RDBY+Dashboard ป้องกันและพลิกผันโรคด้วยตนเองแบบตลอดไป
1. ความเป็นมาของ RDBY
มันเริ่มจากตัวผมเองเคยป่วยเป็นโรคหัวใจขาดเลือด ความดันสูง ไขมันสูง ความที่อยากหนีจากแนวทางการรักษาแบบโรงพยาบาล (กินยา สวนหัวใจ บอลลูน ผ่าตัดบายพาส) จึงทบทวนวรรณกรรมและได้พบว่าการจัดการปัจจัยเสี่ยงของโรคโดยตัวผู้ป่วยเอง ทั้งในเรื่องอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการความเครียด การเสริมสร้างแรงบันดาลใจให้ตัวเอง ทำให้โรคดีขึ้นกว่าการรักษาในโรงพยาบาลเสียอีก จึงลงมือทำกับตัวเอง เมื่อเห็นว่าได้ผลดีจนสามารถพลิกผันโรคให้หายจากเจ็บหน้าอกและเลิกกินยาความดันไขมันได้หมด จึงตัดสินใจเลิกอาชีพหมอผ่าตัดหัวใจเปลี่ยนอาชีพมาเป็นหมอส่งเสริมสุขภาพ แต่เมื่อได้นั่งตรวจและสอนคนไข้ทีละคนอยู่ที่โรงพยาบาลก็พบว่ามันใช้เวลามากและช่วยคนไข้เป็นจำนวนน้อย และวิธีนั่งตรวจมันยังแก้ปัญหาสำคัญที่คนไข้ต้องการไม่ได้ นั่นคือทักษะปฏิบัติการและความบันดาลใจ ผมจึงเปลี่ยนแนวทางมาให้ความรู้กับคนป่วยคราวละหลายๆคน ทั้งในรูปแบบเขียนบล็อกตอบคำถาม และในรูปแบบแค้มป์กินนอนเพื่อเรียนรู้ทักษะและสร้างแรงบันดาลใจในการป้องกันและพลิกผันโรคด้วยตัวเอง (RDBY) ซึ่งก็ทำมาได้เกือบสามปีแล้ว
2. สิ่งที่เรียนรู้จาก RDBY 1-9
ทำแค้มป์ RDBY มา ก็ได้เรียนรู้ปัญหาและปรับปรุงเรื่อยมา แผนการเรียนแน่นเกินไปก็ทำให้มันบางลง เวลาที่ให้กับการตรวจร่างกายและประเมินสุขภาพเป็นการส่วนตัวกับหมอสันต์มีน้อยไปก็ลดจำนวนผู้เข้าแค้มป์ลงเหลือไม่เกินแค้มป์ละ 15 คน ต่อมาเมื่อแค้มป์ต้นๆจบคอร์สไปแล้วหลายปีก็พบปัญหาใหม่โผล่ขึ้นมาอีกหนึ่งอย่าง คือความจำเป็นที่จะต้องติดตามดูและสื่อสัมพันธ์กันระหว่างแพทย์กับทีมงานฝ่ายหนึ่ง กับผู้ป่วยอีกฝ่ายหนึ่งอย่างต่อเนื่องตลอดไปแม้จะจบแค้มป์ไปแล้ว เพราะโครงสร้างหลักสูตรเดิมที่ครบหนึ่งปีก็จบกันไปกลับบ้านใครบ้านมันนั้น เมื่อเกิดปัญหาสุขภาพขึ้นทำให้ผู้ป่วยขาดที่ปรึกษาชี้นำในการแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง ทำให้เคว้งคว้างกลางคัน
3. Health Dashboard สิ่งที่เพิ่มเข้ามาตั้งแต่ RDBY-10
การเปิด Health Dashboard บนอินเตอร์เน็ทเพื่อให้เป็นเครื่องมือให้ผู้ป่วยใช้ดูแลตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดไป โดยมีแพทย์ประจำตัวผู้ป่วยและทีมงานผู้ช่วยแพทย์เป็นพี่เลี้ยงคอยตอบคำถามและให้คำปรึกษาแนะนำไม่ให้ไปผิดทาง เป็นสาระสำคัญหนึ่งเดียวที่เพิ่มขึ้นมาตั้งแต่ RDBY-10 ตัว Health Dashboard นี้มีกลไกดังนี้
(1) ในวันที่ผู้ป่วยที่มาเข้าแค้มป์ RDBY ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจร่างกายและประเมินสุขภาพโดยแพทย์ประจำตัวของตนเอง
(2) แล้วทีมงานเวลเนสวีแคร์จะนำข้อมูลสุขภาพทั้งหมดของสมาชิกที่ได้จากการตรวจประเมินโดยแพทย์ขึ้นเก็บใน Health Dashboard
(3) สมาชิกสามารถใช้ Health Dashboard นี้เป็นที่เก็บข้อมูลผลแล็บใหม่ๆ รวมทั้งภาพและวิดิโอ.ทางการแพทย์ ของตนได้ต่อเนื่องตลอดไป ตราบเท่าที่เวลเนสวีแคร์เซ็นเตอร์ยังไม่ล้มหายตายจากไปไหน
(4) สมาชิกสามารถเข้าไปเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง แก้ไข ข้อมูลสุขภาพของตนได้ทุกรายการ ยกเว้น Patient Summary ซึ่งต้องสรุปให้โดยแพทย์เท่านั้น
(5) อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง สมาชิกมีหน้าที่ปรับปรุงข้อมูลดัชนีสุขภาพสำคัญเจ็ดตัวของตนคือ (1) น้ำหนัก (2) ความดัน (3) น้ำตาล (4) ไขมัน (5) จำนวนผักผลไม้ที่กินต่อวัน (6) เวลาที่ใช้ในการออกกำลังกายต่อสัปดาห์ และ (7) การสูบบุหรี่
(6) แพทย์ประจำตัวหรือทีมงานผู้ช่วยแพทย์จะทำการวิเคราะห์ความเสี่ยงสุขภาพและวางแผนสุขภาพให้และบันทึกไว้บน Dashboard
(7) สมาชิกสามารถขอรับคำปรึกษาปัญหาจากแพทย์ประจำตัวของหรือทีมงานผู้ช่วยแพทย์โดยเขียนคำถามผ่านมาทาง Dashboard คำถามของสมาชิกจะได้รับการสนองตอบโดยผู้ช่วยแพทย์ที่เฝ้า Dashboard อยู่ ซึ่งจะปรึกษาแพทย์ประจำตัวของสมาชิกในกรณีที่เป็นปัญหาที่ต้องแนะนำโดยแพทย์ การตอบคำถามนี้จะมีประสิทธิภาพสูงสุดเพราะขณะตอบแพทย์หรือทีมงานมีข้อมูลสุขภาพของสมาชิกอยู่ตรงหน้าอยู่แล้ว
(8) สมาชิกสามารถสั่งพิมพ์ใบสรุปข้อมูลสุขภาพ (Patient Summary) แบบหน้าเดียวซึ่งเขียนโดยแพทย์ประจำตัวของตน ไปใช้เพื่อเวลาไปรับการตรวจรักษาในสถานพยาบาลต่างๆได้ทุกเมื่อ
หมายเหตุสำหรับผู้ป่วยเก่า (RDBY 1-9)
ทีมงานจะทะยอยนำข้อมูลสุขขภาพของผู้ป่วย RDBY ทุกแค้มป์ทุกคนขึ้นเก็บไว้ใน Health Dashboard ซึ่งอยู่ในก้อนเมฆ ผู้ป่วยเก่า (RDBY1-9) ทุกท่านสามารถเข้าไปใช้ Health Dashboard ได้โดยไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายอะไรเพิ่มเติม โดยโทรศัพท์ขอระหัสผ่านชั่วคราวจากทีมงานทาง (1) ผ่านทางไลน์ @wellnesswecare (2) อีเมล chernkwan@wellnesswecare.com (3) โทรศัพท์ หมายเลย 0636394003 โดยทั้งนี้ต้องให้เวลากับทีมงานในการขนย้ายข้อมูลขึ้นสักหนึ่งเดือนนับจากนี้ไป
หมายสำหรับบุคคลทั่วไป
บุคคลทั่วไปที่สนใจจะนำข้อมูลสุขภาพของตนมาเก็บไว้บน Health Dashboard ก็สามารถทำได้ในฐานะ free users โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ แต่ต้องเข้าใจก่อนนะว่า Health Dashboard นี้ออกแบบมาเป็นเครื่องมือการสื่อสารกันระหว่างแพทย์ประจำตัวกับคนไข้ การจะมีแพทย์ประจำตัวในระบบของเวลเนสวีแคร์นี้มีช่องทางเดียว คือต้องมาเข้าแค้มป์ฝึกอบรม RDBY ดังนั้นผู้ที่ไม่ได้มาเข้า RDBY ก็จะไม่มีแพทย์ประจำตัว เ้มื่อไม่มีแพทย์ประจำตัว การใช้ Health Dashboard ก็จะได้ประโยชน์ไม่เต็มที่ กล่าวคือ
