เมื่อพยาบาลเป็น stroke
กราบเรียนท่านอ.สันต์ที่เคารพ
หนูชื่อ ... เป็นพยาบาลอายุ 44 ปี นน. 68 สูง 162 Bp 120/70 ถูก Dx. เป็น strokeเมื่อเดือน ... ไปพบพ.ด้วยอาการพูดติดขัดขากรรไกรแข็งประมาณ 5 วินาทีแล้วอาการก็หายไปไม่มีอาการอ่อนแรงหรือชาที่ใดเลย MRI พบ lacuna infarction at rt. centrum พ.ค้นหาสาเหตุการเป็น เพราะไม่มีโรคประจำตัวใดๆผล lab ปัจจุบัน LDL158. HDL 60 chol. 232 Fbs. 100 bp120/70 อื่นๆผลปกติ แต่ผล protein s ต่ำกว่าปกติจึงตรวจซำ้รอผลวันที่17ตค.
ยาที่ได้รับดังนี้ Asa 81mg Applet ละลายลิ่มเลือด Trental 400 mg Sim 10 mg Ranitidine
หนูไม่อยากทานยามาก เพราะทานแล้วเหนื่อยเพลียปวดตามขาไม่สุขสบายใน 2 เดือนแรกแต่ก็อดทนทานตาม พ. สั่งมาตลอด 3 เดือน เพื่อป้องกันการเป็นซ้ำแต่หลัง 3 เดือนหนูแอบหยุดยาเอง โดยทานแต่Asa 81 mg ตัวเดียว เพราะกลัวอันตรายจากยาก็เยอะมากเช่นกัน และอาการทั่วไปเป็นปกติดีค่ะ ดีกว่าตอนทานยามากหลายตัว และควบคุมอาหารมันเลี่ยงอาหารทานแป้งหรือนำ้ตาลโดยเฉพาะตอนเย็นบางทีหลังทานบ้างหากไม่มีอะไรทานแต่ไม่บ่อยนัก นน.ลดจาก 71 กก.เหลือ 68 กก.ในเวลา 2 เดือนค่ะ การออกกำลังกายยังน้อยอยู่ค่ะอาทิตย์ละ 1-2 วันโดยเดินและปั่นจยย.อยู่กับที่ จะทานไข่ทุกวันค่ะไม่ทราบทำถูกต้องหรือไม่ หนูต้องทำอย่างไรอีกบ้างคะ หนูอยากหาทางเลือกให้กับการดูแลรักษาโรคของตนเองบนความรู้ที่มากจริงๆแบบท่านอ.สันต์. ท่านอ.ได้โปรดกรุณาชี้แนะการปฎิบัติตัวที่ถูกต้องและแนะนำเรื่องยาเพื่อเป็นประโยชน์แก่ทุกๆท่านที่ได้อ่านและสำหรับหนูเองจักเป็นพระคุณอย่างสูงค่ะ
สุดท้ายนี้หนูสนใจเข้าคอร์สของท่านอ.ค่ะอ.จัดวันไหนบ้างคะ
ด้วยความเคารพอย่างสูง
..............................................................
