บทแปลเล็คเชอร์ของนพ.ดีน ออร์นิช เรื่องงานวิจัยมะเร็งกับโภชนาการแบบกินพืชเป็นหลัก

นพ.ดีน ออร์นิช เป็นแพทย์โรคหัวใจที่วัยใกล้เคียงกับผม และโชคชะตาทำให้เราได้มาเป็นเพื่อนกันและพบกันหลายครั้งในโอกาสต่างๆ เมื่อวันที่ผมบรรยายในการประชุม Asian Plant Based Health Care Conference ไม่นานมานี้ นพ.ดีน ออร์นิช ได้ร่วมบรรยายในหัวข้อเรื่อง Cancer Research and Plant Based Nutrition คำบรรยายของเขามีเนื้อหาลึกซึ้งและตั้งคำถามลึกเข้าไปในเนื้อหาวิชาแพทย์แผนปัจจุบันว่าโรคไม่ติดต่อเรื้อรังทั้งหลายเช่นโรคหัวใจ ความดัน เบาหวาน มะเร็ง สมองเสื่อม แท้จริงแล้วมันเป็นโรคเดียวกันที่มีสาเหตุมาจากเหตุเดียวกันหรือเปล่า ถ้าคนตั้งคำถามเช่นนี้เป็นคนที่ไม่มีความรู้วิชาแพทย์อย่างลึกซี้งคนก็ต้องหาว่าบ้า แต่นี่เป็นดีน ออร์นิช ซึ่งจัดได้ว่าเป็นอัจฉริยะของวงการแพทย์ของโลกใบนี้คนหนึ่งที่ได้ทำวิจัยที่มีคุณประโยชน์ไว้มากอย่างไม่น่าเชื่อว่าคนๆหนึ่งจะทำได้ในช่วงหนึ่งของการมีชีวิตอยู่ คำถามนี้จึงกลายเป็นคำถามที่ทำให้วงการแพทย์ต้องอึ้งและต้องค้นหาคำตอบกันต่อไป

ในการบรรยายของเขาครั้งนี้ดีนได้เล่าถึง นพ.ไมเคิล เดอเบกีย์ ซึ่งเป็นปรมาจารย์วิชาการผ่าตัดหัวใจคนดังของโลกและผมเองในฐานะหมอผ่าตัดหัวใจก็รู้จักดี ดีนเล่าว่าไมเคิลผู้มุ่งมั่นในแนวทางการใช้เทคโนโลยีการผ่าตัดหัวใจแก้ปัญหาโรคหัวใจให้คนไข้จนโด่งดังไปทั่วโลก และผู้ซึ่งได้เคยถากถางล้อเลียนการทำวิจัยให้คนไข้กินพืชผักของดีนสมัยดีนเรียนแพทย์ สี่สิบปีต่อมาไมเคิลได้โทรศัพท์มาหาดีนเมื่อไมเคิลอายุได้ 99 ปี และบอกดีนว่าก่อนตายเขาอยากจะบอกให้ดีนรู้ว่าผลงานของดีนมีผลต่อชีวิตของเขาและภรรยามากเพียงใดและเป็นเหตุให้เขาอายุยืนมาถึง 99 ปี บทสนทนาทางโทรศัพท์สั้นๆระหว่างสองคนในครั้งนี้คือลางสำคัญที่บอกว่าการรักษาโรคหัวใจของโลกในอนาคตจะเปลี่ยนโฉมหน้าไปทางใด

ผมได้ขอให้คุณหมอพอซึ่งมีความรู้ภาษาอังกฤษดีกว่าผมถอดคำพูดของดีนออกมาเป็นภาษาไทยแบบคำต่อคำ ผมมั่นใจว่านี่จะเป็นบทความที่ดีที่สุดชิ้นหนึ่งที่บล็อกนี้เคยลงมา

นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์

ดีน ออร์นิช:
สวัสดีครับ ผม นพ.ดีน ออร์นิช ยินดีที่ได้โอกาสมาพูดคุยกันทางไกลวันนี้นะครับ ผมอยากจะพูดเกี่ยวกับพลังในการสร้างความเปลี่ยนแปลงของเวชศาสตร์วิถีชีวิตหรือ lifestyle medicine ซึ่งเป็นสาขาที่ผมได้ช่วยริเริ่มขึ้นมา เขายกให้ผมเป็นบิดาแห่งเวชศาสตร์วิถีชีวิต และการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตนี่แหละสามารถช่วยไม่ใช่แค่ป้องกันโรค แต่ยังรักษาและพลิกผันให้ถอยกลับได้

สำหรับผม มันเป็นสาขาทางการแพทย์ที่น่าสนใจที่สุดในปัจจุบัน และเป็นคลื่นขาขึ้นที่ยังก่อตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ หลักสูตรที่เราพัฒนาและศึกษา [00:00:30] มาตลอด 44 ปีน่าจะได้ มีองค์ประกอบหลักอยู่ 4 อย่าง นั่นคืออาหารธรรมชาติ (whole foods) ที่มีพืชเป็นหลัก (plant-based) ซึ่งมีไขมันและน้ำตาลต่ำโดยธรรมชาติ ส่วนใหญ่ได้แก่ผลไม้ ผัก ธัญพืชไม่ขัดสี ถั่ว และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง ในสภาพที่ใกล้เคียงธรรมชาติที่สุด; เทคนิคการจัดการความเครียดแบบต่างๆ รวมทั้งการยืดเหยียดแบบโยคะ ฝึกการหายใจ ทำสมาธิ และใช้จินตภาพ; การออกกำลังกายแบบหนักปานกลาง ทั้งการเดินแบบแอโรบิก การฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และยืดกล้ามเนื้อด้วย; [00:01:00] และสิ่งที่เราเรียกว่าการสนับสนุนทางจิตสังคม (psychosocial support) หรือก็คือความรักความอบอุ่น การใช้เวลากับเพื่อน ครอบครัว และชุมชน  หรือทั้งหมดก็สรุปเป็นแก่นสำคัญได้ว่า กินให้ดี เคลื่อนไหวร่างกาย ลดความเครียด และเอื้อเฟื้อความรัก เท่านั้นแหละ

และยิ่งเราศึกษาเกี่ยวกับโรคมากขึ้น ก็ยิ่งพบหลักฐานวิทยาศาสตร์ว่าความเปลี่ยนแปลงเล็กๆ เหล่านี้สร้างความแตกต่างที่ทรงพลังขนาดไหน สัปดาห์ที่ผ่านมานี้เอง ยูเอสนิวส์แอนด์เวิลด์รีพอร์ต ซึ่งเขาให้คะแนนแนวอาหารแบบต่างๆ ได้จัดอันดับให้แนวที่เขาเรียกว่าออร์นิชไดเอทเป็นอันดับหนึ่งสำหรับสุขภาพหัวใจในปี 2022 ซึ่งเป็นปีที่ 11 [00:01:30] นับจากปี 2011 ที่เขาเริ่มให้คะแนนมา นี่เป็นแค่อีกหนึ่งเสียงที่แสดงความเชื่อมั่นว่าหลักวิทยาศาสตร์ที่เรานำมาใช้เป็นสิ่งที่สร้างความแตกต่างจากแนวการกินอาหารอื่นๆ และการปรับวิถีชีวิตแบบอื่นๆ

เราพบว่าการปรับวิถีชีวิตแบบเดียวกันเหล่านี้ สามารถพลิกผันโรคเรื้อรังให้ย้อนกลับได้หลากหลายอย่าง ตั้งแต่โรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งเราพิสูจน์ได้เป็นที่แรก มะเร็งต่อมลูกหมากระยะเริ่มต้น ซึ่งเราก็เป็นที่แรกที่ยืนยันได้จากงานวิจัยสุ่มตัวอย่าง เบาหวานประเภท 2 ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง โรคภูมิต้านตนเองหลายอย่าง [00:02:00] โรคอ้วน และอีกมากมาย

แล้วผมก็สงสัยว่าทำไมการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตแบบเดียวกันเหล่านี้ถึงส่งผลกับโรคต่างๆ ได้หลายอย่างนัก เพราะจริงๆ แล้วมันก็คือโปรแกรมวิถีชีวิตและอาหารการกินแบบเดียวกันหมดเลย และผมก็ถูกสอนมาเหมือนกับหมอส่วนใหญ่ให้มองโรคว่าแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง การวินิจฉัยก็ต่าง การรักษาก็ต้องต่าง

ผมได้เขียนหนังสือที่ติดอันดับขายดีระดับชาติ ชื่อเรื่องว่า อันดูอิท! เพิ่งวางแผงแบบปกอ่อนเมื่อสัปดาห์ที่แล้วนี้เอง ซึ่งเสนอทฤษฎีที่รวบยอดแบบถอนรากถอนโคนใหม่เลย ผมร่วมเขียนหนังสือเล่มนี้[00:02:30]กับภรรยาของผม ผู้ซึ่งร่วมงานกันมา 24 ปี และเนื้อหาก็เสนอให้อ่านแบบง่ายๆ มันขึ้นต้นด้วยคำกล่าวของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เป็นข้อความที่ผมชอบมากอันหนึ่งว่า ถ้าคุณอธิบายให้ง่ายๆ ไม่ได้ แสดงว่าคุณยังเข้าใจไม่ดีพอ

และทฤษฎีที่ว่าก็คือ เหตุผลที่การปรับวิถีชีวิตแบบเดียวกันนี้ถึงส่งผลต่อโรคได้หลากหลายมากมายนั้น ผมเรียนมาว่าต่างโรค ต่างการวินิจฉัย ต่างการรักษา แล้วทำไมโปรแกรมวิถีชีวิตแบบเดียวกันถึงส่งผลต่อโรคได้ทั้งหมดนี้  เหตุผลนั้นก็คือโรคทั้งหมดนี้ไม่ได้ต่างกันเท่าไหร่เลย เพราะมันมี[00:03:00]กลไกทางชีวภาพที่เป็นพื้นฐานร่วมกันหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการอักเสบเรื้อรัง ภาวะออกซิเดทีฟสเตรส การกระตุ้นระบบประสาทซิมพาเทติกมากเกิน การเปลี่ยนแปลงจุลชีพในร่างกายและทีเอ็มเอโอ การเปลี่ยนแปลงของกระบวนการย่อยสลายของเซลล์ การสร้างหลอดเลือด การแสดงออกของยีน เทโลเมียร์ การทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน

แล้วกลไกแต่ละอย่างเหล่านี้ก็ไปส่งผลต่อภาวะโรคต่างๆ อีกที และแต่ละกลไกก็ได้รับอิทธิพลจากอาหารที่เรากิน วิธีที่เราตอบสนองต่อความเครียด [00:03:30] ปริมาณที่เราออกกำลังกาย และความรักและกำลังใจที่เราได้รับ ซึ่งก็คือ กินให้ดี เคลื่อนไหวร่างกาย ลดความเครียด และเอื้อเฟื้อความรัก

มันจึงช่วยสรุปย่อสิ่งที่เราบอกกับคนไข้ให้ง่ายขึ้นมาก คือไม่ใช่บอกว่า ให้กินอย่างนี้นะเพื่อพลิกผันโรคหัวใจ กินอย่างนี้นะเพื่อพลิกผันมะเร็งต่อมลูกหมาก อะไรก็ว่าไป แต่มันเหมือนกันหมดสำหรับทั้งหมดนี่ และมันก็ช่วยอธิบายว่าทำไมเราถึงเจอสิ่งที่มักเรียกกันว่าโรคร่วม คนไข้คนเดียวกันอาจจะมีโรคแบบเดียวกันนี้หลายโรค เช่นมักจะมีความดันสูง โคเลสเตอรอลสูง [00:04:00] น้ำหนักเกิน เป็นเบาหวานประเภท 2 และก็โรคหลอดเลือดหัวใจ เพราะอย่างที่บอก มันคือโรคเดียวกันที่แสดงออกคนละด้าน และก็อธิบายว่าทำไมในการศึกษาไชน่าสตัดดีย์ที่เมืองจีนของคอลิน แคมป์เบลล์ ถึงพบตั้งแต่เมื่อ 56 ปีก่อนว่าที่นั่นมีอัตราการเกิดโรคเรื้อรังเหล่านี้ต่ำมาก

แต่พอเขาเริ่มกินอาหารแบบเรา ใช้ชีวิตแบบเรา เขาก็เริ่มตายแบบเรา โรคเรื้อรังทั้งหลายเหล่านี้ต่างเพิ่มขึ้นพร้อมๆ กัน ก็เลยเป็นว่ามันพลิกความเข้าใจของเราเกี่ยวกับภาวะที่พบนี้[00:04:30]ให้เรียบง่ายขึ้นอย่างมหาศาล ในงานวิจัยเอปิกที่ศึกษาคน 23,000 คน เราก็พบผลในรูปแบบเดียวกัน การเปลี่ยนวิถีชีวิตง่ายๆ เหล่านั้น คือเดินวันละครึ่งชั่วโมง ไม่สูบบุหรี่ กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ มีน้ำหนักตัวที่เหมาะสม ช่วยป้องกันโรคเบาหวานประเภท 2 ได้ 93%  หัวใจขาดเลือดเฉียบพลันได้ 81%  สมองขาดเลือดได้ครึ่งหนึ่ง และมะเร็งทุกประเภทได้หนึ่งในสาม

ซึ่งมันก็คือโปรแกรมเดียวกัน การปรับวิถีชีวิตแบบเดียวกัน ที่ส่งผลต่อภาวะโรคได้หลากหลายอีกนั่นแหละ และน่าสนใจว่าสำหรับเบาหวานประเภท 2 [00:05:00] อย่างน้อยก็ในสหรัฐฯ และเดี๋ยวนี้ก็หลายที่ในเอเชียแล้ว คือประชากรสหรัฐฯ ครึ่งหนึ่งเป็นเบาหวานหรือภาวะใกล้เบาหวาน แต่ในงานวิจัยนี้ 93% มันป้องกันได้ น่าจะบอกได้ด้วยซ้ำว่าเบาหวานประเภท 2 เกือบ 99% ป้องกันได้ ถ้าผู้คนจะปรับเปลี่ยนอาหารการกินและวิถีชีวิตมากขึ้นอีก

ส่วนในเอเชีย มันน่าเศร้าว่าผู้คนที่นั่นกำลังลอกเลียนแบบทั้งข้อผิดพลาดและความสำเร็จของโลกตะวันตก อยากขอให้ลอกไปแต่ความสำเร็จ แต่ยึดอาหารการกินและวิถีชีวิตที่มีกันมาแต่เดิม [00:05:30] ก่อนที่จะเริ่มเป็นเหมือนเรา เพราะมันเป็นวิถีการกินและใช้ชีวิตที่ดีต่อสุขภาพที่สุดสำหรับคนส่วนใหญ่แล้ว

ทีนี้ ก็น่าเสียดายอีกว่าอย่างน้อยก็ในประเทศนี้ แพทย์ปกติทั่วไปได้เรียนเรื่องโภชนาการน้อยมาก แค่ 4 ชั่วโมงต่อปี แล้วส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่องวิตามินซี โรคลักปิดลักเปิด อะไรทำนองนั้น และแพทย์ที่ฝึกอบรมเฉพาะทางด้านโรคหัวใจก็ได้เรียนเรื่องโภชนาการเป็นศูนย์ ตลอดการเรียนต่อ 4 ปี มันน่าเศร้า แต่ผมคิดว่ากำลังมีแรงผลักดันที่มาบรรจบกันทำให้นี่เป็นแนวคิดที่มาถูกที่ถูกเวลาพอดี