(1) จะไม่ได้ใช้ช่องทางปรึกษาถามคำถามกับแพทย์หรือทีมงานผู้ช่วยแพทย์ เพราะ Health Dashboard มีสถานะตามกฎหมายเป็นสถานพยาบาล (คลินิก) การตอบคำถามโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้หยูกใช้ยาก็ถือว่าเป็นการรักษา ซึ่งตามมาตรฐานวิชาชีพถือว่าควรมีการพบหน้ากันได้ซักประวัติได้ตรวจร่างกายกันก่อน
(2) จะไม่ได้รับบริการให้แพทย์วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงสุขภาพและวางแผนสุขภาพประจำปีให้ เพราะ free user ไม่มีแพทย์ประจำตัว
(3) จะไม่สามารถสั่งพิมพ์ใบสรุปสุขภาพผู้ป่วย (Patient Summary) ซึ่งต้องเขียนให้โดยแพทย์ประจำตัว
บุคคลทั่วไปที่ทราบและยอมรับข้อจำกัดเหล่านี้แล้ว หากยังสนใจจะใช้ Health Dashboard เป็นที่เก็บข้อมูลสุขภาพของตนก็สามารถคลิกเข้าไปใช้ที่ข้างล่างนี้ได้เลย
https://healthdashboard.wellnesswecarehub.com/
4. ภาพรวมของคอร์ส RDBY
หลักสูตรนี้เป็นการใช้การแพทย์แบบอิงหลักฐาน (Evidence Based Medicine) มีแพทย์ประจำตัวสอนให้ผู้ป่วยดูแลตัวเองเป็น ผู้ป่วยจะต้องมาเข้าแค้มป์ดังนี้
4.1 แค้มป์เริ่มต้น 3 วัน สองคืน แล้วกลับไปปฏิบัติด้วยตนเองที่บ้านโดยมีแพทย์และพยาบาลของเวลเนสวีแคร์เป็นพี่เลี้ยงโดยติดต่อกันทาง Health Dashboard ไปอย่างต่อเนื่อง
4.2 แค้มป์ติดตาม (RD follow-up) 2 วัน 1 คืน ห่างจากแค้มป์แรกหกเดือน เพื่อให้มาติดตามผลการดูแลตัวเองกับแพทย์แบบตัวต่อตัวอีกคร้้ง และสรุปปิดแค้มป์
4.3 การติดตามหลังจากนั้นจะทำผ่าน Health Dashboard โดยบริการอย่างต่อเนื่อง และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม แต่ถ้าสมาชิกอยากจะมาเข้าแค้มป์ติดตามซ้ำอีกก็สามารถลงทะเบียนเข้าแค้มป์ RD follow-up ได้อีกตามความถี่ที่ตนถนัด โดยเสียเงินเองค่าเข้าแค้มป์เอง (สองวันหนึ่งคืน ครั้งละ 6,000 บาท)
โปรแกรมนี้รับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังทุกโรค เน้นผู้ป่วยโรคหัวใจ ความดัน เบาหวาน ไขมัน อ้วน อัมพาต โดยรับทุกระยะความหนักเบาของโรค และรวมถึงคนที่มีภาวะแทรกซ้อนของโรคเช่นเป็นไตวายเรื้อรังร่วมด้วย
ในกรณีโรคมะเร็ง อาจเลือกเข้า RDBY หรือมาเข้าแค้มป์โรคมะเร็ง (Cancer Camp) โดยตรงซึ่งก็จะได้สิทธิเป็นสมาชิก Health Dashboard เช่นเดียวกับ RDBY
ในกรณีที่อายุมากหรือมีอาการมากที่ตามปกติต้องมีผู้ดูแลประจำตัวอยู่แล้ว ต้องให้ผู้ดูแลมาลงทะเบียนเข้าคอร์สเป็นผู้ติดตามด้วย
แม้ว่าผู้สมัครเข้าร่วมโปรแกรมนี้จะมีแพทย์ประจำตัว แต่ผู้ป่วยไม่ต้องเลิกจากแพทย์เฉพาะทางที่ดูแลกันมาแต่เดิม เพราะแพทย์ประจำตัวจะทำหน้าที่เป็นแพทย์ประจำครอบครัว (family physician) และจะประสานเชื่อมโยงกับแพทย์เฉพาะทางที่ดูแลผู้สมัครมาแต่เดิมให้ดูแลต่อไปในลักษณะการดูแลร่วมกัน
ผู้สมัครเข้าร่วมโปรแกรมนี้ไม่จำเป็นต้องยกเลิกยาหรือการรักษาที่ตนเองได้มาแต่เดิมในขณะที่เริ่มหันมารักษาด้วยวิธีดูแลตนเอง เพราะการรักษาโรคตามโปรแกรมนี้ใช้หลักวิชาการแพทย์แผนปัจจุบันเช่นเดียวกันกับการรักษาในโรงพยาบาล เพียงแต่มุ่งเน้นการเพิ่มขีดความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยจนถึงระดับดูแลตัวเองได้ด้วยตนเอง จึงสามารถทำคู่ขนานไปกับการรักษาในโรงพยาบาลได้ เมื่อผู้ป่วยดูแลตนเองได้ดีขึ้น ตัวชี้วัดสุขภาพจะค่อยๆบ่งชี้ว่าความจำเป็นที่จะต้องพึ่งการรักษาด้วยยาในโรงพยาบาลจะลดลงไปเองโดยอัตโนมัติจนสามารถเลิกยาได้ในที่สุด
5. หลักสูตร (Course Syllabus)
5.1 วัตถุประสงค์
5.1.1 ในด้านความรู้
คาดหวังให้ผู้ป่วยรู้สิ่งต่อไปนี้
a. รู้เรื่องโรคของตัวเอง ทั้งพยาธิกำเนิด พยาธิวิทยา
b. รู้จักตัวชี้วัดที่ใช้เฝ้าระวังการดำเนินของโรค
c. รู้ทางเลือกวิธีรักษาทุกวิธี และรู้ประโยชน์และความเสี่ยงของแต่ละทางเลือกอย่างละเอียด
d. รู้จักยาทุกตัวที่ตนเองได้รับ ทั้งชื่อ ขนาด วิธีกิน กลุ่มยา ฤทธิ์ยา และผลข้างเคียง
e . รู้ว่าตนเองสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อให้ตนเองหายจากโรค
- ในแง่ของโภชนาการ รู้ประโยชน์ของอาหารพืชที่ไม่ผ่านการสกัดขัดสี (plant based, whole food) ที่ปรุงโดยใช้น้ำมันน้อย รู้โทษของเนื้อแดงและเนื้อสัตว์ที่ผ่านกระบวนการถนอม
- ในแง่ของการออกกำลังกาย รู้ประโยชน์และวิธีออกกำลังกายทั้งสามแบบ คือแบบแอโรบิก (aerobic exercise) แบบฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (strength training) และแบบเสริมการทรงตัว (balance exercise)
- ในแง่ของการจัดการความเครียด รู้ประโยชน์และวิธีจัดการความเครียดด้วยเทคนิคฝึกวางความคิด
- ในแง่ของการร่วมกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน รู้ประโยชน์และพลังของกลุ่มและรู้วิธีทำกิจกรรมในกลุ่ม
f. รู้วิธีใช้ Health Dashboard ในการป้องกันและพลิกผันโรคด้วยตนเอง
5.1.2. ในด้านทักษะ
คาดหวังให้ผู้ป่วยสามารถทำสิ่งต่อไปนี้ด้วยตนเอง
a. บริหารจัดการโรคของตนเองได้โดยใช้ตัวชี้วัดพื้นฐาน 7 ตัว (1) น้ำหนัก (2) ความดันเลือด (3) ไขมันในเลือด (4) น้ำตาลในเลือด (5) ปริมาณผักผลไม้ที่กินต่อวัน (6) เวลาออกกำลังกายต่อสัปดาห์ (7) การสูบบุหรี่
