ผมเป็นคนชอบย้ำคิดย้ำทำ (compulsiveness)
เรียนคุณหมอสันต์ที่เคารพ
ผมเป็นคนชอบย้ำคิดย้ำทำ หมอจิตเวชให้ผมกินยาแต่ผมไม่ยอมกิน ผมไม่เชื่อว่ายาจะทำให้ผมเลิกย้ำคิดย้ำทำได้ เพียงแต่ผมยังไม่รู้ว่าผมจะเลิกความคิดนี้ได้อย่างไร คุณหมอช่วยอธิบายกลไกของการย้ำคิดย้ำทำและแนะนำทางออกให้ผมหน่อยครับ
ขอบพระคุณคุณหมอมากครับ
.....................................................
ตอบครับ
ผมจะตอบคำถามโดยไม่ได้ตอบคุณคนเดียวนะ แต่จะตอบให้ผู้อ่านอื่นๆที่ไม่ได้ถามด้วย เพราะการย้ำคิดย้ำทำไม่ได้เกิดกับผู้ป่วยจิตเวชเท่านั้น แต่เกิดกับทุกๆคน
ถ้าเราสังเกตสิ่งต่างๆที่จับต้องมองเห็นได้ (physical) ในธรรมชาติรอบตัวเรา มันมีความซ้ำซากหรือเป็นรอบๆ (cyclical) อยู่ในที เพราะธรรมชาติของมวลสารมันมีแรงดูดแรงผลัก (gravity) ต่อกัน เล็กที่สุดตั้งแต่อีเล็คตรอนที่หมุนรอบแก่นกลางของอะตอมไม่รู้จบ ใหญ่ขึ้นมาก็โลกหมุนรอบตัวเอง ดวงจันทร์หมุนรอบโลก โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ ทุกอย่างมีความซ้ำซากเป็นรอบๆหมด นี่มันเป็นธรรมชาติของสิ่งหยาบๆที่จับต้องมองเห็นได้ ความเป็นรอบๆนี้ก็คือกลไกการถูกบังคับให้ย้ำทำ (compulsiveness) อยู่ในที
แม้ความคิดที่เกิดขึ้นในใจเราซึ่งนำไปสู่ประสบการณ์ชีวิตในแต่ละวันนี้ก็มีธรรมชาติเกิดขึ้นซ้ำซากเป็นรอบๆ โดยเราเป็นผู้สร้างประสบการณ์ในแต่ละวันให้ตัวเองผ่านกลไกที่เราเรียกว่าจิตใต้สำนึก โดยที่เราไม่รู้ตัว ภาษาพฤติกรรมศาสตร์เรียกว่า "วงจรสนองตอบอัตโนมัติชนิดถูกวางเงื่อนไขไว้ก่อน (conditioned reflex)" ชีวิตของเราที่ดำเนินไปแต่ละวันเป็นการสนองตอบอัตโนมัติต่อสิ่งที่เราเคยคิดเคยทำไว้มาก่อนทั้งสิ้น ความคิดเก่าๆที่เราเคยคิดกลายมาเป็นพฤติกรรมที่ถูกบังคับให้ต้องทำอยู่ในที (compulsive behavior) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเราเผลอได้ปลื้มว่าเรานี้ช่างมีอิสระเสรีที่จะทำอะไรก็ได้นั่นแหละสำคัญนัก เพราะแท้ที่จริงสิ่งที่เราลงมือทำมันคือกลไกสนองตอบอัตโนมัติที่ถูกบงการโดยความคิดเมื่ออดีตของเรา มันเป็นแค่การใช้ชีวิตไปตามร่องเก่าๆบูดๆที่เราเผลอสร้างไว้โดยเราไม่รู้ตัว หาใช่ชีวิตเสรีที่เราหลงได้ปลื้มไม่