ตอบครับ
ประเด็นที่ 1. การวินิจฉัยอัมพาตเฉียบพลัน (stroke)ด้วยตนเอง
ขอถือโอกาสทบทวนความจำสำหรับคนทั่วไปก่อน ขอให้จดจำเกณฑ์วินิจฉัยอัมพาตเฉียบพลันหรือ สโตร้ค ที่เขียนเป็นคำย่อว่า FAST โดย
F= facial drooping แปลว่าหน้าเบี้ยว ซึ่งจะทราบจากเวลาให้ยิงฟันหรือเวลายิ้ม
A= Arm weakness แปลว่าแขนข้างหนึ่งอ่อนแรง เช่นยกไม่ขึ้น หรือหยิบจับอะไรแล้วหล่น
S= Speech difficulties แปลว่าพูดไม่ชัดหรือไม่ได้
T= Time แปลว่าเรื่องเวลาสำคัญเป็นนาทีทอง ยิ่งรีบไปรพ.ยิ่งรักษาเร็ว ยิ่งได้ผลดีเพราะฉีดยาละลายลิ่มเลือดได้ทัน แต่ถ้าเกิน 4 ชั่วโมงไปแล้วก็แทบไม่มีประโยชน์เลย
อย่างกรณีคุณนี้เป็นตัวอย่างที่ดีให้ท่านผู้อ่านท่านอื่นเอาอย่าง คือแค่พูดติดๆขัดๆเหมือนขากรรไกรแข็งคุณก็วินิจฉัยตัวเองได้แล้วว่าเป็นสโตร้ค สมกับเป็นพยาบาลระดับมืออาชีพ ผิดกับพยาบาลรุ่นพี่ของคุณท่านหนึ่ง นานมาแล้ว ในยุคก่อนที่เกณฑ์วินิจฉัย FAST นี้จะออกมา เธอมาปรึกษาผมว่าจะพาสามีไปหาหมอดีไหม ไปหาหมอไหนดี เขาไม่พูดกับเธอมาสองวันแล้ว เธอนึกว่าเขางอนเธอ เพราะเขางอนเธอประจำ แต่เขาไม่เคยงอนนานถึงสองวันทั้งๆที่เธอง้ออย่างสุดๆแล้ว ผมจึงบอกเธอว่าเขาเป็นสโตร้คไปเสียแล้วมั้ง ซึ่งการณ์ต่อมาเมื่อพาไปหาหมอและตรวจ CT สมองแล้วก็พบว่าเขาเป็นสโตร๊คไปเสียแล้วจริงๆ สองวัน ในมือของพยาบาลวิชาชีพ หิ หิ เชื่อหรือไม่
ประเด็นที่ 2. โปรตีนเอส. (protein S) คืออะไร
ตอบว่ามันคือโมเลกุลในร่างกายที่ทำหน้าที่ช่วยต้านการแข็งตัวของเลือด คนบางคนมีพันธุกรรมที่ทำให้โปรตีนตัวนี้ต่ำ เรียกว่าเป็นโรคขาดโปรตีนเอส (protein s deficiency) ทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำได้ง่าย หลอดเลือดดำนะไม่ใช่หลอดเลือดแดง คือทำให้เป็นโรคที่เรียกว่าลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดดำส่วนลึก (deep vein thrombosis - DVT) ซึ่งไม่เกี่ยวอะไรกับการเป็นสโตร้คของคุณ ซึ่งเป็นลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดแดงในสมอง กรณีของคุณนี้ไม่เกี่ยวอะไรกับโปรตีนเอสต่ำ เพราะข้อมูลวิจัยในผู้ป่วยจริงถึงทุกวันนี้ยังไม่เคยหลักฐานมั่นเหมาะว่าโปรตีนเอสต่ำทำให้เกิดสโตร้ค
ประเด็นที่ 3. แล้วสโตร้คของคุณเกิดจากอะไร
ตอบว่าไม่มีใครทราบหรอกครับ ได้แต่เดาเอาว่ามันอาจจะเกิดจากปัจจัยเสี่ยงไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง วงการแพทย์แบ่งปัจจัยเสี่ยงอัมพาตออกเป็นสองกลุ่ม คือปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันไม่ได้ซึ่งส่วนนั้นคุณไม่ต้องไปรู้มันหรอก มาสนใจส่วนที่สองคือปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันได้ดีกว่า ได้แก่
1. ความดันเลือดสูง
2. สูบบุหรี่
3. เป็นเบาหวาน
4. กินอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวมาก มีเนื้อสัตว์มาก
5. ไม่ได้ออกกำลังกาย
6. อ้วน
7. ไขมันในเลือดสูง