b. เลือกอาหารสำเร็จรูปหรือกึ่งสำเร็จรูปในตลาดที่เป็นอาหารพืชแบบไม่สกัดไม่ขัดสีได้
c. ผัดทอดอาหารโดยใช้น้ำหรือใช้ลมร้อนแทนน้ำมันได้
d. อบถั่วและนัทไว้เป็นอาหารว่างเองได้
e. ทำเครื่องดื่มจากผักผลไม้โดยไม่ทิ้งกากด้วยตนเองได้
f. ประเมินสมรรถนะร่างกายของตนเองด้วยการสังเกตอัตราการหายใจ การนับชีพจรจากเครื่องช่วยนับ และการทำ One milk walk test ให้ตัวเองได้
g. ออกกำลังกายแบบแอโรบิกได้ด้วยตนเอง อย่างน้อย 1 วิธี
h. ออกกำลังกายแบบฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อโดยใช้ท่ากายบริหาร ดัมเบล สายยืด และกระบอง ได้ด้วยตนเอง
i. ออกกำลังกายแบบเสริมการทรงตัวได้ด้วยตนเอง
j. สามารถกำกับดูแลท่าร่าง (posture) ในชีวิตประจำวันของตนเองได้
k. ผ่อนคลายความเครียดเฉียบพลันด้วยเทคนิค relax breathing ได้
l. จัดการความเครียดในชีวิตประจำวันด้วยการฝึกวางความคิดได้
m. สามารถร่วมกิจกรรมกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน ทั้งในเชิงเป็นผู้เปิดแชร์ความรู้สึกและเป็นผู้ให้การพยุงได้
n. สามารถใช้ Health Dashboard ในการดูแลตนเองต่อเนื่องได้ด้วยตนเอง
5.1.3 ในด้านเจตคติ
คาดหวังให้ผู้ป่วยเกิดเจตคติต่อไปนี้
a. มีความมั่นใจว่าตนเองมีอำนาจ (empowered) ที่จะดลบันดาลให้โรคของตัวเองหายได้
b. มีความมุ่งมั่นในพันธะสัญญา (commitment) ที่จะเป็นผู้ดูแลตนเองไม่ให้เป็นภาระแก่คนอื่น
c. มีความอยาก (motivated) ที่จะมีชีวิตอย่างมีคุณภาพ มีความสุข
6. ตารางกิจกรรม
วันที่ 1. (แค้มป์ต้นคอร์ส)
8.00-14.00 Registration
ลงทะเบียนเข้าแค้มป์ เช็คอินเข้าห้องพัก วัดดัชนีมวลกาย วัดความดันเลือด จัดทำเวชระเบียนส่วนบุคคล ตรวจร่างกายและวางแผนจัดการโรคร่วมกับแพทย์ (คนละ 20 นาที) พักรับประทานอาหารว่างและอาหารกลางวันในขณะผลัดกันเข้าพบแพทย์
14.00 - 15.30
Getting to know each other ทำความรู้จักกันและเรียนรู้เรื่องโรคของกันและกัน
15.30 – 16.30
Briefing. Plant-based, whole food บรรยายเรื่องโภชนาการที่มีพืชเป็นหลัก ไม่สกัด ไม่ขัดสี
16.30-17.30
Tea break & Workshop: Shopping wisely พักรับประทานน้ำชา และทำเวอร์คชอพจ่ายตลาดฉลาดซื้อ
17.30-18.00
Garden tour เดินเล่น ทัวร์สวนผักและพืชสมุนไพร
18.00 - 20.00
Dinner and peer support group activity อาหารเย็นและกิจกรรมกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน
วันที่ 2. (แค้มป์ต้นคอร์ส)
6.30 - 7.30
Workshop: – Aerobic exercise and One milk walk test ฝึกออกกำลังกายแบบแอโรบิก และประเมินสมรรถนะร่างกายตนเองด้วยวิธีเดินหนึ่งไมล์
7.30 – 9.00
Breakfast and personal time - รับประทานอาหารเช้า อาบน้ำ และพักผ่อนส่วนตัว
9.00 - 10.00
Self management for heart disease จัดการโรคหัวใจขาดเลือดด้วยตนเอง
10.00 - 10.30
Workshop: Blood pressure measurement ฝึกปฏิบัติ วิธีวัด บันทึก และวิเคราะห์ความดันเลือด
10.30 - 10.45
Tea break พักดื่มน้ำชา
10.45 - 11.30
Self management for hypertension จัดการโรคความดันเลือดสูงด้วยตนเอง
11.30 – 13.00
Workshop: Plant-based, no oil cooking class ชั้นเรียนทำอาหารแบบพืชเป็นหลัก โดยไม่ใช้น้ำมัน และรับประทานอาหารกลางวันที่ตนเองทำ
13.00 - 14.00
Weight loss การลดน้ำหนัก
14.00 - 15.00
Self management for diabetese จัดการโรคเบาหวานด้วยตนเอง
15.00-15.15
Tea break พักดื่มน้ำชา
15.15 - 16.30
Workshop: Muscle relaxation การฝึกปฏิบัติผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
16.30 - 17.30
Workshop: Strength training การฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อด้วยดัมเบลและสายยืด
18.30 - 20.00 Dinner and peer support group activity อาหารเย็นและกิจกรรมกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน
วันที่ 3. (แค้มป์ต้นคอร์ส)
6.30 - 7.30
Workshop: Mindfulness movement exercise (Tai Chi) ฝึกสติด้วยวิธีตามรู้การเคลื่อนไหวแบบ Tai Chi
7.30 - 9.00
Breakfast and personal time รับประทานอาหารเช้าและทำกิจส่วนตัว
9.00-10.30
Workshop: Self Management (SM) การฝึกใช้ดัชนี 7 ตัวจัดการปัจจัยเสี่ยงสุขภาพด้วยตนเอง
10.30 -12.00
Workshop: Health Dashboard ฝึกใช้เครื่องมือติดตามการป้องกันและพลิกผันโรคด้วยตนเองแบบต่อเนื่องผ่านอินเตอร์เน็ท
Tea break พักดื่มน้ำชา ในชั้นเรียน HRM
12.00-13.00
Lunch รับประทานอาหารกลางวัน
13.00-13.45
Workshop: AED and CPR ฝึกปฏิบัติการใช้เครื่องช็อกหัวใจด้วยไฟฟ้าและการปั๊มหัวใจ
13.45-14.15
Workshop:Peer support group meeting ประชุมกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน
14.15-16.00
Workshop: Self management seminar ถามตอบการจัดการโรคทุกประเด็น
16.00
ปิดแค้มป์
7. ความปลอดภัยขณะเข้าแค้มป์
ผู้ป่วยที่มาเข้าโปรแกรมนี้ส่วนหนึ่งเป็นผู้ป่วยหนัก บ้างทำผ่าตัดบายพาสมาแล้ว บ้างทำบอลลูนมาแล้วคนละครั้งสองครั้ง บ้างแค่เดินสองสามก้าวก็หอบหรือเจ็บหน้าอกแล้ว ความกังวลเรื่องความปลอดภัยเป็นเรื่องธรรมดา ตัวหมอสันต์เองเป็นหมอผ่าตัดหัวใจมาก่อน จึงละเอียดรอบคอบและไม่ประมาทในเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วย การเตรียมการด้านความปลอดภัยขณะเข้าแค้มป์ทุกครั้งรวมไปถึงการมีอุปกรณ์เครื่องมือเพื่อรับมือกับภาวะฉุกเฉินได้เทียบเท่ากับห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลทั่วไป รวมทั้งขีดความสามารถที่จะเปิดหลอดเลือดให้น้ำเกลือหรือยาทางหลอดเลือดดำได้ทันที ขีดความสามารถที่จะใส่ท่อช่วยหายใจและช่วยการหายใจในภาวะฉุกเฉิน นอกจากนั้นยังมีขีดความสามารถที่จะช็อกไฟฟ้าหัวใจในกรณีฉุกเฉิน โดยมีแพทย์หรือพยาบาลผู้ป่วยวิกฤติอยู่ประจำในแค้มป์ 24 ชั่วโมง ตลอดการฝึกอบรม