ในมุมหนึ่ง [00:06:00] ข้อจำกัดของการใช้ยาและการผ่าตัด ซึ่งช่วยรักษาชีวิตคนได้ถ้าใช้อย่างเหมาะสม กำลังเห็นได้ชัดขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในการรักษาโรคเรื้อรังต่อเนื่องเป็นระยะยาว ไว้ผมจะเล่าเรื่องนี้อีกทีว่าการรักษาเช่นทำบอลลูนใส่สเต็นท์ขยายหลอดเลือดหัวใจ มันได้ผลไม่ดีในคนไข้ที่อาการคงที่ แต่เรากลับใช้เงินปีละแสนล้านดอลลาร์ไปกับการทำบอลลูนใส่สเต็นท์และผ่าตัดบายพาส ซึ่งเสี่ยงอันตราย ขาดประสิทธิผล และแพงมาก

ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพเหล่านี้มันไม่ไปต่อไม่ได้ ปีที่แล้วเราใช้เงินกับบริการสุขภาพในสหรัฐฯ ไป [00:06:30] 3.8 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการดูแลคนป่วย และ 86% ก็ใช้ไปกับโรคเรื้อรังที่ส่วนใหญ่แล้วป้องกันได้ และมักพลิกผันให้ย้อนกลับได้ด้วยซ้ำถ้าปรับเปลี่ยนอาหารการกินและวิถีชีวิตได้มากพอ  ขณะเดียวกัน พลังของการปรับวิถีชีวิตอย่างเข้มข้นเหล่านี้ ซึ่งผมจะเล่าต่อไปถึงงานวิจัยของเราและคนอื่นๆ ก็มีหลักฐานรองรับชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ มันจึงเป็นแนวคิดที่มาถูกที่ถูกเวลาเสียที

และแน่นอนว่าทั้งโลกกำลังกังวลเกี่ยวกับโรคโควิด-19 แต่ก็ต้องบอกไว้ว่า [00:07:00] โรคระบาดใหญ่ที่เกิดอยู่ไม่ได้มีแค่โควิด-19 แต่มีโรคหัวใจ เบาหวานประเภท 2 และอื่นๆ อีกด้วย แต่กระนั้นโควิด-19 ก็เป็นโรคที่แพร่โดยเชื้อโรค ไม่ใช่ความเจ็บป่วยที่แพร่โดยอาหารและวิถีชีวิต

แต่เรามาคุยกันสักหน่อยเกี่ยวกับงานวิจัยใหม่ๆ ที่แสดงให้เห็นว่าวิถีชีวิตก็มีผลต่อโควิด-19 เช่นกัน และพอมีสายพันธุ์โอมิครอนมาใหม่ นั่นก็ยิ่งน่าสนใจเพราะต่อให้คุณฉีดวัคซีนแล้ว 3 เข็ม คือครบ 2 เข็มแล้วกระตุ้นอีก ก็ยังมีประสิทธิผลป้องกันสายพันธุ์โอมิครอน[00:07:30]ได้แค่ราว 80%

จึงไม่น่าแปลกใจที่ผู้คนจะถามว่า “นอกจากใส่หน้ากาก เว้นระยะห่าง และฉีดวัคซีน ซึ่งล้วนสำคัญแล้ว ฉันจะทำอะไรได้อีกที่จะลดความเสี่ยงในการติดเชื้อลงไปอีก โดยเฉพาะกับสายพันธุ์โอมิครอนที่แพร่ได้ง่ายมาก” มันก็ปรากฏว่าโรคเรื้อรังทุกอย่างล้วนเพิ่มโอกาสต้องนอนโรงพยาบาลจากโควิด-19 และโอกาสตายจากโรค

แต่มีงานวิจัยออกมาใหม่โดยโรงเรียนแพทยศาสตร์ฮาร์วาร์ด กับคิงส์คอลเลจลอนดอน [00:08:00] ได้ศึกษาคนเกือบ 600,000 คน พบว่าคนที่กินอาหารพืชเป็นหลักที่ดีต่อสุขภาพนั้นมีความเสี่ยงเป็นโรคโควิด-19 รุนแรงต่ำลง 41% และความเสี่ยงที่จะเป็นโรคโควิด-19 ต่ำลง 9%

อีกงานวิจัยหนึ่งศึกษาบุคลากรการแพทย์ที่มีความเสี่ยงเพราะดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ศึกษาในแพทย์และพยาบาลเกือบ 3,000 คน คนที่กินอาหารพืชเป็นหลักที่ดีต่อสุขภาพอย่างที่ผมแนะนำ มีโอกาสเป็นโควิดระดับปานกลางถึงรุนแรง[00:08:30]น้อยกว่ากันถึง 73% และคนที่กินมังสวิรัติแต่ไม่งดปลา มีโอกาสน้อยกว่ากัน 59%

ขณะที่คนกินอาหารที่มีโปรตีนจากสัตว์สูงอย่างอัตกินส์ พาลีโอ คีโตเจนิก และอื่นๆ มีโอกาสที่จะเป็นโรคระดับปานกลางถึงรุนแรงสูงกว่ากันเกือบ 400% จึงเห็นได้อีกว่ากลไกทางชีวภาพเหล่านี้มีผลทั้งสองทาง มันทำให้คุณดีขึ้นได้และก็ทำให้แย่ลงได้เร็วทีเดียวเลย และวิถีชีวิตของเราก็สร้างความแตกต่างจริงๆ

อีกงานวิจัยหนึ่งพบว่าในคนที่ติดโควิด-19 เกือบ 50,000 คน [00:09:00] คนที่มีวิถีชีวิตนั่งๆ นอนๆ นั้นมีโอกาสมากกว่าสองเท่าที่จะเป็นโควิดและต้องเข้าโรงพยาบาลและตายจากโรคเมื่อเทียบกับคนที่ออกกำลังกาย และโรคอ้วนเพิ่มโอกาสต้องเข้าโรงพยาบาลหรือไอซียูและตายจากโรคถึงสามเท่า โดยเฉพาะในคนอายุน้อย

หลักการสำคัญของเวชศาสตร์วิถีชีวิตทั้งโดยทั่วไปและโดยเฉพาะในงานของผม คือการตั้งคำถามคำถามหนึ่งที่ลึกถึงราก ก็คือพยายามหาสาเหตุไปให้ถึงต้นตอ และมันก็เป็นคำถามที่เรียบง่ายมากว่า สาเหตุของมันคืออะไร [00:09:30] ผมเคยให้คนวาดการ์ตูนนี้ไว้เมื่อ 40 ปีก่อน บรรดาหมอกำลังถูพื้นรอบอ่างล้างมือที่ไหลล้นอยู่

มันก็ประมาณว่า “นี่ฉันจะต้องถูพื้นไปนานเท่าไหร่” “ตลอดกาล” “แล้วทำไมเราไม่ปิดก๊อกน้ำล่ะ” ก๊อกน้ำนี่ก็คือสาเหตุของโรคเรื้อรังทั้งหลาย ก็คือวิถีชีวิตที่เราเลือกใช้อยู่ทุกวัน

เวลาคนไข้ถูกสั่งให้กินยาลดคอเลสเตอรอลหรือลดความดันเลือด แล้วถามว่า “หมอ นี่ฉันต้องกินยาไปนานเท่าไหร่” ปกติหมอจะตอบว่าไง “ตลอดกาล” มันก็เหมือน [00:10:00] “นี่ฉันต้องถูพื้นไปนานเท่าไหร่” “ตลอดกาล” แต่จริงๆ แล้ว สิ่งที่เราพบคือ ภายใต้การดูแลของแพทย์ คนส่วนใหญ่สามารถลด หรือบางคนก็เลิกใช้ยาที่เคยว่าถูกบอกว่าจะต้องกินไปตลอดชีวิตไปได้เลย ซึ่งมันส่งเสริมพลังและกำลังใจมากเวลาใครทำได้

สิ่งหนึ่งที่ทำให้ผมทึ่งได้เสมอคือการที่ร่างกายของเราสามารถรักษาตัวเองได้ ซึ่งเร็วกว่าที่เราเคยคิดมากด้วย เมื่อเราปิดก๊อกได้ เมื่อเรารักษาต้นเหตุได้ และผมคิดว่ามันสร้างความหวังและเปิดโอกาสใหม่ให้คนจำนวนมาก

[00:10:30] สาเหตุหนึ่งที่ผมใช้ชีวิตวัยทำงานกว่า 40 ปีที่ผ่านมาทำวิจัยก็คือ ถ้าทำถูกวิธีแล้ว ที่จริงอย่างแรกเลย การทำวิจัยมันยากมาก ยากที่จะหาทุน ยากที่จะหาคนมาทำ ยากที่จะได้ตีพิมพ์ และอีกมาก แต่มันคุ้มที่จะทำ เพราะทุกอย่างที่เราทำตลอด 4 ทศวรรษที่ผ่านมา แทบทุกอย่างเลย สมัยนั้นผู้คนต่างคิดว่ามันเป็นไปไม่ได้

และเมื่อคุณทำงานวิจัย แล้วทำถูกวิธี ได้ทำร่วมกับบุคลากรแนวหน้าของวงการแพทย์ กับนักวิทยาศาสตร์ กับแพทย์ [00:11:00] แล้วตีพิมพ์ในวารสารวิชาการชั้นนำ มันสามารถเปลี่ยนนิยามของสิ่งที่เป็นไปได้ และเมื่อทำได้แล้ว อย่างที่ผมบอก มันสามารถสร้างความหวังใหม่ ทางเลือกใหม่ ให้กับคนนับล้าน ที่ไม่เคยมีมาก่อน

สำหรับผม ความตระหนักรู้เป็นขั้นตอนแรกของการรักษา และการสร้างความตระหนักรู้โดยทำวิจัยเป็นสิ่งที่สร้างความหมายให้กับชีวิตของผมอย่างมาก และอย่างที่บอก ผมคิดว่ามันเป็นแนวคิดที่มาถูกที่ถูกเวลา ถ้าย้อนไปนานมาแล้ว ณ กาแล็กซีอันไกลโพ้น ตอนที่ผมเริ่มทำงานพวกนี้[00:11:30]ในปี 1977 ’78 ตอนที่ผมศึกษาแพทย์ปีที่สอง ผมหัดทำผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจกับ นพ.ไมเคิล เดอเบคีย์ หนึ่งในผู้บุกเบิกที่ช่วยประดิษฐ์การผ่าตัดบายพาสขึ้นมา

เราก็จะผ่าตัดแบะหน้าอกคนออก แล้วเขาก็จะวางเส้นเลือดใหม่เป็นทางเบี่ยงแทนของเก่าที่อุดตัน และส่วนใหญ่แล้วคนก็จะกลับบ้านไปแล้วก็ทำสิ่งเดิมๆ ที่เป็นสาเหตุของปัญหาแต่แรกเพราะคุณบอกเขาไปว่ารักษาหายแล้ว เขาก็จะกินอาหารขยะ ไม่จัดการความเครียด ไม่ออกกำลังกาย สูบบุหรี่ นั่งๆ นอนๆ และบ่อยครั้งหลอดเลือดใหม่ก็จะอุดตันอีก แล้วต้องมาผ่าตัดอีก บางคนก็ซ้ำหลายรอบ

[00:12:00] สำหรับผม การผ่าตัดบายพาสเลยเป็นเหมือนสัญลักษณ์สื่อถึงแนวทางที่ไม่สมบูรณ์ เรากำลังทำทางเบี่ยงหนีปัญหาแท้ๆ เลย แต่เราไม่ได้รักษาสาเหตุ แล้วผมก็สงสัยว่าจะเป็นอย่างไรถ้าเรารักษาสาเหตุได้ ถ้าเราปิดก๊อกเสีย

ผมก็ทำการศึกษานำร่องในปี 1977 ’78 เอาคนไข้ชายหญิงที่เป็นโรคหัวใจอย่างหนักมา 10 คน ให้อยู่ในโรงแรมเดือนหนึ่ง มีแค่ผมกับพ่อครัว แล้วพวกเขาก็ดีขึ้น ไม่ใช่แค่อาการดีขึ้น แต่คนไข้ 8 ใน 10 คนนั้นตัวโรคก็ดีขึ้นจริงๆ ตรวจได้ว่าเลือดไปเลี้ยงหัวใจมากขึ้น เห็นได้จากภาพ [00:12:30] ตรงนี้คือหัวใจ ที่มองดูเหมือนโดนัท และภาพยิ่งสว่างหมายถึงเลือดมาเลี้ยงมาก

จะเห็นว่ามีพื้นที่ประมาณ 10 นาฬิกาตรงนี้ที่มืด แต่อีกเดือนต่อมามันสว่างขึ้น แสดงว่าหัวใจส่วนนั้น ซึ่งก่อนหน้านั้นเลือดมาเลี้ยงไม่พอ ตอนนี้มีเลือดมาเลี้ยงแล้ว และเราพบผลแบบนี้ในคนไข้ 8 จาก 10 คน

ผมอยากเล่าว่าตอนที่ผมเป็นนักศึกษาแล้ววนไปเรียนกับ นพ.เดอเบคีย์เรื่องการผ่าตัดบายพาส เขาเคยถามว่า “อยู่ปีอะไรแล้ว พ่อหนุ่ม” แล้วผมก็ตอบว่ากำลังขึ้นปีสาม เขาก็บอกว่า “ให้ตายสิ [00:13:00] นี่มีแนวคิดประหลาดๆ อยู่มาได้ถึงป่านนี้ คงจะหาทางขับออกจากที่นี่ยากซะแล้ว”

แล้วผมก็ไม่ได้เจอกับเขาอีกเป็นทศวรรษ จนเขาโทรศัพท์หาผมเมื่อไม่กี่ปีมานี่ เขาก็บอกว่า “สวัสดี ดีน นี่ไมค์ เดเบคีย์” ผมก็จำสำเนียงลุยเซียนาอันเป็นเอกลักษณ์ของเขาได้แม่น ผมก็ถามว่า ให้เกียรติโทรหาผมด้วยเรื่องอะไร เขาก็บอกว่า “จำเรื่องแนวคิดแปลกๆ ของคุณที่ผมเคยค่อนแคะสมัยที่เป็นนักศึกษาแพทย์เรียนอยู่กับผมได้ไหม” ผมก็ตอบว่า จำได้ดีเลย

เขาก็บอกว่า “นั่นเป็นสิ่งที่ทำให้ผมมีชีวิต[00:13:30]มาตลอดถึงวันนี้เลย ผมอายุ 99 แล้ว คงจะอยู่อีกไม่นาน แต่ก่อนจะตายผมอยากให้คุณรู้ว่ามันมีความหมายกับชีวิตผมมาก ภรรยาผมก็สนใจงานของคุณมาก ก็เลยอยากให้คุณรู้” มันสะท้อนว่าเราไม่รู้เลยว่าถ้าคุณมีชีวิตอยู่นานพอ อะไรจะเกิดได้บ้าง

ผมก็กลับไปเรียนจนจบแพทย์ แล้วก็ลาพักอีกปีมาทำการศึกษายาวหนึ่งเดือน คราวนี้เราใช้การสุ่มและมีกลุ่มควบคุม และเราพบว่ากลุ่มทดลองมีค่าการบีบตัวของหัวใจที่ดีขึ้น เมื่อวัดการตอบสนองจากขณะพักจนถึงออกกำลังกายระดับสูงสุด [00:14:00] คือแท่งกราฟสีเหลือง ขณะที่กลุ่มควบคุมนั้นแย่ลงในช่วงเวลาเดียวกัน

เราตีพิมพ์ผลการวิจัย… ผลมันแตกต่างกันชัดเจนมาก เราตีพิมพ์ในวารสารสมาคมการแพทย์อเมริกัน เราพบด้วยว่าการเคลื่อนตัวของผนังหัวใจดีขึ้น และคนส่วนใหญ่ก็หายจากอาการเจ็บหน้าอกเช่นกัน

