แค้มป์พลิกผันโรคด้วยตนเองแบบยาว 14 วัน (RDBY 4+10) 22 มีค.-4 เมย. 66
(ภาพวันนี้: นกกระแตแต้แว้ด)
ความเป็นมาของแค้มป์พลิกผันโรคใน 14 วัน RDBY14days)
หลังจากที่ทำแค้มป์พลิกผันโรคด้วยตนเองมา 7 ปี รวม 25 แค้มป์ ผมเรียนรู้ว่าผู้ป่วยโรคเรื้อรังทุกคนล้วนประสบความสำเร็จในฐานะ “ม้าตีนต้น” แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็เริ่มแผ่วและค่อยๆกลับมาสู่วิถีชีวิตเดิมที่นำมาสู่การเป็นโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอดไม่ได้ที่จะหวนกลับไปสู่อาหารเดิมๆ นานมาแล้วเมื่อพบกับหมอดีน ออร์นิช ซึ่งทำแค้มป์แบบเดียวกันที่อเมริกา ผมถามว่าเขาแแก้ปัญหานี้อย่างไร เขาตอบว่าต้องพาผู้ป่วยฝ่าข้ามช่วงลงแดง (withdrawal period) ให้ได้ เขาหมายถึงช่วยที่อยากจะกลับมากินอาหารแบบเดิมที่เขาติดโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารเนื้อสัตว์
ผมมานั่งคิดดูแล้ว ปัญหาของบรรดาม้าตีนต้นน่าจะอยู่ที่
(1) ปัญหาการติดอาหารเดิมๆ ซึ่งการไกการติดอาหารก็เหมือนติดยาเสพย์ติด เมื่อเลิกก็ต้องลงแดงเพราะอยาก ต้องอาศัยใช้เวลาทู่ซี้กินอาหารแบบใหม่ไปนานๆจนพ้นช่วงลงแดง แค้มป์เดิมที่ทำนานแค่ 4-5 วันมันไม่นานพอที่จะผ่านช่วง “ลงแดง” จากการอยากกินอาหารแบบเดิมๆได้
(2) ร่างกายต้องอาสัยเวลาเมื่อเลิกยา ช่วงที่อยู่ในแค้มป์ การลด เลิกยา ทำได้ง่ายมากเพราะมีแพทย์ประกบ แต่พอกลับบ้านการเดินหน้าลดหรือเลิกยาต่อทำได้ยากเพราะผู้ป่วยไม่กล้าลดยา หรือไม่กล้าหยุดยา เพราะไม่มั่นใจที่ไม่มีแพทย์เป็นพี่เลี้ยง
(3) การปลูกนิสัยใหม่ในการกินการใช้ชีวิต ต้องมีเวลาทำซ้ำๆนานพอ เช่น การจะตื่นนอนเช้ามา ออกกำลังกายทันทีโดยไม่ต้องคิดว่าตื่นมาเช้านี้จะทำอะไร ต้องมีโอกาสได้ทำกิจวัตรแบบนั้นซ้ำๆจนทั้งสมองและร่างกายจำได้
(4) การปลูกฝังทักษะด้านอาหาร นอกจากการกินแล้ว มันยังรวมไปถึงการเลือกสรรวัตถุดิบ การทำอาหารเองอย่างง่าย ทั้งหมดนี้ก็ต้องใช้เวลาและโอกาสได้ทำซ้ำๆเองหลายๆวัน จึงจะทำเองได้ในที่สุด
ภาพใหญ่ของ RDBY 4+10
เป็นการออกแบบเอาคอร์ส RDBY ปกติ 4 วัน มาทำต่อเนื่องกับการใช้ชีวิตต่อเนื่องที่เวลเนสวีแคร์อีก 10 วันเพื่อฝังสิ่งที่เรียนรู้ให้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตใหม่ให้ได้ โดย
สี่วันแรก เป็นการเรียนการสอนพลิกผันโรคด้วยตนเองตามปกติ ซึ่งเนื้อหาแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 เจาะลึกลงไปในปัญหาผู้ป่วยเป็นรายคน ทีละคน ตั้งแต่การประเมินสถานะและความรุนแรงของโรคจากผลการตรวจเลือด ตรวจเอ็คโค วิ่งสายพาน ตรวจหัวใจด้วยคอมพิวเตอร์ (CTA) ผลการสวนหัวใจ ตรวจพิเศษของอวัยวะต่างๆทั้ง CT, MRI ตรวจร่างกายโดยแพทย์ แล้วจัดทำแผนการรักษารายคน การตัดสินใจว่าจะใช้วิธีรุกล้ำ (invasive treatment เช่นบอลลูน บายพาส) หรือจะไม่ใช้ เจาะลึกขั้นตอนการลด ละ เลิก ยา การฟื้นฟูหัวใจ การฟื้นฟูสมอง การดูแลตัวเองในทิศทางที่มุ่งให้โรคหาย สำหรับแต่ละคน
ส่วนที่ 2 เจาะลึกเฉพาะโรคเรื้อรังทั้ง 8 โรค (อัมพาต หัวใจ ความดัน เบาหวาน ไขมันสูง อ้วน โรคไตเรื้อรัง โรคสมองเสื่อม) นับตั้งแต่ (1) กลไกร่วมของการเกิดโรค อันได้แก่กลไกการอักเสบของหลอดเลือด กลไกจุลินทรีย์ในลำไส้ กลไกการเผาผลาญของเซลล์ การเสียดุลยภาพของระบบประสาทอัตโนมัติ เป็นต้น (2) ปัจจัยเสี่ยง (3) อาการวิทยา (4) การวินิจฉัย (5) การรักษา รวมทั้งวิธีลดละเลิกยา