ที่เล่าทั้งหมดนี้ให้ฟังอาจจะมีผลเสียทำให้เข้าใจผิดว่าการจะปรับวิถีชีวิตเพื่อพลิกผันโรคให้ตัวเองนั้นเป็นเรื่องอันตราย ความเป็นจริงไม่ใช่เลย การปรับการใช้ชีวิตทั้งอาหารและการออกกำลังกายเพื่อดูแลตัวเองให้ได้นั้นเป็นกลไกรักษาโรคตามธรรมชาติ มีอันตรายน้อยกว่าการรักษาด้วยยา บอลลูน หรือผ่าตัดในโรงพยาบาลอย่างเทียบกันไม่ได้ แต่หมอสันต์จำเป็นต้องเตรียมความพร้อมด้านความปลอดภัยในแค้มป์ให้มากเกินความจำเป็นไว้สักหน่อย เพียงเพื่อให้ผู้ป่วยหนัก ซึ่งเป็นกลุ่มที่จะได้ประโยชน์มากที่สุดจากการเข้าแค้มป์ กล้ามาเข้าแค้มป์เท่านั้นเอง
8. การลงทะเบียนเข้าแค้มป์ RDBY
ลงทะเบียนได้ 3 วิธี
(1) ผ่านทางไลน์ @wellnesswecare
(2) อีเมล chernkwan@wellnesswecare.com
(3) โทรศัพท์ หมายเลย 0636394003
ในทุกกรณีเมื่อได้ที่นั่งแล้ว จะต้องโอนเงินค่าลงทะเบียนเข้าบัญชี ธนาคารกสิกรไทย สาขาสมุทรปราการ ชื่อบัญชี บริษัท เมก้า วี แคร์ จำกัด เลขที่บัญชี 007-368-5478 ภายใน 24 ชั่วโมงหลังได้สำรองที่เรียนแล้ว หากพ้น 24 ชั่วโมงไปแล้วถือว่าสละสิทธิ์ ที่นั่งที่สำรองได้จะถูกจัดสรรไปให้ผู้อื่นก่อน
9. การตรวจสอบตารางแค้มป์
สามารถตรวจสอบตารางแค้มป์ล่วงหน้าได้ทางคอลัมน์ทางขวามือของบล็อกหมอสันต์นี้ (visitdrsant.blogspot.com) หรือที่เว็บไซท์ https://www.wellnesswecare.com/th/static/program-calendar
10. ราคาค่าลงทะเบียน
ค่าลงทะเบียนสำหรับตลอดคอร์ส (เข้าแค้มป์สองครั้ง ติดตามทาง HealthDashboard ต่อเนื่องไม่กำหนดวันจบ) คนละ 25,000 บาท ค่าลงทะเบียนนี้รวมถึงใช้จ่ายในการเข้าแค้มป์กินนอนรวม 2 ครั้ง (ครั้งแรกสามวันสองคืน ครั้งที่สองสองวันหนึ่งคืน) และการติดตามทาง Health Dashboard ต่อเนื่องไปตลอดตราบใดที่เวลเนสวีแคร์เซ็นเตอร์ยังอยู่ ในการเข้าแค้มป์แต่ละครั้งก็ครอบคลุมถึงค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าวิทยากร ค่าอุปกรณ์การฝึกทักษะ ค่าตรวจร่างกาย ค่าใช้จ่ายในการติดตามโดยแพทย์และพยาบาลทาง Health Dashboard) หลังจากออกจากแค้มป์กลับไปอยู่บ้าน แต่ไม่ครอบคลุมถึงค่าเดินทางไปและกลับระหว่างบ้านกับแค้มป์ (ผู้ป่วยไปเองกลับเอง) ไม่ครอบคลุมค่ายาและค่ารักษาพยาบาลส่วนบุคคลใดๆทั้งสิ้น
กรณีเป็นผู้ติดตาม ผู้ดูแลหรือ caregiver ก็ต้องลงทะเบียนเรียนเหมือนผู้ป่วยทุกอย่าง ค่าลงทะเบียนผู้ติดตามคนละ 15,000 บาท ซึ่งรวมค่ากิน ค่าอยู่ ค่าเข้าร่วมเรียนและทำกิจกรรมทุกอย่างในแค้มป์ แต่ไม่ได้รับการตรวจร่างกายโดยแพทย์ และไม่ได้สิทธิเป็นสมาชิกของ Health Dashboard และไม่รวมค่าเดินทางไปกลับ
11. ระยะก่อนเข้าแค้มป์ (Pre-camping preparation)
ผู้ป่วยทุกท่านที่ได้รับเข้าโปรแกรมแล้ว จะต้องจัดส่งข้อมูลโรคของตนมาให้แพทย์วิเคราะห์ล่วงหน้าก่อนวันมาแค้มป์ โดยทำได้สองทางคือ
11.1 เข้าไปสมัครเป็นผู้ใช้ประเภทบุคคลทั่วไปของ Health Dashboard แล้วกรอกข้อมูลสุขภาพทั้งหมดไว้ในนั้น เมื่อมาถึงแค้มป์และได้รับการตรวจร่างกายโดยแพทย์แล้วแจ้งให้ทีมงานทราบ ทีมงานจะใช้ข้อมูลนั้นเพื่อการประเมินสุขภาพของท่าน
11.2. ส่งข้อมูลมาทางอีเมล somwong10@gmail.com (ที่เดียวเท่านั้น) โดยอย่างน้อยต้องส่งข้อมูลพื้นฐานซึ่งจำเป็นต้องใช้ต่อไปนี้มา คือ
(1) ชื่อ นามสกุล
(2) วันเดือนปีเกิด
(3) เพศ
(4) เบอร์โทรศัพท์มือถือ
(5) อีเมลแอดเดรส
(6) เลขบัตรประจำตัวประชาชน
(7) ส่วนสูง
(8) น้ำหนัก
(9) ความดันเลือด
(10) น้ำตาลในเลือด (FBS) หรือน้ำตาลสะสม (HbA1C)
(11) ไขมันเลว (LDL)
(12) ตัวชี้วัดการทำงานของไต (eGFR หรือ Cr)
(13) เอ็นไซม์แสดงการทำงานของตับ (SGPT)
(14) การวินิจฉัย (ชื่อ) โรคทุกโรคที่รักษาอยู่ในปัจจบัน
(15) อาการป่วยทุกอาการที่มีในปัจจุบัน
(16) ยาทุกตัวที่กินอยู่ในปัจจุบัน พร้อมทั้งขนาด และวิธีกิน
(17) ผลการตรวจจำเพาะต่างๆ ถ้ามี เช่น ผลการตรวจเลือดอื่นๆ ภาพเอ็กซเรย์ปอด ผลตรวจสมรรถนะหัวใจ (EST) คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) ผลการตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยคอมพิวเตอร์ (CTA) ผลการตรวจสวนหัวใจ (CAG) ผลการตรวจผลการตรวจ CT สมอง โดยกรณีเป็นภาพหากส่งเป็นไฟล์ดิจิตอลได้ก็จะเป็นพระคุณ แต่หากส่งไม่ได้จะเอาโทรศัพท์ถ่ายแล้วส่งไฟล์รูปมาก็ได้ กรณีเป็นใบรายงานผลให้เอาโทรศัพท์ถ่ายใบรายงานแล้วส่งไฟล์มาก็ได้
(18) คำบอกเล่าลักษณะการใช้ชีวิตประจำวัน เน้นที่
- การบรรยายลักษณะอาหารที่กินแต่ละมื้อทุกมื้อ
- การออกกำลังกายที่ทำในแต่ละวัน
- วิธีจัดการความเครียดที่ใช้อยู่ประจำ
- ความกังวล (concern) ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นพิเศษ หากมีอยู่ในใจก็ให้แจ้งมาให้หมอสันต์ทราบด้วย
9. สถานที่เรียน คือ เวลเนสวีแคร์เซ็นตเตอร์ (มวกเหล็ก-เขาใหญ่) ตามแผนที่ข้างล่างนี้
(รายละเอียดอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความจำเป็นและความต้องการของผู้เรียนแต่ละแค้มป์)