8. หลอดเลือดที่คอตีบ (carotid artery disease)
9. หลอดเลือดส่วนปลายตีบ
10. หัวใจห้องบนเต้นรัว (AF)
11. โรคหัวใจอื่น เช่นหลอดเลือดหัวใจตีบ หัวใจล้มเหลว โรคลิ้นหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
12. โรคเลือดที่ทำให้เลือดแข็งตัวง่าย
13. ยาคุมกำเนิดชนิดที่มีฮอร์โมนมาก
ประเด็นที่ 4. เป็นสโตร้คแล้วควรทำตัวยังไงต่อไปดี
ตอบว่าคุณก็จัดการปัจจัยเสี่ยงทั้ง 13 ประการข้างต้นนั่นแหละครับ ซึ่งผมขอไฮไลท์แค่สี่ห้าเรื่อง คือ
1. กินอาหารกากใยและธัญพืชไม่ขัดสี (ข้าวกล้องแทนข้าวขาว) เพราะงานวิจัยทบทวนวรรณกรรมเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างอาหารกากใยและธัญพืชไม่ขัดสีกับอุบัติการณ์อัมพาต พบว่ามีความสัมพันธ์กันในลักษณะแปรผันตามปริมาณที่บริโภค ยิ่งบริโภคอาหารกากและธัญพืชไม่ขัดสีมาก ยิ่งเป็นอัมพาตน้อย
2. กินผักผลไม้ให้มาก เพราะงานวิจัยทบทวนวรรณกรรมเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างอาหารผักผลไม้กับอุบัติการณ์อัมพาต พบว่ามีความสัมพันธ์กันในลักษณะแปรผันตามปริมาณที่บริโภค ยิ่งบริโภคผักผลไม้มากยิ่งเป็นอัมพาตน้อย
3. อย่าอดนอน เพราะงานวิจัยพบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างการอดนอนกับการเป็นอัมพาต ยิ่งมีเวลานอนน้อยกว่า 7-8 ชม. ยิ่งเป็นอัมพาตมาก
4. อย่าปล่อยให้ร่างกายขาดน้ำ เพราะเมื่อร่างกายขาดน้ำ เลือดจะข้นหนืดไหลช้า จับตัวเป็นลิ่ม และเกิดอัมพาตได้ง่าย ข้อมูลยืนยันว่าการขาดน้ำเป็นเหตุหนึ่งของสโตร้คก็มีคนทำวิจัยไว้แล้วชัดเจนแน่นอน
5. อย่าทำอะไรที่แหย่ให้หลอดเลือดหดตัวแรงๆ เพราะจะซ้ำเหงาให้เป็นอัมพาตเฉียบพลันง่ายขึ้น หลอดเลือดจะหดตัวแรงแบบไม่ยอมคลายง่ายๆเมื่อเยื่อบุผิวด้านในของหลอดเลือดผลิตกาซไนตริกออกไซด์ (NO) ไม่ได้ กาซนี้คอยทำให้หลอดเลือดขยายตัว พอไม่มีกาซนี้หลอดเลือดเล็กๆก็จะหดตัวฟ้าบ..บ ถ้าหดมากก็ถึงขั้นเลือดวิ่งไม่ไปและจับกันเป็นลิ่ม ปัจจัยที่ทำให้เกิดเรื่องแบบนี้ได้มีสี่อย่างคือเมื่อ
(1) ระดับไขมันในเลือดขึ้นสูงฉับพลัน โดยเฉพาะช่วงภายใน 6 ชม. แรกหลังกินอาหารมื้อมันๆหนักๆ
(2) ระดับโซเดียมในเลือดสูง หมายความว่าเมื่อกินเค็ม เค็ม เค็ม ซ้ำซาก
(3) มีความเครียดเฉียบพลัน หมายความว่า..ปรี๊ดแตก
(4) สูบบุหรี่
ประเด็นสำคัญคือคนเป็นสโตร้คแล้วครั้งหนึ่ง โอกาสจะเป็นครั้งที่สองจะสูงกว่าคนไม่เคยเป็นประมาณ 13% ในปีแรก ดังนั้นคุณต้องจริงจังก้บการป้องกัน วันนี้คุณได้เป็นพยาบาลทำหน้าที่ช่วยเหลือคนเจ็บไข้ เป็นชีวิตที่ดีที่คุณมีความสุขและภาคภูมิใจ แต่ถ้าคุณเป็นสโตร้คซ้ำๆเหน่งๆอีกสักครั้งเดียว คุณอาจจะต้องกลายเป็นคนไข้อัมพาตติดเดียง เป็นภาระให้คนอื่นเขามาดูแลหยอดน้ำหยอดข้าวให้คุณไปตลอดชีวิต คุณว่ามันสนุกไหมละ
ประเด็นที่ 5. เรื่องการกินไข่กับการเกิดสโตร๊ค