เราพบว่าการลดลงของอาการเจ็บหน้าอก 91% เกิดขึ้นในแค่ 24 วันแรก ซึ่งเป็นสิ่งจูงใจที่ทรงพลังสำหรับคนที่เดินข้ามถนนก็เจ็บหน้าอกแล้ว หรือหลับนอนกับคู่สมรสไม่ได้ เล่นกับลูกไม่ได้ กลับไปทำงาน[00:14:30]ก็เจ็บหน้าอกรุนแรง แล้วไม่กี่สัปดาห์เขาก็ทำทั้งหมดนั้นได้ มันเปลี่ยนเหตุผลที่จะปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต จากการกลัวตาย ซึ่งมันไม่ยั่งยืน มาเป็นการมีความสุขของชีวิต ซึ่งยั่งยืน

คนไข้จะบอกว่า สิ่งที่ได้มามันมากกว่าสิ่งที่ยอมเลิกไป และผลมันรวดเร็วชัดเจน บอกว่า ฉันชอบกินอาหารขยะก็จริง แต่ก็ชอบที่ทำสิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้มากกว่าเยอะ มันจึงเป็นทางที่คุ้มจะเลือก ไม่ใช่แค่เพื่อป้องกันอันตรายอย่างหัวใจขาดเลือดหรือสมองขาดเลือดในอนาคตอีกหลายปีข้างหน้า [00:15:00] แต่เพื่ออะไรที่ทำให้ชีวิตดีขึ้นในไม่กี่สัปดาห์ สิ่งที่ได้มามันมากกว่าสิ่งที่ยอมเลิกไปมาก

ผมก็ไปบอสตัน ไปฝึกอบรมเฉพาะทางที่ฮาร์วาร์ดกับโรงพยาบาลแมสซาชูเซตส์เจเนอรัล ย้ายไปซานฟรานซิสโกไปสอนที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียซานฟรานซิสโก แล้วก็ก่อตั้งองค์การไม่แสวงกำไรชื่อสถาบันวิจัยเวชศาสตร์ป้องกัน แล้วเริ่มทำวิจัยชื่อการทดลองวิถีชีวิตกับหัวใจ ซึ่งศึกษาคนไข้ชายหญิงที่เป็นโรคหัวใจระดับรุนแรง มาสุ่มแบ่งเป็นสองกลุ่ม แล้วมันก็น่าขันหน่อยที่เราใช้การตรวจวัดแบบไฮเทค[00:15:30]ทันสมัยราคาแพง มาพิสูจน์ความทรงพลังของการรักษาพวกนี้ซึ่งแสนจะโลว์เทค ราคาถูก และบางอย่างก็เก่าแก่มาก

ผลการตรวจฉีดสีเอกซเรย์หลอดเลือดหัวใจพวกนี้ เอาไปให้บุคคลที่สามแปลผลโดยไม่รู้ว่าเป็นของใคร แล้วเราก็พบว่าปริมาณอุดตันของหลอดเลือดตอนแรกของทั้งสองกลุ่มใกล้เคียงกัน คือต่างมีรอยโรคอย่างน้อยหนึ่งจุดที่อุดตัน 75% หรือมากกว่า แต่เราก็ติดตามดูทุกจุด พบว่ามันอุดตันมากขึ้นใน 1 ปี ซึ่งแสดงด้วยเส้นสีแดง และอุดตันมากขึ้นอีกใน 5 ปี ในคนไข้ที่ถูกสุ่มเข้ากลุ่มควบคุม นี่คือสิ่งที่เคยเรียกกันว่าเป็น[00:16:00]การดำเนินของโรคหัวใจตามปกติ

ตอนนั้นเชื่อกันว่าสิ่งที่ทำได้ดีที่สุดก็แค่ชะลอให้อาการมันทรุดช้าลง แต่สิ่งที่เราพบเป็นครั้งแรกคือแทนที่จะมีแต่ทรุดลง มันกลับดีขึ้นเรื่อยๆ ได้ มันมีการพลิกย้อนกลับบางส่วนใน 1 ปี และย้อนกลับได้มากขึ้นอีกใน 5 ปี เราตีพิมพ์ผลการวิจัยที่หนึ่งปีในวารสารแลนเซต และผลห้าปีในวารสารสมาคมการแพทย์อเมริกัน

เรายังทำเพทสแกนหัวใจเพื่อวัดการไหลของเลือด ซึ่งเป็นวิธีตรวจที่ทันสมัยที่สุด แล้วการไหลของเลือดไปเลี้ยงหัวใจในคนไข้เหล่านี้ดีขึ้น 400% เมื่อเทียบกับ[00:16:30]กลุ่มควบคุมหลังผ่านไป 5 ปี

นี่เป็นผลของคนไข้ตัวอย่างแสดงให้เห็นหลอดเลือดที่อุดตันน้อยลง จะเห็นได้ว่ารอยตีบมันน้อยลงเมื่อผ่านไปหนึ่งปี และเนื่องจากการไหลของเลือดมันแปรผันกับรัศมียกกำลัง 4 การลดลงของรอยตีบแม้เล็กน้อยก็ส่งผลให้เลือดไหลเวียนได้เพิ่มขึ้นหลายเท่า ซึ่งในกรณีนี้คือเลือดไหลไปเลี้ยงหัวใจได้ดีขึ้นเฉลี่ย 400%

ในภาพซ้ายล่าง จะเห็นบริเวณสีฟ้ากับสีดำที่ไม่มีเลือดไปเลี้ยง หนึ่งปีผ่านไปสีส้มขยายไปเต็มแล้ว มันจึงไม่ใช่[00:17:00]การเปลี่ยนแปลงแค่เล็กน้อย แต่มักเห็นผลจากหน้ามือเป็นหลังมือเลย ซึ่งช่วยอธิบายว่าทำไมการเปลี่ยนแปลงอาการเช่นเจ็บหน้าอกมันถึงดีขึ้นได้มาก และก็ไม่ใช่แค่คนไข้ไม่กี่คนที่ ขออภัยครับ ที่ดึงค่าเฉลี่ย

อย่างที่เห็น คนไข้ 99% มีการดำเนินของโรคหัวใจหยุดหรือย้อนกลับได้หลังจาก 5 ปี ขณะที่คนไข้ที่ถูกสุ่มเข้ากลุ่มควบคุมมีแค่ 5% ที่ดีขึ้น ผลอย่างหนึ่งที่น่าสนใจ และทำให้ผมแปลกใจคือ ขออภัยครับ ผมได้คาดการณ์ไว้ [00:17:30] ซึ่งก็ปรากฏว่าคาดผิด ว่าคนไข้อายุน้อยที่โรครุนแรงน้อยกว่าจะออกมาดีกว่า แต่ผมคาดผิด ปรากฏว่ามันไม่เกี่ยวว่าอายุมากแค่ไหนหรือป่วยหนักแค่ไหน มันสัมพันธ์แต่กับว่าเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตมากแค่ไหน โรคก็ดีขึ้นมากเท่านั้น ไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่

นี่ก็เป็นสารที่ส่งเสริมพลังและกำลังใจได้อย่างมาก ที่จะบอกผู้คนว่าส่วนใหญ่แล้วมันไม่สายเกินไปเลยที่จะเริ่มสร้างความเปลี่ยนแปลง ถ้าอาการคุณคงที่อยู่ เรายังพบด้วยว่ากลุ่มที่ปรับวิถีชีวิตเกิดอุบัติการณ์เกี่ยวกับหัวใจน้อยกว่า 2.5 เท่า หมายถึงเช่นเกิดหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน สมองขาดเลือด ต้องผ่าตัดบายพาส ทำบอลลูน ใส่สเต็นท์

[00:18:00] ทีนี้เพื่อให้เห็นว่ามันเป็นเรื่องของมนุษย์ที่มีใบหน้ามีตัวตน คนนี้ ไม่นานมานี้เอง เขาเป็นอายุรแพทย์ที่เกิดหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันขนาดใหญ่ กล้ามเนื้อหัวใจเสียหายไปมากจนหัวใจสูบฉีดเลือดได้แค่ 11 ถึง 15% ของปริมาตร ซึ่งปกติเลือดจะถูกสูบฉีดไป 50 ถึง 60% ในการบีบตัวแต่ละครั้ง แล้วเขาก็ทำอะไรแทบไม่ได้เลย ต้องถูกหามขึ้นห้อง เดินได้ไม่กี่ก้าวก็เจ็บหน้าอก แล้วหมอก็บอกเขาว่าหัวใจเขาเสียหายไปเยอะมาก ทางเดียว[00:18:30]ที่จะช่วยได้คือต้องผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจใหม่

แล้วขณะรอที่จะมีผู้บริจาค เขาได้มาสมัครหลักสูตรพลิกผันโรคหัวใจของผมที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียลอสแองเจลิส ศูนย์การแพทย์ยูซีแอลเอ เพื่อเตรียมสภาพร่างกายให้พร้อมผ่าตัดเมื่อไหร่ที่เขาหาคนได้ แต่โรคหัวใจของเขาดีขึ้นมากในช่วง 9 สัปดาห์นั้นจนเขากลับไม่ต้องผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจเลย

แล้วอย่างไหนกันที่เป็นการรักษาที่เรียกได้ว่าสุดโต่งถอนรากถอนโคนมากกว่า เปลี่ยนหัวใจใหม่ ต้องผ่าตัดเปิดหน้าอก เอาหัวใจใหม่ใส่เข้าไป มีค่าใช้จ่าย [00:19:00] 1.5 ล้านดอลลาร์กับต้องกินยากดภูมิไปตลอดชีวิต หรือเปลี่ยนอาหารการกินและวิถีชีวิต เขาบอกว่าเขาป่วยหนักมากก่อนจะเริ่มหลักสูตร เขาบอกว่า “ผมมีคนไข้ตายแล้วที่ยังดูดีกว่าผมเลย” แต่ผมขอเปิดคลิปให้ดู เพื่อให้เห็นคนที่มีใบหน้ามีตัวตนสักหน่อย

โรเบิร์ต ทรูเฮิร์ซ:
สถานการณ์ที่ผมจะเล่าเป็นเรื่องของแพทย์อายุรกรรมที่เพิ่งเริ่มบทใหม่ในชีวิตกับภรรยา ย้ายบ้าน[00:19:30]ไปเลคแอร์โรว์เฮด เพิ่งเปิดคลินิกส่วนตัวที่นั่น หลังลูกๆ แยกย้ายไปเรียนมหาวิทยาลัยกันหมดแล้วเลยมีโอกาสย้ายได้ แต่พอกำลังจะเดินหน้าไม่ทันไร ก็เกิดอุบัติเหตุรถชนครั้งใหญ่ กระตุ้นให้เกิดหัวใจขาดเลือดจนการทำงานของหัวใจผมลดลงไป 11 ถึง 13 หรือ 14 15% ของที่ควรจะเป็น ซึ่งทำให้เจ็บหน้าอกตลอดเวลา แน่นหน้าอก หายใจลำบาก เดินไป[00:20:00]ห้องข้างๆ ไม่ได้ ขึ้นบันไดเองก็ไม่ไหว หมอบอกว่าต้องผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจ เป็นทางเดียวที่จะอยู่รอดได้

แล้วตอนนาทีสุดท้าย ผมก็ไปเข้าร่วมโปรแกรมออร์นิช ซึ่งสอนให้ผมเปลี่ยนมุมมองใหม่หมดเลยเกี่ยวกับการจัดการความเครียด ออกกำลังกาย กินอาหาร โภชนาการ และแม้ตัวเองจะไม่ค่อยเชื่อ และก็หมอคนอื่นที่ดูแลอยู่ก็ไม่เชื่อเหมือนกัน แต่มันก็กลับได้ผลเกินกว่าที่คาดฝันที่สุด ตอนนี้ผมสามารถออกกำลังกาย[00:20:30]ในระดับปานกลาง ผมทำงานเต็มเวลาได้ ผมใช้ชีวิตที่ความสูง 6,000 ฟุตได้ และคุณภาพชีวิตของเราดีขึ้นกว่าแต่ก่อนด้วยซ้ำ

ผู้พูด 3:
ฉันยังให้เขาเช็ดลิปสติกออกให้ด้วยเลย

โรเบิร์ต ทรูเฮิร์ซ:
คุณเชื่อไหมว่านี่ภรรยาผมเอง

ดีน ออร์นิช:
และนั่นคือทำไมผมถึงชอบทำงานนี้ มันน่าอิ่มใจมากที่สามารถส่งเสริมพลังให้ผู้คนได้แบบนี้ แล้วเราก็สงสัยว่าการเปลี่ยนวิถีชีวิตเดียวกันเหล่านี้จะสามารถย้อนการดำเนินโรคในผู้ชายที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก[00:21:00]ระยะเริ่มต้นได้หรือเปล่า เพราะกลไกเบื้องลึกทางชีวภาพมันก็คล้ายกันมากอีกเช่นกัน และเราก็ทำการศึกษาร่วมกับปีเตอร์ แคร์รอลล์ ตอนที่เขาเป็นหัวหน้าศัลยศาสตร์ทางเดินปัสสาวะที่โรงเรียนแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียซานฟรานซิสโก และบิลล์ แฟลร์ ตอนที่เขาเป็นหัวหน้าที่ศูนย์มะเร็งเมโมเรียลสโลนเคตเทอริง อย่างที่บอกว่าเราพยายามทำงานกับคนแนวหน้าของวงการเสมอ

แล้วเราก็ศึกษาในผู้ชายที่มีมะเร็งต่อมลูกหมากยืนยันจากการตรวจชิ้นเนื้อ ที่เลือกไม่ผ่าตัดหรือฉายรังสีด้วยเหตุผลที่ไม่เกี่ยวกับงานวิจัย คือที่แต่ก่อนเรียกว่าเฝ้ารออย่างระมัดระวังหรือเดี๋ยวนี้เรียกติดตามสอดส่อง ซึ่งประโยชน์ของการทำแบบนี้[00:21:30]คือเราสามารถสุ่มคนแบ่งเป็นสองกลุ่มแล้วให้กลุ่มหนึ่งไม่ต้องทำอะไร เราจะได้มองหาผลเฉพาะของการปรับวิถีชีวิตได้

เราพบว่าระดับพีเอสเอ ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก มันสูงขึ้นในเส้นสีแดง ซึ่งคือแย่ลง และต่ำลงในเส้นสีเขียว คือตัวโรคดีขึ้นหลังผ่านไปหนึ่งปี ความแตกต่างนั้นมันมีนัยสำคัญมาก และก็วัดได้เป็นสัดส่วนโดยตรงกับระดับการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตเหมือนที่เราพบในการศึกษาก่อนๆ หน้า ยิ่งคุณเปลี่ยนวิถีชีวิตเท่าไหร่ ก็ยิ่งดีขึ้นเท่านั้นในทุกช่วงอายุ

แล้วเราก็สงสัยว่า [00:22:00] มันยังมีปัจจัยอื่นที่ส่งผลต่อพีเอสเอได้นอกจากมะเร็งต่อมลูกหมาก เราก็เลยเอาน้ำเลือดของพวกเขาไปหยดใส่เซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากที่เพาะเลี้ยงอยู่ที่ยูซีแอลเอที่ห้องแล็บของบิลล์ อารอนสัน แล้วพบว่าการเติบโตของมะเร็งถูกยับยั้งไปถึง 70% เทียบกับ 9% ในกลุ่มควบคุม

ในสไลด์นี้ซึ่งเจ๋งมาก การยับยั้งมะเร็งที่เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อนี้สัมพันธ์เป็นสัดส่วนโดยตรงกับระดับการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตที่คนนั้นทำ พูดอีกอย่างก็คือ พอคุณเปลี่ยนวิถีชีวิต จะมีบางอย่างในน้ำเลือดขอบคุณ[00:22:30]ที่สามารถยับยั้งการเจริญของมะเร็งต่อมลูกหมากได้ และเปรียบเทียบแล้วอาจจะมีผลกับมะเร็งเต้านมได้ด้วย

