หญิงอายุ 20 จะตรวจสุขภาพประจำปี
อยากทราบว่าการตรวจสุขภาพประจำปี สำหรับหญิง อายุ 20 ปี
ควรจะตรวจอะไรบ้างเพื่อให้ครอบคลุม
แล้วมะเร็งปากมดลูก รังไข่ เต้านม ต้องตรวจด้วยหรือไม่คะ
เป็นการจะไปตรวจสุขภาพประจำปีครั้งแรกเลยค่ะ
………………………………..
ตอบครับ
1. การตรวจสุขภาพประจำปีสำหรับหญิงอายุ 20 ปี อย่างน้อย ควรทำเรื่องต่อไปนี้
1.1 การซักประวัติความเสี่ยงสุขภาพและการตรวจร่างกายทั่วไปโดยแพทย์ ซึ่งรวมถึงการประเมินดัชนีมวลกาย การวัดความดันเลือด
1.2 การตรวจเลือดเพื่อหาข้อมูลความเสี่ยงสุขภาพพื้นฐาน เช่น การตรวจเม็ดเลือด (CBC) ไขมันในเลือด (HDL, LDL, triglyceride) น้ำตาลในเลือด (FBS) หรือน้ำตาลสะสม (HbA1c) ค่าชี้บ่งการทำงานของไต (eGFR) เอ็นไซม์ของตับ (SGPT) ตรวจหาเชื้อ (HBAg) และภูมิคุ้มกันของไวรัสตับอักเสบบี.(HBAb)
1.3 ในกรณีที่ไม่เคยเอ็กซเรย์ปอดมาหลายปี ควรเอ็กซเรย์ปอดเพื่อเก็บภาพไว้เป็นข้อมูลพื้นฐาน
1.4 การทำอุลตร้าซาวด์ช่องท้องเพื่อดูอวัยวะสืบพันธ์สตรีเช่นรังไข่ มดลูก ถ้าทำก็มีประโยชน์ แต่ไม่ถึงกับจำเป็น เพราะอายุขนาดนี้โอกาสพบความผิดปกติมีน้อยมาก
1.5 การตรวจเต้านมโดยวิธีให้แพทย์คลำเต้านมเพียงอย่างเดียวก็เพียงพอ แต่ถ้าอยากตรวจให้ละเอียดจะทำอุลตร้าซาวด์เต้านมแถมด้วยก็มีประโยชน์ แต่การทำแมมโมแกรมเต้านมไม่มีประโยชน์ เพราะเนื้อเต้านมยังแน่น ทำแมมโมแกรมไปก็ไม่เห็นอะไร เสียเงินเปล่า
1.6 การตรวจภายในไม่จำเป็นในวัยของคุณ เพราะมาตรฐานปัจจุบันจะเริ่มตรวจภายในเมื่ออายุ 21 ปี โดยไม่สนว่าเคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อนหรือไม่
1.7 การตรวจอื่นๆนอกจากนี้เป็นการตรวจตามสมัยนิยม แต่ไม่มีประโยชน์อะไรในแง่การประเมินปัจจัยเสี่ยงสุขภาพ เช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การตรวจสารชี้บ่งมะเร็งต่างๆรวมทำมะเร็งรังไข่ ลำไส้ ตับ ตับอ่อน ผมแนะนำว่ามีประโยชน์น้อย ไม่จำเป็นต้องทำ
1.8 ในกรณีที่ผลการตรวจเม็ดเลือด (CBC) สงสัยว่าจะมีโรคทาลาสซีเมียแฝง ควรตรวจวิเคราะห์ฮีโมโกลบินเพื่อดูว่าเป็นทาลาสซีเมียชนิดเบต้าหรือไม่ ควบกับการตรวจยีนอัลฟ่าทาลาสซีเมีย ข้อมูลนี้จะมีประโยชน์ตอนที่จะแต่งงาน
2. เมื่อตรวจจบแล้ว ก็ต้องคุยกับหมอให้ได้ความว่าตกลงเรามีปัจจัยเสี่ยงสุขภาพอะไรบ้าง และจะต้องมีแผนหรือทำตัวอย่างไรในหนึ่งปีข้างหน้านี้ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงเหล่านั้น ตรงนี้สำคัญ ถ้าตรวจจบแล้วกลับบ้านโดยไม่มีไอเดียเลยว่าเรามีความเสี่ยงสุขภาพอะไรบ้าง และต้องปรับตัวอย่างไร การมาตรวจสุขภาพครั้งนี้ก็เสียเที่ยวเปล่า ทั้งนี้เพราะเป้าหมายการตรวจสุขภาพประจำปีคือเพื่อประเมินความเสี่ยงสุขภาพส่วนบุคคลและเพื่อจัดทำแผนสุขภาพประจำปีสำหรับตัวเรา
