................
เมื่อชีวิตผ่านความตายมาแล้ว
3 กันยายน 2560 ช่วงเช้ามีอาการเจ็บ หน้าอกอย่างรุนแรง และเริ่มปวดร้าวมาที่แขนซ้าย ภรรยาจึงรีบขับรถไปส่งที่โรงพยาบาลวิภาวดี โชคดีที่เป็นเช้าว้นอาทิตย์ ใชเ้วลาประมาณครึ่งชั่วโมง คุณหมอซักประวัติ สัมภาษณ์ประมาณ 1 นาทีผมก็หมดสติหัวใจหยุดเต้น ทีมแพทย์และพยาบาลฉุกเฉินปั๊มหัวใจขึ้นมา ได้ รู้สึกตัวแป๊บเดียว ผมก็หมดสติหัวใจหยุดเต้นไปอีกครั้ง (ทราบภายหลัง) คราวนี้ทีมฉุกเฉินใส่ท่อช่วยหายใจ ผมจึงรอดมาได้จนถึงทุกวันนี้
ย้อนกลับไปดูประวัติของเรื่องนี้ บริษัทฯให้พนักงานตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี ค่า LDL มากกว่า
160 (เป็นค่าที่ต้องให้ความสำคัญ) มาหลายปี มีคำแนะนำต่อท้ายสมุดตรวจสุขภาพมาโดยตลอด แต่ผมละเลย ไม่ได้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์จนกระทั่ง ถึงวัน ที่ผมหยุดหายใจ แพทย์ที่ ร.พ.วิภาวดีแจ้งว่าผมมีอาการเส้นเลือดอุดตันที่ LM ( Left Main เป็นจุดยุทธศาสตร์) จึงต้องทำบอลลูนเป็นการฉุกเฉิน และให้ทานยาวันละ 5.5 เม็ด
ผมทราบมาว่า การทานยามากย่อมส่งผลข้างเคียง โดยเฉพาะมีผลต่อไตในระยะยาว ครั้นจะหยุดยาเองก็ไม่กล้า จนกระทั่งมาเจอคอร์ส พลิกผันโรคด้วยตนเอง (RDBY) ของหมอสันต์จึงเกิดแรงบันดาลใจที่ต้องการ “ลดยาอย่างปลอดภัย ควรทำอย่างไร”
การเข้าแคมป์ RDBY
คุณหมอสันต์และทีมงาน มีการอบรมทั้งภาควิชาการและภาคปฏิบัติพอสรุปได้ดังนี้
ภาควิชาการ จะบอกข้อมูลของอาหารต่างๆ ควรหลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม กินอาหารพืชให้มากขึ้น และการกินอาหารพืชควรกินอย่างไร
ภาคปฏิบัติ การออกกำลังกายควรออกอย่างไร กิจกรรมเสริมกล้ามเนื้อ การฝึกโยคะ การทรงตัว ฯลฯ
การแบ่งปันประสบการณ์ของผู้เข้าร่วมแคมป์ การเอื้อเฟื้อเผื่อ แผ่การมีไมตรีจิต ของเพื่อนร่วมแคมป์
ที่สำคัญ ที่ใช้อยู่เป็นประจำ เมื่อรู้สึกว่า ขี้เกียจออกกำลังกาย คือ “ไทชิ” ผมนิยามว่า การใช้สติควบคุมการกระทำ หรืออาจกล่าวได้อีกนัยว่าทำอะไรก็ได้เมื่อมีสติควบคุม
ได้อะไรจาก RDBY
ยาที่เคยทานอยู่วันละ 5.5 เม็ด ปัจจุบันน ทานวันละ1.5 เม็ด เดิมค่ายาครั้งละเกือบหมื่น ปัจจุบันค่ายาครั้งละพันกว่าบาท (รับยา 4 เดือน/คร้ัง)
เปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหาร หลีกเลี่ยงการกินเนื้อสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม หรือเมื่ออยากดื่มนมก็ดื่มนมพร่องมันเนย หรือลดปริมาณการกินนมสด 100% ลง กินอาหารประเภทพืชมากขึ้น หลีกเลี่ยงอาหารผัดทอดด้วยน้ำมัน
การออกกำลังกาย เดิมเป็นคนไม่ชอบการออกกำลังกาย แต่ปัจจุบันออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาทีเกือบทุกวัน
ให้ความสำคัญกับการตรวจสุขภาพ โดยเฉพาะค่า LDL
อาหารพืชเป็นหลักสามารถทำให้อร่อยก็ได้
บทสรุป
การเข้าแคมป์ RDBY กับคุณหมอ สันต์ใจยอดศิลป์ และทีมงาน เป็นการเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิต
การดูแลสุขภาพอย่างมีสติ รู้จักอาหาร และการเลือกสรร รู้จักวิธีออกกำลังกายอย่างเหมาะสม รู้จักการใช้สติควบคุมการกระทำ และรู้จักธรรมดาของชีวิต
สุดท้ายนี้ขอขอบคุณหมอสันต์และทีมงาน มา ณ อากาสนี้เป็นอย่างสูง
มาโนชย์ ซื่อสัตย์ อายุ 55 ปี (RDBY รุ่นที่ 9)
ปัจจุบันทำงานอยู่ที่บริษัทการบินไทย
...........................................