แล้วเราก็แบ่งกลุ่มย่อยคนไข้มาดูการทำงานของเนื้องอกที่แล็บของจอห์น คอร์ฮาเนวิช ด้วยการตรวจที่เรียกว่าการวิเคราะห์สเปกตรัมเรโซแนนซ์แม่เหล็ก ตรงสีแดงคือการทำงานของเนื้องอก ซึ่งจะเห็นว่ามันลดลงเมื่อเวลาผ่านไป สอดคล้องกับพีเอสเอที่ต่ำลง

และก็ไม่มีคนไข้ในกลุ่มทดลองคนไหนเลยที่ต้องผ่าตัดหรือฉายรังสีหรือรับคีโมในปีแรก แต่ในกลุ่มควบคุมมี 6 คน เมื่อมองโดยรวมแล้ว นี่คืองานวิจัยแบบทดลองสุ่มตัวอย่างงานแรก และ[00:23:00]เท่าที่ผมรู้ก็ยังเป็นงานเดียว ที่แสดงให้เห็นว่าการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตอย่างเดียวอาจชะลอ ยับยั้ง หรือพลิกให้มะเร็งต่อมลูกหมากระยะเริ่มต้นถอยกลับได้

ทีนี้ที่ฮาร์วาร์ด ในงานวิจัยสุขภาพแพทย์ ซึ่งศึกษาจากแพทย์ประมาณ 100,000 คน ผู้ชายที่กินอาหารตามแบบตะวันตกเป็นหลัก มีความเสี่ยงที่จะตายด้วยเหตุสืบเนื่องจากมะเร็งต่อมลูกหมากมากกว่ากัน 250% และมีโอกาสตายโดยรวมจากทุกสาเหตุสูงขึ้น 67% ซึ่งก็เป็นอีกอย่างที่แสดงให้เห็นว่าเรื่องพวกนี้มันสัมพันธ์กันขนาดไหน

ในทางกลับกัน [00:23:30] ผู้ชายที่กินอาหารที่เน้นพืชเป็นหลัก อย่างที่ผมแนะนำ จะลดโอกาสตายจากทุกสาเหตุ ฉะนั้นคุณจึงได้ประโยชน์สองต่อเวลาที่เปลี่ยนอาหารแบบตะวันตกที่มีไขมันจากสัตว์สูง น้ำตาลสูง โปรตีนจากสัตว์สูง มาเป็นอาหารพืชเป็นหลัก ที่เป็นรูปแบบธรรมชาติ ไขมันต่ำ น้ำตาลต่ำ นอกจากคุณจะหยุดเพิ่มความเสี่ยงแล้ว คุณยังทำให้มันลดลงด้วย ก็เลยเป็นประโยชน์สองต่อ

เราก็สงสัยต่อว่าจะมีกลไกอะไรบ้างที่ช่วยอธิบายประโยชน์เหล่านี้ได้ เราก็เลยทำการศึกษา[00:24:00]กับเครก เวนเทอร์ ซึ่งเป็นคนแรกที่ถอดรหัสพันธุกรรมจีโนมมนุษย์สำเร็จ และเราพบว่ามียีนมากกว่า 500 ยีนที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่เกิดประโยชน์ในแค่ 3 เดือน เปิดสวิตช์ยีนดี ปิดสวิตช์ยีนเลว

สมัยที่ผมเป็นนักศึกษาแพทย์ เราถูกสอนว่าวิธีเดียวที่คนเราจะเปลี่ยนยีนได้คือเปลี่ยนพ่อแม่ ซึ่งแน่นอนว่าเป็นไปไม่ได้ แล้วผมก็มักได้ยินคนไข้บอกว่า ผมได้ยีนมาไม่ดี มันแก้ไขอะไรไม่ได้ ที่จริงประธานาธิบดีคลินตันเอง ซึ่งเป็นคนไข้ผมมาหลายปี เมื่อ 14 ปีก่อน ตอนที่เส้นเลือดที่เขาผ่าบายพาสมาอุดตัน [00:24:30] หมอโรคหัวใจของเขาแถลงข่าวกับซีเอ็นเอ็นบอกว่า มันมาจากพันธุกรรมของเขาหมดเลย อาหารการกินกับวิถีชีวิตเขาไม่เกี่ยวอะไร

แต่จากผมทำงานกับเขามาหลายปีนี้ ผมรู้ว่ามันเกี่ยวทุกอย่างเลย ผมเลยเขียนข้อความหาเขาบอกว่า นี่ ถ้ามันเป็นเรื่องของพันธุกรรม คุณก็เป็นเหยื่อ และไม่มีทางต่อสู้ แต่คุณไม่ใช่เหยื่อ คุณเป็นหนึ่งในคนที่มีอำนาจมากที่สุดในโลก แล้วก็แบ่งหลักฐานงานวิจัยบางส่วนให้ดูซึ่งแสดงให้เห็นว่าแม้แต่การแสดงออกของยีนก็เปลี่ยนแปลงได้เวลาที่เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต แล้วเขาก็ทำมา 14 ปีแล้ว และก็ได้เล่าออกสื่อด้วย ไม่อย่างนั้นผมก็ไม่พูดถึงหรอก [00:25:00]

เพราะฉะนั้นแล้ว ไม่ว่าคุณจะเป็นคอการเมืองฝ่ายไหน แต่ถ้าอดีตประธานาธิบดีคนหนึ่งที่ไม่ได้ขึ้นชื่อว่ากินอาหารที่ดีต่อสุขภาพเท่าไหร่ เขาเปลี่ยนแปลงตัวเองและทำต่อเนื่องมาได้เป็นทศวรรษแล้ว ผมคิดว่านี่เป็นตัวอย่างที่ดีมากสำหรับทุกคน

เรายังพบด้วยว่ายีนมะเร็งแรส ซึ่งเป็นตัวเสริมให้เกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก เต้านม และลำไส้ใหญ่ ถูกลดหรือปิดการทำงานไป อันนี้เป็นแผนผัง ซึ่งแกนทางด้านขวาเป็นยีนแต่ละอย่างที่ก่อมะเร็ง ตอนต้นที่เป็นสีแดงคือมีการแสดงออกของยีนอยู่ และสามเดือนต่อมา การแสดงออกของยีนถูกปิดไป นี่ก็เป็นอีกอย่าง[00:25:30]ที่แสดงให้เห็นว่าการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตง่ายๆ เหล่านี้มันทรงพลังได้แค่ไหน ขนาดที่เราสามารถเปลี่ยนการแสดงออกของยีนได้

นักวิจัยอีกคนหนึ่ง ดาร์เรล เอลล์สเวอร์ท ซึ่งผมไม่ได้ร่วมทำงานด้วย ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของยีนในคนที่เข้าหลักสูตรเวชศาสตร์วิถีชีวิตของเราที่วินด์เบอร์ เพนซิลเวเนีย แล้วพบว่ายีนที่ควบคุมกลไกทางชีวภาพที่พูดถึงไปเมื่อตอนต้นของการบรรยายนี้ การอักเสบเรื้อรัง ภาวะออกซิเดทีฟสเตรส การสร้างหลอดเลือด และอื่นๆ ถูกปิดการแสดงออกไปใน[00:26:00]ไม่กี่สัปดาห์เมื่อคนเริ่มปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต นี่ก็เป็นอีกอย่างที่ช่วยให้เราเข้าใจว่าทำไมเราจึงเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นได้ในหลากหลายภาวะโรคในเวลาเพียงสั้นๆ เมื่อทำการปรับวิถีชีวิตแบบเดียวกัน

ฉะนั้นแล้ว ในกรณีส่วนใหญ่พันธุกรรมของเรามันไม่ใช่ชะตาชีวิต แต่มันเป็นแนวโน้ม และถ้าแม่และพ่อและพี่น้องและลุงป้าน้าอาของคุณตายจากโรคหัวใจ มันก็ไม่ได้แปลว่าคุณจะต้องตายอย่างนั้น มันแค่แปลว่าคุณอาจจะต้องสร้างความเปลี่ยนแปลงที่มากหน่อยเพื่อป้องกันไม่ให้มันเกิดขึ้น

เอาล่ะ แล้วการทำสมาธิล่ะ เราคุยเรื่องอาหารการกินมาเยอะแล้ว ผมชอบการ์ตูนนิวยอร์กเกอร์อันนี้ มันมี[00:26:30]งานวิจัยจากฮาร์วาร์ดทำโดยเจฟฟ์ ดูเส็ก เขาศึกษาคนที่ไม่ได้ทำสมาธิ คนที่ทำสมาธิมา 8 สัปดาห์ และคนที่ทำสมาธิมานาน แล้วยิ่งคนทำสมาธินานเท่าไหร่ มันก็เปลี่ยนการแสดงออกของยีนเขามากขึ้น มียีนที่เปลี่ยนแปลงเกือบ 300 ยีน ซึ่งก็เกิดขึ้นในเวลาแค่ 8 สัปดาห์ เริ่มจากสีแดงแล้วออกเขียวหน่อยๆ จนเป็นสีเขียว ส่วนอันนี้จากเขียวเป็นออกแดงแล้วเป็นสีแดง มันมีความสัมพันธ์ระหว่างขนาดกับการตอบสนอง ของการทำสมาธิกับผลต่อการแสดงออกของยีน

เราก็สงสัยว่า การปรับวิถีชีวิตแบบเดียวกันนี้จะมีผลต่อการแก่ตัวของเซลล์ด้วยไหม เราก็เลยทำวิจัย[00:27:00]ร่วมกับเอลิซาเบธ แบล็คเบิร์น ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลจากการค้นพบเทโลเมียร์ เทโลเมียร์ก็คือส่วนปลายของโครโมโซมที่ควบคุมการแก่ตัวของเซลล์ บางครั้งก็เปรียบเทียบกันว่าเหมือนพลาสติกตรงปลายเชือกผูกรองเท้าที่กันไม่ให้มันรุ่ยออกมา มันก็กันไม่ให้ดีเอ็นเอรุ่ยออกมา

แล้วพอเวลาผ่านไป เมื่อแบ่งตัวไปหลายรอบ เทโลเมียร์ก็มีแนวโน้มจะสั้นลง และพอเทโลเมียร์ของเราสั้นลง ชีวิตเราก็สั้นลง ความเสี่ยงที่จะตายก่อนวัยอันควรจากโรคหลายโรคก็เพิ่มขึ้นไปเป็นสัดส่วนกัน เขาได้ทำการศึกษาก่อนหน้าพบว่าเวลาคนกินอาหารขยะ[00:27:30]หรือสูบบุหรี่หรือนั่งๆ นอนๆ หรือมีความเครียด เทโลเมียร์ของเขาจะสั้นลงเร็วขึ้น เขายังเคยศึกษาในผู้หญิงที่เลี้ยงลูกออทิสติกด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่เครียดมาก

และยิ่งพวกเขาประสบความเครียดมากและนานเท่าไหร่ เทโลเมียร์ของเขาก็ยิ่งสั้นลง แล้วพอเขาเปรียบเทียบผู้หญิงที่เครียดมากกับน้อย เขาก็พบว่ากลุ่มที่เครียดมากมีอายุไขสั้นลงไป 9 ถึง 17 ปี เมื่อเทียบจากการสั้นลงของเทโลเมียร์

[00:28:00] แต่สำหรับผมข่าวดีคือ เราเห็นผู้หญิงสองคนที่อยู่ในสถานการณ์ชีวิตคล้ายกันมาก แต่คนหนึ่งรับมือได้ดีกว่า จัดการความเครียดได้ กินอาหารที่ดี เคลื่อนไหวมากกว่า มีความรักมากกว่า แล้วก็บรรเทาผลของมันได้ ประเด็นมันไม่ได้อยู่ที่คุณต้องเจอกับอะไร มันอยู่ที่คุณรับมือกับมันยังไง และพอปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตแบบนี้ได้ คุณก็จะบรรเทาผลของสถานการณ์ที่สำหรับคนอื่นจะเป็นเรื่องเครียดมากได้

ทีนี้ ผมก็ทานอาหารกับเขาแล้วบอกว่า ถ้าสิ่งแย่ๆ ทำให้เทโลเมียร์สั้นลง บางทีสิ่งดีๆ จะทำให้มันยาวขึ้นก็ได้ และเราก็พบว่า[00:28:30]ในเวลาแค่ 3 เดือน เทโลเมอเรส ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ซ่อมแซมและทำให้เทโลเมียร์ยาวขึ้น มันเพิ่มขึ้นไป 30% ซึ่งเราได้ตีพิมพ์ในวารสารมะเร็งแลนเซต และหลังจาก 5 ปี เราก็พบเป็นครั้งแรกว่าการรักษาใดๆ รวมถึงการใช้ยา สามารถทำให้เทโลเมียร์ยาวขึ้นได้ประมาณ 10% ขณะที่มันสั้นลงในกลุ่มควบคุม

แล้วพอเราตีพิมพ์ไป บรรณาธิการแลนเซตเขาก็ออกข่าวประชาสัมพันธ์ เรียกว่าเป็นงานวิจัยแรกที่แสดงว่าการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตอาจย้อนการแก่ตัวในระดับเซลล์ได้ ซึ่งก็เป็นพาดหัว[00:29:00]ที่ดีมาก ยิ่งพอตัวผมเองก็เริ่มอายุมากด้วย

แล้วมันก็มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญเช่นเดิม ยิ่งคนเปลี่ยนวิถีชีวิตได้มากแค่ไหน เทโลเมียร์เขาก็ยิ่งยาวขึ้นไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ ซึ่งก็เป็นผลที่ดีมากเช่นกัน

เอาล่ะ ผมคิดว่าเรากำลังอยู่ในจังหวะที่โรคอัลไซเมอร์ตอนนี้มันคล้ายกับสถานการณ์โรคหัวใจเมื่อ 4 ทศวรรษที่แล้วมาก และผมก็มีความสนใจเรื่องอัลไซเมอร์เป็นพิเศษเพราะแม่ของผมตายจากโรคนี้ และพี่น้องของแม่ทุกคนก็เช่นกัน และผมก็มียีนเอโพอี4 ที่เป็นความเสี่ยงอยู่อันนึง แต่เรื่องมันคือว่ามันไม่เหมือนโรคหัวใจตรงที่มันไม่มียา[00:29:30]ที่จะยับยั้งโรคได้เลย อย่างดีที่ทำได้ก็คือชะลอให้มันช้าลงนิดนึง

แล้วพอคุณสูญเสียความทรงจำ คุณก็เสียทุกอย่าง ผู้คนก็เลยกลัวอัลไซเมอร์มากกว่าโรคอื่นๆ เพราะเขาจะถูกบอกว่า ขอโทษนะ มันมีแต่จะแย่ลง บางทีอาจจะชะลอได้นิดหน่อย คุณทำได้มากที่สุดแค่นั้น

ทีนี้ เหตุผลที่ผมคิดว่าอะไรดีต่อหัวใจก็ควรจะดีต่อสมอง คือกลไกหลายอย่างนี้ที่มีผลต่อโรคหัวใจมันก็มีผลกับโรคอีกหลากหลายมาก โรคอัลไซเมอร์หนึ่งในสามเป็นผลจากปัจจัยเสี่ยง 7 อย่าง[00:30:00]ที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งก็เป็นปัจจัยเดียวกับที่สัมพันธ์กับโรคหัวใจ การศึกษาต่ำ ความดันเลือดสูง เบาหวาน การไม่เคลื่อนไหว การสูบบุหรี่ โรคซึมเศร้า อะไรพวกนี้

