มีประจำเดือนแล้วปวดท้องหงุดหงิด
อายุ 28 ปี เวลามีประจำเดือนจะปวดท้อง หงุดหงิด ท้องอืด คลืนไส้ จะไม่รู้สึกเลยช่วงมีประจำเดือนวันแรก ไปตรวจภายในมาผลออกมาปกติคะแต่ทำไมปวดท้องมาก จนต้องพึ่งยาแก้ปวด เลยหันมาทานพริมโรส เป็นตัวช่วย ก็ดีขึ้นแต่ยังมีอาการท้องอืด หงุดหงิด เหมือนจะไม่สบาย ทำให้เป็นอุปสรรคการทำงานพอสมควร ทำไมวิถึงมีอาการปวด ทั้งๆ การตรวจภายในก็ปกติน่ะคะ
………………………
ตอบครับ
1. อาการที่มาเป็นกลุ่มตอนเลือดจะไปลมจะมา ภาษาแพทย์เรียกว่า premenstruation syndrome หรือ PMS หมายถึงอาการผิดปกติที่เกิดเฉพาะช่วงก่อนและขณะประจำเดือนมา ปวดท้องน้อย ปวดหลัง ท้องอืด เรอ เบื่ออาหาร อยากกินอะไรเฉพาะอย่างแบบคนแพ้ท้อง ท้องผูก สิวขึ้น ซึมเศร้า ร้องไห้ แสบหน้าอก หงุดหงิด เพลีย ปวดหัว วูบวาบ ปวดข้อ อารมณ์แปรปรวน ไม่มีอารมณ์เซ็กซ์ เต้านมตึง ขาดสมาธิ นอนไม่หลับ มือเท้าบวม อยากอยู่คนเดียว น้ำหนักขึ้น ฯลฯ เป็นต้น
2. ถามว่าทำไมถึงมีอาการพวกนี้ มันเกิดจากอะไร ตอบว่าไม่มีใครทราบ ทราบเพียงแต่ว่ามันสัมพันธ์กับรอบเดือน
3. ถามว่ามีวิธีรักษาอาการที่มาตามรอบเดือนไหม ตอบว่าไม่มี
4. ลองทำสิ่งต่อไปนี้ดูสิครับ แม้จะไม่รู้สาเหตุแต่ก็มีข้อมูลที่เชื่อถือได้ว่าทำให้กลุ่มอาการที่มาตามรอบเดือนดีขึ้น คือ
4.1 การออกกำลังกายให้ถึงระดับมาตรฐาน (คือออกกำลังกายแบบแอโรบิกให้หนักพอควรถึงขั้นร้องเพลงไม่ได้และให้ต่อเนื่องอย่างน้อย 30 นาทีสัปดาห์ละอย่างน้อย 5 ครั้ง ควบกับการออกกำลังกายแบบฝึกกล้ามเนื้อหรือเล่นกล้ามสัปดาห์ละอย่างน้อยสองครั้ง)
4.2 ปรับโภชนาการให้ถูกส่วน ให้มีสัดส่วนของผักและผลไม้มากพอ และลดปริมาณเกลือให้เหลือต่ำมากๆ ลดสารกระตุ้นเช่นกาแฟ แอลกอฮอล์
4.3 จัดเวลานอนให้พอเพียง อย่างน้อยวันละ 7-8 ชม. และนอนให้เป็นเวลา
4.4 การจัดการความเครียด เช่นการฝึกสมาธิ โยคะ มวยจีน ตรงนี้ผมขอแนะนำนอกตำรานิดหนึ่ง ไม่ถือว่าผิดจริยธรรมวิชาชีพนะครับ เพราะบอกแล้วว่านอกตำรา ลองฝึกวิปัสสนาแบบตามดูอาการปวดของร่างกาย (เวทนานุสติปัฐฐาน)มีคนลองแล้วเขาว่าทำให้ความทนทานต่ออาการปวดดีขึ้น เท็จจริงอย่างไรไม่ทราบ เพราะเป็นหลักฐานขั้นคำบอกเล่า ไม่ใช่งานวิจัย
4.5 ใช้ยาช่วย บรรเทาอาการถ้าจำเป็น ทั้งนี้ต้องยอมแลกกับผลเสียที่อาจเกิดจากยา ยาที่ใช้มากได้แก่
4.5.1 ยาแก้ปวด โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาแก้ปวดแก้อักเสบที่ไม่ใช่สะเตียรอยด์ (NSAID)
4.5.2 ยาขับปัสสาวะ ใช้บรรเทาอาการบวมมาก
4.5.3 ยาแก้ซึมเศร้า ถ้ามีอาการหงุดหงิดซึมเศร้ามาก แต่ยาพวกนี้ต้องกินต่อเนื่องทุกวันจึงจะได้ผล
4.5.4 ยาคุมกำเนิด เพื่อปรับระดับฮอร์โมนไม่ให้หวือหวามาก ได้ผลในบางราย
5. พูดถึงยาผีบอกที่ใช้รักษากลุ่มอาการที่มากับรอบเดือน หมายถึงวิตามินหรือสมุนไพรที่มีผู้แนะนำไว้ตามเว็บไซท์มากมายนั้น ยังไม่มีหลักฐานวิทยาศาสตร์รองรับว่าได้ผลจริงหรือไม่ เช่น วิตามินบี.6 วิตามินอี แคลเซียม แมกนีเซียม แมงกานีส ทริปโตแฟน น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส เป็นต้น เนื่องจากหลักฐานทางการแพทย์ยังไม่มี ผมจึงแนะนำอะไรไม่ได้ ถ้าคุณอยากลองก็ลองเถอะครับ
