การฝากครรภ์จำเป็นต้องตรวจอะไรบ้าง
เรียนคุณหมอสันต์ที่เคารพ
ดิฉันติดตามอ่านการตอบคำถามคุณหมอมาตลอด คุณหมอให้ความรู้ดีมาก ตัวเองกำลังจะไปฝากครรภ์ เห็นโปรแกรมคลอดเหมาจ่ายของแต่ละโรงพยาบาลต่างลดราคาสู้กันน่าดู เมื่อดูรายการข้างในก็ไม่เท่ากัน การฝากครรภ์นี้ไม่มีมาตรฐานหรือคะว่าต้องตรวจอะไรบ้าง และโปรแกรมที่ราคาถูกๆนั้น ได้มาตรฐานหรือเปล่าคะ
จรี
……………………………..
ตอบครับ
มาตรฐานการฝากครรภ์นั้นมีอยู่แน่นอนครับ แต่ว่ามันมีหลายมาตรฐาน ตั้งแต่มาตรฐานระดับ “จปฐ.” หมายถึงจำเป็นพื้นฐาน ซึ่งประกอบด้วยการตรวจร่างกายโดยแพทย์ ชั่งน้ำหนัก วัดความดัน ตรวจครรภ์ ตรวจปัสสาวะ เจาะเลือดเพื่อตรวจหาหมู่เลือด ABC และ Rh หาระดับน้ำตาลในเลือด (FBS) และดูการติดเชื้อซิฟิลิส (VDRL) ดูการติดเชื้อเอดส์ (HIV) และดูการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี. (HBsAg) ถ้าทำตามนี้ครบก็เรียกว่าได้มาตรฐาน จปฐ.
ถามว่าทำแค่นี้พอไหม แหะ..แหะ.. คนจ่ายสะตังค์หลักให้กับระบบสามสิบบาทและประกันสังคมเขาก็ว่าแค่นี้พอแล้ว แต่มาตรฐานการฝากครรภ์สากลในปัจจุบัน ไม่ว่าจะของทางยุโรปหรืออเมริกา เขาก็จะคุยกับผู้ป่วยถึงประโยชน์และความเสี่ยงของการตรวจอีกหลายอย่างเพื่อให้เจ้าตัวตัดสินใจว่าจะทำการตรวจเพิ่มเติมต่อไปนี้หรือไม่ ได้แก่
1. การตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ โดยเจาะเลือดดูฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ (TSH) และฮอร์โมนไทรอยด์ (FT4) เพื่อให้แน่ใจว่าไม่เป็นโรคไฮโปไทรอยด์ระยะไม่มีอาการ ซึ่งจะทำให้ได้ลูกที่เป็นคนสึ่งตึง หรือคนง่าวคนเอ๋อได้ ถ้าไม่ป้องกันตรงนี้เราก็จะมีคนง่าวเกิดมาแยะ รวมทั้งคนง่าวประเภท “ท่านประธานที่เคารพ ผมไม่เคารพท่านประธาน” (ขอโทษ... ผมนอกเรื่องและปากเสียอีกละ)
2. การตรวจคัดกรองโรคทาลาสซีเมียอย่างละเอียด โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าผลการตรวจนับเม็ดเลือด (CBC) รายงานว่ามีเม็ดเลือดแดงขนาดเล็กกว่าปกติ (ค่า MCV ต่ำกว่าปกติ) ทั้งการตรวจวิเคราะห์ชนิดฮีโมโกลบินเพื่อหาโรคทาลาสซีเมียเบต้า และการวิเคราะห์ยีนเพื่อหาทาลาสซีเมียอัลฟ่า เพื่อให้แน่ใจก่อนว่าลูกที่จะออกมาจะไม่เป็นโรคทาลาสซีเมียระดับรุนแรง
3. การตรวจสถานะภูมิคุ้มกันโรคหัดเยอรมัน เพื่อเฝ้าระวังและวินิจฉัยการติดเชื้อหัดเยอรมันขณะตั้งครรภ์ ซึ่งหาดเกิดขึ้นจะเป็นปัญหารุนแรงถึงขึ้นต้องตัดสินใจทำแท้ง
4. การตรวจคัดกรองโรคดาวน์ซินโดรมในขณะอายุครรภ์ระหว่าง 11-13 สปด. ในรูปแบบของ combination test หรือตรวจควบสามอย่าง คือ (1) ใช้อุลตร้าซาวด์ตรวจปริมาณของเหลวที่ท้ายทอยทารก (nuchal translucency) (2) ตรวจเลือดหา beta-HCG (3) เจาะเลือดหาโปรตีนชื่อ PAPPA (pregnancy associated plasma protein A)
5. การตรวจคัดกรองความผิดปกติของทารกด้วยอุลตร้าซาวด์เมื่ออายุครรภ์ 18-20 สปด.