อย่างที่บอกไป ผมคิดว่าเราอยู่ในจุดที่อัลไซเมอร์มันคล้ายกับสถานการณ์ของโรคหัวใจเมื่อก่อน หรือตามที่คำพังเพยบอกว่าการป้องกันออนซ์เดียวมีค่าเท่าการรักษาหนึ่งปอนด์ เรารู้ว่าการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตที่ไม่มากนักสามารถชะลอการเกิดภาวะสมองเสื่อมของคนไข้ได้ ผมก็สงสัยว่าถ้าปรับเปลี่ยนให้มากขึ้นอีกจะหยุดหรือย้อนการดำเนินของโรคได้ไหม ตอนนี้เราก็กำลังทำวิจัยศึกษาเรื่องนี้อยู่

[00:30:30] ทีนี้ มียาตัวเดียวที่ได้รับอนุมัติในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาสำหรับโรคอัลไซเมอร์ ใช้เงินกันไปหลายพันล้านดอลลาร์เพื่อหายาแต่ก็ล้มเหลวกันหมด ยาตัวนี้คืออะดูแคนูแมบ ซึ่งหลายคนก็คิดว่าไม่ควรจะให้ผ่านการอนุมัติ แต่มันก็สะท้อนว่าผู้คนมีความกระเสือกกระสนต้องการอะไรสักอย่างที่เป็นความหวังแค่ไหน เพราะไม่มีอะไรอย่างอื่นได้ผลเลย

ยานี้ได้แค่ชะลออัตราการดำเนินของโรคลงไปนิดหนึ่ง คนหนึ่งในสามมีเลือดออกในสมองหรือสมองบวมแล้วต้องหยุดยา เสียค่ายาคนละ 56,000 ดอลลาร์ ผมได้อ่านบทความหนึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ว่า 50% ของเบี้ยประกันสุขภาพเมดิแคร์ประเภทบี[00:31:00]ที่เพิ่มขึ้นจะมาจากยาตัวนี้ตัวเดียวซึ่งไม่ได้ให้ผลดีขนาดนั้นเลยด้วยซ้ำ แต่มันก็แสดงให้เห็นว่าผู้คนโหยหาความหวังกันแค่ไหน

ผมหวังอยู่ว่างานวิจัยของเราจะพบว่ามันดีขึ้น ตอนนี้ยังเร็วเกินไปที่จะบอกได้ แต่ต้องรอติดตามดู
ข้อคำนึงสำหรับทั่วโลกของเรื่องนี้ โดยเฉพาะว่านี่เป็นการประชุมนานาชาติคือ อย่างที่ผมบอกตอนต้นว่า อาหารการกินแบบเอเชียนี่แหละคือสาเหตุที่โรคหัวใจและเบาหวานและมะเร็งต่อมลูกหมากและเต้านมและลำไส้ใหญ่และอื่นๆ และโรคอ้วน [00:31:30] ถึงได้มีน้อยมากในเอเชียเมื่อ 50 หรือ 60 ปีที่แล้ว เพราะมันเป็นรูปแบบการกินที่ดีต่อสุขภาพที่สุดอย่างหนึ่ง

และแน่นอนผู้คนสมัยนั้นก็มีเรื่องต้องออกกำลังด้วย มีสายสัมพันธ์ครอบครัวที่เข้มแข็ง มีแนวปฏิบัติทางจิตวิญญาณที่ช่วยบรรเทาปัญหา ตามที่แดน บิวท์เนอร์ ที่เขียนเรื่องบลูโซนส์ได้พบ แต่น่าเสียดายว่าเรากำลังส่งออกวิถีการกินและวิถีการตายของเราไปจากสหรัฐฯ

น่าเสียดายที่คนในหลายประเทศมากกำลังเริ่มกินแบบเราและใช้ชีวิตแบบเราและตายแบบเรา แต่ถ้าเราจะพลิกกระแสนี้ได้ ตอนนี้แหละ[00:32:00]คือเวลาที่จะเริ่มทำ แล้วทุกวันนี้มีคนตายในเอเชียจากโรคเรื้อรังมากกว่าจากเอดส์ วัณโรค และมาลาเรียรวมกัน มันแสดงให้เห็นว่าสิ่งต่างๆ มันเปลี่ยนแปลงแย่ลงไปแค่ไหน

แล้วบ่อยครั้งหลายคนก็จะถาม มีอะไรที่ฉันตัวคนเดียวทำได้บ้างที่จะช่วยอะไรสักนิดกับภัยคุกคามทั้งหลายของโลกทุกวันนี้ ทั้งภาวะโลกร้อน และช่วยผู้คนอดอยาก และการทำลายป่าแอมะซอน และอื่นๆ อีก ซึ่งก็ปรากฏว่าเรื่องสำคัญพื้นๆ [00:32:30] อย่างสิ่งที่เราใส่ปากกินทุกวันมันมีผลได้กับทั้งหมดนี้

และผมพบว่าถ้าเราสามารถเชื่อมโยงสิ่งที่เราทำกับการสำนึกถึงความหมายสำคัญ ถ้ามันเปี่ยมความหมายแล้ว มันก็ยั่งยืน แล้วมันก็ปรากฏว่าภาวะโลกร้อน วิกฤตความอดอยาก วิกฤตโลกร้อน วิกฤตสุขภาพ และการทำลายป่าแอมะซอน ทั้งหมดมันเชื่อมโยงกับสิ่งที่เรากินทุกวัน

และสิ่งที่ดีต่อตัวคุณมันก็ดีต่อโลกด้วย อะไรที่ยั่งยืนในสำหรับบุคคลก็ยั่งยืนสำหรับโลก ปรากฏว่า ตอนนั้นผมเป็นคณะกรรมการมูลนิธิธนาคารอาหารซานฟรานซิสโกเลย[00:33:00]ได้รู้ว่าเด็กหนึ่งในห้าคนในแถบเบย์แอเรียของซานฟรานซิสโก ซึ่งเป็นพื้นที่ร่ำรวยมาก ต้องเข้านอนโดยไม่มีกินทุกคืน มันช่างน่าสมเพช เราต้องทำได้ดีกว่านั้นสิ

แล้วมันก็ปรากฏว่าเราต้องใช้ทรัพยากรมากกว่า 14 เท่า เพื่อผลิตโปรตีนจากเนื้อสัตว์หนึ่งปอนด์ เทียบกับโปรตีนจากพืช ถ้าทุกคนจะกินอาหารที่ทำจากพืชเกือบทั้งหมดแล้ว มันจะมีอาหารมากพอที่จะให้ทุกคนกิน จะไม่มีใครต้องหิวเลย

ฉะนั้น ถ้าเราเข้าใจอย่างนั้นแล้ว เวลาที่เราแค่เลือกที่จะงดเนื้อในวันจันทร์ มันก็ทำให้ทางเลือกเหล่านี้เปี่ยมความหมายและทำให้มันยั่งยืน แล้วปรากฏว่าภาวะโลกร้อนมีส่วนเกิดจาก[00:33:30]การบริโภคปศุสัตว์มากกว่าการคมนาคมทุกรูปแบบรวมกันเสียอีก ซึ่งมันก็ดีที่จะขับรถคันเล็กลงหรือรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งผมก็ใช้ แต่ถ้าเราตระหนักได้ด้วยว่าสิ่งที่เรากินทุกวันมันก็มีผล เราก็ร่วมสร้างความเปลี่ยนแปลงให้โลกใบนี้ได้

แล้วจากมุมมองต้นทุนสาธารณสุข อย่างที่ผมบอกก่อนหน้านี้ว่า 86% ของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ 3.8 ล้านล้านดอลลาร์ มาจากโรคเรื้อรังที่มักป้องกันได้หรือพลิกผันย้อนกลับได้ด้วยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตซึ่งใช้ต้นทุนแค่เศษเสี้ยวเดียว [00:34:00] และผลข้างเคียงก็มีแต่เรื่องดี แล้วเราก็จะสามารถจัดสรรบริการสุขภาพที่ดีขึ้นให้คนได้มากขึ้นในต้นทุนที่น้อยลงด้วยวิธีนี้ โดย อย่างที่บอกไปคือปิดก๊อก โดยรักษาสาเหตุ
แล้วเวชศาสตร์วิถีชีวิตก็ช่วยประหยัดเงินได้เร็วมาก

มันมีข้อถกเถียงอยู่ว่าการป้องกันมันช่วยประหยัดเงินได้จริงหรือแค่ชะลอเวลาที่จะต้องเสียเงินออกไป ซึ่งเรื่องนี้ก็คุยกันได้ แต่การนำมาใช้รักษาสำหรับคนที่เป็นโรคหัวใจหรือโรคเรื้อรังอื่นๆ มันช่วยประหยัดเงินได้อย่างมากตั้งแต่ปีแรก เพราะ 5% [00:34:30] เกือบ 80% ของค่าใช้จ่ายสาธารณสุขมาจาก… ขออภัยครับ ค่าใช้จ่ายสาธารณสุขส่วนใหญ่นั้นมาจากประชากร 5% พวกนี้คือคนที่เป็นโรคเรื้อรัง

และค่าใช้จ่ายสาธารณสุข 22% มาจากประชากรแค่ 1% เท่านั้น และโรคหัวใจก็เป็นอันดับหนึ่งในนั้น เพราะฉะนั้น ถ้าตั้งเป้ามุ่งที่คนที่วินิจฉัยว่าเป็นโรคแล้ว เราก็จะเห็นการประหยัดต้นทุนตั้งแต่ปีแรกได้อย่างชัดเจน และเราก็ทำมาแล้ว การศึกษาแรก[00:35:00]เราทำร่วมกับกองทุนประกันมิวชวลออฟโอมาฮา ซึ่งทำในแปดสถานที่ มีศูนย์วิชาการสี่แห่ง ที่ยูซีเอสเอฟ ที่ฮาร์วาร์ด ที่เบธอิสราเอลนิวยอร์ก ที่สคริปส์ในลาฮอยา แล้วก็ที่โอมาฮา เดอมอยน์ เซาท์แคโรไลนา ฟลอริดา ร่วมกับโรงพยาบาลชุมชนที่นั่น

สิ่งที่เขาทำก็คือเสนอโปรแกรมวิถีชีวิตของผมให้เป็นทางเลือกสำหรับคนที่ไม่อย่างนั้นจะต้องใส่สเตนท์หรือผ่าตัดบายพาส เสนอให้เป็นทางเลือกใหม่แยกต่างหาก แล้วคนเกือบหนึ่งในสาม… [00:35:30] ขออภัยครับ คนเกือบ 80% ก็สามารถหลีกเลี่ยงการผ่าตัดซึ่งทีแรกคาดว่าจะต้องทำได้ และมิวชวลออฟโอมาฮาก็พบว่าประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้เกือบ 30,000 ดอลลาร์ต่อคนในปีแรก

การแสดงการประหยัดต้นทุนในปีแรกเป็นเรื่องสำคัญในประเทศนี้ เพราะคนประมาณหนึ่งในสามเปลี่ยนงานทุกปี และก็มักจะเปลี่ยนประกันทุกปี บริษัทประกันก็เลยต้องถามว่า ถ้าต้องใช้เวลาเกินหนึ่งปีกว่าต้นทุนจะลด เราจะลงทุนเพื่อประโยชน์ในอนาคตที่จะตกเป็นของคนไปทำไม ทีนี้พอเราแสดงให้เห็นการลดต้นทุนในปีแรกได้ มันก็เป็นเครื่องพลิกสถานการณ์[00:36:00]ได้เลย

ไฮมาร์คบลูครอสบลูชีลด์เขาไม่ได้ออกเงินประกันครอบคลุมโปรแกรมพลิกผันโรคหัวใจของผม แต่เขายังดำเนินโปรแกรมที่ศูนย์ 26 แห่งในเวสต์เวอร์จิเนีย เนบราสกา และเพนซิลเวเนีย ซึ่งเป็นสามพื้นที่ในประเทศที่ทำการเปลี่ยนวิถีชีวิตมากๆ ได้ค่อนข้างยาก

สิ่งที่เขาพบก็คือเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่จับคู่ตามอายุ เพศ และความรุนแรงของโรคแล้ว ค่าใช้จ่ายตอนต้นก็เท่ากัน แต่หลังจากแค่ 9 สัปดาห์ก็ต่ำกว่ากัน 50% แล้วถึงตัวโปรแกรมจะนานแค่ 9 สัปดาห์ แต่ 3 ปีถัดมา[00:36:30]เขาก็ยังประหยัดต้นทุนได้อยู่อย่างที่เห็น เพราะฉะนั้นถ้าคุณเปลี่ยนการเบิกจ่ายระบบประกัน คุณก็เปลี่ยนแนวทางการแพทย์ได้ และอาจจะการศึกษาของแพทย์ด้วย นั่นคือเหตุผลว่าทำไมเรื่องนี้ถึงสำคัญ

พอไฮมาร์คเลือกดูกลุ่มคนที่ใช้เงินไปอย่างน้อย 25,000 ดอลลาร์ในปีก่อนหน้า ก็พบว่าปีถัดมานั้นลดค่าใช้จ่ายไปได้สี่เท่าตัว นี่เป็นการประหยัดต้นทุนได้มหาศาล

ในการ์ตูนนี้ หมอบอกว่า มีทางเลือกคือให้ผมผ่าตัด หรือคุณต้องคุมอาหารเคร่งครัด แล้วคนไข้ก็บอกว่า งั้นผ่าตัดดีกว่า ประกันของผมไม่ครอบคลุมการคุมอาหารเคร่งครัด ซึ่งก็สะท้อน[00:37:00]ความจริงที่น่าเศร้า ผมก็เลยตระหนักว่าต่อให้ผมทำวิจัยพันครั้ง มีคนไข้ล้านคน มันก็ไม่แพร่หลายถ้าเราไม่แก้ไขการเบิกประกัน

ซึ่งหลังจากทบทวนหลักฐานมา 16 ปี ผมก็ต้องขอบคุณมากที่ซีเอ็มเอส ซึ่งคือหน่วยงานกลางที่ดูแลระบบประกันเมดิแคร์และเมดิเคด ได้ตั้งประเภทการเบิกจ่ายขึ้นมาใหม่เพื่อครอบคลุมโปรแกรมพลิกผันโรคหัวใจของผม เรียกว่าการฟื้นฟูสุขภาพหัวใจอย่างเข้มข้น ซึ่งก็เป็นตัวพลิกสถานการณ์เลยเพราะผมขอย้ำอีกครั้ง ถ้าเปลี่ยนการเบิกจ่ายประกัน [00:37:30] คุณก็เปลี่ยนแนวทางการแพทย์ได้ และอาจจะการศึกษาของแพทย์ด้วย

ในปี 2010 เราใช้เงินไปเกือบ 8 หมื่นล้านเหรียญไปกับการรักษาแค่สองอย่างนี้ คือการทำบอลลูนกับการผ่าตัดบายพาส ซึ่งเสี่ยงอันตราย แพง และไม่ค่อยจะได้ผล มีงานวิจัยทดลองสุ่ม 8 งานเกี่ยวกับการทำพีซีไอ คือการสวนหัวใจทำบอลลูนใส่สเตนท์ เขาพบผลจากทั้ง 8 งานว่ามันไม่มีประโยชน์ ไม่พบประโยชน์ในการป้องกันการตาย หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน การต้องสวนหัวใจหรือผ่าตัดฉุกเฉิน [00:38:00] หรืออาการแน่นหน้าอก