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
มันเริ่มจากตัวผมเองเคยป่วยเป็นโรคหัวใจขาดเลือด ความดันสูง ไขมันสูง ความที่อยากหนีจากแนวทางการรักษาแบบโรงพยาบาล (กินยา สวนหัวใจ บอลลูน ผ่าตัดบายพาส) จึงทบทวนวรรณกรรมและได้พบว่าการจัดการปัจจัยเสี่ยงของโรคโดยตัวผู้ป่วยเอง ทั้งในเรื่องอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการความเครียด การเสริมสร้างแรงบันดาลใจให้ตัวเอง ทำให้โรคดีขึ้นกว่าการรักษาในโรงพยาบาลเสียอีก จึงลงมือทำกับตัวเอง เมื่อเห็นว่าได้ผลดีจนสามารถพลิกผันโรคให้หายจากเจ็บหน้าอกและเลิกกินยาความดันไขมันได้หมด จึงตัดสินใจเลิกอาชีพหมอผ่าตัดหัวใจเปลี่ยนอาชีพมาเป็นหมอส่งเสริมสุขภาพ แต่เมื่อได้นั่งตรวจและสอนคนไข้ทีละคนอยู่ที่โรงพยาบาลก็พบว่ามันใช้เวลามากและช่วยคนไข้เป็นจำนวนน้อย และวิธีนั่งตรวจมันยังแก้ปัญหาสำคัญที่คนไข้ต้องการไม่ได้ นั่นคือทักษะปฏิบัติการและความบันดาลใจ ผมจึงเปลี่ยนแนวทางมาให้ความรู้กับคนป่วยคราวละหลายๆคน ทั้งในรูปแบบเขียนบล็อกตอบคำถาม และในรูปแบบแค้มป์กินนอนเพื่อเรียนรู้ทักษะและสร้างแรงบันดาลใจในการป้องกันและพลิกผันโรคด้วยตัวเอง (RDBY) ซึ่งก็ทำมาได้เกือบสามปีแล้ว
2. สิ่งที่เรียนรู้จาก RDBY 1-9
ทำแค้มป์ RDBY มา ก็ได้เรียนรู้ปัญหาและปรับปรุงเรื่อยมา แผนการเรียนแน่นเกินไปก็ทำให้มันบางลง เวลาที่ให้กับการตรวจร่างกายและประเมินสุขภาพเป็นการส่วนตัวกับหมอสันต์มีน้อยไปก็ลดจำนวนผู้เข้าแค้มป์ลงเหลือไม่เกินแค้มป์ละ 15 คน ต่อมาเมื่อแค้มป์ต้นๆจบคอร์สไปแล้วหลายปีก็พบปัญหาใหม่โผล่ขึ้นมาอีกหนึ่งอย่าง คือความจำเป็นที่จะต้องติดตามดูและสื่อสัมพันธ์กันระหว่างแพทย์กับทีมงานฝ่ายหนึ่ง กับผู้ป่วยอีกฝ่ายหนึ่งอย่างต่อเนื่องตลอดไปแม้จะจบแค้มป์ไปแล้ว เพราะโครงสร้างหลักสูตรเดิมที่ครบหนึ่งปีก็จบกันไปกลับบ้านใครบ้านมันนั้น เมื่อเกิดปัญหาสุขภาพขึ้นทำให้ผู้ป่วยขาดที่ปรึกษาชี้นำในการแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง ทำให้เคว้งคว้างกลางคัน
3. Health Dashboard สิ่งที่เพิ่มเข้ามาตั้งแต่ RDBY-10
การเปิด Health Dashboard บนอินเตอร์เน็ทเพื่อให้เป็นเครื่องมือให้ผู้ป่วยใช้ดูแลตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดไป โดยมีแพทย์ประจำตัวผู้ป่วยและทีมงานผู้ช่วยแพทย์เป็นพี่เลี้ยงคอยตอบคำถามและให้คำปรึกษาแนะนำไม่ให้ไปผิดทาง เป็นสาระสำคัญหนึ่งเดียวที่เพิ่มขึ้นมาตั้งแต่ RDBY-10 ตัว Health Dashboard นี้มีกลไกดังนี้
(1) ในวันที่ผู้ป่วยที่มาเข้าแค้มป์ RDBY ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจร่างกายและประเมินสุขภาพโดยแพทย์ประจำตัวของตนเอง
(2) แล้วทีมงานเวลเนสวีแคร์จะนำข้อมูลสุขภาพทั้งหมดของสมาชิกที่ได้จากการตรวจประเมินโดยแพทย์ขึ้นเก็บใน Health Dashboard
(3) สมาชิกสามารถใช้ Health Dashboard นี้เป็นที่เก็บข้อมูลผลแล็บใหม่ๆ รวมทั้งภาพและวิดิโอ.ทางการแพทย์ ของตนได้ต่อเนื่องตลอดไป ตราบเท่าที่เวลเนสวีแคร์เซ็นเตอร์ยังไม่ล้มหายตายจากไปไหน
(4) สมาชิกสามารถเข้าไปเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง แก้ไข ข้อมูลสุขภาพของตนได้ทุกรายการ ยกเว้น Patient Summary ซึ่งต้องสรุปให้โดยแพทย์เท่านั้น
(5) อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง สมาชิกมีหน้าที่ปรับปรุงข้อมูลดัชนีสุขภาพสำคัญเจ็ดตัวของตนคือ (1) น้ำหนัก (2) ความดัน (3) น้ำตาล (4) ไขมัน (5) จำนวนผักผลไม้ที่กินต่อวัน (6) เวลาที่ใช้ในการออกกำลังกายต่อสัปดาห์ และ (7) การสูบบุหรี่
(6) แพทย์ประจำตัวหรือทีมงานผู้ช่วยแพทย์จะทำการวิเคราะห์ความเสี่ยงสุขภาพและวางแผนสุขภาพให้และบันทึกไว้บน Dashboard
(7) สมาชิกสามารถขอรับคำปรึกษาปัญหาจากแพทย์ประจำตัวของหรือทีมงานผู้ช่วยแพทย์โดยเขียนคำถามผ่านมาทาง Dashboard คำถามของสมาชิกจะได้รับการสนองตอบโดยผู้ช่วยแพทย์ที่เฝ้า Dashboard อยู่ ซึ่งจะปรึกษาแพทย์ประจำตัวของสมาชิกในกรณีที่เป็นปัญหาที่ต้องแนะนำโดยแพทย์ การตอบคำถามนี้จะมีประสิทธิภาพสูงสุดเพราะขณะตอบแพทย์หรือทีมงานมีข้อมูลสุขภาพของสมาชิกอยู่ตรงหน้าอยู่แล้ว
(8) สมาชิกสามารถสั่งพิมพ์ใบสรุปข้อมูลสุขภาพ (Patient Summary) แบบหน้าเดียวซึ่งเขียนโดยแพทย์ประจำตัวของตน ไปใช้เพื่อเวลาไปรับการตรวจรักษาในสถานพยาบาลต่างๆได้ทุกเมื่อ
หมายเหตุสำหรับผู้ป่วยเก่า (RDBY 1-9)
ทีมงานจะทะยอยนำข้อมูลสุขขภาพของผู้ป่วย RDBY ทุกแค้มป์ทุกคนขึ้นเก็บไว้ใน Health Dashboard ซึ่งอยู่ในก้อนเมฆ ผู้ป่วยเก่า (RDBY1-9) ทุกท่านสามารถเข้าไปใช้ Health Dashboard ได้โดยไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายอะไรเพิ่มเติม โดยโทรศัพท์ขอระหัสผ่านชั่วคราวจากทีมงานทาง (1) ผ่านทางไลน์ @wellnesswecare (2) อีเมล chernkwan@wellnesswecare.com (3) โทรศัพท์ หมายเลย 0636394003 โดยทั้งนี้ต้องให้เวลากับทีมงานในการขนย้ายข้อมูลขึ้นสักหนึ่งเดือนนับจากนี้ไป
หมายสำหรับบุคคลทั่วไป
บุคคลทั่วไปที่สนใจจะนำข้อมูลสุขภาพของตนมาเก็บไว้บน Health Dashboard ก็สามารถทำได้ในฐานะ free users โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ แต่ต้องเข้าใจก่อนนะว่า Health Dashboard นี้ออกแบบมาเป็นเครื่องมือการสื่อสารกันระหว่างแพทย์ประจำตัวกับคนไข้ การจะมีแพทย์ประจำตัวในระบบของเวลเนสวีแคร์นี้มีช่องทางเดียว คือต้องมาเข้าแค้มป์ฝึกอบรม RDBY ดังนั้นผู้ที่ไม่ได้มาเข้า RDBY ก็จะไม่มีแพทย์ประจำตัว เ้มื่อไม่มีแพทย์ประจำตัว การใช้ Health Dashboard ก็จะได้ประโยชน์ไม่เต็มที่ กล่าวคือ