6. การตรวจหาบักเตรีในปัสสาวะเพื่อคัดกรองภาวะติดเชื้อในปัสสาวะโดยไม่มีอาการ (asymptomatic bacteriuria) เป็นการป้องกันการติดเชื้อกรวยไตขณะตั้งครรภ์
คนจ่ายสะตังค์เขาจะว่าอย่างไรก็ช่างเถอะ แต่ตามความเห็นของผม มีความเห็นว่าการตรวจเพิ่มทั้ง 6 อย่างข้างต้นนี้มีความจำเป็นทุกอย่าง และแนะนำให้คุณขวานขวายตรวจให้ได้ข้อมูลทั้งหกเรื่องนี้ให้ครบ แม้จะต้องควักกระเป๋าตัวเองจ่ายก็ทำไปเถอะ เพราะมันเป็นการลงทุนป้องกันโรคอันสืบเนื่องจากการตั้งครรภ์และการคลอดที่คุ้มยิ่งกว่าคุ้มครับ
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. National Collaborating Centre for Women's and Children's Health. Antenatal care: routine care for the healthy pregnant woman. London (UK): National Institute for Health and Clinical Excellence (NICE); 2008 Mar. 56 p. (Clinical guideline; no. 62).
ดิฉันติดตามอ่านการตอบคำถามคุณหมอมาตลอด คุณหมอให้ความรู้ดีมาก ตัวเองกำลังจะไปฝากครรภ์ เห็นโปรแกรมคลอดเหมาจ่ายของแต่ละโรงพยาบาลต่างลดราคาสู้กันน่าดู เมื่อดูรายการข้างในก็ไม่เท่ากัน การฝากครรภ์นี้ไม่มีมาตรฐานหรือคะว่าต้องตรวจอะไรบ้าง และโปรแกรมที่ราคาถูกๆนั้น ได้มาตรฐานหรือเปล่าคะ
จรี
……………………………..
ตอบครับ
มาตรฐานการฝากครรภ์นั้นมีอยู่แน่นอนครับ แต่ว่ามันมีหลายมาตรฐาน ตั้งแต่มาตรฐานระดับ “จปฐ.” หมายถึงจำเป็นพื้นฐาน ซึ่งประกอบด้วยการตรวจร่างกายโดยแพทย์ ชั่งน้ำหนัก วัดความดัน ตรวจครรภ์ ตรวจปัสสาวะ เจาะเลือดเพื่อตรวจหาหมู่เลือด ABC และ Rh หาระดับน้ำตาลในเลือด (FBS) และดูการติดเชื้อซิฟิลิส (VDRL) ดูการติดเชื้อเอดส์ (HIV) และดูการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี. (HBsAg) ถ้าทำตามนี้ครบก็เรียกว่าได้มาตรฐาน จปฐ.