ซึ่งหมอโรคหัวใจหลายคนก็จะบอกว่า โอเค มันอาจจะไม่ได้ทำให้คนไข้อายุยืนขึ้น อาจจะไม่ได้ป้องกันหัวใจขาดเลือด แต่อย่างน้อยอาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอกก็หายไป มันก็ยังคุ้มที่จะทำเพื่อเหตุผลนี้ ซึ่งก็มีคนทำวิจัย ผมไม่รู้ว่าเขาผ่านกรรมการจริยธรรมมาได้ยังไง งานวิจัยที่ลอนดอน ตีพิมพ์ในเดอะแลนเซต เขาเอาคนไข้ชายหญิงที่เป็นโรคหัวใจที่เข้าข่ายที่จะทำบอลลูนใส่สเตนท์มา

เขาสุ่มแบ่งคนไข้เป็น 2 กลุ่ม ครึ่งหนึ่งได้ใส่สเตนท์ อีกครึ่งหนึ่งใส่สายสวนเข้าไป[00:38:30]ถึงหัวใจแล้วก็เอาออกโดยไม่ทำอะไร เป็นการใส่สเตนท์หลอก แล้วอาการแน่นหน้าอกก็ลดลงเท่ากันในทั้งสองกลุ่ม แสดงว่าผลมันมาจากปรากฏการณ์ยาหลอก ไม่ได้มีประโยชน์จริงๆ มาจากตัวสเตนท์เอง

งานวิจัยอีกงานหนึ่งศึกษาคนมากกว่าพันคน พบว่าการผ่าตัดบายพาสไม่ได้ช่วยยืดอายุยกเว้นในคนกลุ่มเล็กมากๆ ที่มีการอุดตันที่โคนหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจฝั่งซ้ายและการทำงานของหัวใจห้องล่างซ้ายไม่ดี อันนี้เป็นบันทึกมติตอนที่เมดิแคร์ตกลงให้โปรแกรมพลิกผันโรคหัวใจของผมเบิกได้ ซึ่งเป็นเครื่องพลิกสถานการณ์จริงๆ [00:39:00] และตอนนี้บริษัทประกันอีกหลายเจ้าในสหรัฐฯ ก็ให้เบิกได้แล้วเช่นกัน

ไม่กี่เดือนก่อน เมดิแคร์ได้ตกลงขยายการเบิกประกันให้ครอบคลุมการสอนคนที่บ้านผ่านซูม ก่อนหน้านั้นเราต้องอบรมผ่านโรงพยาบาลกับคลินิกกับกลุ่มแพทย์ แล้วคุณก็ต้องอยู่บ้านใกล้ๆ ขับรถไปศูนย์เหล่านี้ได้ถึงจะมีโอกาสใช้บริการ แต่ตอนนี้คุณอยู่ที่ไหนก็ได้แล้วก็สามารถทำอยู่ที่บ้านได้อย่างเป็นส่วนตัว ซึ่งก็เป็นเครื่องพลิกสถานการณ์อีกอย่างที่จะช่วยคนได้อีกมาก [00:39:30] ซึ่งเราก็ขอบคุณมาก

ทีนี้ก็มีงานวิจัยที่ออกมาไม่กี่เดือนก่อน… ขออภัยครับ อันนี้ออกมาเมื่อปี 2003 ซึ่งเปรียบเทียบคนที่เข้าโปรแกรมฟื้นฟูหัวใจแบบดั้งเดิม ซึ่งเน้นการออกกำลังกายเป็นหลัก กับโปรแกรมปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของเรา และในทุกตัวชี้วัดก็เห็นว่าผลมันดีขึ้นมากกว่าเวลาที่คนเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตได้มากกว่าแทนที่จะออกกำลังกายอย่างเดียว รวมถึงความดัน คอเลสเตอรอล ไขมัน น้ำตาลในเลือด [00:40:00] ไขมันในอาหาร และอื่นๆ

ทีนี้ ไม่กี่เดือนก่อน มีอีกงานวิจัยที่เปรียบเทียบการฟื้นฟูหัวใจแบบดั้งเดิมกับโปรแกรมฟื้นฟูหัวใจแบบเข้มข้นที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียซานดิเอโก เขาพบว่าคนไข้สามารถปฏิบัติตามโปรแกรมของเราได้สำเร็จมากกว่าการออกกำลังกายอย่างเดียว ซึ่งโปรแกรมของเราก็มีการออกกำลังกาย แต่ยังมีการทำสมาธิ จัดการความเครียด กลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน และการคุมอาหารที่เข้มกว่ามากด้วย

แต่การปฏิบัติตามโปรแกรมของเรากลับดีกว่า แล้วมันก็กินเวลานานกว่ากันสองเท่าด้วย [00:40:30] คนก็บอกว่า เอ๊ะ มันเป็นไปได้ยังไง แล้วก็ คน 96% ปฏิบัติตามได้ครบ 72 ชั่วโมง ขณะที่การฟื้นฟูหัวใจแบบดั้งเดิมมีแค่ 68% ที่ปฏิบัติครบ 36 ชั่วโมง และเราก็พบการพัฒนาที่ดีกว่ามาก

เหตุผลก็คือ ผมขอย้ำอีกที เวลาคุณสร้างความเปลี่ยนแปลงได้มาก คุณก็ได้ประโยชน์มาก ยิ่งคุณเปลี่ยนมาก คุณก็ยิ่งรู้สึกดี ตัวคุณก็ยิ่งดีในทุกๆ ทางที่วัดได้ และสำหรับหลายคน นี่เป็นทางเลือกที่คุ้มค่า ไม่ใช่แค่เพื่อให้อายุยืนขึ้นหรือเพื่อป้องกันสิ่งแย่ๆ ไม่ให้เกิด [00:41:00] เพราะความกลัวไม่ใช่สิ่งจูงใจที่ยั่งยืน แต่เพราะสิ่งที่คุณได้กลับมามันมากกว่าสิ่งที่ยอมเสียไปในทุกทางที่วัดได้

งานนี้ทำกันเป็นทีม ต้องมีหมอหรือพยาบาล มีผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการความเครียด มีนักสรีวิทยาการออกกำลังกาย นักโภชนาการ และนักจิตวิทยา และทุกคนทำงานร่วมกันเป็นทีม แล้วก็ให้เข้าร่วม 18 ครั้ง ครั้งละ 4 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 9 สัปดาห์ ออกกำลังกายหนึ่งชั่วโมง จัดการความเครียดหนึ่งชั่วโมง เข้ากลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนหนึ่งชั่วโมง แล้วก็ฟังบรรยายพร้อมรับประทานอาหารอีกชั่วโมง แล้วเดี๋ยวผมจะเล่าเรื่องกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนเพิ่มตอนหลัง

ย้ำอีกครั้งว่าถ้ามันเบิกจ่ายได้ มันก็ยั่งยืน เรื่องนั้นถึงได้สำคัญ [00:41:30] แต่นอกจากนั้นถ้ามีความสุขกับมันได้ มันก็ยั่งยืน แล้วคุณก็จะรู้สึกดีขึ้นเร็วมาก คนส่วนใหญ่พบว่าพอเปลี่ยนเหตุผลที่จะเปลี่ยนแปลง จากการกลัวตาย เป็นความสุขที่จะมีชีวิต แล้วถ้ามันเปี่ยมความหมาย มันก็ยั่งยืน

ผมคิดว่าเหตุผลหนึ่งที่ประเพณีทางจิตวิญญาณและศาสนาเกือบทุกอย่างมีแนวปฏิบัติเรื่องอาหารคือไม่ว่า… ซึ่งมันก็มีหลากหลายด้วย ศาสนาหนึ่งบอกว่ากินนี่ได้แต่ห้ามกินโน่น หรือได้แค่บางวันในสัปดาห์หรือบางเวลาในแต่ละวันหรือบางเดือนในรอบปี หรืออะไรก็แล้วแต่ [00:42:00] พระเจ้าสับสนหรือเปล่า ผมก็ไม่รู้ แต่ไม่ว่าการปรับเปลี่ยนอาหารกับปฏิบัติทางศาสนาต่างๆ นี้จะมีประโยชน์ในตัวเองยังไงบ้าง แต่แค่การเลือกที่จะไม่กินอาหารบางอย่าง ผมคิดว่ามันทำให้การตัดสินใจเลือกเช่นนั้นมีความหมาย เหมือนถ้าคุณเลือกที่จะรักเดียวใจเดียว มันคือการถูกตีตรวนจองจำหรือเปล่า

ก็อาจจะมองแบบนั้นได้ หรือจะมองว่าฉันเลือกที่จะอยู่กับคนคนเดียวเพราะมันทำให้ความสัมพันธ์มีความหมายมากขึ้นมหาศาลเวลาที่เลือกเช่นนั้น และฉันก็เปิดใจได้เต็มที่ยิ่งขึ้น เพราะคุณจะใกล้ชิดกับใครสักคนได้แค่[00:42:30]เท่าที่ตัวเองรู้สึกปลอดภัย เพราะเวลาคุณเปิดใจกับใครสักคนคุณก็อ่อนไหวและอาจเจ็บตัวได้ ฉะนั้นถ้าคุณตกลงปลงใจกับใครสักคนจริงๆ คุณก็ต้องตกลงที่จะไม่ทำร้ายกันและกัน และคุณก็เปิดใจได้กว้างขึ้นและกว้างขึ้นและกว้างขึ้น และเมื่อความสัมพันธ์ยิ่งใกล้ชิด มันก็ยิ่งเปี่ยมสุขสุนทรีย์และเสน่หาและช่วยเยียวยามากขึ้นเท่านั้น

และอีกครั้ง สิ่งที่คุณได้มามันมากกว่าสิ่งที่ยอมสละไปมาก มันจึงเปี่ยมความหมาย และยั่งยืน และมันก็กลายเป็นเรื่องของความสุขที่จะมีชีวิตแทนที่จะเป็นการกลัวความตาย และมันก็เร็วมากเพราะกลไกทางชีวภาพเหล่านี้มันตอบสนองเป็นพลวัต คนส่วนใหญ่จึงรู้สึก[00:43:00]ดีขึ้นเร็วมากๆ ผมขอย้ำอีกทีว่ามันเปลี่ยนเหตุผลที่จะเปลี่ยนแปลงจากการกลัวความตายเป็นความสุขที่จะมีชีวิต

ทีนี้ โรคระบาดใหญ่อีกอย่างนอกจากโรคหัวใจกับเบาหวานกับโควิด-19 ก็คือความเหงาและโรคซึมเศร้า ในสหรัฐฯ มันเริ่มมาตั้งแต่ 50 ปีที่แล้ว และปัจจุบันก็กำลังเห็นในเอเชียและทั่วโลก ซึ่งน่าเสียดาย ว่ามันเกิดการแตกสลายของเครือข่ายทางสังคมที่เคยช่วยให้ผู้คนได้รู้สึกถึงความรักและความสัมพันธ์กับชุมชน

ในสหรัฐฯ เมื่อ 50 ปีก่อน ผู้คนส่วนใหญ่จะมีชุมชนหรือกลุ่มสังคมอยู่ เขา[00:43:30]มีละแวกบ้านที่มีคน 2 หรือ 3 รุ่นที่โตมาด้วยกัน มีครอบครัวขยายที่พบปะกันเป็นประจำ มีงานที่รู้สึกมั่นคง ที่ทำมา 10 ปีหรือมากกว่า และก็ได้รู้จักและสังสรรค์กับเพื่อนร่วมงาน

เขามีโบสถ์คริสต์หรือยิวหรือมัสยิดหรือชมรมหรืออะไรสักอย่างที่ไปเข้าร่วมเป็นประจำ แต่เดี๋ยวนี้คนจำนวนมากไม่มีอะไรอย่างนั้นเลย ซึ่งคุณอาจจะบอกว่า นั่นมันก็คือชีวิต คือความเจริญก้าวหน้า แต่จริงๆ แล้วมันไม่ได้ก้าวหน้าเลยเพราะงานวิจัยหลายต่อหลายงานต่างแสดงให้เห็นว่าคนที่เหงาและซึมเศร้ามีโอกาสที่จะป่วยและตายก่อนวัยอันควรมากขึ้นเป็น 3 ถึง 10 เท่า[00:44:00]เมื่อเทียบกับคนที่รู้สึกมีความรักความผูกพันและเป็นส่วนของชุมชน

แล้วผมก็ไม่รู้ว่ามีอะไรในทางการแพทย์ที่มีผลมากขนาดนั้นอีกเลย มันเป็นผลโดยตรงผ่านกลไกที่เราคุยกันมา แต่นอกจากนั้นมันก็ส่งผลต่อพฤติกรรมของเราด้วย แล้วสิ่งหนึ่งที่มันทำได้ อะไรก็ตามที่พาให้คนเราได้มารวมกันมันมีพลังเยียวยามาก คำว่าฮีลหรือเยียวยารักษามาจากรากศัพท์แปลว่าทำให้สมบูรณ์ โยคะมาจากภาษาสันสกฤตหมายถึงการเชื่อมต่อ สมาน รวมตัว พวกนี้ต่างเป็นแนวคิดเก่าแก่ที่เรากำลังค้นพบใหม่

กลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน[00:44:30]ของเราจึงไม่ได้แค่ช่วยให้คนคุมอาหารได้ แต่มันสร้างพื้นที่ปลอดภัยที่ผู้คนจะสามารถถอดเกราะป้องกันทางอารมณ์แล้วพูดคุยกันอย่างเปิดเผยตามความเป็นจริงว่าเรื่องราวในชีวิตเป็นยังไงบ้างโดยไม่ต้องกลัวว่าจะมีใครล้อหรือวิจารณ์หรือตำหนิหรือไม่ยอมรับ

เวลาที่คุณโตมาในครอบครัวที่มีคน 2 หรือ 3 รุ่น… ในละแวกบ้านที่มีคน 2 หรือ 3 รุ่น หรือในครอบครัว ครอบครัวขยาย พวกเขารู้จักคุณ เขารู้จักคุณจริงๆ ไม่ใช่แค่รู้จักหน้าเฟซบุ๊กหรือประวัติย่อของคุณ [00:45:00] เขารู้ด้านมืดของคุณ เขารู้ว่าคุณเคยทำอะไรพลาดบ้าง เขารู้ตอนนั้นที่คุณเคยโดนจับได้ว่าเสพยาหรือที่คุณเคยคิดสั้นหรืออะไรก็แล้วแต่ แล้วคุณก็รู้ว่าเขารู้ แล้วเขาก็รู้ว่าคุณรู้ว่าเขารู้ และมันมีอะไรที่เป็นธรรมชาติเบื้องลึกมาก เวลาที่รู้สึกว่ากำลังเปิดเผยให้เห็นหมดจด แบบฉันเห็นคุณ ในหนังเรื่องอวตารของเจมส์ แคเมรอน ซึ่งดีมาก ฉันเห็นคุณอย่างหมดจด และฉันก็จะอยู่เคียงข้างคุณ

งานวิจัยหนึ่งที่ผมอ้างถึงในหนังสือใหม่ของผม หนังสืออันดูอิท ที่เพิ่งวางแผงแบบปกอ่อน คือยิ่งคุณใช้เวลาบนเฟซบุ๊กมาก [00:45:30] คุณจะยิ่งซึมเศร้า เพราะมันไม่ใช่ความใกล้ชิดที่แท้จริง มันเหมือนทุกคนมีชีวิตสมบูรณ์แบบ แต่นั่นมันเพราะแต่ละคนไม่โพสต์เรื่องด้านร้ายด้านมืดของตัวเอง เขาโพสต์กันแต่นี่ฉันอยู่หน้าหอไอเฟล แล้วก็นี่ฉันกำลังฉลองลูกๆ เรียนจบ หรืออะไรก็แล้วแต่ แล้วมันก็ทำให้ดูเหมือนคุณเป็นคนเดียวที่มีปัญหาในชีวิต แล้วมันก็ทำให้คนยิ่งไม่มีความสุข