3. นอกจากการตรวจสุขภาพ สิ่งที่สำคัญคือการฉีดวัคซีนที่จำเป็นให้ครบ ได้แก่
3.1 ในกรณีที่ไม่เคยได้วัคซีน MMR มาก่อน ควรฉีดวัคซีน MMR เพื่อป้องกันหัดเยอรมัน ซึ่งเป็นโรคที่อันตรายมากหากไปเป็นตอนตั้งครรภ์
3.2 ถ้ายังไม่ได้ฉีด ควรฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV vaccine)
3.3 ถ้าผลตรวจเลือดพบว่าไม่มีภูมิคุ้มกัน ควรฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี. ซึ่งเป็นโรคที่ก่อความเสียหายใหญ่หลวงถ้าเป็นขึ้นมา
3.4 ถ้ายังไม่เคยได้วัคซีนป้องกันไข้สุกใส ควรฉีดเสีย เพราะโตเป็นสาวแล้วถ้าเป็นไข้สุกใสจะรุนแรง
3.5 ถ้าว่างเว้นการฉีดกระตุ้นวัคซีนบาดทะยักมาเกิน 10 ปี ควรฉีดกระตุ้นวัคซีนบาดทะยัก 1 ครั้ง (ทุก 10 ปี) เพราะเป็นลูกผู้หญิงจะต้องตั้งท้อง ต้องคลอด จะได้ไม่เสี่ยงต่อการเป็นบาดทะยัก
3.6 ควรฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ประจำปี ปีละครั้ง เพราะไข้หวัดใหญ่สมัยนี้มาแรง ไม่คุ้มเสี่ยง ฉีดวัคซีนป้องกันดีกว่า
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
ควรจะตรวจอะไรบ้างเพื่อให้ครอบคลุม
แล้วมะเร็งปากมดลูก รังไข่ เต้านม ต้องตรวจด้วยหรือไม่คะ
เป็นการจะไปตรวจสุขภาพประจำปีครั้งแรกเลยค่ะ
………………………………..
ตอบครับ
1. การตรวจสุขภาพประจำปีสำหรับหญิงอายุ 20 ปี อย่างน้อย ควรทำเรื่องต่อไปนี้
1.1 การซักประวัติความเสี่ยงสุขภาพและการตรวจร่างกายทั่วไปโดยแพทย์ ซึ่งรวมถึงการประเมินดัชนีมวลกาย การวัดความดันเลือด
1.2 การตรวจเลือดเพื่อหาข้อมูลความเสี่ยงสุขภาพพื้นฐาน เช่น การตรวจเม็ดเลือด (CBC) ไขมันในเลือด (HDL, LDL, triglyceride) น้ำตาลในเลือด (FBS) หรือน้ำตาลสะสม (HbA1c) ค่าชี้บ่งการทำงานของไต (eGFR) เอ็นไซม์ของตับ (SGPT) ตรวจหาเชื้อ (HBAg) และภูมิคุ้มกันของไวรัสตับอักเสบบี.(HBAb)
1.3 ในกรณีที่ไม่เคยเอ็กซเรย์ปอดมาหลายปี ควรเอ็กซเรย์ปอดเพื่อเก็บภาพไว้เป็นข้อมูลพื้นฐาน
1.4 การทำอุลตร้าซาวด์ช่องท้องเพื่อดูอวัยวะสืบพันธ์สตรีเช่นรังไข่ มดลูก ถ้าทำก็มีประโยชน์ แต่ไม่ถึงกับจำเป็น เพราะอายุขนาดนี้โอกาสพบความผิดปกติมีน้อยมาก
1.5 การตรวจเต้านมโดยวิธีให้แพทย์คลำเต้านมเพียงอย่างเดียวก็เพียงพอ แต่ถ้าอยากตรวจให้ละเอียดจะทำอุลตร้าซาวด์เต้านมแถมด้วยก็มีประโยชน์ แต่การทำแมมโมแกรมเต้านมไม่มีประโยชน์ เพราะเนื้อเต้านมยังแน่น ทำแมมโมแกรมไปก็ไม่เห็นอะไร เสียเงินเปล่า