(1) จะไม่ได้ใช้ช่องทางปรึกษาถามคำถามกับแพทย์หรือทีมงานผู้ช่วยแพทย์ เพราะ Health Dashboard มีสถานะตามกฎหมายเป็นสถานพยาบาล (คลินิก) การตอบคำถามโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้หยูกใช้ยาก็ถือว่าเป็นการรักษา ซึ่งตามมาตรฐานวิชาชีพถือว่าควรมีการพบหน้ากันได้ซักประวัติได้ตรวจร่างกายกันก่อน
(2) จะไม่ได้รับบริการให้แพทย์วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงสุขภาพและวางแผนสุขภาพประจำปีให้ เพราะ free user ไม่มีแพทย์ประจำตัว
(3) จะไม่สามารถสั่งพิมพ์ใบสรุปสุขภาพผู้ป่วย (Patient Summary) ซึ่งต้องเขียนให้โดยแพทย์ประจำตัว
บุคคลทั่วไปที่ทราบและยอมรับข้อจำกัดเหล่านี้แล้ว หากยังสนใจจะใช้ Health Dashboard เป็นที่เก็บข้อมูลสุขภาพของตนก็สามารถคลิกเข้าไปใช้ที่ข้างล่างนี้ได้เลย
https://healthdashboard.wellnesswecarehub.com/
4. ภาพรวมของคอร์ส RDBY
หลักสูตรนี้เป็นการใช้การแพทย์แบบอิงหลักฐาน (Evidence Based Medicine) มีแพทย์ประจำตัวสอนให้ผู้ป่วยดูแลตัวเองเป็น ผู้ป่วยจะต้องมาเข้าแค้มป์ดังนี้
4.1 แค้มป์เริ่มต้น 3 วัน สองคืน แล้วกลับไปปฏิบัติด้วยตนเองที่บ้านโดยมีแพทย์และพยาบาลของเวลเนสวีแคร์เป็นพี่เลี้ยงโดยติดต่อกันทาง Health Dashboard ไปอย่างต่อเนื่อง
4.2 แค้มป์ติดตาม (RD follow-up) 2 วัน 1 คืน ห่างจากแค้มป์แรกหกเดือน เพื่อให้มาติดตามผลการดูแลตัวเองกับแพทย์แบบตัวต่อตัวอีกคร้้ง และสรุปปิดแค้มป์
4.3 การติดตามหลังจากนั้นจะทำผ่าน Health Dashboard โดยบริการอย่างต่อเนื่อง และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม แต่ถ้าสมาชิกอยากจะมาเข้าแค้มป์ติดตามซ้ำอีกก็สามารถลงทะเบียนเข้าแค้มป์ RD follow-up ได้อีกตามความถี่ที่ตนถนัด โดยเสียเงินเองค่าเข้าแค้มป์เอง (สองวันหนึ่งคืน ครั้งละ 6,000 บาท)
โปรแกรมนี้รับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังทุกโรค เน้นผู้ป่วยโรคหัวใจ ความดัน เบาหวาน ไขมัน อ้วน อัมพาต โดยรับทุกระยะความหนักเบาของโรค และรวมถึงคนที่มีภาวะแทรกซ้อนของโรคเช่นเป็นไตวายเรื้อรังร่วมด้วย
ในกรณีโรคมะเร็ง อาจเลือกเข้า RDBY หรือมาเข้าแค้มป์โรคมะเร็ง (Cancer Camp) โดยตรงซึ่งก็จะได้สิทธิเป็นสมาชิก Health Dashboard เช่นเดียวกับ RDBY
ในกรณีที่อายุมากหรือมีอาการมากที่ตามปกติต้องมีผู้ดูแลประจำตัวอยู่แล้ว ต้องให้ผู้ดูแลมาลงทะเบียนเข้าคอร์สเป็นผู้ติดตามด้วย
แม้ว่าผู้สมัครเข้าร่วมโปรแกรมนี้จะมีแพทย์ประจำตัว แต่ผู้ป่วยไม่ต้องเลิกจากแพทย์เฉพาะทางที่ดูแลกันมาแต่เดิม เพราะแพทย์ประจำตัวจะทำหน้าที่เป็นแพทย์ประจำครอบครัว (family physician) และจะประสานเชื่อมโยงกับแพทย์เฉพาะทางที่ดูแลผู้สมัครมาแต่เดิมให้ดูแลต่อไปในลักษณะการดูแลร่วมกัน
ผู้สมัครเข้าร่วมโปรแกรมนี้ไม่จำเป็นต้องยกเลิกยาหรือการรักษาที่ตนเองได้มาแต่เดิมในขณะที่เริ่มหันมารักษาด้วยวิธีดูแลตนเอง เพราะการรักษาโรคตามโปรแกรมนี้ใช้หลักวิชาการแพทย์แผนปัจจุบันเช่นเดียวกันกับการรักษาในโรงพยาบาล เพียงแต่มุ่งเน้นการเพิ่มขีดความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยจนถึงระดับดูแลตัวเองได้ด้วยตนเอง จึงสามารถทำคู่ขนานไปกับการรักษาในโรงพยาบาลได้ เมื่อผู้ป่วยดูแลตนเองได้ดีขึ้น ตัวชี้วัดสุขภาพจะค่อยๆบ่งชี้ว่าความจำเป็นที่จะต้องพึ่งการรักษาด้วยยาในโรงพยาบาลจะลดลงไปเองโดยอัตโนมัติจนสามารถเลิกยาได้ในที่สุด
5. หลักสูตร (Course Syllabus)
5.1 วัตถุประสงค์
5.1.1 ในด้านความรู้
คาดหวังให้ผู้ป่วยรู้สิ่งต่อไปนี้
a. รู้เรื่องโรคของตัวเอง ทั้งพยาธิกำเนิด พยาธิวิทยา
b. รู้จักตัวชี้วัดที่ใช้เฝ้าระวังการดำเนินของโรค
c. รู้ทางเลือกวิธีรักษาทุกวิธี และรู้ประโยชน์และความเสี่ยงของแต่ละทางเลือกอย่างละเอียด
d. รู้จักยาทุกตัวที่ตนเองได้รับ ทั้งชื่อ ขนาด วิธีกิน กลุ่มยา ฤทธิ์ยา และผลข้างเคียง
e . รู้ว่าตนเองสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อให้ตนเองหายจากโรค
- ในแง่ของโภชนาการ รู้ประโยชน์ของอาหารพืชที่ไม่ผ่านการสกัดขัดสี (plant based, whole food) ที่ปรุงโดยใช้น้ำมันน้อย รู้โทษของเนื้อแดงและเนื้อสัตว์ที่ผ่านกระบวนการถนอม
- ในแง่ของการออกกำลังกาย รู้ประโยชน์และวิธีออกกำลังกายทั้งสามแบบ คือแบบแอโรบิก (aerobic exercise) แบบฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (strength training) และแบบเสริมการทรงตัว (balance exercise)
- ในแง่ของการจัดการความเครียด รู้ประโยชน์และวิธีจัดการความเครียดด้วยเทคนิคฝึกวางความคิด
- ในแง่ของการร่วมกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน รู้ประโยชน์และพลังของกลุ่มและรู้วิธีทำกิจกรรมในกลุ่ม
f. รู้วิธีใช้ Health Dashboard ในการป้องกันและพลิกผันโรคด้วยตนเอง
5.1.2. ในด้านทักษะ
คาดหวังให้ผู้ป่วยสามารถทำสิ่งต่อไปนี้ด้วยตนเอง
a. บริหารจัดการโรคของตนเองได้โดยใช้ตัวชี้วัดพื้นฐาน 7 ตัว (1) น้ำหนัก (2) ความดันเลือด (3) ไขมันในเลือด (4) น้ำตาลในเลือด (5) ปริมาณผักผลไม้ที่กินต่อวัน (6) เวลาออกกำลังกายต่อสัปดาห์ (7) การสูบบุหรี่
b. เลือกอาหารสำเร็จรูปหรือกึ่งสำเร็จรูปในตลาดที่เป็นอาหารพืชแบบไม่สกัดไม่ขัดสีได้