ส่วนที่ 3. ฝึกปฏิบัติทักษะพื้นฐานที่จำเป็นในการพลิกผันโรคด้วยตนเอง ทั้งทักษะด้านอาหาร ทักษะด้านการออกกำลังกาย ทักษะการจัดการความเครียด
สิบวันหลัง เป็นการปลูกฝังการเปลี่ยนวิธีใช้ชีวิตให้ยั่งยืน ซึ่งประกอบด้วย
ส้วนที่ 1. การฝ่าข้ามช่วงลงแดงจากการติดอาหารเก่า โดยเน้นการได้กินอาหารในแนวพืชกินเป็นหลักแบบไขมันต่ำ (low fat, plant-based diet) ทุกมื้อทุกวันจนครบ 14 วัน
ส่วนที่ 2. การลดและเลิกยาโดยมีแพทย์เป็นพี่เลี้ยงประกบทุกวัน เป็นรายคน
ส่วนที่ 3. การปลูกฝังนิสัยสุขภาพใหม่ให้เป็นกิจวัตรประจำวันทุกวันจนจำได้ นับตั้งแต่การออกกำลังกายและนั่งสมาธิหลังตื่นนอนเช้า
ส่วนที่ 4. การใช้เวลาทั้งสิบวันเรียนรู้ตอกย้ำฝึกปฏิบัติทักษะด้านอาหาร การออกกำลังกาย และการจัดการความเครียดทุกแง่ทุกมุม
ส่วนที่ 5. การปฏิสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนกับเพื่อนหัวอกเดียวกันซึ่งป่วยเป็นโรคเรื้อรังเหมือนกัน
หลักสูตร RDBY นี้เป็นการใช้วิธีการแพทย์แผนปัจจุบัน (modern medicine) ในรูปแบบการแพทย์แบบอิงหลักฐาน (evidence based medicine) มีแพทย์เป็นผู้กำกับดูแล (medically directed) โดยใช้วิธีมองปัญหาของผู้ป่วยแบบองค์รวม (holistic care) โดยเน้นส่วนที่ผู้ป่วยจะทำโดยตัวเองได้ (self management) เน้นการเปลี่ยนอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการความเครียด การจัดการยาด้วยตัวเอง เป็นต้น
ในกรณีที่ผู้สมัครเข้าร่วมโปรแกรมนี้มีแพทย์เฉพาะทางเจ้าประจำอยู่แล้ว ป่วยไม่ต้องเลิกการรักษากับแพทย์เฉพาะทางที่ดูแลกันมาแต่เดิม เพราะแพทย์ประจำตัวของท่านที่เวลเนสวีแคร์จะทำหน้าที่เป็นแพทย์ประจำครอบครัว (family physician) ของท่านและเป็นพี่เลี้ยงให้ท่านดูแลตัวเองให้เป็น ส่วนการปรึกษาและใช้บริการของแพทย์เฉพาะทางเฉพาะโรคที่ทำมาแต่เดิมนั้นก็ยังทำต่อไปเหมือนเดิม
ผู้สมัครเข้าร่วมโปรแกรมนี้ไม่จำเป็นต้องยกเลิกยาหรือการรักษาที่ตนเองได้มาแต่เดิมในขณะที่เริ่มหันมาใช้วิธีดูแลตนเอง เพราะการรักษาโรคตามโปรแกรมนี้ใช้หลักวิชาการแพทย์แผนปัจจุบันเช่นเดียวกันกับการรักษาในโรงพยาบาล เพียงแต่มุ่งโฟกัสที่การเพิ่มขีดความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยในเรื่องการกินการออกกำลังกายและการใช้ชีวิตจนถึงระดับที่ผู้ป่วยดูแลตัวเองได้ด้วยตนเอง จึงสามารถทำคู่ขนานไปกับการรักษาในโรงพยาบาลได้ เมื่อผู้ป่วยดูแลตนเองได้ดีขึ้นแล้ว ตัวชี้วัดสุขภาพต่างๆจะค่อยๆบ่งชี้ว่าความจำเป็นที่จะต้องพึ่งการรักษาด้วยยาจะค่อยๆลดลงไปเองโดยอัตโนมัติจนสามารถเลิกยาได้เองในที่สุด
ในกรณีที่เป็นผู้ทุพลภาพหรือช่วยเหลือตนเองไม่ได้ซึ่งตามปกติต้องมีผู้ดูแลประจำตัวอยู่แล้ว ต้องนำผู้ดูแลมาด้วย โดยผู้ดูแลต้องลงทะเบียนเป็นผู้ดูแล ทั้งนี้นอกจากอาหารและที่พักแล้ว ผู้ดูแลยังสามารถเข้าร่วมเรียนรู้และฝึกทักษะต่างๆเพื่อประโยชน์ในการติดตามดูแลผู้ป่วย แต่ผู้ดูแลจะไม่ได้พบแพทย์เพื่อตรวจประเมินปัญหาสุขภาพของตนเอง และจะไม่มีบทสรุปสุขภาพของแพทย์ในแดชบอร์ด ในกรณีที่ประสงค์จะได้รับการตรวจสุขภาพและประเมินปัญหาโดยแพทย์ด้วย ผู้ดูแลจะต้องลงทะเบียนเป็นผู้ป่วยอีกคนหนึ่งแยกจากตัวผู้ป่วยที่ตนดูแล เพื่อให้ได้คิวเวลาที่จะเข้าพบแพทย์ซึ่งจำกัดสิทธิ์ไว้เฉพาะผู้ป่วยเท่านั้น