ตอบว่าข้อมูลความสัมพ้นธ์ตรงๆแบบเป็นเหตุเป็นผลกันระหว่างการกินไข่กับการตายจากโรคหลอดเลือด(ทั้งหัวใจและสมอง) ยังไม่มี มีแต่ข้อมูลเชิงระบาดวิทยาซึ่งยังขัดแย้งกันจนสรุปอะไรเป็นตุเป็นตะไม่ได้ ข้อมูลสุดท้ายที่เพิ่งตีพิมพ์ในวารสาร JAMA เมื่อเดือนมีค.ปีนี้ (2019) บ่งชี้ไปทางว่าการกินอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูงเช่นไข่มากทำให้มีไขมันเลว (LDL) สูงและตายจากโรคหลอดเลือดมากขึ้น พูดง่ายๆว่าไข่ไม่ดี ผมแนะนำว่าขณะที่ข้อมูลยังหลวมอยู่นี้ คุณจะกินไข่มากหรือไม่กินมากให้ดูที่ไขมัน LDL ในเลือดของคุณเป็นหลักดีที่สุด เพราะข้อมูลความสัมพันธ์ระหว่างไขมัน LDL ในเลือดกับอัตราตายนั้นชัดเจนแน่นอนแล้ว อย่างตัวคุณนี้ไขมัน LDL ในเลือดสูงจนหมอเขาสั่งให้ยาลดไขมัน คุณก็ควรจะอยู่ห่างๆไข่ไว้น่าจะดีกว่า แต่สำหรับท่านผู้อ่านท่านอื่นที่ไขมัน LDL ไม่ได้สูง การกินไข่ก็ไม่น่าจะมีผลเสียอะไร
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. ุZhong VW, Horn LV, Cornelis MC, et al. Associations of Dietary Cholesterol or Egg Consumption With Incident Cardiovascular Disease and Mortality. JAMA. 2019;321(11):1081-1095. doi:10.1001/jama.2019.1572
หนูชื่อ ... เป็นพยาบาลอายุ 44 ปี นน. 68 สูง 162 Bp 120/70 ถูก Dx. เป็น strokeเมื่อเดือน ... ไปพบพ.ด้วยอาการพูดติดขัดขากรรไกรแข็งประมาณ 5 วินาทีแล้วอาการก็หายไปไม่มีอาการอ่อนแรงหรือชาที่ใดเลย MRI พบ lacuna infarction at rt. centrum พ.ค้นหาสาเหตุการเป็น เพราะไม่มีโรคประจำตัวใดๆผล lab ปัจจุบัน LDL158. HDL 60 chol. 232 Fbs. 100 bp120/70 อื่นๆผลปกติ แต่ผล protein s ต่ำกว่าปกติจึงตรวจซำ้รอผลวันที่17ตค.
ยาที่ได้รับดังนี้ Asa 81mg Applet ละลายลิ่มเลือด Trental 400 mg Sim 10 mg Ranitidine
หนูไม่อยากทานยามาก เพราะทานแล้วเหนื่อยเพลียปวดตามขาไม่สุขสบายใน 2 เดือนแรกแต่ก็อดทนทานตาม พ. สั่งมาตลอด 3 เดือน เพื่อป้องกันการเป็นซ้ำแต่หลัง 3 เดือนหนูแอบหยุดยาเอง โดยทานแต่Asa 81 mg ตัวเดียว เพราะกลัวอันตรายจากยาก็เยอะมากเช่นกัน และอาการทั่วไปเป็นปกติดีค่ะ ดีกว่าตอนทานยามากหลายตัว และควบคุมอาหารมันเลี่ยงอาหารทานแป้งหรือนำ้ตาลโดยเฉพาะตอนเย็นบางทีหลังทานบ้างหากไม่มีอะไรทานแต่ไม่บ่อยนัก นน.ลดจาก 71 กก.เหลือ 68 กก.ในเวลา 2 เดือนค่ะ การออกกำลังกายยังน้อยอยู่ค่ะอาทิตย์ละ 1-2 วันโดยเดินและปั่นจยย.อยู่กับที่ จะทานไข่ทุกวันค่ะไม่ทราบทำถูกต้องหรือไม่ หนูต้องทำอย่างไรอีกบ้างคะ หนูอยากหาทางเลือกให้กับการดูแลรักษาโรคของตนเองบนความรู้ที่มากจริงๆแบบท่านอ.สันต์. ท่านอ.ได้โปรดกรุณาชี้แนะการปฎิบัติตัวที่ถูกต้องและแนะนำเรื่องยาเพื่อเป็นประโยชน์แก่ทุกๆท่านที่ได้อ่านและสำหรับหนูเองจักเป็นพระคุณอย่างสูงค่ะ
สุดท้ายนี้หนูสนใจเข้าคอร์สของท่านอ.ค่ะอ.จัดวันไหนบ้างคะ
ด้วยความเคารพอย่างสูง
..............................................................