c. ผัดทอดอาหารโดยใช้น้ำหรือใช้ลมร้อนแทนน้ำมันได้
d. อบถั่วและนัทไว้เป็นอาหารว่างเองได้
e. ทำเครื่องดื่มจากผักผลไม้โดยไม่ทิ้งกากด้วยตนเองได้
f. ประเมินสมรรถนะร่างกายของตนเองด้วยการสังเกตอัตราการหายใจ การนับชีพจรจากเครื่องช่วยนับ และการทำ One milk walk test ให้ตัวเองได้
g. ออกกำลังกายแบบแอโรบิกได้ด้วยตนเอง อย่างน้อย 1 วิธี
h. ออกกำลังกายแบบฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อโดยใช้ท่ากายบริหาร ดัมเบล สายยืด และกระบอง ได้ด้วยตนเอง
i. ออกกำลังกายแบบเสริมการทรงตัวได้ด้วยตนเอง
j. สามารถกำกับดูแลท่าร่าง (posture) ในชีวิตประจำวันของตนเองได้
k. ผ่อนคลายความเครียดเฉียบพลันด้วยเทคนิค relax breathing ได้
l. จัดการความเครียดในชีวิตประจำวันด้วยการฝึกวางความคิดได้
m. สามารถร่วมกิจกรรมกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน ทั้งในเชิงเป็นผู้เปิดแชร์ความรู้สึกและเป็นผู้ให้การพยุงได้
n. สามารถใช้ Health Dashboard ในการดูแลตนเองต่อเนื่องได้ด้วยตนเอง
5.1.3 ในด้านเจตคติ
คาดหวังให้ผู้ป่วยเกิดเจตคติต่อไปนี้
a. มีความมั่นใจว่าตนเองมีอำนาจ (empowered) ที่จะดลบันดาลให้โรคของตัวเองหายได้
b. มีความมุ่งมั่นในพันธะสัญญา (commitment) ที่จะเป็นผู้ดูแลตนเองไม่ให้เป็นภาระแก่คนอื่น
c. มีความอยาก (motivated) ที่จะมีชีวิตอย่างมีคุณภาพ มีความสุข
6. ตารางกิจกรรม
วันที่ 1. (แค้มป์ต้นคอร์ส)
8.00-14.00 Registration
ลงทะเบียนเข้าแค้มป์ เช็คอินเข้าห้องพัก วัดดัชนีมวลกาย วัดความดันเลือด จัดทำเวชระเบียนส่วนบุคคล ตรวจร่างกายและวางแผนจัดการโรคร่วมกับแพทย์ (คนละ 20 นาที) พักรับประทานอาหารว่างและอาหารกลางวันในขณะผลัดกันเข้าพบแพทย์
14.00 - 15.30
Getting to know each other ทำความรู้จักกันและเรียนรู้เรื่องโรคของกันและกัน
15.30 – 16.30
Briefing. Plant-based, whole food บรรยายเรื่องโภชนาการที่มีพืชเป็นหลัก ไม่สกัด ไม่ขัดสี
16.30-17.30
Tea break & Workshop: Shopping wisely พักรับประทานน้ำชา และทำเวอร์คชอพจ่ายตลาดฉลาดซื้อ
17.30-18.00
Garden tour เดินเล่น ทัวร์สวนผักและพืชสมุนไพร
18.00 - 20.00
Dinner and peer support group activity อาหารเย็นและกิจกรรมกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน
วันที่ 2. (แค้มป์ต้นคอร์ส)
6.30 - 7.30
Workshop: – Aerobic exercise and One milk walk test ฝึกออกกำลังกายแบบแอโรบิก และประเมินสมรรถนะร่างกายตนเองด้วยวิธีเดินหนึ่งไมล์
7.30 – 9.00
Breakfast and personal time - รับประทานอาหารเช้า อาบน้ำ และพักผ่อนส่วนตัว
9.00 - 10.00
Self management for heart disease จัดการโรคหัวใจขาดเลือดด้วยตนเอง
10.00 - 10.30
Workshop: Blood pressure measurement ฝึกปฏิบัติ วิธีวัด บันทึก และวิเคราะห์ความดันเลือด
10.30 - 10.45
Tea break พักดื่มน้ำชา
10.45 - 11.30
Self management for hypertension จัดการโรคความดันเลือดสูงด้วยตนเอง
11.30 – 13.00
Workshop: Plant-based, no oil cooking class ชั้นเรียนทำอาหารแบบพืชเป็นหลัก โดยไม่ใช้น้ำมัน และรับประทานอาหารกลางวันที่ตนเองทำ
13.00 - 14.00
Weight loss การลดน้ำหนัก
14.00 - 15.00
Self management for diabetese จัดการโรคเบาหวานด้วยตนเอง
15.00-15.15
Tea break พักดื่มน้ำชา
15.15 - 16.30
Workshop: Muscle relaxation การฝึกปฏิบัติผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
16.30 - 17.30
Workshop: Strength training การฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อด้วยดัมเบลและสายยืด
18.30 - 20.00 Dinner and peer support group activity อาหารเย็นและกิจกรรมกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน
วันที่ 3. (แค้มป์ต้นคอร์ส)
6.30 - 7.30
Workshop: Mindfulness movement exercise (Tai Chi) ฝึกสติด้วยวิธีตามรู้การเคลื่อนไหวแบบ Tai Chi
7.30 - 9.00
Breakfast and personal time รับประทานอาหารเช้าและทำกิจส่วนตัว
9.00-10.30
Workshop: Self Management (SM) การฝึกใช้ดัชนี 7 ตัวจัดการปัจจัยเสี่ยงสุขภาพด้วยตนเอง
10.30 -12.00
Workshop: Health Dashboard ฝึกใช้เครื่องมือติดตามการป้องกันและพลิกผันโรคด้วยตนเองแบบต่อเนื่องผ่านอินเตอร์เน็ท
Tea break พักดื่มน้ำชา ในชั้นเรียน HRM
12.00-13.00
Lunch รับประทานอาหารกลางวัน
13.00-13.45
Workshop: AED and CPR ฝึกปฏิบัติการใช้เครื่องช็อกหัวใจด้วยไฟฟ้าและการปั๊มหัวใจ
13.45-14.15
Workshop:Peer support group meeting ประชุมกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน
14.15-16.00
Workshop: Self management seminar ถามตอบการจัดการโรคทุกประเด็น
16.00
ปิดแค้มป์
7. ความปลอดภัยขณะเข้าแค้มป์
ผู้ป่วยที่มาเข้าโปรแกรมนี้ส่วนหนึ่งเป็นผู้ป่วยหนัก บ้างทำผ่าตัดบายพาสมาแล้ว บ้างทำบอลลูนมาแล้วคนละครั้งสองครั้ง บ้างแค่เดินสองสามก้าวก็หอบหรือเจ็บหน้าอกแล้ว ความกังวลเรื่องความปลอดภัยเป็นเรื่องธรรมดา ตัวหมอสันต์เองเป็นหมอผ่าตัดหัวใจมาก่อน จึงละเอียดรอบคอบและไม่ประมาทในเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วย การเตรียมการด้านความปลอดภัยขณะเข้าแค้มป์ทุกครั้งรวมไปถึงการมีอุปกรณ์เครื่องมือเพื่อรับมือกับภาวะฉุกเฉินได้เทียบเท่ากับห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลทั่วไป รวมทั้งขีดความสามารถที่จะเปิดหลอดเลือดให้น้ำเกลือหรือยาทางหลอดเลือดดำได้ทันที ขีดความสามารถที่จะใส่ท่อช่วยหายใจและช่วยการหายใจในภาวะฉุกเฉิน นอกจากนั้นยังมีขีดความสามารถที่จะช็อกไฟฟ้าหัวใจในกรณีฉุกเฉิน โดยมีแพทย์หรือพยาบาลผู้ป่วยวิกฤติอยู่ประจำในแค้มป์ 24 ชั่วโมง ตลอดการฝึกอบรม