ตัวอย่างของกลไกถูกบังคับให้ย้ำทำในชีวิตปกติของคนเราก็คือการเสาะหาความมั่นคงในชีวิต เมื่อเรากลัวความเปลี่ยนแปลง เราจะเสาะหาความมั่นคง นั่นคือการเสาะหาอะไรในชีวิตที่จะให้มันเกิดขึ้นแบบเหมือนเดิมซ้ำๆซากๆรอบแล้วรอบเล่า ให้มันมีความแน่นอน (certainty) โดยที่หารู้ไม่ว่านั้นไม่ใช่ชีวิตแล้ว นั่นเป็นความคิด ชีวิตของจริงไม่มีความแน่นอนใดๆทั้งสิ้น
แต่ธรรมชาติของมนุษย์นี้มีความแปลกอยู่อย่างหนึ่งคือ ด้านหนึ่ง เสาะหาความปลอดภัยแน่นอนมั่นคงซึ่งผมเข้าใจว่าเป็นกลไกธรรมชาติจะให้เราธำรงรักษาให้ร่างกายนี้ตั้งอยู่ได้ในสภาพอันควรในเวลานานพอควรแบบว่าไหนๆเกิดมาทั้งทีแล้วก็ให้มันดำรงอยู่ได้สักพัก แต่ อีกด้านหนึ่ง มนุษย์ก็มีธรรมชาติดิ้นรนให้หลุดพ้นจากความซ้ำซากเป็นรอบๆไม่รู้จบรู้สิ้นนี้ไปสู่สภาวะอิสระเสรีกว้างใหญ่ไร้ขอบเขตขาดการบังคับควบคุมให้ย้ำคิดย้ำทำอะไรอย่างเป็นรอบๆนี้เสียที
มองเผินๆก็จะรู้สึกว่าทั้งสองด้านนี้มันขัดกันอยู่ในที แต่เราสามารถจูนทั้งสองด้านนี้ให้ลงตัวได้นะ คือส่วนที่เกี่ยวกับร่างกายเราจำเป็นต้องรักษาเราก็คงการย้ำทำซ้ำๆซากๆไว้เพื่อถนอมให้ร่างกายนี้ตั้งอยู่ได้แบบดีพอควรและใช้การได้เป็นเวลานานพอควร เช่นเราต้องแปรงฟันอาบน้ำทุกวัน คือทางกายเรายอมแต่ขณะเดียวกันเราก็แหกความซ้ำซากทางใจได้โดยแทนที่จะเผลอย้ำคิดย้ำทำไปตามวงจรซ้ำซากของความคิดเก่าๆเน่าๆคืออัตตาของเรานี้ เราก็ขยันทุบทำลายความคิดทิ้งเสียทุกวันๆ ทุบให้หมดได้ยิ่งดี โผล่มาก็ทุบทิ้ง โผล่มาก็ทุบทิ้ง จนหมดความคิดเก่าๆงี่ๆเง่าๆทั้งหลาย ชีวิตก็จะได้อยู่กับเดี๋ยวนี้ซึ่งมีความใหม่ๆสดๆซิงๆที่น่าตื่นตาตื่นใจไร้ขอบเขตและท้าทาย ทุกการสนองตอบต่อเดี๋ยวนี้จะเป็นไปอย่างใส่ใจจดจ่อและรู้เอาเดี๋ยวนั้นตามที่มันเป็น เป็นพฤติกรรมการสนองตอบแบบ conscious behavior ไม่ใช่ compulsive behavior อีกต่อไปแล้ว นี่ไงละที่เป็นชีวิตในรูปแบบที่ส่วนลึกในใจของเราดิ้นรนแสวงหา คุณลองดูหน่อยสิ ลองใช้ชีวิตแบบนี้ในวันนี้ดู แล้ววันพรุ่งนี้ของคุณจะเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง
การจะทำอย่างนี้ได้คุณต้องหัด ทุกวันทุกคืนให้คุณฝึกหัดท่องบอกตัวเองว่ากายนี้ไม่ใช่คุณ ความคิดนี้ไม่ใช่คุณ ให้มันมีช่องว่างอยู่นิดหนึ่งระหว่างคุณกับร่างกาย และระหว่างคุณกับความคิด คุณเป็นผู้สังเกต ร่างกายและความคิดเป็นสิ่งที่ถูกคุณสังเกต คนเรากลัวสองอย่างเท่านั้นคือ กลัวทุกข์กายและกลัวทุกข์ใจ เมื่อมันไม่ใช่คุณ คุณก็จะไปทุกข์กับมันทำไมละ คุณก็แค่คอยสังเกต มันมาก็วางมันลง ทำอย่างนี้แหละ ทำอยู่เนืองๆ เมื่อวางความกลัวทุกข์กายทุกข์ใจลงได้หมดก็จะเหลือแต่ความรู้ตัวซึ่งเป็นชีวิตตัวจริง ณ ที่ตรงนี้คุณจะมีความกล้าออกเดินย่างแบบเต็มก้าว กล้าที่จะยอมรับและสำรวจเรียนรู้ชีวิตอันกว้างใหญ่ที่เดี๋ยวนี้ทีละช็อตๆโดยไม่ต้องถูกยั้งเพราะความกล้ว
และผมบอกคุณก่อนว่าที่ตรงที่ผมเรียกว่า "ชีวิต" นี้ มันไม่มีหรอกนะว่านี่ชีวิตของผม นั่นชีวิตของคุณ แต่เดิมมันมีอยู่ว่านี่ร่างกายของผม นั่นร่างกายของคุณ นี่ความคิดของผม นั่นความคิดของคุณ แต่มันไม่มีหรอกว่านี่ชีวิตของผม นั่นชีวิตของคุณ เพราะชีวิตตัวจริงเมื่อปอกเอาความกลัวจะทุกข์กายทุกข์ใจออกไปแล้ว ก็เหมือนลมในลูกโป่งที่ผิวลูกโป่งแตกออก ลมนั้นจะกระจายไปอยู่ในส่วนไหนของอากาศภายนอกอันกว้างใหญ่คุณบอกไม่ได้ใช่ไหม ชีวิตก็เช่นกัน เมื่อมันหลุดจากสำนึกว่าเป็นบุคคลหรือ "อัตตา" ไปแล้ว มันไม่มีหรอกว่ามันเป็นชีวิตของใคร นี่แหละคือความหลุดพ้น
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
ผมเป็นคนชอบย้ำคิดย้ำทำ หมอจิตเวชให้ผมกินยาแต่ผมไม่ยอมกิน ผมไม่เชื่อว่ายาจะทำให้ผมเลิกย้ำคิดย้ำทำได้ เพียงแต่ผมยังไม่รู้ว่าผมจะเลิกความคิดนี้ได้อย่างไร คุณหมอช่วยอธิบายกลไกของการย้ำคิดย้ำทำและแนะนำทางออกให้ผมหน่อยครับ
ขอบพระคุณคุณหมอมากครับ
.....................................................
ตอบครับ
ผมจะตอบคำถามโดยไม่ได้ตอบคุณคนเดียวนะ แต่จะตอบให้ผู้อ่านอื่นๆที่ไม่ได้ถามด้วย เพราะการย้ำคิดย้ำทำไม่ได้เกิดกับผู้ป่วยจิตเวชเท่านั้น แต่เกิดกับทุกๆคน
ถ้าเราสังเกตสิ่งต่างๆที่จับต้องมองเห็นได้ (physical) ในธรรมชาติรอบตัวเรา มันมีความซ้ำซากหรือเป็นรอบๆ (cyclical) อยู่ในที เพราะธรรมชาติของมวลสารมันมีแรงดูดแรงผลัก (gravity) ต่อกัน เล็กที่สุดตั้งแต่อีเล็คตรอนที่หมุนรอบแก่นกลางของอะตอมไม่รู้จบ ใหญ่ขึ้นมาก็โลกหมุนรอบตัวเอง ดวงจันทร์หมุนรอบโลก โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ ทุกอย่างมีความซ้ำซากเป็นรอบๆหมด นี่มันเป็นธรรมชาติของสิ่งหยาบๆที่จับต้องมองเห็นได้ ความเป็นรอบๆนี้ก็คือกลไกการถูกบังคับให้ย้ำทำ (compulsiveness) อยู่ในที