การสร้างความรู้สึกผูกพันใกล้ชิดและความรู้สึกปลอดภัยนั้นจึงเป็นส่วนของการเยียวยารักษาที่ทรงพลังมาก และสำหรับผม รากลึกที่สุดของการเยียวยารักษาในความเข้าใจ[00:46:00]อันจำกัดของผม มันคือเวลาที่เราช่วยให้คนผ่านพ้นจากความรู้สึกโดดเดี่ยวแล้วสร้างเป็นความรู้สึกรักและผูกพันและเป็นส่วนของชุมชน

ทีนี้ ตัวอย่างเรื่องนี้ เดวิด สปีเกล ได้ทำวิจัยที่ดีมากตีพิมพ์ในเดอะแลนเซต เขาศึกษาผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจาย ซึ่งทุกคนทำคีโมกับฉายรังสีกับผ่าตัดเหมือนกัน แต่นอกจากนั้น มีกลุ่มหนึ่งที่ได้พบกันครั้งละ 90 นาทีทุกสัปดาห์ ในสภาพแวดล้อมที่เกื้อหนุน และได้รับการส่งเสริมให้พูดคุยอย่างเปิดเผยและจริงใจ[00:46:30]ว่าการเป็นโรคมะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจายมันแย่แค่ไหน โดยแลกเปลี่ยนกับคนที่เข้าใจเพราะเขาเองก็ต่างเผชิญอยู่กับสิ่งเดียวกัน

ซึ่งเขาก็ทำไป 1 ปี สัปดาห์ละครั้ง 90 นาที ไป 1 ปี 5 ปีต่อมาเขาบอกผมว่าเขาดูข้อมูลแล้วแทบตกเก้าอี้เพราะผู้หญิงที่ได้เข้ากลุ่มมีชีวิตอยู่นานกว่ากันสองเท่า เห็นได้จากเส้นสีน้ำเงิน ผู้หญิงกลุ่มนี้มีชีวิตรอดนานเป็นสองเท่า มากกว่าสองเท่า เทียบกับผู้หญิงที่ไม่ได้เข้ากลุ่มเพื่อน และนั่นก็เป็นข้อแตกต่างอย่างเดียว การรักษาตามสูตรอื่นๆ เหมือนกันหมด

ทีนี้ คนที่กังขาอาจจะบอกว่า โอ๊ย ขอทีเถอะ คุณจะบอกว่าการมานั่งพูดคุยระบายอารมณ์[00:47:00]จะทำให้ฉันอายุยืนขึ้นถ้าเป็นมะเร็งเต้านมเหรอ จะเป็นไปได้ยังไง แต่มันคือความจริง มนุษย์เราเป็นสิ่งมีชีวิตที่ชอบถึงเนื้อถึงตัวกัน เราเป็นสัตว์สังคม เผ่าพันธุ์เราอยู่รอดมาได้ก็แบบนี้ แล้วพอเราจัดการกันที่ระดับนั้นได้ เราก็พบว่าผู้คนมีแนวโน้มที่จะเลือกและรักษาแนวทางวิถีชีวิตที่ส่งเสริมชีวิตได้มากกว่าแนวทางที่บ่อนทำลายตนเอง

จากที่ทำวิจัยพวกนี้ ผมก็ได้รู้จักกับผู้คนเหล่านี้ดีมาก แล้วผมก็จะถามเขาว่า สอนผมหน่อยสิ ทำไมคุณถึงสูบบุหรี่ และทำไมถึงกินมากเกิน และดื่มมากเกิน และทำงานหนักเกิน และเสพยาแก้ปวด [00:47:30] และเล่นวิดีโอเกมเยอะขนาดนี้ พฤติกรรมเหล่านี้สำหรับผมมันคือความไม่สามารถปรับตัว มันเป็นอันตราย แล้วเขาก็จะบอกว่า คุณไม่เข้าใจ ดีน คุณไม่รู้อะไรเลย พฤติกรรมพวกนี้ไม่ใช่ไม่ปรับตัว มันคือการปรับตัวล้วนๆ เลย มันช่วยให้เราอยู่กับความเจ็บปวด ความเครียด ความเหงาได้

ผมมีคนไข้ที่เอาซองบุหรี่ให้ดูแล้วบอกว่า ฉันมีเพื่อน 20 คนอยู่ในซองบุหรี่นี้ และเขาก็อยู่เคียงข้างฉันเสมอ คนอื่นไม่มีใครเลย คุณจะพรากเพื่อนฉันไป 20 คน คุณจะให้อะไรชดเชย หรือเขาจะบอกว่าอาหารมันเติมเต็มความว่างเปล่า หรือเหล้าทำให้ความเจ็บปวดมันชา หรือไขมันมันเคลือบประสาทและทำให้ความเจ็บปวดชา [00:48:00] หรือยาแก้ปวดโอปิออยด์มันทำให้ความเจ็บปวดชา เราเลยมีภาวะยาแก้ปวดโอปิออยด์ระบาด หรือวิดีโอเกมมันช่วยให้ลืมความเจ็บปวด หรือการทำงานตลอดเวลาเป็นวิธีหลีกหนีความเจ็บปวดที่สังคมยอมรับมากกว่า

ฉะนั้นในโปรแกรมของผม และในเวชศาสตร์วิถีชีวิตทั่วไปด้วย ประเด็นจึงไม่ได้อยู่ที่การให้ข้อมูล คือข้อมูลก็สำคัญ แต่มันมักไม่เพียงพอที่จะโน้มน้าวให้คนสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนในวิถีชีวิตของเขา ถ้ามันพอก็คงไม่มีใครสูบบุหรี่ มันไม่ใช่ว่าผมบอกว่า นี่ ผมต้องการให้คุณเลิกบุหรี่ มันแย่ต่อสุขภาพ รู้หรือเปล่า แล้วเขาจะตอบว่า [00:48:30] ไม่เคยรู้เลย ฉันจะเลิกวันนี้แหละ แน่ล่ะทุกคนรู้กันอยู่แล้ว มันเขียนอยู่บนบุหรี่ทุกซอง อย่างน้อยก็ในประเทศนี้

ดังนั้นแค่ข้อมูลจึงไม่พอ และการเน้นที่พฤติกรรมก็ไม่พอ เราต้องมุ่งเน้นที่ระดับลึกลงไปที่เราได้พูดถึง ความเหงา ความเศร้า ความโดดเดี่ยว คนที่เข้าร่วมโปรแกรมเวชศาสตร์วิถีชีวิตของผมนั้นคะแนนภาวะซึมเศร้าลดลงกันไปครึ่งหนึ่ง เรามีข้อมูลจากคนเป็นหมื่น มันได้ผลดีกว่ายาต้านซึมเศร้าเสียอีก แม้เราจะยังไม่ได้มุ่งเน้นเรื่องภาวะซึมเศร้าโดยตรง

ฉะนั้นเวลาเราจัดการกันที่ระดับนั้นได้ [00:49:00] เราก็พบว่าผู้คนมีแนวโน้มที่จะเลือกและรักษาแนวทางวิถีชีวิตที่ส่งเสริมชีวิตได้มากกว่าแนวทางที่บ่อนทำลายตนเอง ย้ำอีกครั้งว่าคุณจะใกล้ชิด ความผูกพันใกล้ชิดนั้นเป็นเครื่องเยียวยา แต่คุณจะใกล้ชิดได้แค่เท่าที่คุณจะเปิดใจและยอมอ่อนไหวได้ และคุณจะทำอย่างนั้นได้ก็แค่เท่าที่คุณรู้สึกปลอดภัย ความไว้ใจคือทุกสิ่งทุกอย่าง

ฉะนั้นในกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนของเรา เราจะสร้างความไว้ใจโดยบอกว่าอะไรที่เกิดขึ้นในกลุ่มก็เก็บไว้แค่ในกลุ่ม ต้องรักษาความลับ คุณจะพูดเรื่องอะไรก็ได้ เราขอให้ผู้คนพูดถึงความรู้สึกเพราะความรู้สึกของเราคือสิ่งที่เชื่อมให้เรา[00:49:30]สัมผัสกันได้ อย่างที่ผมบอกไป มันจะเคยมีคนบอกว่า โปรแกรมของคุณมันชอบถึงเนื้อถึงตัวจังเลย แล้วผมก็จะร้อนตัวแล้วผมก็จะอธิบายถึงหลักฐานวิทยาศาสตร์มากมายที่เรามี แต่แล้วผมก็คิดว่า รู้อะไรไหม มันก็ถึงเนื้อถึงตัวจริงๆ เราเป็นสิ่งมีชีวิตที่ชอบถึงเนื้อถึงตัว นั่นแหละทำไมมันถึงได้ผลขนาดนี้ เพราะพอเราจัดการกันที่ระดับนั้นได้ การเยียวยามันก็ยิ่งทรงพลัง

เพราะฉะนั้น ต่อให้คุณดูแลคนไข้อยู่ ก็ลองให้เวลาเพิ่มไม่กี่นาทีแล้วถามเขาว่าเป็นยังไงบ้าง ให้เขารู้ว่าคุณเป็นห่วงเขาหรืออาจจะรักเขาก็ได้ และครอบครัวเขาเป็นยังไงบ้าง [00:50:00] สิ่งเหล่านี้มันสร้างความแตกต่างที่ทรงพลังได้จริงๆ ในกิจกรรมกลุ่มของเรา เราจะขอให้แต่ละคนมุ่งเน้นที่ความรู้สึก เพราะความรู้สึกคือสิ่งที่เชื่อมเรา

ถ้าผมบอกคุณว่า ผมคิดว่าคุณเป็นไอ้บ้า และผมคิดว่าคุณน่ะผิด คนส่วนใหญ่ก็จะตอบว่า ไม่ ฉันต่างหากคิดว่าคุณเป็นไอ้บ้า และคุณนั่นแหละผิด หรือเขาก็จะออกไปเลย ไม่ตอบโต้กลับก็ถอนตัว แล้วถ้าเรามีเป้าหมายที่จะใกล้ชิดกัน นี่มันก็พาไปผิดทาง แต่ถ้าผมบอกความรู้สึก ผมรู้สึกโกรธ ผมรู้สึกไม่พอใจ ต่อให้มันไม่ใช่ความรู้สึกที่ดี [00:50:30] แต่มันก็ช่วยให้คนเข้าถึงมากขึ้น

ฉะนั้นในกลุ่มของเรา เราจะขอให้แต่ละคนหาว่าตัวเองรู้สึกอะไรอยู่ แล้วแจงออกมาเป็นความรู้สึกแทนที่จะเป็นความคิดหรือการตัดสินคนอื่น แล้วมันก็อาจจะดูเหมือนเป็นการเล่นคำยิบย่อย แต่ความแตกต่างมันทรงพลังทีเดียว และผมก็อยากส่งเสริมให้คุณลองทำกับตัวเอง

ทีนี้ อารมณ์หนึ่งเดียวที่พบว่าสัมพันธ์กับโรคหัวใจคือความโกรธความมาดร้ายเป็นประจำ แล้วก็ความซึมเศร้า ซึ่งจริงๆ ก็คือความโกรธที่ถูกพลิกเข้าข้างใน มีคนศึกษาข้อความ 148 ล้านข้อความบนทวิตเตอร์ [00:51:00] แล้วรูปแบบภาษาที่สะท้อนความโกรธความมาดร้ายมากๆ ซึ่งเดี๋ยวนี้ก็มีข้อความที่เกรี้ยวกราดมาดร้ายบนทวิตเตอร์เยอะมากตั้งแต่ระดับบนสุดลงมา มันทำนายอัตราตายจากโรคหัวใจได้ดีกว่าปัจจัย 10 อย่างที่เรามักจะวัดกันอย่างเบาหวานและความดันเลือดสูงและความอ้วน

เวลาคุณโกรธใครคนอื่น มันเป็นพิษกับตัวคุณเอง เวลาคุณให้อภัยใครคนอื่น มันเยียวยารักษาตัวคุณ ความเมตตาและการให้อภัยนั้นไม่ได้ให้การยอมรับในสิ่งที่ใครคนอื่นทำ แต่มันปลดปล่อยคุณ[00:51:30]จากผลร้ายของมัน

ตอนที่เนลสัน แมนเดลาได้ออกจากคุกหลังถูกจองจำมา 16 ปีและเขียนหนังสือทางเดินสู่อิสรภาพอันโด่งดัง มีคนถามเขาว่า “คุณเกลียดพวกคนที่คุมขังคุณไหม” แล้วเขาก็ตอบว่า “เขาพรากช่วงเวลาที่ดีที่สุดของชีวิตผมไปหลายปี แต่ถ้าผมเกลียดเขา ผมก็จะยังติดคุกอยู่ในใจตัวเอง” นี่คือวิธีหนึ่งที่เราจะเปลี่ยนสิ่งนั้นได้

และที่สุดแล้ว เทคนิคการทำจิตใจและร่างกายให้เงียบสงบลงนี้มันไม่ใช่เครื่องนำความรู้สึกสุขภาพดีขึ้นมาให้เรา มันเป็นแนวคิดที่ต่างไป[00:52:00]โดยสิ้นเชิง แต่ธรรมชาติของเรา ธรรมชาติพื้นฐานเบื้องลึกของเรา โดยส่วนใหญ่ มันมีข้อยกเว้นทางพันธุกรรมบ้าง แต่ส่วนมากแล้ว ธรรมชาติของเราคือการมีความสุขสุขภาพดี จนเราไปรบกวนมันเข้า

ทีนี้ วัฒนธรรมทั้งหมดของเราสอนเราในทางตรงข้าม อย่างอุตสาหกรรมโฆษณาบอกว่า คุณต้องมีสิ่งโน้นสิ่งนี้ถึงจะมีความสุขมีสุขภาพที่ดีได้ คุณต้องกินยาพวกนี้ ซื้อของพวกนี้ อะไรทั้งหมดนั่น และเมื่อคุณสร้างโลกทัศน์แบบนี้แล้ว ถ้าฉันได้สิ่งที่ยังไม่มีก็คงจะมีความสุขสุขภาพดี ซึ่งส่วนใหญ่คนก็จะเติมสิ่งนั้นว่า [00:52:30] ถ้าฉันมีเงินมากกว่านี้ อำนาจมากกว่านี้ ความงามมากกว่านี้ ความสำเร็จมากกว่านี้ เซ็กส์มากกว่านี้ หรืออะไรก็แล้วแต่ ฉันก็คงจะมีความสุข ผู้คนก็จะรักฉัน เมื่อมีแล้วฉันก็คงจะไม่รู้สึกเหงาและโดดเดี่ยวอย่างนี้

พอคุณสร้างโลกทัศน์แบบนั้นแล้ว ผมเรียนรู้มาแล้ว ด้วยบทเรียนราคาแพง ไม่ว่าผลจะเป็นยังไง โดยรวมแล้วคุณจะรู้สึกแย่ลง เพราะจนกว่าคุณจะได้มันมา ไม่ว่ามันจะเป็นอะไร คุณก็จะรู้สึกแย่ แล้วความเครียดก็จะเพิ่มขึ้นเพราะเดิมพันมันสูงขึ้น มันไม่ใช่แค่การชนะหรือแพ้ มันเป็นความรู้สึกว่าคุณจะเป็นผู้ชนะหรือผู้แพ้ถ้าได้หรือไม่ได้อะไรมา ความเครียดก็เลยเพิ่มขึ้น ถ้าคุณไม่ได้มา คุณก็เครียด

ถ้า[00:53:00]คนอื่นได้ไปแทน คุณก็ยิ่งเครียดเพราะมันเหมือนยิ่งส่งเสริมแนวคิดว่าโลกนี้คือการแข่งขัน ใครดีใครได้ ทีใครทีมัน คุณได้มากฉันก็ได้น้อย มีโอกาสครั้งเดียวต้องรีบกอบโกย อะไรทั้งหมดนั่น