แค้มป์ RDBY 4+10 เหมาะสำหรับใครบ้าง
แค้มป์ RDBY4+10 เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ซึ่งมีความมุ่งมั่นจะจัดการโรคด้วยตนเอง รวมไปถึงการลดหรือเลิกยาอย่างปลอดภัยด้วย โรคที่ครอบคลุมในแค้มป์นี้รวมถึง
(1) โรคหลอดเลือดหัวใจ
(2) โรคหลอดเลือดสมอง (อัมพาต)
(3) โรคความดันเลือดสูง
(4) โรคเบาหวาน
(5) โรคไขมันในเลือดสูง
(6) โรคอ้วน
(7) โรคไตเรื้อรัง
(8) โรคสมองเสื่อม
หลักสูตร (Course Syllabus)
1. วัตถุประสงค์
1.1 วัตถุประสงค์ในด้านความรู้
คาดหวังให้ผู้ป่วยรู้สิ่งต่อไปนี้
1.1.1 รู้กลไกพื้นฐานร่วมของโรคเรื้อรัง (1) กลไกการอักเสบของหลอดเลือด (2) กลไกจุลินทรีย์ในลำไส้ (3) กลไกการเผาผลาญของเซลล์ (4) กลไกการเสียดุลยภาพของระบบประสาทอัตโนมัติ เป็นต้น
1.1.2 รู้ปัจจัยเสี่ยงของโรคเรื้อรังแต่ละโรค
1.1.3 รู้วิธีการวินิจฉัยโรคเรื้อรังแต่ละโรคของแพทย์ และสามารถแปลผลการตรวจ เช่น EST, Echo, CAC, CTA, CAG, CT/MRI brain เป็นต้น
1.1.4 รู้แนวทางการรักษาในส่วนของแพทย์
1.1.5 รู้วิธีจัดการโรคด้วยตนเองในส่วนของตัวผู้ป่วย (1) ในแง่ของโภชนาการ (2) ในแง่ของการออกกำลังกาย (3) ในแง่ของการจัดการความเครียด (4) ในแง่ของการมีสัมพันธภาพที่ดีกับคนรอบตัว
1.1.6 รู้ทางเลือกวิธีรักษาทุกวิธี และรู้ประโยชน์และความเสี่ยงของแต่ละทางเลือกอย่างละเอียด
1.1.7 รู้จักยาทุกตัวที่ตนเองได้รับ ทั้งชื่อ ขนาด วิธีกิน กลุ่มยา ฤทธิ์ยา และผลข้างเคียงของยา
1.1.8 รู้วิธีจัดชั้นและประเมินหลักฐานวิทยาศาสตร์ที่แพร่หลายในอินเตอร์เน็ทว่าอันไหนเป็นหลักฐานที่เชื่อถือได้ระดับมากหรือระดับน้อย
1.1.9 รู้วิธีใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลผู้ป่วยบนอินเตอร์เน็ทในการติดตามดูแลสุขภาพของตนเอง
1.1.10 รู้ศักยภาพของตนเองว่าสามารถทำอะไรได้ด้วยตนเองบ้างเพื่อให้ตนเองหายจากโรค
1.2. วัตถุประสงค์ในด้านทักษะ
คาดหวังให้ผู้ป่วยสามารถทำสิ่งต่อไปนี้ด้วยตนเอง
1.2.1 บริหารจัดการโรคของตนเองได้โดยใช้ตัวชี้วัดพื้นฐาน 8 ตัว (1) น้ำหนัก (2) ความดันเลือด (3) ไขมันในลือด (4) น้ำตาลในเลือด (5) ปริมาณผักผลไม้ที่กินต่อวัน (6) เวลาออกกำลังกายต่อสัปดาห์ (7) การสูบบุหรี่ (8) การนอนหลับ
1.2.2 บริหารยาของตนเองได้ สามารถลดหรือเพิ่มยาของตนเองตามตัวชี้วัดและอาการที่เกี่ยวข้องได้
1.2.3 เปลี่ยนอาหารได้สำเร็จด้วยตนเอง
1.2.4 เลือกอาหารสำเร็จรูปหรือกึ่งสำเร็จรูปในตลาดที่เป็นอาหารพืชแบบไม่สกัดไม่ขัดสีและอาหาร prebiotic, probiotic ได้
1.2.5 ทำอาหารกินเองที่บ้านได้ เช่น ผัดทอดอาหารโดยใช้น้ำหรือใช้ลมร้อนแทนน้ำมันได้ อบถั่วและนัทไว้เป็นอาหารว่างเองได้ ทำเครื่องดื่มจากผักผลไม้โดยไม่ทิ้งกากด้วยตนเองได้
1.2.6 ประเมินสมรรถนะร่างกายของตนเองด้วยการสังเกตอัตราการหายใจ การนับชีพจรจากเครื่องช่วยนับ และการทำ One milk walk test ให้ตัวเองได้
1.2.7 ออกกำลังกายแบบแอโรบิกได้ด้วยตนเองได้
1.2.8 ออกกำลังกายแบบฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อโดยใช้ท่ากายบริหาร ดัมเบล สายยืด และกระบอง ได้ด้วยตนเอง
1.2.9 ออกกำลังกายแบบเสริมการทรงตัวได้ด้วยตนเอง