แม้ความคิดที่เกิดขึ้นในใจเราซึ่งนำไปสู่ประสบการณ์ชีวิตในแต่ละวันนี้ก็มีธรรมชาติเกิดขึ้นซ้ำซากเป็นรอบๆ โดยเราเป็นผู้สร้างประสบการณ์ในแต่ละวันให้ตัวเองผ่านกลไกที่เราเรียกว่าจิตใต้สำนึก โดยที่เราไม่รู้ตัว ภาษาพฤติกรรมศาสตร์เรียกว่า "วงจรสนองตอบอัตโนมัติชนิดถูกวางเงื่อนไขไว้ก่อน (conditioned reflex)" ชีวิตของเราที่ดำเนินไปแต่ละวันเป็นการสนองตอบอัตโนมัติต่อสิ่งที่เราเคยคิดเคยทำไว้มาก่อนทั้งสิ้น ความคิดเก่าๆที่เราเคยคิดกลายมาเป็นพฤติกรรมที่ถูกบังคับให้ต้องทำอยู่ในที (compulsive behavior) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเราเผลอได้ปลื้มว่าเรานี้ช่างมีอิสระเสรีที่จะทำอะไรก็ได้นั่นแหละสำคัญนัก เพราะแท้ที่จริงสิ่งที่เราลงมือทำมันคือกลไกสนองตอบอัตโนมัติที่ถูกบงการโดยความคิดเมื่ออดีตของเรา มันเป็นแค่การใช้ชีวิตไปตามร่องเก่าๆบูดๆที่เราเผลอสร้างไว้โดยเราไม่รู้ตัว หาใช่ชีวิตเสรีที่เราหลงได้ปลื้มไม่
ตัวอย่างของกลไกถูกบังคับให้ย้ำทำในชีวิตปกติของคนเราก็คือการเสาะหาความมั่นคงในชีวิต เมื่อเรากลัวความเปลี่ยนแปลง เราจะเสาะหาความมั่นคง นั่นคือการเสาะหาอะไรในชีวิตที่จะให้มันเกิดขึ้นแบบเหมือนเดิมซ้ำๆซากๆรอบแล้วรอบเล่า ให้มันมีความแน่นอน (certainty) โดยที่หารู้ไม่ว่านั้นไม่ใช่ชีวิตแล้ว นั่นเป็นความคิด ชีวิตของจริงไม่มีความแน่นอนใดๆทั้งสิ้น
แต่ธรรมชาติของมนุษย์นี้มีความแปลกอยู่อย่างหนึ่งคือ ด้านหนึ่ง เสาะหาความปลอดภัยแน่นอนมั่นคงซึ่งผมเข้าใจว่าเป็นกลไกธรรมชาติจะให้เราธำรงรักษาให้ร่างกายนี้ตั้งอยู่ได้ในสภาพอันควรในเวลานานพอควรแบบว่าไหนๆเกิดมาทั้งทีแล้วก็ให้มันดำรงอยู่ได้สักพัก แต่ อีกด้านหนึ่ง มนุษย์ก็มีธรรมชาติดิ้นรนให้หลุดพ้นจากความซ้ำซากเป็นรอบๆไม่รู้จบรู้สิ้นนี้ไปสู่สภาวะอิสระเสรีกว้างใหญ่ไร้ขอบเขตขาดการบังคับควบคุมให้ย้ำคิดย้ำทำอะไรอย่างเป็นรอบๆนี้เสียที