1.6 การตรวจภายในไม่จำเป็นในวัยของคุณ เพราะมาตรฐานปัจจุบันจะเริ่มตรวจภายในเมื่ออายุ 21 ปี โดยไม่สนว่าเคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อนหรือไม่
1.7 การตรวจอื่นๆนอกจากนี้เป็นการตรวจตามสมัยนิยม แต่ไม่มีประโยชน์อะไรในแง่การประเมินปัจจัยเสี่ยงสุขภาพ เช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การตรวจสารชี้บ่งมะเร็งต่างๆรวมทำมะเร็งรังไข่ ลำไส้ ตับ ตับอ่อน ผมแนะนำว่ามีประโยชน์น้อย ไม่จำเป็นต้องทำ
1.8 ในกรณีที่ผลการตรวจเม็ดเลือด (CBC) สงสัยว่าจะมีโรคทาลาสซีเมียแฝง ควรตรวจวิเคราะห์ฮีโมโกลบินเพื่อดูว่าเป็นทาลาสซีเมียชนิดเบต้าหรือไม่ ควบกับการตรวจยีนอัลฟ่าทาลาสซีเมีย ข้อมูลนี้จะมีประโยชน์ตอนที่จะแต่งงาน
2. เมื่อตรวจจบแล้ว ก็ต้องคุยกับหมอให้ได้ความว่าตกลงเรามีปัจจัยเสี่ยงสุขภาพอะไรบ้าง และจะต้องมีแผนหรือทำตัวอย่างไรในหนึ่งปีข้างหน้านี้ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงเหล่านั้น ตรงนี้สำคัญ ถ้าตรวจจบแล้วกลับบ้านโดยไม่มีไอเดียเลยว่าเรามีความเสี่ยงสุขภาพอะไรบ้าง และต้องปรับตัวอย่างไร การมาตรวจสุขภาพครั้งนี้ก็เสียเที่ยวเปล่า ทั้งนี้เพราะเป้าหมายการตรวจสุขภาพประจำปีคือเพื่อประเมินความเสี่ยงสุขภาพส่วนบุคคลและเพื่อจัดทำแผนสุขภาพประจำปีสำหรับตัวเรา
3. นอกจากการตรวจสุขภาพ สิ่งที่สำคัญคือการฉีดวัคซีนที่จำเป็นให้ครบ ได้แก่
3.1 ในกรณีที่ไม่เคยได้วัคซีน MMR มาก่อน ควรฉีดวัคซีน MMR เพื่อป้องกันหัดเยอรมัน ซึ่งเป็นโรคที่อันตรายมากหากไปเป็นตอนตั้งครรภ์
3.2 ถ้ายังไม่ได้ฉีด ควรฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV vaccine)
3.3 ถ้าผลตรวจเลือดพบว่าไม่มีภูมิคุ้มกัน ควรฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี. ซึ่งเป็นโรคที่ก่อความเสียหายใหญ่หลวงถ้าเป็นขึ้นมา
3.4 ถ้ายังไม่เคยได้วัคซีนป้องกันไข้สุกใส ควรฉีดเสีย เพราะโตเป็นสาวแล้วถ้าเป็นไข้สุกใสจะรุนแรง
3.5 ถ้าว่างเว้นการฉีดกระตุ้นวัคซีนบาดทะยักมาเกิน 10 ปี ควรฉีดกระตุ้นวัคซีนบาดทะยัก 1 ครั้ง (ทุก 10 ปี) เพราะเป็นลูกผู้หญิงจะต้องตั้งท้อง ต้องคลอด จะได้ไม่เสี่ยงต่อการเป็นบาดทะยัก
3.6 ควรฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ประจำปี ปีละครั้ง เพราะไข้หวัดใหญ่สมัยนี้มาแรง ไม่คุ้มเสี่ยง ฉีดวัคซีนป้องกันดีกว่า
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์