ตอบครับ
ประเด็นที่ 1. การวินิจฉัยอัมพาตเฉียบพลัน (stroke)ด้วยตนเอง
ขอถือโอกาสทบทวนความจำสำหรับคนทั่วไปก่อน ขอให้จดจำเกณฑ์วินิจฉัยอัมพาตเฉียบพลันหรือ สโตร้ค ที่เขียนเป็นคำย่อว่า FAST โดย
F= facial drooping แปลว่าหน้าเบี้ยว ซึ่งจะทราบจากเวลาให้ยิงฟันหรือเวลายิ้ม
A= Arm weakness แปลว่าแขนข้างหนึ่งอ่อนแรง เช่นยกไม่ขึ้น หรือหยิบจับอะไรแล้วหล่น
S= Speech difficulties แปลว่าพูดไม่ชัดหรือไม่ได้
T= Time แปลว่าเรื่องเวลาสำคัญเป็นนาทีทอง ยิ่งรีบไปรพ.ยิ่งรักษาเร็ว ยิ่งได้ผลดีเพราะฉีดยาละลายลิ่มเลือดได้ทัน แต่ถ้าเกิน 4 ชั่วโมงไปแล้วก็แทบไม่มีประโยชน์เลย
อย่างกรณีคุณนี้เป็นตัวอย่างที่ดีให้ท่านผู้อ่านท่านอื่นเอาอย่าง คือแค่พูดติดๆขัดๆเหมือนขากรรไกรแข็งคุณก็วินิจฉัยตัวเองได้แล้วว่าเป็นสโตร้ค สมกับเป็นพยาบาลระดับมืออาชีพ ผิดกับพยาบาลรุ่นพี่ของคุณท่านหนึ่ง นานมาแล้ว ในยุคก่อนที่เกณฑ์วินิจฉัย FAST นี้จะออกมา เธอมาปรึกษาผมว่าจะพาสามีไปหาหมอดีไหม ไปหาหมอไหนดี เขาไม่พูดกับเธอมาสองวันแล้ว เธอนึกว่าเขางอนเธอ เพราะเขางอนเธอประจำ แต่เขาไม่เคยงอนนานถึงสองวันทั้งๆที่เธอง้ออย่างสุดๆแล้ว ผมจึงบอกเธอว่าเขาเป็นสโตร้คไปเสียแล้วมั้ง ซึ่งการณ์ต่อมาเมื่อพาไปหาหมอและตรวจ CT สมองแล้วก็พบว่าเขาเป็นสโตร๊คไปเสียแล้วจริงๆ สองวัน ในมือของพยาบาลวิชาชีพ หิ หิ เชื่อหรือไม่
ประเด็นที่ 2. โปรตีนเอส. (protein S) คืออะไร
ตอบว่ามันคือโมเลกุลในร่างกายที่ทำหน้าที่ช่วยต้านการแข็งตัวของเลือด คนบางคนมีพันธุกรรมที่ทำให้โปรตีนตัวนี้ต่ำ เรียกว่าเป็นโรคขาดโปรตีนเอส (protein s deficiency) ทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำได้ง่าย หลอดเลือดดำนะไม่ใช่หลอดเลือดแดง คือทำให้เป็นโรคที่เรียกว่าลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดดำส่วนลึก (deep vein thrombosis - DVT) ซึ่งไม่เกี่ยวอะไรกับการเป็นสโตร้คของคุณ ซึ่งเป็นลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดแดงในสมอง กรณีของคุณนี้ไม่เกี่ยวอะไรกับโปรตีนเอสต่ำ เพราะข้อมูลวิจัยในผู้ป่วยจริงถึงทุกวันนี้ยังไม่เคยหลักฐานมั่นเหมาะว่าโปรตีนเอสต่ำทำให้เกิดสโตร้ค
ประเด็นที่ 3. แล้วสโตร้คของคุณเกิดจากอะไร