1.2.10 สามารถกำกับดูแลและแก้ไขท่าร่าง (posture) ในชีวิตประจำวันของตนเองได้
1.2.10 ผ่อนคลายความเครียดเฉียบพลันด้วยเทคนิคต่างๆ relax breathing ได้
1.2.11 จัดการความเครียดในชีวิตประจำวันด้วยการฝึกวางความคิดผ่านเทคนิคต่างๆเช่น นั่งสมาธิ ไทชิ โยคะ ได้
1.2.12 สามารถเปิดตัวเองออกไปมีชีวิตร่วมกับผู้อื่น มีสัมพันธภาพที่ดีกับคนรอบตัวได้
1.2.13 สามารถใช้ Wecare App ในการดูแลตนเองต่อเนื่องได้ด้วยตนเอง
1.3 วัตถุประสงค์ในด้านเจตคติ
คาดหวังให้ผู้ป่วยเกิดเจตคติต่อไปนี้
1.3.1 มีความมั่นใจว่าตนเองสามารถ (empowered) ที่จะดลบันดาลให้โรคของตัวเองหายได้
1.3.2 มีความมุ่งมั่นในพันธะสัญญา (commitment) ที่จะเป็นผู้ดูแลตนเองไม่ให้เป็นภาระแก่คนอื่น
1.3.3 มีความอยาก (motivated) ที่จะมีชีวิตอย่างมีสุขภาพดี มีความสุข
6. ตารางกิจกรรมขณะอยู่ในแค้มป์
วันแรก
09.00 – 16.00 Registration and initial assessment by doctors
1) ลงทะเบียนเข้าแค้มป์
2) เช็คอินเข้าห้องพัก
3) วัดความดันโลหิต ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง คำนวณดัชนีมวลกาย ฝึกหัดใส่ข้อมูลตัวชี้วัดเข้าแอพพลิเคชั่น Wellness we care
4) ผลัดกันเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายเป็นรายคนตามตารางเวลาที่จัดไว้ (เน้นย้ำเรื่องการพบแพทย์ตรงตามเวลาที่จัดไว้ เนื่องจากมีสมาชิกหลายท่าน)
ท่านสามารถพักผ่อนได้ตามอัธยาศัย ทางศูนย์สุขภาพ Wellness We Care Centre (WWC) มีการจัดเตรียมห้องประชุม เพื่อฉายสื่อความรู้ด้านสุขภาพในระหว่างรอคิวพบแพทย์
ระหว่างรอพบแพทย์ สมาชิกแคมป์สามารถเข้าร่วมกิจกรรม workshop ส่งเสริมการนอนหลับ การแช่เท้า และกดจุดฝ่าเท้าด้วยกะลา
15.00 – 16.00 Tea break พักดื่มน้ำชากาแฟ
16.00 – 16.30 แนะนำแคมป์สุขภาพโรคหลอดเลือดหัวใจ (นพ.ปัณณพัฒน์ ลาวัลย์ตระกูล)
แนะนำการติดตั้งและการใช้งานแอพพลิเคชั่นwellness we care เพื่อการติดตามตัวชี้วัดสุขภาพ
16.30- 17.30 กิจกรรมสันทนาการ : Line dance การเต้นไลน์แด๊นซ์เพื่อฝึกกล้ามเนื้อ การทรงตัว และระบบประสาท
18.00 เป็นต้นไป Dinner อาหารเย็น
วันที่สอง
06.30 – 7.00 BP measurement วัดความดันโลหิตตอนเช้า (คุณโอ๋และผู้ช่วย)
07.00 – 08.30 การเตรียมตัวก่อนออกกำลังกาย (การอบอุ่นร่างกายและการออกกำลังกายแบบยืดเหยียด)
การทดสอบพื้นฐานร่างกายเบื้องต้น
(1) Arm curls test ทดสอบความแข็งแรงกล้ามเนื้อแขน
(2) 30 seconds sit-to-stand test ลุกนั่งภายใน 1 นาที
(3) six-minute walk test ทดสอบสมรรถนะร่างกายด้วยวิธีเดิน 6 นาที
(4) time up and go test การลุกเดินและวนกลับ
(5) Chair sit and reach นั่งเก้าอี้แตะปลายเท้า
(6) back scratch test เอื้อมือแตะหลัง
08.30 – 10.00 อาหารเช้าและเวลาส่วนตัว
10.00 – 11.30 Getting to know each other and learn from each other ทำความรู้จักกันและเรียนรู้จาก
โรคของกันและกัน (นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์) Tea break included พักเบรค
11.30 – 12.00 Lecture: Pathophysiology of atherosclerosis กลไกการเกิดโรคหลอดเลือด (นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์)
(1) ระบบหัวใจหลอดเลือดยามปกติ
(2) ระบบประสาทอัตโนมัติยามปกติ
(3) การทำงานของเยื่อบุหลอดเลือด (endothelial function)