ถามว่าทำแค่นี้พอไหม แหะ..แหะ.. คนจ่ายสะตังค์หลักให้กับระบบสามสิบบาทและประกันสังคมเขาก็ว่าแค่นี้พอแล้ว แต่มาตรฐานการฝากครรภ์สากลในปัจจุบัน ไม่ว่าจะของทางยุโรปหรืออเมริกา เขาก็จะคุยกับผู้ป่วยถึงประโยชน์และความเสี่ยงของการตรวจอีกหลายอย่างเพื่อให้เจ้าตัวตัดสินใจว่าจะทำการตรวจเพิ่มเติมต่อไปนี้หรือไม่ ได้แก่
1. การตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ โดยเจาะเลือดดูฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ (TSH) และฮอร์โมนไทรอยด์ (FT4) เพื่อให้แน่ใจว่าไม่เป็นโรคไฮโปไทรอยด์ระยะไม่มีอาการ ซึ่งจะทำให้ได้ลูกที่เป็นคนสึ่งตึง หรือคนง่าวคนเอ๋อได้ ถ้าไม่ป้องกันตรงนี้เราก็จะมีคนง่าวเกิดมาแยะ รวมทั้งคนง่าวประเภท “ท่านประธานที่เคารพ ผมไม่เคารพท่านประธาน” (ขอโทษ... ผมนอกเรื่องและปากเสียอีกละ)
2. การตรวจคัดกรองโรคทาลาสซีเมียอย่างละเอียด โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าผลการตรวจนับเม็ดเลือด (CBC) รายงานว่ามีเม็ดเลือดแดงขนาดเล็กกว่าปกติ (ค่า MCV ต่ำกว่าปกติ) ทั้งการตรวจวิเคราะห์ชนิดฮีโมโกลบินเพื่อหาโรคทาลาสซีเมียเบต้า และการวิเคราะห์ยีนเพื่อหาทาลาสซีเมียอัลฟ่า เพื่อให้แน่ใจก่อนว่าลูกที่จะออกมาจะไม่เป็นโรคทาลาสซีเมียระดับรุนแรง
3. การตรวจสถานะภูมิคุ้มกันโรคหัดเยอรมัน เพื่อเฝ้าระวังและวินิจฉัยการติดเชื้อหัดเยอรมันขณะตั้งครรภ์ ซึ่งหาดเกิดขึ้นจะเป็นปัญหารุนแรงถึงขึ้นต้องตัดสินใจทำแท้ง
4. การตรวจคัดกรองโรคดาวน์ซินโดรมในขณะอายุครรภ์ระหว่าง 11-13 สปด. ในรูปแบบของ combination test หรือตรวจควบสามอย่าง คือ (1) ใช้อุลตร้าซาวด์ตรวจปริมาณของเหลวที่ท้ายทอยทารก (nuchal translucency) (2) ตรวจเลือดหา beta-HCG (3) เจาะเลือดหาโปรตีนชื่อ PAPPA (pregnancy associated plasma protein A)
5. การตรวจคัดกรองความผิดปกติของทารกด้วยอุลตร้าซาวด์เมื่ออายุครรภ์ 18-20 สปด.
6. การตรวจหาบักเตรีในปัสสาวะเพื่อคัดกรองภาวะติดเชื้อในปัสสาวะโดยไม่มีอาการ (asymptomatic bacteriuria) เป็นการป้องกันการติดเชื้อกรวยไตขณะตั้งครรภ์
คนจ่ายสะตังค์เขาจะว่าอย่างไรก็ช่างเถอะ แต่ตามความเห็นของผม มีความเห็นว่าการตรวจเพิ่มทั้ง 6 อย่างข้างต้นนี้มีความจำเป็นทุกอย่าง และแนะนำให้คุณขวานขวายตรวจให้ได้ข้อมูลทั้งหกเรื่องนี้ให้ครบ แม้จะต้องควักกระเป๋าตัวเองจ่ายก็ทำไปเถอะ เพราะมันเป็นการลงทุนป้องกันโรคอันสืบเนื่องจากการตั้งครรภ์และการคลอดที่คุ้มยิ่งกว่าคุ้มครับ
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
บรรณานุกรม
1. National Collaborating Centre for Women's and Children's Health. Antenatal care: routine care for the healthy pregnant woman. London (UK): National Institute for Health and Clinical Excellence (NICE); 2008 Mar. 56 p. (Clinical guideline; no. 62).