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
………………………
ตอบครับ
1. อาการที่มาเป็นกลุ่มตอนเลือดจะไปลมจะมา ภาษาแพทย์เรียกว่า premenstruation syndrome หรือ PMS หมายถึงอาการผิดปกติที่เกิดเฉพาะช่วงก่อนและขณะประจำเดือนมา ปวดท้องน้อย ปวดหลัง ท้องอืด เรอ เบื่ออาหาร อยากกินอะไรเฉพาะอย่างแบบคนแพ้ท้อง ท้องผูก สิวขึ้น ซึมเศร้า ร้องไห้ แสบหน้าอก หงุดหงิด เพลีย ปวดหัว วูบวาบ ปวดข้อ อารมณ์แปรปรวน ไม่มีอารมณ์เซ็กซ์ เต้านมตึง ขาดสมาธิ นอนไม่หลับ มือเท้าบวม อยากอยู่คนเดียว น้ำหนักขึ้น ฯลฯ เป็นต้น
2. ถามว่าทำไมถึงมีอาการพวกนี้ มันเกิดจากอะไร ตอบว่าไม่มีใครทราบ ทราบเพียงแต่ว่ามันสัมพันธ์กับรอบเดือน
3. ถามว่ามีวิธีรักษาอาการที่มาตามรอบเดือนไหม ตอบว่าไม่มี
4. ลองทำสิ่งต่อไปนี้ดูสิครับ แม้จะไม่รู้สาเหตุแต่ก็มีข้อมูลที่เชื่อถือได้ว่าทำให้กลุ่มอาการที่มาตามรอบเดือนดีขึ้น คือ
4.1 การออกกำลังกายให้ถึงระดับมาตรฐาน (คือออกกำลังกายแบบแอโรบิกให้หนักพอควรถึงขั้นร้องเพลงไม่ได้และให้ต่อเนื่องอย่างน้อย 30 นาทีสัปดาห์ละอย่างน้อย 5 ครั้ง ควบกับการออกกำลังกายแบบฝึกกล้ามเนื้อหรือเล่นกล้ามสัปดาห์ละอย่างน้อยสองครั้ง)
4.2 ปรับโภชนาการให้ถูกส่วน ให้มีสัดส่วนของผักและผลไม้มากพอ และลดปริมาณเกลือให้เหลือต่ำมากๆ ลดสารกระตุ้นเช่นกาแฟ แอลกอฮอล์
4.3 จัดเวลานอนให้พอเพียง อย่างน้อยวันละ 7-8 ชม. และนอนให้เป็นเวลา
4.4 การจัดการความเครียด เช่นการฝึกสมาธิ โยคะ มวยจีน ตรงนี้ผมขอแนะนำนอกตำรานิดหนึ่ง ไม่ถือว่าผิดจริยธรรมวิชาชีพนะครับ เพราะบอกแล้วว่านอกตำรา ลองฝึกวิปัสสนาแบบตามดูอาการปวดของร่างกาย (เวทนานุสติปัฐฐาน)มีคนลองแล้วเขาว่าทำให้ความทนทานต่ออาการปวดดีขึ้น เท็จจริงอย่างไรไม่ทราบ เพราะเป็นหลักฐานขั้นคำบอกเล่า ไม่ใช่งานวิจัย
4.5 ใช้ยาช่วย บรรเทาอาการถ้าจำเป็น ทั้งนี้ต้องยอมแลกกับผลเสียที่อาจเกิดจากยา ยาที่ใช้มากได้แก่
4.5.1 ยาแก้ปวด โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาแก้ปวดแก้อักเสบที่ไม่ใช่สะเตียรอยด์ (NSAID)
4.5.2 ยาขับปัสสาวะ ใช้บรรเทาอาการบวมมาก
4.5.3 ยาแก้ซึมเศร้า ถ้ามีอาการหงุดหงิดซึมเศร้ามาก แต่ยาพวกนี้ต้องกินต่อเนื่องทุกวันจึงจะได้ผล
4.5.4 ยาคุมกำเนิด เพื่อปรับระดับฮอร์โมนไม่ให้หวือหวามาก ได้ผลในบางราย
5. พูดถึงยาผีบอกที่ใช้รักษากลุ่มอาการที่มากับรอบเดือน หมายถึงวิตามินหรือสมุนไพรที่มีผู้แนะนำไว้ตามเว็บไซท์มากมายนั้น ยังไม่มีหลักฐานวิทยาศาสตร์รองรับว่าได้ผลจริงหรือไม่ เช่น วิตามินบี.6 วิตามินอี แคลเซียม แมกนีเซียม แมงกานีส ทริปโตแฟน น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส เป็นต้น เนื่องจากหลักฐานทางการแพทย์ยังไม่มี ผมจึงแนะนำอะไรไม่ได้ ถ้าคุณอยากลองก็ลองเถอะครับ
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์