(4) กลไกการเกิดความดันเลือดตัวบนและตัวล่าง (mechanism of blood pressure)
(5) กลไกการอักเสบของผนังหลอดเลือด (vascular inflammation)
(6) ปัจจัยเสี่ยงการอักเสบของผนังหลอดเลือด (สารพิษ/การติดเชื้อ/ภูมิคุ้มกัน/การบาดเจ็บ)
(7) กลไกการเกิดโรคไตเรื้อรังจากโรคหลอดเลือดแดงแข็ง
(8) อาหารเนื้อสัตว์กับกลไกการเกิด TMAO และโรคหลอดเลือด
(9) อาหารพืชกับกลไกการต้านการอักเสบ
(10) จุลชีวิตในลำไส้กับการเกิดการอักเสบของหลอดเลือด (microbiome and vascular diseases)
12.00 – 14.00 รับประทานอาหารกลางวันและเวลาส่วนตัว
14.00-14.30 แปลผลการทดสอบสมรรถนะที่ผ่านมา (นพ.ปัณณพัฒน์ ลาวัลย์ตระกูล)
Workshop (1) กิจกรรมการฝึกวัดความดันเลือดด้วยตนเองอย่างถูกวิธี (นพ.ปัณณพัฒน์ ลาวัลย์ตระกูล)
14.30 – 15.30 Lecture : Hypertension โรคความดันเลือดสูง (นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์)
(1) กลไกการเกิดความดันเลือดสูง
(2) พยาธิวิทยาของโรคความดันเลือดสูง
(3) งานวิจัยการรักษาความดันเลือดสูงโดยไม่ใช้ยา
(4) ชนิดของยารักษาความดันเลือดสูง กลไกการออกฤทธิ์ และผลข้างเคียง
(5) การบริหารยาลดความดันรวมถึงการลดหรือเลิกยาลดความดันด้วยด้วยตนเอง
(6) งานวิจัยผลของอาหารต่อโรคไตเรื้อรัง
15.30 – 16.00 พัก Hall
16.00 – 17.00 Workshop strengthening exercise ฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายแบบฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
17.30 – 19.00 Cooking demonstration สาธิตสอนแสดงวิธีทำอาหารแบบพืชเป็นหลัก รูปแบบใกล้เคียงธรรมชาติ ไม่สกัดไม่ขัดสี ไขมันต่ำ (plant-based, whole food, low fat diet; PBWF) และรับประทานอาหารเย็น
วันที่สาม
06.30 – 7.00 BP measurement วัดความดันโลหิตตอนเช้า (คุณโอ๋และผู้ช่วย)
7.00 – 8.00 Stress Management การจัดการความเครียด
(โยคะ สมาธิ ไทชิ) (คุณออย / นพ.สันต์)
08.20 – 10.00 อาหารเช้าและเวลาส่วนตัว ( Fruit bowl)
10.00 – 11.00 Lecture: Ischemic heart disease โรคหัวใจขาดเลือด (นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์)
(1) กลไกพื้นฐานของโรคหัวใจขาดเลือด
(2) อาการวิทยาของหัวใจขาดเลือด แบบด่วน และแบบไม่ด่วน
(3) การแปลผลตรวจพิเศษทางด้านหัวใจ / EST / Echo /CAC (แคลเซียมสะกอร์) / CTA / CAG (สวนหัวใจ)
(4) งานวิจัยเปรียบเทียบการรักษาโรคหัวใจด้วยวิธีรุกล้ำและไม่รุกล้ำ
(5) งานวิจัยการทำให้โรคหัวใจถอยกลับด้วยอาหารและการใช้ชีวิต
10.00น เบรคในHall
11.00 – 12.00 Lecture: Dyslipidemia and Obesity โรคไขมันในเลือดสูงและโรคอ้วน (นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์)
(1) ชนิดของไขมันในเลือด
( 2) ไขมันเลว (LDL) ชนิดอนุภาคใหญ่และชนิดอนุภาคเล็ก
(3) กลไกการเกิดหลอดเลือดอักเสบตามหลังไขมันในเลือดสูง
(4) กลไกการเกิดโรคอ้วน
(5) กลไกการดื้อต่ออินสุลิน
(6) มาตรฐานระดับไขมันในเลือด
(7) ยาลดไขมันในเลือดทุกกลุ่ม กลไกการออกฤทธิ์ และผลข้างเคียง
(8) วิธีบริหารยาลดไขมันในเลือด (รวมถึงการลดและเลิกยา) ด้วยตนเอง
12.00 – 13.30 รับประทานอาหารกลางวันและเวลาส่วนตัว