ที่เล่าทั้งหมดนี้ให้ฟังอาจจะมีผลเสียทำให้เข้าใจผิดว่าการจะปรับวิถีชีวิตเพื่อพลิกผันโรคให้ตัวเองนั้นเป็นเรื่องอันตราย ความเป็นจริงไม่ใช่เลย การปรับการใช้ชีวิตทั้งอาหารและการออกกำลังกายเพื่อดูแลตัวเองให้ได้นั้นเป็นกลไกรักษาโรคตามธรรมชาติ มีอันตรายน้อยกว่าการรักษาด้วยยา บอลลูน หรือผ่าตัดในโรงพยาบาลอย่างเทียบกันไม่ได้ แต่หมอสันต์จำเป็นต้องเตรียมความพร้อมด้านความปลอดภัยในแค้มป์ให้มากเกินความจำเป็นไว้สักหน่อย เพียงเพื่อให้ผู้ป่วยหนัก ซึ่งเป็นกลุ่มที่จะได้ประโยชน์มากที่สุดจากการเข้าแค้มป์ กล้ามาเข้าแค้มป์เท่านั้นเอง
8. การลงทะเบียนเข้าแค้มป์ RDBY
ลงทะเบียนได้ 3 วิธี
(1) ผ่านทางไลน์ @wellnesswecare
(2) อีเมล chernkwan@wellnesswecare.com
(3) โทรศัพท์ หมายเลย 0636394003
ในทุกกรณีเมื่อได้ที่นั่งแล้ว จะต้องโอนเงินค่าลงทะเบียนเข้าบัญชี ธนาคารกสิกรไทย สาขาสมุทรปราการ ชื่อบัญชี บริษัท เมก้า วี แคร์ จำกัด เลขที่บัญชี 007-368-5478 ภายใน 24 ชั่วโมงหลังได้สำรองที่เรียนแล้ว หากพ้น 24 ชั่วโมงไปแล้วถือว่าสละสิทธิ์ ที่นั่งที่สำรองได้จะถูกจัดสรรไปให้ผู้อื่นก่อน
9. การตรวจสอบตารางแค้มป์
สามารถตรวจสอบตารางแค้มป์ล่วงหน้าได้ทางคอลัมน์ทางขวามือของบล็อกหมอสันต์นี้ (visitdrsant.blogspot.com) หรือที่เว็บไซท์ https://www.wellnesswecare.com/th/static/program-calendar
10. ราคาค่าลงทะเบียน
ค่าลงทะเบียนสำหรับตลอดคอร์ส (เข้าแค้มป์สองครั้ง ติดตามทาง HealthDashboard ต่อเนื่องไม่กำหนดวันจบ) คนละ 25,000 บาท ค่าลงทะเบียนนี้รวมถึงใช้จ่ายในการเข้าแค้มป์กินนอนรวม 2 ครั้ง (ครั้งแรกสามวันสองคืน ครั้งที่สองสองวันหนึ่งคืน) และการติดตามทาง Health Dashboard ต่อเนื่องไปตลอดตราบใดที่เวลเนสวีแคร์เซ็นเตอร์ยังอยู่ ในการเข้าแค้มป์แต่ละครั้งก็ครอบคลุมถึงค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าวิทยากร ค่าอุปกรณ์การฝึกทักษะ ค่าตรวจร่างกาย ค่าใช้จ่ายในการติดตามโดยแพทย์และพยาบาลทาง Health Dashboard) หลังจากออกจากแค้มป์กลับไปอยู่บ้าน แต่ไม่ครอบคลุมถึงค่าเดินทางไปและกลับระหว่างบ้านกับแค้มป์ (ผู้ป่วยไปเองกลับเอง) ไม่ครอบคลุมค่ายาและค่ารักษาพยาบาลส่วนบุคคลใดๆทั้งสิ้น
กรณีเป็นผู้ติดตาม ผู้ดูแลหรือ caregiver ก็ต้องลงทะเบียนเรียนเหมือนผู้ป่วยทุกอย่าง ค่าลงทะเบียนผู้ติดตามคนละ 15,000 บาท ซึ่งรวมค่ากิน ค่าอยู่ ค่าเข้าร่วมเรียนและทำกิจกรรมทุกอย่างในแค้มป์ แต่ไม่ได้รับการตรวจร่างกายโดยแพทย์ และไม่ได้สิทธิเป็นสมาชิกของ Health Dashboard และไม่รวมค่าเดินทางไปกลับ
11. ระยะก่อนเข้าแค้มป์ (Pre-camping preparation)
ผู้ป่วยทุกท่านที่ได้รับเข้าโปรแกรมแล้ว จะต้องจัดส่งข้อมูลโรคของตนมาให้แพทย์วิเคราะห์ล่วงหน้าก่อนวันมาแค้มป์ โดยทำได้สองทางคือ
11.1 เข้าไปสมัครเป็นผู้ใช้ประเภทบุคคลทั่วไปของ Health Dashboard แล้วกรอกข้อมูลสุขภาพทั้งหมดไว้ในนั้น เมื่อมาถึงแค้มป์และได้รับการตรวจร่างกายโดยแพทย์แล้วแจ้งให้ทีมงานทราบ ทีมงานจะใช้ข้อมูลนั้นเพื่อการประเมินสุขภาพของท่าน
11.2. ส่งข้อมูลมาทางอีเมล somwong10@gmail.com (ที่เดียวเท่านั้น) โดยอย่างน้อยต้องส่งข้อมูลพื้นฐานซึ่งจำเป็นต้องใช้ต่อไปนี้มา คือ
(1) ชื่อ นามสกุล
(2) วันเดือนปีเกิด
(3) เพศ
(4) เบอร์โทรศัพท์มือถือ
(5) อีเมลแอดเดรส
(6) เลขบัตรประจำตัวประชาชน
(7) ส่วนสูง
(8) น้ำหนัก
(9) ความดันเลือด
(10) น้ำตาลในเลือด (FBS) หรือน้ำตาลสะสม (HbA1C)
(11) ไขมันเลว (LDL)
(12) ตัวชี้วัดการทำงานของไต (eGFR หรือ Cr)
(13) เอ็นไซม์แสดงการทำงานของตับ (SGPT)
(14) การวินิจฉัย (ชื่อ) โรคทุกโรคที่รักษาอยู่ในปัจจบัน
(15) อาการป่วยทุกอาการที่มีในปัจจุบัน
(16) ยาทุกตัวที่กินอยู่ในปัจจุบัน พร้อมทั้งขนาด และวิธีกิน
(17) ผลการตรวจจำเพาะต่างๆ ถ้ามี เช่น ผลการตรวจเลือดอื่นๆ ภาพเอ็กซเรย์ปอด ผลตรวจสมรรถนะหัวใจ (EST) คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) ผลการตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยคอมพิวเตอร์ (CTA) ผลการตรวจสวนหัวใจ (CAG) ผลการตรวจผลการตรวจ CT สมอง โดยกรณีเป็นภาพหากส่งเป็นไฟล์ดิจิตอลได้ก็จะเป็นพระคุณ แต่หากส่งไม่ได้จะเอาโทรศัพท์ถ่ายแล้วส่งไฟล์รูปมาก็ได้ กรณีเป็นใบรายงานผลให้เอาโทรศัพท์ถ่ายใบรายงานแล้วส่งไฟล์มาก็ได้
(18) คำบอกเล่าลักษณะการใช้ชีวิตประจำวัน เน้นที่
- การบรรยายลักษณะอาหารที่กินแต่ละมื้อทุกมื้อ
- การออกกำลังกายที่ทำในแต่ละวัน
- วิธีจัดการความเครียดที่ใช้อยู่ประจำ
- ความกังวล (concern) ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นพิเศษ หากมีอยู่ในใจก็ให้แจ้งมาให้หมอสันต์ทราบด้วย
9. สถานที่เรียน คือ เวลเนสวีแคร์เซ็นตเตอร์ (มวกเหล็ก-เขาใหญ่) ตามแผนที่ข้างล่างนี้
(รายละเอียดอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความจำเป็นและความต้องการของผู้เรียนแต่ละแค้มป์)
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์