ตอบว่าไม่มีใครทราบหรอกครับ ได้แต่เดาเอาว่ามันอาจจะเกิดจากปัจจัยเสี่ยงไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง วงการแพทย์แบ่งปัจจัยเสี่ยงอัมพาตออกเป็นสองกลุ่ม คือปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันไม่ได้ซึ่งส่วนนั้นคุณไม่ต้องไปรู้มันหรอก มาสนใจส่วนที่สองคือปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันได้ดีกว่า ได้แก่
1. ความดันเลือดสูง
2. สูบบุหรี่
3. เป็นเบาหวาน
4. กินอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวมาก มีเนื้อสัตว์มาก
5. ไม่ได้ออกกำลังกาย
6. อ้วน
7. ไขมันในเลือดสูง
8. หลอดเลือดที่คอตีบ (carotid artery disease)
9. หลอดเลือดส่วนปลายตีบ
10. หัวใจห้องบนเต้นรัว (AF)
11. โรคหัวใจอื่น เช่นหลอดเลือดหัวใจตีบ หัวใจล้มเหลว โรคลิ้นหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
12. โรคเลือดที่ทำให้เลือดแข็งตัวง่าย
13. ยาคุมกำเนิดชนิดที่มีฮอร์โมนมาก
ประเด็นที่ 4. เป็นสโตร้คแล้วควรทำตัวยังไงต่อไปดี
ตอบว่าคุณก็จัดการปัจจัยเสี่ยงทั้ง 13 ประการข้างต้นนั่นแหละครับ ซึ่งผมขอไฮไลท์แค่สี่ห้าเรื่อง คือ
1. กินอาหารกากใยและธัญพืชไม่ขัดสี (ข้าวกล้องแทนข้าวขาว) เพราะงานวิจัยทบทวนวรรณกรรมเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างอาหารกากใยและธัญพืชไม่ขัดสีกับอุบัติการณ์อัมพาต พบว่ามีความสัมพันธ์กันในลักษณะแปรผันตามปริมาณที่บริโภค ยิ่งบริโภคอาหารกากและธัญพืชไม่ขัดสีมาก ยิ่งเป็นอัมพาตน้อย
2. กินผักผลไม้ให้มาก เพราะงานวิจัยทบทวนวรรณกรรมเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างอาหารผักผลไม้กับอุบัติการณ์อัมพาต พบว่ามีความสัมพันธ์กันในลักษณะแปรผันตามปริมาณที่บริโภค ยิ่งบริโภคผักผลไม้มากยิ่งเป็นอัมพาตน้อย
3. อย่าอดนอน เพราะงานวิจัยพบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างการอดนอนกับการเป็นอัมพาต ยิ่งมีเวลานอนน้อยกว่า 7-8 ชม. ยิ่งเป็นอัมพาตมาก
4. อย่าปล่อยให้ร่างกายขาดน้ำ เพราะเมื่อร่างกายขาดน้ำ เลือดจะข้นหนืดไหลช้า จับตัวเป็นลิ่ม และเกิดอัมพาตได้ง่าย ข้อมูลยืนยันว่าการขาดน้ำเป็นเหตุหนึ่งของสโตร้คก็มีคนทำวิจัยไว้แล้วชัดเจนแน่นอน