มองเผินๆก็จะรู้สึกว่าทั้งสองด้านนี้มันขัดกันอยู่ในที แต่เราสามารถจูนทั้งสองด้านนี้ให้ลงตัวได้นะ คือส่วนที่เกี่ยวกับร่างกายเราจำเป็นต้องรักษาเราก็คงการย้ำทำซ้ำๆซากๆไว้เพื่อถนอมให้ร่างกายนี้ตั้งอยู่ได้แบบดีพอควรและใช้การได้เป็นเวลานานพอควร เช่นเราต้องแปรงฟันอาบน้ำทุกวัน คือทางกายเรายอมแต่ขณะเดียวกันเราก็แหกความซ้ำซากทางใจได้โดยแทนที่จะเผลอย้ำคิดย้ำทำไปตามวงจรซ้ำซากของความคิดเก่าๆเน่าๆคืออัตตาของเรานี้ เราก็ขยันทุบทำลายความคิดทิ้งเสียทุกวันๆ ทุบให้หมดได้ยิ่งดี โผล่มาก็ทุบทิ้ง โผล่มาก็ทุบทิ้ง จนหมดความคิดเก่าๆงี่ๆเง่าๆทั้งหลาย ชีวิตก็จะได้อยู่กับเดี๋ยวนี้ซึ่งมีความใหม่ๆสดๆซิงๆที่น่าตื่นตาตื่นใจไร้ขอบเขตและท้าทาย ทุกการสนองตอบต่อเดี๋ยวนี้จะเป็นไปอย่างใส่ใจจดจ่อและรู้เอาเดี๋ยวนั้นตามที่มันเป็น เป็นพฤติกรรมการสนองตอบแบบ conscious behavior ไม่ใช่ compulsive behavior อีกต่อไปแล้ว นี่ไงละที่เป็นชีวิตในรูปแบบที่ส่วนลึกในใจของเราดิ้นรนแสวงหา คุณลองดูหน่อยสิ ลองใช้ชีวิตแบบนี้ในวันนี้ดู แล้ววันพรุ่งนี้ของคุณจะเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง
การจะทำอย่างนี้ได้คุณต้องหัด ทุกวันทุกคืนให้คุณฝึกหัดท่องบอกตัวเองว่ากายนี้ไม่ใช่คุณ ความคิดนี้ไม่ใช่คุณ ให้มันมีช่องว่างอยู่นิดหนึ่งระหว่างคุณกับร่างกาย และระหว่างคุณกับความคิด คุณเป็นผู้สังเกต ร่างกายและความคิดเป็นสิ่งที่ถูกคุณสังเกต คนเรากลัวสองอย่างเท่านั้นคือ กลัวทุกข์กายและกลัวทุกข์ใจ เมื่อมันไม่ใช่คุณ คุณก็จะไปทุกข์กับมันทำไมละ คุณก็แค่คอยสังเกต มันมาก็วางมันลง ทำอย่างนี้แหละ ทำอยู่เนืองๆ เมื่อวางความกลัวทุกข์กายทุกข์ใจลงได้หมดก็จะเหลือแต่ความรู้ตัวซึ่งเป็นชีวิตตัวจริง ณ ที่ตรงนี้คุณจะมีความกล้าออกเดินย่างแบบเต็มก้าว กล้าที่จะยอมรับและสำรวจเรียนรู้ชีวิตอันกว้างใหญ่ที่เดี๋ยวนี้ทีละช็อตๆโดยไม่ต้องถูกยั้งเพราะความกล้ว
และผมบอกคุณก่อนว่าที่ตรงที่ผมเรียกว่า "ชีวิต" นี้ มันไม่มีหรอกนะว่านี่ชีวิตของผม นั่นชีวิตของคุณ แต่เดิมมันมีอยู่ว่านี่ร่างกายของผม นั่นร่างกายของคุณ นี่ความคิดของผม นั่นความคิดของคุณ แต่มันไม่มีหรอกว่านี่ชีวิตของผม นั่นชีวิตของคุณ เพราะชีวิตตัวจริงเมื่อปอกเอาความกลัวจะทุกข์กายทุกข์ใจออกไปแล้ว ก็เหมือนลมในลูกโป่งที่ผิวลูกโป่งแตกออก ลมนั้นจะกระจายไปอยู่ในส่วนไหนของอากาศภายนอกอันกว้างใหญ่คุณบอกไม่ได้ใช่ไหม ชีวิตก็เช่นกัน เมื่อมันหลุดจากสำนึกว่าเป็นบุคคลหรือ "อัตตา" ไปแล้ว มันไม่มีหรอกว่ามันเป็นชีวิตของใคร นี่แหละคือความหลุดพ้น
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์