แต่ต่อให้คุณได้มันมา มันอาจยั่วยวน ณ ขณะนั้น แบบ อ้า ฉันได้มาแล้ว ทีนี้ฉันก็มีความสุขแล้ว แต่มันมักอยู่ได้ไม่นาน มันมักจะมีคำถามตามมาว่า แล้วไงต่อ มันไม่เคยพอ ลองนึกดูว่าคุณเคยคิดสักกี่ครั้งแล้วว่า ถ้าฉันหารายได้ได้ถึง สมมุติว่า 10,000 ดอลลาร์ต่อปี นั่นก็จะพอแล้ว ฉันก็จะมีความสุข [00:53:30] แล้วพอคุณทำได้คุณก็คิดว่า เอ ที่จริง 20,000 อาจจะดีกว่า

คนไข้ของผมคนหนึ่งเมื่อหลายปีก่อนเคยบอกว่า “ผมไม่เคยมีความสุขกับวิวที่เห็นจากยอดเขาเวลาปีนขึ้นมาถึงเลย สายตาผมมันมองไปหายอดต่อไปแล้ว” หรือถ้าไม่ถามว่าแล้วไงต่อ ก็จะมีคำถามว่า แล้วไง ได้อะไรขึ้นมา มันไม่ได้ให้ความรู้สึกเปี่ยมความหมายอย่างยั่งยืนเลย

มีคนไข้คนหนึ่งบอกว่า ความรู้สึกผิดหวังเวลาทำอะไรได้สำเร็จตามเป้าที่คิดว่าจะทำให้มีความสุข แต่มันมีอยู่แค่แป๊บเดียว มันมากจนเขาต้องตั้งเป้าทำอะไรพร้อมๆ กันไว้เป็นโหลตลอดเวลา [00:54:00] แล้ววงจรมันก็ดำเนินไปเรื่อยๆ

ทีนี้ บรรดาฤๅษีสวามีสมัยโบราณและแรบไบของชาวยิวและบาทหลวงและพระและแม่ชีและนักสอนของชาวมุสลิมและอื่นๆ เขาไม่ได้คิดค้นการทำสมาธิและอื่นๆ ขึ้นมาเพื่อแก้หลอดเลือดอุดตันหรือพลิกผันโรคหรือช่วยให้เก่งกีฬาหรือเรียนได้ดีหรือนำบริษัทได้สำเร็จ มันช่วยทั้งหมดนั้นได้ แต่มันยังมากกว่านั้นมาก มันเป็น จะเรียกว่าเทคนิคทางเวชศาสตร์วิถีชีวิตก็ได้ ที่ทรงพลัง เพื่อการแปรเปลี่ยน ที่จะแปรเปลี่ยนชีวิตของเรา
เพราะการเปลี่ยนแปลงมันยาก

แต่ถ้าคุณต้องทนความเจ็บปวด[00:54:30]มากถึงระดับหนึ่ง แนวคิดของการเปลี่ยนแปลงมันก็เริ่มน่าดึงดูดมากขึ้น แล้วพอคนสร้างความเปลี่ยนแปลงนี้ได้เขาก็รู้สึกดีขึ้น แล้วเขาก็มักจะบอกกับผมทำนองว่า การที่หัวใจขาดเลือดเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่เกิดขึ้นในชีวิตฉันเลย แล้วครั้งแรกที่ผมได้ยินผมก็คิดว่า นี่คุณเป็นอะไร บ้าหรือเปล่า แล้วเขาก็จะบอกว่า ไม่ แต่มันเป็นสิ่งที่ทำให้ฉันหันมาสนใจ แล้วทำให้ชีวิตของฉันมีความสุขและเปี่ยมความหมายขึ้นเหลือเกิน ซึ่งถ้าไม่เจอภาวะนั้นก็คงไม่ได้หันมาสนใจ มันเป็นโอกาส… มันเป็นโอกาสศักดิ์สิทธิ์เลยก็ว่าได้เวลาที่ใครกำลังทุกข์ทนเจ็บปวด แต่เราก็ไม่ค่อยได้ใช้โอกาสนั้น

แล้วสำหรับผม หนึ่งในแกนหลักของเวชศาสตร์วิถีชีวิตคือ[00:55:00]การเข้าไปพบผู้คน ณ จุดที่เขาอยู่ แล้วเวลาที่เขากำลังทนทุกข์ มันก็มีโอกาสและแรงจูงใจที่จะเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะในเมื่อกลไกทางชีวภาพเหล่านี้มันตอบสนองเป็นพลวัต ทำให้เขาสามารถลดความเจ็บปวดได้อย่างรวดเร็วเวลาที่สร้างความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้

แต่เวลาทำสมาธิจนจบแล้ว เวลาที่คุณรู้สึกสุขสงบ คุณจะตระหนักได้ว่าการทำสมาธินั้นไม่ได้นำความสุขสงบสวัสดีมาให้คุณ มันอยู่ตรงนั้นของมันอยู่แล้ว พอคุณไม่ได้ไปรบกวนมัน ถึงจะแค่ชั่วคราว คุณทำจิตใจและร่างกายให้เงียบสงบลง คุณจึงสัมผัสได้ถึง[00:55:30]ความสงบสุขและสุขภาพดีที่อยู่ภายใน และตระหนักได้ว่านั่นคือสถานะธรรมชาติของเรา ไม่ใช่ว่าการทำสมาธิมันเอาอะไรที่คุณไม่มีมาให้ แต่มันช่วยให้คุณไม่ไปรบกวนสิ่งที่มันมีอยู่แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วระยะหนึ่ง

ซึ่งมันก็อาจจะฟังดูเหมือนเล่นคำอีก แต่นัยของมันลึกซึ้งจริงๆ เพราะถ้ามันอยู่ข้างนอก ถ้าคุณมีสิ่งที่ฉันคิดว่าฉันต้องการ จะเป็นเงินหรืออำนาจหรืออะไรก็แล้วแต่ คุณก็จะมีอำนาจเหนือตัวฉัน แต่ถ้ามันเป็นตัวฉันที่ไปรบกวนสุขภาพของตัวเอง ฉันก็สามารถแก้ไขได้ ไม่ใช่ให้โทษตัวเอง [00:56:00] แต่เพื่อเสริมพลังให้ตัวเอง

แล้วคำถามมันก็จะเปลี่ยนจาก ฉันจะต้องทำยังไงถึงจะได้สิ่งที่ฉันคิดว่าฉันต้องการเพื่อที่จะมีความสุขและสุขภาพดี แต่เป็นฉันจะหยุดรบกวนสิ่งที่มีอยู่แล้วได้ยังไง ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ฉันทำได้ และมันเป็นพลังแปรเปลี่ยนสำหรับผู้คนได้มากจริงๆ

และมันก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่ผมรักงานนี้มาก เพราะมันเป็นโอกาสที่จะได้ช่วยผู้คนใช้ประสบการณ์ของความทุกข์เป็นประตูนำไปสู่การแปรเปลี่ยนชีวิตของตัวเอง ผมขอเปิดสไลด์กลับขึ้นมาหน่อย อาจารย์ด้านจิตวิญญาณของผม สวามีสัจจิทานันท์ มักมีคนถามเขาว่า “คุณเป็นฮินดูเหรอ” เขาจะตอบว่า “เปล่า [00:56:30] ผมเป็นอันดู” นี่ก็เป็นที่มาของชื่อหนังสือของผมว่า อันดูอิท คือตั้งชื่อเป็นเกียรติให้เขาด้วย และมันก็เป็นปุ่มที่ผมชอบที่สุดบนคีย์บอร์ด ปุ่มอันดูหรือย้อนกลับ

และตอนนี้เราก็มีอะไรอย่างนั้นในชีวิตของเราแล้ว เราสามารถอันดูหรือพลิกผันย้อนการดำเนินไม่เฉพาะของโรคเรื้อรังหลายอย่าง แต่ยังรวมถึงความทุกข์ในชีวิตของเราโดยรวมด้วย แล้วเขาก็มักเขียนคำบนกระดานว่าเจ็บป่วย (illness) แล้ววงรอบตัวไอ (I) กับคำว่าสุขภาพ (wellness) แล้ววงรอบสองตัวแรกคือวี (we) ซึ่งพอเราก้าวผ่านจากไอไปวี จากตัวฉันที่โดดเดี่ยว แยกต่างหาก อยู่กับความเครียด ไปเป็นพวกเรา [00:57:00] คือสุขภาพ ชุมชน นี่ก็คือแก่นสำคัญของการเยียวยารักษา

อัลดัส ฮักซลีย์ ได้เขียนหนังสือเรื่อง ปรัชญาอมตะ ซึ่งเขาพยายามกลั่นกรองหาว่าประเพณีทางจิตวิญญาณและศาสนาที่ยิ่งใหญ่ทั้งหลายมีจุดร่วมอะไรเหมือนกัน มันคือความเสียสละ การให้อภัย ความเห็นอกเห็นใจ และความรัก เพราะนั่นคือสิ่งที่ช่วยปลดปล่อยเราจากความทุกข์

ถ้าเรามองว่า คุณ เป็นสิ่งที่แยกต่างหาก แยกขาดกัน เป็นสิ่งอื่น [00:57:30] นั่นมักจะเป็นจุดเริ่มต้นของความทุกข์ เราทำสิ่งแย่ๆ กับคุณได้เพราะคุณเป็นสิ่งอื่น คุณต่างจากตัวฉัน แต่ถ้าเราบอกได้ว่าในระดับหนึ่งเราอาจแยกกัน แต่ในอีกระดับหนึ่งเราต่างเป็นส่วนของอะไรที่ใหญ่กว่าที่เชื่อมโยงเราทั้งหมด สำหรับผมนั่นเป็นสิ่งที่มีพลังแปรเปลี่ยนมาก และการทำสมาธิและเทคนิคอื่นๆ แบบนั้น เวลาที่คุณทำจิตใจให้เงียบสงบลงมากพอ นอกจากคุณจะสัมผัสได้ถึงความสุขสงบสวัสดีภายใน แต่คุณอาจจะได้สัมผัสถึงความเป็นหนึ่งเดียวด้วยว่า ในระดับหนึ่งเรามีตัวตนแยกกัน ในอีกระดับหนึ่ง เราต่างเชื่อมโยงถึงกันหมด เราเป็นส่วนหนึ่งของอะไรที่มากกว่าตัวเราเอง

มันคล้ายกับถ้า[00:58:00]เปรียบเทียบกับเครื่องฉายภาพยนตร์สมัยก่อน เวลาคุณเข้าไปโรงหนัง แสงที่เป็นหนึ่งดียวนั้นส่องผ่านแผ่นฟิล์มแล้วก็ฉายให้เห็นเป็นชื่อและภาพและเรื่องราวต่างๆ ที่แยกกันอยู่บนจอ แต่คุณก็จะเข้าถึงมันไม่ได้เต็มที่ถ้าไม่ตระหนักไปด้วยว่ามันมีสองระดับซ้อนกันอยู่ ว่าเราก็เป็นแสงข้างหลังนั้นเช่นกัน

เหตุผลที่ผมทำงานนี้ก็คือสิ่งที่ผมเรียกว่าการสมคบคิดของความรัก สมัยเรียนมหาวิทยาลัยผมเคยมีภาวะซึมเศร้าหนักจนเคยคิดสั้น นั่นเป็นประตูของผม [00:58:30] เป็นสิ่งที่ทำให้ผมเริ่มสนใจทำอะไรพวกนี้ที่มันช่วยผมมาได้มากเหลือเกิน แล้วผมก็ตระหนักได้ว่ามันก็ช่วยคนอื่นได้เช่นกัน ว่าในฐานะแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ เรามีอภิสิทธิ์และโอกาสอันศักดิ์สิทธิ์ที่จะได้ทำงานช่วยคนที่กำลังเป็นทุกข์ และไม่ใช่แค่ช่วยให้เขาเบี่ยงหลบความเจ็บปวดหรือทำให้มันชาหรือเบี่ยงเบนความสนใจ แต่รวมถึงการใช้มันเป็นตัวจุดประกายหรือประตูสำหรับการแปรเปลี่ยนชีวิตของเขาด้วย มันคือสิ่งที่ผมเรียกว่าการสมคบคิดของความรัก เพราะมันช่วยให้เราได้กลับสู่บทบาทผู้เยียวยารักษา ไม่ใช่แค่ช่างเทคนิค

ใช่ [00:59:00] ประเด็นด้านเทคนิคของการแพทย์นั้นสำคัญมาก แต่สิ่งที่สำคัญเช่นกันก็คือศิลปะแห่งการแพทย์และประเด็นเบื้องลึกด้านจิตวิญญาณของการแพทย์ ไม่ว่าคุณจะนับถือศาสนาหรือไม่นับถือศาสนาอะไร นี่คือแนวคิดที่เป็นพื้นฐานของประเพณีทางจิตวิญญาณที่สำคัญทั้งหมด และมันก็สามารถช่วยเราและช่วยคนไข้ของเราใช้ประสบการณ์ของความทุกข์เป็นประตูนำไปสู่การแปรเปลี่ยนที่แท้จริง

เลโอนาร์ด โคเฮน เคยกล่าวถึงรอยร้าวที่แสงลอดเข้ามา บาดแผลของเราก็เป็นหน้าต่างสำหรับดวงวิญญาณและการแปรเปลี่ยนของตัวเรา [00:59:30] และนั่นคือทำไมหลังจากทำงานนี้มา 40 กว่าปี ผมถึงยังซาบซึ้งกับมันยิ่งกว่าที่เคย เพราะในชีวิตคนเราจะมีโอกาสบ่อยแค่ไหนกันที่จะได้ทำงานช่วยผู้คนที่กำลังทุกข์ ที่จะนำเขาไปหาเวชศาสตร์วิถีชีวิต ซึ่งสามารถช่วยแปรเปลี่ยนชีวิตของเขาไปในทางที่ดีกว่าก่อนที่เขาจะป่วยอีกด้วยซ้ำ

สุดท้ายนี้ผมก็หวังว่าอย่างน้อยแนวคิดเหล่านี้บางอย่างจะได้เป็นประโยชน์บ้างในวันนี้ ถ้าคุณสนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานของเรา สามารถเข้าไปดูได้ที่ ornish.com ทุกอย่างบนนั้นฟรีไม่คิดเงิน หนังสืออันดูอิทเล่มใหม่ก็กล่าวถึงหลายประเด็นเหล่านี้เช่นกัน [01:00:00] แต่ที่สำคัญที่สุด ลองเอาไปทำดูในชีวิตของตัวคุณเอง แล้วหลังจากทำไปไม่กี่วัน คุณก็จะสัมผัสถึงประโยชน์ได้ด้วยตัวคุณเอง แล้วนั่นจะทำให้คุณเป็นครูสอนคนอื่นที่ทรงพลังมากยิ่งขึ้น ขอบคุณมากที่สนใจฟัง ผมขอบคุณจริงๆ …………………………………………………

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เจ็ดใครหนอ

สอนวิธีแปลผลเคมีของเลือด

กินคีโตไข่ต้มไก่ต้มทุกวันแล้วหลอดเลือดหัวใจตีบ

ความแก่..เหมือนหมาถูกต้อนเข้ามุมให้จนตรอก

ชีวิตเมื่อตายไปแล้ว

เปลี่ยนอาหาร ปั่นจักรยาน น้ำตาลลด ความดันลด แต่ไขมันทำไมไม่ลด

ท่านอายุเก้าสิบแล้วยังไม่รู้ แล้วท่านจะรู้มันไปทำพรื้อละครับ

สิ่งที่ขาดหายไปจากชีวิตคนเราคือความเบิกบาน (Joy)

อายุ 70 ปีถูกคนในบ้านไล่ให้ไปฉีดวัคซีนไข้เลือดออก

มะเร็งต่อมลูกหมากแพร่กระจายไปกระดูกขาแล้ว จะไปต่อไงดี