5. อย่าทำอะไรที่แหย่ให้หลอดเลือดหดตัวแรงๆ เพราะจะซ้ำเหงาให้เป็นอัมพาตเฉียบพลันง่ายขึ้น หลอดเลือดจะหดตัวแรงแบบไม่ยอมคลายง่ายๆเมื่อเยื่อบุผิวด้านในของหลอดเลือดผลิตกาซไนตริกออกไซด์ (NO) ไม่ได้ กาซนี้คอยทำให้หลอดเลือดขยายตัว พอไม่มีกาซนี้หลอดเลือดเล็กๆก็จะหดตัวฟ้าบ..บ ถ้าหดมากก็ถึงขั้นเลือดวิ่งไม่ไปและจับกันเป็นลิ่ม ปัจจัยที่ทำให้เกิดเรื่องแบบนี้ได้มีสี่อย่างคือเมื่อ
(1) ระดับไขมันในเลือดขึ้นสูงฉับพลัน โดยเฉพาะช่วงภายใน 6 ชม. แรกหลังกินอาหารมื้อมันๆหนักๆ
(2) ระดับโซเดียมในเลือดสูง หมายความว่าเมื่อกินเค็ม เค็ม เค็ม ซ้ำซาก
(3) มีความเครียดเฉียบพลัน หมายความว่า..ปรี๊ดแตก
(4) สูบบุหรี่
ประเด็นสำคัญคือคนเป็นสโตร้คแล้วครั้งหนึ่ง โอกาสจะเป็นครั้งที่สองจะสูงกว่าคนไม่เคยเป็นประมาณ 13% ในปีแรก ดังนั้นคุณต้องจริงจังก้บการป้องกัน วันนี้คุณได้เป็นพยาบาลทำหน้าที่ช่วยเหลือคนเจ็บไข้ เป็นชีวิตที่ดีที่คุณมีความสุขและภาคภูมิใจ แต่ถ้าคุณเป็นสโตร้คซ้ำๆเหน่งๆอีกสักครั้งเดียว คุณอาจจะต้องกลายเป็นคนไข้อัมพาตติดเดียง เป็นภาระให้คนอื่นเขามาดูแลหยอดน้ำหยอดข้าวให้คุณไปตลอดชีวิต คุณว่ามันสนุกไหมละ
ประเด็นที่ 5. เรื่องการกินไข่กับการเกิดสโตร๊ค
ตอบว่าข้อมูลความสัมพ้นธ์ตรงๆแบบเป็นเหตุเป็นผลกันระหว่างการกินไข่กับการตายจากโรคหลอดเลือด(ทั้งหัวใจและสมอง) ยังไม่มี มีแต่ข้อมูลเชิงระบาดวิทยาซึ่งยังขัดแย้งกันจนสรุปอะไรเป็นตุเป็นตะไม่ได้ ข้อมูลสุดท้ายที่เพิ่งตีพิมพ์ในวารสาร JAMA เมื่อเดือนมีค.ปีนี้ (2019) บ่งชี้ไปทางว่าการกินอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูงเช่นไข่มากทำให้มีไขมันเลว (LDL) สูงและตายจากโรคหลอดเลือดมากขึ้น พูดง่ายๆว่าไข่ไม่ดี ผมแนะนำว่าขณะที่ข้อมูลยังหลวมอยู่นี้ คุณจะกินไข่มากหรือไม่กินมากให้ดูที่ไขมัน LDL ในเลือดของคุณเป็นหลักดีที่สุด เพราะข้อมูลความสัมพันธ์ระหว่างไขมัน LDL ในเลือดกับอัตราตายนั้นชัดเจนแน่นอนแล้ว อย่างตัวคุณนี้ไขมัน LDL ในเลือดสูงจนหมอเขาสั่งให้ยาลดไขมัน คุณก็ควรจะอยู่ห่างๆไข่ไว้น่าจะดีกว่า แต่สำหรับท่านผู้อ่านท่านอื่นที่ไขมัน LDL ไม่ได้สูง การกินไข่ก็ไม่น่าจะมีผลเสียอะไร
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. ุZhong VW, Horn LV, Cornelis MC, et al. Associations of Dietary Cholesterol or Egg Consumption With Incident Cardiovascular Disease and Mortality. JAMA. 2019;321(11):1081-1095. doi:10.1001/jama.2019.1572