13.30 – 14.30 Lecture: Overview of Good health concepts Updates in Nutrition Guidelines; Plant-based, whole food, low fat diet ภาพรวมการมีสุขภาพดี และ บรรยายเรื่องโภชนาการ (นพ.ปัณณพัฒน์ ลาวัลย์ตระกูล)
14.30 – 15.00 Food shopping work shop กิจกรรมจ่ายตลาดฉลาดซื้อ
Tea break included
15.30 – 16.00 Workshop : Stretching and Balance exercise การออกกำลังกายแบบยืดเหยียดกล้ามเนื้อและการออกกำลังกายแบบเสริมการทรงตัว
16.00 – 17.00 รับประทานอาหารเย็น เพื่อทำ Intermittent Fasting
17.00 – 18.00 สาธิตสอนแสดงวิธีทำอาหารแบบพืชเป็นหลัก รูปแบบใกล้เคียงธรรมชาติ ไม่สกัดไม่ขัดสี ไขมันต่ำ (Plant-based whole food low fat diet; PBWF) > แกงเลียง ข้าวต้มธัญพืช
18.00 – 19.00 กิจกรรมสนทนาภายใต้เสียงดนตรี มีเครื่องดื่มสมุนไพรเสิร์ฟ
วันที่สี่
06.30 – 7.00 BP measurement วัดความดันโลหิตตอนเช้า (คุณโอ๋และผู้ช่วย)
07.00 – 08.30 Stress management การจัดการความเครียด
(Yoga, Tai Chi and meditation) (คุณออย / นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์)
08.30 – 10.00 อาหารเช้าและเวลาส่วนตัว (Fruit Bowl)
10.00 – 11.00 Lecture : กลไกการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (นพ.ปัณณพัฒน์ ลาวัลย์ตระกูล)
11.00 – 11.30 Tea break
11.30 – 12.30 Q&A ตอบคำถามเจาะลึกเรื่องการจัดการโรครายคน (นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ และทีมแพทย์)
12.30 – 14.00 รับประทานอาหารกลางวันและรับขนมที่สั่ง
16.00 เป็นต้นไป ปิดแคมป์ (สำหรับผู้ที่อยู่ต่ออีก 10 วัน จะมีกิจกรรมวันรุ่งขึ้น)
ตารางกิจกรรมสำหรับ 10 วันหลัง
วัน | 7.00-8.00 | 10.00-11.00 | 11.00 – 13.00 | 13-14.00 | 14.00-16.00 | 18.00-20.00 | ||
5 | ชีวิตใหม่ยามเช้า (ยืดเหยียด, เคลื่อนไหว, เล่นกล้าม, สมาธิ) | Classroom (เรียนกับแพทย์ จากปัญหาสดวันนี้) | เรียนโภชนาการแบบทำกินเอง (สะเปร้าท์สลัด) | ยิม Moving Club | ยิม Moving Club | พักผ่อนกับนักดนตรี | ||
6 | ชีวิตใหม่ยามเช้า (ยืดเหยียด, เคลื่อนไหว, เล่นกล้าม, สมาธิ) | Classroom (เรียนกับแพทย์ จากปัญหาสดวันนี้) | เรียนโภชนาการแบบทำกินเอง (สมูตี้อิ่มหนึ่งมื้อ) | Farm activity | Farm activity | ฟังเพื่อนเล่าและสันทนาการ | ||
7 | ชีวิตใหม่ยามเช้า (ยืดเหยียด, เคลื่อนไหว, เล่นกล้าม, สมาธิ) | Classroom (เรียนกับแพทย์ จากปัญหาสดวันนี้) | เรียนโภชนาการแบบทำกินเอง (ข้าวต้มถั่วธัญพืช) | เวลาส่วนตัว | ยิม WWC | ฟังเพื่อนเล่าและสันทนาการ | ||
8 | ชีวิตใหม่ยามเช้า (ยืดเหยียด, เคลื่อนไหว, เล่นกล้าม, สมาธิ) | Classroom (เรียนกับแพทย์ จากปัญหาสดวันนี้) | เรียนโภชนาการแบบทำกินเอง (probiotic) | เวลาส่วนตัว | เดินแรลลี่แบบเบาๆ | ฟังเพื่อนเล่าและสันทนาการ | ||
9 | ชีวิตใหม่ยามเช้า (ยืดเหยียด, เคลื่อนไหว, เล่นกล้าม, สมาธิ) | Classroom (เรียนกับแพทย์ จากปัญหาสดวันนี้) | เรียนโภชนาการแบบทำกินเอง (เส้นแบบสุขภาพ) | เวลาส่วนตัว | ยิม WWC | ฟังเพื่อนเล่าและสันทนาการ | ||
10 | ชีวิตใหม่ยามเช้า (ยืดเหยียด, เคลื่อนไหว, เล่นกล้าม, สมาธิ) | Classroom (เรียนกับแพทย์ จากปัญหาสดวันนี้) | เรียนโภชนาการแบบทำกินเอง (อะไรแทนเนื้อสัตว์ในอาหารไทย) | เวลาส่วนตัว | เดินทางไกลแรลลี่ (ตามกำลังแต่ละคน) | ฟังเพื่อนเล่าและสันทนาการ | ||
11 | ชีวิตใหม่ยามเช้า (ยืดเหยียด, เคลื่อนไหว, เล่นกล้าม, สมาธิ) | Classroom (เรียนกับแพทย์ จากปัญหาสดวันนี้) | เรียนโภชนาการแบบทำกินเอง (ขมิ้นชัน) | เวลาส่วนตัว | ยิม WWC | ฟังเพื่อนเล่าและสันทนาการ | ||
12 | ชีวิตใหม่ยามเช้า (ยืดเหยียด, เคลื่อนไหว, เล่นกล้าม, สมาธิ) | Classroom (เรียนกับแพทย์ จากปัญหาสดวันนี้) | เรียนโภชนาการแบบทำกินเอง (ผักย่างน้ำมันมะกอก) | Nature tour | Nature tour | ฟังเพื่อนเล่าและสันทนาการ | ||
13 | ชีวิตใหม่ยามเช้า (ยืดเหยียด, เคลื่อนไหว, เล่นกล้าม, สมาธิ) | Classroom (เรียนกับแพทย์ จากปัญหาสดวันนี้) | เรียนโภชนาการแบบทำกินเอง (ไข่ไม่ใช้น้ำมัน) | เดินธุดงค์วัดพระขาว | เดินธุดงค์วัดพระขาว | พักผ่อนกับนักดนตรี | ||
14 | ชีวิตใหม่ยามเช้า (ยืดเหยียด, เคลื่อนไหว, เล่นกล้าม, สมาธิ) | ไขข้อข้องใจ | สรุปแค้มป์ก่อนจากกัน | |||||
หมายเหตุ: ตารางกิจกรรมเปลี่ยนแปลงได้ตามความจำเป็นทางด้านผู้เรียน
การเตรียมรับภาวะฉุกเฉินขณะเข้าแค้มป์
ผู้ป่วยที่มาเข้าโปรแกรมนี้ส่วนหนึ่งเป็นผู้ป่วยหนัก บ้างทำผ่าตัดบายพาสมาแล้ว บ้างทำบอลลูนมาแล้วคนละครั้งสองครั้ง บ้างมีหัวใจล้มเหลวแค่เดินสองสามก้าวก็หอบหรือเจ็บหน้าอกแล้ว บ้างรอเปลี่ยนหัวใจอยู่ บ้างเพิ่งเป็นอัมพาตมา ความเสี่ยงที่จะเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันหรือหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันหรืออัมพาตเฉียบพลันมีอยู่ตลอดเวลาแม้กระทั่งขณะนั่งหรือนอนอยู่เฉยๆ ความเสี่ยงนี้ผู้ป่วยทุกคนต้องยอมรับว่ามีโอกาสเกิดขึ้นได้ตามโรคของตัวเอง แต่ตัวหมอสันต์เองซึ่งเป็นหมอผ่าตัดหัวใจมาก่อนก็ไม่ประมาทในเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วย ได้เตรียมการด้านความปลอดภัยขณะเข้าแค้มป์ทุกครั้งรวมไปถึงการมีพยาบาลฉุกเฉินพร้อมอยู่ในศูนย์ตลอดเวลา มีอุปกรณ์เครื่องมือเพื่อรับมือกับภาวะฉุกเฉินได้ รวมทั้งขีดความสามารถที่จะเปิดหลอดเลือดให้น้ำเกลือหรือยาทางหลอดเลือดดำได้ทันที ขีดความสามารถที่จะใส่ท่อช่วยหายใจและช่วยการหายใจในภาวะฉุกเฉิน นอกจากนั้นยังมีขีดความสามารถที่จะช็อกไฟฟ้าหัวใจในกรณีฉุกเฉิน การประสานงานกับระบบรถฉุกเฉินและโรงพยาบาลใกล้เคียง และการมีพยาบาลผู้ป่วยวิกฤติอยู่ประจำในแค้มป์ 24 ชั่วโมง มีแพทย์ที่ตามให้เข้ามาดูแลผู้ป่วยได้ในเวลา 5-10 นาทีตลอดการฝึกอบรม
ทั้งนี้อย่าได้เข้าใจผิดว่าการจะปรับวิถีชีวิตเพื่อพลิกผันโรคให้ตัวเองนั้นเป็นเรื่องอันตราย ความเป็นจริงไม่ใช่เลย การปรับการใช้ชีวิตทั้งอาหารและการออกกำลังกายเพื่อดูแลตัวเองให้ได้นั้นเป็นกลไกรักษาโรคตามธรรมชาติ มีอันตรายน้อยกว่าการรักษาด้วยยา บอลลูน หรือผ่าตัดในโรงพยาบาลอย่างเทียบกันไม่ได้ แต่ทางแค้มป์เตรียมความพร้อมด้านความปลอดภัยในแค้มป์ให้มากเข้าไว้เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยหนักซึ่งเป็นกลุ่มที่จะได้ประโยชน์มากที่สุดจากการเข้าแค้มป์ มาเข้าแค้มป์ได้โดยไม่ต้องกังวลว่าจะไม่ปลอดภัยเท่าอยู่ในบ้านตัวเองเท่านั้น
ระยะก่อนเข้าแค้มป์ (Pre-camping preparation)
ผู้ป่วยทุกท่านที่ได้รับเข้าโปรแกรมแล้ว จะต้องจัดส่งข้อมูลโรคของตนมาให้แพทย์วิเคราะห์ล่วงหน้าก่อนวันมาแค้มป์ โดยส่งข้อมูลมาทางคุณสายชล (โอ๋) พยาบาลประจำแค้มป์ ที่อีเมล totenmophph@gmail.com โดยอย่างน้อยต้องส่งข้อมูลพื้นฐานซึ่งจำเป็นต้องใช้ต่อไปนี้มา คือ
(1) ชื่อ นามสกุล
(2) วันเดือนปีเกิด
(3) เพศ
(4) เบอร์โทรศัพท์มือถือ
(5) อีเมลแอดเดรส
(6) เลขบัตรประจำตัวประชาชน
(7) ส่วนสูง
(8) น้ำหนัก
(9) ความดันเลือด
(10) น้ำตาลในเลือด (FBS) หรือน้ำตาลสะสม (HbA1C)
(11) ไขมันเลว (LDL)
(12) ตัวชี้วัดการทำงานของไต (eGFR หรือ Cr)
(13) เอ็นไซม์แสดงการทำงานของตับ (SGPT)
(14) การวินิจฉัย (ชื่อ) โรคทุกโรคที่รักษาอยู่ในปัจจบัน
(15) อาการป่วยทุกอาการที่มีในปัจจุบัน
(16) ยาทุกตัวที่กินอยู่ในปัจจุบัน พร้อมทั้งขนาด และวิธีกิน
(17) ผลการตรวจจำเพาะต่างๆ ถ้ามี เช่น ผลการตรวจเลือดอื่นๆ ภาพเอ็กซเรย์ปอด ผลตรวจสมรรถนะหัวใจ (EST) คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) ผลการตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยคอมพิวเตอร์ (CTA) ผลการตรวจสวนหัวใจ (CAG) ผลการตรวจผลการตรวจ CT สมอง โดยกรณีเป็นภาพหากส่งเป็นไฟล์ดิจิตอลได้ก็จะเป็นพระคุณ แต่หากส่งไม่ได้จะเอาโทรศัพท์ถ่ายแล้วส่งไฟล์รูปมาก็ได้ กรณีเป็นใบรายงานผลให้เอาโทรศัพท์ถ่ายใบรายงานแล้วส่งไฟล์มาก็ได้
(18) คำบอกเล่าลักษณะการใช้ชีวิตประจำวัน เน้นที่
– การบรรยายลักษณะอาหารที่กินแต่ละมื้อทุกมื้อ
– การออกกำลังกายที่ทำในแต่ละวัน
– วิธีจัดการความเครียดที่ใช้อยู่ประจำ
– ความกังวล (concern) ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นพิเศษ หากมีอยู่ในใจก็ให้แจ้งมาให้หมอสันต์ทราบด้วย
สถานที่เรียน
คือ Wellness we care center เวลเนสวีแคร์เซ็นตเตอร์ (มวกเหล็ก-เขาใหญ่)
วันเวลาสำหรับแค้มป์ RDBY 4+10
วันที่ 22 มีค. – 4 เมย. 66
จำนวนที่รับเข้าแค้มป์ RDBY-24
รับจำนวนจำกัด 15 คน
ค่าลงทะเบียน (เฉพาะแค้มป์ RDBY 4+10 แค้มป์แรกนี้)
25,500 บาทสำหรับสำหรับผู้ป่วยที่ลงทะเบียนเข้าแค้มป์ RDBY 4 วันแรก
25,500 บาท สำหรับผู้ป่วยที่ลงทะเบียนเข้าแค้มป์ RDBY 10 วันหลัง
ผู้ไม่สามารถอยู่นานถึง 14 วัน สามารถเลือกลงทะเบียนเฉพาะ RDBY 4 วันได้
ราคานี้ไม่ครอบคลุมถึงค่าเดินทางไปและกลับระหว่างบ้านของท่านกับเวลเนสวีแคร์ (ผู้ป่วยไปเองกลับเอง) ไม่ครอบคลุมค่ายาและค่ารักษาพยาบาลส่วนบุคคลของแต่ละท่าน ไม่ครอบคลุมบริการพิเศษที่ท่านเลือกใช้เช่นการนวดบำบัดต่างๆ
กรณีเป็นผู้ติดตาม ผู้ดูแลหรือ caregiver จะต้องลงทะเบียนเป็นผู้ติดตามแยกต่างหาก ผู้ดูแลหรือผู้ติดตามจะไม่ได้เข้าพบแพทย์เพื่อรับการตรวจร่างกายและไม่ได้ร้บการประเมินปัญหาสุขภาพของตนโดยแพทย์ และไม่มีรายงานสรุปปัญหาสุขภาพโดยแพทย์
ในทุกกรณีเมื่อได้ที่นั่งแล้ว จะต้องโอนเงินค่าลงทะเบียนเข้าบัญชี ธนาคารกสิกรไทย สาขาสมุทรปราการ ชื่อบัญชี บริษัท เมก้า วี แคร์ จำกัด เลขที่บัญชี 007-368-5478 ภายใน 24 ชั่วโมงหลังได้สำรองที่เรียนแล้ว หากพ้น 24 ชั่วโมงไปแล้วถือว่าสละสิทธิ์ ที่นั่งที่สำรองไว้ให้ท่านจะถูกคอมพิวเตอร์ตัดไปจัดสรรไปให้ผู้อื่นโดยอัตโนม้ติ
การสอบถามข้อมูลและลงทะเบียน
สอบถามข้อมูลหรือลงทะเบียนได้ที่ เวลเนสวีแคร์เซ็นเตอร์ โทร : 063-6394003 หรือ Line ID : @wellnesswecare หรือ คลิก https://lin.ee/6JvCBsf CBsf
(นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์)